นางสาวกฤษฎาวรรณ ศิวิวงศ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานการบัญชี นางสาวกฤษฎาวรรณ ศิวิวงศ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากผู้เรียนที่ได้ใช้ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ 2. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนจากการใช้ แผนจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ
ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานการบัญชี สาขาวิชาพณิชยการและการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ จำนวน 30 คน
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานการบัญชี สาขาวิชาพณิชยการและการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ปีการศึกษา 2558 โดยใช้วิธีการสุ่ม แบบเจาะจงเข้ากลุ่มดำเนินการวิจัย จำนวน 30 คน
ผลการวิเคราะห์ ตารางที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน นักศึกษาสาขางานการบัญชี นักศึกษาคนที่ 1 - 30 คะแนนก่อนเรียน ( 100 คะแนน ) คะแนนหลังเรียน D D2 รวม 1,512 2,463 921 904,401 ค่าเฉลี่ย 50.40 82.10 31.70 SD 1.69 1.92 0.23
ผลการวิเคราะห์ (ต่อ) ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักศึกษาสาขางานการบัญชี คะแนน N ค่าเฉลี่ย SD df t ก่อนเรียน 30 50.40 1.69 29 13.279* หลังเรียน 82.10 1.92
ผลการวิเคราะห์ (ต่อ) การศึกษาหาระดับความพึงพอใจจากการใช้แผนการจัดการเรียน การสอนแบบร่วมมือ พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้แผนการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ อยู่ในระดับมากที่สุด ( .=.4.83,.S.D.=.0.30) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักศึกษาเข้าใจกระบวนการเรียนแบบร่วมมือและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ( .=.4.95 , S.D. = 0.33) รองลงมา นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาดีขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( .=.4.89 , S.D. = 0.32)
สรุปผลการวิจัย 1. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนฯ พบว่า ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 50.40 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 82.10 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 2. การศึกษาหาระดับความพึงพอใจฯ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อแยกเป็นรายข้อพบว่า - นักศึกษาเข้าใจกระบวนการเรียนแบบร่วมมือและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา - นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาดีขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด - นักศึกษาสนใจในการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ฯ เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ มยุรี สีการสอน (2556 หน้า 3) ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนรายวิชาการวัดผลและประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้การเรียนการสอนแบบร่วมมือ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะครุศ่าสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) และสอดคล้องกับวิมลวัลย์ อักษรพิมพ์ (2553, 87-88) ทำการศึกษา เรื่อง การใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านขามป้อม
ภาพการจัดกิจกรรม
ภาพการจัดกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ ครูผู้สอนควรที่จะนำการสอนแบบร่วมมือไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่น ๆ โดยสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรม เนื้อหาให้เหมาะสมกับนักศึกษาทั้งที่เป็นช่างอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ครูผู้สอน ควรมีการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อไม่ให้กิจกรรมการเรียนการสอนเกิดปัญหา จัดเตรียมอุปกรณ์ในการสอน สื่อการสอนให้พร้อมทำการสอนอย่างมีขั้นตอนตามกระบวนการแบบร่วมมือกัน
ผลกระทบที่เกิดขึ้น ควรมีการศึกษาวิจัยโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ กับการสอนแบบอื่น ๆ ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้สอนได้พิจารณาเลือกใช้วิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับนักศึกษาที่ใช้สำหรับการวัดการเรียนการสอน