วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181) สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ kansft@hotmail.com
เค้าโครงการบรรยาย ขอบเขตของข้อสอบ ทดลองทำแบบฝึกหัด ๒ ข้อ
ขอบเขตการออกข้อสอบ คะแนนส่วนของ อ.สงกรานต์ ๕๐ คะแนน คะแนนเก็บ ๑๐ คะแนน ข้อสอบมี ๓ ข้อ ข้อ ๑. ๒๐ คะแนน ข้อ ๒. และข้อ ๓. ข้อละ ๑๐ คะแนน ทางคณะจะจัดประมวลกฎหมายอาญาให้นักศึกษา
ลักษณะของข้อสอบ 1. ให้นักศึกษาอธิบายข้อความคิดสำคัญของกฎหมายอาญาพร้อมยกตัวอย่างประกอบที่เป็นรูปธรรม ๑ ข้อ 2. ให้นักศึกษาวินิจฉัยกรณีปัญหาในชีวิตประจำวันโดยปรับใช้หลักกฎหมายอาญาที่ได้เรียนมา ๒ ข้อ
วิธีการประเมินผลงานของนักศึกษา ความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง 50% ความชัดเจน เป็นระบบของคำอธิบาย 20% ความคิดเชิงวิพากษ์และริเริ่มสร้างสรรค์ในการตอบคำถาม 20% การยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์สังคมหรือชีวิตประจำวันของนักศึกษา 10%
ขอบเขตเนื้อหา ส่วนที่ไม่ออกข้อสอบ อายุความ การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง
การวินิจฉัยความรับผิดทางอาญา ขั้นที่ 1. การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ ขั้นที่ 2. มีกฎหมายยกเว้นความผิดหรือไม่ ขั้นที่ 3. มีกฎหมายยกเว้นโทษหรือไม่ ขั้นที่ 4. มีเหตุลดโทษ บรรเทาโทษหรือไม่
แบบฝึกหัด ข้อ ๑. สถาพร นักศึกษาแพทย์ ปี ๕ ไปเที่ยว ผับกับเพื่อน ระหว่าง ดื่มกินกันนั้น ชายต่างชาติคนหนึ่งก็ล้มกลิ้งลงไปกับพื้นพร้อมใช้มือทั้ง สองบีบคอตัวเองเหมือนหายใจไม่ออก สถาพรรู้ทันทีว่าหากไม่เจาะ คอเพื่อให้ออกซิเจนสามารถเข้าไปได้ชายคนนี้ต้องตายภายในสาม นาที เขาจึงตัดสินใจช่วยโดยใช้มีดที่พกติดตัวมาผ่าคอแล้วใช้หลอด แทงเข้าไปเพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงสมองได้ ชายคนนี้รอดตายแต่ ได้รับอันตรายสาหัสต้องรักษาตัวอย่าง ๓๐ วัน เช่นนี้ สถาพรต้องรับ ผิดทางอาญาหรือไม่อย่างไร
แบบฝึกหัด ข้อ ๒. ธนา ขี่รถมอเตอร์ไซต์ยี่ห้อ HONDA รุ่น Wave F1 สีแดงมา จอดไว้หน้า 7-11 แล้วเดินเข้าไปซื้อของโดยไม่ได้ดับเครื่องยนต์ หลังจากธนาเข้าไปในร้าน อำนาจก็ขี่รถมอเตอร์ไซต์ยี่ห้อ HONDA รุ่น Wave F1 มาจอดข้างรถของธนา แล้วเดินเข้าไปซื้อของโดยไม่ดับ เครื่องยนต์เช่นเดียวกัน ธนาออกจากร้านก็ขี่รถของอำนาจไปโดยเข้าใจ ว่าเป็นรถของตน อำนาจออกจากร้านไม่เห็นรถตนเองแต่เห็นรถของธนา จอดติดเครื่องอยู่ก็รู้ว่าธนาขับรถผิดไป จึงโกรธใช้ไม้ทุบรถของธนาจน พังเสียหายและไปแจ้งความให้ตำรวจตามจับธนา เช่นนี้ธนาและอำนาจ ต้องมีความรับผิดอาญาอย่างไร
แนวทางการตอบข้อ ๑ ประเด็นตามปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระทำโดยจำเป็น หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒.๑ ป.อาญามาตรา ๒๙๗ (๘) วางหลักไว้ว่า.......... ๒.๒ ป.อาญามาตรา มาตรา ๖๗ วางหลักไว้ว่า..........
