อ.พิณรัตน์ นุชโพธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ อ.พิณรัตน์ นุชโพธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ข้อมูล ข้อมูล (DATA) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความว่า “ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณ” เราสามารถแบ่งข้อมูลตามแหล่งกำเนิดของข้อมูลได้ 2 ประเภทดังนี้ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ได้จากแหล่งกำเนิดโดยตรงและยังไม่ผ่านการประมวลผล หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อมูลดิบ 2. ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้มาจากการประมวลผลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้สะดวกในการนำไปใช้ หรือเรียกว่า สารสนเทศ
สารสนเทศ “สารสนเทศ” จึงเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ผู้รับสารสนเทศจะสามารถเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้ จากความหมายข้างต้น เป็นที่ทราบแล้วว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล และถูกจัดให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้รับ (Recipient) สารสนเทศจะประกอบด้วย ข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพ ต่าง ๆ สารสนเทศต้องความเที่ยงตรง ทันต่อการใช้งาน และตรงต่อความต้องการ หรือสารสนเทศที่มีความหมาย
ไดอะแกรมของสารสนเทศ ข้อมูล (DATA) การประมวล (Processing) สารสนเทศ (Information) -การแสดงผล -การเก็บรักษาข้อมูล -การนำไปใช้ -การผลิตข้อมูล -การรวบรวมข้อมูล -การตรวจสอบข้อมูล -ตรวจความถูกต้อง -แปลงข้อมูลให้เป็นข้อมูล -บันทึกลงในสื่อ -วางระบบงานประมวลผลและเขียนผัง -ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ -วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เทคโนโลยี + สารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความรอบรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูล ความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ข้อมูลมาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล ดังนั้นถือได้ว่ายุคนี้เป็นยุคสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้
บทบาท และความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพิมพ์เอกสาร งานบันทึกจัดเก็บข้อมูล งานงบประมาณและบัญชี งานประมวลผลและงานคำนวณ งานควบคุมการผลิต งานบริการ งานจัดทำแผนที่ งานฝึกอบรม งานสำนักงานอัตโนมัติ งานประชาสัมพันธ์
ความจำเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันในตลาดโลก เพื่อช่วยลดเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและนำเสนอข้อมูล เพื่อการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น
ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ขาดแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนในระยะยาว การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่สัมพันธ์กับความเร็วของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ขาดแคลนบุคลากรที่ มีความรู้ ความสามารถ
ระบบสารสนเทศและคุณภาพของสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถจัดทำ สารสนเทศหรือข่าวสารที่ มีความหมายสำหรับให้พนักงานใช้ใน การปฏิบัติงาน ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และให้ ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ อย่างมีประสิทธิผล คุณภาพของสารสนเทศ จะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เราป้อนเข้าไปในกระบวนการเพื่อการเปลี่ยนเป็นสารสนเทศถ้าข้อมูลไม่มีคุณภาพสารสนเทศของเราก็ย่อมที่จะไม่มีคุณภาพ
ตัวอย่างของระบบสารสนเทศที่มีบทบาทสำคัญ ช่วยในการบริหารงาน ระบบฐานข้อมูล ระบบเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศในสำนักงาน
ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่จัดเก็บเอาไว้ เพื่อให้การค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ตัวอย่างของ software ที่ช่วยในการจัดการระบบฐานข้อมูลได้แก่ Access, SQL Server, Oracle, Informix เป็นต้น
ระบบเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ ระบบที่ใช้ในการเชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งภายในหน่วยงานเข้ากับคอมพิวเตอร์ภายในและภายนอกหน่วยงานผ่านระบบโทรคมนาคม เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถที่จะ ทำงานร่วมกันได้ เครือข่ายมีทั้งแบบระยะใกล้และระยะไกล
ระบบสารสนเทศสำนักงาน Transaction Processing System Management Information System Decision Support System Executive Support System Office Automation System
