ผลการพัฒนาถุงรองรับน้ำย่อย จากกระเพาะอาหาร
แนวคิดของนวัตกรรม การใส่สายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร มี วัตถุประสงค์หลายอย่างเช่นเพื่อระบาย Gastric content ช่วยลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดลำไส้หรือกระเพาะอาหาร หรือช่วยในการตรวจรักษาเบื้องต้นที่จะช่วยวินิจฉัย Acute upper GI bleeding ด้วยการทำ gastric lavage ซึ่งหลังทำ gastric lavage แพทย์จะให้ต่อถุงกับ NG tube เพื่อ สังเกตcontent ที่ออกมาจากกระเพาะอาหาร ซึ่ง การต่อ NG tube ที่ใช้อยู่เดิมจะต่อสายลง ถุงพลาสติกซึ่งพบปัญหาคือในบางครั้งพบผู้ป่วยนอนทับ ถุงทำให้ content หกสกปรกรั่วซึมเปื้อนเสื้อผ้า ร่างกายผู้ป่วย ทำให้การบันทึกจำนวน content ที่ ได้ไม่แน่นอน
แนวคิดของนวัตกรรม และยัง ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยๆทำให้เกิด ความไม่สุขสบาย เกิดกลิ่นรบกวนทั้งกับตัวผู้ป่วย/ ญาติที่มาเยี่ยม รวมทั้งผู้ป่วยอื่นที่อยู่บริเวณ ใกล้เคียง และอาจเกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ ทำให้ผู้ป่วย /ญาติเกิดความกังวลเพราะต้องระวัง ไม่ให้นอนทับถุงพลาสติกที่ใส่ NG tube ผู้ปฏิบัติงานเกิดความยุ่งยาก เสียเวลาเมื่อต้อง เปลี่ยนถุงใหม่ เนื่องจาก พลาสเตอร์ติดถุงมือทำให้ แกะยาก เพราะเวลาต่อสายใส่ NG ลงถุงต้อง ใช้พลาสเตอร์พันหลายครั้งเพื่อป้องกันรั่วซึม หก เลอะเทอะ จึงได้คิดค้นหาถุงมาสำหรับรองรับ น้ำย่อยที่ออกมาจากกระเพาะอาหารทดแทน ของเดิม
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อใช้สำหรับรองรับน้ำย่อยจากกระเพาะ อาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความสะดวกในการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ ลดภาระค่าใช้จ่ายและลดปริมาณขยะ เพิ่มความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย/ญาติ
หลักการและขั้นตอนหรือกระบวนการดำเนินงาน รวมทั้งกรรมวิธีที่ใช้ในการจัดทำนวัตกรรม การพัฒนาถุงสำหรับรองรับน้ำย่อยที่ ออกมาจากกระเพาะอาหารโดยการใช้ถุง Panenteral feeding ที่ใช้แล้วและไม่ได้ ใช้กับผู้ป่วยติดเชื้อมาทำความสะอาดประยุกต์ต่อ กับ NG tube มาทดแทนแบบเดิมเพื่อป้องกัน การหกสกปรกรั่วซึมเปื้อนเสื้อผ้า เพื่อความสุข สบายของผู้ป่วย ความสะดวกในการปฏิบัติงาน ช่วยลดภาระงาน ลดต้นทุนในการพยาบาลและ ค่าใช้จ่าย ลดปริมาณการส่งผ้าซักจากการเปื้อน content และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ขั้นตอนกระบวนการดําเนินงาน 1. ประชุมทีมเพื่อชี้แจง 2. หาอุปกรณ์ที่มาทดแทนของเดิมโดยการใช้ถุง Panenteral feeding ที่ใช้แล้วและไม่ได้ใช้กับผู้ป่วยติดเชื้อมาทำความสะอาด 3. ทดลองใช้ 4. ประเมินผล
ก่อนพัฒนา หลังพัฒนา
ลักษณะเด่นของนวัตกรรม เป็นการคิดนวัตกรรมที่เกิดจากการนำปัญหาจากการทำงานมาประชุมร่วมกันทำให้เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรได้
ตอบโจทย์หรือช่วยแก้ปัญหาสำคัญในการดำเนินงาน GREEN AND CLEAN เป็นนวัตกรรมที่มีการนำสิ่งของที่ไม่ได้ใช้มาดัดแปลงเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและผู้รับบริการ อีกทั้งยังช่วยลดขยะ ลดการใช้วัสดุการแพทย์ ลดค่าใช้จ่ายให้องค์กร ผู้รับบริการพึงพอใจ
ประโยชน์และผลลัพธ์ของการนำนวัตกรรมไปใช้ หน่วยงาน/องค์กร สังคมมีความจำเป็นต้องมีหรือมีความต้องการใช้นวัตกรรมนี้อย่างไร เป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดระยะเวลาการทำงาน ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการเกิด การแพร่กระจายเชื้อ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ประโยชน์และผลลัพธ์ของการนำนวัตกรรมไปใช้ การปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้ถุง Panenteral feeding ในการรองรับน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารเพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยอีกทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้เกิดความสะดวกกับผู้ปฏิบัติงาน ลดปัญหาการรั่วซึมเปื้อนเสื้อผ้าจากการนอนทับถุง ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายให้องค์กร จากการส่งผ้าซักที่เปื้อน content ค่าใช้จ่ายจากการซื้อถุง และลดปริมาณขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม
ผลลัพธ์ของการนำนวัตกรรมไปใช้ จากการประเมินสิทธิผลและความพึงพอใจของบุคลากรต่อการใช้ถุง Panenteral feeding ประยุกต์ต่อกับ NG tube โดย พยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ที่ใช้งานถุงนี้จำนวน 30 ราย พบว่า หัวข้อ ค่าเฉลี่ย ระดับ 1. การใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ 4.87 ดีมาก 2. ความสะดวกในการใช้งาน 4.77 3. ความแข็งแรงของบริเวณข้อต่อ 4. การสังเกตสีและปริมาณสิ่งคัดหลั่งได้ง่าย ความพึงพอใจของผู้รับบริการ 97.5
แนวทางการพัฒนาและการนำนวัตกรรมไปใช้ในวงกว้าง ขยายผลไปใช้กับโรงพยาบาลสาขาทั้งในเขตบ้านแพ้ว และกรุงเทพมหานคร ส่วนในโรงพยาบาลได้นำไปใช้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Thank you for attention