คู่มือการตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ประเทศไทย Country Specific Guideline: CSG
1.กฎหมายว่าด้วยการทำไม้ผิดกฎหมายแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย กฎหมายแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย Illegal Logging Prohibition Regulation 2012 (ระเบียบห้ามนำเข้าไม้ที่ผิดกฎหมาย) ระเบียบดังกล่าวมีการกำหนดแนวทางให้ผู้ประกอบการนำเข้าไม้และผู้แปรรูปไม้ในเครือรัฐออสเตรเลียต้องทำการตรวจสอบเอกสารต่างๆไม้ที่นำเข้า‘สินค้าไม้ควบคุม’ ระเบียบได้กำหนดให้ผู้ประกอบการนำเข้าและผู้แปรรูปจะต้องตรวจสอบเอกสาร ข้อมูล เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นไม้ที่ผิดกฎหมาย การตรวจสอบความถูกต้องดังกล่าวมีขั้นตอน ต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1: พิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น ขั้นตอนที่ 2 : ตรวจสอบจากข้อมูลเพื่อระบุว่าสินค้าไม้นั้นมีความเสี่ยงจะเป็นสินค้าไม้ที่ผิด กฎหมายหรือไม่ ขั้นตอนที่ 3 : ประเมินความเสี่ยง ขั้นตอนที่ 4 : ทำการบริหารความเสี่ยง
2. การใช้คู่มือการค้าไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย 2. การใช้คู่มือการค้าไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย คู่มือนี้จัดทำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าไม้ของออสเตรเลียในการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าไม้จากประเทศไทยที่จะนำเข้าไปยังออสเตรเลีย โดยการพิจารณาตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่แนบไปกับสินค้าไม้ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา 10 แห่ง ระเบียบว่าด้วยการห้ามทำไม้ผิดกฎหมาย 2012 แห่งเครือรัฐออสเตรเลีย และแนะนำการจัดเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานที่ใช้แสดงความถูกต้องของสินค้าไม้ที่ส่งออกจากประเทศไทยรายการเอกสารต่างอาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้นหากผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกรับทราบข้อมูลจำเป็นหรือเอกสารนอกเหนือจากที่ได้กล่าวไว้ เพื่อที่จะใช้แสดงความถูกต้องของสินค้าไม้เพิ่มเติมก็ให้กระทำได้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 12 แห่งระเบียบว่าด้วยการห้ามทำไม้ที่ผิดกฎหมาย 2012 แห่งเครือรัฐออสเตรเลีย
3. ขอบเขตของคู่มือ 3.1 สินค้าไม้ที่ผลิตนอกประเทศไทย 3. ขอบเขตของคู่มือ 3.1 สินค้าไม้ที่ผลิตนอกประเทศไทย คู่มือนี้ไม่ได้ครอบคลุมสินค้าไม้ที่ผลิตนอกประเทศไทยแล้วนำเข้ามายังประเทศไทย รายละเอียดดังนี้ • พิกัดศุลกากรตอนที่ 44 ไม้และของทำด้วยไม้ ถ่านไม้ • พิกัดศุลกากรตอนที่ 48 กระดาษและกระดาษแข็ง • พิกัดศุลกากรตอนที่ 94 เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเตียง อาคารสำเร็จรูป 3.2 การควบคุมการนำเข้าสินค้าไม้ ประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าไม้มาใช้ในกิจกรรมอุตสาหกรรมไม้ภายในประเทศ ทั้งที่เป็นไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ เพื่อให้ผู้ใช้คู่มือได้เข้าเกี่ยวกับขั้นตอนการนำเข้าไม้ การควบคุมไม้ที่นำเข้ามาในประเทศไทย สามารถศึกษารายละเอียดที่แสดงไว้ในรูป
