อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง Place of Articulation
ปอด กล่องเสียง กระดูกไทรอยด์ ไครคอยด์ อะรีทีนอยด์
ฐาน กรณ์
ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค 1. ฐานริมฝีปาก เสียงจากฐานริมฝีปาก (bilabial) เกิดจากการใช้ริมฝีปากทั้งสองซึ่งอาจจัดตัวในลักษณะต่างๆ ตามประเภทของเสียง ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค 2. ฐานริมฝีปากกับฟัน เสียงจากฐานริมฝีปากกับฟัน (labio – dental) เกิดจากการใช้ริมฝีปากล่างกับฟันบน ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
3. ฐานฟัน เสียงจากฐานฟัน (dental) เกิดจากการใช้ปลายลิ้นกับฟันบน ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค 4. ฐานปุ่มเหงือก เสียงจากฐานปุ่มเหงือก (alveolar) เกิดจากการใช้ปลายลิ้นกับปุ่มเหงือก ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
5. เสียงลิ้นม้วน (rotroflex) เสียงนี้เกิดจากการม้วนปลายลิ้นไปบริเวณเพดานแข็งตอนหน้าหรือบริเวณเพดานแข็ง ซึ่งเสียงลิ้นม้วนนี้มีการพับลิ้นมากกว่าเสียงฐานบริเวณหลังปุ่มเหงือกที่ได้กล่าวข้างต้น https://en.wikipedia.org/wiki/Retroflex_consonant
6. ฐานปุ่มเหงือกเพดานแข็ง 6. ฐานปุ่มเหงือกเพดานแข็ง เสียงจากฐานปุ่มเหงือกเพดานแข็ง (palato - alveolar) เกิดจากการยกปลายลิ้นไปบริเวณปุ่มเหงือกหรือหลังปุ่มเหงือกเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันลิ้นส่วนหน้ายกขึ้นสู่เพดานแข็ง http://www.absoluteactorstudio.com/angeles/author/admin/
7. ฐานเพดานแข็งปุ่มเหงือก 7. ฐานเพดานแข็งปุ่มเหงือก เสียงจากฐานเพดานแข็งปุ่มเหงือก (alveolo - palatal) เกิดจากการให้ปลายลิ้นอยู่ในระดับปกติหรือลดต่ำลงใกล้กับฟันล่าง ในขณะเดียวกันลิ้นส่วนหน้ายกขึ้นสู่เพดานแข็ง ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
8. ฐานเพดานแข็ง เสียงจากฐานเพดานแข็ง (palatal) เกิดจากการยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นสู่บริเวณเพดานแข็ง http://www.absoluteactorstudio.com/angeles/author/admin/
ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค 9. ฐานเพดานอ่อน เสียงจากฐานเพดานอ่อน (velar) เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลังขึ้นสู่บริเวณเพดานอ่อน ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
ที่มา : http://www.austincc.edu/hguillor/frphonetics/x_uvular.html 10. ฐานลิ้นไก่ เสียงจากฐานลิ้นไก่ (uvular) เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลังขึ้นสู่บริเวณลิ้นไก่ ที่มา : http://www.austincc.edu/hguillor/frphonetics/x_uvular.html
11. ฐานผนังคอ เสียงจากฐานผนังคอ (pharyngal) เกิดจากการลดโคนลิ้นลงสู่บริเวณช่องคอ
ที่มา : http://www.absoluteactorstudio.com/angeles/author/admin/ 12. ฐานเส้นเสียง เสียงจากฐานเส้นเสียง (glottal) เกิดจากการที่เส้นเสียงเข้ามาชิดติดกันหรือเส้นเสียงเข้ามาใกล้กัน มีลมแทรกออกได้ ที่มา : http://www.absoluteactorstudio.com/angeles/author/admin/
การทำงานของเส้นเสียง เส้นเสียงปิดสนิท (Closed Glottis) เส้นเสียงเปิดกว้าง (Open Glottis) เส้นเสียงสั่น (Glottis in Vibration)
เส้นเสียงปิดสนิท (Closed Glottis) เส้นเสียงทั้งสองดึงตัวเข้ามาชิดติดกันสนิทแน่น โดยมีกระแสลมจากปอดอัดอั้นอยู่ข้างใต้ เมื่อเส้นเสียงเปิดออกครั้งหนึ่ง แรงดันของกระแสลมจากปอดทำให้เกิดเสียงได้ เช่น เสียงหยุดที่เส้นเสียง (glottal stop)
เสียงเปิดกว้างและปิดสนิท http://www.slideshare.net/gwrandall/ch-23lecturepresentation-25361312
