นำเสนอ เรื่อง ป่าไม้.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
สรุปสถานการณ์การ ระบาดเพลี้ยแป้ง ระหว่างวันที่ สิงหาคม 2554.
ภาวะ โลก ร้อน.  ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็น ปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ
ประวัติความเป็นมา บ้านสระแก้วก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ 2419 โดย พ่อใหญ่จารย์แก้ว เป็นผู้นำพาลูกหลานจากบ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม.
ผัก.
การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในไทย
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. การผสมใดต่อไปนี้ที่แยกออก จากกันได้ด้วยการระเหยแห้ง 1. เกลือป่นกับ น้ำ 2. น้ำมันพืชกับ น้ำ 3. ข้าวเปลือก กับแกลบ 4. ผงตะไบ เหล็กกับทราย.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
หลักการเลี้ยงสัตว์ คำบรรยาย โดย ครูสีกุน นุชชา
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปยุโรป
สภาพทั่วไป ประวัติและความเป็นมา ลักษณะภูมิประเทศ ตำนานเมืองแก่งคอย
ปลาฉลามและนกชนิดต่างๆ
Design by Agri - Map สำนักงานชลประทานที่ ๘.
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.
ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไข ของกองวิจัยและพัฒนาข้าว
ขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยว
กลุ่มเกษตรกร.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ทรัพยากรสัตว์ป่า.
แผ่นดินไหว.
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน 21 เมษายน 2558 ข้อมูล ณ เวลา น. www
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
โรคใบด่างมันสำปะหลัง
นโยบายระบบส่งน้ำและการกระจายน้ำ โครงการชลประทานเพชรบุรี
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
อาจารย์สอง TAWEESAK GUNYOCHAI : Satit UP
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
บทที่ 3 โรงเรือนและอุปกรณ์โคเนื้อ
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
จุดเริ่มต้นสวนสัตว์ไทย
ศาสนาเชน Jainism.
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
ประเทศบรูไน จัดทำโดย ด.ญ.ธัชพรรณ วรรณภิละ ม.2/8 เลขที่ 11
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
อำเภอแก่งคอย จัดทำโดย 1. เด็กชายวีระชัย บัวขำ เลขที่ 1
วัฏจักรของน้ำ + พายุหมุนเขตร้อน
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

นำเสนอ เรื่อง ป่าไม้

หัวข้อการนำเสนอ การกำเนิดของป่า ประโยชน์ของป่าไม้ ประเภทของป่าไม้มีอะไรบ้าง สาเหตุพื้นที่ป่าลดลง

การกำเนิดของป่า ป่าไม้ถือกำเนิดขึ้นมาในรูปของพืชดั้งเดิมเมื่อประมาณ 350 ล้านปีแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนแปรเป็นไม้ใหญ่นานาชนิด เมื่อเกิดมาแล้วก็ได้เจริญเติบโตขึ้น แล้วก็เสื่อมโทรมและล้มตายลง จนในที่สุดพรรณไม้บางชนิดก็สูญพันธุ์ไปมีพรรณไม้ชนิดใหม่เกิดขึ้นทด แทนเปลี่ยน แปลงไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ

พรรณไม้จำพวกที่เกิดขึ้นก่อนเมื่อประมาณ 181 ล้านปีมาแล้ว ได้แก่ ไม้ในตระกูลไม้สน ที่มีใบเรียวแหลมคล้ายเข็ม ต่อมาในระยะ 46 ล้านปี จึงมีพรรณไม้พวกใบกว้าง เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ ถือกำเนิดขึ้นมา และได้เจริญเติบโตมาตราบเท่าทุกวันนี้

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมีป่าไม้หลายชนิดขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศ ได้แก่ ลม ฟ้าอากาศ โดยเฉพาะฤดูกาลและปริมารของฝนที่ตกในปีหนึ่งๆ และระยะเวลาที่ฝนตก ถัดไปก็ได้แก่ ชนิดของดินซึ่งถ้าเป็นดินลึก อุดมสมบูรณ์ เก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ดี ป่าก็มักจะเป็นป่าชื้นหรือป่าดงดิบที่ต้นไม้ไม่ผลัดใบในถิ่นที่แห้งแล้ง ฝนตกน้อย หรือที่มีฤดูฝนและฤดูแล้งแยกออกจากกันอย่างแน่นอน ป่าก็เป็นป่าแล้งหรือ ป่าผลัดใบ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความสูงจากระดับน้ำทะเล ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดป่าไม้ชนิดต่าง ๆ กัน

