การให้การปรึกษาวัยรุ่น กิจกรรมการเรียนรู้ เปิดโลก(ให้การปรึกษา).....วัยรุ่น เข้าถึง....ใจวัยรุ่น สรุปการเรียนรู้ อ.ศศกร วิชัย และคณะ สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
3 คำแทนตัวฉัน สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
คุณสมบัติผู้ให้การปรึกษา ลักษณะบุคลิกภาพที่ดี คุณสมบัติ ผู้ให้การปรึกษา ประสิทธิภาพของกระบวนการ ให้การปรึกษา คุณสมบัติผู้ให้การปรึกษา รู้จักและยอมรับตนเอง ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น ช่างสังเกต อดทน ใจเย็น มองโลกในแง่ดี สบายใจที่จะอยู่กับผู้อื่น รู้จักใช้อารมณ์ขัน จริงใจและตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่น เป็นผู้รับฟังที่ดี มีท่าทีที่เป็นมิตร ช่วยแก้ปัญหา ใช้คำพูดที่เหมาะสม สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การที่จะเป็นผู้ให้การปรึกษาที่ดี จะทำให้ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพเฉพาะ แต่หากเป็นผู้ที่ฝึกฝนค้นคว้าความรู้อยู่เสมอ จะทำให้ประสบความสำเร็จ ในการเป็นผู้ให้การปรึกษาที่ดี สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
คือ การมีผู้ให้การปรึกษาที่ดี ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้วัยรุ่นผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาและพัฒนาสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะเหมาะสมกับวัย คือ การมีผู้ให้การปรึกษาที่ดี และเข้าใจวัยรุ่นอย่างแท้จริง สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ให้การปรึกษาวัยรุ่น เงื่อนไขที่จำเป็นต่อการพัฒนาจิตใจเป็นเป้าหมายของการให้การปรึกษา คือ ผู้ให้การปรึกษาเป็นผู้เอื้ออำนวยให้วัยรุ่นผู้รับการปรึกษาเข้าใจตนเอง สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง และค่อยๆ พัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ จนกระทั่งเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ สามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เปิดโลก(ให้การปรึกษา)....วัยรุ่น สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การให้การปรึกษาวัยรุ่น ต่างจากการให้การปรึกษาทั่วไปอย่างไร สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การให้การปรึกษาวัยรุ่น การให้การปรึกษาเป็นกระบวนการให้ความช่วยเหลือ ที่อาศัยสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้การปรึกษาและวัยรุ่นผู้รับบริการ โดยผู้ให้การปรึกษาใช้เทคนิคและขั้นตอนต่างๆ ช่วยให้วัยรุ่นสำรวจปัญหาของตนเอง รับรู้ เข้าใจ และร่วมมือกับผู้ให้การปรึกษา เพื่อดำเนินการแก้ไขหรือหาทางออกสำหรับปัญหานั้น
เป้าหมายของการให้การปรึกษาวัยรุ่น เพื่อให้วัยรุ่น...... เข้าใจตนเอง :พฤติกรรม ความคิด อารมณ์จิตใจ บุคลิกภาพ ข้อดี ข้อบกพร่อง ความสามารถ เป้าหมายในชีวิต เข้าใจบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม : ยอมรับและรู้จักเลือกรับสิ่งที่ดีของผู้อื่นนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตตนเอง เข้าใจปัญหา มองปัญหาตามความเป็นจริง วิเคราะห์ปัจจัยและสาเหตุของปัญหาได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ปรับตัว เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแก้ไขปัญหาได้
กระบวนการให้การปรึกษา 1. ขั้นสร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ - ตกลงวัตถุประสงค์ เวลา เป้าหมาย - น้ำเสียง ท่าทีหนักแน่น เต็มใจ - เน้นการรักษาความลับ 2. ขั้นสำรวจปัญหา ยึดวัยรุ่นผู้รับการปรึกษาเป็นศูนย์กลาง ... เปิดเผยเรื่องราว/ปัญหา ไม่ด่วนสรุป ไม่ตำหนิ ไม่ตัดสิน ไม่วิจารณ์
3.ขั้นทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุและความต้องการ ยอมรับปัญหา ผลกระทบ ความต้องการในการแก้ไขปัญหา 4. ขั้นตั้งเป้าหมายและดำเนินการแก้ปัญหา ให้ผู้รับการปรึกษาเห็นศักยภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง 5. ขั้นยุติการให้การปรึกษา ทบทวน สรุป นัดหมายต่อไป สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
