งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (environmental and quality of life)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (environmental and quality of life)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (environmental and quality of life)
วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ภัทรลภา ฐานวิเศษ อาจารย์ระจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโนลี มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

2 “สิ่งแวดล้อม” หมายถึง สรรพสิ่งทั้งหมด ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ปรากฎการณ์ต่างๆ กฎเกณฑ์ธรรมชาติและผลที่เกิดจากการปฎิบัติตามกฎธรรมชาติ เทคโนโลยีกัลสิ่งแวดล้อมจึงมีปฏิสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ที่มา : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2543)

3 สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
จำนวนประชากรเพิ่ม ความต้องการการบริโภคเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีก้าวหน้าสะดวกสบาย นำทรัพยากรมาใช้ง่ายขึ้นและมากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติลดลง

4 ปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทย
 ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมรุนแรงและมี แนวโน้มถูกทำลายเพิ่มขึ้น  การจัดการยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร

5 สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย
ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรแร่ พลังงาน ทรัพยากรชายฝั่ง ประมงทะเล สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหามลพิษทางเสียง ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ (2554)

6 มีการตกค้างสารเคมีในดินที่เกิดจากการเกษตร การใช้สารเคมีในการเกษตร
ทรัพยากรดิน มีการชะล้างพังทะลายของดิน การทำไร่เลื่อนลอยบนภูเขา มีการตกค้างสารเคมีในดินที่เกิดจากการเกษตร การใช้สารเคมีในการเกษตร การทำนาเกลือ การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การแพร่กระจายของ พื้นที่ดินเค็ม

7 ทรัพยากรน้ำ ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ ภัยแล้ง น้ำเค็ม
คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมจากการปล่อยน้ำทิ้งในแหล่งน้ำต่างๆ

8 ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
การบุกรุกและทำลายป่า การลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อการค้า

9 ทรัพยากรเหมืองแร่ การขุดและระเบิดแร่ทำให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

10 พลังงาน ความต้องการพลังงานสูง หาพลังงานทดแทน

11 ทรัพยากรชายฝั่ง กิจกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่ทำให้ทรัพยากรชายฝั่งเสื่อมโทรม

12 ทรัพยากรประมงทะเล มีการทำการประมงในอัตราสูงจึงทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง
เกิดปัญหาความขัดแย้งละเมิดน่านน้ำ

13 สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
การกระทำของมนุษย์ที่ไม่ระมัดระวังสิ่งแวดล้อม

14 มลพิษอากาศ

15 มลพิษอากาศ โลกของเรามีชั้นของบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบหนาประมาณ 15 กิโลเมตร ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน ฝุ่นละอองไอน้ำ และเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ก๊าซที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงอยู่ของ สิ่งมีชีวิตในโลก คือ ก๊าซออกซิเจนและชั้นของบรรยากาศที่มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอ ต่อการดำรงชีวิตมีความหนาเพียง กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งปกติจะมีส่วนประกอบ ของก๊าซต่าง ๆ ค่อนข้างคงที่ คือ ก๊าซไนโตรเจน 78.09% ก๊าซออกซิเจน 20.94% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเฉื่อย 0.97  ในปริมาณคงที่ของก๊าซดังกล่าวนี้ เราถือ ว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์แต่เมื่อใดก็ตามที่ส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไปมีปริมาณ ของฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น หมอกควัน ไอ ไอน้ำ เขม่าและกัมมันตภาพรังสีอยู่ในบรรยา กาศมากเกินไป เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า “อากาศเสีย” หรือ “มลพิษทางอากาศ”

16 มลพิษทางอากาศ  มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลา นานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ - ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว - ไฟไหม้ป่า กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ - มลพิษจากท่อไอเสีย ของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการระเหย ของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น

17 แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ
แหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม

18 แหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ
การจราจรที่ติดขัดทำให้รถเคลื่อนตัวได้ด้วยความเร็วต่ำ มีการหยุดและออกตัวบ่อยครั้ง ขึ้นน้ำมันถูกเผาผลาญมากขึ้น การสันดาปของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ และมีการระบายสารมลพิษทางท่อไอเสียในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น  ดังนั้นบริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงกว่า ในบริเวณที่มีการจราจรคล่องตัว สารมลพิษที่ระบายเข้าสู่บรรยากาศที่เกิดจาก การคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ - ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน - ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและ - ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

19 แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม
เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ - ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ - ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งพบว่ามีปริมาณการระบายออกสู่บรรยากาศเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น

20 แหล่งกำเนิดที่สำคัญและ ผลกระทบของมลพิษทางอากาศ

21 มลพิษ แหล่งกำเนิที่สำคัญ ผลกระทบ PM-10 การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล ฝุ่นละอองแขวนลอยคงค้างใน ถนน ฝุ่นจากการก่อสร้างและ จากอุตสาหกรรม PM-10 มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของ คนอย่างสูงเพราะมีขนาดเล็กจึงสามารถ แทรกตัวเข้าไปในปอดได้ SO2 การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มี ซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบซึ่ง ส่วนใหญ่คือ ถ่านหินและน้ำมัน และอาจเกิดจากกระบวนการ ทาง อุตสาหกรรมบางชนิด การสะสมของ SO2 จำนวนมากอาจทำให้เป็น โรคหอบหืดหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบ ทางเดินหายใจ นอกจากนี้การรวมตัวกัน ระหว่าง SO2 และ NOx เป็นสาเหตุสำคัญที่ ก่อให้เกิดฝนกรด (acid rain) ซึ่งทำให้เกิด ดินเปรี้ยว และทำให้น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ต่างๆ มีสภาพเป็นกรด

22 มลพิษ แหล่งกำเนิที่สำคัญ ผลกระทบ สาร ตะกั่ว การเผาไหม้ alkyl lead ที่ ผสมอยู่ในน้ำมันเบนซิน สารตะกั่วเป็นสารอันตรายที่ส่งผล ทำลายสมอง ไต โลหิตระบบ ประสาทส่วนกลาง และระบบ สืบพันธุ์ โดยเด็กที่ได้รับสารตะกั่ว ในระดับสูงอาจมีพัฒนาการรับรู้ช้า กว่าปกติและการเจริญเติบโตลดลง CO การเผาไหม้ของน้ำมันที่ ไม่สมบูรณ์ CO จะเข้าไปขัดขวางปริมาณก๊าซออกซิเจน (O2) ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ ดังนั้นผู้ที่มีอาการโรค ระบบหัวใจและหลอดเลือดจึงีมีความเสี่ยงสูงจนอาจ ถึงแก่ชีวิตได้ถ้าได้รับ CO ในระดับสูง