Transaction Processing System (ระบบประมวลผลรายการ) เป็นระบบสำหรับบันทึกธุรกรรม หรือรายการค้าต่างๆที่เกิดขึ้นกับบริษัท แล้วดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบบัญชี ระบบพัสดุสินค้า เป็นระบบที่มีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นพื้นฐานของ ระบบสารสนเทศอื่นๆ
Management Information System (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ) เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารระดับกลางและล่างใช้ ระบบนี้จะนำข้อมูลรายการค้ามาสรุปให้เป็นสารสนเทศแบบต่างๆ แล้วจัดทำเป็นรายงาน เช่นรายงานแนวโน้มของการขายสินค้า เป็นต้น เป็นส่วนขยายของระบบประมวลผลรายการ
Decistion Support System (ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ) เป็นระบบที่นำเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลมาคำนวณ โดยอาศัยสูตรทางคณิตศาสตร์ หรือแบบจำลองทางธุรกิจ เพื่อคาดคะเนผลว่า หากตัดสินใจแบบหนึ่งจะทำให้เกิดผลอย่างไรได้บ้าง ตัวอย่างเช่น การคำนวณดอกเบี้ยแบบทบต้น เป็นต้น
Executive Information System (ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลรายการค้าและข้อมูลอื่นๆ ทั้งที่เป็นของหน่วยงานและของคู่แข่ง พันธมิตร และสิ่งแวดล้อมมาจัดทำเป็นข้อสรุป ความแตกต่างของระบบนี้กับระบบ MIS คือ การบันทึกคำอธิบายเหตุการณ์ประกอบลงไปในข้อมูลเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบความเป็นไปของหน่วยงาน
Office Automation System (ระบบสำนักงานอัตโนมัติ) เป็นระบบที่ใช้อุปกรณ์ IT เพื่อช่วยในการทำงานในสำนักงาน โดยเริ่มจากระบบที่ง่ายๆ เช่น ช่วยในการพิมพ์ดีด ช่วยในการส่งโทรสาร ปัจจุบันเป็นระบบงานสำนักงานอัตโนมัติได้มีพัฒนาการที่ซับซ้อนและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบที่เรียกว่า GroupWare
Office Automation System (ระบบสำนักงานอัตโนมัติ) เทคโนโลยีของสำนักงานอัตโนมัติ ได้แก่ Computer ( Hardware & Software ) Fax & Modem Copier Machine & printer Image processing ( Scanner & digital camera) Internet & Intranet
Office Automation System (ระบบสำนักงานอัตโนมัติ) Software ทำหน้าที่สนับสนุนระบบสารสนเทศสำนักงานอัตโนมัติ ประเภท Word Processing ได้แก่ Microsoft Word ประเภท Spreadsheet ได้แก่ Microsoft Excel ประเภท Presentation ได้แก่ Microsoft PowerPoint ประเภท Database Management ได้แก่ Microsoft Access ประเภท Project Management ได้แก่ Microsoft Project
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธนาคาร
Agenda ทำความรู้จักกับคอมพิวเตอร์ ประเภทของคอมพิวเตอร์ คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคใหม่
รู้จักกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูลและคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้นไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการและแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง
ประเภทของคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้ อนาล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ตรวจคลื่นสมอง, ตรวจวัดสายตา ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) ผลลัพธ์แม่นยำกว่าอนาลอก ไฮบริคคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในโรงพยาบาลเพื่อวัดการเต้นของหัวใจของคนไข้ด้วยอนาลอกและทำการแปลงข้อมูลให้เป็นตัวเลข
ประเภทของคอมพิวเตอร์ แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้ คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานทั่วไป (General – Purpose Computer) หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถใช้กับงานได้หลายด้านภายในเครื่องเดียวกัน เช่น งานทางด้าน วิทยาศาสตร์ กราฟิก บัญชี และสามารถใช้ได้หลายภาษาด้วย คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน (Special – Purpose Computer) หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานใด ๆ โดยเฉพาะ เช่น เครื่อง ATM ที่ใช้ในการฝาก – ถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเครื่อง ATM ไม่สามารถใช้ทำงานอย่างอื่นได้เลย
ประเภทของคอมพิวเตอร์ แบ่งตามขนาดและความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่และมีราคาสูง มีความเร็วในการประมวลผลถึง 1,000 ล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที ภายในเครื่องมีหน่วยประมวลผลเป็นจำนวนมากทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งหลายคำสั่งพร้อมกันได้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องคำนวณผลซับซ้อน และเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะด้าน เช่น การสำรวจแหล่งน้ำมัน การควบคุมสถานีอวกาศ