วัยรุ่นผู้รับการปรึกษา เจตคติที่ดี ยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ตำหนิ ไม่ตัดสิน เชื่อมั่นในศักยภาพ ผู้ให้การปรึกษา สัมพันธภาพที่ดี วัยรุ่นผู้รับการปรึกษา เชื่อใจ ไว้ใจ เปิดเผยตนเอง กระบวนการให้การปรึกษา เรียนรู้ เข้าใจปัญหา เข้าใจตนเอง ปรับเปลี่ยนตนเอง/เกิดแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
กระบวนการให้การปรึกษา 1. ขั้นสร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ 2. ขั้นสำรวจปัญหา 3. ขั้นทำความเข้าใจปัญหา 4. ขั้นตั้งเป้าหมายและดำเนินการแก้ปัญหา 5. ขั้นยุติการให้การปรึกษา การให้การปรึกษาเป็นกระบวนการและมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง แต่ละขั้นตอนต่างมีวัตถุประสงค์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อาจเรียงลำดับหรือไม่ก็ได้ บางครั้งอาจมีขั้นตอนเดิมซ้ำหลายรอบก็ได้
หัวใจสำคัญของการให้การปรึกษาวัยรุ่น 1.มีสัมพันธภาพที่ดี อบอุ่น เป็นมิตร (Relationship) ผู้ให้การปรึกษาควรมีท่าทีที่นุ่มนวล อบอุ่น เป็นมิตร และ หลีกเลี่ยงการตำหนิ หรือว่ากล่าว 2.เข้าใจและเห็นใจวัยรุ่นโดยมีความรู้สึกร่วม(Empathy)กับวัยรุ่น รับรู้ความรู้สึกและร่วมรับรู้ โลกส่วนตัวของวัยรุ่นเสมือนเป็นโลกของผู้ให้การปรึกษาโดยที่ไม่สูญเสียความเป็นตัวเองของ ผู้ให้การปรึกษา สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
3. ตั้งใจฟัง (Effective Listening) ตั้งใจฟังสิ่งที่วัยรุ่นกำลังพูดหรือสื่อสาร โดยวิธีอื่นๆ ที่เรียกว่า ภาษาท่าทาง เช่น ใบหน้าที่เศร้าหมอง น้ำเสียงสั่นเครือ มือสั่น ตาแดง หรือร้องไห้ เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่วัยรุ่นต้องการจะบอก ตอบกลับด้วยท่าทีที่เข้าใจ เช่น พยักหน้า หรืออาจจะสัมผัสเบาๆ เช่น ลูบศีรษะ บีบมือ โอบไหล่ ตามความเหมาะสม 4. รักษาความลับ (Confidentiality) มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นจรรยาบรรณที่สำคัญในการให้การปรึกษา ผู้ให้การปรึกษาพึงตระหนักว่า วัยรุ่นที่มาขอรับการปรึกษาเพราะความไว้วางใจที่มีต่อผู้ให้การปรึกษา และจะทำให้สัมพันธภาพระหว่างผู้ให้การปรึกษากับวัยรุ่นดำเนินต่อไปด้วยความไว้วางใจ
5. ทัศนคติดี ไม่มีอคติ (Good attitude/No bias) ผู้ให้การปรึกษาต้องไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตนที่เป็นความชอบ ความพอใจ ที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ ซึ่งการมีอคติจะทำให้เกิดความลำเอียงและขาดเหตุผลที่แท้จริง 6. เป็นโค้ช(Coaching) มากกว่าสอน (Teaching) หรือแนะนำ (Advising) เพราะการให้การปรึกษาจะทำให้วัยรุ่นได้ตัดสินใจเลือกบนพื้นฐานของการรู้จักและเข้าใจตนเอง เข้าใจสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติได้จริงในสถานการณ์นั้นๆ และวัยรุ่นต้องรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของตนเอง สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
7. มองทางบวก (Positive thinking) โดยให้วัยรุ่นมองโลกในแง่ดี มองว่าปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไขและมีทางออก ฝึกคิดแง่มุมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งจะทำให้รู้สึกดีว่าการมองจากมุมเดิมที่ทำให้เป็นทุกข์ การมองทางบวกทำให้สามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ 8. หาตัวตนและส่งเสริมความภูมิใจในตนเอง (Identity and Self esteem building) วัยรุ่นเป็นวัยที่ยังต้องค้นหาตัวตน และมีวุฒิภาวะยังไม่สมบูรณ์ ทำให้วัยรุ่นส่วนใหญ่ ไม่มั่นใจในตนเอง ซึ่งการส่งเสริมและพัฒนาให้เกิด ความภาคภูมิใจในตนเองเป็นประเด็นที่สำคัญในการให้การปรึกษาวัยรุ่น