4. การจัดการป่าไม้ของประเทศไทย 4. การจัดการป่าไม้ของประเทศไทย ในอดีตประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้มากกว่า 50 % ของพื้นที่ประเทศ แต่เนื่องจากการค้าไม้เริ่มมีมากขึ้นประเทศไทยจึงมีการจัดการป่าไม้ เพื่อการค้าต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ ประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งกรมป่าไม้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2439 เพื่อบริหารจัดการป่าไม้ การค้าไม้ การควบคุมสัมปทานการทำไม้จากป่าธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 การกำหนดแนวทางว่าด้วยการทำไม้ การแปรรูปไม้ การค้าไม้ ฯ รัฐบาลได้ยกเลิกการให้สัมปทานทำไม้ และเริ่มส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่าไว้ใช้สอยเพื่อสนองต่อความต้องการใช้ไม้ของประชาชนภายหลังจากการยกเลิกการทำไม้ในป่าธรรมชาติ มีการตราพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 เพื่อส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อเศรษฐกิจขึ้น แต่ความต้องการไม้และพื้นที่ทำกินของประชาชนที่ยากจนยังมีอยู่ส่งผลให้มีการบุกรุกทำลายป่า การลักลอบตัดไม้ยังคงมีอยู่ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้เหลือประมาณ 32 % ของพื้นที่ประเทศ (สถิติการป่าไม้, 2556)
ป่าไม้ของประเทศไทย ป่าไม้แต่ละประเภทประกอบด้วยชนิดสังคมพืชและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยควบคุมทำให้เกิดป่าชนิดต่างๆ ขึ้นในประเทศไทย ป่าไม้ในประเทศไทยถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ป่าไม่ผลัดใบ ปัจจัยที่ทำให้เกิดป่าไม่ผลัดใบ คือ ระดับความสูงจาก ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น ในที่สูงอากาศจะหนาวเย็น มี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ทั้งภาคใต้และตะวันออก ป่าไม้ ที่เกิดอยู่ในบริเวณทั้ง 2 ภาค จึงเป็นป่าไม่ผลัดใบอีก ทั้งยังมีป่าไม่ผลัดใบ อยู่ตามชายฝั่งทะเล เรียกว่า ป่า โกงกาง หรือ ป่าชายเลน ป่าผลัดใบ ป่าประเภทนี้ ภาคกลาง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีฤดูกาล แบ่งออกเป็น ฤดูฝน ฤดูแล้งชัดเจน ป่าที่เกิดอยู่ ในบริเวณทั้ง 3 ภาคนี้ ส่วนใหญ่จึงเป็นป่าผลัดใบในฤดูแล้ง และสำหรับที่ซึ่งมีดินอุดมสมบูรณ์ดี ก็จะเป็นป่าเบญจพรรณ ส่วนที่ที่มีดินตื้นหรือดินปนทราย ดินปนลูกรังมากๆ ก็มักจะ เป็นป่าที่เรียกว่า ป่าเต็งรัง ป่าแพะ ป่าแดง หรือป่าโคก
การส่งเสริมการปลูกป่าของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2532 พื้นที่ป่าไม้เหลือประมาณ 28 % ของพื้นที่ประเทศ ด้วยเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ตามเป้าหมายตามนโยบายป่าไม้คือ 40 % ของพื้นที่ป่าไม้ ประเทศไทยจึงได้ตราพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้มีการปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินของเอกชนหรือที่ดินของรัฐที่กฎหมายอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์จากการปลูกป่า ในการทดแทนความต้องการใช้ไม้หลังที่มีการยกเลิกสัมปทานป่าไม้อุปทานไม้ในประเทศไทย เรื่องการรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและเพิ่มชนิดไม้จากเดิมที่สามารถขึ้นทะเบียน สวนป่าไม้ที่มีแค่ไม้หวงห้ามจำนวน 2 ชนิด เป็นไม้ที่ 58 ชนิด โดยเรียกชื่อเป็นพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นการส่งเสริมการจัดการป่าไม้ให้เกิดความยั่งยืน
(ต่อ) • สวนป่าเอกชนที่ขึ้นทะเบียนสวนป่า จำนวน 33,970 ราย เนื้อที่ 383,653.22 ไร่ - ไม้จากพื้นที่เอกชน จำนวน 7,626.30 ลูกบาศก์เมตร • สวนป่าของรัฐปลูกเพื่อฟื้นฟูป่า เนื้อที่ 598,928.62 ไร่ - ไม้สัก จำนวน 53,725.83 ลูกบาศก์เมตร - ไม้ยูคาลิปตัส จำนวน 123,805.07 ลูกบาศก์เมตร - ไม้ชนิดอื่นๆ จำนวน 4,295.21 ลูกบาศก์เมตร สวนป่าเอกชนไม่ขึ้นทะเบียนสวนป่า - ไม้ยางพารา จำนวน 23,273.63 ลูกบาศก์เมตร
