งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (oral presentation)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (oral presentation)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (oral presentation)
อ.สุกานดา จันทวี

2 ทำไมต้องนำเสนอผลงานวิจัย
การนําเสนอผลงานวิจัยเป็นหน้าที่สําคัญที่นักวิจัยทุกคนต้องทํา เมื่อเสร็จสิ้นการวิจัย และจัดทํารายงานวิจัยเสร็จแล้ว เผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เกิดการพัฒนาความก้าวหน้าและต่อยอดทางวิชาการ

3 สิ่งที่นักวิจัยต้องเตรียม
การนำเสนอด้วยวาจาจะมีเวลาค่อนข้างจำกัด ประมาณ นาทีสำหรับนำเสนอ และ 5-10 นาทีสำหรับการซักถาม ดังนั้น จึงต้องเตรียมทั้งเอกสารและความพร้อมของนักวิจัยในการนำเสนอผลงาน รายงานวิจัยในรูปบทความวิจัยที่มีความยาว และรูปแบบการพิมพ์ตามข้อกําหนดของการประชุมทางวิชาการ สไลด์หรือ PowerPoint สําหรับใช้ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา และ/หรือ สําเนาเอกสารของสไลด์หรือPowerPoint

4 จำนวนและข้อมูลในสไลด์
จำนวนสไลด์ที่ใช้โดยมากประมาณ 10 แผ่น ประกอบด้วย ชื่อผลงานและชื่อนักวิจัย ปัญหาวิจัย และความสําคัญ/ประโยชน์ของผลงานวิจัย ความเกี่ยวข้องระหว่างงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิด สมมติฐานวิจัย แบบแผนวิจัย ตัวแปร เครื่องมือวัดและคุณภาพเครื่องมือ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

5 จำนวนและข้อมูลในสไลด์ (ต่อ)
ผลการวิจัยที่สําคัญ สรุปผลงานวิจัย ข้อเสนอแนะ

6 การออกแบบสไลด์ เลือก template ที่เหมาะสม สไลด์ทางวิชาการ ไม่นิยมมีรูปการ์ตูน ใช้ลูกเล่น เช่น ภาพเคลื่อนไหว สีและรูปแบบพิเศษ เฉพาะบางสไลด์ ใช้สีพอเหมาะ โทนสีไม่ขัดกัน สีพื้นหลังและสีของภาพควรเสริมให้ภาพเด่นชัด ไม่ควรใช้สีตัดกันแรงๆ เลือกชนิด (font)ตัวอักษรที่อ่านง่าย ขนาดของตัวอักษร ให้เหมาะสมกับขนาดห้องประชุม ไม่ใช้อักษรภาษาอังกฤษที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทุกตัวอักษร อย่าใช้ชนิดอักษร มากเกินกว่าสองชนิด ควรใช้หลักความคงเส้นคงวา

7 การออกแบบสไลด์ (ต่อ) เนื้อหาในสไลด์ไม่ควรเกิน 10 บรรทัด
ใส่หมายเลขหน้าในสไลด์ ตรวจทานการสะกดคําในสไลด์ทุกแผ่น รวมทั้งเตรียมทางเลือกในการนําเสนอกรณีอุบัติเหตุไฟฟ้าดับ คอมพิวเตอร์หยุดทํางาน

8 แนวทางการเตรียมตัวเป็นผู้เสนอผลงานวิจัย
ช่วงก่อนนำเสนอผลงาน ซ้อมการนําเสนอผลงาน (ฝึกซ้อมคนเดียวก่อนและอัดเสียงไว้ เพื่อควบคุมเวลาที่ใช้ในการนำเสนอและคำซ้ำ เช่น อืม เออ นะคะ ฝึกซ้อมหน้ากระจก เพื่อสังเกตท่าทาง การใช้มือ การแสดงสีหน้า ฝึกซ้อมให้เพื่อนฟัง) เตรียมเรื่องเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายให้สุภาพ เหมาะสมกาลเทศะ สอบถาม Version ของ PowerPoint ที่สถานที่ประชุมใช้ เตรียมไฟล์สํารองโดยบันทึกในซีดี และ Flash Drive หรือส่งไฟล์ไว้ในอีเมลตนเอง ดูสถานที่ก่อนการเสนอผลงาน ก่อนวันเสนอผลงานควรพักผ่อนให้เต็มที่ ไปถึงห้องนำเสนอก่อนเวลา และลองเปิดไฟล์นำเสนอ

9 แนวทางการเตรียมตัวเป็นผู้เสนอผลงานวิจัย (ต่อ)
ช่วงนำเสนอผลงาน ควรมีสติ มั่นใจว่าเราทำได้ หากรู้สึกตื่นเต้น การหายใจเข้าออกยาวๆ ไม่เครียดและสร้างความกดดันให้ตัวเอง พูดช้าๆ ชัดเจน อย่าพูดเร็วมากเกินไป อย่าอ่านจากข้อความ อาจเหลือบดูบันทึกได้บ้าง สบสายตามองหน้าผู้ฟังด้วยสายตาที่อ่อนโยนและเป็นมิตร

10 แนวทางการเตรียมตัวเป็นผู้เสนอผลงานวิจัย (ต่อ)
เมื่อการซักถาม ควรตั้งใจฟังและ ตอบคําถามให้ตรงประเด็น หากคำถามไม่ชัดเจน ขอให้อธิบายเพิ่มเติม กรณีหลายคำถาม ตอบคำถามง่ายก่อน เมื่อจบการเสนอผลงาน ควรกล่าว ขอบคุณ ช่วงหลังการเสนอผลงาน แสดงความขอบคุณผู้ดำเนินรายการ ผู้ประสานงาน หากมีผู้ฟังบางคนสนใจซักถามต่อเนื่อง ควรให้เวลาและตอบคำถามด้วยความสุภาพ ไม่ควรแจ้งผู้ฟังว่าหมดเวลาการนำเสนอหรือหมดเวลาซักถามแล้ว แต่ควรรอให้กรรมการหรือผู้ดำเนินรายการบอกหมดเวลา

11 รายการอ้างอิง นงลักษณ์ วิรัชชัย. (ม.ป.ป.). เทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัย. สืบค้นจาก สิริมา มงคลสัมฤทธิ์. (ม.ป.ป.). เทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัย. สืบค้นจาก /how%20to%20presentation.pdf


ดาวน์โหลด ppt การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (oral presentation)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google