บทที่ 10 การควบคุมสินค้าคงเหลือ บทที่ 10 การควบคุมสินค้าคงเหลือ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการควบคุมสินค้าคงเหลือ 1. เพื่อป้องกันตัววัสดุให้พ้นจากการเสียหายในด้านต่างๆ 2. เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับวัสดุ 3. ให้มีปริมาณวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปเพียงพอ 4. ลดค่าใช้จ่ายในการมีสินค้าคงเหลือในแต่ละชนิด
ความสำคัญในการจัดการสินค้าคงเหลือ วัสดุเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์การ มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของบริษัทดังนั้น กิจการควรได้คำนึงถึงความสำคัญในการจัดการวัสดุ 1. การรับวัสดุ : การกำหนดมาตรฐานการตรวจรับวัสดุ กรรมการตรวจรับ แบบฟอร์มในการตรวจรับ 2. การจ่ายวัสดุ : บุคคลที่ทำหน้าที่ในการสั่งจ่าย แบบฟอร์มในการเบิกจ่าย
ความหมายของสินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือ(Inventory) หมายถึง วัสดุที่มีไว้ใช้ในอนาคต วัสดุเหล่านั้น ได้แก่ วัตถุดิบ ชิ้นส่วน อะไหล่ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป หน้าที่ของสินค้าคงเหลือ(Function Of Inventory) สินค้าคงเหลือเป็นสินค้าสำเร็จรูปที่อยู่ในคลังสินค้า รวมถึงวัตถุดิบคงเหลือที่ใช้ในการผลิตสินค้า และสินค้าที่ยังอยู่ในกระบวนการผลิต หรือที่เรียกว่างานระหว่างกระบวนการ สินค้าคงเหลือมีบทบาทในการเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารงานผลิตได้
บทบาทหน้าที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ 1. เป็นการจัดแยกประเภทสินค้าอย่างเป็นหมวดหมู่ 2. ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายหรือผู้ส่งมอบ กับผู้ผลิต และผู้ผลิตกับลูกค้า 3. ได้รับประโยชน์จากส่วนลด 4. ป้องกันปัญหาจากสภาวะเงินเฟ้อ และภาวการณ์ขึ้นราคาของสินค้า 5. ป้องกันปัญหาความไม่แน่นอนจากการส่งมอบ 6. ช่วยทำให้งานผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด ไม่มีปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
สรุปความสำคัญและความจำเป็นของคลังสินค้า 1. ทำให้โรงงานสามารถผลิตสินค้า หรือเดินเครื่องจักรได้ตลอด สม่ำเสมอ อย่าง เต็มกำลังการผลิต และทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง 2. ช่วยทำให้การผลิตไม่หยุดชะงัก แม้เครื่องจักรจะชำรุดเสียหาย 3. ช่วยให้โรงงานสามารถเก็บสินค้าไว้ได้ในช่วงราคาสินค้าตกต่ำ 4. ช่วยทำให้โรงงานมีสินค้าจำหน่ายในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน 5. ช่วยทำให้การผลิตและการจ้างแรงงานเป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่ทำให้เกิดการ ทำงานหรือเดินเครื่องเปล่า