บางครั้งวัยรุ่นไม่ต้องการอะไร นอกจากต้องการมีคนรับฟังเขาเท่านั้น ดังนั้น การรับฟังสิ่งที่วัยรุ่นได้ระบายอารมณ์ ก็สามารถช่วยเหลือวัยรุ่นได้เช่นกัน สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การให้การปรึกษาวัยรุ่น เข้าใจธรรมชาติตามวัยรุ่น วัยรุ่น...กำลังค้นหาและพัฒนา วัยรุ่น...ต้องการแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง วัยรุ่น...แต่ละคนมีปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน คำนึงถึงความเป็นตัวตนของวัยรุ่น ยอมรับและพร้อมทำความเข้าใจวัยรุ่น ลักษณะเฉพาะของวัยรุ่นแต่ละคน เรียนรู้ที่จะจัดการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการทำงานกับวัยรุ่น สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เข้าถึง.....ใจวัยรุ่น สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
วัยรุ่นที่มารับบริการส่วนใหญ่ มีลักษณะอารมณ์และพฤติกรรมอย่างไร สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
อารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกนั้น ส่งผลต่อการให้การปรึกษาอย่างไร สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นยอมเปิดใจ ต่อการรับบริการให้การปรึกษา สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
บางพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้น ธรรมชาติของวัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ส่งผลให้วัยรุ่นที่มารับบริการให้การปรึกษา มีท่าทีการแสดงออกและพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป บางพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้น อาจสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกภายในอย่างชัดเจน แต่บางพฤติกรรมก็ไม่ชัดเจนว่าวัยรุ่นรู้สึกอย่างไร ถูกบังคับ ความรู้สึก ท่าที คำพูด พฤติกรรม การแสดงออกต่างๆ ของวัยรุ่น เมื่อมารับบริการให้การปรึกษา ครูแนะนำ อารมณ์ ถูกหลอก ผู้ปกครองพามา
ผู้ให้การปรึกษาวัยรุ่น จึงต้อง...... ผู้ให้การปรึกษาวัยรุ่น จึงต้อง...... ใช้การสังเกตอย่างใส่ใจ ให้ความสนใจ พร้อมทำความเข้าใจในตัวตนของวัยรุ่น ยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข เรียนรู้ในการพูดคุย การใช้คำถาม การฟัง การสะท้อนความรู้สึก บรรยากาศที่อบอุ่น ปลอดภัย และเป็นมิตร เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการเข้าถึงวัยรุ่น และส่งผลให้วัยรุ่นเกิดความพร้อม ความไว้วางใจ การยอมรับ และเปิดใจต่อผู้ให้การปรึกษาและกระบวนการให้การปรึกษาต่อไป
กิจกรรมเรียนรู้การให้การปรึกษาวัยรุ่น : ทบทวนการใช้คำถามเพื่อสร้างสัมพันธภาพ สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติ คำถาม ท่าที วิธีการ....อย่างไร ที่ทำให้อาสาสมัครอยากที่จะตอบคำถาม สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เทคนิคการเข้าถึง....ใจวัยรุ่น สถานที่เหมาะสม ให้เวลาพอควร ข้อมูลเกี่ยวกับวัยรุ่นเบื้องต้น เช่น มารับบริการอย่างไร ความเข้าใจ การเก็บข้อมูลเป็นความลับ สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ใช้คำถามปลายเปิด เป็นผู้ไกล่เกลี่ยที่ดีมากกว่าตัดสินว่าใครถูกหรือผิด กรณีให้การปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว ที่มา : รศ. พญ. สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.การให้การปรึกษาวัยรุ่น.เอกสารประกอบการบรรยายwww.teenpath.net/data/event/10004/.../slide/20081014-R05-01.ppt
เทคนิคการเข้าถึง....ใจวัยรุ่น การเข้าถึงวัยรุ่น ค่อนข้างยากกว่าวัยอื่น การเตรียมตนเองของผู้ให้การปรึกษา ลดความคาดหวัง ยืดหยุ่น เช่น เป้าหมายว่าจะแก้ปัญหา เป็น เข้าถึงและให้วัยรุ่นพูดคุย ร่วมมือ เปิดใจ ฟัง พูด สังเกต ท่าที บุคลิก ความเป็นมิตร น้ำเสียงคำพูด ช่วยในการเข้าถึง ที่มา : ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล ศศกร วิชัย และวินัย นารีผล. หลักสูตรการให้การปรึกษาวัยรุ่นสำหรับ บุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร:สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์,2557.
