ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ . โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้อัดจากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรในท้องถิ่นภาคใต้ ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตด้านพลังงาน และปัญหาสิ่งแวดล้อมกำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นและมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยตรง ดังนั้นที่ผ่านมาจึงได้มีการรณรงค์ใช้วัสดุจากธรรมชาติแทนวัสดุสังเคราะห์ มากขึ้น การนำวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรกลับมาใช้ประโยชน์ทางเลือกหนึ่ง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรในท้องถิ่นภาคใต้ 3 ชนิด ได้แก่ เส้นใยจากผลปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือจากการสกัดน้ำมันปาล์ม ขี้เลื่อยไม้ยางพารา จากการแปรรูปไม้ยางพารา และ เศษใบเตยหนาม ที่เหลือจากการจักสาน มาใช้ให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไม้อัด ซึ่งความต้องการใช้สอยในรูปของไม้อัดนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ทดแทนไม้จริงจากป่าไม้ที่กำลังมีปริมาณลดน้อยลงอย่างมาก ดังนั้นหากความต้องการใช้ไม้อัดมีสูงมากดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น คาดว่าการใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรเพื่อแปรรูปเป็นไม้อัดนอกจากเป็นการลดการทำลายทรัพยากรป่าไม้แล้วยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมให้ประชาชนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ซึ่งหาวัตถุดิบได้ง่าย อันส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมในระดับรากหญ้าและช่วยยกระดับรายได้ของชุมชนให้สูงขึ้น โดยการผสมเส้นใยที่คัดขนาดแล้วกับวัสดุประสานและอัดให้เป็นแผ่นในแม่พิมพ์ และขึ้นรูปด้วยความร้อนและความดัน จนได้ผลิตภัณฑ์ไม้อัด สำหรับเศษใบเตยหนามสามารถใช้ประโยชน์ในการทำวัสดุปิดผิวได้ โดยตัดใบเตยหนามเป็นท่อนขนาดเล็กแล้วปิดบนผิวของไม้อัดเพื่อความสวยงาม ผลิตภัณฑ์แผ่นใยไม้อัด ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ในกลุ่มวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง เช่น แผ่นผนังห้อง แผ่นพื้นไม้ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ในชุมชน เช่นของที่ระลึก เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผงใยปาล์มมีลักษณะสีเข้ม ผิวมัน ขี้เลื่อยไม้ยางพาราและเตยหนามมีสีอ่อน ผิวด้าน นอกจากนั้นเนื่องจากเตยมีลักษณะเป็นแผ่นจึงสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปิดผิวได้ โดยไม้อัดที่ได้มีสมบัติทางกายภาพที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มอก. 876-2547 ขั้นตอนการผลิตแผ่นไม้อัด ปิดผิวด้วยเศษ ใบเตยหนาม เศษใบเตยหนาม เส้นใยจากผลปาล์มน้ำมัน ขี้เลื่อยไม้ยางพารา พลพัฒน์ รวมเจริญ1 ดำหริ กองหาด1 เกษม บิลก่อเด็ม1 อนุชา อำรัน1 ฟารีด ทักษิณาวาณิชย์ 1 อกนิตย์ ข้งอุ่น1 และ จรีรัตน์ รวมเจริญ2 1โปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 2 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ คุณบุศรา นิยมเดชา คุณข้อดีหยะ เส็นหมาน และ คุณวงเดือน สถิตนภาดล ในการจัดหาและเตรียมแผ่นใบเตยหนาม บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) สำหรับเส้นใยจากผลปาล์ม แผ่นใยไม้อัด ขึ้นรูปโดยใช้ความร้อนและความดัน ผสมกับวัสดุประสาน อัดเป็นแผ่นในแม่พิมพ์ เส้นใยจากพืช ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร วัสดุเศษเหลือ ความสำคัญและที่มา ผลิตภัณฑ์ วิธีการผลิต