แนวทางการตอบข้อ ๑ ๓. ปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมาย การที่สถาพร ตัดสินใจใช้มีดพกผ่าคอชายชาวต่างชาติเพื่อเจาะแล้วเอาหลอดแทงเข้า ไปจนเป็นเหตุให้เขาได้รับอันตรายสาหัส เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบที่ กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดตามมาตรา ๒๙๗ (๘) เพราะ มีการกระทำที่รู้สำนึก กระทำไปโดยเจตนาเล็งเห็นได้ว่าจะทำให้ผู้ถูกกระทำได้รับบาดเจ็บครบองค์ประกอบ ภายใน นอกจากนี้การกระทำยังครบองค์ประกอบภายนอกเพราะมีทั้งผู้กระทำ การ กระทำและวัตถุแห่งการกระทำ อีกทั้งการกระทำของสถาพรยังสัมพันธ์กับผลที่ทำให้ ชายชาวต่างชาติได้รับอันตรายสาหัส ในขั้นนี้จึงสรุปได้ว่า การกระทำของสถาพรเป็น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา ๒๙๗ (๘)
แนวทางการตอบข้อ ๑ อย่างไรก็ตามสถาพรไม่ต้องรับโทษตามมาตรา ๒๙๗ (๘) เพราะ การ กระทำของสถาพรเป็นการกระทำโดยจำเป็นตามมาตามมาตรา ๖๗ (๒) เนื่องจาก วิธีการที่สถาพรใช้เป็นวิธีการเดียวที่จะช่วยให้ชายคนดังกล่าวรอดชีวิต ได้ หากเขาไม่ทำชายดังกล่าวต้องตาย กรณีจึงเป็นการกระทำเพราะความ จำเป็นเพื่อให้ผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดย วิธีอื่น อีกทั้งสถาพรไม่ได้เป็นคนก่อภัยขึ้นด้วย นอกจากนี้การกระทำของ สถาพรย่อมถือว่าได้สัดส่วนกับภัยเพราะเป็นการทำร้ายร่างกายเพื่อช่วยชีวิต ซึ่ง เป็นการกระทำความผิดที่รุนแรงน้อยกว่าภัยที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงเป็นการกระทำ ที่ไม่เกินสมควรแก่เหตุ สถาพรจึงไม่ต้องรับโทษตามมาตรา ๒๙๗ (๘)
แนวการตอบข้อ ๑ สรุป แม้การกระทำของสถาพรจะครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดตาม ป.อาญามาตรา ๒๙๗ (๘) แต่สถาพรก็ไม่ต้องรับโทษจากการกระทำความผิดดังกล่าวเพราะการกระทำของเขาเป็นการกระทำโดยจำเป็นตามาตรา ๖๗ ซึ่งกฎหมายยกเว้นโทษให้
แนวการตอบข้อ ๒ ประเด็นตามปัญหาเป็นเรื่อง การสำคัญในข้อเท็จจริงและการบันดาลโทสะ หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒.๑ ป.อาญา มาตรา ๓๓๔ ลักทรัพย์ ซึ่งวางหลักไว้ว่า.......... ๒.๒ ป.อาญา มาตรา ๓๕๘ ทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งวางหลักไว้ว่า...... ๒.๓ ป. อาญา มาตรา ๕๙ เรื่องเจตนา ซึ่งวางหลักไว้ว่า........... ๒.๔ ป. อาญา มาตรา ๗๒ เรื่องเหตุบันดาลโทสะ
แนวการตอบข้อ ๒ ๓. ปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมาย กรณีของธนา การที่ธนาขับรถมอเตอร์ไซต์ของอำนาจไปโดยเข้าใจว่าเป็น ของตนเอง แม้จะมีการกระทำโดยรู้สำนึก คือการเอาไป และเป็นการเอาไปซึ่ง ทรัพย์สินของผู้อื่นครบองค์ประกอบภายนอกฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญามาตรา ๓๓๔ แต่การกระทำของเขาไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบภายใน คือ ขาดเจตนา เนื่องจากขณะที่เขาขี่รถของอำนาจไปนั้นเขาไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ของ ผู้อื่น แต่เข้าใจว่าเป็นทรัพย์ของตัวเอง จึงถือว่าเขาไม่มีเจตนาตามที่มาตรา ๕๙ วรรคสามบัญญัติไว้ การกระทำของเขาเมื่อขาดองค์ประกอบภายในจึงไม่ครบ องค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด จึงไม่เป็นการกระทำที่ผิดฐานลัก ทรัพย์กฎหมายอาญา เขาจึงไม่ต้องรับผิดทางอาญา