งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต
มนุษย์ สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต คือ ระดับสภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ตามองค์ประกอบของชีวิตอันได้แก่ ทางร่างกาย อารมณ์ สังคม ความคิด และจิตใจ (นิพนธ์, 2527) วิชา อ.ดร.ประภา โซ๊ะสลาม

2 คุณภาพชีวิตที่ดีประกอบด้วย (1)
มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต มีการศึกษาที่ดี ครอบครัวมีความสุข มีงานที่ดี เป็นที่พอใจ ร่างกาย อารมณ์, สังคม

3 คุณภาพชีวิตที่ดีประกอบด้วย (2)
8. มีสภาพแวดล้อมที่ดี และสะอาด มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดี 10. มีศีลธรรม และจริยธรรมประจำใจ 11. มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น 12. มีสิทธิและโอกาสเสมอภาค และมีบทบาทในสังคม อารมณ์, ร่างกาย ความคิด, จิตใจ

4 สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับคุณภาพชีวิต
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต คือ น้ำ อากาศ และเสียง ซึ่งสภาวะที่เป็นมลพิษของสิ่งเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต น้ำเสีย = น้ำที่ผ่านการใช้ประโยชน์ มีสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์เจือปน ทำให้มีคุณภาพลดลง เมื่อนำไปใช้จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ อากาศเสีย = สภาวะที่อากาศมีสิ่งเจือปนเป็นปริมาณมากจนถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และทรัพย์สินตลอดจนสัตว์และพืชทั่วไป

5 น้ำเสีย สารอินทรีย์ : เป็นสารประกอบ C, H, O, N, S, P ซึ่งถูกย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ที่อยู่ในธรรมชาติ สารอินทรีย์เหล่านี้มาจากสิ่งโสโครกจากบ้าน ชุมชน ปศุสัตว์ โรงงาน เมื่อทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว จะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ในน้ำ 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน และจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีออกซิเจนละลายอยู่ สารอินทรีย์จึงถูกย่อยด้วย จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก่อน แต่ถ้าออกซิเจนละลายในน้ำหมดแล้วแต่สารอินทรีย์ยังถูกย่อยไม่หมด จุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะเข้าย่อยสลายสารอินทรีย์ต่อไป ซึ่งการย่อยสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น เพราะมี H2S และ NH3 เกิดขึ้น และ H2S ยังรวมตัวกับโลหะที่มีอยู่ในน้ำและทำให้เกิดตะกอนสีดำใต้ท้องน้ำ

6 น้ำเสีย สารอนินทรีย์ : เป็นสารที่ย่อยสลายได้ยาก หรือย่อยไม่ได้ จึงตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน เป็นอันตรายแก่สิ่งมีชีวิตในน้ำ และสัตว์ที่บริโภคสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น สารอนินทรีย์ถูกปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ปรอท แคดเมียม ไซยาไนด์ สารหนู ฟีนอล ดีดีที ไนเตรท > 1.0 มก/ล.  Methemoglobinemia ฮีโมโกลบินจับออกซิเจนได้น้อยลง เป็นโรค Baby blue แคดเมียม  ทำให้เป็นโรคอิไต-อิไต ปวดรุนแรงทั่วร่างกาย กระดูกผุ โครงสร้างร่างกายผิดรูปและตายได้

7 มาตรฐานคุณภาพน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค
สารปนเปื้อนที่พบในน้ำ ยิ่งมาตรฐานกำหนดให้มีค่าน้อยมากๆ แปลว่า มีความเป็นพิษสูง

8 มลพิษทางอากาศ ในเมืองใหญ่จะพบปัญหาอากาศเสียมาก มลพิษอากาศที่พบมากคือ SO2, NOx, CO, Hydrocarbon (HC), ฝุ่นละออง และสารตะกั่ว แหล่งกำเนิดมลพิษอากาศ SO2 เกิดจากการเผาไหม้ น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน NOx เกิดการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูง ทำให้เร่งการรวมตัวของ N2 ที่มีอยู่ในบรรยากาศ กับ O2 กลายเป็น NOx CO และ HC เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ฝุ่นละออง เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม (ปูน หิน) สถานที่ ก่อสร้าง และการจราจรที่คับคั่ง สารตะกั่ว จากโรงงานทำแผงวงจรไฟฟ้า แบตเตอรี่ ฝนกรด

