บทที่ 4 หลักการบันทึกรายการทางบัญชี.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 4 สมุดบันทึกรายการขั้นต้น
Advertisements

การบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง
สมุดรายวันเฉพาะ (Special Journal)
10th Edition. CARL S. WARREN JAME M. REEVEJONATHAN E.DUCHAC.
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
บทที่ 3 วงจรบัญชี : การบันทึกบัญชี 2.
การวางแผนและจัดการทรัพยากรองค์กร
โครงการปรับปรุงระบบ Oracle Financial มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมุดบันทึกรายการขั้นต้น
โครงการปรับปรุงระบบ Oracle Financial มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การออกแบบโครงสร้างการทำบัญชีโดยการประยุกต์ใช้โปรแกรม EXCEL
การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างการสอนแบบร่วมมือ กับแบบทดลอง เรื่อง การทำงานของ หม้อแปลงไฟฟ้า รายวิชา หม้อ แปลงไฟฟ้า นักเรียนระดับปวช. 1 สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง.
ความเป็นมา การอ่านเป็นการศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ตามอัธยาศัยหรือตาม ความสนใจจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งผู้อ่านจะต้องมีความสนใจที่จะเข้ามา.
เงินสดและเงินลงทุน (Cash and Investment) Chapter 6 2.
วัฎจักรทางการบัญชี –ภาคจบ (THE ACCOUNTING CYCLE 2)
Principles of Accounting
กระบวนการทางการบัญชี บันทึก  สมุดรายวันขั้นต้น
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
LIABILITIES Chapter 10 2.
ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และรูปแบบรายงานการเงิน
ระบบสารสนเทศในหน่วยธุรกิจ
งบการเงินรวม 9/20/2018.
ระบบการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Payment System
สิ่งที่ร้านค้าควรทราบ
หลักการและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชี
การบัญชีเกี่ยวกับส่วนของผู้เป็นเจ้าของ(Accounting of Owners’ Equity)
Executive Presentation
Analyzing and Recording Business Transactions
Principles of Accounting
Principles of Accounting II
วิธีปฏิบัติทางบัญชี 1. การรับบริจาคเงินสด
การโอนกลับรายการ Reversing Entries
Principles of Accounting I
บัญชีเบื้องต้น 1 (Basis Accounting I)
Principles of Accounting II
ระบบการชำระเงินในอีคอมเมิร์ซ (Electronic Commerce Payment System)
Principles of Accounting II
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
การออกแบบระบบงาน (Conceptual Design)
การฝึกอบรม MU – ERP ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ (AP: Accounts Payable) วันที่ 25 เมษายน 2011 – 3 พฤษภาคม 2011 โครงการจ้างที่ปรึกษา พัฒนาและติดตั้งระบบงาน ERP.
การออกแบบระบบงาน (Conceptual Design)
Receivables AR (ระบบบัญชีลูกหนี้)
Principles of Accounting II
Principles of Accounting I
การพัฒนางานเภสัชกรรม
บทที่ 13 วงจรบัญชีแยกประเภททั่วไป
แนวทางการบริหารจัดการงานสอบบัญชี
กระบวนการปฏิบัติงานในวงจรรายได้ ประเภทที่ 2 กระบวนการปฏิบัติงานในวงจรรายได้สำหรับการขายสด พนักงานก็จำทำการบันทึกข้อมูลการรับชำระเงินค่าสินค้า โดยในขั้นตอนนี้แบ่งออกได้
การประเมินส่วนราชการ
การบริการพื้นฐานของห้องสมุด
จรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์.
ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax-W/T)
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
ระบบจำนวนจริง ข้อสอบ O-net
วิธีใช้ Google form สร้างแบบสอบถามออนไลน์.
โครงการบัตร SMART CARD อสม.
บทที่ 2 การเริ่มต้นกิจการใหม่และการซื้อกิจการ
เทคนิคการตรวจสอบกิจการ
การลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่น
ผังทางเดินเอกสาร – ระบบส่งคืนสินค้า
สรุปแนวปฎิบัติที่ส่วนงานควรทราบระบบบัญชีเจ้าหนี้(AP)
เก็บตกวันวาน “สานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน”
บทที่ 10 รายงานการเงินสำหรับกิจการที่ไม่หวังผลกำไร
Principles of Accounting I
ผลงานจ้างเหมาซ่อมบำรุงรักษาทางรถไฟและอื่นๆ ประจำปี 2560
เงินสดและการควบคุมเงินสด
Principles of Accounting I
Principles of Accounting I
DISTRIBUTIONS DERIVED FROM THE NORMAL DISTRIBUTION
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 4 หลักการบันทึกรายการทางบัญชี

วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกรายการทางบัญชี หมวดบัญชีสินทรัพย์ หมวดบัญชีหนี้สิน หมวดบัญชีส่วนของเจ้าของ หมวดบัญชีรายได้ หมวดบัญชีค่าใช้จ่าย

จากข้อความดังกล่าวข้างต้นสามารถแสดงได้ดังภาพที่ 4.1 สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย = + - สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย Dr Cr

ความหมายของคำว่ายอดดุลเดบิต และยอดดุลเครดิต ความหมายของคำว่ายอดดุลเดบิต และยอดดุลเครดิต ยอดดุลเดบิต (debit balance) หมายถึง ส่วนเกินของยอดรวมเดบิตจากยอดรวมเครดิต ยอดดุลเครดิต (credit balance) หมายถึง ส่วนเกินของยอดรวมเครดิตจากยอดรวมเดบิต

ผลการวิเคราะห์รายการค้า ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น วิธีการบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีคู่ และการแสดงยอดดุลหรือยอดคงเหลือของบัญชีแต่ละหมวดเป็นดังนี้ ตารางที่ 4.1 การแสดงยอดดุลหรือยอดคงเหลือ หมวดบัญชี ผลการวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกบัญชี ยอดดุล 1.สินทรัพย์ สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ด้านเดบิต สินทรัพย์ลดลง ด้านเครดิต 2.หนี้สิน หนี้สินเพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง 3.ส่วนของเจ้าของ ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ส่วนของเจ้าของลดลง 4.รายได้ รายได้เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง 5.ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง

Dr. หมวดบัญชีสินทรัพย์ Cr. การแสดงยอดดุลหรือยอดคงเหลือของบัญชีในแต่ละหมวด ซึ่งประกอบด้วย หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่ายปรากฎ ดังนี้ Dr. หมวดบัญชีสินทรัพย์ Cr. บันทึกรายการค้าที่ทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้น XX บันทึกรายการค้าที่ทำให้สินทรัพย์ลดลง XX XX

Dr. หมวดบัญชีส่วนของเจ้าของ Cr. บันทึกรายการค้าที่ทำให้หนี้สินลดลง XX บันทึกรายการค้าที่ทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้น XX XX Dr. หมวดบัญชีส่วนของเจ้าของ Cr. บันทึกรายการค้าที่ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง XX บันทึกรายการค้าที่ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น XX XX

Dr. หมวดบัญชีค่าใช้จ่าย Cr. บันทึกรายการค้าที่ทำให้รายได้ลดลง XX บันทึกรายการค้าที่ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น XX XX Dr. หมวดบัญชีค่าใช้จ่าย Cr. บันทึกรายการค้าที่ทำให้รายได้ลดลง XX บันทึกรายการค้าที่ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น XX XX