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะการทำงานโดยมีผู้ใช้หลายๆ คนในเวลาเดียวกันได้ สามารถประมวลผล 10 ล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที เหมาะสำหรับงานที่มีการเก็บข้อมูลปริมาณมาก เช่น ธนาคาร โรงพยาบาล การใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ต้องคำนึงถึง อุณหภูมิและความชื้นโดยมีระบบควบคุมและผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) มีลักษณะเดียวกันกับเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่มีขนาดเล็กกว่า และมีประสิทธิภาพต่ำกว่า ทั้งในด้านความเร็วในการประมวลผล และความจุของหน่วยความจำ ปัจจุบันองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก จะนิยมใช้มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมระบบเครือข่ายในองค์กร
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หรือที่เรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer :PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับการใช้งาน 1 คนต่อ 1 เครื่อง หรือ ใช้เชื่อมต่อกับเครื่องในเครือข่าย ไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะการใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก ราคาถูก ตัวอย่างของไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น โน๊ตบุ๊ค เดสก์โน๊ต และแท็บเล็ตพีซี
คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถพกพาไปในที่ต่างๆได้ง่าย ประโยชน์การใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้อาจนำไปใช้ในการจัดการข้อมูลประจำวัน การสร้างปฏิทินนัดหมาย การดูหนังฟังเพลง รวมถึงการรับส่งอีเมล์ บางรุ่นอาจมีความสามารถเทียบเคียงได้กับไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ปาล์ม, พ๊อกเก็ตพีซี เป็นต้น
คอมพิวเตอร์ยุคใหม่ เดสก์ท็อป (Desktop) โน๊ตบุ๊ค (Notebook) เดสก์โน๊ต (Desknote) แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) พีดีเอ (PDA-Personal Digital Assistants) สมาร์ทโฟน (Smart Phone)
เดสก์ท็อป (Desktop) เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่ใช้ในสำนักงานหรือตามบ้านทั่วไป นิยมใช้สำหรับการประมวลผล ตัวเครื่องและจอภาพสามารถจัดวางเพื่อทำงานบนโต๊ะได้อย่างสบาย ปัจจุบันมีการผลิตที่เน้นความสวยงามและราคาถูก
โน๊ตบุ๊ค (Notebook) คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับพีซี แต่จะมีขนาดเล็กและบางลง มีน้ำหนักเบาสามารถพกพาได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งคือ โน๊ตบุ๊คจะมีแบตเตอรี่ไว้สำหรับการทำงานด้วย ที่สำคัญราคาถูกลงกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ยังถือว่ามีราคาแพงกว่าพีซีธรรมดา
เดสก์โน๊ต (Desknote) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาอีกแบบหนึ่งคล้ายๆกับโน๊ตบุ๊ค ต่างกันตรงที่เดสก์โน๊ตไม่มีแบตเตอรี่ที่คอยจ่ายไฟให้จึงต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลาที่ใช้ อีกทั้งราคาถูกกว่าโน๊ตบุ๊ค เหมาะกับผู้ที่มีสำนักงานหลายๆที่ และเดินทางไปมาบ่อยๆ
แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพเหมือนกับการเขียนข้อความลงไปในสมุดโน๊ต และเครื่องสามารถที่จะแปลงข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นเก็บไว้ได้ และบางเครื่องยังสามารถพลิกหน้าจอได้ 2 แบบ คือ เหมือนกับการใช้งานแบบโน๊ตบุ๊ค หรือเหมือนกับกระดานรองเขียนก็ได้
พีดีเอ (PDA-Personal Digital Assistants) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ ปาล์ม (Palm) พ็อกเก็ตพีซี (Pocket PC)
พีดีเอ (PDA-Personal Digital Assistants) ปาล์ม (Palm) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เปิดตลาดมาก่อน แต่เดิมนั้นเน้นเพื่อการใช้งานสำหรับเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำต่างๆ(organizer) เช่น การนัดหมาย ปฏิทิน สมุดโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีขีดความสามารถต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยจะใช้ระบบปฏิบัติการที่เป็นของตัวเองเรียกว่า Palm OS