การป่าไม้ภาคเอกชน ฝ่ายเอกชนที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมป่าไม้หลายรายก็ได้ดำเนินการส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่าไม้โตเร็ว โดยเฉพาะไม้ยูคาลิปตัสเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตชิ้นไม้สับ สำหรับผลิตเยื่อและกระดาษ ส่งผลให้มีสวนป่าไม้โตเร็วโดยเฉพาะสวนป่ายูคาลิปตัสเกิดขึ้นมากกว่า 3 ล้านไร่ และสวนป่าไม้สักและไม้ชนิดอื่นๆ มากกว่า 2 ล้านไร่ และมีผู้ประกอบการปลูกสร้างสวนป่าเกิดขึ้นมากกว่า 200,000 ราย ในปี 2537 สหกรณ์สวนป่าภาคเอกชนจำกัดก็ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่จัดแบ่งทุนให้เกษตรกรที่มีจะปลูกป่าตามโครงการ แบ่งปันความรู้ ส่งเสริมการตลาดให้กับสมาชิก
พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย พระราชบัญญัติว่าด้วยการป่าไม้ เช่น ป่าไม้ อุทยานแห่งชาติ และสงวนคุ้มครองสัตว์ป่า เป็นพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับสาธารณชน และรักษาความสมดลให้กับโลก สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ สรุปพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กฎหมายต่างได้ ดังนี้ • พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 143,925,404.30 ไร่ • พื้นที่อุทยานแห่งชาติ จำนวน 38,858,917.19 ไร่ • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 22,846,162.50 ไร่ • พื้นที่ป่าไม้ถาวร (นอกเขตป่าสงวน) จำนวน 10,517,402.04 ไร่
หน่วยงานด้านป่าไม้ของประเทศไทย กรมป่าไม้ มีการแบ่งหน่วยงานภายในออกเป็นสองส่วนคือ หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง และหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง - ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดสรร งบประมาณ กำหนดนโยบาย และ ปฏิบัติงานที่ประสานงานกับหน่วยงาน ระดับประเทศ และปฏิบัติงานที่กฎหมาย กำหนดให้ จำนวน 13 หน่วยงาน หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค - จะดำเนินงานประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน พื้นที่ระดับจังหวัด อำเภอ หรือ ชุมชน ขึ้นอยู่กับ ภารกิจที่ต้องดำเนินงาน จัดทำรายงานการ ปฏิบัติงานหลังจากที่ได้รับจัดสรรงบประมาณของ ส่วนกลาง กรมป่าไม้มีหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค จำนวน 23 หน่วยงาน
โครงการป่าชุมชน กรมป่าไม้ โดยสำนักจัดการป่าชุมชน ได้ทำการส่งเสริมให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบๆ พื้นที่ป่ามีความพร้อมและมีความต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลบริหารจัดการพื้นที่ป่าจัดทำโครงการป่าชุมชน โดยผู้แทนชุมชน ทำการยื่นคำขอจัดทำโครงการป่าชุมชน จากนั้นเจ้าหน้าที่ร่วมกับชุมชนตรวจสอบความชัดเจน สภาพภูมิประเทศจริง ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของพื้นที่ดำเนินการ และจัดทำแผนที่แสดงโครงการป่าชุมชน เพื่อจัดทำโครงการป่าชุมชน ตามแนวทางการจัดทำโครงการป่าชุมชนของกรมป่าไม้ การบริหารจัดการป่าชุมชนมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการจัดการป่าชุมชน คือ การควบคุม ดูแล รักษา บำรุงป่า รวมถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาป่าไม้ เพื่อให้ป่าไม้นั้นมีความยั่งยืน ราษฎรได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5.สินค้าไม้ที่ส่งออกประเทศไทย (ตาราง รายการสินค้าไม้ที่ส่งออกไปยังจะไปออสเตรเลีย)