23 มลพิษ แหล่งกำเนิที่สำคัญ ผลกระทบ NOx การเผาไหม้เชื้อเพลิง ฟอสซิล และยังมีบทบาท สำคัญ ในการก่อตัวของ O3 และ ฝุ่นละออง การรับ NOx ในระดับต่ำอาจทำให้คนที่มีโรค ระบบทางเดินหายใจมีความผิดปกติของปอด และอาจ เพิ่มการเจ็บป่วยของโรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก ขณะที่การรับ NOx เป็นเวลานานอาจเพิ่มความไวที่ จะติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจและทำให้ปอดมี ความผิดปกติอย่างถาวร O3 การทำปฏิกิริยาระหว่าง สารประกอบอินทรีย์ระเหย ง่าย (Volatile organic compound: VOC) และ ออกไซด์ของไนโตรเจนโดยมีความร้อน และแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา O3 อาจทำให้เกิดอันตรายเฉียบพลันต่อสุขภาพ เช่น ความระคายเคืองต่อสายตา จมูก คอ ทรวงอกหรือมี อาการไอ ปวดหัว นอกจากนี้ยังอาจทำให้ผลผลิต ทางการเกษตรต่ำลง

24 ผลเสียจากมลพิษทางอากาศ (Air Pollution Effects)

25 ผลเสียที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
 ก่อให้เกิดความรำคาญ ระคายเคือง เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยไม่แสดงอาการ จนกระทั่งมีอาการชัดเจน และถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด 

26 ผลเสียที่มีต่อพืชและสัตว์
ผลเสียที่มีต่อพืชและสัตว์  ผลเสียที่มีต่อพืช SO2 ทำให้ใบซีด แอมโมเนียทำให้ใบเหลือง โอโซนทำให้  ใบเปลี่ยนเป็นสีเงิน สำหรับฝุ่นละอองจะก่อให้เกิดอันตรายต่อพืช โดยตกลงจับบนใบและส่วนอื่นๆ ของพืช  ทำให้ก๊าซผ่านเข้าสู่ในใบน้อยลง ใบจะเหลืองและเฉาไปในที่สุด  ผลเสียที่มีต่อสัตว์  จะมีลักษณะคล้ายกับผลเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

27 ผลเสียที่เกิดกับวัสดุต่างๆ
ทำให้เกิดความสกปรก สีซีดจาง โลหะเป็นสนิม สึกและผุกร่อน ทำให้ยางและพลาสติกเปราะและแตกในที่สุด ผ้าเปื่อยและขาด กระดาษเหลืองและกรอบ ทำให้ผิววัสดุ เช่น เซรามิคส์ด้าน ลดความมัน

28 ผลเสียที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศวิทยา
เป็นผลที่เกิดจากฝนกรด โดยธรรมชาติน้ำฝนจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ น้ำฝนตามธรรมชาติจะมีสภาพเป็นกรด     เล็กน้อยอยู่แล้ว คือ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่ประมาณ 5.6 (ค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่ 7.0 จัดว่ามีสภาพเป็นกลาง) 

29 ผลเสียต่อสภาวะภูมิอากาศ
การที่มีฝุ่นละอองแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศเป็นจำนวนมาก หรือการเกิด Photochemical Smog จะบดบังทัศนวิสัย (Visibility) ทำให้ระยะทางในการมองเห็นผ่านอากาศลดลง ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะทางไกลๆ ได้  นอกจากนี้ ฝุ่นละอองยังทำหน้าที่กั้นและสะท้อนแสงแดดที่ส่องมายังผิวโลก ทำให้ผิวโลกมีอุณหภูมิลดลง

30 มาตรการในการแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศ
การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศโดยประชาชน หากประชาชนพบว่าคุณภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ  การติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศ เป็นการนำเอาอุปกรณ์ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ มาใช้เพื่อกำจัดหรือลดปริมาณของมลสารที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม ประหยัด และเกิดผลสูงสุด 

31 มาตรการในการแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศ (ต่อ)
4. มาตรการทางด้านกฎหมาย โดยการออกกฎหมาย กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศเพื่อใช้เป็นมาตรการสำคัญในการควบคุมมลพิษทางอากาศ 5. การควบคุมมลพิษจากยานพาหนะ โดยการออกกฎหมาย ให้มีมาตรฐานควบคุมการปล่อยก๊าซที่เป็นสารมลพิษที่มีอยู่ในไอเสียของเครื่องยนต์ประเภทต่างๆ ไม่ให้เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน

32 มาตรการในการแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศ (ต่อ)
6. การควบคุมมลพิษจากสถานประกอบการอุตสาหกรรม มลพิษจากแหล่งอุตสาหกรรมได้แก่ ก๊าซชนิดต่างๆ อาทิเช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของซัลเฟอร์ และไฮโดรคาร์บอนที่ยังไม่ถูกเผาไหม้ 7. การวางแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม 7.1 การแบ่งเป็นเขตเฉพาะ (Proper Zoning) 7.2 การควบคุมกิจกรรมต่างๆ (Control of Activities) 8. การให้การศึกษาและจัดการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ 9. การจัดสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้มีเพิ่มขึ้น

33 การแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศโดยประชาชนทั่วไป
การแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศโดยประชาชนทั่วไป  1. ร่วมมือกันรณรงค์เรื่องการลดมลพิษทางอากาศ ตามวาระโอกาสต่างๆที่จัดขึ้น 2. เมื่อต้องการเดินทาง พยายามใช้บริการของขนส่งมวลชนเพื่อลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนน 3. หากพบเห็นผู้ก่อมลพิษทางอากาศ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการระงับการปล่อยสารมลพิษก่อนจะเกิดปัญหามากขึ้น จนยากแก่การแก้ไข 4. ปลูกต้นไม้หรือบำรุงรักษาต้นไม้ที่มีอยู่ไว้ให้มาก เพราะต้นไม้จะช่วยกรองอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้

34 การแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศโดย ผู้ใช้รถจักรยานยนต์
  การแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศโดย ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ เลือกใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ใช้น้ำมันเครื่องลดควันขาวที่ได้มาตรฐาน ไม่เติมน้ำมันหล่อลื่นลงในถังน้ำมันเชื้อเพลิง หมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ตามคำแนะนำของผู้ผลิตอยู่เสมอ เลือกใช้รถจักรยานยนต์ แบบ 4 จังหวะ เพราะจะก่อให้เกิดสารมลพิษน้อยกว่ารถจักรยานยนต์ แบบ 2 จังหวะ

35 การแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศโดย ผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
เลือกใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา หมั่นตรวจสอบหม้อกรองอากาศ หัวเทียน อุปกรณ์จ่ายน้ำมัน

36 การแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศโดย ผู้ใช้รถยนต์บรรทุก
ใช้น้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำ ไม่บรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดไว้ หมั่นตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้องบรรทุกหิน ดิน ทราย ต้องใช้ผ้าคลุมให้มิดชิดป้องกันฝุ่นไม่ให้ฟุ้งกระจาย ทำความสะอาดล้อรถก่อนไปวิ่งบนท้องถนน

