พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (มาตรา 18 วรรคสาม) พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ คือ พนักงานสอบสวนที่มีหน้าที่สรุปสำนวนการสอบสวน และทำความเห็นพร้อมสำนวน เสนอพนักงานอัยการว่าควรงดการสอบสวน หรือสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องตามบทบัญญัติมาตรา 140, 141 และ 142
กรณีตามมาตรา 18 นี้ แม้จะเป็นกรณีความผิดที่เกิดขึ้นในท้องที่เดียว แต่พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนอาจมีหลายท้องที่ได้ กล่าวคือ พนักงานสอบสวนทั้งในท้องที่ที่ความผิดได้เกิด อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดหรือท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับต่างมีอำนาจสวบสวนตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีได้เพียงท้องที่เดียว ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 18 วรรคสาม กล่าวคือให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ความผิดได้เกิดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกจึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน
ฎีกาที่ 9239 / 2547 เหตุคดีที่เกิดขึ้นในซอยบ่อนไก่ ถนนพิบูลสงคราม อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีเพียงท้องที่เดียว สถานที่ที่จำเลยถูกจับภายหลังการกระทำความผิดซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน หาใช่ท้องที่ที่เกิดเการกระทำความผิดด้วยไม่ เมื่อที่เกิดเหตุอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจอำเภอเมืองนนทบุรีจึงมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนี้ ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 18 วรรคสาม
ข้อสังเกต กรณีตามมาตรา 18 เป็นเรื่องการสอบสวนในความผิดอาญาที่เกิดขึ้นในท้องที่เดียว พนักงานสอบสวนในท้องที่นั้นย่อมเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (มาตรา 15 วรรคสาม) ส่วนกรณีความผิดที่เกิดขึ้นหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนท้องที่ใดมีอำนาจสอบสวนและท้องที่ใดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 19 ซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้
นอกจากนี้พึงสังเกตว่ามาตรา 18 วรรคสามบัญญัติว่า “ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 19, 20 และ 21…” หมายถึง พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในกรณีความผิดเกิดหลายท้องที่ (มาตรา 19) หรือความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร (มาตรา 20) หรือมีการชี้ขาดว่าผู้ใดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้ว (มาตรา 21) พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอนก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว
การสอบสวนที่กระทำโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่มีอำนาจสอบสวน (พนักงานสอบสวนท้องที่อื่นที่ไม่ใช่ท้องที่ความผิดเกิด เชื่อหรืออ้างว่าเกิด) แต่เมื่อได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ความผิดเกิด ทำการสอบสวนพยานอีกครั้งหนึ่งโดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ ถือว่าการสอบสวนดังกล่าวกระทำโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้ว โดยถือว่าคดีดังกล่าวมีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาที่ 12934/2553
ฎีกาที่ 12934/2553 การสอบสวนตาม ป. วิ. อ ฎีกาที่ 12934/2553 การสอบสวนตาม ป. วิ. อ. มาตรา 120 ต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ระบุไว้ใน ป. วิ. อ. มาตรา 2(6) ประกอบด้วยมาตรา 18 ในคดีนี้เหตุเกิดในท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลกลางใหญ่ จังหวัดอุดรธานี ร. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลางจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการทำแทนพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจตามที่ ป. วิ. อ. มาตรา 128 บัญญัติไว้ การที่ร. สอบสวนโจทก์ร่วมและอ. จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้กำกับการสถานีนครบาลวังทองหลางส่งสำนวนการสอบสวนไปให้รองผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรตำบลกลางใหญ่แล้ว และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลกลางใหญ่ได้สอบสวนโจทก์ร่วมและ อ. อีกครั้งหนึ่ง
แม้ อ. จะให้การยืนยันตามคำให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลางทุกประการก็ตาม แต่อ. ก็ได้ให้การเกี่ยวกับรายละเอียดการกระทำผิดของจำเลย ถือว่ามีการสอบสวนโจทก์ร่วมและอ. โดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้ว ส่วนการที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลางได้สอบสวนโจทก์ร่วมเพิ่มเติมตามใบต่อคำให้การนั้น คงมีผลให้คำให้การดังกล่าวไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เท่านั้น หาทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดไม่ เมื่อการสอบสวนของ พ. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นการสอบสวนชอบแล้ว การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วย ป. วิ. อ. มาตรา 18, 120 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ความผิดที่เกี่ยวพันกันหลายท้องที่ได้แต่กรณีดังต่อไปนี้ พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจกรณีความผิดเกี่ยวพันกันหลายท้องที่ (มาตรา 19) ความผิดที่เกี่ยวพันกันหลายท้องที่ได้แต่กรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ (2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง (3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
(4) เมื่อเป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน (5) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง (6) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง
ในกรณีดังกล่าว พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ (มาตรา 19 วรรคหนึ่ง) ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน (ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจ (ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ (มาตรา 19 วรรคสาม)
กรณีไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญากระทำในท้องที่ใด (มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1) กรณีไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ไดระหว่างหลายท้องที่ด้วยกัน ป. อ. มาตรา 19 (1) เช่น แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องที่หนึ่ง และไปเบิกความต่อศาลอีกท้องที่หนึ่งซึ่งยังไม่แน่ว่าจะเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จหรือเบิกความเท็จ พนักงานสอบสวนท้องที่ใดท้องที่หนึ่งดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนได้ ฎีกาที่ 822-823/2490
ข้อสังเกต เรื่องนี้จำเลยแจ้งความที่อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี และเบิกความต่อศาลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี การแจ้งความและเบิกความไม่ตรงกัน ตอนแรกจึงยังไม่แน่ว่าเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จหรือเบิกความเท็จ เจ้าพนักงานอำเภอหนองแซงจึงมีอำนาจสอบสวน แม้ต่อมามีพยานหลักฐานว่าจำเลยกระทำผิดฐานเบิกความเท็จซึ่งเกิดที่อำเภอเมืองสระบุรีก็ตาม ก็เป็นการสอบสวนโดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ทั้งนี้อาศัยมาตรา 19(1) นอกจากนี้มีฎีกาที่ 23/2513,1655/2530,14/2524
ความผิดต่อเนื่องหลายท้องที่ (มาตรา19วรรคหนึ่ง (3)) ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดต่อเนื่องกับความผิดฐานลักทรัพย์หรือ ฯลฯ (ความผิดตาม ป. อ. มาตรา 357) ดังนั้น กรณีที่ความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรเกิดต่างท้องที่กัน พนักงานสอบสวนในท้องที่ความผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้นย่อมมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานรับของโจรได้ด้วย ฎีกาที่ 16497/2557, 1180/2537, 3903/2531
ฎีกาที่ 16497/2557 ผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบ้านนาไว้ก่อนแล้ว ต่อมาเมื่อพันตำรวจโท น. รู้ว่ารถยนต์ของผู้เสียหายถูกคนร้ายลักมาและจับกุมจำเลยทั้งสามได้ก็นำจำเลยทั้งสามส่งให้พนักงานเสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบ้านนาดำเนินการต่อไปเพราะข้อหาลักทรัพย์มีผู้เสียหายร้องทุกข์ไว้แล้ว ดังนี้แม้ความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 19 (3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบ้านนา จึงมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ของผู้เสียหายได้ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร การสอบสวนในความผิดฐานรับของโจรจึงชอบแล้ว
ความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม เป็นความผิดต่อเนื่องกับความผิดฐานพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร พนักงานสอบสวนท้องที่ที่มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม ย่อมมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย ฎีกาที่ 3240/2550
พรากผู้เยาว์ในท้องที่หนึ่งแล้วพาไปข่มขืนกระทำชำเราอีกห้องที่หนึ่ง เป็นความผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป และเป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันตาม ป.วิ. อ. มาตรา 19 (3) และ (4) (ฎีกาที่ 14944/2551)
ความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงินตาม พ. ร. บ ความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงินตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ถือว่าท้องที่ที่จำเลยออกเช็คเป็นความผิดต้อเนื่องกับท้องที่ที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น พนักงานสอบสวนท้องที่ใดท้องที่หนึ่งดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา 19 (3) ฎีกาที่ 1702-1703/2523 (ประชุมใหญ่), 5103/2528, 2070/ 2543
ฎีกาที่ 1702-1703/2523 (ประชุมใหญ่) แม้ความผิดมิได้เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอพระประแดงเพราะธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินมิได้ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนั้นก็ตาม แต่จำเลยได้ออกเช็คในท้องที่นั้น ถือได้ว่าเป็นความผิดต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดงย่อมมีอำนาจสอบสวน การสอบสวนนั้นชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการมีอำนาจฟ้องและท้องที่ซึ่งเจ้าพนักงานทำการสอบสวนนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสมุทรปราการศาลดังกล่าวย่อมมีอำนาจชำระตาม ป. วิ. อ. มาตรา 22
เจ้าพนักงานตำรวจวางแผนล่อซื้อเมทแอมเฟตามีน และจับกุมผู้กระทำผิดคนหนึ่งได้ในท้องที่หนึ่ง และติดตามไปจับกุมผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่นได้ในอีกท้องที่หนึ่งพร้อมเมทแอมเฟตามีนของกลางอีกจำนวนหนึ่ง ถือว่าความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดต่อเนื่องกันหลายท้องที่ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 19 (3) ฎีกาที่ 4337/2554, 1259/2542
แต่ถ้าการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนได้กระทำในท้องที่เดียว ไม่เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องหลายท้องที่ แม้มีการจับกุมผู้กระทำความผิดคนอื่นได้ในท้องที่อื่นก็ตาม ฎีกาที่ 1756/2550
ตัวอย่างความผิดหลายกรรมกระทำในท้องที่ต่าง ๆ กัน (มาตรา 19 (4)) ฎีกาที่ 11530/2553 จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4, 935 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยเหตุเกิดที่ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และจำเลยที่ 3 ยังกระทำความผิดโดยลำพังฐานมีเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยที่ 3 ถูกจับได้ที่แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 กระทำความผิดหลายกรรมในท้องที่ต่างๆกันพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองหนองคาย จึงมีอำนาจสอบสวนการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยที่ 3 ได้ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 19 (4)
ข้อสังเกต เรื่องนี้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน จำนวน 4, 935 เม็ด กรรมหนึ่ง และจำนวน 1 เม็ด อีกกรรมหนึ่ง ดังนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองหนองคายจึงมีอำนาจสอบสวนการกระทำของจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าว
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบกรณีความผิดเกี่ยวพันกันหลายท้องที่ ในกรณีความผิดเกิดหลายท้องที่ตามมาตรา 19 (1) ถึง (6) พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวน (มาตรา 19 วรรคหนึ่ง) พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนจึงมีด้วยกันหลายท้องที่
เนื่องจากพนักงานสอบสวนหลายท้องที่มีอำนาจสอบสวนนี้เอง จึงต้องมีพนักงานสอบสวนท้องที่ใดท้องที่หนึ่งเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนเพียงท้องที่เดียวซึ่งมีหน้าที่ในการรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดสรุปสำนวน แล้วทำความเห็นว่าควรงดการสอบสวน สั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องไปยังพนักงานอัยการ และโดยเหตุที่เป็นความผิดที่เกิดขึ้นหลายท้องที่นั่นเอง กรณีจึงไม่อาจกำหนดพนักงานสอบสวนท้องที่ที่ความผิดเกิดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ดังเช่นกรณีความผิดเกิดในท้องที่เดียวตามมาตรา 18 วรรคสาม พนักงานสอบสวนท้องที่ใดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นไปตามมาตรา 19 วรรคสาม โดยแยกออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ
กรณีที่จับผู้ต้องหาได้แล้ว ผู้ต้องหาถูกจับในท้องที่ใด พนักงานสอบสวนในท้องที่นั้นก็เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (มาตรา 19 วรรคสาม (ก)) กรณีจับผู้ต้องหายังไม่ได้ พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (มาตรา 19 วรรคสาม (ข))
น่าสังเกตว่าทั้งสองกรณีดังกล่าว ต้องเป็นการจับตัวผู้ต้องหาหรือพบการกระทำผิดก่อนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งตามมาตรา 19 (1) ถึง (6) แล้วแต่กรณีด้วย หากผู้ต้องหาถูกจับหรือพบการกระทำผิดก่อนในท้องที่อื่นนอกจากนี้ พนักงานสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวก็ไม่อาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสามได้ เช่นคนร้ายลักทรัพย์ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่แล้วนำทรัพย์มาจำหน่ายที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ความผิดฐานลักทรัพย์และความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดต่อเนื่องกัน ทั้งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองสุพรรณบุรี
ต่างมีอำนาจสอบสวน ส่วนพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะเป็นท้องที่ใด ต้องพิจารณาระหว่างพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองสุพรรณบุรี ว่าท้องที่ใดจับตัวผู้ต้องหาได้หรือพบการกระทำผิดก่อนตามมาตรา 19 วรรคสาม แต่ถ้าผู้ต้องหาถูกจับหรือได้มีการพบการกระทำความผิดในท้องที่อำเภอเมืองจังหวัดตาก (ซึ่งไม่ใช่ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งของความผิดต่อเนื่องดังกล่าว) ก่อน
พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองตากก็ไม่อาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้เพราะแม้แต่อำนาจสอบสวนพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองตากก็ไม่มีอำนาจสอบสวน
เมื่อมีการจับจำเลยได้แล้วพนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับจ้าเลยได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ฎีกาที่ 3585/2546 หากพนักงานสอบสวนท้องที่อื่นที่มิใช่ท้องที่ที่จับจำเลยได้ทำหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตามมาตรา 120 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกาที่ 3466/2547
การจับตัวผู้ต้องหาได้ ต้องเป็นการจับตัวในข้อหาเดียวกันกับข้อหาใดข้อหาหนึ่งในความผิดต่อเนื่องนั้นด้วย ถ้าเป็นการจับตัวในข้อหาอื่นนอกจากนี้จะถือว่าพนักงานสอบสวนในท้องที่นั้นเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ก) ไม่ได้ เช่นจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรต่อเนื่องกันหลายท้องที่ แต่จำเลยถูกจับกุมในข้อหาซ่องโจรท้องที่ต่อเนื่องดังกล่าว ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรด้วย พนักงานสอบสวนในท้องที่จับกุมจำเลยได้จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวตามมาตรา 19 วรรคสาม (ก) ฎีกาที่ 1579/2546
อย่างไรก็ดีแม้เป็นการจับกุมในข้อหาเดียวกัน ก็ต้องเป็นการจับกุมจำเลยสำหรับการกระทำความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดต่อเนื่องด้วย ถ้าเป็นการจับกุมจำเลยสำหรับการกระทำคนละกรรมกัน แม้เป็นการจับกุมจำเลยได้ก่อนท้องที่อื่นพนักงานสอบสวนในท้องที่นั้นก็ไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในความผิดต่อเนื่อง ฎีกาที่ 625/2552
กรณีที่จับตัวผู้ต้องหาได้ และพนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ก) นั้น น่าจะหมายถึงกรณีที่ก่อนจับกุมผู้ต้องหาได้นั้นยังไม่มีพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ กล่าวคือยังไม่มีท้องที่ใดพบการกระทำผิด จึงยังไม่เริ่มทำการสอบสวนนั่นเอง ดังนี้ถ้าก่อนจับผู้ต้องหาได้ปรากฏว่ามีพนักงานสอบสวนท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องพบการกระทำผิดก่อน ถือว่าพนักงานสอบสวนท้องที่นั้นเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข)
แม้ต่อมาจะจับผู้ต้องหาได้ในท้องที่อื่นก็ตาม พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนก็ยังคงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนพนักงานสอบสวนท้องที่จับกุมผู้ต้องหาได้ในภายหลังจึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 19 วรรคสาม(ก) ฎีกาที่ 4512/2530,1126/2544,1204/2542,2880/2548 ก่อนจับผู้ต้องหาได้ ผู้เสียหายไปแจ้งความในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้อง ถือว่าพนักงานสอบสวนท้องที่นั้นพบการกระทำความผิดก่อน ฎีกาที่ 14944/2551, 9321/2559 การที่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความ ไม่ถือว่าเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน ฎีกาที่ 2880/2548
ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง เป็นการแยกว่า แม้พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวน แต่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวน (การรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดทุกท้องที่และสรุปสำนวน) ต้องเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้ ถ้าจับตัวยังไม่ได้เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หากพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไม่เป็นไปตามมาตรา 19 วรรคสามบัญญัติไว้ ทำให้เกิดผลเสียแก่คดีได้ โดยถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนคดีนั้นโดยชอบตาม ป. วิ. อ. มาตรา 120 มีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง ฎีกาที่ 1974/2539
อย่างไรก็ดี แม้จะมีพนักงานสอบสวนท้องที่ใดท้องที่หนึ่งเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วก็ไม่ทำให้พนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกี่ยวข้องอื่นหมดอำนาจสอบสวน ฎีกาที่ 3952/2551 พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบกรณีความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร (มาตรา 20) ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้นให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้ (มาตรา 20 วรรคหนึ่ง)
