โดย อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข แหล่งสารสนเทศ โดย อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข 1
หน่วยที่ 2 2. แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามแหล่งที่เกิด 2.1 แหล่งสารสนเทศคำบอก (Oral Sources) 2.1 แหล่งสารสนเทศที่ได้รับการบันทึก (Recorded Sources)
2.1 แหล่งสารสนเทศคำบอก หมายถึง แหล่งที่ให้สารสนเทศโดย การถ่ายทอดด้วยวาจา (Oral) แหล่งสารสนเทศคำบอกที่สำคัญได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา (Subject – matter Expert) และปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น
2.1 แหล่งสารสนเทศคำบอก (ต่อ) บันทึกความรู้ที่ใช้บันทึกสารสนเทศที่ผ่านการบอกเล่าเรียกว่า “หลักฐานคำบอก” (Oral Evidence) หลักฐานคำบอกเป็นสารสนเทศปฐมภูมิ (Primary Sources) ที่อาจอยู่ในรูปบันทึกคำสัมภาษณ์ วัสดุบันทึกเสียง ภาพถ่าย
2.1 แหล่งสารสนเทศคำบอก (ต่อ) หลักฐานคำบอกที่ได้รับการวิเคราะห์ ประมวลและเรียบเรียงใหม่ทำให้เกิดสารสนเทศคำบอก
2.1 แหล่งสารสนเทศคำบอก (ต่อ) สารสนเทศคำบอกที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีคำบอก (Oral Tradition) ประวัติศาสตร์คำบอก (Oral History) และวรรณกรรมมุขปาฐะ (Oral Literature)
แหล่ง สารสนเทศ คำบอก หลักฐาน คำบอก สารสนเทศ คำบอก แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของแหล่งสารสนเทศคำบอก หลักฐานคำบอกและสารสนเทศคำบอก
2.2 แหล่งสารสนเทศที่ได้รับการบันทึก (Recorded Sources) 2.2.1 แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสาร (Documentary Sources) 2.2.2 แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นเอกสาร (Non - documentary Sources)
แหล่งสารสนเทศที่ได้รับการบันทึก (Recorded Sources) หมายถึงบันทึกความรู้ หรือทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่ปรากฎสารสนเทศทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษร ภาพหรือเสียง แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสารและแหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นเอกสาร
2.2.1 แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสาร หมายถึงบันทึกความรู้ที่บันทึกลงบนวัสดุที่ทำจากกระดาษ แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสารได้แก่ หนังสือ วารสาร จุลสาร กฤตภาค วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ต้นฉบับตัวเขียน (สมุดไทย)
2.3 แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นเอกสาร หมายถึงบันทึกความรู้ที่บันทึกลงบนวัสดุ ประเภทต่างๆ ที่มิใช่กระดาษ แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นเอกสาร ได้แก่ สื่อโสตทัศน์ สื่อดิจิทัล (ซีดี ฐานข้อมูล เวปไซต์) ต้นฉบับตัวเขียน (จารึก คัมภีร์ใบลาน)
มรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) เป็นการดำเนินโครงการขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เพื่อวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และเผยแพร่มรดกบันทึกความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Documentary Heritage) เพื่อให้เป็นแหล่งรวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายในด้านของวัฒนธรรมจากสังคมในอดีตให้แก่สังคมในปัจจุบัน และเพื่อสืบสานส่งต่อให้แก่สังคมในอนาคต
2.2.3 มรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) ต่อ เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก 1) ความเป็นของแท้ 2) ความโดดเด่นและไม่อาจทดแทนได้ 3) ความสำคัญระดับโลกในเรื่องเวลา อายุ สถานที่ บุคคล เนื้อหาสาระ แนวคิด รูปแบบและวิธีเขียน และความหายาก เป็นต้น
2.2.3 มรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) ต่อ ทรัพยากรสารสนเทศของประเทศไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ได้แก่ 1) ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 2546) 2) เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสยาม (พ.ศ. 2552) 3) จารึกวัดโพธิ์ (พ.ศ. 2554)