ความสัมพันธ์ของระบบบัญชีสินค้าคงเหลือกับการควบคุมสินค้าคงเหลือ 1. ระบบบัญชีของสินค้าคงเหลือ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 1.1 วิธีตรวจนับสินค้าเป็นงวด (Periodic Inventory Systems) 1.2 วิธีตรวจนับอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Systems) 2. การตัดสินใจเกี่ยวกับจำนวนที่จะซื้อและจุดสั่งซื้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ(Ordering Cost) 2.2 ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา(Carrying Cost) 2.3 ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลน(Shortage Cost) 2.4 ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องใหม่(Setup Cost)
ประเภทของสินค้าคงเหลือ 1. สินค้าคงเหลือที่เป็นวัตถุดิบ(Raw Material Inventory) 2. สินค้าคงเหลือระหว่างผลิต(Work-in-Process :WIP Inventory) 3. สินค้าคงเหลือประเภทสินค้าสำเร็จรูป(Finished goods inventory) 4. สินค้าคงเหลือประเภทอะไหล่สำหรับการซ่อมบำรุง(Maintenance/Repair/Operating : MROs)
การควบคุมจำนวนสินค้าคงเหลือด้วยการจัดกลุ่มสินค้า ABC analysis โดยแยกสินค้าคงคลังออกตามประเภทความสำคัญหรือราคา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A กลุ่มที่เป็นสินค้าที่สำคัญมาก มูลค่าสูง (high value) โดยทั่วไปจะมีสินค้า อยู่ประมาณ 10 – 20%ของสินค้าทั้งหมด และจะมีมูลค่าอยู่ประมาณ 70 – 80%ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด (มีปริมาณน้อย แต่มูลค่ารวมค่อนข้างสูง) กลุ่ม B กลุ่มที่เป็นสินค้าปานกลาง (middle value) โดยทั่วไปสินค้าคงคลังประเภทนี้จะมีอยู่ประมาณ 30 – 40% ของสินค้าทั้งหมด และมูลค่าของสินค้าประเภทนี้จะมีค่าประมาณ 15 – 20% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด (มีปริมาณปานกลาง มูลค่ารวมปานกลาง) กลุ่ม C กลุ่มสินค้าที่มีความสำคัญน้อยที่สุด (small value) เป็นสินค้าที่มีราคาต่ำ มีเปอร์เซ็นต์ในการเก็บรักษามาก คือ ประมาณ 40 – 50% และมูลค่า 5 – 10% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด (มีปริมาณมาก แต่มูลค่ารวมค่อนข้างต่ำ)
เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่า สินค้า คงเหลือ (Percent of annual dollar usage) กราฟแสดงการวิเคราะห์สินค้าคงเหลือด้วยวิธี ABC 80 70 60 50 40 30 20 10 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 กลุ่มสินค้า A กลุ่มสินค้า B กลุ่มสินค้า C เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่า สินค้า คงเหลือ (Percent of annual dollar usage)
คงเหลือรายการสินค้าคงเหลือ (หน่วย) ตัวอย่างที่ 10.1 บริษัทเมืองไทยอิเล็กทรอนิกส์ มีสินค้าทั้งสิ้น 10 รายการ สามารถแสดงการแบ่งประเภทสินค้าตามหลักการของวิธี ABC ได้ดังนี้ เลขที่สินค้า คงเหลือรายการสินค้าคงเหลือ (หน่วย) เปอร์เซ็นต์ของจำนวน ปริมาณสินค้า คงเหลือ (ต่อหน่วย) ราคาสินค้า คงเหลือ มูลค่าสินค้า สินค้าคงเหลือ % ของมูลค่า # 10366 # 11536 # 12770 # 10887 # 10508 # 12572 # 14074 # 01035 # 01305 # 10574 17.56% 32.20% 50.24% 1,300 500 1,500 600 1,200 800 2,500 150 1,400 300 100.00 120.00 20.00 50.00 13.00 16.00 1.00 10.00 0.50 130,000 60,000 30,000 15,600 12,800 700 45.87% 21.17% 10.59% 5.50% 4.52% 0.88% 0.53% 0.25% 0.10% รวม 10,250 283,400 100%
