เอกสารประกอบการสอนกฎหมายปกครอง1 ครั้งที่ 3

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งกับการเมืองท้องถิ่น
Advertisements

ทรัพยากรบุคคล: กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจ (Key Success Factor)
1 คณะที่ 5 การตรวจราชการแบบบูรณา การ ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี
บทบาทภารกิจที่ เปลี่ยนแปลงของ สสจ. หลัง ยกเลิกการเป็น สปสช. สาขาจังหวัด นางประภาพร บรรยงค์ หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ. ขอนแก่น.
ประธานกลุ่ม:พ.อ.กิตติศักดิ์ ดวงกลาง สมาชิก:ผู้แทนจาก สขว.กอ.รมน., ศปป.1 กอ.รมน., ศปป.6 กอ.รมน., กอ.รมน.ภาค 2, กอ.รมน.จังหวัด ก.ส., ข.ก., บ.ก., น.ค., ล.ย.,
แนวทางการตรวจ ราชการ นพ. ธีรพล โตพันธานนท์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข
เปิดประชุมเวลา น. รายชื่อผู้เข้าประชุม.
SERVICE PLAN สาขาศัลยกรรม จังหวัดกาฬสินธุ์. การดำเนินงานปี 2557 KPI  Refer out รพ. แม่ข่าย (M2, F1) < 40%  รพ. แม่ข่าย (M2, F1) ผ่าตัดไส้ติ่ง เพิ่มขึ้น.
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติราชการ ขั้นที่ 1 ออกแบบ โครงสร้างการ ประเมิน ผลสัมฤทธิ์ ขั้นที่ 2 ประเมินผลการ ปฏิบัติราชการ รายบุคคล (Performance Management.
ปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงานภายนอก 18 สิงหาคม 2558
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
ครูสมศรีกับยุคปฏิรูปการศึกษา
Hospital Presentation นพ.ชัยวัฒน์ พงศ์ทวีบุญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ด้านการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
Service Plan สาขาแม่และเด็ก
ทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์ และสิ่งแวดล้อม เหมือนและต่างกันอย่างไร
คำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2560 กรมอนามัย : ระดับหน่วยงาน
การเปิดชั้นข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
Organization Design.
กลุ่มงานพัฒนารูปแบบบริการ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
Agenda ::: ระบบงานทะเบียนสวนป่า RFD Single Window ปี 2561
ระดับความเข้มแข็งและขีดความสามารถขององค์การ
แบบฟอร์มการรายงานข้อมูลพื้นที่แปลงบำรุงป่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
โครงสร้างอัตรากำลังของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืน ปี 2560
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
การประชุมคณะกรรมการโครงการ DHS South phase 2 ครั้งที่ 1/2560
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขกับการดำเนินงานOSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
ปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
อบรมการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น หัวข้อ การคีย์ใบงาน IT Service สำหรับผู้ใช้บริการ โดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์การแพทย์ ฯ.
การจัดกิจกรรมห้องสมุด
รัฐธรรมนูญใหม่ (พ.ศ. 2550) กับการปกครองท้องถิ่นไทย โดย
ประชุมสายงานบริการ ครั้งที่ 3/2562
การขออนุมัติดำเนินโครงการ ภายใต้ข้อบังคับฯ 2559
การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
ปฏิรูปการเรียนรู้ ครูและผู้เรียน ด้วย Active Learning PLC และการนิเทศ
การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (oral presentation)
Time management.
รูปแบบและขั้นตอนการเขียนเอกสารประกอบการสอน
การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ
ความหมายของการจัดโครงสร้างองค์การ
การประชุมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ service plan จังหวัดพิษณุโลก
การประสานงาน การแก้ปัญหาในการทำงาน โดยใช้ไลน์กลุ่ม social media
พลวัตความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ :
การดำเนินงานเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School- Based Management
การบริหารจัดการกำลังคน เครือข่ายบริการที่ 5
ครั้งที่ 6/2560 สรุปผลการประชุม คณะอนุกรรมการด้านบริการ
ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปี 59ซึ่งเราจะทำการสำรวจปีละ 1 ครั้ง ในเดือน มิ.ย. – ส.ค. ของทุกปี ข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูล base line ในปีงบ 60 และในเดือนธันวาคมนี้จะมีการปรับมาตรฐานผู้ทำการสำรวจเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน.
แนวคิดและตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์ เพื่อการถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการ
การอำนวยความเป็นธรรมทางอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง
นักวิชาการกับงานวิชาการเพื่อสังคม (และตำแหน่งทางวิชาการ)
CGI Learning Center สถิติการปฏิบัติงาน Fact & Figures
ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
เอกสารประกอบการสอนกฎหมายปกครอง1 ครั้งที่ 3
การรายงานผลการดำเนินงาน
หลักรัฐประศาสนศาสตร์ KHANTHONG JAIDEE,Ph.D
แผนงานโครงการที่จะนำไปใช้เพื่อ การแก้ปัญหาสุขภาพหรือบริการ
โดย การอภิปราย “แนวทางการปฏิบัติงานในการพิจารณาอนุญาตฯ (รง.4)”
เป็นปัญหาสาธารณสุข อันดับ ๓ ของจังหวัด
Service Profile หน่วยงาน : ห้องคลอด รพร.เดชอุดม
ร้อยละ 80 ของโรงพยาบาลที่ใช้ยาอย่างสมเหตุผล
กิจกรรมและแผนการดำเนินงาน
การจัดการการระบาด ของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm)
2 ปีแห่งการพัฒนาสหกรณ์
ใบงานกลุ่มย่อย.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เอกสารประกอบการสอนกฎหมายปกครอง1 ครั้งที่ 3 อ.ศรุต จุ๋ยมณี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

