ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย THH 3106 ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย
ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย THH 3106 ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย คำ การสร้างคำ การประกอบศัพท์ ประโยคและการสร้างประโยค
ลักษณะคำภาษาไทย คำแต่ละคำสร้างขึ้นมาสำเร็จรูป พร้อมใช้ในภาษาได้ทันที THH 3106 ลักษณะคำภาษาไทย คำแต่ละคำสร้างขึ้นมาสำเร็จรูป พร้อมใช้ในภาษาได้ทันที คำไทยไม่มีเครื่องหมายบอกว่าเป็นคำชนิดใด คำไทยไม่มีเครื่องหมายบอกหน้าที่ของคำในประโยค คำไทยไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำ เพื่อบอกเพศ พจน์ กาล หรือบุรุษของแต่ละคำ
ลักษณะคำของภาษาบาลีสันสกฤต THH 3106 ลักษณะคำของภาษาบาลีสันสกฤต คำที่เรียกว่าศัพท์และนับเป็นศัพท์อันมีมาดั้งเดิม สร้างมาจาก “ธาตุ” ต้องประกอบปัจจัยก่อนจึงจะใช้ในภาษาได้
ลักษณะคำของภาษาบาลีสันสกฤต THH 3106 ลักษณะคำของภาษาบาลีสันสกฤต ธาตุที่ประกอบด้วยปัจจัย จะกลายเป็นศัพท์ ซึ่งอาจเป็นนามศัพท์หรือกริยาศัพท์ ศัพท์ แม้จะมีเครื่องหมายบอกชนิดของคำ ต้องประกอบวิภัตติปัจจัยเพื่อแสดงความเกี่ยวข้องระหว่างคำ เพศ พจน์ การก ศัพท์ที่แจกวิภัตติแล้วเรียกว่า “บท” ถือเป็นศัพท์สมบูรณ์ใช้ในภาษาได้
ลักษณะของธาตุ (root) ธาตุของภาษาบาลีสันสกฤต ถือเป็นรากศัพท์ THH 3106 ลักษณะของธาตุ (root) ธาตุของภาษาบาลีสันสกฤต ถือเป็นรากศัพท์ ธาตุแต่ละตัวจะมีความหมาย แต่ยังนำมาใช้ไม่ได้ ต้องตกแต่งโดยประกอบปัจจัยก่อน ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ (นามศัพท์ หรือ กริยาศัพท์) ศัพท์ + วิภัตติ = บท (เข้าความได้)
THH 3106 ลักษณะของธาตุ (root) ธาตุแต่ละตัวมีพยางค์เดียว และพยัญชนะต้นธาตุส่วนใหญ่เป็นพยัญชนะเดี่ยว ตัวที่ตามมาถือเป็นพยัญชนะท้ายธาตุ ไม่ออกเสียง จึงใช้เครื่องหมายพินทุ (ภาษาสันสกฤตจะใช้เครื่องหมายวิรามห้ามเสียง) เช่น วิศฺ (เข้า) ลภฺ (ได้) วิทฺ (รู้) ธาตุที่มีพยัญชนะคู่เป็นพยัญชนะต้น เช่น ศฺรุ (ส. ฟัง)
THH 3106 ลักษณะของธาตุ (root) ธาตุที่ไม่มีตัวสะกด เช่น สี (นอน) สุ (ฟัง) ภู (เป็น อยู่) กฤ (ทำ) มฤ (ตาย) เมื่อลงปัจจัยจะทำให้สระของธาตุกลายเป็นพยัญชนะอัทธสระเสียก่อน คือ อี เป็น ย เช่น สี เป็น สยฺ , นี เป็น นยฺ , ชิ เป็น ชยฺ อุ เป็น ว เช่น ภู เป็น ภวฺ ฤ เป็น ร เช่น กฤ เป็น กร. มฤ (ตาย) เป็น มร.