ผลการจัดแบ่งสินค้าเป็นกลุ่ม กลุ่มสินค้า เลขที่สินค้าคงเหลือ มูลค่าสินค้าคงเหลือรวม เปอร์เซ็นต์ปริมาณสินค้าคงเหลือ เปอร์เซ็นต์มูลค่าสินค้าคงเหลือ A B C #10366, #11536 #12770, #10887, #10508 #12572, #14074, #01035, #01037, #10574 190,000 75,600 17,800 17.56% 32.20% 50.24% 67.04% 26.68% 6.28%
การคำนวณ การจัดแบ่งสินค้าเป็นกลุ่มตามวิธี ABC เลขที่รายการ สินค้าคงเหลือ ปริมาณสินค้า คงเหลือ %ปริมาณสินค้าคงเหลือ มูลค่าสินค้า %มูลค่าสินค้าคงเหลือ A #10366 #11536 1,300 500 =17.56% 130,000 60,000 67.04% B #12770 #10887 #10508 1,500 600 1,200 = 32.20% 30,000 15,600 26.68% C #12572 #14074 #01035 #01307 #10574 800 2,500 150 1,400 300 =50.24% 12,800 700 6.28%
การจัดทำบันทึกรายการสินค้าที่ถูกต้องแม่นยำ (Record Accuracy) ต้องมีระบบการจัดการที่ดี ห้องจัดเก็บ พื้นที่จัดเก็บ ใช้ระบบ Bar-code
เทคนิคการตรวจสอบความถูกต้องโดยอาศัย การตรวจนับตามรอบเวลา(Cycle Counting) เป็นเทคนิคในการรักษาปริมาณสินค้าคงเหลือให้มีความถูกต้องแม่นยำเสมอโดยการตรวจนับเป็นประจำ เช่น กลุ่ม A ตรวจนับทุกเดือน กลุ่ม B ตรวจนับทุก 3 เดือน กลุ่ม A ตรวจนับทุก 6 เดือน
การควบคุมสินค้าคงเหลือด้านการบริการ(Control of Service Inventory) เทคนิคในการบริการมีดังนี้ ทำการคัดเลือกบุคลากร จัดการฝึกอบรม การออกกฎระเบียบ การควบคุมการรับสินค้าอย่างเคร่งครัด เช่น ระบบ Bar-code ,Stock Keeping Unit : SKU ใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการควบคุมสินค้า เช่น กระจก,เครื่องเล่นเทป การตัดสินใจพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง จึงมีอยู่ด้วยกัน2 ประการ คือ ประการที่ 1 จะสั่งซื้อครั้งละเท่าไร ประการที่ 2 จะสั่งซื้อจำนวนนี้เมื่อใด
การหาปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสม (Economic Order Quantity) การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด เป็นการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อต้นทุนค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่ประหยัด
ภาพที่ 10.2 วงจรสินค้าคงคลัง Q ปริมาณสินค้าในคลังสินค้า สินค้าคงคลัง จุดสั่งซื้อสินค้า (Reorder point) O จุดที่รับสินค้า จุดสั่งสินค้า จุดรับสินค้า Q T (เวลา) ช่วงเวลาก่อนสินค้ามาถึง (Lead time)
การสั่งซื้อมากครั้ง (5 ครั้ง/ปี) ทำให้มีสินค้าคงคลังน้อย เฉลี่ย Q ระยะเวลา 1 ปี t การสั่งซื้อมากครั้ง (5 ครั้ง/ปี) ทำให้มีสินค้าคงคลังน้อย สินค้าคงคลัง สินค้าเฉลี่ย Q ระยะเวลา 1 ปี t O 2 การสั่งซื้อน้อยครั้ง (2ครั้ง/ปี) ทำให้มีสินค้าคงคลังมาก