37 การแก้ไขและควบคุมมลพิษทางอากาศโดย ผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการก่อสร้าง
ใช้ผ้าใบหรือวัสดุอื่นที่สามารถคลุมบริเวณที่ก่อสร้างเพื่อป้องกันฝุ่น มีรั้วกั้นบริเวณสถานที่ก่อสร้าง ไม่ใช้ทางเท้าหรือผิวถนนเป็นที่กองวัสดุหรือเป็นที่ผสมปูน พื้นผิวทางเข้าออกบริเวณก่อสร้าง ควรใช้วัสดุถาวร เช่น ยางแอสฟัลต์หรือคอนกรีต เพื่อลดปริมาณฝุ่นฟุ้งกระจายในอากาศ เก็บกวาดและทำความสะอาด พื้นที่รอบบริเวณก่อสร้างอยู่เสมอ ๆ ทำปล่องสำหรับทิ้งวัสดุจากที่สูง เพื่อป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย

38 ขยะเปลี่ยนโลก (Solid Waste Change the World)

39 ความหมายของขยะ จาก พ.ร.บ. สาธารณสุข พ.ศ.2535 ได้ให้ความหมายของขยะว่า “เศษอาหาร เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดสิ่งอื่นใดที่เก็บจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นๆ” ส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ ขยะ หมายความว่า “หยากเยื่อ เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว” และเมื่อพิจารณาถึงการดำเนินงานจัดการขยะรวมทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่ อาจกล่าวได้ว่าขยะหมายถึง “สิ่งที่คนเห็นว่าไม่มีคุณค่าหรือประโยชน์สำหรับการใช้ และทิ้งออกไป”

40 ประเภทของขยะ ขยะย่อยสลายได้ เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ กระดาษ
พลาสติก โลหะ ขวดแก้ว กล่องนม ขยะรีไซเคิล หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ ขยะพิษ ขยะทั่วไป พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติกบางประเภท โฟม ฟอย และถุงพลาสติก ที่เปื้อนอาหาร

41 ปริมาณและองค์ประกอบของขยะในประเทศไทย
ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนทั่วประเทศประมาณ ล้านตัน หรือวันละ 40,332 ตัน (ยังไม่รวมข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยก่อนนำมาทิ้งในถัง) ในปริมาณนี้แยกเป็น ขยะอินทรีย์ 63.6% ขยะรีไซเคิล % (พลาสติก 16.8% กระดาษ 8.2% โลหะ 2.1% แก้ว 3.5%) ขยะทั่วไป 5.8% (เศษผ้า 1.4% เศษไม้ 0.7% ยาง 0.5 และอื่นๆ 3.2% ปริมาณขยะมูลฝอยต่อคนต่อวันเฉลี่ยทั่วประเทศยังคงอยู่ที่ประมาณ 0.65 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน (กรมควบคุมมลพิษ,2550)

42 ปัญหาการจัดการขยะในประเทศไทย
ปํญหาการรวบรวมและเก็บขนขยะ ปัญหาพื้นที่ในการกำจัดขยะ

43 ปัญหาการรวบรวมและเก็บขนขยะ
ปัจจุบันการจัดเก็บขยะไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล (กรมควบคุมมลพิษ,2553)

44 ปัญหาพื้นที่ในการกำจัดขยะ
ในขณะที่ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด (เท่าเดิม) ทำให้เริ่มขาดแคลนพื้นที่ในการกำจัดขยะ ขาดการกำจัดขยะอย่างถูกหลักสุขาภิบาลทำให้ประชาชนต่อต้านพื้นที่กำจัดขยะ ในส่วนของการจัดการนั้น ขยะส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตชนบทนั้นยังไม่ได้รับการจัดการที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำจัดขยะ ซึ่งมีปัญหา ทั้ง วิธีการ บุคลากรและ งบประมาณ การต่อต้านจากประชาชนที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ไม่ให้มีการก่อสร้างระบบกำจัดขยะ (สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์, 2548)

45 ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากปัญหาการจัดการขยะ
อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ 2) น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ 3) แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน 4) เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน (กรมควบคุมมลพิษ, 2553)

46 การเพิ่มมูลค่าของขยะ

47 การเพิ่มมูลค่าของขยะ
ในปี 2550 มีการนำขยะมูลฝอยชุมชนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ประมาณ 3.25 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของปริมาณที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 94 ยังคงเป็นการคัดแยกและซื้อขายขยะ รีไซเคิล โดยอาศัยกิจกรรมในชุมชน เช่น การรับซื้อของเก่า โครงการผ้าป่ารีไซเคิล ธนาคารขยะในโรงเรียน ตลาดนัดวัสดุรีไซเคิล ศูนย์วัสดุรีไซเคิลชุมชน ขยะแลกข้าวสาร เป็นต้น และที่เหลืออีกร้อยละ 6 เป็นการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยน้ำชีวภาพ (กรมควบคุมมลพิษ, 2550, หน้า 17)

48 การแยกขยะรีไซเคิลเพื่อเพิ่มมูลค่า
เป็นแรงจูงใจของประชาชนในการเพิ่มมูลค่าจากการแยก ซึ่งปัจจุบันก็จะมีโครงการธนาคารขยะ ในชุมชนและโรงเรียนเกิดขึ้นมากมาย หรือการทำบุญด้วยขยะโดยโครงการผ้าป่าขยะรีไซเคิล เป็นต้น เป็นวิธีที่ลงทุนน้อยแต่ได้ประโยชน์กลับมามหาศาลทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ และเป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในการผลิตวัสดุขึ้นมาใหม่ได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งได้เงินหยอดกระปุกแทนที่จะทิ้งขยะลงถังอีกต่างหาก

49 ปุ๋ยน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ มูลสัตว์และซากสัตว์ นำมาทำปุ๋ยน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งมีประโยชน์ เช่น ผสมน้ำรดต้นไม้ได้ทุกชนิด - ใส่ในส้วมเพื่อเร่งการย่อยสลาย ราดในท่อระบายน้ำ - ราดบริเวณรอบบ้านเพื่อลดปัญหาแมลงวันและยุง ฉีดพ่นไล่มดและแมลงสาบในบ้าน - ทำความสะอาดเครื่องประดับ ใส่ตู้ปลาเพื่อย่อยสลายขี้ปลาและเศษอาหาร ผสมน้ำอาบให้สัตว์เลี้ยงเพื่อกำจัดกลิ่นตัว ใส่ในน้ำให้สัตว์เลี้ยงกิน ผสมน้ำแช่ผักเพื่อลดพิษจากยาฆ่าแมลง ผสมน้ำล้างปลาให้หมดกลิ่นคาว เป็นต้น (อรรถ บุญนิธิ, 2553, หน้า 9)