เนื้อหาการนำเสนอ (Out line presentation) วิวัฒนาการของการบริการสาธารณะ ประเภทของการบริการสาธารณะ ผลทางกฎหมายของการแบ่งบริการสาธารณะ วิธีการจัดทำบริการสาธารณะ วิธีการมอบให้เอกชนทำบริการสาธารณะ เครื่องมือของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ การจัดระเบียบการปกครองรัฐ

วิวัฒนาการของการบริการสาธารณะ การบริการสาธารณะในต่างประเทศ การบริการสาธารณะในประเทศไทย

การบริการสาธารณะในต่างประเทศ

การบริการสาธารณะในประเทศไทย

ป้องกันประเทศ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ไม่เก็บค่าบริการ กษัตริย์ เวียง นา วัง คลัง

เอกชนที่ได้รับมอบหมาย บำบัดทุกข์ บำรุงสุข การพาณิชย์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจเก็บค่าบริการ รัฐบาล เอกชนที่ได้รับมอบหมาย ราชการส่วนกลาง หน่วยงานอื่นของรัฐ ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ

ประเภทของการบริการสาธารณะ ข้อแตกต่าง 1 บริการสาธารณะทางปกครอง 2.บริการสาธารณะเชิงอุตสาหกรรมและการพาณิชย กรรม 3.การบริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม

ผลทางกฎหมายของการแบ่งบริการสาธารณะ 1 นิติสัมพันธ์ บริการสาธารณะทางปกครอง นิติสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับผู้ใช้บริการ อยู่ภายใต้ระบบกฎหมายปกครองและคดีที่เกี่ยวกับบริการสาธารณะประเภทนี้อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง บริการสาธารณะที่มีลักษณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมนิติสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานและผู้ใช้บริการบุคลากร และบุคคลภายนอกจะอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเอกชนและคดีเกี่ยวกับบริการสาธารณะประเภทนี้ อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม

2 กรณีผู้ใช้บริการของบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางปกครอง สถานภาพของผู้ใช้บริการจะถูกกำหนดโดยกฎ ข้อบังคับ ทั้งหมดตั้งแต่การกำหนดองค์กร การจัดองค์กรและการปฏิบัติงาน การใช้บริการสาธารณะประเภทนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการจะมีลักษณะเป็นนิติกรรมเงื่อนไขมิใช่สัญญา ความรับผิดของฝ่ายปกครองสำหรับความเสียหายที่เนื่องจากการปฏิบัติงานที่บกพร่องของการบริการสาธารณะนั้น จึงเป็นความรับผิดจากมูลละเมิดไม่ใช่ความรับผิดตามสัญญา ส่วนสถานภาพของผู้ใช้บริการสาธารณะที่มีลักษณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมจะมีลักษณะเป็นสัญญาตามกฎหมายเอกชนจึงมีผลให้ความรับผิดของหน่วยงานบริการสาธารณะประเภทนี้มีต่อผู้ให้บริการ จึงเป็นความรับผิดตามสัญญา