ลักษณะของธาตุ (root) จากนั้นจึงจะประกอบปัจจัยท้ายธาตุ เช่น THH 3106 ลักษณะของธาตุ (root) จากนั้นจึงจะประกอบปัจจัยท้ายธาตุ เช่น สี (นอน) ลงยุ ปัจจัยในความว่า การ ความ เครื่อง ของ ที่ การปรับปรุง ยุ ปัจจัยต้องแปลงยุ เป็น อน ก่อน สี – สยฺ + ยุ (อน) = สยน (ที่นอน, การนอน) สุ – สวฺ + ยุ (อน) = สวน (การฟัง, เครื่องฟัง, หู) กฤ – กร. + ยุ (อน) = กรณ (การกระทำ) มฤ – มรฺ + ยุ (อน) = มรณ (ความตาย)
THH 3106 ปัจจัย (Suffix) ปัจจัย คือ ส่วนที่ประกอบเข้าข้างท้ายธาตุ หรือศัพท์ ก็ได้ ปัจจัยประกอบท้ายธาตุ ย่อมทำให้ธาตุเป็นศัพท์ อาจเป็นนามศัพท์หรือกริยาศัพท์ ปัจจัยประกอบท้ายศัพท์ ย่อมทำให้ศัพท์นั้นมีความหมาย ต่างไปตามวิธีตัทธิต
ปัจจัย (Suffix) ปัจจัยแบ่งเป็น 2 ชนิด THH 3106 ปัจจัย (Suffix) ปัจจัยแบ่งเป็น 2 ชนิด ปัจจัยกฤต / กิตก์ (primary suffixes) ปัจจัยตัทธิต (secondary suffixes)
ลักษณะของปัจจัย (Suffix) THH 3106 ลักษณะของปัจจัย (Suffix) ปัจจัยแต่ละปัจจัยมีความหมายกำหนดไว้แน่นอน เช่น กฺวิ ปัจจัย แปลว่า ผู้ , ต ปัจจัย แปลว่า แล้ว ปัจจัยมีความหมายบอกชนิดของคำไว้ด้วย เช่น ถ้าประกอบ กฺวิ ปัจจัย ย่อมทำให้เป็น นามศัพท์ ถ้าประกอบ ต ปัจจัย ย่อมทำให้เป็น กริยาศัพท์
ลักษณะของปัจจัย (Suffix) THH 3106 ลักษณะของปัจจัย (Suffix) ปัจจัยแห่งตัทธิต ยังมีความหมายหลายประการ อาจทำให้ศัพท์นั้นแสดงว่าเป็นเหล่ากอ แสดงภาวะความเป็น แสดงความมี แสดงหมวดหมู่ แสดงขั้นต่าง ๆ ของคุณศัพท์ ฯลฯ ปัจจัยมีพยางค์เดียวเป็นส่วนใหญ่ เช่น ณ ณี ยุ ต ติ ปัจจัยสองพยางค์ เช่น ณวุ เณยฺย เณร วนฺตุ
ลักษณะของปัจจัย (Suffix) THH 3106 ลักษณะของปัจจัย (Suffix) ปัจจัยบางพวกต้องมีการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงที่ตัวปัจจัย เช่น ลบปัจจัย เช่น - กฺวิ , -ข ลบบางส่วนของปัจจัย เช่น -ณ -ณี -เณยฺย -เณร ลบ ณ เหลือ -อะ -อี -เอยฺย -เอร , -รู ลบ ร เหลือ อู แปลงรูปปัจจัย เช่น -ยุ อน , -ณฺวุ อก , -ตฺวา ย (เมื่อมีอุปสรรคประกอบหน้าธาตุ)
ลักษณะของปัจจัย (Suffix) THH 3106 ลักษณะของปัจจัย (Suffix) เปลี่ยนแปลงที่ตัวธาตุหรือศัพท์ เช่น ลบสระ หรือพยัญชนะท้ายธาตุ เช่น -ต, -กฺวิ แทรกสระ อิ ท้ายธาตุ เช่น -ต, -ตฺวา, -ตฺวาน, -ติ เปลี่ยนแปลงสระต้นธาตุด้วยวิธีเพิ่มกำลังให้สระ คือ อะ อา อิ เอ ไอ อุ โอ เอา
ลักษณะของปัจจัย (Suffix) THH 3106 ลักษณะของปัจจัย (Suffix) ปัจจัยบางพวกประกอบท้ายธาตุหรือท้ายศัพท์ได้ทันที เช่น ตฺร ปัจจัย ในความว่า เครื่องใช้ เช่น มา ธาตุในความว่า นับ วัด + ตฺร เป็น มาตร (เครื่องวัด)