นางสาวกนกวรรณ นำเงินสด 300,000 บาทและอาคาร 500,000 บาท มาลงทุน ตัวอย่างที่ 4.1 นางสาว กนกวรรณ เปิดสำนักงานเพื่อให้บริการเกี่ยวกับการทำบัญชี “ ชื่อกนกวรรณการบัญชี ” โดยเริ่มกิจการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 25x1 รายการค้ามี ดังนี้ มกราคม 1 นางสาวกนกวรรณ นำเงินสด 300,000 บาทและอาคาร 500,000 บาท มาลงทุน 15 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสด 10,000 บาท กุมภาพันธุ์ ซื้ออุปกรณ์สำนักงานเป็นเงินเชื่อ 60,000 บาท มีนาคม ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินเชื่อ 5,000 บาท 31 กิจการส่งบิลเรียกเก็บเงินค่าบริการทำบัญชีจากลูกหนี้จำนวน 200,000 บาท แต่ยังไม่ได้รับชำระ เมษายน นางสาวกนกวรรณ ถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัวจำนวน 4,000 บาท

มิถุนายน 10 กิจการได้รับเงินชำระหนี้จากลูกหนี้เป็นเงินสด 100,000 บาท ซึ่งเป็นลูกหนี้ของวันที่ 31 มีนาคม 25x1 กรกฎาคม 25 จ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเงินสดจำนวน 3,000 บาท สิงหาคม 1 กิจการกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ 200,000 บาท นำฝากธนาคารทันที ธนาคารคิดดอกเบี้ย 6% ต่อปี กันยายน ซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็นเงินสด 60,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี ตุลาคม นางสาวกนกวรรณ ได้รับเงินสดค่าบริการทำบัญชีจากลูกค้าจำนวน 60,000 บาท กำหนดสัญญา 6 เดือน โดยได้บันทึกเป็นรายได้ พฤศจิกายน จ่ายค่าเบี้ยประกัน 18,000 บาท เป็นเงินสด 15 นำเงินสดฝากธนาคารจำนวน 50,000 บาท ธันวาคม ส่งบิลเรียกเก็บเงินจากลูกค้าเป็นเงิน 100,000 บาทยังไม่ได้รับชำระ 31 จ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นเงินสด 60,000 บาท

การวิเคราะห์รายการค้าและการบันทึกรายการทางบัญชีตามระบบบัญชีคู่ แสดงได้ ดังนี้ รายการค้า วันที่ 1 มกราคม 25x1 นางสาวกนกวรรณ นำเงินสด 300,000 บาท และอาคาร 500,000 บาท มาลงทุน การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 1 มกราคม มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์และส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น คือ (1) สินทรัพย์ประเภทเงินสดเพิ่มขึ้น (2) สินทรัพย์ประเภทอาคารเพิ่มขึ้น (3) ส่วนของเจ้าของประเภททุนเพิ่มขึ้น การบันทึกบัญชี ปรากฏผล ดังนี้ (1) เงินสดเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีเงินสดด้านเดบิต จำนวนเงิน 300,000 บาท (2) อาคารเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีอาคารด้านเดบิต จำนวนเงิน 500,000 บาท และ (3) ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีทุน – น.ส.กนกวรรณ ด้านเครดิต จำนวนเงิน 800,000 บาท

การแสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1 ม.ค. 1 เดบิต เงินสด 300,000 อาคาร 500,000 เครดิต ทุน - กนกวรรณ 800,000

การแสดงรายการบันทึกบัญชี รายการค้า วันที่ 15 มกราคม 25x1 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสด 10,000 บาท การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 15 มกราคม มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์เพิ่มขึ้นและลดลง คือ (1) สินทรัพย์ประเภทวัสดุสำนักงานเพิ่มขึ้น (2) สินทรัพย์ประเภทเงินสดลดลง การบันทึกบัญชี ปรากฏผล ดังนี้ (1) วัสดุสำนักงานเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีวัสดุสำนักงานด้านเดบิต จำนวนเงิน 10,000 บาท (2) เงินสดลดลง บันทึกบัญชีเงินสดด้านเครดิต จำนวนเงิน 10,000 บาท การแสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1 ม.ค. 1 เดบิต วัสดุสำนักงาน 10,000 เครดิต เงินสด

การแสดงรายการบันทึกบัญชี รายการค้า วันที่ 1 กุมภาพันธุ์ 25x1 ซื้ออุปกรณ์สำนักงานเป็นเงินเชื่อ 60,000 บาท การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 1 กุมภาพันธ์ มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์เพิ่มขึ้น และหนี้สินเพิ่มขึ้น คือ (1) สินทรัพย์ประเภทอุปกรณ์สำนักงานเพิ่มขึ้น (2) หนี้สินประเภทเจ้าหนี้เพิ่มขึ้น การบันทึกบัญชี ปรากฏผลดังนี้ (1) อุปกรณ์สำนักงานเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีอุปกรณ์สำนักงานด้านเดบิต จำนวนเงิน 60,000 บาท (2) เจ้าหนี้เพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีเจ้าหนี้ด้านเครดิต จำนวนเงิน 60,000 บาท การแสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1   ก.พ. 1 เดบิต อุปกรณ์สำนักงาน 60,000 เครดิต เจ้าหนี้

แสดงรายการบันทึกบัญชี รายการค้า วันที่ 15 มีนาคม 25x1 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินเชื่อ 5,000 บาท การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 15 มีนาคม มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์เพิ่มขึ้น และหนี้สินเพิ่มขึ้น คือ (1) สินทรัพย์ประเภทวัสดุสำนักงานเพิ่มขึ้น (2) หนี้สินประเภทเจ้าหนี้เพิ่มขึ้น การบันทึกบัญชี ปรากฏผล ดังนี้ (1) วัสดุสำนักงานเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีวัสดุสำนักงานด้านเดบิต จำนวนเงิน 5,000 บาท (2) เจ้าหนี้เพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีเจ้าหนี้ด้านเครดิต จำนวนเงิน 5,000 บาท แสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1 มี.ค. 15 เดบิต วัสดุสำนักงาน 5,000 เครดิต เจ้าหนี้

การแสดงรายการบันทึกบัญชี รายการค้า วันที่ 31 มีนาคม 25x1 กิจการส่งบิลเรียกเก็บเงินค่าบริการทำบัญชีจากลูกหนี้จำนวน 200,000 บาท แต่ยังไม่ได้รับชำระ การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 31 มีนาคม มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์เพิ่มขึ้นและรายได้เพิ่มขึ้น คือ (1) สินทรัพย์ประเภทลูกหนี้เพิ่มขึ้น (2) รายได้ประเภทรายได้เพิ่มขึ้น การบันทึกบัญชี ปรากฏผล ดังนี้ (1) ลูกหนี้เพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีลูกหนี้ด้านเดบิต จำนวนเงิน 200,000 บาท (2) รายได้เพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีรายได้ด้านเครดิต จำนวนเงิน 200,000 บาท การแสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1 มี.ค. 31 เดบิต ลูกหนี้ 200,000 เครดิต รายได้