วิธีการจัดทำบริการสาธารณะ บริการสาธารณะที่ฝ่ายปกครองจัดทำเอง มี 4 แบบ 1การจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบของราชการ ราชการส่วนกลาง ได้แก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน กิ่งอำเภอ ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่เทศบาล อบตง อบจ. กทม. เมืองพัทยา

2.การจัดทำบริการสาธารณะในรูปรัฐวิสาหกิจ 3.การจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบองค์การมหาชน 4.บริการสาธารณะที่มอบให้เอกชนทำ

วิธีการมอบให้เอกชนจัดทำบริการสาธารณะ 2 ประการคือ การให้ผูกขาดคือการให้เอกชนบริการสาธารณะบางอย่างได้แต่ผู้เดียวในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเอกชนต้องจ่ายเงินค่าสิทธิจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐเป็นการตอบแทนสิทธิที่ได้รับการผู้ขาด ผลกำไรที่ได้จากกิจการนั้นตกเป็นของผู้ได้รับการผูกขาดและ การให้สัมปทานบริการสาธารณะเป็นวิธีการที่ฝ่ายปกครองมอบให้เอกชนจัดทำบริการสาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วยทุนทรัพย์สินและความเสี่ยงภัยของเอกชนโดยฝ่ายปกครองไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับสัมปทานแต่จะให้ผลประโยชน์แก่ผู้รับสัมปทานโดยการให้สิทธิที่จะเรียกเก็บค่าบริการหรือค่าตอบแทนจากประชาชนผู้ใช้บริการในกิจการนั้นๆ เช่นการให้สัมปทานการไฟฟ้า การให้สัมปทานรถประจำทาง เป็นต้น  

เครื่องมือของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ มาตรการทางกฎหมาย (ไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ) บุคลากรของรัฐ ทรัพย์สินของฝ่ายปกครอง อำนาจพิเศษของฝ่ายปกครอง นิติกรรมทางปกครองได้แก่กฎ/คำสั่งทางปกครอง สัญญาทางปกครอง

ภาค 2 การจัดระเบียบการปกครองรัฐ

บทที่ 1 ข้อความคิดวิเคราะห์และหลักทั่วไปในการจัดระเบียบบริหารราชการ

คำว่า “รัฐ” ตามความหมายที่ใช้อยู่ในคำอธิบายรัฐธรรมนูญทั่วไปคือพลเมืองที่รวมอยู่ในอาณาเขตแน่นอนภายใต้อำนาจอธิปไตยของตนเอง รัฐมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ พลเมือง พลเมืองนั้นจะมีจำนวนเท่าไรไม่มีข้อจำกัด แต่รัฐจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีพลเมืองพอสมควร อาณาเขต อาณาเขตของรัฐจะต้องแน่นอนพอสมควรฝูงชนที่พเนจรไปในที่ต่างๆ โดยไม่ตั้งหลักแหล่งให้มั่นคงแน่นอนย่อมไม่เป็นรัฐ อำนาจอธิปไตย พลเมืองที่รวบรวมกันอยู่ในรัฐจะต้องมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง มิฉะนั้นก็ไม่ถือว่าเป็น “รัฐ” หรือ “ประเทศ”

บางตำราอธิบายเพิ่มเติมว่าต้องมีองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่ง คือ “รัฐบาลที่มั่นคง” แต่เป็นว่าไม่จำเป็นเพราะว่าการที่พลเมืองจะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองได้ก็เป็นที่เห็นได้ในตัวเองว่ารัฐบาลนั้นจะต้องเป็นรัฐบาลที่มั่นคงนั้นเป็นที่เข้าใจในตัวแล้ว

รัฐเดี่ยว รัฐรวม

1.หลักการจัดระเบียบการปกครองรัฐ “การจัดระเบียบการปกครองของรัฐ” คือ เป็นการกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ และจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐ โดยหลักในการจัดระเบียบการปกครองของรัฐที่ใช้กันอยู่ในประเทศต่างๆ มีอยู่ 3 หลัก คือ หลักการรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หลักการแบ่งอำนาจปกครอง (Deconcentralization) หลักการกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)

หลักการรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หลักการรวมอำนาจมีความหมายได้ 2 ทาง คือ 1.หลักการรวมอำนาจในทางการเมือง และ 2.หลักการรวมอำนาจในทางการปกครอง

