บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Managing compensation
Advertisements

สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนา หลักประกันสุขภาพไทย Health Insurance System Research Office Social Protection Floor: Situation and Way Forward Thaworn Sakunphanit.
ประเด็น 1. ที่มาและความสำคัญของสมรรถนะ 2. ประโยชน์และการประยุกต์ใช้
คณะกรรมการบริหารการเงินการคลังเขตสุขภาพที่ 10 9 กันยายน 2558 สรุปผลการดำเนินงานปี 2558 และทิศทางปี 2559 Project Manager CFO Project Manager CFO เขตสุขภาพที่
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
การนำเสนอผลการจัดทำแผนและคำของบประมาณ
การเพิ่มผลผลิต.
Human Resource Management การจัดการทรัพยากรมนุษย์
การประชุมชี้แจงเรื่อง การจ่ายเงินผ่านระบบ KTB corporate online
Market System Promotion & Development Devision
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
Marketing Concept วิวัฒนาการของแนวความคิดทางการตลาด แบ่งได้ 5 แนว
พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย คณะวิศวกรรมศาสตร์
กรมบัญชีกลาง กองการพัสดุภาครัฐ
การดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
แผนการตลาด Marketing Plan.
วัฒนธรรมองค์กร กรมอนามัย
แนวทางการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม และน้ำแข็งบริโภค ในสถานประกอบการ
Effective Child Development สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่
การควบคุมและตรวจสอบภายใน รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
แนวทางการตอบแบบสำรวจ Evidence-based รอบที่ 1
ปรัชญา วิสัยทัศน์ ปณิธาน พันธกิจ
ชี้แจงการตอบคำถาม/ ค่าคะแนน แบบสำรวจ Evidence - based ปีงบประมาณ พ. ศ
สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ
Techniques Administration
4.8 พัฒนาการเด็กวัยเรียน
การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑
โดย ดร.ปราณี คงพิกุล ผอ.กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา
พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์
การตรวจสอบภายในภาครัฐ
บทที่ 6. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร. DMS.
หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0405
สถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรนวัตกรรม
ตัวชี้วัด : ร้อยละของการดำเนินงานให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม.
ทฤษฏีและหลักการบริหารค่าตอบแทน
กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department
กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม
การทบทวนผลการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2559
ความรู้เกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การกำจัดขยะและสารเคมี
บทที่ 4. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
10 สถานที่ท่องเที่ยว ขอแนะนำ.
การประเมินค่างาน บทที่ 3. ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร.
สถาบันการเงิน และนโยบายการเงิน
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
ความสำคัญของโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
พลวัตความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ :
MGT 228 การจัดการสมัยใหม่
กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
โครงการปรับระบบการเลี้ยงสุกรเพื่อป้องกันโรคและประเมินสถานภาพโรค PRRS ของกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยปี 2559.
สรุปตัวชี้วัด ของหน่วยตรวจพิเศษ ปี 57.
แบบฟอร์มการนำเสนอหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ศูนย์ช่วยเหลือ SMEs (SME Rescue Center)
นโยบายการคลัง รายวิชา : Week 06.
ประเภทที่ 1 วิจัยในชั้นเรียน
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามหลักธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับอริยสัจ 4
หอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลราชบุรี
จัดสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีแว้ง
งานการเงินนักศึกษา ส่วนการเงินและบัญชี
บทที่ 8. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการสอนซ่อมเสริมร่วมกับ
การจัดทำและการบริหาร งบประมาณรายจ่ายประจำปี นางดรงค์รัตน์ กล้าหาญ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สภาพแวดล้อมทางการตลาด
กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department
Credit Management ผศ.ดร.กฤษฎา สังขมณี
การจัดการงานคลังและงบประมาณ อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร การบริหารค่าตอบแทน บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