ในกรณีที่อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน มอบหมายให้พนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวน อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจะมอบหมายให้พนักงานอัยการคนใดทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้ (มาตรา 20 วรรคสอง) ให้พนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมายเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือให้ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนมีอำนาจและหน้าที่ในการสอบสวนเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน บรรดาอำนาจและหน้าที่ประการอื่นที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (มาตรา 20 วรรคสาม)
(1) พนักงานสอบสวนซึ่งผู้ต้องหาถูกจับอยู่ในเขตอำนาจ ในกรณีที่พนักงานอัยการคนใดทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐาน (มาตรา 20 วรรคสี่) ในกรณีจำเป็น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้ มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอคำสั่งจากอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน (1) พนักงานสอบสวนซึ่งผู้ต้องหาถูกจับอยู่ในเขตอำนาจ (2) พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่น หรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา (มาตรา 20 วรรคห้า)
เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวน แล้วแต่กรณีเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ทำความเห็นตามมาตรา 140 มาตรา 141 หรือมาตรา 142 ส่งพร้อมสำนวนไปยังอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน (มาตรา 20 วรรคท้าย) กรณีตามมาตรา 20 นี้เป็นกรณีความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดถือว่าเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักรตาม ป. อ. มาตรา 4 วรรคสอง กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 20 ฎีกาที่ 2670/2535
ฎีกาที่ 2670/2535 เหตุเกิดในเรือไทยเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักร พนักงานสอบสวน กองปราบปราม กรมตำรวจมีอำนาจสอบสานคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักรจึงมีอำนาจสอบสวน จำเลยรับฝากทรัพย์ของผู้เสียหายขณะอยู่นอกราชอาณาจักร แต่เมื่อถึงประเทศไทยได้ปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากไว้ ถือว่าเหตุความผิดฐานยักยอกเกิดในราชอาณาจักรไม่เข้ากรณีตามมาตรา 20 ฎีกาที่ 1573/ 2535
กรณีอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป กรณีอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป. วิ. อ. มาตรา 20 ต้องเป็นความผิดซึ่งกระทำลงนอกราชอาณาจักรทั้งหมด ถ้าความผิดนั้นกระทำนอกราชอาณาจักร แต่ส่วนหนึ่งกระทำในราชอาณาจักร กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 20 ฎีกาที่ 2679/2559, 3118/2559 ฎีกาที่ 2679/2559 โจทก์ร่วมดำเนินการติดต่อซื้อขายข้าวสารจากจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยและมีการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในขณะที่โจทก์ร่วมอยู่ต่างประเทศซึ่งจำเลยที่ 1 อยู่ในประเทศไทย การที่จำเลยที่ 1 พูดหลอกลวงโจทก์ร่วมให้หลงเชื่อและมีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยที่ 1 ที่ประเทศไทยแม้จะมีการส่งมอบเงินจำนวนหนึ่งในต่างประเทศก็ตาม แต่มีการกระทำส่วนหนึ่งอยู่ในประเทศไทย จึงไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรซึ่งพนักงานอัยการต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 20
ฎีกาที่3118 / 2559 โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน โดยเหตุเกิดที่ตำบลนากลางอำเภอนากลางจังหวัดหนองบัวลำภูและแขวงบางนาเขตบางนา กรุงเทพมหานครและประเทศสิงคโปร์ เกี่ยวพันกันจึงเป็นกรณีการกระทำของจำเลยเป็นความผิดซึ่งหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันตาม ป.วิ.อ.มาตรา 19(4) พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับจำเลยได้อยู่ในเขตอำนาจ ไม่ใช่กรณีความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรอย่างเดียวตาม ป. วิ. อ. มาตรา 20 ซึ่งอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสานผู้รับผิดชอบคดีนี้ตามฟ้องจับจำเลยได้เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2553 และนำส่งพนักงานสอบสวนแล้ว การสอบสวนจึงเป็นไปโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
ผู้มีอำนาจชี้ขาดการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (มาตรา 21, 21/1) กรณีจังหวัดเดียวกัน (มาตรา21วรรคหนึ่ง) กรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ 1. กรณีจังหวัดอื่น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ชี้ขาด 2. กรณีกรุงเทพมหานคร ให้ผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติขึ้นไปเป็นผู้ชี้ขาด กรณีระหว่างหลายจังหวัด (มาตรา 21 วรรคสอง) กรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในระหว่างหลายจังหวัดควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้อัยการสูงสุดหรือผู้ทำการแทนเป็นผู้ชี้ขาด
การรอคำชี้ขาดนั้น ไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน ในเรื่องผู้มีอำนาจชี้ขาดการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบนี้ ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 115/2557 ให้เพิ่ม ป. วิ. อ. มาตรา 21/1 ความว่า “มาตรา 21/1 สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกัน หรือในกองบัญชาการเดียวกัน ควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบให้ผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนนั้นเป็นผู้ชี้ขาด การรอการชี้ขาดไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน
จากบทบัญญัติมาตรา 21/1 นี้ เป็นการกำหนดผู้มีอำนาจชี้ขาดเรื่องการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแยกย่อยจำเพาะเจาะจงลงไปอีก กล่าวคือมาตรา 21/1 ใช้บังคับในกรณีที่การสอบสวนอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้น และต้องเป็นกรณีไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันหรือกองบัญชาการเดียวกันด้วย หากเป็นกรณีอื่นนอกจากนี้ ก็คงต้องบังคับตาม ป. วิ. อ. มาตรา 21 ดังเดิม
สรุป เมื่อมีความผิดทางอาญาเกิดขึ้น พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนได้แก่ พนักงานสอบสวนในท้องที่ซึ่งความผิดได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าเกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับ (มาตรา 18) และถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 19 พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ด้วย (มาตรา 19 วรรคสอง) แสดงว่าในความผิดอาญาคดีหนึ่ง ๆ ที่เกิดขึ้น การสอบสวนอาจกระทำโดยพนักงานสอบสวนหลายท้องที่
โดยมีพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ โดยเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด สรุปสำนวนแล้วเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการว่าเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้แก่พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ความผิดอาญาได้เกิด เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกจึงให้พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (มาตรา 18 วรรคสาม) หรือถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 19 ซึ่งผู้ต้องหาถูกจับแล้ว ถ้ายังไม่มีการเริ่มสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่พบการกระทำผิดก่อน พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ(มาตรา 19 วรรคสาม(ก))
ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ พนักงานสอบสวนที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (มาตรา 19 วรรคสาม (ข)) จะเห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนอาจมีได้หลายท้องที่ แต่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีได้เพียงท้องที่เดียวเท่านั้น ถ้าการสอบสวนกระทำโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่เป็นไปตามมาตรา18,19หรือ 20หรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไม่เป็นไปตามมาตรา18 วรรคสามหรือ 19 วรรคสามหรือมาตรา 20 วรรคแรก ถือเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับไม่มีการสอบสวน มีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ทั้งนี้ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 120
คำถาม คำให้การสอบสวนเพิ่มเติม พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง จะทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนในครั้งแรกที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเสียไปด้วยหรือไม่ คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 5580/2560
จำเลยฎีกาอ้างว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำคำให้การในชั้นสอบสวนเพิ่มเติมของจำเลยมาฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมแล้วฟังลงโทษจำเลยไม่ชอบเพราะก่อนถามคำให้การจำเลยเพิ่มเติมพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยคำให้การในชั้นสอบสวนเพิ่มเติมของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจรับฟังในพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยนั้น
เห็นว่า แม้คำให้การในชั้นสอบสวนเพิ่มเติมของจำเลย พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา134วรรคหนึ่ง แต่ก็ไม่ทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยในครั้งแรกที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้นเสียไปด้วยแต่อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมประกอบกับน้ำหนักมั่นคง รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 5312/2560 วินิจฉัยว่า แม้เรือนจำกลางเขาบินจังหวัดราชบุรี เป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตามนัยแห่ง ป. พ. พ. มาตรา 47 ถือได้ว่าจำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้เป็นบทบังคับให้ศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นจึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความสะดวกในการพิจารณาคดี
การสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 64 ปีการศึกษา 2554
ข้อ 1. คำถาม นายชัยกับพวกรวม 7 คน ซึ่งเป็นคนไทย ขึ้นไปบนเรือสินค้าของชาวจีน ซึ่งจอดรอเทียบท่าอยู่ในแม่น้ำโขงริมฝั่งประเทศ แล้วร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่ให้ลูกเรือชาวจีนส่งมอบ ทรัพย์สินให้ แล้วนายชัยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงลูกเรือชาวจีนทั้ง 13 คน นายชัยกับพวก เข้าใจว่าลูกเรือชาวจีนตายแล้วทั้งหมด จึงนำเรือสินค้าลำดังกล่าวมาจอดเทียบท่าที่ท่าเรืออำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แล้วร่วมกันนำทรัพย์สินที่ปล้นมาได้. หลบหนีไป ภายหลังนายชัยกลับขึ้นไปบนเรือลำดังกล่าวเพื่อค้นหาอาวุธปืนที่ลืมทิ้งไว้ แต่พบว่ามีลูกเรือชาวจีนอีก 2 คนยังไม่ตาย จึงใช้อาวุธปืนยิงลูกเรือทั้งสองจนตายขณะที่นายชัยกำลังจะหลบหนี
ได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรแม่สายจับกุมตัวได้ แล้วนำตัวส่งให้พันตำรวจตรียอด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรแม่สายดำเนินคดี พันตำรวจตรียอดได้แจ้งข้อหานายชัยว่าร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยมีและใช้อาวุธปืนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัส และฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาอันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ซึ่งเป็นความผิดทั้งที่เกิดในประเทศลาวและประเทศไทย เมื่อพันตำรวจตรียอดทำการสอบสวนเสร็จ จึงได้สรุปสำนวนการสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายชัยตามข้อกล่าวหาเสนอพนักงานอัยการจังหวัดเชียงราย พนักงานอัยการจังหวัดเชียงราย มีคำสั่งฟ้องตามความเห็นของพนักงานสอบสวนและได้ยื่นฟ้องนายชัยเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงรายในความผิดตามข้อกล่าวหา จำเลยให้การปฏิเสธและต่อสู้ว่าพนักงานสอบสวนในคดีนี้ ไม่มีอำนาจสอบสวนอัยการจังหวัดเชียงรายไม่มีอำนาจสั่งคดีและไม่มีอำนาจฟ้อง
ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่ ธงคำตอบ ความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีและใช้อาวุธปืนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัสนั้น เหตุเกิดที่ริมฝั่งประเทศลาวเป็นความผิดที่เกิดนอกราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 20 แม้จะมีลูกเรือชาวจีนจำนวนสองคนถูกยิงตายที่ท่าเรืออำเภอแม่สาย ซึ่งอยู่ในอาณาเขตประเทศไทย แต่ก็เป็นความผิดคนละกรรมกันกับความผิดที่เกิดนอกราชอาณาจักรหา ใช่เป็นกรณีความผิดหลายกรรมเกิดขึ้นในหลายท้องที่เกี่ยวพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(4) ไม่ เพราะกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 เป็นเรื่องที่ความผิดทั้งหมดเกิดภายในราชอาณาจักรและเป็นความผิดหลายกรรมเกิดในหลายท้องที่
ดังนั้น แม้จะจับกุมผู้ต้องหาได้ในท้องที่สถานีตำรวจภูธรแม่สายก็ตาม ก็ไม่ทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรแม่สายเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในความผิด ฐานปล้นทรัพย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340, 340 ตรี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 (4) วรรคสอง (ก) เมื่อความผิดฐานดังกล่าวเหตุเกิดนอกราชอาณาจักร อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจึงเป็นพนักงานงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แต่อัยการการสูงสุดมอบหมายให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทน
แต่ในกรณีที่อัยการสูงสุดมอบให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอนสวนแทนอาจมอบให้พนักงานอัยการคนใดทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้ เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนเสร็จแล้วให้ทำความเห็นและส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 20 วรรคหก
แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าอัยการสูงสุดได้มอบหมายพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรแม่สายเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ดังนั้น พันตำรวจตรียอด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรแม่สาย จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีผลเท่ากับไม่มีการสอบสวน เมื่อความผิดฐานปล้นทรัพย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340, 340 ตรี เหตุเกิดนอกราชอาณาจักร จึงเป็นอำนาจของอัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาสั่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 วรรคหก พนักงานอัยการจังหวัดเชียงรายย่อมไม่มีอำนาจสั่งคดีและไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยในข้อนี้จึงฟังขึ้น
ส่วนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นนั้น เหตุเกิดในเขตท้องที่สถานีตำรวจสาย ซึ่งเป็นความผิดในราชอาณาจักร อยู่ในเขตท้องที่ของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรแม่สาย เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 พนักงาน อัยการจังหวัดเชียงราย จึงมีอำนาจสั่งคดีและมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 69
ข้อ 2. คำถาม นายดำมีเครื่องตวงข้าวเปลือกที่ผิดอัตราไว้เพื่อขายจำนวน 19 เครื่อง โดยนายดำได้นำเครื่องตวงข้าวเปลือกดังกล่าวออกเร่ขายตั้งแต่บริเวณท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ไปจนถึงบริเวณท้องที่สถานีตำรวจภูธรคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย นายดำถูกเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรคีรีมาศจับได้ หลังจากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรคีรีมาศทำการสอบสวนนายดำเสร็จแล้วได้ทำความเห็นควรสั่งฟ้องนายดำในข้อหาความผิดฐานใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่ง เครื่องตวง หรือเครื่องวัดที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้า หรือมีเครื่องเช่นว่านั้นไว้เพื่อขายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270 และส่งสำนวนพร้อมกับตัวนายดำไปยังพนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย
ให้วินิจฉัยว่า พนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัยจะรับสำนวนคดีไว้พิจารณาและมีอำนาจฟ้องต่อศาลจังหวัดสุโขทัยหรือไม่ ธงคำตอบ การที่นายดำมีเครื่องตวงข้าวเปลือกที่ผิดอัตราไว้เพื่อขายจำนวน 19 เครื่อง โดยนายดำได้นำเครื่องตวงข้าวเปลือกดังกล่าวออกเร่ขายตั้งแต่บริเวณท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ไปจนถึงบริเวณท้องที่สถานีตำรวจภูธรคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ที่นายดำถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรคีรีมาศจับได้
การกระทำของนายดำดังกล่าวเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลกกับท้องที่สถานีตำรวจภูธรคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) เมื่อนายดำถูกจับได้ในท้องที่สถานีตำรวจภูธรคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ถือว่าเป็นความผิดอยู่เรื่อยไปจนกระทั่งนายดำถูกจับได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 888 / 2507 (ประชุมใหญ่)) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรคีรีมาศจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสอง (ก)
ดังนั้น พนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัยจึงรับสำนวนคดีนี้ไว้พิจารณาได้ และพนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัยย่อมมีอำนาจฟ้องนายดำเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดสุโขทัยซึ่งท้องที่สถานีตำรวจภูธรคีรีมาศอยู่ในเขตอำนาจได้ตามมาตรา 22 (คำพิพากษาฎีกาที่ 1885 / 2527)
การสอบสวน (มาตรา 120-147) พนักงานอัยการฟ้องคดีได้ต้องมีการสอบสวนก่อน (มาตรา 120) ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 120 ห้ามไม่ให้พนักงานอัยการฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ข้อสังเกต หลักเกณฑ์ที่ต้องมีการสอบสวนก่อนพนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120 นี้ มีข้อยกเว้นกรณีคดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา ถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อหา พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องด้วยวาจาโดยไม่ต้องมีการสอบสวนตาม พ. ร. บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯมาตรา 20
การสอบสวนต้องกระทำโดยพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจตามมาตรา 18 ดังนี้ การสอบสวนโดยคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงไม่ใช่สอบในฐานะพนักงานสอบสวนถือว่าไม่มีการสอบสวน พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกาที่ 3130/2556
การสอบสวนที่กระทำโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่มีอำนาจสอบสวน (พนักงานสอบสวนท้องที่อื่นที่ไม่ใช่ท้องที่ความผิดเกิด เชื่อหรืออ้างว่าเกิด) แต่เมื่อได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ความผิดเกิดทำการสอบสวนพยานอีกครั้งหนึ่งโดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ ถือว่าการสอบสวนดังกล่าวกระทำโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบโดยถือว่าคดีดังกล่าวมีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาที่ 12934/2553
ในกรณีขอแก้ไขฟ้องโดยเพิ่มเติมฐานความผิด ก็ต้องมีการสอบสวนในฐานความผิดข้อหาที่ขอเพิ่มเติมนั้นด้วยเช่นกัน ฎีกาที่ 750/2494, 801/2511 เหตุที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจไม่ทำการสอบสวน (มาตรา 122) พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบในกรณีต่อไปนี้ก็ได้ (1) เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ (2) เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเสียเองโดยมิได้ร้องทุกข์ก่อน (3) เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์ หรือบุคคลที่กล่าวโทษด้วยปากไม่ยอมบอกว่าเขาคือใคร หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อในคำกล่าวโทษหรือบันทึกคำกล่าวโทษ
การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายถือว่าไม่มีการสอบสวน การสอบสวนตามมาตรา 120 หมายถึงการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย พนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจฟ้อง คดีอาญาที่มีการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าคดีนั้นไม่มีการสอบสวน มีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่กรณีดังต่อไปนี้ 1. การสอบสวนที่กระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจตามบทบัญญัติมาตรา 18, 19 ที่กล่าวมาแล้ว การสอบสวนที่กระทำโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่มีอำนาจ ถือว่าไม่มีการสอบสวน พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120(ฎีกาที่ 518/2506, 726/2483, 371/2531 ในหัวข้ออำนาจสืบสวนสอบสวน) หรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไม่เป็นไปตามมาตรา 18 วรรคสาม 19 วรรคสอง ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนคดีนั้น พนักงานอัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องเช่นกัน ฎีกาที่ 1305/2482, 650/2528, 4634/2543
2. คดีความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ ต้องมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ (มาตรา 121 วรรคสอง) คำร้องทุกข์จะทำเป็นหนังสือหรือร้องด้วยปากก็ได้ ถ้าเป็นหนังสือต้องมีวันเดือนปีและลงลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ ถ้าร้องด้วยปาก ให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปีและลงลายมือชื่อของผู้บันทึกกับผู้ร้องทุกข์ในบันทึกนั้น (มาตรา 123 วรรคสาม) คำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ความเสียหายที่ได้รับและชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้ (มาตรา 123 วรรคสอง)
พนักงานสอบสวนจะสอบสวนคดีความผิดต่อส่วนตัว (ความผิดอันยอมความได้) ได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์เสียก่อน แต่ต้องเป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงจะมีอำนาจสอบสวนได้ ดังนั้น หากสอบสวนคดีความผิดต่อส่วนตัวไปโดยไม่มีคำร้องทุกข์หรือเป็นคำร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าไม่มีการสอบสวน มีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120 เช่น 2.1 ผู้ที่ไปร้องทุกข์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ถือว่าคดีความผิดต่อส่วนตัวนั้นไม่มีการร้องทุกข์ตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน และทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกาที่ 4684/2528 (ประชุมใหญ่), 815/2535 (ประชุมใหญ่), 243/2529, 1338/2532
กรณีมีการกระทำผิดอาญาต่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด นิติบุคคลดังกล่าวเป็นผู้เสียหาย ผู้แทนนิติบุคคล เช่น หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการผู้จัดการมีอำนาจร้องทุกข์แทน บุคคลอื่นแม้จะเป็นหุ้นส่วนผู้ถือหุ้นไม่ใช่ผู้เสียหาย ฎีกาที่ 610/2515 (ฎีกาที่ 6328-6330/2531 ในมาตรา 2 (4)) การที่หุ้นส่วนผู้จัดการไปร้องทุกข์ในนามส่วนตัว ถือว่าผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ร้องทุกข์ ฎีกาที่ 5008/2537
อย่างไรก็ตามถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำความผิดอาญาต่อนิติบุคคลนั้นเสียเอง หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์ได้ (ฎีกาที่ 1250/2521,1680/2520 ในมาตรา 5 (3)) เช็คที่ฟ้องเป็นเช็คที่ผู้เสียหายคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมเข้าไปด้วย ถือผู้เสียหายไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบและไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ การสอบสวนจึงไม่ชอบส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง (ฎีกาที่ 2989/2545)
ในความผิดต่อส่วนตัว หากผู้ร้องทุกข์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่เป็นคำร้องทุกข์ ตามกฎหมาย การสอบสวนไม่ชอบ ฎีกาที่ 4077/2549 แต่ถ้าเป็นความผิดต่อแผ่นดิน แม้ผู้ร้องทุกข์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีผลกระทบต่อการสอบสวน การสอบสวนชอบ ฎีกาที่มี 82/2555 กรณีผู้เสียหายมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทน หนังสือมอบอำนาจต้องมีข้อความชัดเจนว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทน หนังสือมอบอำนาจที่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้ฟ้องต่อศาล ไม่รวมถึงมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย (ฎีกา610/2515)
หนังสือมอบอำนาจระบุให้บริษัท ค. โดย พ หนังสือมอบอำนาจระบุให้บริษัท ค. โดย พ. เป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์และมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายคือบริษัท ค. ไม่ใช่ พ. ในฐานะส่วนตัวการที่ พ. มอบอำนาจช่วงให้ ป. ไปแจ้งความร้องทุกข์ จึงเป็นการร้องทุกข์โดยมิชอบเพราะเป็นการกระทำโดยผู้ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนในความผิดอันยอมความได้ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง (ฎีกาที่ 376/2546)
2. 2 คำร้องทุกข์ที่ไม่ชอบด้วย ป. วิ. อ 2. 2 คำร้องทุกข์ที่ไม่ชอบด้วย ป. วิ. อ. มาตรา 2 (7) ถือว่าไม่มีการร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ตามมาตรา 2 (7) ให้คำนิยามของคำว่า “คำร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และได้กล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
การแจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน เป็นการแจ้งความโดยมิได้เจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ ไม่เป็นคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง (ฎ. 4906/2543) ถ้านอกจากมีข้อความว่าแจ้งไว้เพื่อเป็นหลักฐานแล้ว ยังมีข้อความว่าผู้เสียหายต้องการให้ผู้กระทำผิดมารับโทษ เป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมาย (ฎ. 8726/2556) การมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์แทนต้องระบุในหนังสือมอบอำนาจด้วยว่าให้มีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยด้วย (ฎ. 228/2544)
มอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่นิติบุคคล ไม่เป็นการร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่กรรมการผู้มีอำนาจด้วย การสอบสวนกรรมการในฐานะผู้ต้องหาเป็นการไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง คำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ย่อมตกไป ฎีกาที่ 2600 – 2602/2550 การมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ ฎีกาที่ 4812/2555 และการร้องทุกข์ก็ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือเช่นกัน ฎีกาที่ 15690/2553
การกระทำที่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือความผิดเกี่ยวเนื่องกัน การที่ผู้เสียหายร้องทุกข์โดยระบุความผิดเพียงบางข้อหา ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ในข้อหาอื่นแล้วด้วย ฎีกาที่ 2429/2537,2501/2527 ร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอก (ความผิดต่อส่วนตัว) สอบสวนแล้วได้ความว่าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ก็ถือว่าการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาที่ 6723/2548
หลักเกณฑ์อื่นที่น่าสนใจ 1. เมื่อได้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว แต่พนักงานสอบสวนบกพร่องไม่ระบุข้อหาให้ครบถ้วน ก็ไม่ทำให้การร้องทุกข์เสียไป (ฎีกาที่ 2167/2538) 2. หนังสือร้องทุกข์ของผู้เสียหายหลายคน แต่ผู้เสียหายลงชื่อในหนังสือร้องทุกข์เพียงบางคน ถือว่าผู้เสียหายที่ไม่ได้ลงชื่อไม่ได้ร้องทุกข์ด้วย (ฎีกาที่ 2730/2538)
3. บริษัทมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์ กรรมการที่ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจ มีเพียงคนเดียว แต่ตามข้อบังคับของบริษัทต้องมีกรรมการรวม 2 นายลงชื่อผูกพันบริษัทได้ การมอบอำนาจดังกล่าวจึงไม่ผูกพันบริษัทโจทก์ จึงถือว่าบริษัทโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ในความผิดต่อ พ. ร. บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ (ฎีกาที่ 1590/2530) แต่ถ้ากรรมการบริษัทลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ถูกต้องตามข้อบังคับพร้อมทั้งประทับตราสำคัญของ บริษัท แม้ไม่ได้ระบุว่ากระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำในฐานะส่วนตัวแต่เป็นการกระทำแทนบริษัท พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้อง (ฎีกาที่ 1518/2540)
4. หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ไม่ได้ปิดแสตมป์ ก็รับฟังได้ เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ห้ามมิให้รับฟังในคดีแพ่งเท่านั้น มิได้ห้ามมิให้รับฟังในคดีอาญาด้วย ฎีกาที่ 2386/2541
5. คำร้องทุกข์ตามมาตรา2 (7) ไม่มีแบบแต่อย่างใด คำร้องทุกข์จึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ (ฎ.719-720/2483) แม้พนักงานสอบสวนจะยังไม่ลงบันทึกประจำวันก็เป็นคำทุกข์แล้ว ฎีกาที่ 2371/2522, 22267/2555
คำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ถือเป็นค่าร้องทุกข์ได้ ฎีกาที่ 22267/2555,1641/2514 การที่ผู้เสียหายมีหนังสือร้องเรียนไปยังเจ้าพนักงานตำรวจ ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลยก็เป็นการร้องทุกข์แล้ว ฎีกาที่ 244/2507 (ประชุมใหญ่) 6 ผู้เยาว์ร้องทุกข์ด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม หรือต้องลงลายมือชื่อในคำร้องทุกข์นั้น (ฎีกาที่ 3915/2551,1982/2494) และเมื่อมีการสอบสวนและพนักงานอัยการได้ฟ้อง
จำเลยเป็นคดีต่อศาลแล้ว ดังนี้ เมื่อบิดาของผู้เสียหายร้องขอถอนคำร้องทุกข์โดยขัดขืนฝืนต่อความประสงค์ของผู้เยาว์นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ตามรูปคดีและเห็นว่าบิดานั้นไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ (ฎีกาที่ 214/2494(ประชุมใหญ่)) 2. 3 การร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานที่ไม่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์ ถือว่าไม่มีการร้องทุกข์ ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ (มาตรา 123) หรือจะร้องทุกข์ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่รองหรือเหนือพนักงานสอบสวนและเป็นผู้ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามกฎหมายก็ได้ (มาตรา 124)
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้น ดังนั้น ผู้เสียหายจึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนท้องที่อื่นก็ถือว่าเป็นการร้องทุกข์โดยชอบ ฎีกาที่ 2974/2516 และถือว่าพนักงานย่อมมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนอยู่ตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว การที่พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะรับแจ้งความร้องทุกข์ (ฎีกาที่ 3096/2536)
แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จึงไม่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์ ฎีกาที่ 1226/2503 ฎีกาที่ 1026/2503 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ใช่พนักงานสอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามป. อ. มาตรา 2 (16) และ 2 (17) จึงไม่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์ในคดีอาญาได้
คดีอาญาที่มิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว ไม่ต้องมีคำร้องทุกข์หรือผู้ร้องทุกข์ไม่ใช่ผู้เสียหายพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง ฎีกาที่ 16414/2556 (ฎ. 3753/2543,6318/2541,5088/2540 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน) ถ้าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ร้องทุกข์แก่ตนเอง ก็ถือเป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ฎีกาที่ 292/2482
การแก้หรือถอนคำร้องทุกข์ (มาตรา 126) ผู้ร้องทุกข์จะแก้หรือถอนคำร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ (มาตรา 126 วรรคหนึ่ง) แต่คดีซึ่งไม่ใช่ความผิดข้อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนหรือพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้น (มาตรา 126 วรรคสอง) เมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์แล้ว ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 (2) พนักงานเสอบสวนก็หมดอำนาจสอบสวนโดยต้องยุติคดีเสีย แต่ถ้ามีใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวพนักงานสอบสวนก็ยังคงมีอำนาจสอบสวนต่อไปและพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง
ผู้เยาว์ซึ่งมีอายุพอสมควรที่สามารถรู้ผิดชอบแล้ว ย่อมมีอำนาจร้องทุกข์ด้วยตนเองได้ส่วนการถอนคำร้องทุกข์ บิดามารดามีอำนาจถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เยาว์ได้ แต่จะกระทำโดยฝ่าฝืนความประสงค์ของผู้เยาว์หาได้ไม่ ดูฎีกาที่ 214/2494 (ประชุมใหญ่) มิฉะนั้นไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ (ฎ. 793/2557)
การขอถอนคำร้องทุกข์ ต้องกระทำก่อนคดีถึงที่สุด ฎีกาที่ 284-285/2538,5689/2545 ในความผิดที่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีทั้งความผิดอันยอมความได้และที่มิใช่ความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ ก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเฉพาะความผิดอันยอมความได้เท่านั้น พนักงานอัยการยังคงมีอำนาจดำเนินคดีที่มีใช่ความผิดอันยอมความได้ต่อไป ฎีกาที่ 1925/2541 สิทธิขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ตกทอดแก่ทายาททายาทจึงขอถอนคำร้องทุกข์ได้ คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 751/2541
จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรทรัพย์ที่ได้มาจากความผิดฐานยักยอก แม้ผู้ร้องทุกข์จะถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอก จำเลยก็คงมีความผิดฐานรับของโจรอยู่ ฎีกาที่ 6152/2540 การที่พนักงานอัยการได้รับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายแล้ว ถือเป็นการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบแล้ว ศาลไม่ต้องสอบถามผู้เสียหายอีก ฎีกาที่ 1505/2542 3. การแจ้งข้อหา การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหา และแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหา (มาตรา 134 วรรคหนึ่ง)
ในการแจ้งข้อหา พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ (มาตรา134 วรรคหนึ่ง) การแจ้งข้อหาจะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น (มาตรา 134 วรรคสอง) พนักงานสอบสวนจะกล่าวหาผู้ใดลอย ๆ โดยไม่มีหลักฐานตามสมควรไม่ได้
กรณีที่ไม่มีการแจ้งข้อหา มีผลทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง (ฎีกาที่ 3130/2556) ดูรายละเอียดในมาตรา 134 ต่อไป การสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นนิติบุคคล สำหรับการสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นนิติบุคคล ต้องมีการสอบสวนผู้จัดการหรือผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นด้วย การสอบสวนกรรมการที่ไม่มีอำนาจถือว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกาที่ 4205/2541
ส่วนการแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาที่เป็นนิติบุคคล ต้องแจ้งข้อหาแก่กรรมการผู้มีอำนาจแม้ไม่ได้ระบุว่าแจ้งข้อหาดำเนินคดีแก่นิติบุคคลด้วย ก็ถือว่าเป็นการแจ้งข้อหาแก่นิติบุคคลด้วยแล้ว ฎีกาที่ 935/2537 กรณีอื่น ๆ ที่มีผลต่อการสอบสวน การสอบสวนพยานหลายคนพร้อมกันและมีบุคคลอื่นนั่งฟังการสอบสวนอยู่ด้วย การสอบสวนก็ไม่เสียไป ฎีกาที่ 7475/2553,9378/2539
การจับหรือการตรวจค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป เพราะเป็นคนละขั้นตอนกัน ดูฎีกาที่ 1493/2550, 6539/2550 ฎีกาที่ 1493/2550 การตรวจค้นและการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และเป็นคนละขั้นตอนกับการสอบสวน ไม่มีผลกระทบไปถึงการสอบสวนของพนักงานสอบสวนและอำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์ ทั้งหามีผลทำให้การแสวงหาพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจที่ชอบเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยหาได้ไม่
ฎีกาที่ 13535/2553,1547/2540,2699/2516 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน การสอบสวน กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด (ฎีกาที่ 4037/2542) พนักงานสอบสวนจึงไม่จำต้องสอบพยานโจทก์ทุกปาก ฎีกาที่ 1907/2494,788/2494,6397/2541 การที่จำเลยขอให้พนักงานสอบสวนตรวจหาสารพันธุกรรม แต่พนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการให้ ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาที่ 869/2557 การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมและสอบคำให้การจำเลยในชั้นสอบสวน ถือว่ามีการสอบสวนในข้อหาที่แจ้งเพิ่มเติมแล้ว ฎีกาที่ 10450/2550
ฎีกาที่ 2449/2524 การสอบสวนปากคำในฐานะพยาน ไม่เป็นการแจ้งข้อหาและสอบสวนจำเลยในข้อหานั้น การสอบสวนของพนักงานสอบสวนในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนก็ถือว่าเป็นการสอบสวนโดยชอบ ฎีกาที่ 3096/2536 การที่ล่ามแปลคำให้การชั้นสอบสวนโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตนตาม ป. วิ. อ. มาตรา 13 วรรคสอง ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ ฎีกาที่ 5476/2537
ฎีกาที่ 539/2536 ในระหว่างสอบสวนจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันปล่อยชั่วคราว เมื่อครบเวลาดังกล่าว แม้พนักงานสอบสวนหรืออัยการไม่ส่งผู้ต้องหามาศาลและยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาไว้ในระหว่างการสอบสวนตามป.วิอาญามาตรา 113วรรคสอง กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใดไม่ อัยการนำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลได้
สิ่งที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้เจ้าพนักงานอื่นทำแทนได้ (มาตรา 128) พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้เจ้าพนักงานอื่นทำการแทนดังต่อไปนี้ (1) ส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนอื่นทำการสอบสวนในเรื่องที่อยู่นอกเขตอำนาจของตน (2) การสอบสวนในเรื่องเล็กน้อยซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของตนไม่ว่าทำเองหรือจัดการตามประเด็น มีอำนาจสั่งให้ผู้อยู่ได้บังคับบัญชาทำแทนได้ แต่ต้องไม่มีกฎหมายเจาะจงให้ทำด้วยตนเอง
ในการสอบสวน พนักงานสอบสวนไม่จำต้องสอบสวนด้วยตนเองในทุกเรื่อง และจากบทบัญญัติมาตรา 128(2) ที่ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำการสอบสวนในเรื่องเล็กน้อยได้ แสดงว่าการสอบสวนในเรื่องสำคัญ ๆ พนักงานสอบสวนต้องทำการสอบสวนด้วยตนเอง จะให้เจ้าพนักงานอื่นทำแทนไม่ได้ สำหรับการสอบสวนในเรื่องเล็กน้อยได้แก่การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย ฎีกาที่ 3031/2547
การสอบสวนคดีที่ต้องมีการขึ้นสูตรพลิกศพ (มาตรา 129) ตามมาตรา 129 บังคับว่า ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ดังนี้ หากไม่มีการชันสูตรพลิกศพเลยหรือทำไม่สมบูรณ์หรือการชันสูตรพลิกศพกระทำไปโดยไม่ชอบก็ไม่ห้ามให้ฟ้องคดี ฎีกาที่ 1299-1300/2481,363/2493
ถ้าขณะที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้าย ผู้ตายไม่ได้อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน แม้ผู้ตายจะถึงแก่ความตายในระหว่างเจ้าพนักงานตำรวจนำส่งโรงพยาบาล ก็ไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานหรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน จึงไม่ต้องมีการไต่สวนการชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 150 วรรคสาม เมื่อชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้วพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 129 ฎีกาที่ 1750/2539
การดำเนินการสอบสวน (มาตรา 130-147) ให้เริ่มทำการสอบสวนโดยมิชักช้า จะทำการในที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควรโดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วย (มาตรา 130) ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม (มาตรา 134 วรรคสาม) แต่การที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการสอบสวนนั้น เป็นการสอบสวนไม่ชอบ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนเพิ่งเริ่มทำการสอบสวนหลังจากได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาเป็นปี ก็ไม่ทำให้การสอบสวนนั้นไม่ชอบ ฎีกาที่ 430/2546 การสอบปากคำในชั้นสอบสวนไม่จำต้องกระทำต่อหน้าผู้ต้องหา ฎีกาที่ 6612-6613/2542
การรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวน (มาตรา 131) ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา และเพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา (มาตรา 131) พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหา และที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ (มาตรา 134 วรรคสี่)
ข้อสังเกต การรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวน นอกจากจะการจะทำไปเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ความผิดแล้ว ยังกระทำไปเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาด้วย กล่าวคือแม้เป็นพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนก็มีหน้าที่ต้องรวบรวมด้วย ผู้ต้องหาจึงอาจเสนอพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์แก่ตนเพื่อให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก็ได้
ดังนี้ พนักงานสอบสวนมีอำนาจรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด รวมทั้งพยานหลักฐานที่ผู้ต้องหานำมาให้พนักงานสอบสวนด้วย ฎีกาที่ 1390/2522,7886/2553 พนักงานสอบสวนมีอำนาจอายัดเงินฝากได้เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ ฎีกาที่ 7528/2552 แต่อย่างไรก็ตามตาม มาตรา 131 มิได้บังคับให้พนักงานสอบสวนจำต้องรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งหมดรวมไว้ในสำนวนคดีแต่อย่างใด พนักงานสอบสวนจึงมีดุลพินิจว่าจะรวบรวมหรือไม่รวบรวมหลักฐานอะไรเข้าไว้ในสำนวนการสอบสวนก็ได้ ฎีกาที่ 3334/2558,5766/2549
ข้อสังเกต เรื่องนี้เป็นการวินิจฉัยตาม ป. วิ. อ ข้อสังเกต เรื่องนี้เป็นการวินิจฉัยตาม ป. วิ. อ. มาตรา 131 (เดิม) วางหลักว่าพนักงานสอบสวนมีดุลพินิจในการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการพิสูจน์ตัวผู้กระทำความผิด และพิสูจน์ความผิดซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติเดิม กรณีตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ที่ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีดุลพินิจในการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยด้วยเช่นกัน พนักงานสอบสวนมีดุลพินิจว่าจะสอบปากคำเพยาน การที่พนักงานสอบสวนไม่สอบปากคำพยานบางปากแล้วนำมาเบิกความต่อศาล ไม่เป็นข้อพิรุธ ฎีกาที่ 5766/2551
การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (มาตรา 131/1) ในกรณีจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามมาตรา 131 ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใดๆ โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ได้ (มาตรา 131/1 วรรคหนึ่ง)
ในความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หากการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระสารคัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือส่วนประกอบของร่างกายจากผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจดังกล่าวได้ แต่ต้องกระทำเพียงเท่าที่จำเป็นและสมควรโดยใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ทั้งจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออนามัยของบุคคลนั้น และผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องให้ความยินยอม หากผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายไม่ยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายกระทำการป้องกันขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ที่หากได้ตรวจพิสูจน์แล้วจะเป็นผลเสียต่อผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายนั้นแล้วแต่กรณี (มาตรา 131/1 วรรคสอง)
ข้อสังเกต 1. การตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 131/1 วรรคหนึ่ง ในความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปีอยู่ในบังคับตามมาตรา 131/1 วรรคหนึ่ง แต่ถ้ามีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีต้องดำเนินการตามมาตรา 131/1 วรรคสอง ด้วย ฎีกาที่ 5886/2558
การที่พนักงานสอบสวนพบจำเลยนอนหมดสติอยู่บนเตียงผู้ป่วยและได้กลิ่นสุราแต่ไม่สามารถตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ได้ จึงเป็นกรณีที่พันตำรวจโท ส. สงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราหรือไม่ พันตำรวจโท ส. จึงมีอำนาจที่จะทำการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 131/1 วรรคหนึ่ง การที่พันตำรวจโท ส. มีหนังสือขอให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเลยเป็นตัวอย่างเลือดของจำเลยเพื่อตรวจวัดปริมาณ แอลกฮอล์ว่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ จึงเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความผิดที่จำเลยถูกกล่าวหาตาม ป. วิ. อ. มาตรา 131 การสอบสวนของพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
2. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะขอให้ตรวจพิสูจน์โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรา 131/1 วรรคสอง ในความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีนั้น จำกัดเฉพาะการขอให้ตรวจบุคคลเท่านั้น ดังนี้ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบอาจขอให้ตรวจพิสูจน์วัตถุหรือเอกสารใด ๆ ในความผิดอาญาโดยไม่จำกัดอัตราโทษ
3. บุคคลที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบอาจจะขอให้ตรวจพิสูจน์โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ ผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง 4. การตรวจพิสูจน์โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์นั้นต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรโดยใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ทั้งจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออนามัยของบุคคลนั้น 5. ผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องให้ความยินยอมให้ตรวจพิสูจน์โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ด้วย ถ้าบุคคลเหล่านั้นไม่ให้ความยินยอม พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจจะขอให้ตรวจพิสูจน์ได้
แต่การไม่ยินยอมให้ตรวจพิสูจน์ก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย กล่าวคือ กรณีผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายไม่ยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายกระทำการป้องกันขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ ที่หากได้ตรวจพิสูจน์แล้วจะเป็นผลเสียต่อผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายนั้นแล้วแต่กรณี
ฎีกาที่ 1512/2559 สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุหรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 131/1 ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบว่าวิธีการที่พนักงานสอบสวนให้ ผู้เชี่ยวชาญตรวจหาดีเอ็นเอที่ขวดน้ำส้มของกลาง โดยการใช้ไม้พันสำลีเช็ดขวดน้ำส้มของกลางส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจนั้นไม่ใช่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ผลการตรวจของผู้เชียวชาญเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
อำนาจพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐาน (มาตรา 132) ในการรวบรวมพยานหลักฐานพนักงานสอบสวนมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้นั้นยินยอม หรือตรวจตัวผู้ต้องหา หรือตรวจสิ่งของหรือที่ทางอันสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ มีอำนาจทำภาพถ่าย แผนที่ หรือภาพวาด จำลองหรือพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ ลายมือหรือลายเท้ากับให้บันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่าจะกระทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น (มาตรา 132 (1)) สังเกตว่าพนักงานสอบสวนจะตรวจตัวผู้เสียหายได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายก่อน แต่ถ้าเป็นผู้ต้องหาสามารถตรวจได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม การตรวจตัวผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาตามอนุมาตรา (1) นี้ เช่น ตรวจหาร่องรอยบาดแผลที่ถูกทำร้าย
ในการตรวจตัวผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง หากผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเป็นหญิง ให้จัดให้เจ้าพนักงานซึ่งเป็นหญิงหรือหญิงอื่นเป็นผู้ตรวจ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาจะขอนำบุคคลใดมาอยู่ร่วมในการตรวจนั้นด้วยก็ได้ (มาตรา 132(1) วรรคสอง)
(2) ค้นเพื่อพบสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดหรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยค้น (มาตรา 132 (2)) (3) หมายเรียกบุคคลซึ่งครอบครองสิ่งของซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แต่บุคคลที่ถูกหมายเรียกไม่จำต้องมาเอง เมื่อได้จัดส่งสิ่งของมาตามหมายแล้วให้ถือเสมือนว่าได้ปฏิบัติตามหมาย (มาตรา 132 (3)) (4) ยึดไว้ซึ่งสิ่งของที่ค้นพบหรือส่งมาดังกล่าวในอนุมาตรา (2) และ (3) (มาตรา 132 (4)
ข้อสังเกต อำนาจของพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการตรวจตัวผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 132(1) แตกต่างกัน กล่าวคือพนักงานสอบสวนจะตรวจตัวผู้เสียหายได้ต่อเมื่อผู้เสียหายยินยอม แต่กรณีผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนมีอำนาจตรวจตัวผู้ต้องหาได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหาก่อน
นอกจากนี้ สังเกตว่าตามมาตรา 132(1) ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจำลองหรือพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ ลายมือหรือลายเท้าของผู้ต้องหาโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหา แต่ในเรื่องการลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่า กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจพนักงานสอบสวนบังคับให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าได้ ฎีกาที่ 1368/2500
การสอบสวนผู้เสียหายและพยาน (มาตรา 133) 1. พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการออกหมายเรียกพยาน (มาตรา 133 วรรคหนึ่ง) พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดีให้มาตามเวลาและสถานที่ในหมายแล้วให้ถามปากคำบุคคลนั้นไว้ (มาตรา 133 วรรคหนึ่ง) พนักงานสอบสวนจึงอาจทำการสอบสวนสถานที่อื่นนอกจากสถานีตำรวจก็ได้ ฎีกาที่ 2185/2558
2. พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้พยานสาบานหรือปฏิญาณตัว (มาตรา 133 วรรคสอง) การถามปากคำนั้น พนักงานสอบสวนจะให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบานหรือปฏิญาณตัวเสียก่อนก็ได้ โดยต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป. วิ. อ. ว่าด้วยพยานบุคคล (มาตรา 133 วรรคสอง) (บทบัญญัติว่าด้วยพยานบุคคลตั้งแต่มาตรา 232 ถึงมาตรา 237 ทวิ)
บทบัญญัติมาตรา 133 วรรคสอง ไม่ได้บังคับว่าการถามปากคำนั้น พนักงานสอบสวนจะต้องให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบานหรือปฏิญาณตัวเสียก่อนดังเช่นการสืบพยานในชั้นพิจารณา ดังนี้การที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำโดยมิได้ให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป ฎีกาที่ 614/2486
3. ข้อห้ามในการสอบปากคำ (มาตรา 138 วรรคสาม) ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจหรือใช้กลอุบายอื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ (มาตรา 133 วรรคสาม) 4. การสอบปากคำผู้เสียหายที่เป็นหญิงในความผิดเกี่ยวกับเพศ (มาตรา 133 วรรคสี่)
ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิง ให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวน เว้นแต่ผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และให้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาจะขอนำบุคคลใดมาอยู่ร่วมในการสอบปากคำนั้นด้วยก็ได้ (มาตรา 133 วรรคสี่) กรณีพนักงานสวนซึ่งเป็นชายทำการสอบปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิง โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป ฎีกาที่ 3419/2559
5. ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานยืนยันตัวผู้กระทำความผิดในชั้นจับกุมหรือชี้ตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวนจัดให้มีการยืนยันตัวผู้กระทำความผิดหรือชี้ตัวผู้ต้องหาในสถานที่ที่เหมาะสม และสามารถที่จะป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือพยาน เว้นแต่ผู้เสียหายหรือพยานนั้นยินยอมและให้บันทึกความยินยอมนั้นไว้ (มาตรา 133 วรรคห้า)
การสอบสวนผู้ต้องหา (มาตรา 134,134/1,134/2,134/3 และ 134/4) การแจ้งข้อเท็จจริงและข้อหา (มาตรา 134) เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียกหรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนถามชื่อ ... และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดและแจ้งข้อหาให้ ทราบ (มาตรา 134 วรรคหนึ่ง) โดยการแจ้งข้อหาจะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น (มาตรา 134 วรรคสอง) ผู้ต้องหาที่จะได้รับการแจ้งข้อเท็จจริงและข้อหาตามมาตรานี้ อาจเป็นผู้ที่ถูกจับตัวมาส่งให้พนักงานสอบสวน หรือเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน หรือชั้นแรกสอบสวนในฐานะพยานแต่ได้ความว่าเป็นผู้ต้องหาที่ก็ได้
ข้อสังเกต การแจ้งข้อหานี้ พนักงานสอบสวนจะแจ้งเฉพาะฐานความผิดไม่ได้ ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่ากระทำผิดด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจข้อหาได้ดีและถูกต้องก่อนจะให้การ ทั้งทำให้พนักงานสอบสวนต้องมีพยานหลักฐานตามสมควรก่อนจะแจ้งข้อหา แต่อย่างไรก็ตาม การแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่หากพนักงานสอบสวนปฏิบัติผิดพลาดหรือบกพร่องแล้วจะทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดอันส่งผลต่ออำนาจฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด ฎีกาที่ 15214/2553
ฎีกาที่ 15274/2553 การที่ ป.วิ.อาญามาตรา 134วรรคหนึ่งบัญญัติให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดแล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบก็เพื่อให้ผู้ต้องหาได้ทราบว่าตนถูกกล่าวหาหรือแจ้งข้อหาว่ากระทำผิดในข้อหาอะไร จะได้สามารถให้การแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง แต่การแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่หากพนักงานสอบสวนปฏิบัติผิดพลาดหรือบกพร่องแล้วจะทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดอันส่งผลต่ออำนาจฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด
การแจ้งข้อหาไม่จำต้องแจ้งทุกข้อหา เมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาบางข้อหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว แต่จากการสอบสวนปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในข้อหาอื่นที่มิได้แจ้งข้อหาตาม ป. วิ. อ. มาตรา 120 แล้วฎีกาที่1816/2552, 3759/2550, 5433/2543 ,3426/2548 ฎีกาที่ 6651/2550,2071/2527,2542/2527 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน ก่อนหน้านี้ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าถ้าเป็นความผิดที่ไม่เกี่ยวเนื่องกัน หรือมีเนื้อหาต่างกันเป็นคนละเรื่องต้องแจ้งทุกข้อหาด้วย ฎีกาที่ 1250/2521 (ประชุมใหญ่)
ผลของการไม่แจ้งข้อหา หากปรากฏว่าคดีนั้นไม่มีการแจ้งข้อหาเลย การสอบสวนไม่ชอบและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกาที่ 3130/2556
การไม่แจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบตามมาตรา 134 นี้ เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีในข้อหาดังกล่าวต่อศาลเท่านั้น ในกรณีที่เป็นข้อหาที่ศาลพิจารณาได้ความตาม ป. วิ. อ. มาตรา 192 วรรคสาม แม้ข้อหานั้นพนักงานสอบสวนจะมิได้มีการแจ้งข้อหาไว้ศาลก็ลงโทษจำเลยได้ ฎีกาที่ 2129/2537 ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม (มาตรา 134 วรรคสาม) พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหา และที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ (มาตรา 134 วรรคสี่) หลักเกณฑ์นี้เป็นหลักเกณฑ์ใหม่ ต่างไปจากที่เคยปฏิบัติแต่เดิมที่พนักงานสอบสวนจะรวบรวม เฉพาะพยานหลักฐานเพื่อรู้ตัวผู้กระทำความผิดและเพื่อใช้พิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาเท่านั้น
การควบคุมตัวผู้ต้องหาที่ยังไม่ได้ถูกจับและไม่มีหมายจับ (มาตรา 134วรรคห้า) ในบางกรณี ผู้ต้องหายังไม่ได้ถูกจับและไม่มีหมายจับ แต่ได้มาปรากฏตัวต่อพนักงานสอบสวน ทั้งนี้อาจมาตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวน หรือเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวได้ ดังนี้ บทบัญญัติมาตรา 134 วรรคท้าย ได้บัญญัติแก้ข้อขัดข้องไว้ว่า
“ เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นไว้ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอหมายขังโดยทันที แต่ถ้าในขณะนั้นเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้ปิดทำการ ให้พนักงานสอบสวนสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลในโอกาสแรกที่ศาลเปิดทำการ กรณีเช่นนี้ให้นำมาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหานั้นได้ โดยถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาได้โดยไม่มีหมายจับและมีอำนาจปล่อยชั่วคราวหรือควบคุมตัวผู้ต้องหานั้นไว้” (ดูรายละเอียดในเรื่อง จับ หมายจับ)
การสอบถามและจัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน (มาตรา 134/1) 2. 1 กรณีที่รัฐต้องจัดหาทนายความให้เสมอ (มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง) ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีใน วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การ ให้พนักงานสอบสวน ถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ (บัญญัติ ทำนองเดียวกันกับมาตรา 173 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการสอบถามและจัดหา ทนายความในชั้นพิจารณา)
คดีที่อยู่ในบังคับตามมาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง มี 2 ประเภท คือ 1. คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต 2. คดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา กำหนดเวลาที่ต้องสอบถาม พนักงานสอบสวนต้องสอบถามก่อนเริ่มถาม คำให้การ กรณีที่ผู้ต้องหาไม่มีทนายความ พนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายความให้ เสมอ แม้ผู้ต้องหาไม่ต้องการทนายความก็ตาม ฎีกาที่ 1130/2553 ต่อไป
การสอบคำให้การผู้ต้องหาคดีที่อยู่ในบังคับมาตรา 134/1 โดย ไม่ได้มีการจัดหาและให้ทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วย แม้ ภายหลังพนักงานสอบสวนได้อ่านคำให้การของผู้ต้องหาให้ผู้ต้องหา และทนายความฟังและให้จำเลยและทนายความลงลายมือชื่อไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบปากคำผู้ต้องหากลับเป็นชอบด้วยมาตรา 134/1 ไม่ ฎีกาที่ 8199/2560
ฎีกาที่ 8199/2560 คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตการสอบสวนคำให้การของผู้ต้องหาอยู่ในบังคับของ ป. วิ. อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง เมื่อพนักงานสอบสวนสอบถามแล้วผู้ต้องหาไม่มีทนายความ เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่ต้องจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาก่อนเริ่มถามคำให้การและให้ทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนคำให้การของผู้ต้องหาด้วย แต่ขณะที่ร้อยตำรวจโท อ.
สอบสวนคำให้การจำเลย และจัดทำบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาซึ่งระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพขึ้นนั้น ไม่ได้มีการจัดหาและให้ทนายความของจำเลยเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วย แม้ในวันรุ่งขึ้นร้อยตำรวจโท อ. ควบคุมตัวจำเลยไปพบ ซ.