รายการค้า วันที่ 15 เมษายน 25x1 นางสาวกนกวรรณถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัวจำนวน 4,000 บาท การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 15 เมษายน มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์ลดลงและส่วนของเจ้าของลดลง คือ (1) สินทรัพย์ประเภทเงินสดลดลง (2) ส่วนของเจ้าของประเภทถอนใช้ส่วนตัวลดลง การบันทึกบัญชี ปรากฏผล ดังนี้ (1) ถอนใช้ส่วนตัวลดลง บันทึกบัญชีถอนใช้ส่วนตัวด้านเดบิต จำนวนเงิน 4,000 บาท (2) เงินสดลดลง บันทึกบัญชีเงินสดด้านเครดิต จำนวนเงิน 4,000 บาท การแสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1 เม.ย. 15 เดบิต ถอนใช้ส่วนตัว 4,000 เครดิต เงินสด

25x1 มิ.ย. 10 เดบิต เงินสด 100,000 เครดิต รายการค้า วันที่ 10 มิถุนายน 25x1 กิจการได้รับเงินชำระหนี้จากลูกหนี้เป็นเงินสด 100,000 บาท ซึ่งเป็นลูกหนี้ของวันที่ 31 มีนาคม 25x1 การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 10 มิถุนายน มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์เพิ่มขึ้นและลดลง คือ (1) สินทรัพย์ประเภทเงินสดเพิ่มขึ้น (2) สินทรัพย์ประเภทลูกหนี้ลดลง การบันทึกบัญชี ปรากฏผล ดังนี้ (1) เงินสดเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีเงินสดด้านเดบิต จำนวนเงิน 100,000 บาท (2) ลูกหนี้ลดลง บันทึกบัญชีลูกหนี้ด้านเครดิต จำนวนเงิน 100,000 บาท การแสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1 มิ.ย. 10 เดบิต เงินสด 100,000 เครดิต

25x1 ก.ค. 25 เดบิต ค่าไฟฟ้า 3,000 เครดิต เงินสด

25x1 ส.ค. 1 เดบิต เงินฝากธนาคาร 200,000 เครดิต เจ้าหนี้เงินกู้

การแสดงรายการบันทึกบัญชี รายการค้า วันที่ 1 กันยายน 25x1 ซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็นเงินสด 60,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 1 กันยายน มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์เพิ่มขึ้นและลดลงคือ (1) สินทรัพย์ประเภทพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น (2) สินทรัพย์ประเภทเงินสดลดลง การบันทึกบัญชี ปรากฏผล ดังนี้ (1) พันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีพันธบัตรรัฐบาลด้านเดบิต 60,000 บาท (2) เงินสดลดลง บันทึกบัญชีเงินสดด้านเครดิต 60,000 บาท การแสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1 ก.ย. 1 เดบิต พันธบัตรรัฐบาล 60,000 เครดิต เงินสด

25x1 ต.ค. 1 เดบิต เงินสด 60,000 เครดิต รายได้

รายการค้า วันที่ 1 พฤศจิกายน 25x1 จ่ายค่าเบี้ยประกัน 18,000 บาท เป็นเงินสด การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 1 พฤศจิกายน มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์ลดลงและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น คือ (1) สินทรัพย์ประเภทเงินสดลดลง (2) ค่าใช้จ่ายประเภทค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น การบันทึกบัญชี ปรากฏผล ดังนี้ (1) ค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีค่าเบี้ยประกันด้านเดบิต 18,000 บาท (2) เงินสดลดลง บันทึกบัญชีเงินสดด้านเครดิต 18,000 บาท การแสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1 พ.ย. 1 เดบิต ค่าเบี้ยประกัน 18,000 เครดิต เงินสด

รายการค้า วันที่ 15 พฤศจิกายน 25x1 นำเงินสดฝากธนาคารจำนวน 50,000 บาท การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 15 พฤศจิกายน มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์เพิ่มขึ้นและลดลง คือ (1) สินทรัพย์ประเภทเงินฝากธนาคารเพิ่มขึ้น (2) สินทรัพย์ประเภทเงินสดลดลง การบันทึกบัญชี ปรากฏผล ดังนี้ (1) เงินฝากธนาคารเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีเงินฝากธนาคารด้านเดบิต จำนวนเงิน 50,000 บาท (2) เงินสดลดลง บันทึกบัญชีเงินสดด้านเครดิต จำนวนเงิน 50,000 บาท การแสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1 พ.ย. 15 เดบิต เงินฝากธนาคาร 50,000 เครดิต เงินสด

25x1 ธ.ค. 15 เดบิต ลูกหนี้ 100,000 เครดิต รายได้

รายการค้า วันที่ 31 ธันวาคม 25x1 จ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นเงินสด 60,000 บาท การวิเคราะห์ รายการค้า วันที่ 31 ธันวาคม มีผลทำให้บัญชีที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์ลดลงและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น คือ (1) สินทรัพย์ประเภทเงินสดลดลง (2) ค่าใช้จ่ายประเภทเงินเดือนเพิ่มขึ้น การบันทึกบัญชี ปรากฏผล ดังนี้ (1) เงินเดือนเพิ่มขึ้น บันทึกบัญชีเงินเดือนด้านเดบิต จำนวนเงิน 60,000 บาท (2) เงินสดลดลง บันทึกบัญชีเงินสดด้านเครดิต จำนวนเงิน 60,000 บาท การแสดงรายการบันทึกบัญชี 25x1 ธ.ค. 31 เดบิต เงินเดือน 60,000 เครดิต เงินสด

สมุดบันทึกรายการขั้นต้น สมุดบันทึกรายการขั้นต้น (book of original entry) หรือสมุดรายวัน (journal) เป็นสมุดบัญชีที่ใช้จดบันทึกผลจากการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้น โดยเรียงลำดับตามการเกิดรายการก่อนหลัง

ประเภทของสมุดบันทึกรายการขั้นต้น 1. สมุดรายวันเฉพาะ สมุดรายวันเฉพาะ (special journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยรายการค้านั้นจะต้องเกิดขึ้นเป็นประจำบ่อย ๆ และมีจำนวนรายการมาก 1.1 สมุดเงินสด (cash journal) 1.2 สมุดรายวันรับเงิน (cash receipts journal) 1.3 สมุดรายวันจ่ายเงิน (cash payment journal) 1.4 สมุดรายวันซื้อ (purchases journal) 1.5 สมุดรายวันขาย (sales journal) 1.6 สมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด (purchases return and allowances journal) 1.7 สมุดรายวันรับคืนและส่วนลด (sales return and allowances journal)

ชื่อบัญชีและคำอธิบายรายการ 2. สมุดรายวันทั่วไป สมุดรายวันทั่วไป (general journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าต่าง ๆ ซึ่งไม่อาจบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะได้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า .... วันที่ ชื่อบัญชีและคำอธิบายรายการ เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต

สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 วันเดือนปี รายการ เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต ตัวอย่างที่ 4.2 จากข้อมูลของรายการค้าในตัวอย่างที่ 4.1 สามารถแสดงการบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไปได้ ดังตาราง สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 วันเดือนปี รายการ เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต 25x1 1 เงินสด 111 300,000 - ม.ค. อาคาร 121 500,000   ทุน – กนกวรรณ 311 800,000 เจ้าของกิจการนำสินทรัพย์มาลงทุน 15 วัสดุสำนักงาน 114 10,000 ซื้อวัสดุสำนักงานจ่ายเป็นเงินสด