ความหมายของค่าตอบแทน ค่าตอบแทน หมายถึง รูปแบบของการจ่ายค่าตอบแทนหรือรางวัลทั้งหมดที่พนักงานได้รับจากการปฏิบัติงานในองค์การ ซึ่งจะประกอบด้วยค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินโดยตรง ในรูปของค่าจ้าง เงินเดือน ค่านายหน้า โบนัสและค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินทางอ้อม ในรูปของผลประโยชน์ ได้แก่ การประกันสุขภาพ การประกันชีวิต วันลาและวันหยุดพักผ่อน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ในการจ้างงาน เพื่อเป็นการตอบแทนในการปฏิบัติงาน ช่วยกระตุ้นให้บุคลากรได้ใช้ความรู้ ความสามารถในการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์การ

องค์ประกอบของค่าตอบแทน ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (financial compensation) หมายถึง ค่าตอบแทนที่จ่ายเป็นเงินให้แก่พนักงาน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ คือ ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินทางตรง (direct financial compensation) ประกอบด้วยสิ่งตอบแทนที่มีฐานการจ่ายจากงานที่พนักงานหรือลูกจ้างทำ ได้แก่ ค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส ค่านายหน้า การขาย เป็นต้น ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินทางอ้อม (indirect financial compensation) ประกอบด้วยสิ่งที่ลูกจ้างได้รับจากการที่เป็นลูกจ้างขององค์การนอกเหนือจากค่าตอบแทนทางตรง

ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน (nonfinancial compensation) หมายถึง สิ่งของสิทธิประโยชน์ที่นายจ้างจัดให้แก่พนักงาน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ คือ งาน (the job) หมายถึง ลักษณะของงานที่ทำให้ลูกจ้างพึงพอใจ เช่น ควน่าสนใจของงาน ความท้าทาย ความรับผิดชอบในงาน ความมีอิสระในการตัดสินใจ โอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง สภาพแวดล้อมของงาน (job environment) หมายถึง บรรยากาศในการทำงาน เช่น นโยบายค่าตอบแทนที่เหมาะสม ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ยุติธรรม

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าตอบแทน ปัจจัยภายในองค์การ สำหรับปัจจัยภายในองค์การที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าตอบแทน สามารถแบ่งปัจจัยออกเป็น 5 ส่วนดังนี้ คือ คุณค่าของงานและพนักงานโดยเปรียบเทียบ นโยบายขององค์การ (organization policy) ความสามารถในการจ่ายขององค์การ (ability to pay) ประสิทธิภาพในการผลิต (productivity) กระบวนการเจรจาต่อรองภายในองค์การ (collective bargaining)

ปัจจัยภายนอกองค์การ สำหรับปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าตอบแทนขององค์การ สามารถแบ่งปัจจัยออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ คือ สภาพตลาดแรงงาน (condition of labor market) ระดับค่าจ้างและเงินเดือนโดยทั่วไป (prevailingwages and salaries) สภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ (economic realities) ข้อกำหนดของกฎหมาย (legal considerations)

ความหมายของการบริหารค่าตอบแทน การบริหารค่าตอบแทน หมายถึง การพัฒนากลยุทธ์ในการกำหนดนโยบาย การวางแผน การจัดรูปแบบ โดยทำการออกแบบโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทนทั้งที่เป็นรูปแบบทางตรงและทางอ้อมให้กับพนักงานอย่างเหมาะสมเป็นธรรม ทำให้เกิดความเสมอภาคและสอดคล้องกับความเป็นจริงทั้งภายในและภายนอกองค์การ

วัตถุประสงค์และความสำคัญของการบริหารค่าตอบแทน บริหารค่าตอบแทนในทางปฏิบัตินั้นฝ่ายบริหารหรือนายจ้างของกิจการต่าง ๆ ได้พยายามคิดค้นระบบและจัดทำแผนงานประเภทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทน ทั้งนี้เพื่อให้มีระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่มีประสิทธิภาพและยุติธรรมต่อพนักงาน แต่ในการจัดทำแผนกำหนดการจ่ายค่าตอบแทนต้องใช้ดุลยพินิจของผู้บริหารประกอบการตัดสินใจด้วย ทำให้ลูกจ้างเกิดความสงสัยในการกำหนด การจ่ายค่าตอบแทนอยู่เสมอ ลูกจ้างมักจะเรียกร้องและกล่าวอ้างว่าตนไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เพราะนายจ้างหรือองค์การคิดถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ รัฐบาลจึงได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