9 ความสำคัญของมลพิษอากาศกับคุณภาพชีวิต
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) คุณสมบัติ - ไม่มีสี กลิ่น รส เมื่อหายใจเข้าไปจะไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจน ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ ที่มา – เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์รถยนต์ แก้ไขได้โดยการติดตั้ง Catalytic Converter ผลกระทบ - มีผลต่อสมอง หัวใจ ทำให้เวียนหัว คลื่นไส้ แน่นหน้าอก และอาจเสียชีวิตได้

10 Catalytic converter CO
CO จะถูกหน่วงเอาไว้ให้ทำปฏิกิริยากับ O2 ในช่องว่างของรูพรุน และกลายเป็น CO2 ที่มีพิษน้อยกว่า ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ CO

11 ความสำคัญของมลพิษอากาศกับคุณภาพชีวิต
ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) คุณสมบัติ –มีกลิ่นแสบจมูก ละลายได้ดีในน้ำและในกรดไนตริก ผลกระทบ – ถ้าหายใจเข้าไปจะทำให้หลอดลมอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ ถ้าถูกตาจะทำลายเยื่อตา ถ้ารวมตัวกับฝนจะเกิดเป็นกรดไนตริกซึ่งเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ฝนกรด ที่มา – เกิดจากการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูง แล้วเกิดการรวมตัวกันระหว่างออกซิเจนและไนโตรเจนในอากาศ แก้ไขได้โดยการปรับระยะเวลาและวิธีการเผาไหม้ในเตาเผาให้เหมาะสม หรือติดตั้ง scrubber เพิ่มเติม

12 ความสำคัญของมลพิษอากาศกับคุณภาพชีวิต
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) คุณสมบัติ – ไม่มีสี ไม่ไวไฟ มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ใช้ฟอกสีได้ เมื่อทำปฏิกิริยากับละอองน้ำในอากาศจะกลายเป็นกรดซัลฟูริก ผลกระทบ – เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ หลอดเลือดอักเสบเรื้อรัง และเมื่อรวมกับฝุ่นละอองจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก เพราะทำให้ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อระบบหายใจ ทำให้โลหะเป็นสนิม และเป็นสาเหตุของฝนกรด ที่มา – เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน หรือเชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน แก้ไขได้โดยการปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงให้มีกำมะถันน้อยลง หรือเปลี่ยนเชื้อเพลิง ติดตั้ง scrubber เพิ่มเติม

13 ความสำคัญของมลพิษอากาศกับคุณภาพชีวิต
ฝุ่นละออง (Dust or Particulate Matter) คุณสมบัติ – ฝุ่นละอองในอากาศมีทั้งชนิดที่ไม่เป็นอันตรายโดยตรง แต่เมื่อรวมตัวกับละอองน้ำทำให้เกิดหมอกควัน ส่วนฝุ่นที่เป็นอันตรายด้วยตัวเอง เช่น ละอองใยหิน ละอองกรดซัลฟูริก ผลกระทบ –ทำให้ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อระบบหายใจ และทำให้เป็นมะเร็งปอดได้ ยิ่งฝุ่นมีขนาดเล็ก (PM10, PM2.5) จะสามารถหลุดรอดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจลึกๆ ได้ (ขั้วปอด ถุงลม) ที่มา – การทำเหมือง การจราจร การเกษตร ไฟป่า ภูเขาไฟระเบิด

14 ความสำคัญของมลพิษอากาศกับคุณภาพชีวิต
ตะกั่ว (Lead) คุณสมบัติ – เป็นโลหะสีเทาเงิน อยู่ในรูปของสารประกอบอนินทรีย์ และสารประกอบอินทรีย์ ผลกระทบ –ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ซึ่งเกิดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เม็ดเลือดแดงของทารกในครรภ์มีอายุสั้นลง เป็นอันตรายต่อระบบประสาท ทำให้ชัก หมดสติ เป็นอันตรายต่อไต ทางเดินอาหาร ตับ หัวใจและระบบสืบพันธุ์ สะสมในกระดูกและสมอง ทำให้ปวดศีรษะอย่างแรง เส้นเลือดในสมองเสื่อม ทำลายเซลล์สมอง ที่มา – โรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมโดยการติดตั้งเครื่องบำบัดมลพิษทางอากาศ และให้ผู้ปฏิบัติงานใส่อุปกรณ์ป้องกันไอตะกั่ว

