งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมายธุรกิจ : สัญญาตั๋วเงิน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมายธุรกิจ : สัญญาตั๋วเงิน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมายธุรกิจ : สัญญาตั๋วเงิน

2 มาทำความเข้าใจกันก่อน ก่อให้เกิดผลตามกฎหมาย
สัญญา ทางธุรกิจ มาทำความเข้าใจกันก่อน นิติกรรม 2 ฝ่ายขึ้นไป ระหว่างคน นิติบุคคล บุคคลธรรมดา ก่อให้เกิดผลตามกฎหมาย

3 สัญญา : หนี้ เปลี่ยนแปลงในสิทธิของทรัพย์ Transaction in Business บุคคล
ห้างหุ้นส่วน บริษัท ซื้อขาย ค้ำประกัน จำนำ จำนอง ฝากทรัพย์ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ตัวแทน นายหน้า ชำระหนี้ : ขนส่ง ตั๋วเงิน ธุรกิจการเงิน การธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ ระงับข้อพิพาท อนุญาโตตุลาการ เปลี่ยนแปลงในสิทธิของทรัพย์

4 ตั๋วเงินตาม พรบ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.๒๕๐๕
ตั๋วเงินตาม ปพพ. ตั๋วเงินตาม พรบ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.๒๕๐๕

5 ปพพ. มาตรา ๘๙๘ อันตั๋วเงินตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นี้มีสามประเภท ๆ หนึ่งคือ ตั๋วแลกเงิน ประเภทหนึ่งคือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทหนึ่งคือ เช็ค

6 ๒. วงจรตั๋วเงิน

7 มาตรา ๙๐๘ อันว่าตั๋วแลกเงินนั้นคือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”

8 วงจรในเรื่องของตั๋วเงิน : ตั๋วแลกเงิน
ซื้อขาย นายยุทธนา นางสาวเบ่เบ๊ ผู้สั่งจ่าย(Drawer) ผู้รับเงิน (Payee) ตั๋วแลกเงิน ตามคำสั่ง นางสาวมาลัย ผู้ทรง ผู้จ่าย (Drawee) อาวัล ผู้รับรอง ผู้สอดเข้าแก้หน้า

9 มาตรา ๙๘๒ อันว่าตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นคือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้รับเงิน”

10 วงจรในเรื่องของตั๋วเงิน : ตั๋วสัญญาใช้เงิน
ซื้อขาย นายยุทธนา นางสาวเบ่เบ๊ ผู้รับเงิน (Payee) ผู้ออกตั๋ว (Maker) ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามคำสั่ง ผู้ทรง อาวัล ผู้สอดเข้าแก้หน้า ผู้รับรอง

11 มาตรา ๙๘๗ อันว่าเช็คนั้นคือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่ง “ธนาคาร” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่า “ผู้รับเงิน”

12 วงจรในเรื่องของตั๋วเงิน : เช็ค
ซื้อขาย นายยุทธนา นางสาวเบ่เบ๊ ผู้สั่งจ่าย(Drawer) ผู้รับเงิน เช็ค ธนาคาร ผู้จ่ายเงิน (Drawee) อาวัล ผู้สอดเข้าแก้หน้า ผู้รับรอง

13 ๒. รายการในตั๋วเงิน

14 เช็ค ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน
มาตรา ๙๐๙ อันตั๋วแลกเงินนั้น ต้องมีรายการดั่งกล่าวต่อไปนี้ คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน ชื่อ หรือยี่ห้อผู้จ่าย วันถึงกำหนดใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน ชื่อ หรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

15 เช็ค ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน
มาตรา ๙๘๓ อันตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ต้องมีรายการดั่งกล่าวต่อไปนี้ คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน วันถึงกำหนดใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน ชื่อ หรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาเงิน ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

16 เช็ค ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน
มาตรา ๙๘๘ อันเช็คนั้น ต้องมีรายการดั่งกล่าวต่อไปนี้ คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักธนาคาร ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ สถานที่ใช้เงิน วันและสถานที่ออกเช็ค ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

17 ๓) ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
หลักกฎหมายสำคัญที่ใช้ร่วมกันสำหรับตั๋วเงินทั้ง ๓ ชนิด ผู้ใดลงลายมือชื่อย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน (มาตรา ๙๐๐) ๒) ตั๋วเงินเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยการส่งมอบ ๓) ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย

18 ๓. ผู้ทรงตั๋วเงิน

19 ใครคือผู้ทรง มาตรา ๙๐๔ อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือๆก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

20 แบบสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ
การสั่งจ่าย ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็ค แบบระบุชื่อ แบบสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ใช้กับตั๋วแลกเงินและเช็คเท่านั้น และมักมีคำว่า ....หรือผู้ถือ (Or Bearer)

21 ใครคือผู้ทรง มาตรา ๙๐๕ ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๐๐๘ บุคคลผู้ใดได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏแห่งสิทธิด้วยการสลังหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นการสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังราอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในกาสลักหลังรายที่สุดนั้นเป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่ง คำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้วท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากการครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏแห่งสิทธิของตนในตั๋วเงินตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโยทุจริต หรือได้มาด้วยความประมาทเงินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่ง ข้อความในวรรคก่อนนี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย

22 ตั๋วเงินเป็นตราสารที่โอนกันได้
การสลักหลัง มาตรา ๙๑๗ อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะสั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ดั่งนี้ก็ดี หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้ แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ อนึ่ง ตั๋วเงินจะสลักหลังให้ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋วนั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายอื่นใดแห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงินนั้นต่ออีกได้ ตั๋วเงินเป็นตราสารที่โอนกันได้ วิธีการสลักหลัง

23 วิธีการสลักหลัง มาตรา ๙๑๙ คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจำต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย” การสลักหลังเฉพาะ เป็นการสลักหลังที่มีคำสลักหลังระบุชื่อผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์อยู่ด้วย การสลักหลังลอย เป็นการสลักหลังที่มิได้ระบุชื่อผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์อยู่ด้วย (ต้องทำด้านหลังตั๋วเสมอ ทำด้านหน้าไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นผู้รับอาวัล)

24 การสลักหลังไม่ขาดสาย
บุคคลผู้ได้ตั๋วไว้ในการครอบครองไม่ว่าจะในฐานะผู้รับเงินหรือผู้รับสลักหลังพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า มีการสลักหลังตั๋วโอนรับช่วงติดต่อกันเป็นทอดๆ จนถึงผู้ครอบครองตั๋วในปัจจุบันโดยไม่ขาดตอน ถึงแม้ว่าการสลักหลังรายที่สุดนั้นจะเป็นสลักหลังลอย

25 ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินก็ดี เพื่อทำให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่ข้อความใดๆ อันกล่าวในมาตรานี้ ท่านมิให้กระทบกระทั่งถึงการให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อซึ่งลงไว้โดยปราศจากอำนาจแต่หากไม่ถึงแก่เป็นลายมือชื่อปลอม มาตรา ๑๐๐๘ ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย

26 สรุป ๑. เป็นผู้ที่มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง
๒. ครอบครองในฐานะผู้รับเงิน หรือผู้รับสลักหลัง และเป็นการได้มาโดยรับชำระหนี้ ต้องมีมูลหนี้ระหว่างผู้ที่โอนตั๋วให้กับผู้ทรงและ เป็นมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย

27 ๔. การโอนตั๋วเงิน

28 การโอนตั๋วเงิน โอนด้วยการส่งมอบ เฉพาะกรณีที่เป็นตั๋วสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่ต้องมีการสลักหลังเพียงแค่ส่งมอบตั๋วเงินนั้นก็เป็นการโอนแล้ว ตามมาตรา ๙๑๘ “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยการส่งมอบให้แก่กัน” โอนด้วยการสลักหลังและส่งมอบ ใช้กับตั๋วเงินระบุชื่อผู้รับเงินหรือเป็นตั๋วที่สั่งจ่ายให้กับผู้ถือ “ต้องมีการสลักหลังและส่งมอบ”

29 ๕. ผู้รับผิดในตั๋วเงิน

30 ผู้รับผิด ตามตั๋วเงิน
มาตรา ๙๐๐ บุคคลผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ถ้าลงแต่เพียงเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่นแกงใดหรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่ ชื่อจริงหรือปลอมก็ได้ ลายมือชื่อจะเป็นภาษาใดก็ได้ ใช้วิธีอื่นแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้ ให้ตัวแทนลงลายมือชื่อแทนได้ มาตรา ๙๐๑ ถ้าบุคคลใดลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน และมิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอื่นคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้รับผิดตามความในตั๋วเงินนั้น