พีดีเอ (PDA-Personal Digital Assistants) พ็อกเก็ตพีซี (Pocket PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกในการใช้งานได้ดีเช่นเดียวกับเครื่องปาล์ม แต่จะแตกต่างจากเครื่องปาล์มในเรื่องของระบบปฏิบัติการที่ใช้จะอิงกับค่ายไมโครซอฟท์เป็นหลัก ผู้ใช้งาน พ็อกเก็ตพีซีที่ชินกับระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์มาก่อน สามารถใช้งานได้ง่ายมาก แต่จะกินกำลังของเครื่องมากกว่าเครื่องปาล์ม
สมาร์ทโฟน (Smart Phone) เป็นกลุ่มของโทรศัพท์มือถือที่พัฒนาขีดความสามารถให้มีการทำงานได้ใกล้เคียงกับพีดีเอเป็นอย่างมาก โดยสมาร์ทโฟนสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องโทรศัพท์ได้ในตัว รวมถึงความสามารถอื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูป การใช้งานอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งคุณสมบัติต่างๆเหล่านี้ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ด้วยเช่นเดียวกัน
คอมพิวเตอร์ในอนาคต ศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างปัญญาเทียมเลียนแบบการคิดหรือสมองของมนุษย์ ซึ่งในงานหลายๆด้านก็มีการประยุกต์เอาคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้เพื่อคิดและตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) ระบบหุ่นยนต์ (robotics) ภาษาธรรมชาติ (natural language)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) คอมพิวเตอร์ในอนาคต ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน เพื่อเก็บรวบรวมความรู้ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับงานใดงานหนึ่งให้อยู่ตลอดไปในหน่วยงานโดยไม่ขึ้นกับบุคคล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ วินิจฉัย ตัดสินใจต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญในวงการแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค
ระบบหุ่นยนต์ (robotics) คอมพิวเตอร์ในอนาคต ระบบหุ่นยนต์ (robotics) นำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ทำงานร่วมกับเครื่องจักรและอุปกรณ์บังคับบางชนิด เกิดเป็น “หุ่นยนต์” (robot) สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลักษณะงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายมากๆ อาจพบเห็นการออกแบบหุ่นยนต์โดยอาศัยการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเลียนแบบพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต และสามารถนำมาใช้งานได้จริง เช่น หุ่นยนต์สุนัข เป็นต้น
คอมพิวเตอร์ในอนาคต ภาษาธรรมชาติ (natural language) การเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์เป็นการนำเอาความสามารถของของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสื่อสารกับมนุษย์ให้สะดวกขึ้น ตัวอย่างที่พบเห็นมากที่สุด เช่น การใช้ระบบรับรู้และจำเสียงพูดของมนุษย์หรือที่เรียกว่า speech recognition ที่คอมพิวเตอร์สามารถแยกแยะเสียงได้ ทำให้ลดระยะเวลาในการทำงานของผู้ใช้ลงได้มาก
คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ 4’s Special ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความจำ (Storage) ความเร็ว (Speed) การปฏิบัติงานอัตโนมัติ (Self Acting) ความน่าเชื่อถือ (Sure)
คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ ความจำ (Storage) เป็นความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก และเป็นระยะเวลานาน ซึ่งถือได้ว่าเป็น "หัวใจ" ของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ระบบคือ หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) หน่วยความจำรอง (Secondary Storage)
คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ ความเร็ว (Speed) เป็นความสามารถในการประมวลผลข้อมูลภายในเวลาที่สั้นที่สุด โดยความเร็วของการประมวลผล พิจารณาจากความสามารถในการประมวลผลซ้ำๆ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ เรียกว่า "ความถี่ (Frequency)" โดยนับความถี่เป็น "จำนวนคำสั่ง" หรือ "จำนวนครั้ง" หรือ "จำนวนรอบ" ในหนึ่งนาที และเรียกหน่วยนี้ว่า Hz (Hertz = Cycle/Second)
คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ การปฏิบัติงานอัตโนมัติ (Self Acting) เป็นความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับคำสั่ง ได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง โดยอัตโนมัติ ตามคำสั่งและขั้นตอนที่นักคอมพิวเตอร์ (มนุษย์) ได้กำหนดไว้
คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ ความน่าเชื่อถือ (Sure) เป็นความสามารถในการประมวลผลที่ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยนับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูล ที่นักคอมพิวเตอร์ได้กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เป็นลักษณะทางกายภายของเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้อง มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit), หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ INPUT UNIT OUTPUT UNIT MEMORY SECONDARY STORAGE CENTRAL PROCESSING UNIT