15 ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในเมืองของไทย
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ * หน่วยที่แสดงในตาราง จะหมายถึงระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างมลพิษ ถ้าจำนวนชั่วโมงที่เก็บมาก แปลว่า สารมลพิษนั้นมีความเจือจางในบรรยากาศมาก

16 เสียงกับคุณภาพชีวิต ในเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น จะพบปัญหามลพิษทางเสียงมาก เนื่องจากมีกิจกรรมมากมาย และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แหล่งกำเนิดมลพิษทางเสียง- เสียงจากเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม ผลกระทบ- ทำให้ประสาทหูเสื่อม สูญเสียการได้ยิน เป็นโรคหูตึง โดยจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป เมื่อสัมผัสกับเสียงดัง มีความถี่สูงเป็นเวลานาน ๆ อาชีพเสี่ยง- อุตสาหกรรมปั๊มโลหะ ทำฝาจีบ ผลิตกระป๋อง สิ่งทอ โม่บดย่อยหิน รีดเหล็ก ขับเรือหางยาว ขับรถตุ๊กตุ๊ก

17 ค่ามาตรฐานระยะที่ยอมให้สัมผัสกับเสียงดังระดับต่างๆ
* เดซิเบลเอ เป็นช่วงความถี่ของเสียงที่หูมนุษย์สามารถรับรู้ได้ * ระดับเสียงที่สูงขึ้น ระยะเวลาที่สามารถทนอยู่ได้จะลดลง

18 ผลของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ต่อคุณภาพชีวิต
ความยากจน คือ สภาวะที่เกิดจากความขัดสนทางเศรษฐกิจ บุคคลไม่สามารถแสวงหาสิ่งที่จะนำมาบำบัดความต้องการของตนทั้งร่างกายและจิตใจได้ มีสาเหตุจาก การประกอบอาชีพเกษตร เนื่องจากต้องพึ่งพาสภาพอากาศ (ฝนแล้ง น้ำท่วม โรค แมลงศัตรูพืช) การเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้สัดส่วนทรัพยากรต่อประชากรลดลง มีทรัพยากรไม่เพียงพอกับความต้องการ การเพิ่มขึ้นของประชากรเนื่องจาก ความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข และการอพยพ

19 สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต
ผลของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ต่อคุณภาพชีวิต การสาธารณสุข คือ การกระทำใดๆ ที่ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยต้องมีมาตรฐานดังนี้ มีอาหารบริโภค ไม่ขาดแคลน มีน้ำสะอาดบริโภค มีที่อยู่อาศัยถูกสุขลักษณะ มีเครื่องนุ่งห่มตามอัตภาพ คุ้มกันร้อน-หนาวได้ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตามสมควร ปัญหาการสาธารณสุข : การให้บริการกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ การกระจายตัว และทัศนคติของบุคลากร และ นโยบายการบริหารงาน

20 สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต
ผลของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ต่อคุณภาพชีวิต การศึกษา มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการดำรงชีพและประกอบอาชีพ และเพื่อให้มีผลถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ของประชาชนและชาติร่วมกัน ปัญหา ในชนบท แม้ว่าประชากรจะได้รับการศึกษาในภาคบังคับแล้ว แต่หลังจากจบการศึกษาไปแล้ว 2-3 ปี กลับไม่สามารถคงสภาพการอ่านการเขียนไว้ได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในชนบทไม่เอื้ออำนวยต่อการอ่าน การเขียน ทำให้สภาพการไม่รู้หนังสือของประชาชนยังคงมีอยู่ แก้ปัญหา โดยการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปกระจายความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอ่าน เขียน และคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในชุมชน และการประกอบอาชีพ