หลักการรวมอำนาจปกครอง มีลักษณะดังนี้ 1)มีการรวมกำลังทหารตำรวจให้ขึ้นกับส่วนกลาง

2)มีการรวมอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการไว้ที่ส่วนกลาง

3)มีลำดับชั้นในการบังคับบัญชากล่าวคือความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรเจ้าหน้าที่ต่างๆเป็นไปตามระบบการบังคับบัญชา

อำนาจบังคับบัญชา คือ อำนาจในการที่จะสั่งการให้องค์กรเจ้าหน้าที่กระทำการใดๆ ตลอดจนแก้ไขเพิกถอนการกระทำขององค์กรเจ้าหน้าที่ต่างๆ ซึ่งเป็นอำนาจในการให้คุณให้โทษแก่ตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งเป็นองค์กรเจ้าหน้าที่ด้วย กล่าวคือ มีลักษณะเป็นทั้งอำนาจเหนือการกระทำ และอำนาจเหนือตัวบุคคลผู้กระทำ

ข้อดีและข้อเสียของหลักการรวมอำนาจปกครอง มีข้อดีหลายประการ ประการที่สำคัญ คือ ทำให้ประเทศมีเสถียรภาพมั่นคงครอบคลุมอาณาเขตของประเทศและเป็นการจัด การปกครองที่ประหยัด เพราะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่และเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนกลาง เป็นวิธีการปกครองที่ทำให้ผู้อยู่ใต้การปกครองได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคไม่มีการเลือกปฏิบัติพิเศษในท้องที่ใด

หลักการรวมอำนาจปกครองก็มีข้อเสีย คือ ทำให้การวินิจฉัยสั่งการเป็นไปโดยล่าช้า เพราะต้องดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบแบบแผนตามลำดับการบังคับบัญชา และไม่สามารถจัดทำบริการสาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว คือ การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย

หลักการแบ่งอำนาจปกครอง (Deconcentralization หลักการแบ่งอำนาจปกครอง จึงเป็นหลักการที่นำมาเสริมเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยราชการบริหารส่วนกลางจะมอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการบางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้แทนราชการบริหารส่วนกลางซึ่งส่งไปประจำปฏิบัติการตามเขตการปกครองต่างๆ ของประเทศ แต่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังคงเป็นผู้ที่ราชการบริหารส่วนกลางแต่งตั้งทั้งสิ้น และอยู่ในบังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง หลักการแบ่งอำนาจปกครองนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักการรวมอำนาจปกครอง ไม่ใช่เป็นการกระจายอำนาจปกครอง

ลักษณะสำคัญของการแบ่งอำนาจปกครอง 1) มีการแบ่งอำนาจวินิจฉัยสั่งการในกิจการบางอย่างให้ราชการบริหารส่วนภูมิภาค 2) ราชการส่วนภูมิภาคยังคงอยู่ภายใต้”ควบคุมบังคับบัญชา”ของราชการส่วนกลางอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนภูมิภาคมาจากการแต่งตั้งของราชการส่วนกลาง จากแนวคิดของหลักการแบ่งแยกอำนาจปกครองนี้ จึงเกิดการจัดการปกครองที่เรียกว่าราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดและอำเภอนั้นเอง

ข้อดีและข้อเสียของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง ข้อดีของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง คือ มีการส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถมาปกครอง ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ยังไม่มีความสามารถในการปกครองตนเองจะช่วยสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น ทั้งยังเป็นหลักการที่นำไปสู่หลักการกระจายอำนาจทางปกครองในพื้นที่ที่ประชาชนมีความรู้ความสามารถในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ข้อเสียของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง คือ เป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยเนื่องจากไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นปกครองดูแลผลประโยชน์ของตนและก่อให้เกิดความล่าช้าเพราะมีขั้นตอนการดำเนินการ 2 ระดับ ภูมิภาคและ ระดับส่วนกลาง

หลักการกระจายอำนาจทางปกครอง (Decentralization) หลักการกระจายอำนาจปกครองเป็นวิธีที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้องค์กรอื่นนอกจากองค์กรราชการบริหารส่วนกลาง จัดทำบริการสาธารณะบางอย่างโดยมีความเป็นอิสระตามสมควร ไม่ขึ้นอยู่กับการบังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง เพียงแต่อยู่ในกำกับเท่านั้น