50 ประโยชน์ของการรีไซเคิล

51 กระดาษ ในการผลิตกระดาษ 1 ตัน ใช้ต้นไม้ 17 ต้น - ใช้น้ำมัน 31,500 ลิตร
ใช้ต้นไม้ 17 ต้น ใช้น้ำมัน 31,500 ลิตร กระแสไฟฟ้า 4,100 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง - ใช้น้ำ 3 แสนลิตร แต่ถ้าเราหันกลับมาใช้กระดาษรีไซเคิล - เราจะใช้น้ำน้อยกว่า 1 แสนลิตร - ใช้พลังงานเพียง 50 % โดยไม่เปลืองต้นไม้ใหม่เลย เราสามารถนำกระดาษมารีไซเคิลใหม่ได้ 2 – 3 ครั้ง ซึ่งทำให้คุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง

52 พลาสติก เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน โดยไม่ย่อยสลายในธรรมชาติ กลายเป็นขยะ อายุนับร้อยปี ถ้าช่วยกันรีไซเคิลพลาสติกจะเป็นการประหยัดน้ำมันอีกทางหนึ่ง

53 สัญลักษณ์การรีไซเคิลพลาสติก

54 แก้ว เป็นขยะที่ไม่ไม่ย่อยสลายตามอายุขัยของโลก
ขวดแก้วหากไม่เสียหาย จะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกถึง 20 – 30 ครั้ง ส่วนแก้วแตกแต่ละชนิดจะถูกแยกสีและหลอมออกมาเป็นขวดใหม่ แก้วรีไซเคิล 1 ใบ จะประหยัดพลังงานๆได้เท่ากับปริมาณหลอดไฟฟ้าขนาด 400 วัตต์นาน 4 ชั่วโมง หรือ 800 วัตต์ชั่วโมง

55 อลูมิเนียม การรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมจะทำให้
ประหยัดพลังงานความร้อนได้ถึง 20 เท่า ลดมลพิษทางอากาศได้ถึง 95 % ของการผลิตกระป๋องใหม่ การผลิตกระป๋องอลูมิเนียม 1 ใบ จะต้องใช้พลังงานเท่ากับการเปิดโทรทัศน์ดูถึง 17 ชั่วโมง ซึ่งนำไปรีไซเคิลจะได้กระป๋องรีไซเคิล 20 ใบ โดยกระป๋องแคนรีไซเคิลจะใช้พลังงานเพียง 5 % ของพลังงานที่ผลิตกระป๋องใหม่ นั่นคือประหยัดพลังงานในการเปิดโทรทัศน์ ชั่วโมง ((95/100)*17) ดังนั้นถ้าทีวีขนาด 100 วัตต์ ก็เป็นการหยัดพลังงานไฟฟ้าไป 1,615 วัตต์

56 เศษเหล็ก จะถูกนำไปเทในเตาหลอม ทำการหลอมละลายและผ่านกระบวนการต่างๆ จนได้เป็นแท่ง เรียกว่า Billet และตัดให้ได้ความยาวที่เหมาะสมพร้อมจะป้อนเข้าโรงรีดต่อไป ทองแดง สามารถนำกลับมาหลอม เพื่อทำเป็นสายไฟฟ้าใหม่ ได้อีกครั้ง ทองเหลือง สามารถนำกลับมาหลอมใหม่ นำไปใช้เพื่อหล่อเป็นพระพุทธรูป ระฆัง อุปกรณ์สุขภัณฑ์ต่างๆ

57 แบตเตอรี่ นำไปหลอมละลายทำเป็นตะกั่วแท่งและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อไป
นุ่น นำกลับไปเป็นส่วนผสมของนุ่นใหม่ ทำฟูกนอน หมอนตุ๊กตา กากมะพร้าว นำไปสกัดน้ำมันออก ผลิตเป็นไขสบู่ กากที่เหลือนำไปเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์

58 ขยะเปลี่ยนเป็นพลังงาน
ขยะอินทรีย์นอกจากเราจะหมักได้ปุ๋ยน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพแล้ว ยังได้แก๊สมีเทน (CH4) สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม เป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย ขยะรีไซเคิลประเภทพลาสติกสามารถนำมาผลิตน้ำมันโดยผ่านขบวนการ Pyrolysis  

59 การจัดการขยะเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน

60 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนโดยการฝังกลบขยะ 1 ตัน
มีผลกระทบหลัก 3 ด้าน คือ ด้านการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse) 2) ด้านการใช้พลังงาน (Energy resources) 3) ด้านการเกิดภาวะฝนกรด (Acidification) (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2551)

61 ด้านการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse)
มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ kg CO2 eq./ตัน โดยมาจากขั้นตอนการฝังกลบเป็นหลักเนื่องจากการเกิดก๊าซชีวภาพในขบวนการหมักขยะในหลุมฝังกลบ

62 ด้านการใช้พลังงาน (Energy resources)
มีการใช้พลังงานทั้งสิ้น MJ LHV / ตัน โดยเกิดขึ้นในขั้นตอนการเก็บและขนส่ง รองลงมาคือ ขั้นตอนการฝังกลบ และการอัด-ห่อ ขยะ ตามลำดับ

63 ด้านการเกิดภาวะฝนกรด (Acidification)
มีการปลดปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เท่ากับ kg SO2 eq. โดยเกิดจากขั้นตอนการฝังกลบเนื่องจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในรถบดอัดดิน รวมถึงการเกิดก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบ ขั้นตอนการคัดแยกจะเห็นได้ว่าการรีไซเคิลในกระบวนการคัดแยกนั้นมีผลทำให้ค่า ผลกระทบในเกือบทุกกลุ่มผลกระทบมีค่าติดลบ โดยเฉพาะผลกระทบด้าน Greenhouse และด้านการใช้พลังงาน โดยมีค่าเท่ากับ kg CO2 eq/ตัน และ MJ LHV / ตัน

64 ข้อเสนอแนะแนวทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน
1) การนำก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า จะสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ kg CO2 eq. คิดเป็นร้อยละ ) การเพิ่มอัตราการรีไซเคิลให้มากขึ้น (15%) จะสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ kg CO2 eq. คิดเป็นร้อยละ ) การนำก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าและการเพิ่มอัตราการรีไซเคิลให้มากขึ้น (15%) จะสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ kg CO2 eq. คิดเป็นร้อยละ (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2551) (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2551)

65 แนวคิดแสดงประโยชน์จากพลังงานจากขยะ
(ที่มา : สมรัฐ เกิดสุวรรณ, 2553, หน้า 1)

66 การคำนวณการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม จากการลดปริมาณขยะ
ตัวอย่าง การคำนวณการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม จากการลดปริมาณขยะ ตลาดนัดวัสดุรีไซเคิลชุมชนเทศบาลเมืองบ้านไผ่ ที่มา: ศูนย์บริการเทคโนโลยีสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (2550, หน้า 8-8)