ทนายความซึ่งติดต่อไว้ก่อนแล้วและได้อ่านบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาที่จัดทำขึ้นให้จำเลยและ ช. ฟังจำเลยแจ้งต่อ ช. ว่าจะรับสารภาพ ร้อยตำรวจโท อ. ให้จำเลยและ ช. ลงลายมือชื่อไว้ก็ตามก็หาทำให้การสอบสวนคำให้การของจำเลยกลับเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามมาตรา 134 /1 วรรคหนึ่งไม่
ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 134/1 วรรคท้าย ถ้อยคำใด ๆ ที่จำเลยให้ ไว้ต่อต้อยตำรวจโท อ. ตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหานั้น จึงไม่อาจ นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐาน ในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 134/4 วรรคท้าย
2.2 กรณีที่รัฐต้องจัดหาทนายความให้เมื่อผู้ต้องหาไม่มีและต้องการ (มาตรา 134/1 วรรคสอง) ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มถามคำให้การ ให้พนักงานสอบสวนถาม ผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐ จัดหาทนายความให้ (บัญญัติทำนองเดียวกันกับมาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งเป็น การสอบถามและจัดหาทนายความในชั้นพิจารณา)
ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน หากทนายความไม่อาจมาพบผู้ต้องหาได้โดยไม่แจ้ง เหตุขัดข้องให้พนักงานสอบสวนทราบ หรือแจ้งแต่ไม่มาพบผู้ต้องหาภายใน เวลาอันสมควร ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนผู้ต้องหาไปได้โดยไม่ ต้องรอทนายความแต่พนักงานสอบสวนต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการ สอบสวนด้วย (มาตรา 131/1 วรรคท้าย)
ข้อสังเกต การถามผู้ต้องหาเรื่องทนายความในชั้นสอบสวนต่างกับชั้นพิจารณาของศาล (มาตรา 173) กล่าวคือ ในชั้นพิจารณาศาลต้องถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาหรือก่อนอ่านฟ้องหรืออธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง ซึ่งเป็นการดำเนินการก่อนสืบพยานทุกปากนั้นเอง
ส่วนในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนจะต้องถาม ก่อนเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหาเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการ สอบปากคำพยานปากอื่น ๆ อีกนัยหนึ่งก็คือการ สอบสวนพยานปากอื่น ๆ พนักงานสอบสวน ดำเนินการไปได้โดยไม่ต้องจัดให้มีทนายความก่อน
ผลของการฝ่าฝืนมาตรา 134/1 (มาตรา 134/4 วรรคท้าย) ตามมาตรา 134/4 วรรคสาม บัญญัติว่าถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ ดังนี้ ถ้าไม่มีการถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มถามคำให้การหรือไม่ได้จัดหาทนายความให้ ศาลจะรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้
ฎีกาที่ 193-194/2556 สังเกตว่าการฝ่าฝืนมาตรา 134/1 วรรค หนึ่งนี้คงมีผลเสียเฉพาะถ้อยคำในชั้นสอบสวนของผู้ต้องหา เท่านั้นที่รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่ไม่ทำให้การ สอบสวนเสียไปทั้งคดี กล่าวคือไม่ถือว่าคดีดังกล่าวไม่มีการ สอบสวนพนักงานอัยการจึงยังมีอำนาจฟ้อง ฎีกาที่ 1130/2553 (ฎ. 5009/2556 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)
ตามมาตรา 134/4 วรรคท้าย (วรรคสาม) มีผลแต่เพียงว่า ถ้อยคำของผู้ต้องหาที่ไม่ได้ดำเนินการตามมาตรา 134/1 คงห้าม มิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาที่ ให้ถ้อยคำเท่านั้นแต่ไม่ได้ห้ามใช้เป็นพยานหลักฐานในการ พิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยอื่นด้วย ฎีมีกาที่ 9345/2558
ฎีกาที่ 9345/2558 ป.วิ.อาญา มาตรา 134/4 วรรคสามกำหนดไว้ว่า ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้องหาให้ไว้ก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1ในเรื่อง การสอบถามและจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหา จะรับฟังเป็น พยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหานั้นไม่ได้เท่านั้น แต่ หาได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้นำคำให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาใน ลักษณะดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของบุคคล อื่นหรือจำเลยอื่นในคดีแต่ประการใด ดังนั้น จึงสามารถนำมาเป็น พยานหลักฐานประกอบในคดีเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยอื่นได้
การสอบสวนผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ต้องนำบทบัญญัติว่า ด้วยการสอบปากคำเด็กตามบทบัญญัติมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดย อนุโลม (มาตรา 134/2)
กล่าวคือ ในคดีความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 133 ทวิ หรือคดี ความผิดอื่นที่มีโทษจำคุก การสอบปากคำเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งเป็น ผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการอยู่ด้วยในการสอบปากคำเด็ก นั้น
ผลของการฝ่าฝืนมาตรา 134/2 (มาตรา 134/4 วรรคท้าย) ตามมาตรา 134/4 วรรคสาม บัญญัติว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อ พนักงานสอบสวนก่อนจะดำเนินการตามมาตรา 134/2 จะรับฟังเป็น พยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่า การที่พนักงานสอบสวนไม่จัดให้มีบุคคลตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวเข้า ร่วมในการสอบสวน เป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่มีการ สอบสวนในคดีนั้น และมีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องไป ด้วย (ฎีกาที่ 5252/2545, 4834/2546)
เมื่อมีการประกาศใช้บทบัญญัติมาตรา 134/4 วรรคท้ายแล้ว แนวคำ พิพากษาฎีกาทั้งสองเรื่องข้างต้นจึงไม่อาจเป็นบรรทัดฐานได้อีกต่อไป และคงถือว่าเฉพาะถ้อยคำของผู้ต้องหาจะรับฟังเป็นพยานหลักฐาน พิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนทั้งคดีเสีย ไปจนถึงกับทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำตน (มาตรา 134/3) ในชั้นสอบสวน ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตน ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
ผลของการฝ่าฝืนมาตรา 134/3 ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ (มาตรา 134/4 วรรคสาม)
ดังนี้ ถ้าผู้ต้องหาขอให้มีทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการ สอบปากคำตน แต่พนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการให้ ถ้อยคำของ ผู้ต้องหาก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ไม่มีผลทำให้เป็นการ สอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาที่ 3119/2550
การแจ้งสิทธิในชั้นสอบสวนแก่ผู้ต้องหา (มาตรา 134/4) ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงาน สอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า
(1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณา คดีได้ (2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังใน การสอบปากคำตนได้ (มาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง)
เมื่อผู้ต้องหาให้การอย่างใดก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้ (มาตรา 13 4/4 วรรคสอง)
ตามมาตรา 134/4 (1) คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่จะ นำไปเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้ต้องเป็นการสอบในฐานะ ผู้ต้องหา ซึ่งพนักงานสอบสวนต้องบอกจำเลย (ผู้ต้องหา) ว่าถ้อยคำที่ ให้การอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ ดังนี้ คำให้การ ของผู้ต้องหาในฐานะพยานไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้น พิจารณาได้ (ฏ. 6281/2533)
กรณีมีการสอบสวนเพิ่มเติมก่อน สอบปากคำเพิ่มเติมพนักงานสอบสวนไม่ จำต้องเตือนอีกจึงรับฟังคำให้การเพิ่มเติมยัน จำเลยได้ (ฎีกาที่ 69/2489)
ผลของการฝ่าฝืนมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง (มาตรา 134/4 วรรค ท้าย) ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้ง สิทธิตามวรรคหนึ่ง (สิทธิตามมาตรา 134/4 (1) (2)) หรือก่อนที่จะ ดำเนินการตามมาตรา 134/1, 134/2, 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ (มาตรา 134/4 วรรคท้าย) ไม่ทำ ให้การสอบสวนไม่ชอบ พนักงานอัยการจึงยังมีอำนาจฟ้อง
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการแจ้งสิทธิและเตือนจำเลยก่อนสอบ คำให้การแล้วว่าถ้อยคำที่กล่าวอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการ พิจารณาได้ตามมาตรา 134/4 (1) ก็ตาม ถ้อยคำของจำเลยดังกล่าวก็เป็น เพียงพยานบอกเล่าเท่านั้น คงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของ โจทก์ได้เท่านั้น ดังนี้ ถ้าพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ไม่มีหรือมี น้ำหนักน้อยศาลก็จะรับฟังลำพังแต่ถ้อยคำดังกล่าวลงโทษจำเลยไม่ได้ ฎีกาที่ 352/2546
ตามบทบัญญัติมาตรา 134 คำให้การในชั้น สอบสวนของจำเลยต้องให้การในฐานะผู้ต้องหา มิใช่ ในฐานะพยาน จึงจะใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลย ในชั้นพิจารณาได้ ฎีกาที่ 6281 / 2533, 1581/2531
ต่อมามีฎีกาที่ 1418/2558 วินิจฉัยว่า บันทึกถ้อยคำของเจ้าพนักงาน ที่ได้จากการสอบปากคำบุคคลในฐานะผู้ให้ถ้อยคำ มิใช่ฐานะผู้ต้องหา เนื่องจากยังไม่ทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำความผิดไม่จำต้อง แจ้งสิทธิแก่บุคคลนั้น บันทึกถ้อยคำดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาที่ 1418/2553 การที่ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนและขอให้การใน รายละเอียดในชั้นศาลเป็นการสอบปากคำผู้ต้องหาโดยชอบแล้ว ฎีกาที่ 2814/2556
ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนจูงใจผู้ต้องหา (มาตรา 135) ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำ หรือ จัดให้ทำการใด ๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่น สัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบประการใดๆ เพื่อจูงใจให้เขาให้ การอย่างใด ๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น (มาตรา 135)
การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 135 นี้ มีผลเพียงใช้เป็นหลักฐานยันผู้ต้องหาในการพิจารณา ไม่ได้เท่านั้น ไม่มีผลทำให้เป็นการสอบสวนไม่ชอบ พนักงานอัยการ จึงยังมีอำนาจฟ้อง ฎีกาที่ 4020/2540
นอกจากนี้ตาม บทบัญญัติมาตรา 135 ต้องเป็นเรื่องที่ พนักงานสอบสวนได้จูงใจให้ผู้ต้องหาให้การอย่างใดๆ ดังนี้ ถ้าพนักงานสอบสวนจูงใจให้ผู้ต้องหานำสิ่งของที่ ผิดกฎหมายมามอบให้ ไม่ใช่เป็นการให้สัญญา ตาม มาตรา 135 นี้ ฎีกาที่ 1542/2540
พฤติการณ์ที่ถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพ ที่เกิดจากการตัดสินใจของจำเลยเอง ฎีกาที่ 4765/2543, 1581/2548
คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ ฎีกาที่ 7123/2557 ป. วิ. อ. ได้บัญญัติถึงอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในชั้นแจ้งข้อหาตามมาตรา 134 ซึ่งความในวรรคหนึ่งให้พนักงานสอบสวนต้องถามชื่อตัวชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิดของผู้ต้องหาเป็นประการแรก
ต่อจากนั้นจึงแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาแล้วจึงแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบรวมทั้งให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตน ดังนั้น เมื่อเริ่มทำการสอบสวนพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวผู้ต้องหาและผู้ต้องหามีหน้าที่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตนเองตามบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีสภาพบังคับทางอาญาดังที่บัญญัติไว้ตาม ป. อ. มาตรา367
ภายใต้หลักเกณฑ์ที่พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อกล่าวหาและแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่ตนตาม ป. วิ. อ. มาตรา 134 วรรคสี่ เพื่อให้การสอบสวนดำเนินต่อไปได้อย่างถูกต้องและชอบธรรม ส่วนการถามคำให้การผู้ต้องหาอันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่ง ป. วิ. อ. มาตรา 134/4 บัญญัติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้
รวมทั้งสิทธิในการให้ทนายความหรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจเข้า ฟังการสอบปากคำซึ่งเป็นขั้นตอนเมื่อผ่านการแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหา แล้ว ไม่อาจแปลความไปถึงขนาดให้สิทธิผู้ต้องหาที่จะปฏิเสธอำนาจ หน้าที่ของพนักงานสอบสวนเมื่อทำการสอบสวนดังกล่าวข้างต้น
จำเลยแจ้งความเท็จและแจ้งให้ร้อยตำรวจโท ธ จำเลยแจ้งความเท็จและแจ้งให้ร้อยตำรวจโท ธ . พนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกคำให้การของจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นว่าจำเลยเป็น ด. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วหลังจากนั้นเมื่อพนักงานสอบสวนเรียกตัวจำเลยไปสอบถามเนื่องจากจำเลยผิดเงื่อนไขการคุมประพฤติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
จำเลยแจ้งความเท็จและแสดงบัตรประจำตัวของ ด. เพื่อให้ร้อย ตำรวจ ธ จำเลยแจ้งความเท็จและแสดงบัตรประจำตัวของ ด. เพื่อให้ร้อย ตำรวจ ธ . หลงเชื่อว่าจำเลยเป็น ด. จึงไม่ถือได้ว่าเป็นการให้การและใช้ สิทธิในขั้นตอนการถามคำให้การที่จำเลยเป็นผู้ต้องหาตาม ป. วิ. อ. มาตรา 134/4 (1) การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามฟ้อง
การสอบปากคำเด็กในชั้นสอบสวน การสอบปากค้าเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีในชั้นสอบสวน แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 1. สอบปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน (มาตรา 133 ทวิ) 2. การสอบสวนเด็กในฐานะผู้ต้องหา (มาตรา 134/2 ประกอบ 133 ทวิ)
อายุของเด็กที่ได้รับความคุ้มครอง ต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปีโดยนับถึง วันที่มีการสอบปากคำ เพราะกฎหมายให้ความคุ้มครองในขณะที่เข้ามา เกี่ยวข้องในขณะสอบปากคำ การสอบปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน (มาตรา 133 ทวิ) การสอบปากค้าเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน ต้องดำเนินการตามมาตรา 133 ทวิประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1. เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ ความผิดฐานกรรโชกชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก
ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ หรือคดีความผิดอื่นๆที่มีอัตราโทษจำคุกซึ่ง ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบ แปดปีร้องขอ….. (มาตรา 133 ทวิวรรคหนึ่ง)
2. ต้องแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับ เด็ก (มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง) 3. ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมด้วยในการสอบปากคำเด็กนั้น (มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง) เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมสอบปากคำพร้อมกันได้
ให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำเด็กโดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังกล่าวอยู่ร่วมก็ได้แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ในสำนวนการสอบสวน และมิให้ถือว่าการกระทำดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 133 ทวิ วรรคห้า)
เห็นได้ว่าในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งทำให้รอบุคคล ต่าง ๆ มาพร้อมกันไม่ได้ จึงได้ผ่อนคลายให้พนักงาน สอบสวนสามารถสอบปากคำเด็กร่วมกับบุคคลใดบุคคล หนึ่งนั้นโดยไม่ต้องอยู่ร่วมกันครบทุกคนก็ได้แต่ต้อง บันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ในสำนวนการ สอบสวน
การแจ้งนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการกฎหมายให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ดำเนินการ (มาตรา 133 ทวิ วรรคสอง) กรณีพนักงานสอบสวนสอบปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน โดยไม่มีบุคคลต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดอยู่ร่วมด้วยในการสอบปากคำ และพนักงานสอบสวนมิได้บันทึกถึงเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ในสำนวนสอบสวนไม่อาจรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของเด็กเป็นพยานหลักฐานได้ (ฎ. 8908/2550, 5294/2549)
อย่างไรก็ตามถ้าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงต่อศาลว่าเด็กให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การไว้จริง ศาลรับฟังบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของเด็กเป็นพยานหลักฐานได้โดยชอบตาม ป. วิ. อ. มาตรา 226 ฎีกาที่ 12458/2556 ที่ว่าไม่อาจรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของเด็กเป็นพยานหลักฐานได้นั้น ไม่มีผลทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดไม่ถือว่าเป็นเหตุให้คดีนั้นไม่มีการสอบสวน พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง
ฎีกาที่ 8908 / 2550, 5040/2560 (ฎ. 4208/2548, 7241/2549 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน) และถ้าในชั้น พิจารณา เด็กมาเบิกความต่อศาลขณะอายุเกิน 18 ปี แล้ว จึงไม่จำต้องดำเนินการตามมาตรา 172 ตรี ศาล รับฟังคำเบิกความดังกล่าวได้ ฎีกาที่ 10265/2551
ฎีกาที่ 5040/2560 ป. วิ. อ. มาตรา 133 ทวิ กำหนดให้กรณีที่จะสอบปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กซึ่งมีอายุไม่เกินสิบแปดปีเป็นพยาน พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำด้วย การไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แต่ผลของการไม่ปฏิบัติ ตามบทบัญญัติมาตรานี้ คงทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนของเด็กไม่อาจรับ ฟังเป็นพยานหลักฐานได้เท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้การ สอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปทั้งหมด
4. พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการสอบปากคำดังกล่าวไว้เป็นพยาน (มาตรา 133 ทวิวรรคสี่) อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนก็ยังคงต้องทำสำนวนการสอบสวนโดยบันทึกคำให้การพยานเป็นลายลักษณ์อักษรไปตามปกติ
เพียงแต่ต้องมีการบันทึกภาพและเสียงการ สอบปากคำเป็นพยานเพิ่มเติมขึ้นเท่านั้น ดังนี้ แม้ไม่ มีการจัดทำบันทึกภาพและเสียงไว้ ศาลก็นำบันทึก คำให้การดังกล่าวมารับฟังประกอบพยานหลักฐาน อื่นได้ ฎีกาที่ 3500/2559
ฎีกาที่ 3500/2559 การสอบคำให้การเด็กชาย ย. ของ พันตำรวจโท จ ฎีกาที่ 3500/2559 การสอบคำให้การเด็กชาย ย. ของ พันตำรวจโท จ. พนักงานสอบสวนตาม ป. วิ. อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคสี่ เป็นบันทึกการสอบสวนตามหลักทั่วไป ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 139 แม้จะขาดบันทึกภาพและเสียงที่ สามารถนำมาถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องก็ไม่มีบทบัญญัติ ใดห้ามมิให้รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น