เทคนิคการเข้าถึง....ใจวัยรุ่น เทคนิค Relaxation ช่วยให้วัยรุ่นผ่อนคลาย และพร้อมรองรับอารมณ์ได้ อย่าด่วนสรุปเร็ว เปิดโอกาสตลอดเวลา พร้อมเสมอที่รับฟัง เมื่อเด็กโยนปัญหาให้ผู้อื่น แสดงความเข้าใจ และถามสิ่งที่เกิดขึ้นในใจเขา บางครั้งการเงียบ เฉย อยู่เป็นเพื่อน อาจช่วยให้วัยรุ่นไว้ใจเรา ยอมรับสิ่งที่เขาเป็น ที่มา : ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล ศศกร วิชัย และวินัย นารีผล. หลักสูตรการให้การปรึกษาวัยรุ่นสำหรับ บุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร:สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์,2557.
กิจกรรมเรียนรู้การให้การปรึกษาวัยรุ่น : ฝึกปฏิบัติการสร้างสัมพันธภาพกับวัยรุ่น แบ่งกลุ่มสมาชิก กลุ่มละ 3 คน ฝึกปฏิบัติจากบทบาทสมมติ A = ผู้ให้การปรึกษา B = วัยรุ่นมารับการปรึกษา C = ผู้สังเกตการณ์ สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติ 1.อะไรที่ทำให้ผู้ให้การปรึกษา ภูมิใจ รู้สึกดี ในการฝึกปฏิบัติ กระบวนการให้การปรึกษา 2. อะไรที่อยากทำ หรือ คิดจะทำ แต่ยังไม่ได้ทำในการฝึกปฏิบัติ กระบวนการให้การปรึกษา สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
กรณีวัยรุ่นไม่พูด - ควรแสดงความเข้าใจ ให้ความสนใจโดยการมองหน้าสบตา - ไม่ปล่อยให้การสนทนาเงียบไปนาน - พูดคุยเรื่องทั่วไป หรือเรื่องที่ผู้รับบริการสนใจก่อน - ควรหลีกเลี่ยงการพูดเรื่องที่ละเอียดอ่อนและกระทบความรู้สึก - หลีกเลี่ยงการใช้ถามปลายปิด หรือคำถามที่ให้คำตอบสั้นๆ - ชี้ให้เห็นถึงความรู้สึกของตนเอง และให้หาสาเหตุของความรู้สึกนั้น ที่มา : ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล ศศกร วิชัย และวินัย นารีผล. หลักสูตรการให้การปรึกษาวัยรุ่นสำหรับ บุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร:สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์,2557.
กรณีวัยรุ่นปฎิเสธความช่วยเหลือ - เปิดโอกาสให้ระบายความคับข้องใจ - แสดงความเข้าใจ สนใจ รับฟังเหตุผลเพื่อให้วัยรุ่นไว้วางใจ ในการช่วยเหลือ - แสดงให้วัยรุ่นรู้สึกถึงความตั้งใจ จริงใจในการช่วยเหลือ - ไม่แสดงว่าเป็นพวกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง - ใช้เทคนิคการพูดคนเดียว (monologue) และการอธิบาย ที่มา : ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล ศศกร วิชัย และวินัย นารีผล. หลักสูตรการให้การปรึกษาวัยรุ่นสำหรับ บุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร:สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์,2557.