สมุดรายวันทั่วไป วันเดือนปี รายการ เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต หน้า 1 วันเดือนปี รายการ เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต ก.พ. 1 อุปกรณ์สำนักงาน 122 60,000 -   เจ้าหนี้ 211 ซื้ออุปกรณ์สำนักงานเป็นเงินเชื่อ มี.ค. 15 วัสดุสำนักงาน 114 5,000 25x1 31 ลูกหนี้ 113 200,000 รายได้ค่าทำบัญชี 411 ส่งบิลเรียกเก็บเงินจากลูกค้ายังไม่ได้รับชำระ

สมุดรายวันทั่วไป วันเดือนปี รายการ เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต หน้า 1 วันเดือนปี รายการ เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต เม.ย. 15 ถอนใช้ส่วนตัว 312 4,000 -   เงินสด 111 ถอนเงินไปใช้ส่วนตัว มิ.ย. 10 100,000 ลูกหนี้ 113 ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เป็นเงินสด ก.ค. 25 ค่าไฟฟ้า 511 3,000 จ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเงินสด

สมุดรายวันทั่วไป วันเดือนปี รายการ เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต หน้า 1 วันเดือนปี รายการ เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต ส.ค. 1 เงินฝากธนาคาร 112 200,000 -   เจ้าหนี้เงินกู้ 221 กิจการกู้เงินจากธนาคาร ก.ย. พันธบัตรรัฐบาล 123 60,000 เงินสด 111 ซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็นเงินสด ต.ค. รายได้ค่าทำบัญชี 411 ได้รับค่าทำบัญชีเป็นเงินสด พ.ย. ค่าเบี้ยประกัน 512 18,000

สมุดรายวันทั่วไป วันเดือนปี รายการ เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต หน้า 1 วันเดือนปี รายการ เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต 25x1   พ.ย. 15 เงินฝากธนาคาร 112 50,000 - เงินสด 111 ธ.ค. ลูกหนี้ 113 100,000 รายได้ค่าทำบัญชี 411 ส่งบิลเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ยังไม่ได้รับชำระ 31 เงินเดือน 513 60,000

ประโยชน์ของสมุดบันทึกรายการขั้นต้น 1. สามารถบันทึกรายการค้าได้ครบถ้วน 2. สามารถตรวจสอบได้ว่ารายการค้าต่าง ๆ 3. สามารถตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกรายการ 4. สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน 5. สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย 6. สามารถแบ่งแยกหน้าที่การบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในสมุดรายวันเฉพาะหรือสมุดรายวันทั่วไป 7. สามารถสรุปผลการวิเคราะห์รายการค้าเพื่อบันทึกรายการทางบัญชีด้านเดบิตและด้านเครดิตได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

สมุดบันทึกรายการขั้นปลาย สมุดบันทึกรายการขั้นปลายหรือบัญชีแยกประเภท (ledger) เป็นสมุดบัญชีที่ใช้จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นโดยแยกแต่ละรายการไว้เป็นหมวดหมู่ ประเภทของสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย 1. สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย เป็นสมุดบัญชีที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบรายละเอียดของข้อมูลทางการเงินมากขึ้น 2. สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป เป็นสมุดขั้นปลาย เป็นสมุดบัญชีของกิจการที่จัดทำขึ้นต่อจากสมุดบัญชีขั้นต้นเพราะเป็นการรวบรวมข้อมูลของบัญชีแยกประเภทที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นการแสดงการเคลื่อนไหวของจำนวนเงินในแต่ละบัญชีว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง

2.1 บัญชีแบบมาตรฐาน (standard account form) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบัญชีรูปตัวที (T – account) ชื่อบัญชี เลขที่ …. วันที่ รายการ หน้าบัญชี เดบิต เครดิต

2.2 บัญชีแบบแสดงยอดคงเหลือ (balance account form) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัญชีแบบ 3 ช่อง (three – column account form) เป็นบัญชีแยกประเภทที่มีลักษณะเป็น 3 ช่อง โดยแบ่งออกเป็นช่องเดบิต ช่องเครดิต และช่องยอดคงเหลือ ชื่อบัญชี เลขที่ ….. วันที่ รายการ หน้าบัญชี เดบิต เครดิต คงเหลือ

การผ่านรายการบัญชี การผ่านรายการบัญชีเป็นการนำรายการค้าที่จดบันทึกไว้ในสมุดบันทึกรายการขั้นต้นไปบันทึกไว้อีกครั้งในบัญชีแยกประเภททั่วไป เพื่อหายอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภทนั้น โดยจะต้องมีการอ้างอิงถึงที่มาของบัญชีแยกประเภทนั้น

ชื่อบัญชีและคำอธิบายรายการ ตัวอย่างที่ 4.3 วันที่ 1 มกราคม 25x1 นางสาวกนกวรรณ นำเงินสด 300,000 บาท มาลงทุน การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป และผ่านรายการมายังบัญชีแยกประเภททั่วไปแสดง ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้าที่ 1 วันเดือนปี ชื่อบัญชีและคำอธิบายรายการ เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต 25X1 1  เงินสด 111  300,000    ม.ค. ทุน-กนกวรรณ 311 300,000 - น.ส.กนกวรรณนำเงินสดมาลงทุน เงินสด เลขที่ 111 รายการ หน้าบัญชี 25x1 ม.ค. รว.1 ทุนกนกวรรณ เลขที่ 311 เงินสด

ตัวอย่างที่ 4.4 จากการบันทึกรายการบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปของตัวอย่างที่ 4.2 สามารถแสดงการผ่านรายการบัญชีไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้องครบทุกรายการค้าที่เกิดขึ้น สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x1 ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท ดังนี้ เงินสด เลขที่ 111 วัน เดือนปี รายการ หน้าบัญชี เดบิต เครดิต 25x1   ม.ค. 1 ทุน - กนกวรรณ รว.1 300,000 - 15 วัสดุสำนักงาน 10,000 มิ.ย. 10 ลูกหนี้ 100,000 เม.ย. ถอนใช้ส่วนตัว 4,000 ต.ค. รายได้ 60,000 ก.ค. 25 ค่าไฟฟ้า 3,000 460,000 ก.ย. พันธบัตรรัฐบาล พ.ย. ค่าเบี้ยประกัน 18,000 255,000 เงินฝากธนาคาร 50,000 ธ.ค. 31 เงินเดือน 205,000

เงินฝากธนาคาร เลขที่ 112 วัน เดือนปี รายการ หน้าบัญชี เดบิต เครดิต 25x1   ส.ค. 1 เจ้าหนี้เงินกู้ รว.1 200,000 - พ.ย. 15 เงินสด 50,000 250,000 ลูกหนี้ เลขที่ 112 มี.ค. 31 รายได้ มิ.ย. 10 100,000 ธ.ค. 300,000

วัสดุสำนักงาน เลขที่ 114 วันเดือนปี รายการ หน้าบัญชี เดบิต เครดิต 25x1   ม.ค. 15 เงินสด รว.1 10,000 - มี.ค. เจ้าหนี้ 5,000 15,000 อาคาร เลขที่ 121 ทุน - กนกวรรณ 1 500,000

อุปกรณ์สำนักงาน เลขที่ 122 วันเดือนปี รายการ หน้าบัญชี เดบิต 25x1   ก.พ. 1 เจ้าหนี้ รว.1 60,000 -    พันธบัตรรัฐบาล เลขที่ 123 ก.ย. เงินสด