คดีที่การสอบปากคำผู้เสียหายหรือพยานต้องดำเนินการตาม มาตรา 133 ทวิ ตามมาตรา 133 ทวิ ที่แก้ไขใหม่ (พ. ร. บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 26) พ. ศ. 2550) ได้กำหนดประเภทคดีที่ต้องสอบปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ตามวิธีการดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ คดีความผิดเกี่ยวกับเพศความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้
ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพความผิดฐานกรรโชก ชิงทรัพย์และปล้น ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วย มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก ความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการหรือคดีความผิดอื่นที่มีอัตราโทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหายหรือพยานที่เด็กอายุไม่เกิน 18 ปีร้องขอ (มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง)
คดีความผิดอื่นที่มีโทษจำคุก หากผู้เสียหายหรือ พยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ไม่ร้องขอให้ใช้ วิธีการสอบปากคำสำหรับเด็ก หรือคดีที่มีเพียงโทษ ปรับสถานเดียว ก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 133 ทวิ
กรณีไม่ได้ตัวเด็กมาเบิกความต่อศาลเพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งศาลอาจรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานตามมาตรา 133 ทวิ เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 172 ตรีวรรคท้าย (ฎีกาที่ 3511/2552 )
การให้พยานเด็กชี้ตัวบุคคลใด (มาตรา 133 ตรี) ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัด ให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีชี้ตัว บุคคลใด พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการต่อไปนี้
1. ต้องจัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับ เด็กและสามารถที่จะป้องกันมิให้บุคคลที่จะถูกชี้ตัวนั้น เห็นตัวเด็ก (มาตรา 133 ตรี) เช่น ให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหา โดยมองผ่านกระจกที่สามารถมองได้ด้านเดียว โดย ผู้ต้องหาไม่สามารถมองเห็นผู้เสียหายหรือพยานได้
2. ให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็ก ร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการชี้ตัวบุคคล นั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจหาหรือรอบุคคลใดบุคคล หนึ่งได้และเด็กไม่ประสงค์จะให้มีหรือรอบุคคลดังกล่าว ต่อไปทั้งนี้ให้พนักงานสอบสวนบันทึกเหตุดังกล่าวไว้ใน สำนวนการสอบสวนด้วย (มาตรา 133 ตรี)
มีข้อสังเกตว่า การจัดให้มีการชี้ตัวตามมาตรา 133 ตรี นี้ ถือ เป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะจัดให้มีการชี้ตัว หรือไม่ก็ได้ มิใช่บทบัญญัติที่บังคับให้พนักงานสอบสวน ต้องจัดให้มีผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ชี้ตัวทุกคดีที่ไม่ แต่ถ้าจัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหาแล้ว พนักงานสอบสวนก็ต้องดำเนินการตามมาตรานี้
การชี้ตัวผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี (มาตรา 133 ตรี วรรคสอง) ที่กล่าวมาตามมาตรา133 ตรี วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องราวจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ชี้ตัวบุคคลใด แต่ตามมาตรา 133 ตรี วรรคสองเป็นเรื่องการจัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ต้องจัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและสามารถที่จะป้องกันมิให้ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กนั้นเห็นตัวบุคคลที่จะทำการชี้ตัว
การสอบสวนเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีในฐานะผู้ต้องหา มาตรา 134/2, 133 ทวิ) การถามเรื่องทนายความ (มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง) ในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปี ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถานคำให้การ ให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่ให้รัฐจัดหาทนายความให้ (มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง) มีข้อสังเกตดังนี้
1. การถามเรื่องทนายความนี้ กฎหมายไม่ได้จำกัด ว่าต้องเป็นความผิดอาญาที่มีโทษเพียงใด ความผิด อาญาทุกประเภทที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปี พนักงานสอบสวนจึงต้องสอบถามเรื่องทนายความ ทุกคดี
2. ดูอายุของเด็กในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาไม่ใช่วันที่กระทำความผิด ดังนี้ แม้ขณะกระทำความผิดผู้ต้องหาจะมีอายุไม่เกิน 18 ปี แต่ในวันที่แจ้งข้อหาผู้ต้องหา มีอายุเกิน 18 ปีแล้วไม่ต้องถามเรื่องทนายความอีก เทียบฎีกาที่ 2132/2548 ggmgเgฎี
3. พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาเพียงว่ามีทนายความ แล้วหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ต้องจัดหาทนายความให้โดยไม่ต้อง ดูว่าผู้ต้องหาต้องการทนายความหรือไม่ กล่าวคือแม้ ผู้ต้องหาไม่ต้องการทนายความรัฐก็มีหน้าที่ต้องจัดหา ทนายความให้
4. พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหา เรื่องทนายความก่อนตามคำให้การ จะถามค้า ให้การผู้ต้องหาก่อนไม่ได้
หลักเกณฑ์การสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี (มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 133 ทวิ) ตามมาตรา 134/2 ให้นำบทบัญญัติมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี การสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี (มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 133 ทวิ) มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ ความผิดฐานกรรโชก ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกัน และปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก ความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานบริการ หรือคดีความผิดอื่นที่มีอัตราโทษ จำคุกซึ่งผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ร้องขอ (มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง)
ข้อสังเกต บทบัญญัติมาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนด ประเภทคดีที่ต้องใช้วิธีการสอบสวนเด็กที่เป็นผู้ต้องหา (ต้องจัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ เด็กร้องขอและพนักงานอัยการอยู่ร่วมด้วยในการ สอบปากคำ) ซึ่งเป็นความผิดที่มีความร้ายแรง
สำหรับความผิดอื่นที่มีโทษจำคุกเช่น ความผิดต่อ พ. ร. บ สำหรับความผิดอื่นที่มีโทษจำคุกเช่น ความผิดต่อ พ. ร. บ. จราจรทางบกฯ (มิใช่เป็นความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 133 ทวิ) การสอบปากคำเด็กหรือพยานไม่จำต้องให้มีบุคคลต่าง ๆ ที่ระบุไว้อยู่ร่วมด้วยในการสอบปากคำ เว้นแต่ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กฯร้องขอก็ต้องจัดให้มีบุคคลต่าง ๆอยู่ร่วมด้วยในการสอบปากคำ
เมื่อเด็กไม่ร้องขอ พนักงานสอบสวนย่อมทำการสอน สวนเด็กไปได้โดยลำพัง คำให้การรับสารภาพในชั้น สอบสวนของผู้ต้องหาที่เป็นเด็กโดยไม่มีบุคคลที่ กฎหมายกำหนดอยู่ร่วมด้วย จึงใช้เป็นพยานหลักฐาน พิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ ฎีกาที่ 3432/2557
2. ต้องแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ เหมาะสมสำหรับผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก (มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง)
3. ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปีด้วย (มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 138 ทวิ วรรคหนึ่ง) เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการสอบสวนพร้อมกันได้
ให้พนักงานสอบสวนสอบสวนผู้ต้องหาโดยมี บุคคลใดบุคคลหนึ่งดังกล่าวอยู่ร่วมก็ได้ แต่ต้อง บันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ในสำนวนการ สอบสวนและมิให้ถือว่าการกระทำดังกล่าวไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย (มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า)
การดำเนินการตาม ป. วิ. อ. มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 133 ทวิ ดังที่กล่าวมานี้ใช้บังคับเฉพาะกรณีการสอบปากคำผู้ต้องหาเท่านั้นไม่ใช้ บังคับในการรวบรวมพยานหลักฐานอื่นๆด้วย ดังนี้ การที่พนักงาน สอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปที่เกิดเหตุโดยไม่มีบุคคลต่างๆดังกล่าวอยู่ ด้วยหรือไม่มีการบันทึกภาพและเสียง ก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป ฎีกาที่ 647/2549
สำหรับอายุของผู้ต้องหาให้ถือขณะสอบปากคำ ฎีกาที่ 2132/2548
ตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ แสดงว่ากฎหมายบังคับให้ต้องมีบุคคลตามที่กำหนดเข้าร่วมในการสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปีด้วย เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งที่ทำให้ไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมสอบสวนพร้อมกันได้ พนักงานสอบสวนจึงจะสอบสวนไปได้การสอบสวนแต่อย่างน้อยก็ต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังกล่าวเข้าร่วมในการสอบสวนด้วย ผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี โดยไม่มีบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
และไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งแล้ว เป็นการสอบสวน ที่ไม่ชอบมีผลตามมาตรา 134/4 วรรคสาม กล่าวคือจะรับฟังคำให้การใน ชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของ ผู้นั้นไม่ได้ แสดงว่าเฉพาะถ้อยคำของผู้ต้องหาเท่านั้นที่รับฟังเป็น พยานหลักฐานไม่ได้ยังคงทั้งตาลถือว่าการสอบสวนคดีนั้นเป็นการ สอบสวนที่ขอบและพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง ทั้งศาลคงพิจารณา จากพยานหลักฐานอื่น ๆ พิสูจน์ความผิดของจำเลยได้
(บทบัญญัติมาตรา 134/4 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เพิ่งใช้บังคับใน ปี 2547 ก่อนหน้านี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ถือว่า ไม่มีการสอบสวนในคดีนั้นและมีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจ ฟ้องไปด้วย (ฎีกาที่ 5252/2545, 4834/2546)
เมื่อมีการประกาศใช้บทบัญญัติมาตรา 134/4 วรรคสาม แล้วแนวคำ พิพากษาฎีกาทั้งสองเรื่องข้างต้นจึงไม่อาจเป็นบรรทัดฐานได้อีกต่อไป และคงถือว่าเฉพาะถ้อยคำของผู้ต้องหาจะรับฟังเป็นพยานหลักฐาน พิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนทั้งคดีเสีย ไป)
ข้อสังเกต ในกรณีที่ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีนี้ เมื่อพิจารณาประกอบกับมาตรา 134/1 วรรค หนึ่งแล้ว แสดงว่าต้องมีทนายความเข้ามาร่วมในการ สอบปากคำด้วย
4. พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการ บันทึกภาพและเสียงการสอบปากค้าดังกล่าวไว้ เป็นพยาน (มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 133 ทวิ วรรคสี่)
อย่างไรก็ตามพนักงานสอบสวน ก็ยังคงต้องทำสำนวน การสอบสวนไปตามปกติเพียงแต่ต้องมีการบันทึกภาพ และเสียงเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมเท่านั้น ทั้งกฎหมาย มิได้บัญญัติให้โจทก์ส่งบันทึกภาพและเสียงการถาม ปากคำเป็นพยานหลักฐานต่อศาลด้วย ฎีกาที่ 1512/2559
ฎีกาที่ 1512/2559 ในชั้นพิจารณาแม้โจทก์และโจทก์ร่วมอ้างเพียง บันทึกคำให้การของเด็กชาย ว. และเด็กชายศ. เป็นพยาน ไม่ได้ส่ง บันทึกภาพและเสียงการถามปากคำเป็นพยานหลักฐานก็ตามเมื่อ ป. วิ. อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคสอง มิได้บัญญัติให้โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสอง ส่งบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำเป็นพยานหลักฐานต่อศาล โจทก์ ก็มีสิทธินำเด็กชาย ว. และเด็กชายศ. มาเป็นพยานเบิกความต่อศาลได้
การสอบปากคำผู้ต้องหาเพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องมีการสอบสวนหรือสอบปากคำผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี เพิ่มเติม ก็ต้องดำเนินการตามมาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 138 ทวิ ทุกครั้งไม่มีข้อยกเว้น
การนำผู้ต้องหาที่เป็นเด็กชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ การนำชี้ที่เกิดเหตุก่อนการสอบสวนผู้ต้องหา มิใช่การ สอบปากคำหรือมิใช่การชี้ตัวผู้ต้องหา จึงไม่จำต้องดำเนินการ ตามบทบัญญัติมาตรา 133 ทวิ กล่าวคือ ไม่ต้องมีบุคคลต่าง ๆ เข้าร่วมในการนำชี้ที่เกิดเหตุด้วย ฎีกาที่ 2132/2548
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการสอบปากคำหรือสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก 1. กรณีที่ต้องดำเนินการสอบปากคำหรือสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กตามวิธีการใหม่ที่จะต้องจัดสถานที่ให้เหมาะสม มีทนายความ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย ก็แต่เฉพาะการสอบปากคำหรือสอบสวนผู้ต้องหาเท่านั้น
ส่วนการสอบสวนที่ไม่ได้กระทำต่อตัวผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก เช่น การสอบปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นผู้ใหญ่ การทำแผนที่เกิดเหตุ เหล่านี้ไม่อยู่ในบังคับต้องดำเนินการตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นด้วย
2. ในบางกรณี นอกจากผู้ต้องหาเป็นเด็กแล้ว ผู้เสียหาย หรือพยานที่เห็นเหตุการณ์อาจเป็นเด็กที่อายุไม่เกิน 18 ปี ด้วยเช่นกัน ในกรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนก็ต้อง ดำเนินการสอบปากคำทั้งผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือพยาน ตามวิธีการใหม่ด้วยกันทุกฝ่าย
การดำเนินคดีหลังการสอบสวนเสร็จ (มาตรา 140-147) ขั้นตอนของพนักงานสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้วให้ จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
กรณีไม่ปรากฏตัวผู้กระทำความผิด (มาตรา 140 (1)) ถ้าความผิดนั้นมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี ให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวนและบันทึกเหตุที่งดนั้นไว้ แล้วให้ส่งบันทึกพร้อมกับสำนวนไปยังพนักงานอัยการ
ถ้าอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่า 3 ปี ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการพร้อมทั้งความเห็นที่ควรให้งดการสอบสวน ถ้าพนักงานอัยการสั่งให้งดหรือให้ทำการสอบสวนต่อไป ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามนั้น
กรณีรู้ตัวผู้กระทำความผิด (มาตรา 140 (2)-144) แบ่งออกเป็น 1. กรณีรู้ตัวผู้กระทำความผิดแต่เรียกหรือจับตัวไม่ได้ให้พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมสำนวนยังพนักงานอัยการ
ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยว่าควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ยุติการสอบสวนโดยสั่งไม่ฟ้องและให้แจ้งคำสั่งให้พนักงานสอบสวนทราบ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าควรสอบสวนต่อไป ก็ให้สั่งให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติเช่นนั้น ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าควรสั่งฟ้องก็ให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา ถ้าผู้ต้องหาอยู่ต่างประเทศ ให้พนักงานอัยการจัดการเพื่อขอให้ส่งตัวข้ามแดนมา (มาตรา 141)
2. กรณีรู้ตัวผู้กระทำความผิดและผู้นั้นถูกควบคุมหรือ ยังอยู่หรือปล่อยชั่วคราวหรือเชื่อว่าคงได้ตัวมาเมื่อออก หมายเรียก ให้พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าควรสั่ง ฟ้องหรือไม่ฟ้องไปยังพนักงานอัยการพร้อมด้วยสำนวน (มาตรา 142 วรรคหนึ่ง)
ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องให้ส่งแต่ สำนวนพร้อมด้วยความเห็นไปยังพนักงานอัยการส่วนตัว ผู้ต้องหาให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจปล่อยหรือปล่อย ชั่วคราวถ้าผู้ต้องหาถูกขังอยู่ให้ขอเองหรือขอให้พนักงาน อัยการขอต่อศาลให้ปล่อย (มาตรา 142 วรรคสอง)
ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งฟ้องให้พนักงาน สอบสวนส่งสำนวนพร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงาน อัยการ เว้นแต่ผู้ต้องหาถูกขังอยู่หรือผู้ต้องหาที่ถูกแจ้ง ข้อหาได้หลบหนีไป (มาตรา 142 วรรคสาม แก้ไขปี 2558)
ในกรณีที่เป็นความผิดซึ่งพนักงานสอบสวน เปรียบเทียบได้ และผู้กระทำความผิดได้ปฏิบัติตาม เปรียบเทียบนั้นแล้ว ให้บันทึกการเปรียบเทียบนั้นไว้และ ส่งไปให้พนักงานอัยการพร้อมสำนวน (มาตรา 142 วรรค สี่)
ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 141 วรรคสี่บัญญัติว่าถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าควรสั่งฟ้องก็ให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามานั้นเป็นกรณียังเรียกหรือจับตัวจำเลยมาไม่ได้ถ้าผู้ต้องหาถูกขังโดยหมายของศาล พนักงานสอบสวนไม่ต้องสั่งผู้ต้องหาต่อพนักงานอัยการตามมาตรา 142 วรรคสาม และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 141 วรรคสี่
เพราะมิใช่กรณียังจับตัวผู้ต้องหามิได้ ดังนี้ เมื่อผู้ต้องหา ถูกขังโดยหมายของศาลและได้รับอนุญาตให้ปล่อย ชั่วคราวถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจศาลที่จะเรียกตัวจาก ผู้ประกันได้ พนักงานอัยการจึงไม่ต้องนำตัวผู้ต้องหามา พร้อมกับฟ้อง ฎีกาที่ 2747 /2551
ข้อสังเกต เรื่องนี้ เหตุเกิดในเขตอำนาจของศาลอาญา แต่พนักงานสอบสวนนำจำเลยไปฝากขังต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ต่อมาศาลอาญากรุงเทพได้อนุญาตให้ปล่อยง่ายชั่วคราว ดังนี้ แม้โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาก็ถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่ต้องส่งตัวจำเลยพร้อมฟ้อง
สังเกตว่าเรื่องนี้ แม้จำเลยจะถูกขังโดยหมายของศาลอื่น ไม่ใช่ ศาลที่ยื่นฟ้องจำเลยแต่เป็นการฝากขังในคดีเดียวกับที่ฟ้อง จึงถือ ว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้ว แต่ถ้าต่างคดีกันแม้เป็นศาลชั้นต้น เดียวกัน การที่จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วหลบหนี พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ ตัวจำเลยมาฟ้องตาม ป. วิ. อ. มาตรา 141 วรรคสี่ ฎีกาที่ 13849/2553
ขั้นตอนการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ ในส่วนของพนักงานอัยการ เมื่อได้รับความเห็นและสำนวนจากพนักงานสอบสวนตามมาตรา 142 แล้ว ให้พนักงานอัยการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ออกคำสั่งไม่ฟ้อง แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ให้สั่งฟ้องและแจ้งให้พนักงานสอบสวนส่งผู้ต้องหามาเพื่อฟ้องต่อไป (2) ในกรณีที่มีความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้ออกคำสั่งฟ้อง และฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ให้สั่งไม่ฟ้อง
ในกรณีตาม (1) หรือ (2) พนักงานอัยการมีอำนาจ (ก) สั่งให้พนักงานสอบสวนสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งพยานคนใดมาให้ซักถามเพื่อสั่งต่อไป (ข) วินิจฉัยว่าควรปล่อยผู้ต้องหา ปล่อยชั่วคราว ควบคุมไว้ หรือขอให้ศาลขัง แล้วแต่กรณี และจัดการหรือสั่งการให้เป็นไปตามนั้น
ในคดีฆาตกรรม ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตายหรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง (มาตรา 143)