ป่าไม้ในปัจจุบันอันประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด ที่ได้วิวัฒนาการมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน เมื่อเจริญเติบโตขึ้นแล้วก็เสื่อมลงและสูญพันธุ์ไป มีพรรณไม้ชนิดใหม่เกิดขึ้นแทนและเปลี่ยน แปลงไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ

พรรณไม้ที่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบันจำแนกออกได้เป็น 2 พวก 1. ไม้ใบแคบ เรียวแหลม มีลักษณะเหมือนเข็ม 2. ไม้จำพวกสน เขา และอีกพวกหนึ่งที่มีใบกว้าง เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ทั้งสองจำพวก นี้ได้เจริญสืบเนื่องต่อมาจนตราบเท่า ทุกวันนี้

คำว่า "ป่าไม้"นี้มีความหมายที่แตกต่างกันไปตามยุคตามสมัยตอนปลายศตวรรษที่ 13 ในยุโรป "ป่าไม้ หมายถึง พื้นที่ที่พระมหากษัตริย์ได้สงวนไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับล่าสัตว์ของ ส่วนพระองค์ ส่วนสิทธิในการตัดไม้และการก่นสร้างแผ้วถางป่าเพื่อการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ยังเป็นของประชาชนทั่ว ๆ ไปอยู่

ปัจจุบันองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ให้คำนิยามคำว่า "ป่าไม้" หมายถึง "บรรดาพื้นที่ที่มีพฤกษชาตินานาชนิดปกคลุมอยู่โดยมีไม้ต้นขนาดต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการทำ ไม้ในพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม สามารถผลิตไม้หรือมีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศ หรือต่อระบบของน้ำในท้องถิ่น"

นอกจากนี้พื้นที่ที่ได้ถูกตัดฟัน หรือแผ้วถาง หรือโค่นเผาไม้ลง และมีเป้าหมายที่จะปลูกป่าขึ้นในอนาคต ก็นับ รวมเป็นพื้นที่ป่าไม้ด้วย แต่ทั้งนี้มิได้นับเอาป่าละเมาะ หรือหมู่ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่นอกป่า หรือต้นไม้สองข้างทางคมนาคม หรือที่ยืนต้นอยู่ตามหัวไร่ปลายนา หรือที่ขึ้นอยู่ในสวนสาธารณะ ให้เป็นป่าไม้ด้วย

ประโยชน์ของป่าไม้ ป่าไม้ได้ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลประโยชน์ทางอ้อมนั้น น้อยคนนักจะเห็นความสำคัญ บางทีอาจไม่คิดหรือรู้ซึ้งกัน แต่ความจริงแล้วประโยชน์ทางอ้อมอาจมีมูลค่ามากกว่าประโยชน์ทางตรงเสียอีก

ประโยชน์ทางตรงของป่าไม้ ไม้ใช้ในการสร้าง บ้าน ทำรถ ต่อเรือ ทำสะพาน ทำเครื่องกีฬาต่างๆ ไม้ให้เชื้อเพลิง เช่น ใช้ไม้ทำฟืน เผาถ่าน การเดินรถไฟ เรือกลไฟ และใช้ในโรงงานอุตสาหกรรรม  ไม้ให้วัสดุเคมี เช่น เซลลูโลสในการทำกระดาษ ไหมเทียม วัตถุระเบิด น้ำตาล ลิกนินใช้ทำน้ำหอมและเครื่องสำอางต่าง ๆ ยารักษาโรคผิวหนัง ฯลฯ

4.ได้อาหารจากป่า เช่น ดอก ผล เมล็ด ใบ ของพืชเป็นอาหาร เช่น หน่อไม้ ดอกแค มัน ฯลฯ 5.ได้ยารักษาโรค เช่น สมุนไพรต่าง ๆ น้ำมันของผลกระเบา แก้โรคเรื้อน ต้นระย่อมรักษาโรคความดันโลหิตสูง เมล็ดของต้นแสลงใช้รักษาโรคหัวใจ

6. ได้ชัน ยาง น้ำมัน เช่น ชันตาแมว และชันกระบากใช้ทำน้ำมันชักเงา ยางรักใช้ทำเครื่องเขิน ยางสนใช้ทำยา น้ำมันไม้ยาง เหียงใช้ใน การยาเรือและทาบ้าน ยางไม้ เช่น ยางเยลูตงในการทำหมากฝรั่ง และยางขนุนนกใช้ในการหุ้มสายเคเบิลใต้น้ำ 7. ได้ฝาดฟอกหนังและสี ได้จากเปลือกไม้ต่าง ๆ เช่น ก่อ โกงกาง โปรง คูณ ได้จากแก่น เช่น ชัน จากผลได้แก่ ไม้ฝาง เป็นต้น 8. ได้อาหารสัตว์ เช่น นำสัตว์เข้าไปเลี้ยงในป่าเพราะในป่ามีหญ้า ผล และเมล็ดที่สัตว์ชอบกินอยู่มากมายหลายชนิด