31 ผู้ออกตั๋ว ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรองสอดเข้าแก้หน้า
ผู้รับผิด ตามตั๋วเงิน ผู้ออกตั๋ว ผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้รับรองสอดเข้าแก้หน้า

32 ผู้ออกตั๋ว ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรองสอดเข้าแก้หน้า
ผู้รับผิด ตามตั๋วเงิน ผู้ออกตั๋ว ผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง ผู้รับอาวัล ผู้รับรองสอดเข้าแก้หน้า ผู้รับรอง การรับรอง คือการที่ผู้จ่ายลงลายมือชื่อรับรองตั๋วแลกเงินฉบับนั้นว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาแล้วผู้จ่ายจะจ่ายเงินให้ตามที่รับรอง เมื่อผู้จ่ายรับรองแล้วก็มีผลเป็นลูกหนี้ชั้นต้น ผู้จ่ายเท่านั้นที่จะรับรองตั๋วแลกเงินได้ บุคคลอื่นรับรองไม่ได้เพราะผู้จ่ายหรือผู้มีหน้าที่จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินเท่านั้นที่จะรู้ว่าตั๋วเงินจะมีเงินจ่ายหรือไม่ ถ้าบุคคลอื่นเป็นผู้เขียนคำรับรองก็ไม่ใช่การรับรองตั๋วแลกเงิน ใช้เฉพาะตั๋วแลกเงินเท่านั้น ไม่นำไปใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็ค

33 ผู้ออกตั๋ว ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรองสอดเข้าแก้หน้า
ผู้รับผิด ตามตั๋วเงิน ผู้ออกตั๋ว ผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง ผู้รับรอง ผู้รับรองสอดเข้าแก้หน้า ผู้รับอาวัล มาตรา ๙๓๘ ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกัน รับประกันการใช้เงินทั้งจำนวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า “อาวัล” อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้แต่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแป็นผู้รับก็ได้ บุคคลที่เข้าค้ำประกัน หรือรับประกันการใช้เงินของลูกหนี้คนหนึ่งคนใดตามตั๋วเงิน ซึ่งอาจจะรับประกันทั่งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนโดยเขียนข้อความ “ใช้เป็นอาวัล” หรือสำนวนอื่นใด ทำนองเดียวกันและลงลายมือชื่อของตนด้านหน้าตั๋วปรือใบประจำต่อ รวมทั้งระบุว่าตนค้ำประกันลูกหนี้คนใด ถ้าไม่ระบุผู้ใดให้ถือว่าค้ำประกันผู้สั่งจ่าย

34 ผู้สลักหลัง ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล
ผู้รับผิด ตามตั๋วเงิน ผู้ออกตั๋ว ผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้รับรองสอดเข้าแก้หน้า หมายถึง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้ามาเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินหลังจากที่ตั๋วเงินนั้นขาดความเชื่อถือแล้ว โดยอาจจะเป็นกรณีผู้จ่ายไม่ยอมรับรองตั๋วแลกเงินหรือผู้จ่ายหรือผู้รับรองไม่ยอมใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น และมีบุคคลอื่นสอดเข้ามาเป็นผู้รับรองหรือเข้ามาใช้เงินให้แก่ผู้ทรง ผู้ที่สอดเข้ามารับรอง ผู้ที่สอดเข้ามาใช้เงิน

35 สรุปสาระสำคัญของตั๋วเงิน
๑) เป็นสัญญาชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องมีคู่สัญญาอย่างน้อย ๒ ฝ่ายขึ้นไป ๒) เป็นหนังสือตราสาร โดยต้องมีรายการครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในแต่ละประเภท ๓) ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินย่อมต้องรับผิดตามตั๋วเงิน ๔) ตั๋วเงินเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้เสมอ ๕) ตั๋วเงินเป็นตราสารที่ให้ใช้เงินแก่ผู้ทรง(ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย) ๖) การชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินจะสมบูรณ์เมื่อได้มีการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นแล้ว

36 ๖. เช็ค

37 เขียน “ใช้ได้เป็นอาวัล” ลงลายมือชื่อในด้านหน้าเช็ค
๖.๑ การอาวัลเช็ค แบบของการอาวัล สิทธิไล่เบี้ย เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินตามเช็คนั้นไปแล้ว ผู้รับอาวัลมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแกบุคคลซึ่งตนประกันได้ และสามารถไล่เบี้ยได้เต็มจำนวนที่ตนได้ชำระหนี้แทน มาตรา ๙๓๘ ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกัน รับประกันการใช้เงินทั้งจำนวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า “อาวัล” อันอาวัลนั้นบุคคลภาย นอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้แต่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้ เขียน “ใช้ได้เป็นอาวัล” ลงลายมือชื่อในด้านหน้าเช็ค สลักหลังเช็คผู้ถือ ความรับผิด มีความรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนประกัน

38 ๖.๒ เช็คขีดคร่อม เช็คที่มีเส้นคู่ขนาน ขีดขวางไว้ข้างหน้า
ซึ่งในระหว่างเส้นขนานนั้น อาจจะมีข้อความอยู่ในระหว่างเส้นคู่ขนานหรือไม่ก็ได้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ เดือน พ.ศ. ธ.กรุงเทพ จ่าย ______________________________________________________ จำนวนเงิน ______________________________________________________ --เช็คเลขที่ Cheque No-- --สาขาเลขที่ Branch No-- --บัญชีเลขที่ Account No-- --สำหรับธนาคาร For Bank- “ ”

39 เช็ค ขีด คร่อม เช็คขีดคร่อม ทั่วไป เช็คขีดคร่อม เฉพาะ
เช็คในระหว่างเส้นคู่ขนานนั้นไม่มีข้อความใดๆเลย หรือมีข้อความคำว่า “และบริษัท” หรือ “AND Co” หรือ “&co” หรือคำย่ออื่นๆซึ่งไม่มีความหมายใดๆเลย เช็คขีดคร่อม เฉพาะ เช็คในระหว่างเส้นคู่ขนานนั้นมีชื่อธนาคารที่ระบุไว้เฉพาะเจาะจง ต้องจ่ายเงินให้กับ “ธนาคาร” เท่านั้น จะจ่ายโดยตรงให้กับบุคลที่นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้

40 เช็ค ขีด คร่อม เช็คขีดคร่อม ทั่วไป เช็คขีดคร่อม เฉพาะ
จะต้องจ่ายเงินให้แก่ธนาคารใดธนาคารหนึ่งที่เป็นผู้เรียกเก็บเงิน ซึ่งโดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องมีบัญชีกับธนาคารผู้เรียกเก็บเงินมาก่อน ผู้ทรงจะขอเบิกเงินสดโดยไม่ผ่านบัญชีจากธนาคารผู้จ่ายไม่ได้ เช็คขีดคร่อม เฉพาะ เช็คในระหว่างเส้นคู่ขนานนั้นมีชื่อธนาคารที่ระบุไว้เฉพาะเจาะจง จะต้องจ่ายเงินให้กับธนาคารอันได้ระบุไว้ในเส้นคู่ขนานเท่านั้น ต้องจ่ายเงินให้กับ “ธนาคาร” เท่านั้น จะจ่ายโดยตรงให้กับบุคลที่นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้

41 ธนาคารผู้เรียกเก็บเงิน
เช็คขีดคร่อม ทั่วไป ธนาคารผู้จ่าย ธนาคารผู้เรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็ค นาย ก เช็คขีดคร่อมเฉพาะ

42 ๗. ความผิดอันเกิด จากการใช้เช็ค

43 พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.๒๕๓๔
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.๒๕๓๔ ๑. ผู้กระทำความผิดต้องลงชื่อในฐานะผู้สั่งจ่าย ๒. ออกให้เพื่อชำหระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ๓. ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ๔. ผู้กระทำความผิดได้ทำ ๓.๑ ออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงิน ๓.๒ ในขณะออกเช็คไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ ๓.๓ ออกเช็คให้ในจำนวนเงินที่สูงกว่าเงินในบัญชี ๓.๔ ถอนเงินบางส่วนหรือทั้งหมดออกจากบัญชี ๓.๕ ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินโดยทุจริต

44 พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.๒๕๓๔
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.๒๕๓๔ ใครคือผู้เสียหาย ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ที่ได้รับโอนเช็คภายหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหาย อายุความในการฟ้องร้อง ๓.๑ ต้องร้องทุกข์ภายใน ๓ เดือนนับแต่วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค และเมื่อได้ร้องทุกข์แล้ว ก็สามารถฟ้องได้ภายใน ๕ ปี ๓.๒ ฟ้องคดีภายในกำหนด ๓ เดือนนับแต่วันที่ความผิดเกิด

45 จบ


ดาวน์โหลด ppt กฎหมายธุรกิจ : สัญญาตั๋วเงิน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google