67 ตลาดนัดวัสดุรีไซเคิลเคลื่อนที่
ชุมชนสมหวังสังวาลย์

68 ศูนย์ปุ๋ยน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ชุมชนสมหวังสังวาลย์

69 ตลาดนัดวัสดุรีไซเคิล
ชุมชนบ้านข่าพัฒนา

70 ตลาดนัดวัสดุรีไซเคิล
ชุมชนกกแดง

71 ตลาดนัดวัสดุรีไซเคิล
ชุมชนบ้านไผ่เก่า

72 ผลดำเนินการตลาดนัดวัสดุรีไซเคิลชุมชน
จากการลงพื้นที่ในชุมชนนำร่องทั้ง 4 ชุมชน คณะที่ปรึกษา สาธิต และแนะนำคณะกรรมการตลาดนัดวัสดุ รีไซเคิล ในการดำเนินงานต่างๆ ในวันเริ่มดำเนินการครั้งแรกคือ วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2550 และ ครั้งที่ ในวันอาทิตย์ที่ กันยายน 2550 หลังจากนั้นในสัปดาห์ต่อมาคณะกรรมการชุมชนได้ดำเนินการเอง ได้รับความสนใจ และความร่วมมือในการคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นอย่างดีจากชุมชน

73 ปริมาณวัสดุรีไซเคิลที่รวบรวมได้ในชุมชน
ในเดือนกันยายนตลาดนัดวัสดุรีไซเคิลสามารถรวบรวมวัสดุรีไซเคิล แบ่งเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้ รวม 9,835 กิโลกรัม

74 ปริมาณวัสดุรีไซเคิลที่รวบรวมได้ในโรงเรียน
ในเดือนกันยายนธนาคารวัสดุรีไซเคิลสามารถรวบรวมวัสดุรีไซเคิล แบ่งเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้ รวม กิโลกรัม

75 สรุปรวมปริมาณขยะทั้งหมดที่ลดได้
ประเภทวัสดุรีไซเคิล โรงเรียน ชุมชน รวม กระดาษ (กก.) 133.90 2,382.30 2,516.20 พลาสติก (กก.) 45.10 771.70 816.80 โลหะ (กก.) 182.00 3,397.10 3,579.10 อลูมิเนียมกระป๋อง 2.00 8.00 10.00 ขวดแก้ว (กก.) 107.10 3,138.60 3,245.70 อื่นๆ (กก.) - 145.30  145.30 468.10 9,689.70 10,313.10

76 กระดาษ ลดปริมาณกระดาษได้ทั้งหมด 2,516.20 กก. ลดการตัดต้นไม้
รีไซเคิลกระดาษ 1,000 กก. ลดการตัดต้นไม้ได้ 17,000 กก. ถ้ารีไซเคิลกระดาษ 2, กก. ประหยัดต้นไม้ได้ 2, กก. × 17,000 กก. 1,000 กก = 42, กก. = ตัน

77 กระดาษ (ต่อ) ลดปริมาณกระดาษได้ทั้งหมด 2,516.20 กก. ลดการใช้น้ำ
รีไซเคิลกระดาษ 1,000 กก. ลดการใช้น้ำได้ 200,000 ลิตร ถ้ารีไซเคิลกระดาษ 2, กก. ลดการใช้น้ำได้ 2, กก. × 200,000 ลิตร 1,000 กก = 503,240 ลิตร = ลบ.ม.

78 กระดาษ (ต่อ) ลดปริมาณกระดาษได้ทั้งหมด 2,516.20 กก. ลดการใช้น้ำมัน
รีไซเคิลกระดาษ 1,000 กก. ลดการใช้น้ำมันได้ 15,750 ลิตร ถ้ารีไซเคิลกระดาษ 2, กก. ลดการใช้น้ำได้ 2, กก. × 15,750 ลิตร 1,000 กก = 39,627 ลิตร

79 กระดาษ (ต่อ) ลดปริมาณกระดาษได้ทั้งหมด 2,516.20 กก. ลดการใช้ไฟฟ้า
รีไซเคิลกระดาษ 1,000 กก. ลดการใช้ไฟฟ้าได้ 2,050 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ถ้ารีไซเคิลกระดาษ 2, กก. ลดการใช้ไฟฟ้าได้ 2, กก. × 2,050 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง 1,000 กก = 5, กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

80 อลูมิเนียมกระป๋อง ลดปริมาณอลูมิเนียมได้ทั้งหมด 10 กก. ลดการใช้ไฟฟ้า
อลูมิเนียม 1 กก. มีประมาณ 66 ใบ ดังนั้นอลูมิเนียม 10 กก.มีประมาณ (10 กก.x 66 ใบ)/(1 กก.) = 660 ใบ ให้ทีวีสีมีขนาด 100 วัตต์ ลดการใช้ไฟฟ้า รีไซเคิลอลูมิเนียม 1 ใบ ประหยัดไฟฟ้า กิโลวัตต์ ถ้ารีไซเคิลอลูมิเนียม 660 ใบ ประหยัดไฟ (660 ใบ x กิโลวัตต์ ) 1 ใบ = กิโลวัตต์ชั่วโมง

81 ขวดแก้ว ลดปริมาณขวดแก้วได้ทั้งหมด 3,245.70 กก. ลดการใช้ไฟฟ้า
ขวดแก้ว 1 กก. มีประมาณ 3 ใบ (เทียบจากขวดน้ำปลาหรือขวดเบียร์) ดังนั้นขวดแก้ว 3, กก.มีประมาณ (3, กก.x 3 ใบ)/(1 กก.) = 9,737 ใบ ลดการใช้ไฟฟ้า รีไซเคิลขวดแก้ว 1 ใบ ประหยัดไฟฟ้า1.6 กิโลวัตต์ ถ้ารีไซเคิลขวดแก้ว 9,737 ใบ ประหยัดไฟ (9,737 ใบ x 1.6 กิโลวัตต์ ) 1 ใบ = 1, กิโลวัตต์ชั่วโมง

82 ปริมาณวัสดุรีไซเคิลทั้งหมด
ลดปริมาณวัสดุรีไซเคิลทั้งหมด 10, กก. ลดภาวะโลกร้อน ลดปริมาณขยะ1,000 กก. ลด Green House Gas ได้ 0.35 kg CO2 eq ถ้าลดปริมาณวัสดุรีไซเคิลทั้งหมด 10, กก.ลด Green House Gas ได้ 10, กก. × 0.35 kg CO2 eq 1,000 กก = 3.60 kg CO2 eq

83 การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
รายการ หน่วย ปริมาณ มูลค่า/หน่วย จำนวนเงิน (บาท) ต้นไม้ ตัน 42.78 600 25,665 น้ำ ลูกบาศก์เมตร 503.24 12 6,039 น้ำมัน ลิตร 39,630 43 1,704,096 พลังงานไฟฟ้า กิโลวัตต์ชั่วโมง 21,803.47 4 87,214 ภาวะโลกร้อน kg CO2 eq 3.56 0.36 1.28 รวม 1,759,908 หมายเหตุ : สำรวจราคา ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555