ประโยชน์ทางอ้อมของป่าไม้ 1. ทำให้ฝนตกมากและมีความชุ่มชื้นในอากาศสม่ำเสมอ 2. บรรเทาความร้ายแรงของพายุ เพราะป่าจะเป็นฉากกำบัง และลดความเร็วของลม 3. ป้องกันการกัดชะดิน ใบไม้ ต้นไม้ กิ่งไม้ เศษไม้ ซากพืช ซากสัตว์ จะคอยป้องกันความแรงของฝนมิให้ตกกระทบ ผิวดินหรือ ผิวหน้าดินให้ถูกกัดชะไป

4. ป้องกันน้ำท่วม เพราะป่าจะทำให้น้ำไหลช้าลงไม่ไหลหลาก 4. ป้องกันน้ำท่วม เพราะป่าจะทำให้น้ำไหลช้าลงไม่ไหลหลาก มาท่วมพื้นที่ที่ต่ำ 5. ทำให้มีน้ำไหลตลอดปี พื้นดินใต้ป่าจะเปรียบเหมือนอ่าง เก็บน้ำในฤดูฝน แล้วค่อย ๆ ปล่อยออกมาในฤดูแล้ง 6. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า นอกจากสัตว์จะกินพืชเป็นอาหาร แล้ว สัตว์ยังอาศัยป่าเป็นที่อยู่อาศัยอีกด้วย 7. เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน หลังจากที่เคร่งเครียด จากการงานมาตลอดทั้งวัน

ประเภทของป่าไม้มีอะไรบ้าง ประเภทของป่าไม้มีอะไรบ้าง   ป่าไม้ในภาคต่าง ๆ ของโลก พอจะจำแนกออกได้ตามความแตกต่างขององค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น และประวัติความเป็นมาแต่ดั้งเดิมของแต่ละภาคเป็นประเภทใหญ่ๆ รวม 6 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภท ก็มีขึ้นอยู่ในหลายท้องที่ กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไป ลักษณะและชนิดของพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ก็แตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

ป่าไม้สนในเขตหนาว ๑. ป่าไม้สนในเขตหนาว (Cool coniferus forests) ขึ้นอยู่ทางซีกโลกเหนือในท้องที่ที่มีอากาศหนาวเท่านั้นมีลักษณะเป็นแถบกว้างแผ่กระจายอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ตั้งแต่อะแลสกาแค นาดา แถบกลุ่มประเทศในสแกนดิเนเวียไปจนถึง ไซบีเรีย เนื้อที่ป่าส่วนใหญ่อยู่ในไซบีเรีย ป่าชนิดนี้มีไม้เนื้ออ่อนหรือไม้ในตระกูลสนเขา(conifer) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น แต่ละท้องที่มีพรรณไม้เพียงไม่กี่ชนิด ซึ่งเป็น ต้นไม้ที่มีขนาดปานกลางและมีความเติบโตไล่เลี่ยกัน

ป่าไม้ผสมโซนอบอุ่น ๒. ป่าไม้ผสมโซนอบอุ่น (Temperate mixed forests) ขึ้นอยู่ทางตอนกลางของซีกโลกเหนือเกือบทั้งหมด คือในยุโรปตอนกลาง อเมริกาเหนือ และเอเชียพรรณไม้ในป่าชนิดนี้มีมากกว่า ป่าสนในเขตหนาว มีทั้งป่าไม้เนื้ออ่อน (soft wood) ซึ่งเป็นไม้ในตระกูลไม้สนเขา และป่าไม้เนื้อแข็ง

ป่าชื้นในโซนอบอุ่น ๓. ป่าชื้นในโซนอบอุ่น (Warm temperate moist forests) ขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบโซนอบอุ่นทั้งทางซีกโลกเหนือและใต้ ในอเมริกาเหนือมีอยู่ทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อเมริกาใต้ นิวซีแลนด์ ชาวฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียทางตอนใต้ของญี่ปุ่นและเกาหลีและตอนกลางของแผ่นดินใหญ่จีน พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สนชนิดต่าง ๆ ไม้โอ๊ก และยูคาลิปตัสของออสเตรเลีย

