การเขียนบทความทางวิชาการ ผศ ดร พรชัย วิสุทธิศักดิ์
บทความคืออะไร
บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ และมี การสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาวิเคราะห์ โดยผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการของตนได้อย่างชัดเจน
เขียนบทความเพื่ออะไร เทคนิคการเขียนบทความ เทคนิคการตีพิมพ์บทความ หัวข้อหลัก เขียนบทความเพื่ออะไร เทคนิคการเขียนบทความ เทคนิคการตีพิมพ์บทความ ได้อะไรจากการเขียนบทความ
1. เขียนบทความเพื่ออะไร ทำไมเราจึงต้องเขียนบทความ ? ไม่เขียนบทความได้ไหม ? เขียนครึ่งนึงได้ไหม ? ที่มา: http://www.prnewsonline.com/water-cooler/2014/12/31/7-essential-elements-of-effective-pr-writing/
เทคนิคการเขียนบทความ เลือกเรื่องและประเด็นที่จะเขียน เมื่อเราชำนาญในเรื่องนั้น ติดตามวารสารเฉพาะทางมาตลอด เราจะทราบว่าประเด็นใดและเรื่องใด กำลังเป็นที่สนใจ
เทคนิคการเขียนบทความ พิจารณาถึงจุดเด่นของงานที่เราต้องการตีพิมพ์ แตกออกเป็นหัวข้อย่อยที่โดดเด่นจริงๆ ไม่ควรเกิน 3 ประเด็น เขียนเนื้อหาให้กระชับ 10- 15 หน้า สำหรับผู้อ่านจะได้ใช้เวลาอ่านน้อยแต่ได้ประเด็น แต่ไม่ได้หมายความว่าเกินไม่ได้ วางโครงสร้างบทความให้เหมาะสม เกริ่นนำ เนื้อความ และบทสรุป แต่ต้องมุ่งสร้างความชัดเจนและเข้าใจต่อผู้อ่าน
หาพันธมิตรที่ร่วมอ่านงานให้เราได้ และเราก็ร่วมอ่านงานให้เขาได้ อดทน อดทนและอดทน เล่นของ ---- อิทธิบาท 4- ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
การนำเสนอความคิดโดยไม่คัดลอก ผลงานทางวิชาการ Academic Plagiarism การคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยอ้างว่าเป็นงานของตน การอ้างงานของตนโยมิได้แจ้งให้ผู้อ่านทราบ โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติม ที่ บัณฑิต วิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, การคัดลอกผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย สิ่งพิมพ์ วิทยานิพนธ์ (Academic Plagiarism)“ประเด็นที่เราควรตระหนัก” https://www.grad.chula.ac.th/download/files/Plagiarism.pdf
การกล่าวซ้ำ (paraphrasing) การกล่าวสรุปความคิดของผู้อื่นให้เป็นภาษาของผู้เขียน การทำให้แนวคิดเดิมให้อยู่ในรูปแบบความคิดของภาษาของผู้เขียน เน้นความเป็นตัวตนของผู้เขียน มีการอ้างความคิดของผู้คิดก่อน แล้วปรับภาษาเป็นของผู้เขียน
โครงสร้าง ของบทความวิชาการ บทคัดย่อ บทนำ เนื้อหาประเด็นโดยมีหัวข้อหลัก บทสรุป
การตีพิมพ์บทความ ตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
เทคนิคการตีพิมพ์บทความ: ตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ หาที่ประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องหรือเป็นที่น่าสนใจกับงานเขียนเรา หาที่ประชุมที่เราอยากไปพักผ่อน หาที่ประชุมที่จะสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในบทความ หาหลายๆ ที่ เพื่อใช้เป็นตัวเลือก
เทคนิคการตีพิมพ์บทความ : ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วารสารกับการกำหนดกรอบประเด็น- ควรใช้หลักการนี้เป็นพื้นฐานในการกำหนดประเด็นวิจัย และคำถามวิจัย ก่อนเขียนต้องกำหนดวารสารไว้ล่วงหน้า เตรียมวารสารไว้หลายๆวารสาร ไม่จำเป็นต้องมุ่งมั่นเพียงแค่วารสารเดียว ลองสอบถามเพื่อนหรือผู้รู้ต่างคณะเพื่อให้เห็นโลกทัศน์กว้างขึ้น
ได้อะไรจากการเขียนบทความ ได้เสนอความคิดให้ผู้อ่านได้รับรู้ ไม่สำคัญว่าผู้อ่านจะมากหรือน้อย สำคัญที่เราได้เสนอความคิดให้แก่ผู้อื่น ได้เป็นส่วนช่วยต่อยอดความคิดทางวิชาการ ได้เป็นผู้เปลี่ยนแปลงสังคม ได้เรียนจบ
อย่ากลัวการถูกปฎิเสธ “กลัวถูกปฏิเสธ” เป็นหนึ่งในความรู้สึกที่คนทั่วไปรู้สึกเจ็บปวดและกลัวที่สุด เป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคนพยายามที่จะหลีกเลี่ยง ทำให้การ “กลัวการถูกปฏิเสธ” เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความล้มเหลวมาแล้วมากมาย J.K. Rowling ผู้เขียนหนังสือ Harry Potter ในช่วงแย่ที่สุดในชีวิตทั้งด้านครอบครัวและการเงิน แล้วถูกปฏิเสธจาก 30 สำนักพิมพ์ ก่อนที่จะได้รับการตีพิมพ์และประสบความสำเร็จ จนทำให้ J.K. กลายเป็นผู้หญิงที่รวยที่สุดคนหนึ่งในเกาะอังกฤษ ที่มา: http://www.succeedlifestyle.com/shadow-of-failure/
สุดท้าย สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ สิบมือคลำไม่เท่าทำเอง ลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้ แบ่งกลุ่มเพื่อการพูดคุยแลกเปลี่ยน