เจ้าหนี้ หน้าทื่ 211 วันเดือนปี รายการ หน้าบัญชี เดบิต เครดิต 25x1   1 ก.พ. อุปกรณ์ รว.1 60,000 - มี.ค. 15 วัสดุสำนักงาน 5,000 65,000 เจ้าหนี้เงินกู้ หน้าที่ 221 ส.ค. เงินฝากธนาคาร 200,000

ทุน – น.ส.กนกวรรณ หน้าที่ 311 วันเดือนปี รายการ หน้าบัญชี เดบิต 25x1   ม.ค. 1 เงินสด รว.1 300,000 - อาคาร 500,000 800,000 ถอนใช้ส่วนตัว หน้าที่ 312 เม.ย. 15 4,000

รายได้ เลขที่ 411 วันเดือนปี รายการ หน้าบัญชี เดบิต 25x1   1 มี.ค. 31 ลูกหนี้ รว.1 200,000 ต.ค. เงินสด 60,000 ธ.ค. 15 100,000 ค่าไฟฟ้า เลขที่ 511 ก.ค. 25 3,000 -  3,000

ค่าเบี้ยประกัน เลขที่ 512 วันเดือนปี รายการ หน้าบัญชี เดบิต เครดิต 25x1   พ.ย. 1 เงินสด รว.1 18,000 - เงินเดือน เลขที่ 513 ธ.ค. 31 60,000

การหายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภท การหายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภท (account balance) เป็นการคำนวณหายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทแต่ละบัญชีด้วยดินสอ เรียกว่า pencil footing 1. รวมจำนวนเงินทางด้านเดบิต 2. รวมจำนวนเงินทางด้านเครดิต 3. คำนวณหาผลต่างของระหว่างผลรวมทางด้านเดบิตกับเครดิต 3.1 กรณีที่ผลรวมทางด้านเดบิตมากว่าผลรวมทางด้านเครดิต เรียกว่า ยอดคงเหลือทางด้านเดบิตหรือยอดดุลเดบิต (debit balance) 3.2 กรณีผลรวมทางด้านเครดิตมากกว่าผลรวมทางด้านเดบิต เรียกว่ายอดคงเหลือทางด้านเครดิตหรือยอดดุลเครดิต (credit balance)

ประโยชน์ของสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย การบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นทุกรายการของแต่ละวันแล้ว ผ่านไปสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปหรือสมุดบัญชีแยกประเภทย่อยมีประโยชน์ต่อกิจการดังนี้ 1. สามารถตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกรายการก่อนการจัดทำงบทดลองและงบการเงิน 2. สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงจาก การบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทที่เกิดขึ้นในแต่ละวันครบทุกรายการ 3. สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย การบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นโดยเรียงลำดับของการเกิดรายการก่อนหลังไว้ในสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย 4. สามารถแบ่งแยกหน้าที่การบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปหรือสมุดบัญชีแยกประเภทย่อย

งบทดลอง งบทดลอง (trial balance) สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (2538, หน้า t–2) ได้ให้ความหมายไว้ว่า งบทดลอง คือ รายงานที่แสดงยอดคงเหลือของบัญชี แยกประเภททั่วไปทุกบัญชีของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อแสดงว่าการบันทึกรายการบัญชีทั้งด้านเดบิตและเครดิตของบัญชีต่าง ๆ เป็นไปตามระบบบัญชีคู่ ซึ่งจะเป็นการช่วยในการจัดทำงบการเงินแต่ละงวด

รูปแบบของงบทดลอง โดยบัญชีแยกประเภทจะต้องประกอบด้วยหมวดบัญชี 5 หมวด ได้แก่ หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย งบทดลองประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1. ส่วนหัวกระดาษของงบทดลอง 1.1 หัวกระดาษ (heading) ของงบทดลอง ประกอบด้วย 1.2 บรรทัดที่ 1 ชื่อกิจการ 1.3 บรรทัดที่ 2 ชื่องบทดลอง 1.4 บรรทัดที่ 3 วัน เดือน ปี จัดทำงบทดลอง 1.5 บรรทัดที่ 4 สกุลเงินที่จัดทำในงบทดลอง

2. ส่วนการจัดเรียงตามประเภทบัญชี 2. 1 ช่องชื่อบัญชี 2 2. ส่วนการจัดเรียงตามประเภทบัญชี 2.1 ช่องชื่อบัญชี 2.2 ช่องเลขที่บัญชี 2.3 ช่องเดบิตและเครดิต 2.4 ในการเขียนจำนวนเงินตามยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภท 2.5 รวมจำนวนเงินในช่องเดบิตและช่องเครดิต 2.6 ขีดเส้นเดี่ยวและเส้นคู่ใต้ผลรวม

รูปแบบของงบทดลอง แสดงดังนี้ ชื่อกิจการ งบทดลอง ณ วันที่ ...................... หน่วย : บาท ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต

ตัวอย่างที่ 4.5 การจัดทำงบทดลองของ “กนกวรรณการบัญชี” โดยการนำยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ จากตัวอย่างที่ 4.4 มาจัดทำได้ ดังนี้ กนกวรรณการบัญชี งบทดลอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x1 หน่วย: บาท ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต เงินสด 111 255,000 เงินฝากธนาคาร 112 250,000 ลูกหนี้ 113 200,000 วัสดุสำนักงาน 114 15,000 พันธบัตรรัฐบาล 123 60,000

กนกวรรณการบัญชี งบทดลอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x1 หน่วย: บาท ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต เจ้าหนี้ 211   65,000 เจ้าหนี้เงินกู้ 221 200,000 ทุน – กนกวรรณ 311 800,000 ถอนใช้ส่วนตัว 312 4,000 รายได้ค่าบริการ 411 360,00 ค่าไฟฟ้า 511 3,000 ค่าเบี้ยประกัน 512 18,000 เงินเดือน 513 60,000 1,425,000

ข้อผิดพลาดที่ทำให้งบทดลองไม่ลงตัว 1. การบันทึกรายการค้าแต่ละรายการมีจำนวนเงินด้านเดบิตและด้านเครดิตไม่เท่ากัน 2. คำนวณหายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทไม่ถูกต้อง 3. บันทึกยอดคงเหลือในงบทดลองผิดด้าน 4. คำนวณหาผลรวมในงบทดลองไม่ถูกต้อง 5. สาเหตุอื่น ๆ การตรวจสอบและค้นหาจากงบทดลอง มีลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. การหาข้อผิดพลาดจากงบทดลอง 2. การหาข้อผิดพลาดจากบัญชีแยกประเภท 3. การหาข้อผิดพลาดในสมุดรายวันทั่วไป

ประโยชน์ของงบทดลอง เพื่อช่วยพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกรายการทางบัญชีตามระบบบัญชีคู่ เพื่อช่วยป้องกันความผิดพลาดของการบันทึกบัญชี เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ช่วยทำให้เกิดความสะดวกต่อการจัดทำงบการเงิน

การจัดทำงบการเงิน เมื่อกิจการได้จัดทำงบทดลองถูกต้องแล้ว หากกิจการไม่มีการปรับปรุงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดรายการทางบัญชี ก็สามารถนำข้อมูลจากงบทดลองมาจัดทำงบการเงินซึ่ง ได้แก่ งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน ดังตัวอย่างที่ 4.6 และตัวอย่างที่ 4.7 ดังนี้

