ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อม บทที่ 8 ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อม
หัวข้อ ความหมายและความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กาประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การบริหารจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
1.ความหมายและความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprise : SMEs) หมายถึง ธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชน เป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใด ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของบุคคล หรือธุรกิจอื่น มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ และมีพนักงานจำนวน ไม่มาก
1.ความหมายและความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ต่อ) ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจขนาดย่อม ช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมช่วยให้เกิดการ กระจายรายได้จากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ ไปสู่กลุ่มคนต่าง ๆ ทำให้เกิดการจ้างงานและประชาชน มี รายได้ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น ธุรกิจขนาดย่อม เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่เพราะความเจริญก้าวหน้าของ ธุรกิจขนาดย่อมทำ ให้ธุรกิจมั่นคงมียอดการผลิตที่สูงขึ้น และมีการนำเทคโนโลยี ที่สูงขึ้นมาใช้ในการผลิตซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นฐานไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดย่อม เป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่ ๆ เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลร่วมกันคิด และผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด โดยที่ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่กล้าเสี่ยง ต่อการลงทุน
ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อมทั่วไป ปริมาณยอดขายมีน้อย มีฝีมือและประสบการณ์ของตนเองในการบริการลูกค้า เนื่องจากเจ้าของเป็นผู้บริหารงานเอง จึงใช้ความสามารถส่วนตัวในการ บริหารงาน เช่น ช่างตัดเสื้อ นักออกแบบภายใน มีการบริการในลักษณะเป็นการส่วนตัว มีความสะดวก สามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการของท้องถิ่น มีแรงจูงใจสูง เมื่อประกอบธุรกิจของตนเอง เจ้าของจะต้องทำงานหนักและเสียสละมากกว่าการทำงานให้กับผู้อื่น เนื่องจากเป็นเจ้าของ ธุรกิจเอง จึงทำให้มีการดำเนินธุรกิจของตนเอง มีความคล่องตัวทางการบริหาร ธุรกิจขนาดเล็กสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้เร็วยิ่งขึ้น ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ เนื่องจากใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัวที่สามารถให้ผลผลิตมากกว่า แต่จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างที่จ่าย ให้กับ
2. ประเภทของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน (คน) สินทรัพย์ถาวร (ล้านบาท) กิจการการผลิต ไม่เกิน 50 51-200 เกินกว่า 50-200 กิจการการบริการ กิจการค้าส่ง ไม่เกิน 25 26-50 เกินกว่า 50-100 กิจการค้าปลีก ไม่เกิน 15 ไม่เกิน 30 16-30 เกินกว่า 30-60 เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกกิจการของ SMEs ว่าจะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม คือ มูลค่าชั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร จำนวนการจ้างงาน
3. กาประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเมินความพร้อมของตนเอง เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ มีความกล้าเสี่ยงต่อความสำเร็จ แสวงหาช่องทางในการประกอบธุรกิจ ศึกษาการตลาดในการประกอบธุรกิจ ใช้แบบสอบถาม จัดแบ่งหน้าที่การประกอบธุรกิจ เลือกรูปแบบการจดทะเบียนและฐานะในการประกอบธุรกิจ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล
3. กาประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ต่อ) แสดงความรับผิดชอบทางกฎหมายในการประกอบธุรกิจ การเสียภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม ประเมินเงินทุนในการประกอบธุรกิจ ทุนคงที่หรือทุนประจำ ทุนหมุนเวียน ประมาณรายได้ (กำไร) ประเมินความเป็นไปได้ก่อนลงมือประกอบธุรกิจ โดยการทำแผนธุรกิจ
การวิเคราะห์ด้านการตลาด การแข่งขันในตลาด เป็นการเปรียบเทียบกับคู่แข่งสินค้าประเภทเดียวกัน โดยอาจใช้หลัก SWOT SWOT เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรค จากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่อการทำงานขององค์กร SWOT มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ดังนี้ S มาจาก Strengths หมายถึง จุดแข็งซึ่งเป็นจุดเด่นของธุรกิจ W มาจาก Weaknesses หมายถึงจุดอ่อนที่เป็นข้อเสียเปรียบของธุรกิจ O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส คือปัจจัยที่เอื้อประโยชน์ให้ดำเนินธุรกิจ ได้ตามแผนการตลาดที่กำหนดไว้ T มาจาก Threats หมายถึง ปัญหาอุปสรรคที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
4. การบริหารจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเงินและการบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การวางแผนทางการเงิน การทำบัญชีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การตลาด สินค้าหรือบริการ แตกต่างและมีเอกลักษณ์ การกำหนดราคาที่เหมาะสม เลือกช่องทางการจัดจำหน่ายให้เหมาะสมกับสินค้า การวงแผนและบริหารความเสี่ยงด้วยการทำประกันภัย เช่น การประกันอัคคีภัย การประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง การประกันภัยเบ็ดเตล็ด การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
ตัวอย่าง SME “ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม” รถขายของเคลื่อนที่ เป็นทางเลือกที่ยอดนิยมสำหรับคนรุ่นใหม่ เพราะเราสามารถหาทำเลในการขายได้ ไม่ว่าจะเป็น หน้าโรงเรียน หน้า มหาวิทยาลัย ตามตลาดนัด หรืองานEvent เพื่อเดินทางหาลูกค้าไปได้ทุกตรอกซอกซอย ไม่ติดอยู่กับที่เกินไป ทำให้สร้างโอกาสในการ ขายและทำการตลาดได้มากขึ้นอีกด้วย สามารถเปลี่ยนกิจการต่างๆได้ทันทีจากร้านกาแฟเปลี่ยนไปขายสเต็ก ด้วยการใช้รถคันเดิม ข้อดีของ Food Truck 1.เปลี่ยนทำเลขายได้ง่าย 2.กินง่าย ขายสะดวก 3.ไม่เสียค่าเช่าร้าน 4.ธุรกิจมาแรงของคนรุ่นใหม่ 5.ควบคุมค่าใช้จ่ายในการลงทุนได้