ความเป็นมาของการบริหารค่าตอบแทน ยุคแรกเริ่มก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกในฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ใช้แรงงานเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงระบบทาส (slavery)มาเป็นระบบเจ้าแผ่นดิน (serfdom)ซึ่งทำให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิมากขึ้นกว่าเดิม กล่าวคือ ผู้ใช้แรงงานที่เป็นข้าแผ่นดิน ตลอดจนครอบครัวของเขาจะสามารถจัดหาอาหารที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่งห่มได้อย่างน้อยก็เพียงพอกับการยังชีพ

ยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจมีการนำเครื่องจักรต่างๆมาใช้ในการผลิตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน มาเป็นระบบอุตสาหกรรมที่มีการทำงานในโรงงาน ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเริ่มเปลี่ยนแปลงไป

ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารค่าตอบแทนมากที่สุดเพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีเหตุการณ์ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิธีปฏิบัติในการบริหารอย่างเป็นระบบมากขึ้นและในช่วงนี้เองเป็นช่วงที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงและกำหนดอัตราค่าจ้างและเงินเดือนของธุรกิจเอกชน ซึ่งในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง มีการนัดหยุดงานของลูกจ้างบ่อยครั้ง เนื่องมาจากเหตุผลเดียวกับความไม่พึงพอใจในค่าจ้างและเงินเดือน

กิจกรรมในการบริหารค่าตอบแทน การบริหารค่าตอบแทนนั้น องค์การจะกำหนดนโยบายและแผนค่าตอบแทนตามขอบเขตของงาน จากการประเมินค่างานในการเปรียบเทียบโดยพิจารณาจาก ทักษะ ความพยายาม ความรับผิดชอบในการทำงาน เพื่อจัดทำโครงสร้างค่าตอบแทนที่สามารถเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนในองค์การอื่นๆได้ ประกอบกับองค์การให้ค่าตอบแทนแบบจูงใจ โดยการกระตุ้นให้บุคลากรปฏิบัติงานตามความรู้ ความสามารถ ใช้การจูงใจทั้งทางเงินและด้านอื่นๆ เพื่อให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น

แนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทน การจ่ายค่าตอบแทนตามระดับทักษะความชำนาญ (skill-based pay (SBP) เป็นการพิจารณากำหนดค่าตอบแทน ให้มีความสัมพันธ์กับความลึกและระดับของทักษะความชำนาญ หรือความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน มากกว่าการจ่ายค่าตอบแทน โดยพิจารณาเฉพาะตำแหน่งงานที่ครองอยู่เท่านั้น การจ่ายค่าตอบแทนตามระดับทักษะความชำนาญ (skill-based pay (SBP)) มีลักษณะที่แตกต่างจากการจ่ายค่าตอบแทน (job-based pay (JBP))

การทดสอบความสามารถ การจ่ายค่าตอบแทนตามงาน เป็นการจ่ายตามตำแหน่งงานที่ครอง ผลของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ในการจ่ายค่าตอบแทนตามงาน ความอาวุโสในงานและปัจจัยอื่น โอกาสก้าวหน้าในงาน โดยทั่วไปการจ่ายค่าตอบแทนตามระดับทักษะความชำนาญจะทำให้พนักงานมีโอกาสก้าวหน้า

ผลประโยชน์เกื้อกูล ทำให้องค์การสามารถเก็บรักษาทรัพยากรบุคคลไว้ให้ทำงานกับองค์การ ช่วยเสริมหรือยกระดับขวัญและกำลังใจของพนักงานให้สูงขึ้น ช่วยให้องค์การสามารถดึงดูดหรือจูงใจคนดีมีความสามารถเข้ามาทำงานกับองค์การได้มากขึ้น สามารถลดปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ลงได้ ช่วยลดการแทรกแซงของรัฐบาลต่อการบริหารงานขององค์การลงได้