6. กฎหมาย ระเบียบ ว่าด้วยการป่าไม้ของประเทศไทย รายการกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ของประเทศไทยที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมป่าไม้ ได้ดังต่อไปนี้ • พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 • พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 • พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 • พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545
กระบวนการผลิตไม้ตามกฎหมาย ความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ในประเทศไทยจะต้องดำเนินการตามกฎหมายโดยเริ่มต้นจากกระบวนการผลิตไม้ตามกฎหมายในแต่ละกลุ่มของสินค้าไม้ และจะต้องดำเนินตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แหล่งผลิตไม้ การทำไม้ การแปรรูปไม้ การขนส่งไม้และผลิตภัณฑ์
แผนภาพกฎหมายที่เกี่ยวกับการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของสินค้าไม้จากประเทศไทย การตรวจสอบแหล่งผลิตไม้ 1) พื้นที่ที่ปลูกต้นไม้ • พื้นที่ป่าสงวน เอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้อง ดังนี้ - หนังสืออนุญาตให้ทำการปลูกสร้างสวนป่าหรือปลูกไม้ยืนต้นภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป.ส. 31) - หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์และอยู่อาศัยในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ (สทก 1 ก, สทก. 2 ก, และ หนังสืออนุญาตให้ทำการปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นในเขตปรับปรุงป่าสงวน (สทก. 1 ข) • พื้นที่ป่าตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 - ใบอนุญาตให้เข้าทำกิจกรรมในพื้นที่ป่าที่ครอบครองที่ดินเพื่อใช้ทำกิจกรรมในพื้นที่ป่าและ/หรือใบรับรองการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ • พื้นที่เอกสารสิทธิ์ - โฉนดที่ดิน หรือ เอกสารแสดงสิทธิครอบครอง เช่น น.ส. 3, น.ส. 3ก, น.ส. 3 ข, น.ส. 2
(ต่อ) 2). การนำเข้าไม้ • เอกสารที่เกี่ยวกับกระบวนการส่งออกจากประเทศต้นทาง และการนำเข้ามาใน ราชอาณาจักรไทย ดังนี้ - หนังสืออนุญาตส่งออกจากประเทศต้นทาง - ใบอนุญาตนำเข้า - ใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่
การตรวจสอบความถูกต้องของการทำไม้ 7.2.1 พื้นที่ป่า 7.2.2 พื้นที่เอกชน พื้นที่ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติสวนป่า ไม้สัก ไม้ยาง และ ไม้พะยูง (มาตรา 7) - ใบอนุญาตสำหรับทำไม้สักในที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เพื่อการค้า (แบบอนุญาต 5) - ใบอนุญาตสำหรับทำไม้ยางในที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน และเอกสาร น.ส. 3 เพื่อ การค้า (แบบอนุญาต 7) พื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติสวนป่า •ชนิดไม้จำนวน 58 ชนิด (รวม ไม้สัก ไม้ยาง และไม้พะยูง) - หนังสือรับรองการแจ้งตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า (สป. 13) • พื้นที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 - ใบอนุญาตทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป.ส. 2) • พื้นที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 - ใบอนุญาตทำไม้สักในป่า (อนุญาต 1) - ใบอนุญาตทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักในป่า (อนุญาต 2) • พื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 - หนังสือรับรองการแจ้งตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า (สป. 13)