อำนาจควบคุมในการบังคับบัญชา หมายถึง อำนาจที่หัวหน้าหน่วยปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา โดยมีอำนาจทั้งในแง่ความเหมาะสมของการดำเนินงานและในแง่ของการควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

อำนาจในการกำกับดูแล หมายถึง อำนาจที่องค์กรที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลองค์กรอื่นใช้ในการกำกับดูแลองค์กรนั้นๆ ทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย

ลักษณะของการกระจายอำนาจทางปกครอง 1) มีการแยกหน่วยงานออกไปเป็นองค์การนิติบุคคลอิสระจากองค์การของราชการบริหารส่วนกลาง นิติบุคคลเหล่านี้มีฐานะเป็นนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน 2) มีการเลือกตั้ง 3) มีความเป็นอิสระที่จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้เอง โดยไม่ต้องรับคำสั่งหรืออยู่ใต้บังคับ งบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตนเอง ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง

ประเภทของการกระจายอำนาจทางปกครอง อาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ 1)การกระจายอำนาจทางพื้นที่ หรือที่เรียกว่า การกระจายอำนาจทางเขตแดนได้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น 2)การกระจายอำนาจทางบริการ หรืออาจเรียกว่าการกระจายอำนาจทางเทคนิค (Decentralisation par service ou technique) ได้แก่รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน

1) การกระจายอำนาจทางพื้นที่ หรือที่เรียกว่า การกระจายอำนาจทางเขตแดน คือ การที่รัฐมอบอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะหลายประการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำ ทั้งนี้การจัดทำบริการสาธารณะที่ได้รับมอบหมายจะถูกจำกัดขอบเขตโดยพื้นที่หรืออาณาเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ การจัดระเบียบราชการบริหารลักษณะนี้เรียกว่า “การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น” โดยมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

โดยมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ ปัจจัยทางด้านพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเองในกิจการท้องถิ่น ตามกฎหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีองค์เจ้าหน้าที่ของตนเอง ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยเสรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีอำนาจในการกำหนดนโยบายและมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการโดยอิสระในขอบอำนาจหน้าที่ของตน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีการคลังของตนเอง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องอยู่ภายใต้อำนาจกำกับดูแลทางปกครอง ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ประการดังนี้ คือ (1) อำนาจกำกับดูแล เป็นอำนาจควบคุมในเรื่องความชอบด้วยกฎหมาย (2) อำนาจกำกับดูแลเป็นอำนาจที่มีอยู่อย่างจำกัดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ (3) เป็นการกำกับดูแลโดยส่วนกลาง (4) เป็นการกำกับดูแลเหนือองค์กรและการกระทำขององค์กรกระจายอำนาจกล่าวคืออำนาจกำกับดูแลเหนือองค์กรหรือตัวเจ้าหน้าที่และเหนือการกระทำการกำกับดูแลมีขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทั่วไปของรัฐ

การกระจายอำนาจทางบริการ หรืออาจเรียกว่าการกระจายอำนาจทางเทคนิค (Decentralisation par service ou technique) คือการที่รัฐมอบอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะในบางเรื่องบางอย่างให้แก่องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะเป็นผู้จัดทำการกระจายอำนาจทางบริการนี้มิใช่เป็นการกระจายอำนาจปกครองแต่เป็นการ “มอบ” ให้องค์การของรัฐไปจัดทำบริการสาธารณะโดยแยกออกมาเป็นนิติบุคคลต่างหากจากรัฐ มีทรัพย์สินของตนเองและมีผู้บริหารของตนเองโดยนิติบุคคลกระจายอำนาจนี้จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐเช่นกันซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน เช่นการมอบอำนาจให้การประปาส่วนภูมิภาคจัดทำบริการสาธารณะโดยให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนในส่วนภูมิภาค, การมอบอำนาจให้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษา เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างหลักการแบ่งอำนาจปกครองกับหลักการกระจายอำนาจปกครอง 1.หลักการกระจายอำนาจปกครองเป็นการตัดอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการบางส่วนจากราชการบริหารส่วนกลางไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น ซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อให้ท้องถิ่นดำเนินการได้เองโดยตรง ไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับบัญชา สั่งการของราชการบริหารส่วนกลางราชกลางส่วนกลางมีเพียงอำนาจ “กำกับดูแล” ราชการส่วนท้องถิ่นให้ปฏิบัติการต่างๆ ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น

