การวางแผนกำลังการผลิต บทที่ 3 การวางแผนกำลังการผลิต
วัตถุประสงค์ของบทที่ 3 สามารถจำแนกความหมายและความสำคัญของกำลังการผลิตตามแผน และกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจริง สามารถอธิบายถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำลังการผลิต และปัญหาของกำลังการผลิตได้ ทราบถึงความสำคัญของการวางแผนกำลังการผลิต และจำแนกประเภทของการวางแผนกำลังการผลิต
กำลังการผลิต (Production Capacity) ความสามารถสูงสุดที่เครื่องจักรและปัจจัยการผลิตจะสามารถผลิตสินค้า หรือให้บริการได้ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยทั่วไป มีหน่วยเป็นปริมาณผลผลิตต่อช่วงเวลา เช่น ชิ้นต่อเดือน หรือครั้งต่อวัน
กำลังการผลิตตามแผน (Designed Capacity) ผลผลิตสูงสุดที่เป็นไปได้ภายใต้สภาวะการทำงานปกติ ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ไม่รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิต เช่น เครื่องจักรเสีย อุบัติเหตุ
กำลังการผลิตที่เกิดขึ้น (Effective Capacity) ผลผลิตสูงสุดที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อกำลังการผลิตเข้ามาเกี่ยวข้อง ความสามารถของพนักงาน คุณภาพของงาน โดยปกติ Effective Capacity < Designed Capacity
ผลผลิตที่ใช้ได้จริง (Actual / Operating Capacity) ผลผลิตที่ถูกต้องตามต้องการ ต่อหนึ่งช่วงเวลาที่กำหนด รวมถึงการตรวจสอบควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยปกติผลผลิตที่ใช้ได้จริงจะน้อยกว่าที่ประเมินไว้ เนื่องจากอาจมีความเสียหายในขั้นตอนการผลิตหรือถูกคัดออกในช่วงการควบคุมคุณภาพ
การวางแผนกำลังการผลิต (Capacity Planning) การวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อปริมาณความต้องการสินค้าในอนาคต และเตรียมพร้อมในการปรับปรุงกำลังการผลิตให้เหมาะสม
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำลังการผลิต ปัจจัยภายใน - บุคลากร วิธีการทำงาน เครื่องมืออุปกรณ์ ความสามารถในการบริหารงาน ปัจจัยภายนอก - กฎหมาย นโยบายของรัฐบาล มลภาวะ สภาพทางสังคม
ปัญหาของกำลังการผลิต กำลังการผลิตเท่าใดที่ธุรกิจต้องการ ความต้องการกำลังการผลิตเกิดขึ้นเมื่อใด กำลังการผลิตที่ต้องการจะเป็นประเภทใด จะใช้กำลังการผลิตนี้อย่างไร ที่ตั้งใดที่เหมาะสมกับการผลิตนั้นๆ
ตัวอย่างของกำลังการผลิตผลไม้กระป๋อง กำลังการผลิตเท่าใดที่ธุรกิจต้องการ ความต้องการของตลาด เช่น ตลาดผลไม้กระป๋องมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 10% -- บริษัทจะต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิตประมาณ …X หน่วย
ตัวอย่างของกำลังการผลิตผลไม้กระป๋อง ความต้องการกำลังการผลิตเกิดขึ้นเมื่อใด ความต้องการที่เพิ่มขึ้น จะมีอยู่ในช่วงต้นปีและปลายปี เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคมีมากขึ้น (โบนัส เงินปันผลวันหยุดเทศกาล) รวมทั้งชนิดของผลไม้สดมีน้อยกว่าช่วงฤดูฝน
ตัวอย่างของกำลังการผลิตผลไม้กระป๋อง กำลังการผลิตที่ต้องการจะเป็นประเภทใด ความต้องการสามารถแยกออกเป็นกี่ลักษณะ กระป๋องมีกี่ขนาด บรรจุกระป๋องอลูมิเนียมหรือพลาสติก
ตัวอย่างของกำลังการผลิตผลไม้กระป๋อง จะใช้กำลังการผลิตนี้อย่างไร ขั้นตอนการผลิตเป็นแบบไหน ใช้ระบบเดิมหรือเพิ่มเติม เวลางานปกติ ล่วงเวลา หรือเพิ่มกะ (Shift)
ตัวอย่างของกำลังการผลิตผลไม้กระป๋อง ที่ตั้งใดที่เหมาะสมกับการผลิตนั้นๆ ที่ตั้งบริเวณใดเหมาะสมในการเพิ่มกำลังการผลิต ที่ตั้งเครื่องจักรเพิ่ม หรือขยายโรงงานเพิ่ม ควรอยู่ใกล้ที่เดิมหรืออยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ
ขั้นตอนการตัดสินใจการวางแผนกำลังการผลิต สำรวจกำลังการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประมาณการความต้องการกำลังการผลิตในอนาคต หาหนทางเลือก เพื่อปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิต ประเมินทางเลือก เลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
1. สำรวจกำลังการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน การวัดกำลังการผลิตสามารถวัดได้โดย วัดจากผลผลิต (Output) ที่ผลิตสินค้า หรือสามารถนับผลผลิตได้ วัดจากปัจจัยนำเข้า (Input) ที่ให้บริการ หรือที่ไม่สามารถนับได้
ตัวอย่างการวัดกำลังการผลิต - ผลผลิต
ตัวอย่างการวัดกำลังการผลิต - ปัจจัยนำเข้า
2. ประมาณการความต้องการกำลังการผลิตในอนาคต ความต้องการระยะสั้น (Short Term Requirement) การพยากรณ์ความต้องการผลิตภัณฑ์ ความต้องการระยะยาว (Long Term Requirement) แผนการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ วัฏจักรผลิตภัณฑ์
วัฏจักรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycles)
3. หาหนทางเลือกเพื่อปรับปรุงกำลังการผลิต การตอบสนองความต้องการระยะสั้น โดยใช้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพื้นฐานกำลังการผลิตมาทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เงินทุน แรงงาน สินค้าคงเหลือ
3. หาหนทางเลือกเพื่อปรับปรุงกำลังการผลิต การตอบสนองความต้องการระยะยาว การขยายทรัพยากรสำหรับการผลิต - ขยายโรงงาน เพิ่มเครื่องจักร เพิ่มคลังเก็บสินค้า การสร้างทีละชุด การสร้าง 2 ชุดพร้อมกัน การว่าจ้างผู้ผลิตจากภายนอก (Outsourcing) และรักษากำลังการผลิตคงเดิม
4. การประเมินทางเลือก การวิเคราะห์ค่าของเงินปัจจุบัน (Net Present Value) การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-Even Analysis) ทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Making Analysis)
5. เลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด พิจารณาจาก หลักการสร้างกำไรสูงสุด (Maximum Profit) หลักการทำต้นทุนต่ำสุด (Minimum Cost)