การคำนวณ Q : ปริมาณการสั่งซื้อในแต่ละครั้ง O : ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง(บาท) C : ค่าเก็บรักษาต่อหน่วย ต่อปี(บาท) D : ปริมาณการใช้ตลอดปี(หน่วย) P : ราคาสินค้าต่อหน่วย TC : ค่าใช้จ่ายรวมตลอดปี
จำนวนครั้งในการสั่งซื้อ (ครั้ง/ปี) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง (บาท/ปี) ปริมาณสินค้าเฉลี่ย หน่วย ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าต่อหน่วยต่อปี ค่าใช้จ่ายสำหรับตัวสินค้าแต่ละตัว (บาท/ปี) ค่าใช้จ่ายรวม (บาท/ปี) ปริมาณการสั่งซื้อในแต่ละครั้ง
ตัวอย่าง 10.3 โรงานผลิตรถจักรยานยนต์ยี่ห้อหนึ่งสั่งอะไหล่มาประกอบ เพื่อผลิตรถจักรยานยนต์ปีละ 45,000 ชิ้น ราคาชิ้นละ 60 บาท ต้นทุนในการสั่งซื้อต่อครั้งเท่ากับ 120 บาท ต้นทุนในการเก็บรักษาต่อปี 5 บาทต่อชิ้น จงหา 1. โรงงานแห่งนี้ควรซื้อครั้งละกี่ชิ้น 2. เมื่อสั่งซื้อตามข้อ 1. แล้ว จะสั่งซื้อกี่ครั้ง 3. เมื่อสั่งซื้อตามข้อ 1. แล้ว จะมีต้นทุนในการสั่งซื้อตลอดปี เป็นเงินเท่าใด 4. เมื่อสั่งซื้อตามข้อ 1. แล้ว จะมีต้นทุนในการเก็บรักษาตลอดปี เป็นเงินเท่าใด
จาก D : ปริมาณการใช้ตลอดปี 45000 ชิ้น O : ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง 120 บาท C : ค่าเก็บรักษาต่อหน่วยต่อปี 5 บาท Q : จำนวนครั้งในการสั่งซื้อเป็นหน่วยต่อครั้ง จะได้ ชิ้น
จำนวนครั้งในการสั่งซื้อแต่ละปี ครั้ง ต้นทุนในการสั่งซื้อตลอดปี Q X O = 30 X 120 = 3600 บาท ต้นทุนในการเก็บรักษาตลอดปี บาท
กรณี เมื่อทราบปริมาณการใช้และ ทราบ LT ที่ไม่แน่นอน ROP = (T X LT) + สินค้าสำรอง เมื่อ ROP : จุดสั่งซื้อสินค้า LT : LEAD Time T : ปริมาณการใช้ต่อวัน
กรณี รับวัตถุดิบล่าช้า จุดสั่งซื้อ ช่วงเวลาสินค้าปกติ ช่วงเวลาสินค้าขาดมือ ระดับการสั่งซื้อใหม่ ขนาดสินค้าขาดมือ
ช่วงเวลาสินค้าขาดมือ ระดับการสั่งซื้อใหม่ ตัวอย่าง 10.5 กิจกรรมของโรงงานหนึ่งต้องการใช้ไม้ยางพาราในการผลิตสินค้าวันละประมาณ 1,500 กิโลกรัม เมื่อสั่งยางพาราไปแล้วจะรับภายใน 3 วัน ดังนั้นเมื่อเกิดความ ไม่แน่นอนโรงงาน จึงสำรองยางพาราเอาไว้ 2,000 กิโลกรัม ROP = (T X LT) + สินค้าสำรอง = (1500 X 3) + 2000 = 6500 กิโลกรัม จุดสั่งซื้อ ช่วงเวลาสินค้าปกติ ช่วงเวลาสินค้าขาดมือ ระดับการสั่งซื้อใหม่ ขนาดสินค้าขาดมือ
การหาปริมาณการสั่งซื้อกรณีสินค้ามีส่วนลด ต้นทุน รวม (บาท) ปริมาณ TC TC1 TC2 TC3 EOQ Q1 Q2
ตัวอย่างที่ 10.7 โรงงานแห่งหนึ่งต้องการซื้อหลอดไฟปีละ 3,000 หลอด โรงงานที่จำหน่ายมีส่วนลดดังนี้ ขนาดที่ซื้อ ราคาต่อหน่วย ซื้อตั้งแต่ 1 – 799 หลอด ซื้อตั้งแต่ 800 – 1,199 หลอด ซื้อตั้งแต่ 1,200 หลอดขึ้นไป ราคาหลอดละ 15 บาท ราคาหลอดละ 10 บาท ราคาหลอดละ 8 บาท มีค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อครั้งละ 50 บาท มีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา 18 % ของราคาซื้อต่อหลอด ให้หาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมและต้นทุนรวมทั้งปี