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.2 ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่างๆ ตามต้องการ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ หรือนักเขียนโปรแกรม เป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้น เป็นซอฟต์แวร์แบบต่างๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
2.3 บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (People ware) องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.3 บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (People ware) บุคลากรหรือผู้ใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์แล้ว จะทำให้การใช้งานไม่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถแบ่งกลุ่มบุคลากรออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้บริหาร
2.3 บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (People ware) องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.3 บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (People ware) กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User / End User) ถือว่าเป็นผู้ใช้งานระดับต่ำสุด ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากนักก็สามารถใช้งานได้ โดยศึกษาจากคู่มือการปฏิบัติงาน หรือรับการอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถใช้งานได้
2.3 บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (People ware) องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.3 บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (People ware) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Operator/ Computer Technician) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) นักเขียนโปรแกรม (Programmer) วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)
2.3 บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (People ware) องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.3 บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (People ware) กลุ่มผู้บริหาร ผู้บริหารสูงสุดด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (CIO – Chief Information Officer) หัวหน้างานด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Center Manager/ Information Manager)
2.4 ข้อมูลและสารสนเทศ(Data/Information) องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.4 ข้อมูลและสารสนเทศ(Data/Information) ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจริง ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลไปผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน จึงได้สารสนเทศออกมา ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผ่านการเลือกให้เหมาะกับการใช้งานให้ทันเวลา
2.4 ข้อมูลและสารสนเทศ(Data/Information) องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.4 ข้อมูลและสารสนเทศ(Data/Information) สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ มีความสัมพันธ์กัน (Relevant) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีความทันสมัย (Timely) ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้เมื่อต้องการ มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกๆ ส่วน มีความกระชับรัดกุม (Concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่อให้มีความกระชับ และความยาวที่พอเหมาะ มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (Complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
2.5 กระบวนการทำงาน (Procedure) องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.5 กระบวนการทำงาน (Procedure) หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะบางอย่างจากคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนจะต้องรู้กระบวนการทำงาน พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง เช่น การใช้เครื่อง ฝาก – ถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น