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 ตัวอย่างที่ 4.6 การจัดทำงบกำไรขาดทุน ของ “กนกวรรณการบัญชี” โดยการนำยอดคงเหลือในบัญชีต่าง ๆ ของงบทดลอง จากตัวอย่างที่ 4.5 มาจัดทำแสดงได้ ดังนี้ กนกวรรณการบัญชี งบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 รายได้ หน่วย: บาท รายได้ค่าบริการ 360,000 รวมรายได้ หัก ค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้า 3,000 ค่าเบี้ยประกัน 18,000 เงินเดือน 60,000 รวมค่าใช้จ่าย 81,000 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 279,000

กนกวรรณการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 หน่วย: บาท ตัวอย่างที่ 4.7 การจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน ของ “กนกวรรณการบัญชี” โดยการนำยอดคงเหลือของบัญชีต่าง ๆ ของงบทดลอง จากตัวอย่างที่ 4.5 และงบกำไรขาดทุนจากตัวอย่างที่ 4.6 มาจัดทำแสดงได้ ดังนี้ กนกวรรณการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 หน่วย: บาท สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสด 255,000 เงินฝากธนาคาร 250,000 ลูกหนี้ 200,000 วัสดุสำนักงาน 15,000 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 720,000

กนกวรรณการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 หน่วย:บาท สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน อาคาร 500,000 อุปกรณ์สำนักงาน พันธบัตรรัฐบาล 60,000 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 620,000 รวมสินทรัพย์ทั้งสิน 1,340,000

หนี้สินและส่วนของเจ้าของ หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้ 65,000 หนี้สินไม่หมุนเวียน เจ้าหนี้เงินกู้ 200,000 รวมหนี้สิน 265,000 ส่วนของเจ้าของ ทุน – กนกวรรณ 800,000 บวก กำไรสุทธิ 279,000 1,079,000 หัก ถอนใช้ส่วนตัว 4,000 1,075,000 รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ 1,340,000 จากตัวอย่างที่ 4.6 และตัวอย่างที่ 4.7 สามารถแสดงความสัมพันธ์ของงบกำไรขาดทุนกับงบแสดงฐานะการเงินของสำนักงานทำบัญชีกนกวรรณการบัญชี โดยย่อได้ ดังตัวอย่างที่ 4.8

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 หน่วย: บาท ตัวอย่างที่ 4.8 การแสดงความสัมพันธ์ของงบกำไรขาดทุน กับงบแสดงฐานะการเงิน ของ “สำนักงานทำบัญชีกนกวรรณ” โดยแสดงรายการอย่างย่อ ดังนี้ กนกวรรณการบัญชี งบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 หน่วย: บาท รายได้ 360,000 ค่าใช้จ่าย 81,000 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 279,000 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียนรวม 720,000 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนรวม 620,000 รวมสินทรัพย์ 1,340,000

หนี้สินและส่วนของเจ้าของ หนี้สินหมุนเวียนรวม 65,000 หนี้สินไม่หมุนเวียนรวม 200,000 รวมหนี้สิน 265,000 ส่วนของเจ้าของ ทุน – กนกวรรณ 800,000 บวก กำไรสุทธิ (มาจากงบกำไรขาดทุน) 279,000 1,079,000 หัก ถอนใช้ส่วนตัว 4,000 รวมส่วนของเจ้าของ 1,075,000 รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ 1,340,000

สรุป การบันทึกรายการทางบัญชี จะวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มขึ้นหรือลดลงของหมวดบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย สมุดบันทึกรายการขั้นต้น เป็นสมุดบัญชีที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นโดยเรียงลำดับตามเหตุการณ์เกิดของรายการก่อนหลังโดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมุดรายวันเฉพาะและสมุดรายวันทั่วไป สมุดบันทึกรายการขั้นปลายหรือสมุดบัญชีแยกประเภท เป็นสมุดบัญชีที่ใช้จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้น โดยแยกแต่ละรายการไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมุดบัญชีแยกประเภทย่อยและสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป การผ่านรายการบัญชี เป็นการนำเอารายการที่ปรากฏในสมุดรายวันผ่านไปบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้องและมีการอ้างอิงที่มาของรายการนั้น ๆ ยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภทหมายถึงผลต่างของยอดรวมทางด้านเดบิตและ ด้านเครดิตถ้ายอดรวมทางด้านเดบิตมากกว่าเครดิตผลต่างคือยอดคงเหลือทางด้านเดบิตหรือยอดดุลเดบิตและในทางตรงกันข้ามถ้ายอดรวมทางด้านเครดิตมากกว่าเดบิตผลต่างคือยอดคงเหลือทางด้านเครดิตหรือยอดดุลเครดิตและในการหายอดคงเหลือจะรวมยอดด้วยดินสอ (pencil footing) งบทดลองเป็นงบที่จัดทำขึ้นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีคู่

แบบฝึกหัดทบทวน 1. จงอธิบายถึงการบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีคู่ของแต่ละหมวดบัญชี 2. จงอธิบายความหมายของคำว่า ยอดดุลเดบิต และยอดดุลเครดิต 3. สมุดบันทึกรายการขั้นต้นและสมุดบันทึกรายการขั้นปลายมีกี่ประเภทอะไรบ้าง 4. สมุดบันทึกรายการขั้นต้นและสมุดบันทึกรายการขั้นปลายมีประโยชน์อย่างไร 5. จงอธิบายถึงขั้นตอนของการผ่านรายการบัญชีไปบัญชีแยกประเภท 6. จงบอกถึงวิธีการหายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภท 7. งบทดลอง จัดทำขึ้นเพื่ออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง 8. นายมานิต ได้เปิดสำนักงานเป็นนายหน้าติดต่องานให้ลูกค้า ชื่อ “มานิตบริการ” เมื่อ 1 มกราคม 25X1 รายการค้าระหว่างเดือนมกราคม 25X1 มีดังนี้

25x1 มกราคม 1 นายมานิตนำเงินสด จำนวน 150,000 บาท และเครื่องตกแต่ง จำนวน 15,000 บาท มาลงทุน 2 รับเงินค่าบริการเป็นเงินสด จำนวน 20,500 บาท 5 จ่ายค่าเช่าสำนักงานเป็นเงินสด จำนวน 3,000 บาท 7 ซื้อเครื่องใช้สำนักงานจากร้านรักชาติพาณิชย์เป็นเงินเชื่อ จำนวน 20,000 บาท 9 กิจการส่งบิลไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้ายังไม่ได้รับชำระเป็นจำนวนเงิน 6,000 บาท 13 ส่งบิลเรียกเก็บเงินจากลูกค้าจำนวน 10,000 บาท ได้รับเป็นเงินสด 15 ชำระหนี้ให้ร้านรักชาติพาณิชย์ เป็นเงินสด จำนวน 5,000 บาท 18 ซื้อวัสดุสำนักงานจากร้านมานัสเป็นเงิน จำนวน 6,000 บาท โดยจ่ายเป็น เงินสด 1,000 บาท ที่เหลือจะชำระภายหลัง 21 รับเงินค่าบริการเป็นเงินสด จำนวน 9,000 บาท

