อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน) TIM2303 การขายและการตลาดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว Sales and Marketing in Tourism Industry อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
องค์ประกอบของตลาดการท่องเที่ยว 1.ผู้ซื้อ ได้แก่ นักท่องเที่ยว นักทัศนาจร ทั้งภายในประเทศและ ระหว่างประเทศ ความต้องการเดินทางท่องเที่ยวและบริโภคสินค้าการ ท่องเที่ยวมีความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงสูงมากเนื่องจากปัจจัยทาง เศรษฐกิจ สังคม ราคาการท่องเที่ยว ฤดูกาล สมัยนิยม รสนิยม ทัศนคติ ประสบการณ์ท่องเที่ยว และเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ สิ่งสำคัญ ของการวางแผนการตลาด คือต้องทราบความต้องการของตลาด (Demand) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.1 ความต้องการปัจจุบัน (Actual Demand) 1.2 ความต้องการที่มีแนวโน้ม (Potential Demand) 1.3 ความต้องการที่อาจเกิดขึ้น (Deferred Demand)
2.ผู้ขาย ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจจัดหาสินค้าและบริการการท่องเที่ยว (Travel Suppliers) ผลิตวัตถุดิบในลักษณะการแปรรูปสินค้าและบริการเช่น ที่พักในโรงแรมการ เดินทางโดยเครื่องบิน การบริการอาหารและเครื่องดื่ม การเข้าชมการแสดงในสถานที่และแหล่ง ท่องเที่ยวต่างๆ 3.สินค้าและบริการ 3.1 ทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งประเภทที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น 3.2 ที่พักร้านอาหาร 4.การขนส่ง
5.ปัจจัยสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 5.1 โครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยว 5.2. บริการนำเที่ยว 5.3. สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 5.4. สินค้าของที่ระลึก
ลักษณะพิเศษของตลาด • เป็นบริการที่ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ เช่น ความพอใจ ความสุขใจ ความตื่นเต้น • การตัดสินใจซื้อใช้อารมณ์มากกว่าสินค้าประเภทอื่น • ไม่สามารถจัดส่งบริการท่องเที่ยวให้กับลูกค้า นักท่องเที่ยวต้อง เดินทางมาซื้อบริการด้วยตนเอง • ไม่สามารถควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของการบริการได้ • อุปสงค์ของการตลาดขึ้นลงตามฤดูกา • บริการของตลาดการท่องเที่ยวไม่สามารถเก็บไว้ใช้ได • องค์ประกอบของสินค้าทางการทอ่งเที่ยวมีความเป้นอิสระต่อกัน • การลอกเลียนแบบทำได้ง่าย
ความแตกต่างระหว่างการตลาดธุรกิจบริการกับการตลาดของสินค้าทั่วไป 1.จับต้องได้ 2.สามารถแบ่งแยกได้ 3.มีความแน่นอน 4.จัดทำมาตรฐานได้ง่าย 5.เก็บรักษาได้ บริการ 1.ไม่สามารถจับต้องได้ 2.ไม่สามารถแบ่งแยกได้ 3.มีความไม่แน่นอน 4.จัดทำมาตรฐานได้ยาก 5.ไม่สามารถเก็บรักษาได้
ลักษณะของอุตสาหกรรมบริการ อุตสาหกรรมการบริการ เป็นธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะที่พิเศษแตกต่างจากธุรกิจการผลิตสินค้าและการ จำหน่ายสินค้า การบริการจัดเป็นสินค้ารูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษดังนี้ 1. อุตสาหกรรมการบริการเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ (Intangivility) เป็นลักษณะของ นามธรรม ผู้บริโภคไม่อาจประเมินได้ด้วยสายตาหรือการสัมผัสจับต้อง ซึ่งสินค้าโดยทั่วไปเรา สามารถเห็นจับต้องหรืออาจทดลองใช้ได้ก่อน แต่สินค้าบริการเราประเมินผลด้วยความประทับใจ ความพอใจ หรือความไม่พอใจ และไม่อาจทดลองใช้ก่อนได้ 2. อุตสาหกรรมการบริการไม่สามารถแยกออกจากกันได้ (Insparability) เช่น อุตสาหกรรม การบริการอาหาร ที่ผลิตอาหารพร้อมกับการให้บริการเสริฟไปด้วยกัน เราไม่สามารถแยกออกจากกันได้
3. อุตสาหกรรมบริการมีลักษณะแตกต่างกันในการให้บริการ แต่ละครั้ง (Heterogenity) สินค้าบริการยากที่จะควบคุมมาตรฐานการบริการให้คงที่ และแน่นอนได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของผู้ให้บริการ ซึ่งบางวันอาจมีตัวแปรมากระทบทำให้เปลี่ยนไป 4. อุตสาหกรรมการบริการ มีลักษณะสูญเสียได้ง่าย (Perishability) เป็นลักษณะสินค้าที่ เก็บรักษาไว้ไม่ได้ เช่น ธุรกิจโรงแรมไม่สามารถให้ห้องพักว่าง หรือโต๊ะรับประทานอาหารในธุรกิจ ร้านอาหารว่าง ที่นั่งในสายการบินว่าง เพราะนั่นคือการสูญเสียรายได้ ต้องทำทุกอย่างให้เกิดการ ขาย สินค้าทั่วไปหากสินค้าเหลือในวันนี้ก็อาจเก็บไว้ขายในวันหน้า ยอดรายได้ที่เข้ามาก็ยังคงเดิม แต่สินค้าในอุตสาหกรรมการบริการหากเหลือนั่นหมายถึงการสูญเสีย ดังนั้นอุตสาหกรรมการ บริการจึงไม่มีคลังสินค้า
5. อุตสาหกรรมการบริการมีอุปสงค์ไม่แน่นอน (Fluctuation Demand) อุปสงค์ของการบริการขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ดังนั้น อุตสาหกรรมการบริการจึงมีสภาวะของรายได้ที่ไม่แน่นอนติดตามมาด้วยบ ซึ่งเป็นผลจากอุป สงค์ที่ไม่แน่นอนของผู้รับบริการนั่นเอง จึงจะเห็นได้ว่ามีการแบ่งฤดูของการบริการที่จะมี ความสูงต่ำของรายได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ 6. อุตสาหกรรมการบริการใช้แรงงานมาก (Labour Intensive) อุตสาหกรรม การบริการจำเป็นต้องอาศัยแรงงานมนุษย์ในการผลิต และจำหน่าย เครื่องจักรกลมีส่วนน้อย มากในการผลิตงาน แรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ และต้องเป็นแรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านอีก ด้วย
7. อุตสาหกรรมการบริการมีช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ ณ จุด ขาย ซึ่งผู้ใช้บริการมักจะต้องมาหาผู้ผลิตบริการเอง สินค้าโดยทั่วไปจะมี ช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่หลายช่องทาง หลายรูปแบบ เช่น นายหน้า ตัวแทนจำหน่าย พ่อค้าขายส่ง พ่อค้าคนขายปลีก ฯลฯ แต่อุตสาหกรรม การบริการโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นการขายปลีก