ปฏิกิริยาไม่ใช้แสง จะเกิดแตกต่างกัน 3 ลักษณะ ตามกลุ่มพืชจำแนกปฏิกิริยานี้ออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. พืช ซี-3 (C3-plants) พืช ซี-3 เป็นกลุ่มพืชที่ใช้ไรบูไลส บิสฟอสเฟต (Ribulose bisphosphate = RuBP) เป็นตัวตรึง CO2 จากอากาศ (CO2 fixer) ซึ่งเกิดในวัฏจักรแคลวิน (Calvin cycle) ที่มีโซฟิลล์ของใบตัวอย่างพืช ซี-3 ได้แก่ พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่
พืช ซี-4 เป็นกลุ่มพืชที่มีการตรึง CO2 2 ครั้ง คือ 2. พืช ซี-4 (C4-plants) พืช ซี-4 เป็นกลุ่มพืชที่มีการตรึง CO2 2 ครั้ง คือ ครั้งที่หนึ่งเป็นการตรึง CO2 จากอากาศ โดยฟอสฟีนอลไพรูเวท (Phosphoenol pyruvate = PEP) เกิดในวิถีแฮทซ์-สแลกค์ (Hatch-Slack pathway) ภายในมีโซฟิลล์ของใบ ครั้งที่สองเป็นการตรึงใน CO2 เนื้อเยื่อ โดย RuBP ในวัฏจักรแคลวิน ภายในเซลล์บันเดิลชีท (bundle sheath cell) ของใบตัวอย่างพืช ซี-4 ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หญ้าเขตร้อนบางชนิด บานไม่รู้โรย
3. พืชซีเอเอ็ม (CAM-plants = Crassulacean acid metabolism plants) พืชซีเอเอ็ม เป็นพืชที่มีการตรึง CO2 2 ครั้งเหมือนพืช ซี-4 แต่การตรึง CO2 ครั้งแรกจะเกิดเวลากลางคืน การตรึง CO2 ครั้งที่สองเกิดเวลากลางวัน โดยในเวลากลางคืนปกใบเปิด CO2 จะถูกตรึงโดย PEP เกิดเป็น malic acid เก็บสะสมในแวคิวโอล พอถึงเวลากลางวัน malic acid จะถูกปล่อยออกจากแวคิวโอล และเกิดปฏิกิริยา decarboxylation ทำให้ได้ CO2 ออกมา เพื่อเข้าสู่วัฏจักรแคลวินต่อไป ตัวอย่างพืช ซีเอเอ็มได้แก่ กระบองเพชร ว่านหางจระเข้ สับปะรด
Crassulacean acid metabolism เซลล์มีโซฟิล CAM-Plant OAA PGA Malic acid PEP วัฏจักรแคลวิน PGAL CO2 CO2 Crassulacean acid metabolism RuBP ADT+Pi Pyruvic acid ATP กลางคืน กลางวัน เปรียบเทียบปฏิกิริยาไม่ใช้แสงของพืช ซี-3 พืช ซี-4 และ CAM plant (Villee et. Al. , 1985)