มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
สถานการณ์ปัจจุบันของมะเร็งปากมดลูก ทั่วโลก เป็นมะเร็งสตรีที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ช่วงอายุที่พบ 30-70 ปี (พบได้สูงในช่วงอายุ 45-55 ปี) เป็นมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ในสตรี ในแต่ละปี มีผู้ป่วยใหม่ 530,000 ราย เสียชีวิต 275,000 ราย ร้อยละ 88 ของผู้เสียชีวิตอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา
สถานการณ์ปัจจุบันของมะเร็งปากมดลูก ประเทศไทย เป็นมะเร็งสตรีที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 เป็นมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ในสตรี ในแต่ละปี มีผู้ป่วยใหม่ 9,999 ราย เสียชีวิต 5,216 ราย 14 รายต่อวัน !!!!
โพรงมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ ปากมดลูก ช่องคลอด ปากช่องคลอด
สาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก ไม่ใช่กรรมพันธุ์ แต่มีสาเหตุสำคัญมาจากการติดเชื้อ HPV 99.7% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จะตรวจพบเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ก่อ มะเร็ง
เชื้อ HPV คืออะไร ????? สายพันธุ์ 16, 18
HPV ติดต่อทางไหน ? เชื้อ HPV จะติดต่อผ่านทาง เพศสัมพันธ์เป็นหลัก ส่วนใหญ่ร่างกายจะกำจัดออกไปเองได้ แต่บางส่วนที่ร่างกายกำจัดไม่ได้จะพัฒนา กลายไปเป็นโรค ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันการติด เชื้อ HPV ได้ 100%
ปัจจัยที่ทำให้การติดเชื้อพัฒนาไปเป็นโรค ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น การติดเชื้อ HIV สูบบุหรี่ ติดเชื้อเมื่ออายุมาก ติดเชื้อสายพันธุ์ที่มีความรุนแรง ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วย
สถิติของการติดเชื้อ HPV ภายในช่วงอายุ 50 ปี การติดเชื้อ HPV พบมากที่สุดในผู้หญิง อายุ 18 – 28 ปี หลังจากติดเชื้อไวรัสนี้ ในช่วงแรก มักจะไม่ปรากฏอาการ ผิดปกติใดๆ ผู้ที่ติดเชื้อจึงมักไม่รู้ตัว และอาจแพร่เชื้อต่อโดยไม่ได้ตั้งใจ
การเกิดมะเร็งปากมดลูก หาย *เมื่อติดเชื้ออาจไม่เกิดอาการหรือแสดงความ ผิดปกติใดๆ เพราะโรคนี้อาจใช้ระยะเวลาในการก่อตัวของโรค นาน 5 -10 ปี เชื้อ HPV ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุ มดลูก และกลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา เพศสัมพันธ์ ติดเชื้อ HPV ไม่หาย เซลล์ผิดปกติ มะเร็งปากมดลูก
สัญญาณของมะเร็งปากมดลูก ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอาจมีอาการตกขาว หรือเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด รู้สึกเจ็บหรือมีเลือดออกหลังจากมี เพศสัมพันธ์ มีเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติหรือมี ประจำเดือนนานผิดปกติ ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน มะเร็งปากมดลูก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าหากตรวจพบแต่เนิ่นๆ
ระยะการเกิดมะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 0 หรือระยะเริ่มแรกก่อนเป็น มะเร็ง คือ ระยะที่เซลล์ของปากมดลูกเริ่มมี การเปลี่ยนแปลง สามารถตรวจพบได้จาก การตรวจแป๊บสเมียร์ ยังไม่สามารถพบ ความผิดปกติจากการตรวจร่างกายได้ ระยะที่ 1 คือ ระยะที่มีเซลล์มะเร็งอยู่ เฉพาะบริเวณปากมดลูกเท่านั้น
ระยะที่ 2 คือ ระยะที่มะเร็งลุกลามออกจาก ปากมดลูกไปบริเวณช่องคลอดส่วนบนหรือ บริเวณอุ้งเชิงกรานแต่ยังไม่ลุกลามถึงผนังอุ้ง เชิงกราน
ระยะที่ 3 คือ ระยะที่มะเร็งลุกลามไปจน ติดผนังอุ้งเชิงกราน หรือ ก้อนมะเร็งมีการ กดทับท่อไต ทำให้การทำงานของไตเสื่อม ลง
ระยะที่ 4 คือ ระยะที่มะเร็งลุกลามเข้าสู่อวัยวะ ข้างเคียง คือ กระเพาะปัสสาวะ หรือ ลำไส้ใหญ่/ ทวารหนัก หรือมะเร็งกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ปอด กระดูก สมอง และ/หรือ ต่อม น้ำเหลืองอยู่ไกลปากมดลูก เช่น ในช่องท้อง
การป้องกันมะเร็งปากมดลูก หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่าง สม่ำเสมอ เพื่อค้นหาความผิดปกติในระยะ ก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค นี้ได้ถึง 70% ถึงแม้จะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว การตรวจ Pap smear ก็ยังคงเป็นเรื่องจำเป็น !
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรเริ่มตรวจภายใน 3 ปีหลังจากเริ่มมี เพศสัมพันธ์หรือตั้งแต่อายุ 21 ปีเป็นต้นไป ควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่อายุ 30 ปีเป็นต้นไป ถ้ามีผล ตรวจที่ปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง อาจตรวจ 2-3 ปีต่อครั้ง หลังการผ่าตัดเอามดลูกและปากมดลูก ออก การตรวจอาจไม่จำเป็น เว้นแต่เป็น การผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งปากมดลูก