กรณีวัยรุ่นร้องไห้ไม่สามารถพูด หรือระบายความรู้สึก - ใช้วิธีการเงียบ ปล่อยให้ผู้รับบริการร้องไห้สักครู่ - แสดงความเห็นอกเห็นใจเข้าใจความรู้สึกของผู้รับบริการ - ปลอบโยนให้สงบลง - พูดคุย ถามความรู้สึก - ถามถึงสิ่งที่อยากจะพูด อยากระบาย ที่มา : ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล ศศกร วิชัย และวินัย นารีผล. หลักสูตรการให้การปรึกษาวัยรุ่นสำหรับ บุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร:สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์,2557.
บางครั้งวัยรุ่นไม่ต้องการอะไร นอกจากต้องการมีคนรับฟังเขาเท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้ให้การปรึกษารักษาสัมพันธภาพที่ดี และรับฟังสิ่งที่วัยรุ่นได้ระบายอารมณ์ ก็สามารถช่วยเหลือวัยรุ่นได้เช่นกัน สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สิ่งที่ควรระวังในการให้การปรึกษาวัยรุ่น ทำให้วัยรุ่นรู้สึกไม่ไว้วางใจ ไม่ปลอดภัย ขอบเขตความสัมพันธ์ที่ไม่พอดี เช่น สนิทใกล้ชิดมากไป ระวังตัวเกินไป จนดูห่างเหิน ไม่ให้โอกาสวัยรุ่นได้อธิบาย ได้มีโอกาสได้คิด ได้เลือก ได้ตัดสินใจด้วยตนเอง การสอน การอธิบายมากๆ จนทำให้วัยรุ่นรู้สึกว่าตนเป็นเด็ก ถูกตำหนิ ไม่ได้รับฟัง ท่าที การแสดงออก คำพูด การชม ที่เหมือนผู้ใหญ่แสดงออกกับเด็กเล็กๆ การรีบตัดสิน การด่วนสรุป สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ทักษะเฉพาะกับวัยรุ่นพฤติกรรมเสี่ยง สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
พฤติกรรมเสี่ยง และพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กและวัยรุ่น เป็นสัญญาณบอกเหตุว่า วัยรุ่นกำลังมีความคับข้องใจอย่างรุนแรง และต้องการได้รับความช่วยเหลือด้วยความเข้าใจ จากคนรอบข้าง สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การให้การปรึกษาวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ร่วมกันทำความเข้าใจและกำหนดเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง ร่วมกันค้นหาทางเลือก แนวทางการแก้ปัญหา การฝึกทักษะ การปรับความคิดและพฤติกรรมในแนวทางที่สร้างสรรค์และเหมาะสมกับ ตนเอง วัยรุ่นสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สิ่งสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สามารถทำได้โดย 1. มีความสัมพันธ์ที่ดี การยอมรับและให้เกียรติ ความเป็นกลาง ปราศจากอคติ แสดงความเข้าใจ ความเห็นใจ บรรยากาศที่เป็นมิตร ปลอดภัย 2. มีการสื่อสารได้เข้าใจ การพูดคุยให้เกิดความเข้าใจ การสื่อสารที่ดี วัยรุ่นรู้สึกเป็นที่ยอมรับ การรักษาความลับ
3. มีการกระตุ้นให้คิดและรู้สึกได้ด้วยตนเองถึง เข้าใจปัญหา รู้สาเหตุของปัญหา ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหา ปัจจัยเสริมที่ช่วยในการป้องกันแก้ไขปัญหา ข้อดี ข้อเสีย ของการกระทำหรือไม่กระทำ ปัญหาของการกระทำหรือไม่กระทำนั้น หาช่องทางเบี่ยงเบนพฤติกรรมเป็นแบบอื่น 4. ปล่อยให้เกิดการยอมรับจากภายใน รู้สึกว่าเป็นความคิดและการตัดสินใจโดยตนเอง ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับให้ยอมรับ สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
5. การให้แรงจูงใจทางบวกอย่างเหมาะสม ยอมรับปัญหาของตน อยากแก้ไขหรืออยากเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง การยกย่อง ชมเชย การให้รู้จักจุดดีจุดเด่นของตน ชื่นชมตนเอง ให้อภัยตนเอง ให้โอกาสตนเองในการเริ่มต้นใหม่ กระตุ้นให้มีเป้าหมายในอนาคตของตนเอง สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