21 สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต
ผลของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ต่อคุณภาพชีวิต ยาเสพติด นอกจากจะบ่อนทำลายสุขภาพแล้วยังทำลายความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปัญหา ความเจริญทางวัตถุ จนบางคนปรับสภาพจิตใจไม่ทัน และหันไปพึ่งยาเสพติด ผู้ติดยาส่วนมาเป็นชาย วัยรุ่น เพราะเป็นช่วงที่มีอารมณ์แปรปรวน เมื่อเสพยาแล้วร่างกายจะทรุดโทรม เกียจคร้าน และเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ต้องหาเงินมาซื้อยาจนทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ และอาชญากรรม ประเทศต้องเสียงบประมาณปราบปรามและรักษาผู้ติดยา ประเภทของยาเสพติด 1. ยาเสพติดธรรมชาติ : ฝิ่น กัญชา ใบกระท่อม ใบโคคา 2. ยาเสพติดสังเคราะห์ : มอร์ฟีน เฮโรอีน โคเคน 3. ยาเสพติดเป็นนิสัย : ยาระงับประสาท ยานอนหลับ สารระเหย สุรา บุหรี่ คาเฟอีน

22 สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต
ผลของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ต่อคุณภาพชีวิต อาชญากรรม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1. สภาพอาชญากรรมในเมืองหลวง มักจะมีปัญหาการว่างงาน ฉกชิงวิ่งราว ลักเล็กขโมยน้อย 2. สภาพอาชญากรรมในส่วนภูมิภาค เนื่องจากอารยธรรมจากเมืองหลวงได้แผ่ขยายออกไป ปัญหาอาชญากรรมในเมืองหลวงก็พบได้ในชนบท แต่จะพบปัญหาการทำลายทรัพยากร การตัดไม้ทำลาย

23 ผลของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ต่อคุณภาพชีวิต
สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต โครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณ การตัดสินใจหรือวางแผน การจัดระเบียบชุมชน ศิลปะ วัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การปกครอง เป็นองค์กรผสมระหว่างประชาชนกับรัฐร่วมกันสร้างและจัดให้มีระบบบริหาร เพื่อจัดสรรบริการให้กับประชาชน ผู้นำในท้องถิ่น จะช่วยให้ประชาชนรวมตัวกันเป็นกลุ่มได้ถาวรมากขึ้น มีกำลังงาน และอำนาจการต่อรองในกิจการต่างๆ ผู้นำจะเป็นผู้ประสานงานระหว่างภาครัฐและประชาชน นำนโยบายจากรัฐมาเผยแพร่ ทำให้เกิดการพัฒนาความเป็นอยู่ ของคนในท้องถิ่น

24 ปัญหาคุณภาพชีวิตในชนบทและเมือง
1. คนในชนบทมีรายได้น้อย 2. อพยพเพื่อหางานทำในเมือง 3. เหลือคนในชนบทน้อย ทำให้ขาดคนช่วยคิดแผนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และการบุกรุกของนายทุน 4. สุขภาพของคนชนบทยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เพราะไม่ได้รับบริการด้านสาธารณสุขปริมาณแพทย์ที่ให้บริการในชนบทมีน้อย 5. ระบบการสื่อสารที่ไม่ทันสมัย ทำให้คุณภาพการศึกษาด้อยลง ปัญหาคุณภาพชีวิตในเมือง 1. คนชนบทอพยพมาทำงานในภาคอุตสาหกรรมในเมือง ทำให้เกิดความแออัด และปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา (น้ำเสียโรงงาน, น้ำทิ้งชุมชน, น้ำเสียจากกองขยะ) 2. ขาดแคลนที่อยู่อาศัย และเกิดแหล่งเสื่อมโทรม 3. มลพิษอากาศและเสียงที่เกินมาตรฐาน 4. ขยะมูลฝอยที่มากขึ้น เกิดปัญหาในการเก็บ รวบรวม แยกประเภทขยะ และขาดพื้นที่กำจัดขยะ

25 การแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตในชนบทและเมือง
1. หาแนวทางแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ 2. คนที่อพยพไปทำงานในเมือง กลับถิ่นฐาน 3. มีประชากรในชนบทเพิ่มขึ้น ช่วยกันคิดแผนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และการบุกรุกของนายทุน 4. จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาบริการด้านสาธารณสุขให้เพียงพอ 5. จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารให้ทันสมัย ทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น เมือง 1. ให้ผู้ปล่อยมลพิษ ลด/บำบัดมลพิษ - รณรงค์ให้ประชาชนแยกขยะก่อนทิ้ง - กฎหมายบังคับ ให้โรงงานบำบัดมลพิษก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม 2. ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน เพื่อลดการกระจุกตัวเพื่ออาศัยอยู่แต่ในเขตเมือง 3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชนแออัด

26 การประเมินคุณภาพชีวิต
คุณภาพชีวิตที่ดีนั้น ควรจะประกอบไปด้วย มีอาหารกิน มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีการศึกษา มีอาชีพและรายได้อยู่ในสังคมที่ปลอดภัย มีการพัฒนาด้านจิตใจเพื่อให้คนมีคุณธรรม องค์การสหประชาชาติได้ใช้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product,GNP) มีหน่วยเป็น รายได้/คน/ปี เป็นเครื่องวัดความเจริญทางเศรษฐกิจ และใช้ HDI (Human Development Index) หรือดัชนีความสุข ซึ่งทั้งสองดัชนีนี้ มีรายละเอียดตรงกับแบบสอบถามความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของไทย

27 ขั้นตอนการการประเมิน จปฐ.
สำรวจข้อมูล (สำมะโนประชากร) เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาขนรับทราบสถานภาพ ร่วมกันกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข วางแผนแก้ปัญหา ระบุผู้ดำเนินการ โดยพิจารณาจากปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหา 1 ปี ประเมินผลการดำเนินงาน ได้วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม และเกิดการเรียนรู้ระหว่างชุมชน ประชาชน รัฐ ประชาชนร่วมกับรัฐ

28 เครื่องชี้วัด จปฐ. ช่วงแผน 12 (2560-2564)
หมวดที่ 1 สุขภาพดี 7 ตัวชี้วัด หมวดที่ 2 สภาพแวดล้อม 7 ตัวชี้วัด หมวดที่ 3 การศึกษา 5 ตัวชี้วัด หมวดที่ 4 การมีงานทำและรายได้ 4 ตัวชี้วัด หมวดที่ 5 ค่านิยม ตัวชี้วัด

29

30

31

32 ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขของคนไทย 5 อันดับแรก
1. ครัวเรือนไม่มีการเก็บออมเงิน ร้อยละ 17.22 2. คนในครัวเรือนสูบบุหรี่ หรือ ดื่มสุรา ร้อยละ 7.30 / 6.90 3. คนอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่มีอาชีพและรายได้ ร้อยละ 6.82 4. อายุ 6-14 ปี ไม่ได้เรียนการศึกษาภาคบังคับ ร้อยละ 6.34 5. คนที่จบการศึกษาภาคบังคับแล้วไม่ได้เรียนต่อ หรือฝึกอบรมอาชีพ ร้อยละ 5.33 / 4.12 ที่มา: กรมการพัฒนาชุมชน, ข้อมูล จปฐ. 2560

33 ประโยชน์ของการใช้ จปฐ.
ประชาชนได้รับรู้ปัญหา ไม่สับสนในหน้าที่ของตน และเจ้าหน้าที่รัฐ มีเป้าหมายในการพัฒนา และส่งเสริมให้มีกระบวนการคิดเป็นวิทยาศาสตร์ เกิดการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน หรือระหว่างหน่วยงาน มีการวางแผนการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ

34 ความมั่นคงของชีวิต ประกอบด้วยความมั่นคงของชีวิต 7 ด้าน ได้แก่
ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ-การมีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ความมั่นคงด้านอาหาร-มีอาหารกินเพียงพอ และสามารถเลือกกินได้ ความมั่นคงด้านสุขภาพ-ได้รับบริการด้านสาธารณสุขอย่างเพียงพอ ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม-สิ่งแวดล้อมไม่มีมลพิษจนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความมั่นคงของบุคคล-มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่มีอาชญากรรม ความมั่นคงของชุมชนรวมถึงการปกป้องผลประโยชน์ของชุมชน-มีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้ทรัพยากร และร่วมอนุรักษ์ ความมั่นคงทางการเมือง-รัฐบาลมั่นคง ไม่เปลี่ยนบ่อย ไม่มีสงครามกลางเมือง


ดาวน์โหลด ppt สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google