ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา บทที่ 9 เทคโนโลยีสารสนเทศในห่วงโซ่อุปทาน ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเชน เทคโนโลยีช่วยในการจัดการซัพพลายเชน การจัดระบบซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพนั้น กล่าวกันว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการจัดการในเรื่องความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ (Demand management) ให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด โดยดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่หน่วยที่เป็นต้นทางวัตถุดิบถึงขั้นสุดท้ายของกระบวนการจัดการระบบซัพพลายเชน การจัดหาสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ
และความสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตลาดและที่สำคัญไปกว่านั้น คือการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technology) โดยเฉพาะทางด้านไอที ฮาร์แวร์ และซอฟแวร์ มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการให้ระบบซัพพลายเชนมีความต่อเนื่องไม่ติดขัด ด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกัน ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องในการจัดเก็บและส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ ในระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในระบบซัพพลายเชนได้แก่
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการทำธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
ธุรกิจที่อยู่ในโซ่อุปทานส่วนใหญ่จะมีการดำเนินธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กับซัพพลายเออร์และลูกค้าประโยชน์ที่ได้รับจากการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีหลายประการ เช่น เกิดการประหยัดต้นทุน เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยี แทนแรงงานคน ซึ่งทำให้ราคาของสินค้าลดลง ลดการใช้คนกลางในการดำเนินธุรกิจ เช่น ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการ ฯลฯ ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นระหว่างโซ่อุปทาน ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากสารสนเทศมากขึ้น
การใช้บาร์โค้ด (Barcode) บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner บาร์โค้ดจึงทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทำการผลิต เลขหมายเรียงลำดับกล่องเพื่อการขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงตำแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุม
การหมุนเวียนของสินค้าโดยรวดเร็วขึ้นไม่ว่าจะเป็นการรับ การจัดเก็บและการจ่ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันและที่สำคัญการติดบาร์โค้ดถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการจัดการซัพพลายเชน ลดระยะเวลาและความซ้ำซ้อนในการทำงาน ปัจจุบันรหัสสากร (EAN Thailand) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นสถาบันที่ควบคุม ดูแลและส่งเสริมการใช้ระบบมาตรฐาน ECC : UCC (ย่อมาจาก European Article Number : Uniform Code Council) ในประเทศไทย ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวถือเป็นมาตรฐานสากลที่ทุกอุตสาหกรรมของนานาประเทศนิยมใช้กัน โดยหมายเลขบาร์โค้ดจะไม่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้สามารถอ้างอิงกลับมายังสินค้าหรือบริการนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง
Barcode
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI : Electronic Data Interchange) เป็นเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการซัพพลายเชน เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรูปแบบข่าวสารข้อมูลนั้นจะมีการจัดรูปแบบและมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันตามที่ได้ตกลงกันไว้ เรียกว่า EDI Message ผ่านเครือข่ายการสื่อสาร (Telecommuni- cation Network) ทำให้เพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการทำงาน
ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลต่างก็สามารถเข้าถึง EDI message ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการบันทึกข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ข้อมูลการสั่งซื้อออกมาเป็นเอกสาร ทำให้ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร ลดปัญหาการสูญหายและความผิดพลาดเนื่องจากมีระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้อง
การใช้ซอฟแวร์ Application SCM การนำซอฟแวร์มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นซอฟแวร์ที่จัดเป็นระบบศูนย์กลางขององค์กรทั้งหมด ทำหน้าที่ประสานงานหลักๆ ในด้านต่างๆ เช่น การเงิน การผลิต และการจัดคลังสินค้า Advance Planning and Scheduling จัดสร้างแผนการผลิตและจัดตารางเวลาโรงงานการผลิต ใช้เงื่อนไขข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ทางธุรกิจในการปรับตารางให้ดีที่สุด
Inventory Planning วางแผนคลังสินค้าที่จำเป็นในแต่ละจุดเพื่อกระจายการจัดส่ง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด Customer Asset Management ใช้สำหรับจัดระบบการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้ารวมทั้งระบบขายอัตโนมัติและการให้บริการลูกค้า เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตระบบ ERP หลักๆ มีอยู่ 5 รายด้วยกัน คือ SAP, ORACLE, Peoplesoft, J.D. Edwards และ Baan