ตามมาตรา 143 วรรคสาม ในคดีฆาตกรรม ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตายหรือฯ เจ้าพนักงานผู้ที่ฆ่า ผู้ตายนั้นจะต้องอ้างขึ้นในชั้นที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด ถ้า มิได้กล่าวอ้างขึ้นในชั้นที่ถูกกล่าวหาพนักงานสอบสวนจึงดำเนินคดีไป อย่างคดีธรรมดา โดยมิได้ส่งให้อัยการสูงสุดสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง จึง ชอบแล้ว ฎีกาที่ 3100/2532
ในคดีที่อาจเปรียบเทียบได้ พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบได้ (มาตรา 144) อำนาจของพนักงานอัยการที่จะสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบตามบทบัญญัติมาตรานี้นั้น ต้องเป็นกรณีที่อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะเปรียบเทียบได้ด้วย ฎีกาที่ 977/2545
คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ (มาตรา 145, 145/1 เพิ่มเติมปี 2558) ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้องที่ไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด ถ้าในกรุงเทพมหานคร ให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งไปเสนออธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ถ้าในจังหวัดอื่นให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมคำสั่งไปเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด แต่พนักงานอัยการยังคงมีอำนาจตามมาตรา 143
ถ้าอธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ช่วยอธิบดีกรม ตำรวจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี แย้งคำสั่งของพนักงาน อัยการ ให้ส่งสำนวนพร้อมด้วยความเห็นที่แย้งกันไปยังอัยการสูงสุด เพื่อชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาดอายุความหรือมีเหตุอย่างอื่นอันจำเป็นจะต้อง รีบฟ้อง ก็ให้ฟ้องคดีนั้นตามความเห็นอธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรม ตำรวจ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดไปก่อน
บทบัญญัติในมาตรานี้ใช้บังคับในการที่พนักงานอัยการจะอุทธรณ์ฎีกา หรือถอนฟ้องถอนอุทธรณ์หรือถอนฎีกาโดยอนุโลม (มาตรา 145) เรื่องคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการนี้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 115/2557 เป็นมาตรา 145/1 ความว่า
สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงาน ตำรวจในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้องและคำสั่งนั้นไม่ใช่คำสั่งของอัยการ สูงสุด ถ้าในกรุงเทพมหานคร ให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับ คำสั่งเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถ้าในจังหวัดอื่น
ให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอผู้ บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แต่ทั้งนี้มิได้ตัดอำนาจ พนักงานอัยการที่จะจัดการอย่างใดแก่ผู้ต้องหาดังบัญญัติ ไว้ในมาตรา 143 (มาตรา 145/1 วรรคหนึ่ง)
ในกรณีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร หรือผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในจังหวัดอื่นแย้งคำสั่งของพนักงานอัยการให้สิ่งสำนวนพร้อมความเห็นที่แย้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาดอายุความ
หรือมีเหตุอย่างอื่นอันจำเป็นจะต้องรีบฟ้อง ก็ให้ฟ้อง คดีนั้นตามความเห็นของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รอง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติ ผู้บัญชาการ หรือรองผู้บัญชาการดังกล่าวไป พรางก่อน (มาตรา 145/1 วรรคสอง)
บทบัญญัติในมาตรานี้ให้นำมาบังคับในการที่ พนักงานอัยการจะอุทธรณ์ฎีกาหรือถอนฟ้อง ถอน อุทธรณ์หรือถอนฎีกาใดยอนุโลม (มาตรา 145/1 วรรคสาม)
ข้อสังเกต ตามบทบัญญัติเพิ่มเติมหมายความว่า ถ้าคำสั่งไม่ฟ้อง ของพนักงานอัยการเป็นการสั่งสำนวนการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับ ผิดของเจ้าพนักงานตำรวจแล้วกรณีต้องบังคับตามมาตรา 145/1 กล่าว อีกนัยหนึ่งมาตรา 145/1 ใช้บังคับกับกรณีที่เป็นสำนวนการสอบสวน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจโดยเฉพาะเท่านั้น หากเป็นกรณีอื่นก็คงใช้บังคับตามมาตรา 145 ดังเดิม
ให้แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีให้ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบ ถ้า ผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่ ให้จัดการปล่อยตัวไปหรือขอให้ศาล ปล่อยแล้วแต่กรณี (มาตรา 146 วรรคหนึ่ง) เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่ง เด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอ ต่อพนักงานอัยการ เพื่อขอทราบสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสั่งคดี ทั้งนี้ ภายในกำหนด อายุความฟ้องร้อง (มาตรา 146 วรรคสอง)
เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแล้ว ห้ามมิให้มีการ สอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่ จะได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ (มาตรา 147)
คดีที่พนักงานอัยการจังหวัดได้ทำคำสั่งไม่ฟ้อง โดยยังไม่ได้ส่ง สำนวนและคำสั่งเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด ถือได้ว่าสำนวนการ สอบสวนยังอยู่ในอำนาจของพนักงานอัยการย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลง คำสั่งได้อธิบดีกรมอัยการจึงมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องผู้ต้องหานั้นได้
ผลของคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี (มาตรา 147) เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแล้ว ห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่จะได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี ซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ (มาตรา 147) แต่ถ้าเป็นเพียงความเห็นของพนักงานสอบสวนว่าไม่ควรฟ้องไม่ใช่คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง พนักงานสอบสวนจึงสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีกฎีกาที่ 8481/2544
การที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในคดี ก่อน โดยยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาสาระสำคัญแห่งคดี ไม่ ต้องห้ามสอบสวนเรื่องเดียวกันใหม่ ฎีกาที่ 4243/2550
การชันสูตรพลิกศพ (มาตรา 145-156) เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตามในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยประหารชีวิตตามกฎหมาย
การตายโดยผิดธรรมชาตินั้นคือ (1) ฆ่าตัวตาย (2) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย (3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย (4) ตายโดยอุบัติเหตุ (5) ตายโดยยังมีปรากฏสาเหตุ (มาตรา 148)
การชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่กับแพทย์ฯทำการชันสูตรพลิกศพโดยเร็ว โดยพนักงานสอบสวนและแพทย์ต้องทำบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพทันที และให้แพทย์ทำรายงานแนบท้ายบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเรื่อง ถ้ามีความจำเป็นให้ขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้งครั้งละไม่เกิน 30 วัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการขยายเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวนชันสูตรพลิกศพ
รายงานดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการชันสูตรพลิกศพและในกรณีความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญา ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปยังพนักงานอัยการเมื่อเสร็จสิ้นการชันสูตรพลิกศพโดยเร็ว และให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไปตามมาตรา 156 (มาตรา 150 วรรคหนึ่ง) โดยพนักงานอัยการต้องรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด (มาตรา 156)
การชันสูตรพลิกศพกรณีความตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงาน ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอำเภอ หรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เป็นผู้ร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ชันสูตรพลิกศพ (มาตรา 150 วรรคสาม)
เมื่อได้มีการชันสูตรพลิกศพตามวรรคสามแล้ว ให้พนักงาน สอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนทำสำนวน ชันสูตรให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้ามีความจำเป็นให้ ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกิน 2 ครั้งครั้งละไม่เกิน 30 วัน แต่ต้อง บันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้ง ไว้ใน สำนวนชันสูตรพลิกศพ (มาตรา 150 วรรคสี่)
เมื่อพนักงานอัยการได้รับสำนวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ให้ทำคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทำการไต่สวนและทำคำส่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหนเมื่อใดและถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้กระทำร้ายเท่าที่จะทราบได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับสำนวน
ถ้ามีความจำเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกิน 2 ครั้งครั้งละไม่เกิน 3วัน โดยต้องบันทึกเหตุผลและความ จำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวนชันสูตร พลิกศพ (มาตรา150 วรรคห้า)
ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่ง ของพนักงานอัยการ (มาตรา 150 วรรคหก)
ตามมาตรา 150 วรรคห้า เป็นกรณีที่ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำ ของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่าง การควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ทั้งสอง กรณีนี้นอกจากที่ต้องให้มีการชันสูตรพลิกศพแล้ว พนักงานอัยการต้อง ท้าคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทำการไต่สวนและทำ คำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ ที่ตายฯ
ถ้าขณะที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้าย ผู้ตายไม่ได้อยู่ในความควบคุมของ เจ้าพนักงาน แม้ผู้ตายจะถึงแก่ความตายในระหว่างเจ้าพนักงานตำรวจ นำส่งโรงพยาบาล ก็ไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานหรืออยู่ใน ความควบคุมของเจ้าพนักงาน จึงไม่ต้องมีการไต่สวนการชันสูตรพลิก ศพตามมาตรา 150 วรรคห้า เมื่อชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้วพนักงาน อัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 129 ฎีกาที่ 1750/2539
คำสั่งศาลตามมาตรา 150 เป็นที่สุด (มาตรา 150 วรรคสิบ) คำสั่งของศาลในเรื่องการชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 150 ให้เป็นที่สุด แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิฟ้องร้องและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล หากพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นได้ฟ้องหรือจะฟ้องคดีเกี่ยวกับความตายนั้น (มาตรา 150 วรรคสิบ)
แต่การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้อง อ้างว่าการชันสูตร พลิกศพไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้มีคำสั่งตาม มาตรา 150 ไม่เป็นที่สุด อุทธรณ์ได้ ฎีกาที่ 7430/2557
ฎีกาที่ 7430/2557 ศาลชั้นต้นเห็นว่าการชันสูตรพลิกศพตาม ป. วิ. อ ฎีกาที่ 7430/2557 ศาลชั้นต้นเห็นว่าการชันสูตรพลิกศพตาม ป. วิ. อ. มาตรา 150 แพทย์ต้องดูศพด้วยตนเอง การที่แพทย์ยืนยันตัวผู้ตายกับพนักงานสอบสวนและตรวจดูภาพถ่ายและเอกสารต่างๆแทนการชันสูตรพลิกศพ จึงมิใช่การชันสูตรพลิกศพตามกฎหมาย ผู้ร้องอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นจะต้องทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด
รวมถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตายว่าเกิดจากการกระทำของเจ้า พนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือไม่อย่างไร และหาก ข้อเท็จจริงปรากฏว่ารู้ว่าใครทำให้ตายก็ให้ระบุถึงบุคคลดังกล่าวด้วย ศาลชั้นต้นไม่อาจมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ เท่ากับผู้ร้องอุทธรณ์ว่าค้าสั่ง ของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว กรณีไม่ใช่เป็นการ อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งตาม ป. วิ. อ. มาตรา 150 วรรคห้า ซึ่ง จะถึงที่สุดตามมาตรา 150 วรรคสิบ
หน้าที่แจ้งผู้ร่วมชันสูตรพลิกศพ หน้าที่แจ้งผู้ร่วมขันสูตรพลิกศพ ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนแจ้งแก่ผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพทราบ แต่ก่อนที่จะทำการชันสูตรพลิกศพให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคนทราบเท่าที่จะทำได้ (มาตรา 150 วรรคสอง)
การทำสำนวนสอบสวนกรณีความตายเกิดขึ้นโดยเจ้าพนักงาน (มาตรา 155/1) การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือในกรณีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทำสำนวนสอบสวน (มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง)
การทำสำนวนสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนเป็น ผู้รับผิดชอบ โดยพนักงานอัยการอาจให้คำแนะนำ ตรวจสอบ พยานหลักฐาน ถามปากคำ หรือสั่งให้ถามปากคำบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ตั้งแต่เริ่มการทำสำนวนสอบสวนนับแต่โอกาสแรกเท่าที่จะพึงกระทำได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 155/1 วรรคสอง)
ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนและมีเหตุอันควร ไม่อาจรอพนักงานอัยการ เข้าร่วมในการทำสำนวนสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนทำสำนวน ต่อไปได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอพนักงานอัยการไว้ในสำนวน และถือว่าเป็นการทำสำนวนการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 15/1 วรรคสาม)
ข้อสังเกต บทบัญญัตินี้เพิ่มเติมโดย พ. ร. บ ข้อสังเกต บทบัญญัตินี้เพิ่มเติมโดย พ. ร. บ. แก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่27) พ.ศ. 2550
คำถาม คดีความผิดต่อส่วนตัวคดี หรือคดีความผิดอาญาแผ่นดิน หากผู้เสียหายที่ไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย การสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องหรือไม่ คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คดีความผิดต่อส่วนตัว คำพิพากษาฎีกาที่ 9776/2560 แม้ผู้เสียหายหลงเชื่อค้าหลอกลวงของจำเลยทั้งสามที่ขอกู้ยืมเงินโดยอ้างว่าได้กระทำในฐานะที่เป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้านจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายมอบเงินกู้ให้จำเลยทั้งสามไปตามฟ้องก็ดี แต่การให้ยืมเงินผู้เสียหายทำสัญญาโดยคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 4 ของเงินต้น ในระยะเวลา 5 วัน คิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 292 ต่อปี ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ. ศ. 2475 มาตรา 3 (ก)
ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าผู้เสียหายรับข้อเสนอของจำเลยทั้งสามโดยมีเจตนามุ่งต่อผลประโยชน์อันเกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมายของตนถือมิได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต จะถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยชอบด้วยกฎหมายมีได้ ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ เป็นเหตุให้การสอบสวนไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120
คำพิพากษาฎีกาที่ 1278 / 2557 โจทก์ร่วมไม่ใช่เป็นเจ้าของตอต้นอ้อยที่ ได้รับความเสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคสอง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120
คดีความผิดอาญาแผ่นดิน คำพิพากษาฎีกาที่ 2183/2558 ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม ป. อ. มาตรา 157 เป็นความผิดอาญาแผ่นดินถือเป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ
มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว บุคคลผู้พบเหตุความผิดดังกล่าวมีอำนาจที่จะกล่าวโทษผู้กระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดได้ และพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดได้โดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กล่าวโทษเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้เสียหายหรือไม่ ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 121
คำพิพากษาฎีกาที่ 13646 / 2558 ความผิดฐานปลอมเอกสาร เป็นความผิดอาญาแผ่นดินไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายที่ถูกปลอมลายมือชื่อจะไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย ดังนี้ ผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์หรือไม่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อสอบเนติบัณฑิตสมัยที่ 69 ข้อ 3 คำถาม นางสาวขาวร้องทุกข์ต่อพันตำรวจโทศักดิ์ชัยพนักงานสอบสวนว่า นายเขียวกระทำอนาจารโดยลูบขานางสาวขาวเหตุการณ์ดังกล่าวมีเด็กหญิงเหลืองอายุ 8 ปีเป็นพยาน ให้แก่นางสาวขาว พันตำรวจโทศักดิ์ชัยทำการสอบปากคำนายเขียวและสอบนางสาวขาวด้วยตนเองทั้งหมด ส่วนการถามปากคำเด็กหญิงเหลืองได้จัดให้มีนักสังคมสงเคราะห์
บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำดังกล่าว แต่บันทึกเป็นคำให้การพยานเอกสารเท่านั้น มิได้จัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำของเด็กหญิงเหลืองเอาไว้ หลังจากดำเนินการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว พันตำรวจโทศักดิ์ชัยมีความเห็นควรสั่งฟ้องส่งสำนวนให้พนักงานอัยการพิจารณา ต่อมาพนักงานอัยการพิจารณาแล้วมีคำสั่งฟ้องและยื่นฟ้องนายเขียวต่อศาลในความผิดฐานกระทำอนาจาร ในระหว่างสืบพยานโจทก์
นายเขียวคัดค้านว่า พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องเพราะมิได้ให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวนนางสาวขาว และคัดค้านมิให้เด็กหญิงเหลืองเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์เนื่องจากไม่มีการส่งบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำของเด็กหญิงเหลืองเป็นพยานหลักฐานต่อศาล
ให้วินิจฉัยว่า พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ และมีสิทธินำเด็กหญิงเหลืองเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ได้หรือไม่
ธงคำตอบ ความผิดฐานกระทำอนาจารเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ การที่พันตำรวจโทศักดิ์ชัยพนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 วรรคสี่ ที่ต้องให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวน เว้นแต่นางสาวขาวผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และให้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้
แม้จะเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 133 วรรคสี่ แต่ก็ไม่มีผลทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดและไม่ถือว่าไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อนอันจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120 ดังนั้น พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ (เทียบคำพิพากษาฎีกา3419 / 2559)