ป่าดงดิบแถบศูนย์สูตร ๔. ป่าดงดิบแถบศูนย์สูตร (Equatorial rain forests) ขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบโซนร้อนที่มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี เป็นป่าไม้เนื้อแข็งที่มีพรรณไม้ขึ้นปะปนกันอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะและขนาดต่าง ๆ กัน ป่าชนิดนี้มีอยู่ในย่านลาตินอเมริกา แอฟริกา และ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ป่าผสมชื้นแถบโซนร้อน ๕. ป่าผสมชื้นแถบโซนร้อน (Tropical moist deciduous forests) ขึ้นอยู่ในแถบโซนร้อนที่มีฤดูแล้งเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน เช่น ในตอนใต้ของอเมริกาเหนือและแอฟริกาย่านลาตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ป่าแล้ง ๖. ป่าแล้ง (Dry forests) ขึ้นอยู่ในทุกภาคของโลกที่มีความแห้งจัด แต่ส่วนมากแล้วขึ้นอยู่ทางแถบโซนร้อน พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่เป็นไม้ขนาดเล็ก เตี้ย แคระแกร็น และปะปนกันมากมายหลายชนิด แต่มีปริมาตรเนื้อไม้ต่อหน่วยเนื้อที่น้อยมาก ป่าส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกาและออสเตรเลีย  

ประเภทป่าไม้ในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. ป่าประเภทไม่ผลัดใบ    เป็นป่าที่มีต้นไม้ที่มีใบเขียวชอุ่มอยู่ตลอดทั้งปี ถึงจะมีการผลัดใบบ้างก็เพียงสลัดใบไม่พร้อมกันหมดทั้งต้น ป่าประเภทนี้ยังสามารถแบ่งออกอย่างกว้างขวางตามความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้อีกคือ

1.1 ป่าดงดิบชื้น ขึ้นอยู่ทั่วไปของประเทศบริเวณที่มีดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย ที่มีความสามารถเก็บความชุ่มชื้นได้นานพบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย ไม้สำคัญที่พบได้แก่ ไม้ในตระกูลยาง ไม้ตะเคียน ตะแบก มะหาด ยมหอม เป็นต้น จะมีไม้พื้นล่างขึ้นอย่างหนาแน่น รกทึบทำให้แสงสว่างส่องไม่ค่อยถึงพื้นดิน บางแห่งมีแสงส่องถึงพื้นดินเพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไม้พื้นล่างได้แก่ ไม้ในตระกูลปาล์ม ไผ่ หวาย และเถาวัลย์ชนิดต่าง ๆ

1.2 ป่าดงดิบแล้ง สภาพโดยทั่วไปคล้ายกับป่าดงดิบชื้น แต่ความหนาแน่นของพรรณไม้พื้นล่างโปร่งกว่า ไม้มีขนาดเล็กกว่าปริมาณน้ำฝนมีน้อยกว่าป่าดงดิบชื้น ส่วนชนิดพันธุ์ไม้ก็คล้ายป่าดงดิบชื้น มีขึ้นทั่วไปของประเทศ ส่วนที่แตกต่างจากป่าดงดิบชื้นคือต้นไม้ในป่าประเภทนี้มีทั้งที่ผลัดใบและไม่ผลัดใบ

1.3 ป่าดงดิบเขา เป็นป่าไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,100 เมตรขึ้นไป มีอากาศเย็นความชื้นสูงพันธุ์ไม้ที่สำคัญที่พบได้แก่ไม้ในวงศ์ไม้ก่อหรือที่เรียกว่า ไม้ โอ๊ค ไม้พื้นล่างมีไม้ตระกูลกุหลาบป่า ผักกูด กล้วยไม้ดิน เง้าน้ำทิพย์ มอสชนิดต่าง ๆ หรือข้าวตอกฤาษี เป็นต้น               

1.4 ป่าสนเขา ส่วนใหญ่พบบนยอดเขาหรือตามเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป จะเป็นหมู่เดี่ยว ๆ บางทีขึ้นอยู่ปะปนกับป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณหรือป่าแดง โดยทั่วไปชอบขึ้นในดินที่ไม่สู้อุดมสมบูรณ์นัก ดินเป็นกรด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญเพียง 2 ชนิด คือ ไม้สนสองใบ และ สนสามใบ

ไม้สนสองใบ และ สนสามใบ สนสองใบ บางท้องถิ่นเรียกสนเขา สนหางม้า เกี๊ยะเปลือกดำ จ๋วง ไม้ใต้ โชเกี๊ยะเปลือกหนา ขึ้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ถึง 1,000 เมตร สนสามใบ หรือไม้เกี๊ยะเปลือกบาง เปลือกแดง จะพบในที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป

1.5 ป่าชายเลน เป็นป่าที่ขึ้นอยู่บนดินตามริมชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำลำคลอง ที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง จะพบทางภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคใต้สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีป่า ชนิดนี้มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้โกงกางมีลักษณะพิเศษเป็นไม้ที่มีรากออกมาจากส่วนของลำต้นนอกจากนี้ไม้บางชนิดจะมีรากอากาศ เช่น ไม้ลำพู ลำแพน เป็นต้น ไม้พื้นล่างประกอบด้วย ไม้ปรงทะเล เหงือกปลาหมอ ปอทะเล โพธิทะเล เป้งทะเล เป็นต้น

ป่าประเภทผลัดใบ 2. ป่าประเภทผลัดใบ      ได้แก่ป่าที่ต้นไม้จะทิ้งใบในฤดูแล้งพร้อมกันหมด เนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ไม่มีฝนตกความชุ่มชื้นในดินมีน้อยจึงต้องทิ้งใบเพื่อเป็นการป้องกันการคายน้ำและหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราวเมื่อถึงฤดูฝนก็จะแตกใบใหม่ ป่าประเภทนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

2.1 ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่ง มีไม้ขนาดกลางขึ้นมากกว่าขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นปะปนไม่เป็นระเบียบไม้พื้นล่างส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่ ป่าชนิดนี้จะพบในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ตะวันออก ส่วนภาคใต้แทบไม่มี ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สัก แดง ประดู่มะค่าโมง ไม้สำคัญของป่าชนิดนี้ ได้แก่ไม้สัก ถ้าเป็นบนภูเขาจะพบในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 900 เมตรจะขึ้นดีในดินที่เกิดจากหินปูน มีการระบายน้ำดี           

2.2 ป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง จะพบป่าชนิดนี้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก แต่จะไม่พบในภาคใต้จะขึ้นอยู่ตามดินทรายหรือลูกรัง มีสีแดง เนื่องจากมีธาตุเหล็กผสมอยู่มาก ดินจึงมีสีแดง ป่าชนิดนี้ขึ้นในที่อากาศแห้งแล้ง มีปริมาณ น้ำฝนน้อย ดินตื้นอาหารในดินมีน้อย มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้เต็งรัง เหียง พลวง ยอป่า มะขามป้อม ฯลฯ

สาเหตุพื้นที่ป่าลดลง การที่พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยถูกบุกรุกทำลายจนมีจำนวน น้อยลง มีสาเหตุสำคัญ สรุปได้ดังต่อไปนี้ ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาด้านระเบียบ กฎหมาย และนโยบาย การป้องกันการลดลงของพื้นที่ป่าไม้

1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม 1.1 การเพิ่มของจำนวนประชากร การอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ของราษฎร การส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก การใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัยในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และถนน เป็นต้น

การพัฒนาอุตสาหกรรมป่าไม้ ปัญหาเรื่องนายทุน ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน ปัญหาการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขา ปัญหาไฟป่า โรคและแมลง

2.ปัญหาด้านระเบียบ กฎหมาย และนโยบาย ปัญหาในเรื่องกฎหมาย กฎกระทรวงและระเบียบ เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติเกี่ยวกับดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่าง ๆมีหน่วยงานรับผิดชอบแยกจากกันโดยเด็ดขาด การที่จะรักษาป่าไม้ไว้ต้องประสานงานกัน แต่ในปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลได้รวมเป็นกระทรวงเดียวกัน คือกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาเรื่องการยอมรับสถานภาพของราษฎรที่เข้าไปบุกรุกทำลายป่า ปัญหาเรื่องการหลีกเลี่ยงกฎหมายของผู้กระทำผิด

3. การป้องกันการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ การบำรุงรักษาป่าไม้ ควรปฏิบัติ ดังนี้ 1) ป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า 2) หาแหล่งทำมาหากินให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักแหล่ง เพื่อเป็นการป้องกันการทำไร่เลื่อนลอย 3) ส่งเสริมการปลูกป่าทดแทน

4) ปิดป่าไม่อนุญาตให้มีการทำไม้ 5) ใช้วัตถุอื่นทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ 6) ตั้งหน่วยป้องกันไฟป่า 7) ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจแกประชาชน เพื่อให้เห็นความสำคัญของป่าไม้

จบการนำเสนอ แต่เพียงเท่านี้ สมาชิกกลุ่มที่3 จบการนำเสนอ แต่เพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