84 มลพิษทางน้ำกับสุขภาพ

85 ผลกระทบมลพิษทางน้ำต่อสุขภาพ
๑) สารอินทรีย์ ๒) เชื้อโรค ๓) โลหะหนัก

86 สารอินทรีย์ สารอินทรีย์ในแหล่งน้ำมักเกิดจากขยะมูลฝอยพวกเศษอาหาร ไขมัน และน้ำเสียที่ปล่อยทิ้งจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อสารอินทรีย์ดังกล่าวถูกระบายสู่แหล่งน้ำในปริมาณมากจะทำให้ค่าออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำตาย มนุษย์ไม่สามาระนำน้ำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ตามปกติ เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งยังมีกลิ่นเหม็นรบกวน สร้างความเครียดทางจิตใจด้วย

87 เชื้อโรค โดยเฉพาะน้ำเสียและของเสียที่มาจากบ้านเรือนโรงพยาบาล หรือชุมชนที่มีการบำบัดที่ไม่ได้มาตรฐาน ย่อมทำให้มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งอาจปะปนมากับอุจจาระ และสิ่งปฏิกูล เช่น ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่มีน้ำเป็น สื่อกลาง เช่น โรคตับอักเสบ โรคอหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วง โรคผิวหนัง เป็นต้น

88 โลหะหนัก โลหะหนักเป็นสารที่คงตัว ไม่สามารถสลายตัวได้ในกระบวนการ ธรรมชาติจึงมีบางส่วนตกตะกอนสะสมอยู่ใน ดิน ดินตะกอนที่อยู่ในน้ำ รวมถึงการสะสมอยู่ในสัตว์น้ำ โลหะ หนักที่เกิดขึ้น เช่น แคดเมียม ปรอท โครเมียม ตะกั่ว สารหนู สังกะสี ฟลูออไรต์ ที่มักเกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม หรือจากสารปราบศัตรูพืชทางการเกษตร เมื่อถูกปนเปื้อนในแหล่งน้ำจะก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ที่บริโภคสัตว์น้ำที่มีการสะสมของโลหะหนักเหล่านั้นในปริมาณที่สูง เช่น เกิดโรคมินามาตะ โรคอิไตอิไต ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากบริโภคปลาที่มีสารปรอทและแคดเมียมปนเปื้อน สารโลหะหนัก ในน้ำยังอาจส่งผลทำให้มนุษย์ที่นำน้ำมาบริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคระบบประสาท เป็นต้น

89 โรคมินะมะตะ เกิดจากพิษจากสารปรอท โดยมีอาการของเด็กขาดสารอาหาร มีอาการวิกลจริตอย่างอ่อนๆ กรีดร้อง นัยน์ตาดำขยายกว้างเล็กน้อย ลิ้นแห้ง แต่ไม่พบสาเหตุของการผิดปกติ แขนขาเคลื่อนไหวลำบาก มีการกระตุกตัวแข็ง แขนขาบิดงออย่างรุนแรง เพราะโรคนี้ แสดงผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โรคนี้ค้นพบครั้งแรกที่เมืองมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ โดยเกิดจากการทิ้งน้ำเสียที่มีสารปรอทเจือปนออกมา

90 เป็นโรคชนิดหนึ่งเกิดจากแคดเมียม
โรคอิไตอิไต เป็นโรคชนิดหนึ่งเกิดจากแคดเมียม ชื่อโรคอิไตอิไต มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า เจ็บปวด โรคอิไตอิไต พบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เช่นเดียวกับโรคมินามาตะ ผู้ที่มีโอกาสจะได้รับพิษแคดเมียม คือ คนงานในอุตสาหกรรมชุบหรือเชื่อมโลหะ คนงานเคาะพ่นสีรถยนต์และมอเตอร์ไซด์ ที่มีการใช้ความร้อน หรือเปลวไฟในการเชื่อมเหล็กที่มีแคดเมียมผสมหรือเคลือบอยู่ การสูดไอของโลหะแคดเมียมเข้าไประยะยาว แคดเมียมจะไปสะสมที่กระดูก ทำให้กระดูก ผุมีอาการเจ็บปวดมาก

91 เมื่อได้รับแคดเมียมสะสมมาก ๆ จะสังเกต เห็นวงสีเหลืองที่โคนของซี่ฟัน ซึ่งจะขยายขึ้นไปเรื่อย ๆจนอาจเต็มซี่ ถ้าขนาดของวงยิ่งกว้างและสียิ่งเข้ม ก็แสดงว่ามีแคดเมียมสะสมมาก มีหลักฐานพิสูจน์ ได้ว่าแคดเมียมออกไซด์เป็นสารก่อมะเร็งที่ไตและต่อมลูกหมาก นอกจากนั้นยังทำอันตรายต่อไต ทำให้สูญเสียประสาทการดมกลิ่นและทำให้ เลือดจาง ถ้าได้รับปริมาณมากระยะสั้น ๆ จะมีอาการจับไข้ หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดศีรษะ อาเจียน อาการนี้จะเป็นได้นานถึง 20 ชั่วโมงแล้วตามด้วยอาการเจ็บหน้า อก ไอรุนแรง น้ำลายฟูม เมื่อใดมีไอของแคดเมียม เช่น จากการเชื่อมเหล็กชุบ ควรใช้หน้ากากป้องกันไอและฝุ่นของแคดเมียม หรือสารประกอบแคดเมียม ในขณะทำงาน

92 การกำจัดน้ำเสียและการควบคุมมลพิษทางน้ำ
การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ (self purification)  2. การทำให้เจือจาง (dilution) 3. การทำให้กลับสู่สภาพดี แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) 4. การควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ (wastewater control) 5. การบำบัดน้ำเสีย (wastewater treatment) 6. การกักเก็บของเสีย ไว้ระยะหนึ่งก่อนปล่อยออกจากแหล่งผลิต (detention)

93 หลักการป้องกันมลพิษทางน้ำ
ไม่ทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำ และทางระบายน้ำสาธารณะ  บำบัดน้ำเสียขั้นต้น ก่อนระบายลงแหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำ  ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในบ้านเรือน ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช ในกิจกรรมทางการเกษตร หรือสารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน  ควรนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์  สำรวจเพื่อลดปริมาณน้ำเสียของแต่ละขั้นตอนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม  สร้างจิตสำนึกของประชาชนในตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาคุณภาพแหล่งน้ำ และประหยัดการใช้น้ำเท่าที่จำเป็น

94 การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดภาวะโลกร้อน
(Environmental Management to Decrease Global Warming)