การถามปากคำเด็กหญิงเหลืองของพันตำรวจโทศักดิ์ชัยพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 133 ทวิ วรรคสี่ เป็นการบันทึกตามหลักทั่วไปตามมาตรา 134 แม้จะขาดการบันทึกภาพและเสียงที่สามารถนำออกมาถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามมิให้รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2500 / 2559)
ทั้งมาตรา 133 ทวิ วรรคสอง ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการโจทก์ต้องส่งบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำเป็นพยานหลักฐานต่อศาล ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธินำเด็กหญิงเหลืองมาเป็นพยานเบิกความต่อศาลได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1512 / 2559)
เขตอำนาจศาล (มาตรา 22-27) หลักเกณฑ์ เมื่อความผิดเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลใดให้ชำระที่ศาลนั้น แต่ถ้า (1) เมื่อจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับในท้องที่หนึ่งหรือเมื่อเจ้าพนักงานทำการสอบสวนในท้องที่หนึ่งนอกเขตอำนาจศาลดังกล่าวแล้วจะชำระที่ศาลซึ่งท้องที่นั้น ๆ อยู่ในเขตอำนาจก็ได้ (2) เมื่อความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทย ให้ชำระคดีนั้นที่ศาลอาญา ถ้าการสอบสวนได้กระทำลงในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขตของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้นได้ (มาตรา 22 )
ศาลที่มีอำนาจรับชำระคดี หลักคือศาลที่ความผิดเกิดขึ้นอ้างหรือเชื่อว่าเกิดขึ้นในเขตอำนาจ ข้อยกเว้น โจทก์อาจฟ้องจำเลยต่อศาลในเขตที่จำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับ หรือได้มีการสอบสวนความผิดในท้องที่ใด ศาลซึ่งท้องที่นั้นๆอยู่ในเขตอำนาจก็ได้ (มาตรา 22 (1))
บทบัญญัติตามมาตรา 22 (1) มิได้เป็นบทบัญญัติที่ให้เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจหรือถูกจับได้ แต่เป็นบทบัญญัติที่ให้เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับจะรับชำระคดีหรือไม่ก็ได้ โดยศาลจะพิจารณาว่าการฟ้องคดีที่ศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับจะสะดวกยิ่งกว่าการฟ้องคดีต่อศาลที่ความผิดเกิด เชื่อหรืออ้างว่าเกิดหรือไม่ ฎีกาที่ 3426/2559, 8103/2548, 516/2548 ฎีกาที่ 3426/2559 แม้เรือนจำกลางราชบุรีเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ตาม ป. พ. พ. มาตรา 47 ถือได้ว่าจำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดราชบุรี) ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่เป็นบทบังคับให้ศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นชอบที่จะใช้ดุลพินิจรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความสะดวกในการพิจารณาคดี
เหตุคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรสงคราม และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรลาดใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นผู้สอบสวนคดี แสดงว่าพยานหลักฐานของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบกับโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลชั้นต้นจะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดสมุทรสงครามอย่างไร คงกล่าวอ้างเพียงว่าไม่อาจโอนตัวจำเลยไปดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดสมุทรสงครามได้เนื่องจากกำหนดโทษตามในคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5126/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาครเกินอำนาจการควบคุมของเรือนจำกลางสมุทรสงครามซึ่งเป็นเพียงปัญหาในทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ที่อาจดำเนินการแก้ไขได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้นรับชาระคดีนี้
ฎีกาที่ 8103/2548 แม้เรือนจำกลางจังหวัดนครศรีธรรมราชจะเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ตาม ป. พ. พ. มาตรา 47 แต่ ป. วิ. อ. มาตรา 22 (1) มิได้บัญญัติบังคับให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องชาระคดี กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะรับคดีหรือไม่ก็ได้ เมื่อความผิดคดีนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดทุ่งสง และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอทุ่งสงท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นเป็นผู้สอบสวน
จึงอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดทุ่งสงได้ ที่โจทก์อ้างว่าไม่อาจโอนตัวจำเลยไปคุมขังที่เรือนจำจังหวัดทุ่งสงเพื่อฟ้องคดี เพราะเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยในการย้ายจำเลยนั้นเป็นเพียงการคาดการณ์เอาเองของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น จึงไม่สมควรให้ศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช) รับชำระคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
ฎีกาที่ 516/2548, 6511 / 2546 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน ศาลชั้นต้นเพียงแต่นัดไต่สวนมูลฟ้อง ยังถือไม่ได้ว่าใช้ดุลพินิจรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษา ฎีกาที่ 2038/2523 (ประชุมใหญ่) คำว่า“ ที่อยู่” ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 22(1) ศาลฎีกาเคยตีความว่ามีความหมายเช่นเดียวกับภูมิลำเนาตาม ป. พ. พ. มาตรา 37 ฎีกาที่ 2073/2536
ผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาลนั้น ต้องเป็นคำพิพากษาถึงที่สุดด้วย จึงจะถือว่าเรือนจำหรือทัณฑสถานเป็นภูมิลำเนาตาม ป. พ. พ. มาตรา 47 ถ้าคำพิพากษานั้นยังไม่ถึงที่สุดก็ไม่ถือว่าเรือนจำหรือทัณฑสถานที่จำคุกอยู่เป็นภูมิลำเนา ฎีกาที่ 2209 / 2540 ท้องที่ที่จำเลยถูกจับตามมาตรา 22 (1) นี้ ต้องมีการจับกุมจำเลยจริงๆ ในเขตศาลนั้นในข้อที่ถูกกล่าวหา การที่จำเลยถูกจับกุมในความผิดอื่นแล้วจึงได้มีการอายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีที่ถูกกล่าวหานี้ไม่ถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาที่ถูกกล่าวหานี้โจทก์จะขออนุญาตฟ้องจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยถูกจับในเขตศาลตามมาตรา 22 (1) ไม่ได้ ฎีกาที่ 8836/2538
ในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยหนังสือพิมพ์ลงข้อความหมิ่นประมาท ถือว่าท้องที่ที่จำหน่ายหนังสือพิมพ์ทุกแห่งเป็นที่เกิดเหตุ ฎีกาที่ 2154/2518, 2360/2523 สถานที่ออกเช็คหรือสถานที่ซื้อสินค้าไม่ใช่สถานที่ความผิดเกิด ผู้เสียหายฟ้องต่อศาลในท้องที่ที่ออกเช็คไม่ได้ฎีกาที่ 1222/2519, 1229/2519 (ประชุมใหญ่), 857/2530
ข้อสังเกต ทั้งสามฎีกาข้างต้นผู้เสียหายเป็นผู้ฟ้องคดีเองจึงต้องฟ้องที่ศาลที่ความผิดเกิดเท่านั้น (คือศาลที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่) แต่ถ้าเป็นคดีที่พนักงานอัยการฟ้องจะมีเรื่องการสอบสวนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ถ้ามีการสอบสวนในท้องที่ออกเช็ค ซึ่งถือว่าเป็นความผิดต่อเนื่องกับท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินพนักงานอัยการก็ฟ้องที่ศาลที่ออกเช็ดได้ตามมาตรา 22 (1) (เป็นการโยงมาตรา 19 (3) กับมาตรา 22 (1)) ฎีกาที่ 1702-1703/2523 (ประชุมใหญ่), 5103/2528
การขอโอนคดีไปชำระยังศาลที่ความผิดเกิด (มาตรา 23) เมื่อศาลแต่สองศาลขึ้นไปต่างมีอำนาจชำระคดี ถ้าได้ยื่นฟ้องคดีนั้นต่อศาลหนึ่งซึ่งตามฟ้องความผิดมิได้เกิดในเขต โจทก์หรือจำเลยจะร้องขอให้โอนคดีไปชำระที่ศาลอื่นซึ่งความผิดได้เกิดในเขตก็ได้ (มาตรา 23 วรรคหนึ่ง) ถ้าโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลซึ่งความผิดเกิดในเขต แต่ต่อมาความปรากฏแก่โจทก์ว่าการพิจารณาคดีจะสะดวกยิ่งขึ้นถ้าให้อีกศาลหนึ่งซึ่งมีอำนาจชำระคดีได้พิจารณาคดีนั้น โจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งคดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณาขอโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้ แม้ว่าจำเลยจะคัดค้านก็ตาม เมื่อศาลเห็นสมควรจะโอนคดีไปหรือยกคำร้องเสียก็ได้ (มาตรา 23 วรรคสอง
การขอโอนคดีตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง มีข้อสังเกต การขอโอนคดีตามมาตรา 23 มีด้ายกัน 2 กรณี มีหลักเกณฑ์แตกต่างกัน กล่าวคือ การขอโอนคดีตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง มีข้อสังเกต 1. ต้องเป็นกรณีที่ฟ้องคดีต่อศาลที่ความผิดมิได้เกิดในเขตศาลนั้น เช่น ฟ้องคดีต่อศาลที่จำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับตามมาตรา 22(1) 2. โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิร้องขอให้โอนคดีได้ 3. ต้องเป็นการขอโอนคดีไปยังศาลที่ความผิดได้เกิดในเขต
1. ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ฟ้องคดีต่อศาลซึ่งความผิดเกิดในเขต การขอโอนคดีตามมาตรา 23 วรรคสอง มีข้อสังเกต 1. ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ฟ้องคดีต่อศาลซึ่งความผิดเกิดในเขต 2. ต้องปรากฏแก่โจทก์ว่าการพิจารณาคดีจะสะดวกยิ่งขึ้นถ้าให้อีกศาลหนึ่งพิจารณา 3. ศาลที่จะรับโอนคดีต้องเป็นศาลที่มีอำนาจชำระคดีนั้นซึ่งอาจเป็นศาลที่จำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับ เจ้าพนักงานทำการสอบสวนอยู่ในเขตก็ได้ 4. โจทก์เท่านั้นที่มีอำนาจขอโอนคดีได้ 5. แม้จำเลยจะคัดค้านศาลก็สั่งให้โอนคดีไปได้
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าการขอโอนคดีทั้งสองกรณี ต้องปรากฏว่าศาลที่ได้ฟ้องคดีไว้แล้วนั้นเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอยู่แล้ว ดังนี้ ถ้าศาลที่โจทก์ฟ้องคดีไว้เป็นศาลที่ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา กล่าวคือไม่ใช่ศาลที่ความผิดเกิด อ้างหรือเชื่อว่าความผิดได้เกิดขึ้น หรือจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับอยู่ในเขต ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอให้โอนคดีไปชำระคดีต่อศาลที่มีอำนาจตามมาตรา 23 ได้ฎีกาที่ 4649/2548
การกำหนดให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาบางประเภท เดิม ใช้ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2520 ปัจจุบัน ใช้กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนความผิดอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554
ป.วิ.อาญา มาตรา 136 (เดิม) บัญญัติว่า “พนักงานสอบสวนจะจับและควบคุม หรือจัดการให้จับหรือควบคุมผู้ต้องหาหรือบุคคลใดซึ่งในระหว่างสอบสวนปรากฏว่าเป็นผู้กระทำความผิดหรือปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลยหรือมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันด้วย หรือปล่อยไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ในเรื่องนั้นๆก็ได้” (มาตรา 136 (เดิม) ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547)
คำถาม เหตุเกิดขึ้นในเขตจังหวัดอุทัยธานี จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 และถือได้ว่า จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) ดังนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นต้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 7253/2560 แม้เรือนจำกลางเขาบินเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตามนัยแห่ง ป. พ. พ. มาตรา 47และถือได้ว่า จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตาม ป. วิ. อ. มาตรา 22 (1) บัญญัติไว้ก็ตาม แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง หากแต่บัญญัติให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะรับชำระคดีในกรณีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้
ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดอุทัยธานีและการสอบสวนเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดอุทัยธานี โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า หากมีการชำระคดีที่ศาลชั้นต้นแล้ว จะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดอุทัยธานีซึ่งเป็นศาลท้องที่ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นอย่างไรที่โจทก์อ้างว่าการส่งจำเลยจากเรือนจำกลางเขาบินไปยังศาลจังหวัดอุทัยธานีเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับการนำจำเลยไปศาลจังหวัดอุทัยธานีและการป้องกันการแย่งชิงตัวจำเลย
ก็เป็นเพียงปัญหาในทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ที่อาจแก้ไขและป้องกันได้ ที่โจทก์อ้างว่าหากศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาแล้วให้พยานโจทก์เดินทางมาเบิกความที่ศาลชั้นต้นจะเป็นการสะดวกและสิ้นเปลืองงบประมาณน้อยกว่านั้นก็เป็นเพียงการคาดคะเนในส่วนของค่าใช้จ่ายซึ่งไม่มีความชัดเจนประกอบกับการส่งจำเลยจากเรือนจำกลางเขาบินไปยังศาลจังหวัดอุทัยธานี
หรือการให้พยานโจทก์เดินทางมาเบิกความที่ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งสิ้น ที่โจทก์อ้างว่าหากศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาแล้วให้ศาลชั้นต้นใช้สืบพยานทางจอภาพจะเป็นการสะดวกและสิ้นเปลืองงบประมาณน้อยนั้น เมื่อพิเคราะห์หลักการดำเนินคดีอาญาซึ่งให้ความสำคัญกับการที่คู่ความทุกฝ่ายต้องมาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อหน้าศาลเพื่อพิสูจน์ความจริง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของจำเลยในการต่อสู้และในการใช้คำถามกับพยานโดยตรงซึ่งอาจทำให้จำเลยได้รับผลกระทบจากการที่พยานไม่อยู่ในห้องพิจารณา เมื่อการใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีหรือไม่ ต้องคำนึงถึงความจำเป็นและการที่จะได้รับการพิจารณาที่เป็นธรรมประกอบกับคดีนี้ยังอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดอุทัยธานีได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้นรับชำระคดี
คำพิพากษาฎีกาที่ 830/2561 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) มิได้เป็นบทบังคับที่ศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับในท้องที่หนึ่งหรือเมื่อเจ้าพนักงานทำการสอบสวนในท้องที่หนึ่งนอกเขตของศาลนั้นจะต้องรับฟ้องไว้พิจารณาเสมอไป แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะรับคดีไว้พิจารณาหรือไม่ แม้จำเลยถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำกลางเขาบินจังหวัดราชบุรี ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ซึ่งถือได้ว่า เรือนจำกลางเขาบินเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47
เรือนจำกลางเขาบินจึงเป็นที่อยู่ของจำเลยและศาลชั้นต้นมีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) แต่การที่จำเลยใกล้เวลาที่จำเลยจะพ้นโทษตามคำพิพากษาแล้ว ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนทั้งพยานหลักฐานของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ใน ศาลจังหวัดสมุทรปราการที่มูลคดีเกิดจะเป็นการสะดวกมากกว่า ศาลล่างทั้งสองจึงชอบที่จะไม่ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
เขตอำนาจศาลในความผิดเกี่ยวพันกันมาตรา (24) หลักเกณฑ์ ในความคิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันเป็นต้นว่า 1. ความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยผู้กระทำผิดคนเดียวกัน หรือ ผู้กระทำผิดหลายคนเกี่ยวพันกันในการกระทำความผิดฐานหนึ่งหรือ หลายฐาน จะเป็นตัวการผู้สมรู้หรือรับของโจรก็ตาม
2. ความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยมีเจตนาอย่างเดียวกัน หรือโดยผู้กระทำผิดทั้งหลายได้คบคิดกันมาแต่ก่อนแล้ว 3. ความผิดฐานหนึ่งเกิดขึ้นโดยมีเจตนาช่วยผู้กระทำผิดอื่นให้ พ้นโทษจากรับโทษในความผิดอย่างอื่นซึ่งเขาได้กระทำไว้
ในความผิดเกี่ยวพันกันดังกล่าว จะฟ้องทุกเรื่อง หรือฟ้องผู้กระทำ ผิดทั้งหมดต่อศาลซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ ถ้าความผิดอันเกี่ยวพันกันมีอัตราโทษอย่างสูงเท่ากัน ศาลที่มี อำนาจชำระคือศาลซึ่งรับฟ้องเรื่องหนึ่งเรื่องใดไว้ก่อน
กรณีความผิดหลายฐาน ได้กระทำลงโดยผู้กระทำผิดคนเดียวกันหรือ หลายคนเกี่ยวพันกันในการกระทำความผิดฐานหนึ่งหรือหลายฐาน ตาม มาตรา 24 (1) โจทย์สามารถฟ้องทุกฐานหรือฟ้องผู้กระทำความผิดทุก คนต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ (มาตรา 24 วรรคหนึ่ง) ถ้าความผิดอันเกี่ยวพันกันมีอัตราโทษอย่างสูง เท่ากัน ศาลที่มีอำนาจชำระคือศาลซึ่งรับฟ้องเรื่องหนึ่งเรื่องใดไว้ก่อน (มาตรา 24 วรรคสอง)
ดังนี้ ถ้าอัตราโทษของฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าอยู่ในอำนาจ ของศาลจังหวัดส่วนความผิดฐานอื่นอยู่ในอำนาจของศาลแขวง โจทก์ก็ สามารถฟ้องจำเลยทุกฐานความผิดต่อศาลจังหวัดได้โดยไม่ต้องผัดฟ้อง ฝากขังจำเลย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาใน ศาลแขวง ฎีกาที่ 3042/2532,3298/2532,3584,2532
หรือแม้ความผิดบางฐานอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและ ครอบครัว โจทก์ก็ฟ้องพร้อมกับข้อหาที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัด ได้ตามมาตรา 24 ยช. 53/2558
ยช. 53/2558 ความผิดที่โจทก์ฟ้องแยกเป็นแต่ละกรรมต่างกัน และความผิดต่อ พ ยช. 53/2558 ความผิดที่โจทก์ฟ้องแยกเป็นแต่ละกรรมต่างกัน และความผิดต่อ พ. ร. บ. คุ้มครองเด็กฯ แม้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัวก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน จึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน
ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมี อัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 24 (1) วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์ มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดต่อ พ. ร. บ. คุ้มครองเด็กฯ พร้อมกับ ความผิดทั้งห้าฐานนั้นต่อศาลจังหวัดได้ กรณีไม่ใช่การพิจารณา พิพากษาคดีตาม พ. ร. บ. คุ้มครองเด็กฯ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาของ ศาลเยาวชนและครอบครัวตาม พ. ร. บ. คุ้มครองเด็กฯ มาตรา 5
ฎีกาที่ 2455/2550 แม้ความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กัน คือจังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐม แต่ทรัพย์ที่ถูกลักทรัพย์กับรับของโจรนั้นเป็นทรัพย์สิ่งเดียวกันคือ รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดยถูกลักไปจากท้องที่หนึ่งแล้วนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง จึงเป็นความผิดหลายฐานเกี่ยวพันกัน โดยมีผู้กระทำผิดหลายคน
ทั้งที่เป็นตัวการลักทรัพย์ ผู้สมรู้และผู้รับของโจรตาม ป. วิ. อ ทั้งที่เป็นตัวการลักทรัพย์ ผู้สมรู้และผู้รับของโจรตาม ป. วิ. อ. มาตรา 24 (1) และความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนมีอัตราโทษสูง กว่าฐานรับของโจร ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานลักทรัพย์ในเหตุฉกรรจ์ได้ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 24 วรรคหนึ่ง