อย่างไรก็ตามความร่วมมือกันบริหารงานในระดับซัพพลายเชนคงต้องมีกลไกให้มีการร่วมคิดร่วมพัฒนาระหว่างองค์กรอย่างต่อเนื่อง ความเข้าใจและการผลักดันของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กรมีความสำคัญยิ่ง การจัดตั้งทีมงานร่วม (cross-functional team) ที่จะประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากทุกองค์กรในซัพพลายเชนมาร่วมกันวางแผนหาจุดอ่อน และพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในภาพรวม จะช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างกันได้รวดเร็วและเป็นรูปธรรม ความแตกต่างกันระหว่างองค์กรทั้งในเรื่องวัฒนธรรม แนวความคิด ขนาดองค์กร
แนวทางการปฏิบัติงาน และเทคโนโลยี จะได้มีการปรับให้สอดคล้องกันมากขึ้นตามลำดับ เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกันคือความสามารถในการแข่งขันและความพึงพอใจของลูกค้าเรานั่นเอง
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน Supply chain management : SCM การบริหารวัตถุดิบ ข้อมูล และการเงิน นับตั้งแต่กระบวนการจากผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ถึงผู้ผลิต ถึงผู้กระจายสินค้า ถึงตัวแทนจำหน่าย และถึงผู้บริโภคในขั้นตอนสุดท้าย การบริหารห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นการประสานกลยุทธ์การทำงานของหน่วยธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนสินค้าคงคลัง และเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้สูงสุด
กระบวนการห่วงโซ่อุปทานแบบอิเล็กทรอนิกส์ Supply chain management : SCM จดหมายแจ้งการจัดส่งสินค้า จดหมายแจ้งการจัดส่งสินค้า Internet ลูกค้า ข้อมูลสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลสั่งซื้อสินค้า จดหมายแจ้งการจัดส่งสินค้า สินค้า สินค้า
กระบวนการห่วงโซ่อุปทานแบบอิเล็กทรอนิกส์ Supply chain management : SCM จุดเด่น เข้าถึงผู้บริโภคสินค้าโดยตรง เปลี่ยนจากห่วงโซ่อุปทานแบบอนุกรมเป็นห่วงโซ่อุปทานแบบไดนามิก(Dynamic Network Supply Chain) เปลี่ยนจากการมุ่งประสิทธิภาพไปสู่การสร้างความต้องการ ช่วยในการตัดสินใจชนิด ปริมาณ และระยะเวลา ในการผลิต การเก็บรักษา และการเคลื่อนย้ายสินค้า สามารถจัดการรายการสั่งซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว สามารถติดตามสถานะของรายการสั่งซื้อสินค้าได้
กระบวนการห่วงโซ่อุปทานแบบอิเล็กทรอนิกส์ Supply chain management : SCM จุดเด่น สามารถตรวจสอบความพร้อมของคลังเก็บสินค้า และตรวจสอบระดับปริมาณสินค้าในคลัง สามารถติดตามการนำส่งสินค้า วางแผนการผลิตจากปริมาณความต้องการสินค้าที่แท้จริงได้ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าได้อย่างรวดเร็ว นำเสนอรายการข้อกำหนดของสินค้าได้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน และสินค้าที่ถูกส่งคืนได้
ปัญหาของระบบงานองค์กรแบบเดิม องค์กรขนาดใหญ่มักจะมีระบบสารสนเทศอยู่หลายชนิดที่สนับสนุนการทำงานของหลายฝ่ายในหลายระดับ และหลายกระบวนการทางธุรกิจ ระบบงานส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน ทำให้ไม่สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ผู้บริหารก็จะมีความยากลำบากในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการสำหรับนำมาใช้เป็นข้อมูลสรุปสำหรับการพิจารณาภาพการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์กร เช่น พนักงานฝ่ายขายไม่ทราบว่าสินค้านั้นมีอยู่มากน้อยเท่าใดในคลังสินค้า หรือลูกค้าไม่สามารถติดตามรายการสินค้าที่สั่งได้ เป็นต้น
ผลประโยชน์ของระบบงานองค์กร ระบบงานองค์กรจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ต่อวิธีการดำเนินธุรกิจใน 4 ด้าน คือ โครงสร้างองค์กร : สามารถทำการเชื่อมโยงสำนักงานสาขาต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกันได้ สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน มีวิธีการดำเนินธุรกิจเป็นระบบเดียวกัน โดยมีการประสานหน้าที่ การทำงานของฝ่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้
ผลประโยชน์ของระบบงานองค์กร ระบบงานองค์กรจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ต่อวิธีการดำเนินธุรกิจใน 4 ด้าน คือ กระบวนการบริหาร : สามารถจัดการการทำงานแบบอัตโนมัติให้แก่กระบวนการทำงานทั้งหลายได้ สามารถปรับปรุงข้อมูลสำหรับการบริหาร และการตัดสินใจได้ ข้อมูลที่นำเสนอ โดยมีโครงสร้างของการผสมผสานระหว่างการทำงาน ของฝ่ายต่าง ๆ สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ผลประโยชน์ของระบบงานองค์กร ระบบงานองค์กรจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ต่อวิธีการดำเนินธุรกิจใน 4 ด้าน คือ เทคโนโลยีพื้นฐาน : สามารถประสานการทำงานระหว่างกันได้เสมือนเป็นระบบเดียวกัน ทั่วทั้งองค์กร ข้อมูลเก็บรวมกันเพียงแห่งเดียว มีมาตรฐานเดียวกัน สามารถนำข้อมูลไปใช้กับระบบสารสนเทศในทุกส่วนขององค์กรได้
ผลประโยชน์ของระบบงานองค์กร ระบบงานองค์กรจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ต่อวิธีการดำเนินธุรกิจใน 4 ด้าน คือ ความสามารถทางธุรกิจ : การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถช่วยให้เกิดระบบงานพื้นฐานที่มีลูกค้าหรือความต้องการต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นกระบวนการทำงานให้เกิดขึ้น สามารถรวบรวมกระบวนการทำงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี ด้านฝ่ายการผลิตมีข้อมูลที่ดีขึ้น ในการที่จะทำการผลิตเฉพาะสินค้าที่ ลูกค้าสั่งซื้อ สามารถจัดซื้อวัสดุในปริมาณที่พอดีกับความต้องการในการผลิตสินค้า ช่วยลดระยะเวลาที่สินค้าถูกเก็บไว้ในคลังสินค้า
ขอขอบคุณที่สนใจฟัง...