แต่การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคตามหลักการแบ่งอำนาจปกครองนั้นเป็นการจัดระเบียบราชการบริหารตามหลักการรวมอำนาจปกครอง อำนาจบังคับบัญชาและวินิจฉัยสั่งการขั้นสุดท้ายยังอยู่กับราชการบริหารส่วนกลาง

2.เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจปกครองมิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง แต่เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาคเป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม อันเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนทั้งสิ้น

5 ความแตกต่างระหว่างหลักการกระจายอำนาจทางปกครองกับหลักการกระจายอำนาจทางการเมืองแบบสหพันธรัฐ 1.หลักการกระจายอำนาจทางการเมืองแบบสหรัฐนั้นมีการกระจายอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการให้แก่มลรัฐในสหรัฐ แต่หลักการกระจายอำนาจปกครองนั้นเป็นเพียงกระจายอำนาจปกครองในด้านการปกครองให้ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นทำเท่านั้น แม้ท้องถิ่นจะมีอำนาจออกกฎหรือกฎหมายของท้องถิ่นเช่นเทศบัญญัติ, ข้อบัญญัติต่างๆ ได้แต่ท้องถิ่นแต่ละแห่งก็ไม่มีอำนาจตุลาการของตนเองศาลที่ตั้งอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ เป็นเพียงแค่สาขาของอำนาจตุลาการส่วนกลางเท่านั้น

2.หลักการกระจายอำนาจทางการเมืองแบบสหรัฐ จะใช้ได้เฉพาะแต่รัฐที่เป็นสหรัฐเท่านั้น จะนำมาใช้ในรัฐเดี่ยวไม่ได้ ส่วนการกระจายอำนาจปกครองนั้น สามารถใช้ได้ทั้งในรัฐเดี่ยวและรัฐรวมรูปแบบสหรัฐได้ด้วย

3.หลักการกระจายอำนาจทางการเมืองแบบสหรัฐนั้น อำนาจที่มีการกระจายอำนาจเป็นไปตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจที่มีการกระจายไปแล้วต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนหลักการกระจายอำนาจทางปกครองนั้น ราชการส่วนกลางจะจำกัดหรือเพิ่มอำนาจให้สามารถกระทำได้เพียงแก้ไขกฎหมายธรรมดาเท่านั้น

ข้อดีและข้อเสียของหลักการกระจายอำนาจทางปกครอง ข้อดี คือ การกระจายอำนาจปกครองทำให้เกิดประสิทธิภาพในการปกครองแบ่งเบาภาระจากส่วนกลางในการจัดทำบริการสาธารณะ ข้อเสีย คือ หากมีการกระจายอำนาจมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองในการใช้ทรัพย์สินเนื่องจากแต่ละท้องถิ่นจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อทรัพย์สินเป็นของตนเองเพื่อมาจัดทำบริการสาธารณะ และที่สำคัญหากมีการกระจายอำนาจมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อความเป็นเอกภาพของรัฐได้

บทสรุป หลักการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ “คือการกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ และจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐ หากพิจารณาแล้วเห็นได้ว่ามีเพียง 2 หลัก คือ หลักการรวมอำนาจการปกครอง (Centralization) และหลักการกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักการรวมอำนาจปกครองเท่านั้น

สำหรับประเทศไทยได้นำหลักการจัดระเบียบการปกครองรัฐดังกล่าวมาใช้ดังนี้ หลักการรวมอำนาจการปกครอง (Centralization) หลักการแบ่งอำนาจปกครอง(Deconcentralization) หลักการกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)

ข้อสังเกตการกระจายอำนาจทางการเมืองแบบสหพันธรัฐและการกระจายอำนาจทางปกครองแบบประเทศไทย

คำถามท้ายบท 1. การบริการสาธารณะคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท 2. การบริการสาธารณะต้องมีลักษณะอย่างไร 3. เครื่องมือที่ฝ่ายปกครองใช้จัดทำบริการสาธารณะมีอะไรบ้าง 4.ให้นิสิตอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง ข้อแตกต่างระหว่างบริการสาธารณะทางปกครองกับบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม 5.ให้นิสิตอธิบายผลทางกฎหมายของการแบ่งบริการสาธารณะ 6.เครื่องมือของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะมีอะไรบ้าง ให้อธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

จบ ขอบคุณครับ