เส้นเสียงเปิดกว้าง (Open Glottis) ส่วนหลังของเส้นเสียงจะแยกออกจากกัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเส้นเสียงทั้งสอง เมื่อลมผ่านออกมาได้ยินเป็นเสียงลมหายใจ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า เสียงเสียดแทรกที่เส้นเสียง ใช้สัทอักษร [h] เส้นเสียงในลักษณะนี้ก็คือสภาพปกติที่คนเราไม่พูด และเป็นสภาพของเส้นเสียงสำหรับเสียงอโฆษะหรือเสียงไม่ก้อง
เส้นเสียงสั่น (Glottis in Vibration) เส้นเสียงทั้งสองข้างดึงตัวเข้ามาติดกันและเปิดออกหลายครั้งต่อเนื่องกัน เสียงที่เปล่งออกมาโดยมีสภาพเส้นเสียงเช่นนี้เรียกว่า เสียงโฆษะ หรือ เสียงก้อง
กลไกกระแสลม
กลไกกระแสลม กลไกกระแสลมจากปอด ภาษาส่วนใหญ่ในโลกใช้กลไกประเภทนี้ กลไกกระแสลมจากกล่องเสียง เกิดขึ้นเมื่อเส้นเสียงปิดสนิท กลไกกระแสลมจากเพดานอ่อน ได้เสียงเดาะหรือ click
กลไกกระแสลมจากเพดานอ่อน
การบังคับกระแสลม หมายถึง การจัดอวัยวะที่ใช้ในการพูดให้อยู่ในสภาพต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้กระแสลมที่ออกมาจากปอด หรือกล่องเสียง หรือเพดานอ่อน มีทางเดินที่แตกต่างกันไป
การบังคับกระแสลมแบบปิด เสียงระเบิด (plosive) หมายถึง เสียงที่มีฐานกรณ์จรดกันอย่างสนิทแน่น ทำให้มีการกักลมที่มาจากปอดไว้ที่หลังจุดนั้นระยะหนึ่ง ขณะเดียวกันเพดานอ่อนยกขึ้นจรดผนังคอป้องกันไม่ให้ลมออกทางจมูก เมื่อคลายการปิดกั้นของฐานกรณ์ในปากออก ลมจะพุ่งออกมาทางช่องปากอย่างแรง
กระบวนการเกิดเสียงระเบิด (plosive)
การบังคับกระแสลมแบบปิด ข. เสียงนาสิก (Nasal) ลักษณะการจรดกันของฐานกรณ์สำหรับเสียงนาสิกเหมือนกับเสียงระเบิดคือจรดกันสนิทแน่น แต่เพดานอ่อนลดต่ำลง ตามธรรมชาติเสียงนี้เป็นเสียงก้องเสมอ
กระบวนการเกิดเสียงนาสิก http://www.ic.arizona.edu/~lsp/Phonetics/ConsonantsII/Phonetics3e.html
การบังคับกระแสลมแบบปิด ค. เสียงกักเสียดแทรก (Affricate) การออกเสียงกักเสียดแทรกเริ่มด้วยการจรดฐานกรณ์ ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องปากอย่างสนิทแน่นไว้ระยะหนึ่ง เพดานอ่อนยกสูงจรดผนังคอ แต่เมื่อคลายการปิดกั้นออกจะค่อยๆ คลายอย่างช้าๆ ทำให้เกิดเสียงเสียดแทรกตามมา
การบังคับกระแสลมแบบปิด เสียงข้างลิ้น (Lateral) บังคับกระแสลมแบบปิดเพียงบางส่วน คือส่วนปลายลิ้นจรดกับปุ่มเหงือกอย่างสนิทแน่น แต่ลดข้างลิ้นลง ทำให้ลมออกข้างลิ้นเท่านั้น แบ่งเป็น เสียงข้างลิ้นแบบเปิด (lateral approximant) เสียงเสียดแทรกข้างลิ้น (lateral fricative)
เสียงข้างลิ้น (Lateral) http://www.phon.ucl.ac.uk/courses/plin/plin2108/week5.php http://www.tuninst.net/PHONET-UNIL/text/consonant.htm
การบังคับกระแสลมแบบปิด เสียงลิ้นรัว ลิ้นกระทบ และลิ้นสะบัด ทั้งสามเสียงมีการบังคับกระแสลมแบบปิดๆ เปิดๆ เป็นระยะ
เสียงลิ้นรัว อวัยวะจรดกันแล้วเปิดออกหลายครั้งติดต่อกัน เสียงลิ้นกระทบ อวัยวะจรดกันแล้วเปิดออกเพียงครั้งเดียว เสียงลิ้นสะบัด อวัยวะจรดกันแล้วเปิดออกเพียงครั้งเดียว แต่มีการสะบัดปลายลิ้นด้วย
การบังคับกระแสลมแบบเปิดแคบ ฐานและกรณ์เข้ามาใกล้กันมาก ทำให้ลมต้องแทรกออกมาจากบริเวณอวัยวะนั้นๆ เกิดเป็นเสียงเสียดแทรก (fricative) เป็นเสียงก้องหรือไม่ก้องก็ได้
เสียงเสียดแทรก http://www.learnlanguagesonyourown.com/manners-of-articulation.html#laterals
การบังคับกระแสลมแบบเปิดกว้าง อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงทั้งฐานและกรณ์อยู่ห่างกันพอประมาณ ทำให้ลมผ่านออกมาได้อย่างสะดวกและไม่มีเสียงแทรกเกิดขึ้น เสียงประเภทนี้เรียกว่า เสียงเปิด (approximant) เสียงประเภทนี้จะเป็นเสียงก้องเสมอ เสียงสระมีธรรมชาติในการออกเสียงเหมือนกันกับเสียงเปิด
เสียงเปิด http://www.phon.ucl.ac.uk/courses/plin/plin2108/week5.php
เสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษ ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
ที่มา พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2533). สัทศาสตร์และสัทศาสตร์ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.