วิธีทำ D. 3,000 หลอดต่อปี. O. 50 บาท. C วิธีทำ D 3,000 หลอดต่อปี O 50 บาท C 0.18 X ราคาสินค้าต่อหน่วย ขั้นตอนที่ 1 การหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมทุกช่วงการลดราคา EOQ (หลอดละ 15 บาท) หลอด EOQ (หลอดละ 10 บาท) หลอด EOQ (หลอดละ 8 บาท) หลอด
ขั้นตอนที่ 2 ปรับปริมาณการซื้อเป็นไปตามการซื้อที่แท้จริง ขั้นตอนที่ 2 ปรับปริมาณการซื้อเป็นไปตามการซื้อที่แท้จริง ช่วง 1 – 799 เป็น 334 หน่วย ช่วง 800 – 1,199 เป็น 800 หน่วย ช่วง 1,200 ขึ้นไป เป็น 1,200 หน่วย ขั้นตอนที่ 3 คำนวณหาต้นทุนปริมาณการสั่งซื้อ ต้นทุนรวม
ต้นทุนรวม(334 หลอด) ต้นทุนรวม(800 หลอด) ต้นทุนรวม(1200 หลอด)
สรุป จะเห็นว่าต้นทุนที่ต่ำสุดคือซื้อ >1,200 หลอด ซื้อตั้งแต่ ราคาต่อหน่วย ต้นทุนรวม 1 – 799 15 45,900 800 – 1199 10 30,907.50 มากกว่า 1200 8 24,989
การหาปริมาณการผลิตที่เหมาะสม จำนวนครั้งที่ผลิต เมื่อ P อัตราการผลิต D ปริมาณความต้องการ Q ปริมาณการผลิต U อัตราการใช้ต่อวัน S ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องจักรต่อครั้ง ระดับการผลิตที่เหมาะสม (Q p)
ระยะเวลาการใช้สินค้าที่เหมาะสม ระยะเวลาการใช้สินค้า = ปริมาณการผลิต(U)/อัตราการใช้(U) ระยะเวลาการผลิตสินค้าใหม่ = ปริมาณการผลิต(Q)/อัตราการผลิต(Q) ต้นทุนในการตั้งเครื่องจักร = จำนวนครั้งที่ผลิต X ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่อง ต่อ ครั้ง ต้นทุนในการติดตั้งเครื่อง
ตัวอย่าง โรงงานพลาสติกแห่งหนึ่งต้องการชิ้นส่วนในการประกอบสินค้าอย่างหนึ่งปีละ 46000 ชิ้น แต่ละชิ้นส่วนที่ต้องการนี้ โรงงานผลิตชิ้นส่วนได้เองวันละ 200 ชิ้น ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาชิ้นละ 5 บาทต่อปี และมีค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องจักรครั้งละ 10 บาทต่อชิ้น โดยที่ 1 ปีมีเวลาทำงาน 250 วัน จงคำนวณหา 1.จำนวนการผลิตที่เหมาะสม(Q) 2.ระยะเวลาในการใช้สินค้าที่เหมาะสม 3.ระยะเวลาในการผลิตที่เหมาะสม
เมื่อ D 46,000 ชิ้น Q ปริมาณการผลิต C 5 บาท/ชิ้น S 10 บาท P 200 ชิ้น U 46,000 ชิ้น/ปี (250 วัน ผลิตได้วันละ 184 ชิ้น) วิธีทำ 1. จำนวนการผลิตที่เหมาะสม ชิ้น
วิธีทำ 2. ระยะเวลาการใช้สินค้าที่เหมาะสม ระยะเวลาการใช้สินค้า วัน
วิธีทำ 3. ระยะเวลาการผลิตใหม่ที่เหมาะสม ระยะเวลาการผลิตสินค้าใหม่ วัน
สรุป สินค้าคงคลังหรือสินค้าคงเหลือ หมายถึง วัสดุที่มีรูปร่างของวัตถุดิบ วัสดุการผลิต อะไหล่เชื้อเพลิง สินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิต ตลอดทั้งสินค้าสำเร็จรูปที่ทางโรงงานเก็บไว้ในโกดัง หรือคลังสินค้า เพื่อรอการผลิต รวมซ่อมชำรุด หรือเพื่อรอจำหน่าย ในการบริหารสินค้าคงคลัง ผู้บริหารจะต้องกำหนดให้สินค้าคงคลังมีอยู่อย่างเหมาะสม หากโรงงานเก็บสินค้าคงคลังไว้มากเกินไปจะทำให้เกิดการสูญเสียในรูปดอกเบี้ย(ต้นทุนจม)
จบแล้วจ้า สวัสดีค่ะ