95 โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างที่เคยเป็น
ภาวะโลกร้อน คืออะไร? โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างที่เคยเป็น อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น

96 อะไรคือ ..... สาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน
การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก (เช่น CO2 N2O CH4 CFC เป็นต้น) ก๊าซเรือนกระจกคือ ก๊าซที่ทำหน้าที่ดักและสะท้อนความร้อนที่โลกแผ่กลับออกไปในอวกาศให้กลับเข้าไปในโลกอีก จึงทำให้ไม่เกิดอุณหภูมิแปรปรวนในแต่ละวัน

97 เกิดจากปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect)
ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร ? เกิดจากปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) ชั้นบรรยากาศของโลก ถูกห่อหุ้มด้วยก๊าซเรือนกระจก ทำให้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวโลก ไม่สามารถสะท้อนกลับขึ้นสู่อวกาศ

98 ปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)
ปรากฏการณ์ที่ความร้อนถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศ คล้ายคลึงกับสภาพที่เกิดขึ้นภายในเรือนกระจกที่ใช้สำหรับปลูกพืชในประเทศเขตหนาว แสงแดดสามารถส่องผ่านให้ความอบอุ่นภายในเรือนกระจกได้ แต่กระจกสามารถสะท้อนไม่ให้ความร้อนออกไปจากเรือนกระจกได้

99 ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect)

100 ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร
เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ หากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

101 อายุในชั้นบรรยากาศ (ปี)
ก๊าซเรือนกระจก อายุในชั้นบรรยากาศ (ปี) ศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์) คาร์บอนไดออกไซด์ 1 มีเทน 9-15 23 ไนตรัสออกไซด์ 120 296 CFC-12 100 10,600 เตตระฟลูออโรมีเทน 50,000 5,700 ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ 3,200 22,000 ที่มา :

102 ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมอื่นๆ
ที่มา :

103 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไร หิมะละลาย โลกร้อนขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นทำให้เกิดน้ำท่วม “การกระทำของมนุษย์มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ”

104 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
ต่อสภาพภูมิอากาศ สภาพอากาศแปรปรวนมากยิ่งขึ้น ความชื้นในอากาศเพิ่มมากขึ้นเนื่องด้วยการระเหยของน้ำที่มากขึ้น ความไม่มั่นคงของอุณหภูมิ

105 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
ต่อทะเลและมหาสมุทร ธารน้ำแข็งและน้ำแข็งตามทั่วโลกละลาย น้ำทะเลสูงขึ้น อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น การเปลี่ยนสภาวะของน้ำเป็นกรด การหยุดไหลของกระแสน้ำอุ่น

106 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
ต่อมนุษย์ เกิดการขาดแคลนน้ำ เกิดการอพยพย้ายที่อยู่อาศัยเนื่องจากโดนน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น เกิดโรคร้ายเพิ่มขึ้น ภาวะโลกร้อน ทำให้แมลงหลายชนิดที่เป็นพาหะสำคัญของเชื้อโรคกระจายพันธุ์ได้ดีขึ้น

107 ที่มา : http://www.bangkapi.ac.th/
หลักเขตกรุงเทพมหานครที่เคยกั้นระหว่างเขตบางขุนเทียนกับอ่าวไทย ซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นแผ่นดินมาก่อนแต่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนเหลือแต่หลักเขตอยู่ห่างจากฝั่ง 800 เมตร

108 ฝนตกหนักและแรงขึ้น พายุโซนร้อน (tropical cyclone) เพิ่มขึ้น น้ำท่วมและภัยแล้ง รุนแรงขึ้น

109

110 พายุเฮอร์ริเคนริต้า พายุเฮอร์ริเคนแคททารีน่า

111

112 พายุเฮอร์ริเคนที่เกิดขึ้นครั้งแรกในตอนส่วนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก

113 พายุไซโคลนโมนิกา ในเดือนเมษายน 2549

114 อุณหภูมิสูงสุดของกรุงเทพมหานคร
วันที่ อุณหภูมิสูงสุด (องศาเซลเซียส) 15 มีนาคม 2528 31.2 15 มีนาคม 2538 32.4 15 มีนาคม 2550 34.6

115

116

117 ธารน้ำแข็ง Grinnell Gl . (ประเทศสหรัฐอเมริกา) ในปี ค.ศ.1911

118 Muir and Riggs Glaciers รัฐอลาสก้า
ประเทศสหรัฐอเมริกา

119 ธารน้ำแข็ง Ag Upsala ประเทศอาร์เจนตินา

120 รูปธารน้ำแข็งทั่วโลก

121 ระดับน้ำทะเลตั้งแต่ปี พ.ศ.2420 ถึงปัจจุบัน สูงขึ้น 10-25 เซนติเมตร

122 วัดขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ

123 ผลกระทบด้านสุขภาพอนามัยจากภาวะโลกร้อน

124 ปัญหาสุขภาพอนามัยจากภาวะโลกร้อน
ปัญหาจากรังสี UV โรคมะเร็งผิวหนัง รังสี ยู วี บี (UV-B) จะถูกดูดซึมโดยผิวหนังชั้นนอก (epidermis) ทำให้ผิวหนังแดงและเกิดการอักเสบได้ ซึ่งถ้าได้รับมาก ๆ อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง รังสี ยู วี เอ (UV-A) ประมาณ %จะถูกดูดซึมโดยผิวหนังชั้นใน (Dermis) จะทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น และสูญเสียความยืดหยุ่น และถ้าได้รับมาก ๆ อาจทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร

125 ฝ้า รังสีอัลตราไวโอเล็ตเอและบีเป็นตัวกระตุ้นหรือทำให้ฝ้าเป็นมากขึ้นได้ทั้งสิ้น เมื่อผิวโดนรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากแสงแดด ปฏิกิริยาแรกของเมลานินคือจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทำให้ผิวคล้ำขึ้นชั่วคราวได้ ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและหายไปเองอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน ถ้ายังโดนรังสีต่อ เซลล์สร้างเม็ดสีก็จะทำการสร้างเม็ดสีมากขึ้น ทำให้ผิวมีสีคล้ำขึ้น และอยู่ค่อนข้างนาน

126 โรคทางตา เช่น โรคต้อกระจก ทำให้เลนซ์ตาขุ่นมัว รังสี อัลตร้าไวโอเลต – B จะไปทำลายโปรตีนในเนื้อเลนส์แก้วตา ทำให้ตาเป็นต้อกระจก และเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดตาบอดได้