24 นำเงินสดฝากธนาคาร 50,000 บาท 27 จ่ายค่าโฆษณาเป็นเงินสด จำนวน 2,000 บาท 29 จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์เป็นเงินสด จำนวน 1,500 บาท 31 จ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นเงินสด จำนวน 18,000 บาท ให้ทำ บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในสมุดรายวันทั่วไป 9. นางสาวพรสุดาประกอบธุรกิจรับซ่อมรถยนต์ ชื่อร้าน “พรสุดาบริการ” โดยเริ่มกิจการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 25X1 รายการค้าในระหว่างเดือน กรกฎาคม 25X1 มีดังนี้ 25X1 กรกฎาคม 1 นางสาวพรสุดานำเงินสด จำนวน 200,000 บาท อุปกรณ์ในการซ่อมรถจำนวน 50,000 บาท เครื่องมือในการซ่อมรถ จำนวน 10,000 บาท มาลงทุน 3 ซื้ออุปกรณ์ในการซ่อมรถเพิ่มราคา 30,000 บาท จ่ายเป็น เงินสด จำนวน 10,000 บาท จากร้านเอสบริการที่เหลือชำระภายหลัง

5 จ่ายค่าเช่าร้านเป็นเงินสด จำนวน 5,000 บาท 7 ซื้อรถยนต์ราคา 300,000 บาท จ่ายเงินสด จำนวน 100,000 บาท ที่เหลือขอผ่อนชำระหนี้เป็น งวด ๆ ละ 10,000 บาท 9 นายพรชัย กู้เงินจากธนาคารกรุงเทพฯ มาใช้ในร้านจำนวน 200,000 บาท 11 จ่ายค่าประกันเป็นเงินสด จำนวน 5,000 บาท 13 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงิน 2,000 บาท 15 ชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ที่ซื้อมาวันที่ 3 กรกฎาคม เป็นเงินสด จำนวน 10,000 บาท 17 รับเงินค่าซ่อมรถเป็นเงินสด จำนวน 40,000 บาท 19 ซื้อเครื่องมือในการซ่อมเครื่องไฟฟ้าเป็นเงินเชื่อราคา 16,900 บาท 21 จ่ายเงินสดชำระหนี้ร้านเอสบริการทั้งหมด 23 ส่งบิลเรียกเก็บเงินจากนายดนุพล เป็นค่าซ่อมรถ จำนวน 45,000 บาท แต่ยังไม่ได้รับชำระเงิน

24 นำเงินสดฝากธนาคาร 100,000 บาท 25 นางสาวพรสุดาถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว จำนวน 5,000 บาท 26 กิจการกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 100,000 บาท นำฝากธนาคาร 28 ได้รับชำระหนี้จากลูกค้าที่ส่งบิลไปเรียกเก็บเงินในวันที่ 28 กรกฎาคม ทั้งหมด และนำฝากธนาคารทันที 29 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินเชื่อ 1,500 บาท 30 จ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเงินสด จำนวน 4,000 บาท 31 จ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นเงินสด จำนวน 15,000 บาท

ให้ทำ บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในสมุดรายวันทั่วไป 10 ให้ทำ บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในสมุดรายวันทั่วไป 10. นายนิวัต เปิดกิจการให้เช่ารถชื่อร้าน “นิวัตบริการ” โดยเริ่มดำเนินกิจการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 25X1 โดยนำสินทรัพย์ต่าง ๆ มาลงทุน ได้แก่ เงินสด 200,000 บาท อุปกรณ์สำนักงาน 20,000 บาท อาคาร 400,000 บาท รถยนต์ 700,000 บาทรายการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคม 25X1 มีดังต่อไปนี้ 25X1 มกราคม 2 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสด จำนวน 4,000 บาท 5 ซื้ออุปกรณ์สำนักงานเป็นเงินเชื่อจากร้านสายสมรการค้า จำนวน 26,000 บาท 9 ได้รับค่าบริการเป็นเงินสด จำนวน 20,000 บาท 11 จ่ายค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดเป็นเงินสด จำนวน 1,000 บาท 13 ส่งบิลเรียกเก็บเงินค่าบริการจากนายวันชัย จำนวน 30,000 บาท แต่ยังไม่ได้รับเงิน 15 ซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็นเงินสด 30,000 บาท

17 ชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ที่ซื้อมาเมื่อวันที่ 5 มกราคม เป็นเงินสด จำนวน 10,000 บาท 19 ส่งบิลเรียกเก็บเงินค่าบริการจากนายสมรัก จำนวน 50,000 บาท ได้รับเป็นเช็คนำฝากธนาคารทันที 22 จ่ายค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดเป็นเงินสด จำนวน 1,000 บาท 24 จ่ายค่าพาหนะเป็นเงินสด จำนวน 1,000 บาท 25 นำเงินฝากธนาคาร 30,000 บาท 27 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสดจำนวน 5,000 บาท 28 นายนิวัตถอนเงินสดออกไปใช้ส่วนตัว จำนวน 3,000 บาท 29 ชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ที่ซื้อมาเมื่อวันที่ 5 มกราคม ทั้งหมด 30 จ่ายค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์เป็นเงินสด จำนวน 1,000 บาท 31 จ่ายเงินเดือนเป็นเงินสด จำนวน 9,000 บาท

ให้ทำ 10. 1 บันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป 10 ให้ทำ 10.1 บันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป 10.2 ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง 10.3 หายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทด้วยดินสอ 10.4 กำหนดเลขที่บัญชีของบัญชีแยกประเภทตามความเหมาะสม 11. นางสาวสิตาลัย เปิดกิจการเป็นนายหน้าจัดหาบ้านเช่าชื่อ “สิตาลัยบริการ” โดยเริ่มดำเนินกิจการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 25X1 โดยนำสินทรัพย์ต่าง ๆ มาลงทุน ได้แก่ เงินสด 150,000 บาท อุปกรณ์สำนักงาน 20,000 บาท รถยนต์ 200,000 บาทรายการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคม 25X1 มีดังต่อไปนี้ 25X1 มกราคม 2 นำเงินสดฝากธนาคาร 50,000 บาท 6 จ่ายค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดเป็นเงินสด จำนวน 1,000 บาท 9 ซื้ออุปกรณ์สำนักงานเป็นเงินเชื่อจากร้านสุชาดาการค้า จำนวน 20,000 บาท

12 ส่งบิลเรียกเก็บเงินค่าบริการจากนายนิภาพร จำนวน 30,000 บาท แต่ยังไม่ได้รับเงิน 13 ได้รับค่าบริการเป็นเงินสด จำนวน 15,000 บาท 15 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสด จำนวน 2,000 บาท 16 ชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ที่ซื้อมาวันที่ 9 มกราคม เป็นเงินสด จำนวน 10,000 บาท 17 ส่งบิลเรียกเก็บเงินค่าบริการจากนายสมหวัง จำนวน 50,000 บาท ได้รับเป็นเช็คนำฝากธนาคารทันที 19 จ่ายค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดเป็นเงินสด จำนวน 1,000 บาท 21 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสดจำนวน 5,000 บาท 22 นำเงินฝากธนาคาร 30,000 บาท 24 จ่ายค่าพาหนะเป็นเงินสด จำนวน 1,000 บาท 27 นางสาวสิตาลัยถอนเงินสดออกไปใช้ส่วนตัว จำนวน 3,000 บาท