การที่องค์การจะจัดระบบผลประโยชน์เกื้อกูลที่มีผลให้พนักงานเกิดความมั่นคงและพึงพอใจ อันจะส่งผลให้องค์การได้รับผลประโยชน์สูงสุดในเชิงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายบริหารควรยึดถือหลักการพื้นฐาน 6 ประการ ดังนี้ 1. ผลประโยชน์เกื้อกูลที่องค์การจัดให้กับพนักงานควรจะสามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของพนักงาน เนื่องจากการจัดผลประโยชน์เกื้อกูลให้กับพนักงานนั้น องค์การควร

2. ฝ่ายบริหารหรือนายจ้างควรให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการพิจารณากำหนดผลประโยชน์เกื้อกูลที่องค์การจะจัดให้กับพนักงาน 3. ผลประโยชน์เกื้อกูลที่จัดให้กับพนักงานควรจะมีขอบเขตครอบคลุมถึงการให้ผลประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ในองค์การมากกว่า 4. ฝ่ายบริหารควรสื่อสารเกี่ยวกับการจัดผลประโยชน์เกื้อกูลให้พนักงานเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน 5. การจัดผลประโยชน์เกื้อกูลควรพิจารณาต้นทุนค่าใช้จ่ายขององค์การอย่างละเอียด

การจ่ายค่าตอบแทนตามกฎหมาย เป็นการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งหมายถึง ค่าล่วงเวลาในวันทำงาน ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย และเงินทดแทน ซึ่งในประเทศไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดเกี่ยวกับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและค่าชดเชย

ค่าล่วงเวลา หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานนอกเวลาที่ทำงานปกติ ค่าทำงานในวันหยุด ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ค่าชดเชย หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายครั้งเดียวให้แก่พนักงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือปลดออกจากงาน

เงินทดแทน หมายถึง เงินที่พนักงานมีสิทธิ์ได้รับจากนายจ้างตามกฎหมาย เพื่อเป็นการช่วยเหลือเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเป็นโรค หรือสูญหาย หรือเสียชีวิต อันเนื่องมาจากการทำงาน

จะเห็นได้ว่าผลประโยชน์เกื้อกูล เป็นการจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีความมั่นคงเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน องค์การหลายๆแห่งได้จัดทำแผนของผลประโยชน์เกื้อกูล รวมทั้งการหาวิธีที่จะเลือกผลประโยชน์เกื้อกูลที่เหมาะสมที่สุดขององค์การให้แก่พนักงาน โดยจะพิจารณาจากการประเมินความดีความชอบของพนักงานกับเป้าหมายขององค์การที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องตามกฏหมายและความเป็นธรรมที่องค์การสามารถรับได้จากการแข่งขันในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ดังนั้นฝ่ายบริหารจะต้องทำการบริหารจัดการผลประโยชน์

บทสรุป ค่าตอบแทนถือว่าเป็นรูปแบบของการจ่ายค่าตอบแทนหรือรางวัลที่พนักงานได้รับจากการปฏิบัติงานในองค์การตามตำแหน่งงานแต่ละคน ซึ่งองค์ประกอบของค่าตอบแทนประกอบด้วย ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินโดยตรงในรูปของค่าจ้าง เงินเดือน ค่านายหน้า โบนัสและค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินทางอ้อม ในรูปของผลประโยชน์ ได้แก่ การประกันสุขภาพ การประกันชีวิต วันลาและวันหยุดพักผ่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ในการจ้างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าตอบแทน ขององค์การนั้นจะเกิดจากอิทธิพลของปัจจัยใน 2 ด้าน ดังนี้คือ อิทธิพลของปัจจัยจากภายในองค์การและปัจจัยจากภายนอกองค์การ

Thank you