127 ปัญหาโรคติดเชื้อ เกิดการดัดแปลงนิเวศวิทยาของแมลงนำโรค โดยปกติแล้วแมลงนำโรคจะสามารถอยู่ได้ในภาวะที่เหมาะสม อัตราการฟักตัวขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในร่างกาย ไม่มีตัวปรับอุณหภูมิ เมื่ออยู่ในที่ร้อนก็จะปรับตัวให้อยู่กับที่ร้อน เมื่ออยู่ในที่เย็นก็จะปรับให้เข้ากับที่เย็นด้วย ดังนั้นแมลงที่อยู่ในที่เย็นก็จะอยู่ในที่ร้อนไม่ได้ ขณะเดียวกันแมลงที่อยู่ในที่ร้อนก็จะอยู่ในที่เย็นไม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากคนที่ปรับอุณหภูมิในร่างกายที่ 37 ไม่ว่าจะอยู่ในที่ร้อนหรือเย็น จากการศึกษาพบว่าไวรัสหรือปรสิตที่อาศัยแมลงเป็นตัวนำจะมีวิวัฒนาการเร็วขึ้นเมื่ออุณหภูมิในร่างกายของแมลงสูงขึ้น

128 มีกลไกการดัดแปลงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคในมนุษย์ เช่น มาลาเรีย ในสมัยก่อนคนที่จะเป็นไข้มาลาเรียได้ต้องเข้าป่า ปัจจุบันพบว่าคนที่ไม่เคยเข้าป่าก็ติดเชื้อมาลาเรียได้ซึ่งเกิดขึ้นจากที่ว่ายุงได้มีปัจจัยที่เหมาะแล้วกับในเมือง ความชื้นพอเหมาะกับอยู่ในป่า เพราะโลกมีความชื้นขึ้นและมีอุณหภูมิที่เอื้อได้

129 โรคอหิวาตกโรค พบว่าแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง เป็นแหล่งที่อยู่ของเชื้ออหิวาตกโรค แต่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรค หมายความว่าสายพันธุ์จะเกิดโรคได้ต้องติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า CTX ซึ่งอยู่ในสาหร่ายสีเขียวที่อยู่ในน้ำ ปัจจุบันนี้พบว่าอหิวาตกโรคไม่ได้เกิดในเฉพาะฤดูร้อนอย่างเดียวแต่เกิดขึ้นทั้งปี เช่น กรณีอหิวาตกโรคระบาดที่จังหวัดมหาสารคามและกาฬสินธุ์ ในเดือนตุลาคม 2550

130 ประชากรของแมลงจะเพิ่มขึ้น การก่อเชื้อของแมลงจะเร็วขึ้น ตัวเชื้อโรคมีการกลายพันธุ์ เช่น เข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น คนมีโอกาสเสี่ยงที่เป็นโรคมากขึ้นและตายมากขึ้นจากโรคติดเชื้อ อุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้น ปริมาณฝนที่ฝนตกมาก น้ำท่วมขังเยอะทำให้ยุงชุม ลมมีความรุนแรงมากขึ้นสามารถพัดพาแมลงสัตว์ปีกไปได้ไกล ๆ พัดพาเอาเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มากับละอองดินไปตกยังพื้นที่ไกล ๆ เปลี่ยนทิศทางการเกิดโรคไปในที่ใหม่ ๆ ทำให้เชื้อระบาดได้เร็วและไปไกลขึ้น

131 ไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นตัวนำ ปัจจุบันพบว่าทั่วโลกมีประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นไข้เลือดออกถึง 2,500 ล้านคน มีประชากรที่ติดเชื้อนี้ 50 ล้านคนต่อปี มาลาเรีย มีประชากรเสี่ยง 24,400 ล้านคน มีผู้ป่วย 300 – 500 ล้านคนต่อปี โรคเท้าช้าง มีประชากรเสี่ยง 1,094 ล้านคนมีประชากรป่วย 117 ล้านคน

132 โรคพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomiasis) ที่เกิดจากหอยมีความเสี่ยงของประชากร 600 ล้านคน ส่วนใหญ่ที่อยู่ในทวีปแอฟริกามีประชากรติด 200 ล้านคนต่อปี อาการปอดมีจุดเลือดออกเล็กๆตับ ตัวบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ม้ามโต ปอดเต็มไปด้วยแผลเล็กๆ ไข่อาจเคลื่อนไปทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ สมอง ไขสันหลังตาหรือผิวหนัง ได้อีก

133 การลดปัญหา...ภาวะโลกร้อน

134 การลดภาวะโลกร้อนด้วยตัวเราเอง
เปลี่ยนหลอดไฟ การเปลี่ยนหลอดไปจากหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟหนึ่งดวง จะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี ขับรถให้น้อยลง หากเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ การขับรถยนตร์เป็นระยะทาง 1 ไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ปอนด์ รีไซเคิลของใช้ ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งนึงจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2400 ปอนด์ต่อปี

135 เช็คลมยาง การขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติ น้ำมันๆทุกๆแกลลอนที่ประหยัดได้ จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 20 ปอนด์ ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง ในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลด คาร์บอนไดออกไซด ์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็น จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ปีละ 500 ปอนด์ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ เพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 1200 ปอนด์ต่อปี

136 บอกเพื่อนๆ ของคุณเกี่ยวกับวิธีเหล่านี้
ปรับอุณหภูมิห้องของคุณ(สำหรับเมืองนอก) ในฤดูหนาว ปรับอุณหภูมิของ heater ให้ต่ำลง 2 องศา และในฤดูร้อน ปรับให้สูงขึ้น 2 องศา จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 2000 ปอนด์ต่อปี ปลูกต้นไม้ การปลูกต้นไม้ หนึ่งต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้ ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ใช้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับพันปอนด์ต่อปี บอกเพื่อนๆ ของคุณเกี่ยวกับวิธีเหล่านี้ ที่มา :

137 กิจกรรม (40 คะแนน) 1.ให้นักศึกษาแต่ละคนทำการรวบรวมปริมาณวัสดุรีไซเคิลด้วยตัวเอง เป็นระยะเวลา 1 เดือนต่อเนื่อง 2.นำวัสดุรีไซเคิลที่รวบรวมได้ไปขายหรือบริจาค(จะต้องมีหลักฐานเป็นรูปภาพพร้อมทั้งบิลรับซื้อหรือรับบริจาค) และบันทึกน้ำหนักวัสดุรีไซเคิลแยกประเภท 3.สรุปผลการดำเนินการ 1) ปริมาณขยะที่ลดได้(แยกตามประเภท) 2) มูลค่าขยะ 4.รวมผลงานเป็นกลุ่มๆละ 5-10 คน 3) แสดงการคำนวณ การประหยัดทรัพยากร ต้นไม้ น้ำ ไฟฟ้า พลังงาน และการลดปริมาณ CO2 เป็นต้น 4) สรุปเป็นตารางและประเมินมูลค่าในการประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.นำเสนอด้วย Power Point ตามวันและเวลาที่กำหนด 6. จัดส่งรูปเล่มรายงาน พร้อม CD โดยรวมงานเดี่ยวและงานกลุ่มไว้ในเล่มเดียวกัน และ CD แผ่นเดียวกัน


ดาวน์โหลด ppt สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (environmental and quality of life)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google