ปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนา ที่มีผลกระทบกับทรัพยากร ปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนา ที่มีผลกระทบกับทรัพยากร
ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของสารชนิดต่างๆในแหล่งน้ำ ดิน อากาศ นอกจากจะส่งผลกระทบทำให้สภาพแวดล้อมมีคุณภาพเสื่อมโทรมลงแล้ว ยังได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมบริเวณดังกล่าวอีกด้วย การแก้ไขและ หรือการป้องกันการปนเปื้อนของสาร ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้
จากนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆหลายสาขา เช่น นักเคมี นักชีววิทยา นักจุลชีววิทยา วิศวกร เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีมาผสมผสานและประยุกต์ใช้เพื่อการกำจัดหรือลดปริมาณการปนเปื้อนสารต่างๆในสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีทั้งวิธีทางฟิสิกส์ เคมีและชีวภาพ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อเนื่องถึงอนาคต การเลือกใช้เทคโนโลยีการฟื้นฟูที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและสภาพพื้นที่ย่อมส่งผลให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง
เทคโนโลยีต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการสร้างและพัฒนาโครงการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในลักษณะของการบูรณาการความรู้ ความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญจากศาสตร์ต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอน การฝึกอบรม และการบริการทางวิชาการ ที่เน้นถึงการนำความรู้และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์จริง การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาลและเอกชนรวมทั้งการขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการไปยังหน่วยงานต่างประเทศ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย เพื่อศึกษาและทำวิจัยร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้คืนสู่สภาพสมดุล และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผลกกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากเทคโนโลยี ผลกกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ
1.การลดลงของชั้นโอโซนในบรรยากาศ โอโซนส่วนใหญ่อยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์สูงจากพื้นผิวโลก ขึ้นไป 12- 50 กิโลเมตร เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์ส่องผ่านมายังผิวโลก รังสีบางส่วนจะเป็น รังสีคลื่นสั้นหรือรังส อัลตราไวโอเลตจะถูกโอโซนดูดกลืนไว้ และบางส่วนถูกสะท้อนกลับหรือกระจายไปในบรรยากาศโอโซนจึงทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลต ส่องผ่านลงมาบนผิวโลก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อพืชและสัตว์ได้หากปราศจากโอโซน แล้วสิ่งมีชีวิตบนโลกจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ โอโซนประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอมซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ คือ แสงอาทิตย์ที่มีรังสีอัลตราไวโอเลตที่ช่วงคลื่น 180-240 นาโนเมตร เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้โมเลกุลของออกซิเจน แตกออกเป็นอะตอมออกซิเจน แล้วไปรวมตัวกับโมเลกุลของออกซิเจนได้เป็น โอโซน
2.มลพิษจากฝนกรด ฝนกรด คือ น้ำฝนที่รวมตัวกันกับแก๊สออกไซด์ของvโลหะบางชนิดในอากาศ เกิดเป็นสารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด และมีความเป็นกรดอยู่ในช่วง pH = 3-5 สาเหตุของฝนกรด คือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สาเหตุ
ผลกระทบของฝนกรด 1. ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเพาะปลูก เช่น ผลผลิตของพืชน้อยกว่า ปกติ 2. ฝนกรดทำให้ดินเปรี้ยวจุลินทรีย์หลายชนิดในดินที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชถูกทำลาย ซึ่งจะมีผลกระทบในแง่การย่อยสลาย ในดินและการเจริญเติบโตของพืช 3. ฝนกรดสามารถทำปฏิกิริยากับธาตุอาหารที่สำคัญของพืช เช่น แคลเซียม, ไนเตรต,แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ทำให้พืชไม่สามารถนำธาตุอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้ 4.แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศทำให้ปากใบปิดซึ่งจะมีผลกระทบต่อการหายใจของพืช 5.ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำยังมีผลกระทบด้านระบบนิเวศ ที่อยู่อาศัยรวมถึงการดำรงชีวิตอีกด้วย
5.ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำยังมีผลกระทบด้านระบบนิเวศ ที่อยู่อาศัยรวมถึงการดำรงชีวิตอีกด้วย 6.ฝนกรดสามารถละลาย calcium carbonateในหินทำให้เกิดการสึกกร่อน เช่น พิรามิดในประเทศอียิปต์และ ทัชมาฮาลในประเทศอินเดีย เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กัดกร่อนทำลาย พวกโลหะทำให้เกิดสนิมเร็วขึ้นอีกด้วย 7.ฝนกรดทำลายวัสดุสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์บางชนิด คือ จะกัดกร่อนทำลายพวกโลหะ เช่น เหล็กเป็นสนิม เร็วขึ้น สังกะสีมุงหลังคา ที่ใกล้ๆ โรงงานจะผุกร่อนเร็ว สังเกตได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้แอร์ ตู้เย็น หรือวัสดุอื่นๆ เช่น ปูนซีเมนต์หมดอายุเร็วขึ้น ผุกร่อนเร็วขึ้น เป็นต้น 8.ฝนกรดจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปู หอย กุ้ง มีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ไปได้เพราะฝนกรดที่เกิดจากแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และเกิดจากแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ จะทำให้น้ำในแม่น้ำทะเลสาบ มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ถ้าเกิดอย่างรุนแรงจะทำให้สัตว์น้ำดังกล่าวตาย
3.ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศ ทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อน
https://wiki. stjohn. ac https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_lifeenvironmentandtechnology/wiki/4af31/_6_.html