การควบคุมการนำเคลื่อนที่ การนำเคลื่อนที่ไม้ในการผลิตสินค้าไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ ในแต่ละขั้นตอนต้องมีเอกสารกำกับการนำเคลื่อนที่ และจะต้องนำผ่านด่านป่าไม้เพื่อให้ตรวจสอบตลอดเส้นทางที่ขนส่ง เอกสารต่างๆ • ใบเบิกทางของกรมป่าไม้ สำหรับไม้ซุงและไม้แปรรูป • หนังสือกำกับไม้แปรรูป • หนังสือกำกับไม้ยางพาราแปรรูป • หนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์ • หนังสือแสดงบัญชีรายการไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า (สป.15) ประกอบกับ - รอยตรา ตี ตอก หรือ ประทับ หรือแสดงการเป็นเจ้าของไม้
การควบคุมการแปรรูปไม้ และอุตสาหกรรมไม้ กระบวนการผลิตสินค้าไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ ในขั้นตอนของการแปรรูปไม้นั้นกำหนดให้ผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตจากกรมป่าไม้ สำหรับการตรวจสอบจะต้องตรวจสอบเอกสารต่างๆ ดังนี้ • ใบอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูป • ใบอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูป เพื่อประดิษฐกรรม • บัญชีแสดงสถิติไม้ท่อน สมุดบัญชีแสดงสถิติไม้แปรรูปประจำโรงงานแปรรูป
การส่งออกไม้ การส่งออกไม้จะต้องดำเนินการตามกฎหมายและมีเอกสารที่ต้องตรวจสอบ ดังนี้ • ใบอนุญาตตั้งโรงค้าไม้แปรรูป • ใบอนุญาตตั้งโรงค้าสิ่งประดิษฐ์ • หนังสือกำกับไม้ยางพาราแปรรูป • หนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์ • ใบอนุญาตส่งออก • หนังสืออนุญาตส่งออกพืชอนุรักษ์ • หนังสือรับรองจากกรมป่าไม้ • หนังสือรับรองการแจ้งตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า (สป. 13) • หนังสือแสดงบัญชีรายการไม้ที่ได้จากการทำสวนป่าไม้ (สป. 15)
ความถูกต้องของไม้ที่ผลิตจากโรงงาน การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ที่ถูกต้องตามกฏหมาย จะต้องมีเอกสารเพื่อการตรวจสอบ ที่รับอนุญาตรับไม้ท่อน / ไม้แปรรูปพร้อมเอกสารหลักฐาน (ใบเบิกทาง / สป.15/ หนังสือกำกับไม้ยางพาราแปรรูป แล้วแต่กรณี) ลงบัญชีไม้ท่อนประจำโรงงานแปรรูปไม้ (กรณีใช้ไม้ท่อน) บัญชีไม้แปรรูปประจำดรงงานแปรรูปไม้ และบัญชีแสดงสถิติไม้ท่อนและไม้แปรรูปประจำโรงงานแปรรูปไม้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้ ให้ครบถ้วนตามความเป็นจริงอยู่เสมอ
8. การรับรองป่าไม้ในประเทศไทย ในการจัดทำมาตรฐานมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป่าไม้ในประเทศไทยเข้าร่วมดำเนินการ และปัจจุบันระบบการรับรองป่าไม้ Programme for Endorsement of Forest Certification (PEFC) กำลังดำเนินการเพื่อยอมรับในมาตรฐานดังกล่าวเพื่อให้ใช้โลโก้ของ PEFC ได้ กรมป่าไม้มีระบบการออกหนังสือรับรองความถูกต้องตามกฎหมายสำหรับสินค้าที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ และถ่านไม้ หนังสือรับรองของกรมป่าไม้ ซึ่งผู้ประกอบการส่งออกจะต้องนำหนังสือรับรองไปประกอบการยื่นขอใบอนุญาตส่งออกจากกระทรวงพาณิชย์
หน่วยงานที่เป็นผู้ประสานงานหลัก
เอกสารที่เกี่ยวข้อง ใบอนุญาตนำเข้า ใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่
เอกสารที่เกี่ยวข้อง หนังสือรับรองการแจ้งตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า (สป. 13) หนังสือกำกับไม้แปรรูป
หนังสือรับรองจากกรมป่าไม้ 3 ฉบับ ดังนี้ หนังสือรับรองไม้ หนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ไม้ หฺนหหนังสือรับรองถ่านไม้