28 ชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ที่ซื้อมาวันที่ 9 มกราคม ทั้งหมด 29 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินเชื่อ 1,500 บาท 30 จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์เป็นเงินสด จำนวน 1,000 บาท 31 จ่ายเงินเดือนเป็นเงินสด จำนวน 10,000 บาท ให้ทำ 11.1 บันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป 11.2 ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง 11.3 หายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทด้วยดินสอ 11.4 กำหนดเลขที่บัญชีของบัญชีแยกประเภทตามความเหมาะสม

12. นายทิวา เปิดกิจการให้บริการนำเที่ยวชื่อร้าน “ทิวาการท่องเที่ยว” โดยเริ่มดำเนินกิจการ เมื่อ 1 มกราคม 25X1 โดยนำสินทรัพย์ต่าง ๆ มาลงทุน ได้แก่ เงินสด 300,000 บาท อุปกรณ์สำนักงาน 10,000 บาท อาคาร 300,000 บาท รถยนต์ 400,000 บาทรายการค้า ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคม 25X1 มีดังต่อไปนี้ 25x1 มกราคม 2 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสด จำนวน 5,000 บาท 5 ได้รับค่าบริการการท่องเที่ยวเป็นเงินสด จำนวน 10,000 บาท 8 จ่ายค่าพาหนะเป็นเงินสด จำนวน 1,000 บาท 10 ส่งบิลเรียกเก็บเงินค่าบริการจากนายวันชัย จำนวน 20,000 บาท แต่ยังไม่ได้รับเงิน 12 นำเงินสดฝากธนาคาร 100,000 บาท 13 ซื้อคอมพิวเตอร์เป็นเงินเชื่อ จำนวน 15,000 บาท 15 จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์เป็นเงินสด 4,000 บาท

17 รับเงินสดเป็นรายไดค่าบริการจำนวน 30,000 บาท 19 จ่ายค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดเป็นเงินสด จำนวน 1,500 บาท 23 นำเงินสดฝากธนาคาร 150,000 บาท 25 นายทิวาถอนเงินสดออกไปใช้ส่วนตัว จำนวน 3,000 บาท 27 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสดจำนวน 5,000 บาท 29 กิจการกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 90,000 บาท นำฝากธนาคาร 30 จ่ายค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์เป็นเงินสด จำนวน 1,000 บาท 31 จ่ายเงินเดือนเป็นเงินสด จำนวน 9,000 บาท ให้ทำ 12.1 บันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป 12.2 ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง 12.3 หายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทด้วยดินสอดำ 12.4 กำหนดเลขที่บัญชีของบัญชีแยกประเภทตามความเหมาะสม 12.5 งบทดลอง ณ วันที่ 31 มกราคม 25X1

13. ต่อไปนี้เป็นรายการค้าของร้าน“สุดาบริการ” ในระหว่างเดือนมิถุนายน 25X1 25X1 มิถุนายน 1 น.ส. สุดา นำเงินสด 250,000 บาท และอุปกรณ์สำนักงาน 12,000 บาท มาลงทุน 3 จ่ายประกันอัคคีภัยเป็นเงินจำนวน 8,000 บาท 5 นำเงินสดฝากธนาคาร จำนวน 100,000 บาท 7 ซื้อวัสดุสำนักงาน เป็นเงินสด จำนวน 3,000 บาท 9 ได้รับเงินสดเป็นค่านายหน้าจำนวน 34,000 บาท 11 จ่ายค่าโฆษณา เป็นเงินสด จำนวน 6,000 บาท 12 นำเงินสดฝากธนาคาร จำนวน 50,000 บาท 15 กิจการกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 50,000 บาท นำฝากธนาคาร 17 ส่งบิลเรียกเก็บเงินค่าบริการจากนายสมหวัง จำนวน 30,000 บาท แต่ยังไม่ได้รับเงิน

19 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินเชื่อ 1,500 บาท 21 น. ส 19 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินเชื่อ 1,500 บาท 21 น.ส. สุดา ถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว จำนวน 20,000 บาท 23 ออกบิลเรียกเก็บเงินจากคุณเดือน จำนวน 5,000 บาท แต่ยังไม่ได้รับเงิน 25 ได้รับเงินกู้จากธนาคารกรุงเทพ จำนวน 100,000 บาท และนำฝากธนาคาร 27 จ่ายค่าเช่าสำนักงานเป็นเงินสดจำนวน 5,000 บาท 28 จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าเป็นเงินสด จำนวน 3,000 บาท 30 จ่ายเงินเดือนพนักงานทำความสะอาด 3 คน ๆ ละ 7,000 บาทผ่านธนาคาร

ให้ทำ 13. 1 บันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป 13 ให้ทำ 13.1 บันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป 13.2 ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง 13.3 หายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทด้วยดินสอดำ 13.4 กำหนดเลขที่บัญชีของบัญชีแยกประเภทตามความเหมาะสม 13.5 งบทดลอง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 25x1 13.6 งบกำไรขาดทุน สำหรับสิ้นสุด วันที่ 30 มิถุนายน 25x1 13.7 งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 25x1

14. ต่อไปนี้เป็นรายการค้าของร้าน “พรหอพัก” ในระหว่างเดือนมิถุนายน 25X1

24 น.ส. พร ถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว จำนวน 20,000 บาท 27 กิจการกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 60,000 บาท นำฝากธนาคาร 28 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินเชื่อ 1,500 บาท 29 จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าเป็นเงินสด จำนวน 3,000 บาท 30 จ่ายเงินเดือนพนักงานทำความสะอาด 2 คนๆ ละ 10,000 บาท เป็นเงินสด ให้ทำ 14.1 บันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป 14.2 ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง 14.3 หายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทด้วยดินสอดำ 14.4 กำหนดเลขที่บัญชีของบัญชีแยกประเภทตามความเหมาะสม 14.5 งบทดลอง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 25X1 14.6 งบกำไรขาดทุน สำหรับสิ้นสุด วันที่ 30 มิถุนายน 25x1 14.7 งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 25x1

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x1 หน่วย : บาท 15. ต่อไปนี้เป็นงบทดลองที่ไม่ลงตัวของร้าน “กิตติกาบริการ” ขอให้ท่านช่วยแก้ไข และจัดทำงบทดลองใหม่ให้ถูกต้อง พร้อมทั้งบอกสาเหตุของงบทดลองที่ไม่ลงตัวด้วย ร้านกิตติกาบริการ งบทดลอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x1 หน่วย : บาท ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต เงินสด 111 38,000 - ลูกหนี้การค้า 112 10,000 อุปกรณ์สำนักงาน 113 8,600 อาคาร 121   60,000 ที่ดิน 122 200,000 เจ้าหนี้การค้า 211 31,000 เงินกู้ระยะยาว 221

ร้านกิตติกาบริการ งบทดลอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต ทุน-นายสมบัติ 311   229,100 - ถอนใช้ส่วนตัว 312 1,000 รายได้ค่าบริการ 411 20,000 รายได้เบ็ดเตล็ด 412 ค่าเช่า 511 7,000 ค่าโฆษณา 512 3,000 ค่าเบี้ยประกัน 513 ค่าโทรศัพท์ 514 500 เงินเดือน 515 10,000 ดอกเบี้ยจ่าย 516 2,000 317,600 364,600