2.5 กระบวนการทำงาน (Procedure) องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.5 กระบวนการทำงาน (Procedure) จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้ เลือกรายการ ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ รับเงิน รับใบบันทึกรายการ และบัตรคืน
ชุดคำสั่ง Hardware ทำหน้าที่เหมือนร่างกายที่เคลื่อนไหวและทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่จิตใจต้องการ Software เปรียบเสมือนจิตใจของคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมหลักการคิด และการใช้เหตุผล ชุดคำสั่งมีความสำคัญต่อระบบคอมพิวเตอร์มาก เพราะคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้โดยปราศจากชุดคำสั่ง หรือถ้าชุดคำสั่งขาดความสมบูรณ์ก็จะทำการทำงานขาดประสิทธิภาพ
ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program) หมายถึง ชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร และสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยชุดคำสั่งจะทำหน้าที่สั่งงานและควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่กำหนด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ชุดคำสั่งสำหรับระบบ (System Software) ชุดคำสั่งประยุกต์ (Application Software)
ชุดคำสั่งสำหรับระบบ (System Software) ทำหน้าที่ควบคุมแลดูแลการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยปกติบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จะบรรจุชุดคำสั่งสำหรับระบบมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (Dos, OS/2 และ UNIX เป็นต้น) บางองค์กรอาจมีการเขียนชุดคำสั่งเพิ่มลงไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการทำงาน และให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์การ และธุรกิจต้องปรับปรุงหรือพัฒนาให้มีชุดคำสั่งรุ่นใหม่มาบรรจุในคอมพิวเตอร์ตามเหมาะสม
ชุดคำสั่งประยุกต์ (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป ที่หาได้ตามท้องตลาด หรือผู้ใช้อาจจะพัฒนาขึ้นเองจากภาษาคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ เพื่อจะสั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างตามที่เขียนไว้ในชุดคำสั่ง เช่น การจัดฐานข้อมูล การจัดระบบบัญชีและการเงิน หรือการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลัง เป็นต้น
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวก โดยชุดคำสั่งสำหรับใช้งานและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ จะถูกเขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์ (Human oriented Language) เพื่อสะดวกแก่ผู้ใช้งาน โดยมีการนำตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขมาประกอบเป็นคำสั่งต่าง ๆ
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) ภาษาระดับต่ำ (Lower Level Language) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์ ในยุคแรกได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีการเปลี่ยนรหัสของภาษาเครื่องมาเป็นตัวอักษร ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) ภาษาระดับสูง (Higher Level Language) เป็นภาษาที่พัฒนาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นจะต้องรู้รายละเอียดและขั้นตอนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มากนัก ภาษาฟอร์แทน โคบอล พีแอล/วัน อาร์พีจี เบสิก ปาสคาล และซี
ภาษายุคที่ 4 (fourth-generation language) หรือ 4GL เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้ง่ายต่อการเรียนรู้การนำไปใช้งาน จะช่วยให้ผู้เขียนชุดคำสั่งและผู้ใช้งานมีความรู้จำกัดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่น มี 3 ประการ คือ ง่ายต่อการเรียนรู้ (Easy-to-Learn) ภาษายุคที่ 4 จะมีโครงสร้างที่ง่ายชัดเจน และใกล้เคียงกับภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านคอมพิวเตอร์แต่สามารถเรียนรู้ได้ง่ายได้โดยไม่ลำบาก
ภาษายุคที่ 4 (fourth-generation language) หรือ 4GL ลักษณะเด่น มี 3 ประการ คือ ง่ายต่อการใช้งาน (Easy-to-Use) โครงสร้างและตรรกะที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และใช้งานภาษายุคที่ 4 ได้โดยไม่ต้อเสียเวลาทำความเข้าใจมาก มีประสิทธิภาพสูง (High Productivity) ลักษณะเด่น 2 ประการแรก ทำให้ผู้ใช้นิยมนำภาษายุคที่ 4 ไปใช้งาน ประกอบกับการประมวลผลที่รวดเร็วของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ข้อดีของภาษายุคที่ 4 เป็นภาษาที่ง่ายต่อการศึกษาและทำความเข้าใจ เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับผู้ใช้ (End-User-Oriented) เหมาะกับงานทางด้านฐานข้อมูลและงานทางธุรกิจ ใช้ชุดคำสั่งในการสั่งงานที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับภาษาคอมพิวเตอร์แบบเดิม ใช้ภาษาที่ง่ายและใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ ตรวจข้อผิดในการทำงานได้ง่ายกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ยุคก่อน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจาก 4GL จะช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงานลง
จำแนกประเภทการนำภาษา 4GL ไปใช้ การออกรายงาน (Report Generators) การแก้ไขและปรับปรุงภาษา (Retrieval and Update Language) เครื่องสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Tool) การวาดลายเส้น (Graphic Generators) ชุดคำสั่งสำหรับการใช้งาน (Application Packages) การกระตุ้นการใช้งาน (Application Generators)
ในบางครั้งภาษา 4GL อาจจะมีความสามารถในการทำงานกว่า 1 ประเภท และยังมีความพยายามในการพัฒนาเพื่อให้ภาษาคอมพิวเตอร์เข้าสู้ยุคที่ 5 (Fifth Generation Language) 5GL ได้แก่ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System), ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) และภาษาที่มุ่งเป้าหมาย (Objective-Oriented-Language) เป็นต้น
เทคโนโลยีโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การสื่อสารระยะใกล้และไกล โดยการรับส่งสัญญาณเสียง ข้อความและภาพ ผ่านสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งอาจเป็นไฟฟ้า แสง หรือวิธีอื่นใดที่ทำงานร่วมกัน เช่น โทรสาร วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต วิทยุกระจายและโทรทัศน์ Remote Control เป็นต้น
เทคโนโลยีโทรคมนาคม (Telecommunication) ช่องทางการสื่อสารข้อมูล องค์ประกอบพื้นฐานของระบบโทรคมนาคม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบด้วยกัน คือ 1. หน่วยส่งข้อมูล เป็นหน่วยที่ต้องการแจ้งหรือส่งข้อมูลให้หน่วยอื่น ๆ ทราบ เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสาร อาจจะเป็นคน หรือวัตถุก็ได้ 2. ช่องทางการสื่อสาร คือกระบวนการ ช่องทาง หรือสื่อใด ๆ ที่ทำให้ข้อมูลสามารถส่งไปถึงหน่วยรับข้อมูลอย่างไม่ผิดพลาด เป็นสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายก็ได้ 3. หน่วยรับข้อมูล เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูลที่ทำหน้าที่รับข้อมูลส่งมาผ่านช่องทางการสื่อสาร อาจจะเป็นคนหรือวัตถุก็ได้ หน่วยส่งข้อมูล ------------------------ > หน่วยรับข้อมูล ช่องทางการสื่อสารข้อมูล
เทคโนโลยีโทรคมนาคม (Telecommunication) ส่วนประกอบของเทคโนโลยีโทรคมนาคม เครื่องเทอร์มินัล (Terminal) หน่วยประมวลผลการสื่อสาร (Telecommunication Processor) ช่องทางการสื่อสาร(Telecommunication Channels) คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล(Computer) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการสื่อสาร (Telecommunication Control Software)
เทคโนโลยีโทรคมนาคม (Telecommunication) ทิศทางการสื่อสารข้อมูล มี 3 ชนิดคือ 1. แบบทิศทางเดียว (Simplex หรือ One-Way) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ ระบบโทรทัศน์ การส่งอีเมลล์ เป็นต้น 2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้ง 2 ทิศทางโดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด 3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การ Chat Online
เทคโนโลยีโทรคมนาคม (Telecommunication) สัญญาณไฟฟ้าในระบบโทรคมนาคม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. สัญญาณแออนาล็อก (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้าในลักษณะคลื่นต่อเนื่อง (Sine wave) สัญญาณไฟฟ้าที่จะใช้เสียง หรือรูปภาพ เช่น ระบบวิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี 2. สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้าในลักษณะไม่ต่อเนื่องเป็นระบบ 2 สภาวะ คือ สภาวะที่ไม่มีสัญญาณไฟฟ้าและมีสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนสัญญาณข้อมูลด้วย "0" หรือ "1"
เทคโนโลยีโทรคมนาคม (Telecommunication) วัตถุประสงค์ของการนำการสื่อสารข้อมูลเข้ามาใช้ในองค์กร 1. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งข้อมูล 2. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 3. เพื่อลดเวลาในการทำงาน 4. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร 5. เพื่อช่วยขยายการดำเนินงานขององค์กรให้ดีขึ้น 6. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารองค์กรให้สะดวกมากขึ้น