แนวทางการให้การปรึกษา และดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศ สะท้อนให้วัยรุ่นตระหนักและยอมรับด้วยตนเอง ว่าความสัมพันธ์ทางเพศ ไม่ช่วยให้วัยรุ่นได้รับความรักอย่างแท้จริง ลดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมด้วยแนวทางพฤติกรรมบำบัด เมื่อวัยรุ่นเห็นความจำเป็นและยอมรับที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ให้ข้อมูลวิธีการต่างๆ ในการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ในวัยเรียน เสริมสร้างความภาคภูมิใจ และคุณค่าในตนเองให้กับวัยรุ่น ให้ความเชื่อมั่น ความไว้ใจ รวมถึงให้คำชมเชยและกำลังใจ สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
แนวทางการให้การปรึกษา และดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องสารเสพติด สร้างสัมพันธภาพที่ดีและชื่นชมในสิ่งดีที่มีอยู่ในตัววัยรุ่น ไม่โต้เถียงในเชิงเหตุผล พยายามลดแรงต้านการเปลี่ยนแปลง กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง สร้างคุณค่าและความเข้มแข็งให้เกิดในใจวัยรุ่น ให้ข้อมูลและเสริมสร้างทักษะชีวิตแก่วัยรุ่น สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
แนวทางการให้การปรึกษา และดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องติดเกม ระวังความรู้สึกของวัยรุ่นที่อาจมองว่าการเล่นเกมไม่ใช่ปัญหาที่ต้องแก้ไข หรือเป็นปัญหาร้ายแรง ให้วัยรุ่นได้สำรวจและค้นหาสาเหตุ หรือแรงจูงใจที่ทำให้ชอบเล่นเกมด้วยตนเอง ให้วัยรุ่นได้ยอมรับและเลือกตัดสินถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเล่นเกมด้วยตนเอง ให้วัยรุ่นแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักการปรับพฤติกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ช่วยวัยรุ่นในการค้นหาและเสริมสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง ให้ความหวังและโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ให้ทางเลือกในการวางแผนและเป้าหมายในอนาคต ควรคำนึงเสมอว่าเกมช่วยตอบสนองความต้องการทางจิตใจของเด็ก
แนวทางการให้การปรึกษา และดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องก้าวร้าวรุนแรง หลีกเลี่ยงการตั้งกฎเกณฑ์หรือกติกาในช่วงแรก หากยังไม่มั่นใจในความร่วมมือและสัมพันธภาพ ให้ความเข้าใจ สนใจ รับฟังคำพูด ความคิด ความรู้สึกในการกระทำ ให้ประเมินผลที่เกิดขึ้นต่อตนเองและผู้อื่น และชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการกระทำ ให้ทางเลือกในการระบายความโกรธ ก้าวร้าว ไม่พอใจ ในวิธีการที่เหมาะสม ให้ค้นหาศักยภาพของตนเอง ส่งเสริมเปิดโอกาสให้แสดงออก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้แรงเสริมทางบวก แนวทางที่ได้ผลดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา คือการประสานความร่วมมือทุกระบบ โดยกำหนดมาตรการทางสังคมร่วมกัน และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
การให้การปรึกษากรณีวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ครั้งแรกอาจยังไม่สามารถทำให้วัยรุ่นยอมรับปัญหา ให้ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ กำลังใจในการจัดการปัญหา มีการติดตามต่อเนื่อง ร่วมกับความร่วมมือจากครอบครัว ผู้เกี่ยวข้อง สัมพันธภาพ ความไว้วางใจ การรักษาความลับ สไลด์ประกอบการอบรม “ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน” จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
: เพื่อพัฒนาการทำงานกับวัยรุ่น ช่องทางอื่นๆ : เพื่อพัฒนาการทำงานกับวัยรุ่น www.smartteen.net www.thaiteentraining.com ศูนย์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
การสมัคร www.thaiteentraining.com
การสมัคร www.thaiteentraining.com
สรุปการเรียนรู้ สไลด์ประกอบการอบรมหลักสูตรการให้การปรึกษาวัยรุ่นสำหรับบุคลากรสาธารณสุข จัดทำโดย : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข