สอนอย่างมืออาชีพ หยุดยั้งพฤติกรรมเสี่ยง

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Lab Part Nattee Niparnan
Advertisements

Lab Login แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้ ที่ home directory สร้าง sub directory ชื่อ Lab01 พิมพ์คำสั่ง cd Lab01 พิมพ์คำสั่ง pwd แล้วกด Enter พิมพ์คำสั่ง.
LAB # 4.
Lab 8: คำสั่ง Do-While อ.ณัฐพงศ์ พยัฆคิน.
การแทรกรูปภาพ การนํารูปภาพจากแฟมขอมูลอื่น
การติดตั้งโปรแกรม. 1. Double click เลือก RFDSetup.msi เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม.
การรวมฐานข้อมูล. 1. เลือกฐานข้อมูลหลักสำหรับรวมกับฐานข้อมูลอื่นๆ 2. เปลี่ยนชื่อฐานข้อมูลให้ตรงกับฐานข้อมูลหลักในข้อ 1 ใน C:\Program Files\RegMis เปิดไฟล์
โปรแกรม DeskTopAuthor
ประชุมเชิงปฏิบัติการ การใช้โปรแกรม R506 เวอร์ชั่น 3.10
กดปุ่มตกลง.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
คลิกเข้าเมนู start เลือกคำสั่ง control panel เลือก Icon font ให้ทำการรดับเบิ้ลคลิก คู่มือการติดตั้งฟอนท์สำหรับ Windows Xp  ส่วนฝึกอบรมยุคใหม่ ใส่ใจ คุณภาพบริการ.
LOGO. ACTIVITIES o Objective o Common S/E o Specific S/E o S/E management o Nutrition o Supplement o Q&A o Encouragement.
Database and Application Development Life Cycle 2.
CD ข้อมูล แผ่น ชื่อ File
MEE 231 Computer Programming สัปดาห์ที่ 7 ทดลองใช้คำสั่งภาษา C โปรแกรม Code::Blocks.
การติดตั้งโปรแกรม.
19 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องประชุมสักทอง1
1) นำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพ
โครงงานวิทยาศาสตร์ (ว 23202)
อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล (Storage Devices)
Pentaho Installation.
Java Development Kit Installation.
Digital กับการประยุกต์
แนวทางและวิธีปฏิบัติ การกำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ
Introduction to VB2010 EXPRESS
ผู้เยี่ยมเสริมพลังลงพื้นที่เยี่ยมเสริมพลัง รพ.สต.ติดดาว
บทที่ 4 อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและองค์ประกอบข้อมูล
เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม เพื่อจำลองระบบไมโครคอนโทรลเลอร์
หมวด ๔ : การจัดการระบบบริการครอบคลุมประเภทและประชากรทุกกลุ่มวัย
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
การดำเนินงาน ด้านเอดส์ในแม่และเด็ก
ทีมเยี่ยมเสริมพลัง คปสอ.เขาสมิง วันพุธที่ 3 พ.ค. 60
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รพ.สต.ติดดาว (5 ดาว 5 ดี) สู่ประชาชนสุขภาพดี
สร้างปกหนังสือด้วย Photo shop.
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
ณ ห้องประชุมกฤษณะ ผลอนันต์ อาคาร ๓ ชั้น ๒ สำนักงาน ป.ป.ส.
การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
แนวทางการบริหารงานเพื่อสอดรับ กับการปรับระบบบริหารงานบุคคล
ส่วนรับรองด้านการปศุสัตว์ สพส.
ระบบการปลูกพืช และการส่งเสริมอาชีพในพื้นที่ลุ่มต่ำ
การจัดการไฟล์ File Management.
Starting JAVA : JAVA PROGRAMMING (การ โปรแกรมภาษาจาวา) มัลลิกา เกลี้ยงเคล้า | SC1419.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
แบบมาตรฐานระบบบำบัดน้ำเสียแบบได้ก๊าซชีวภาพ สำหรับฟาร์มสุกร
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก สัปดาห์ที่ 33
พระพุทธศาสนา.
สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
ปฏิบัติการที่ 05 การดำเนินการกับเมทริกซ์
รพ.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์
Academic Search Premier
นางธนตวรรณ ขวัญแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ
ชี้แจงตัวชี้วัด/โครงการNCD ปี 2561
บทที่ 6 : อัตราส่วนตรีโกณมิติ
สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
Slide PowerPoint_สื่อประกอบการสอน
แนวทางปฏิบัติด้านการเงินของ ศบท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
แนวทางการดำเนินงาน โครงการสาธารณสุข ๑๐๐ ปี หมออนามัยห่วงใยประชาชน สร้างชุมชนปลอดขยะ ร่วมขจัดภัยไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑.
Slide PowerPoint_สื่อประกอบการสอน
สอนอย่างมืออาชีพ หยุดยั้งพฤติกรรมเสี่ยง
หมวด 1 การนำองค์กร และการจัดการดี
อ.พรพนา ปัญญาสุข วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ผู้วิจัย
ภาพนิ่ง (Still Image).
ฉลากหวาน มัน เค็ม หรือฉลาก GDA (Guideline Daily Amount) คือ ฉลาก ที่แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ในหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ เช่น ซอง ถุง กล่องของผลิตภัณฑ์อาหารนั้น.
สื่อการเรียนการสอนวิชาเครื่องรับโทรทัศน์ ( )
การสรุปผลข้อมูล และ Action Query
บทที่ 3 หน่วยความจำและสื่อบันทึกข้อมูล (Memory and storage)
Telephone แปลว่า โทรศัพท์. Calculator แปลว่า เครื่องคิดเลข.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สอนอย่างมืออาชีพ หยุดยั้งพฤติกรรมเสี่ยง การพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จักรกฤษณ์ พลราชม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

บทบรรยาย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการนำรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียน อย.น้อย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม จึงควรได้เรียนรู้ในประเด็นที่สำคัญ โดยในหัวข้อนี้ “สอนอย่างมืออาชีพ หยุดยั้งพฤติกรรมเสี่ยง” โดยมุ่งเน้นในการใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งเป็น สไลด์การนำเสนอของอาจารย์จักรกฤษณ์ พลราชม อาจารย์ประจำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร 1

การพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) แนวทางปฏิบัติเพื่อการดำเนินการพัฒนาพฤติกรรมฯ การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ สาธิตการจัดกิจกรรมตามรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ตาม CD Rom. ประสบการณ์ในการดำเนินการที่ผ่านมา กรอบการนำเสนอ

บทบรรยาย กรอบการนำเสนอ ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 : การพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ส่วนที่ 2 : แนวทางปฏิบัติเพื่อการดำเนินการพัฒนาพฤติกรรมฯ ส่วนที่ 3 : การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนที่ 4 : สาธิตการจัดกิจกรรมตามรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ตาม CD Rom. ส่วนที่ 5 : ประสบการณ์ในการดำเนินการที่ผ่านมา 2

รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน ในโรงเรียน อย.น้อย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร องค์ประกอบที่ 1 : ลักษณะของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 : จุดมุ่งหมายของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 : เนื้อหาสาระของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 4 : กิจกรรมที่ใช้ในรูปแบบ องค์ประกอบที่ 5 : แนวทางการประเมินประสิทธิผล 3

บทบรรยาย รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียน อย.น้อย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มีองค์ประกอบสำคัญ จำนวน 5 องค์ประกอบด้วยนี้ องค์ประกอบที่ 1 ลักษณะของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 จุดมุ่งหมายของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 เนื้อหาสาระของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 4 กิจกรรมที่ใช้ในรูปแบบ องค์ประกอบที่ 5 แนวทางการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ 3

4 1 : ลักษณะของรูปแบบ 2 : จุดมุ่งหมายของรูปแบบ ประกอบด้วย 2 รูปแบบคือ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน (2) แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2 แผน แผนละ 50 นาที 2 : จุดมุ่งหมายของรูปแบบ (1) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร (2) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนฉลาก และ (3) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ 3 : เนื้อหาสาระของรูปแบบ ฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” พิษภัยที่เกิดจากการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี และอาหารที่ไม่ปลอดภัย 4 : กิจกรรมที่ใช้ในรูปแบบ กิจกรรมที่หลากหลาย อาทิเช่น เกมทางการศึกษา การบรรยายประกอบสื่อ การอภิปราย สถานการณ์ จำลอง การแสดงบทบาทสมมติ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การระดมสมอง เป็นต้น 5 : แนวทางการประเมินประสิทธิผล (1) ประเมินผลลัพธ์เชิงกระบวนการ ประเมินจากกิจกรรม และผลงาน (2) ประเมินผลลัพธ์สุดท้าย โดยการประเมินจากการสำรวจจากนักเรียน 4

บทบรรยาย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน โดยองค์ประกอบต่างๆ ที่ทุกท่านเห็นในสไลด์นั้น สามารถศึกษาด้วยตนเองตามคู่มือครูโดยละเอียดได้ แต่ องค์ประกอบที่สำคัญคือ ลักษณะของรูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 2 แผน รวมเป็น 6 แผนๆ ละ 50 นาที ซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาการเข้าสู่กิจกรรมการเรียนการ สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา เช่น กลุ่มสาระสุขศึกษาและ พลศึกษา กลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4

แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนที่ 1 สุขภาพในอนาคต แผนที่ 2 อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี แผนที่ 3 ฉลาดบริโภค โรคไม่ถามหา แผนที่ 4 บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย ฐานกิจกรรมที่ 1 ลูกเต๋าแสนกล ฐานกิจกรรมที่ 2 ช็อปปิ้ง ฉลาดคิด 5

บทบรรยาย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน จากที่กล่าวมาข้างต้นที่ว่ารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียน อย.น้อย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มีลักษณะกิจกรรม ใน 2 ส่วนได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 2 แผน ซึ่งการในการเรียนรู้ในครั้งนี้มุ่งเน้นในการสร้างความเข้าใจในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน และในส่วนของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน ทุกท่านจะได้เรียนรู้ในหัวข้อการบรรยายถัดไป 5

โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ เวลา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 สุขภาพในอนาคต เวลา 50 นาที แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ฉลาดบริโภค โรคไม่ถามหา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ 6

บทบรรยาย โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 4 แผน ได้แก่ ซึ่งแต่ละแผนการเรียนรู้ ใช้เวลา 50 นาที ซึ่งครูสามารถบูรณาการเข้ากับรายวิชา ได้ตามความเหมาะสม แผนการจัดการเรียนรู้ ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 สุขภาพในอนาคต แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ฉลาดบริโภค โรคไม่ถามหา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ 6

ขอบเขตของสาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ รายละเอียดสาระการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 “สุขภาพในอนาคต” 1. ความหมายและความสำคัญของการมีสุขภาพดี 2. ปัจจัยกำหนดสุขภาพ 3. ผลเสียและผลกระทบของการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม 7

รายละเอียดสาระการเรียนรู้ บทบรรยาย ขอบเขตของสาระการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 “สุขภาพในอนาคต” มีสาระการเรียนรู้ ดังนี้ รายละเอียดสาระการเรียนรู้ 1. ความหมายและความสำคัญของการมีสุขภาพดี 2. ปัจจัยกำหนดสุขภาพ 3. ผลเสียและผลกระทบของการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม 7

ขอบเขตของสาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ รายละเอียดสาระการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 “อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี” 1. ลักษณะของฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 2. ส่วนประกอบและความหมายของข้อมูลบนฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 3. ประโยชน์ของการอ่านฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 8

รายละเอียดสาระการเรียนรู้ บทบรรยาย ขอบเขตของสาระการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 “อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี” มีสาระการเรียนรู้ ดังนี้ รายละเอียดสาระการเรียนรู้ 1. ลักษณะของฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 2. ส่วนประกอบและความหมายของข้อมูลบนฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 3. ประโยชน์ของการอ่านฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 8

ขอบเขตของสาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ รายละเอียดสาระการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 “ฉลาดบริโภค โรคไม่ถามหา” 1. ประเภท/ลักษณะของขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลม 2. พิษภัยที่เกิดจากการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลม 3. การบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลมอย่างปลอดภัย 4. การปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย 9

รายละเอียดสาระการเรียนรู้ บทบรรยาย ขอบเขตของสาระการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 “ฉลาดบริโภค โรคไม่ถามหา” มีสาระการเรียนรู้ ดังนี้ รายละเอียดสาระการเรียนรู้ 1. ประเภท/ลักษณะของขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลม 2. พิษภัยที่เกิดจากการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลม 3. การบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลมอย่างปลอดภัย 4. การปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย 9

ขอบเขตของสาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ รายละเอียดสาระการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 “บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ” 1. สรุปสาระสำคัญของฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 2. การใช้ประโยชน์จากการอ่านฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 3. ประโยชน์ และการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยง หรือลดการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย 10

รายละเอียดสาระการเรียนรู้ บทบรรยาย ขอบเขตของสาระการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 “บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ” มีสาระการเรียนรู้ ดังนี้ รายละเอียดสาระการเรียนรู้ 1. สรุปสาระสำคัญของฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 2. การใช้ประโยชน์จากการอ่านฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 3. ประโยชน์ และการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยง หรือลดการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย 10

แนวทางการปฏิบัติเพื่อการดำเนินการ 1. ขั้นเตรียมการ 2. ขั้นดำเนินการ 3. ขั้นประเมินผล 11

บทบรรยาย แนวทางในการดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 4 แผนการเรียนรู้นั้น ควรมีการดำเนินการดังนี้ 1. ขั้นเตรียมการ 2. ขั้นดำเนินการ 3. ขั้นประเมินผล โดยในแต่ละขั้นตอนมีแนวทางการในดำเนินการ ดังนี้ 11

ขั้นที่ 1 : ขั้นเตรียมการ ศึกษาคู่มือครูในการดำเนินการฯ ศึกษารายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ จัดเตรียมสื่อ-วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการประเมินผล จัดเตรียมโสตทัศนูปกรณ์ในห้องเรียนสำหรับการจัดการเรียนรู้ 12

บทบรรยาย ในส่วนของขั้นเตรียมการนั้น เป็นขั้นตอนที่ครูผู้สอนศึกษาข้อมูล พร้อมทั้งเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้พร้อมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ 1. ศึกษาคู่มือครูในการดำเนินการฯ 2. ศึกษารายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ 3. จัดเตรียมสื่อ-วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการประเมินผล 4. จัดเตรียมโสตทัศนูปกรณ์ในห้องเรียนสำหรับการจัดการ เรียนรู้ 12

เตรียมการโดยการศึกษา จากแผนการจัดการเรียนรู้ 13

บทบรรยาย ครูสามารถศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนตามโดยการศึกษาจากเล่มคู่มือครู พร้อมทั้งสามารถเตรียมสื่อ – อุปกรณ์ พร้อมทั้งเครื่องมือในการประเมินผล และโสตทัศนูปกรณ์เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ที่ระบุในแผนการจัดการเรียนรู้โดยละเอียดแล้ว 13

ขั้นที่ 2 : ขั้นดำเนินการ ดำเนินการตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ (ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน และขั้นสรุป) แนวทางที่ 1 แนวทางที่ 2 14 โปรแกรมสำเร็จรูป (โปรแกรม Flash) อธิบายด้วยตนเองโดยใช้สื่อประกอบ

บทบรรยาย ขั้นดำเนินการ ครูสามารถดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน และขั้นสรุป ซึ่งครูผู้สอนสามารถเลือกแนวทางในการจัดกิจกรรม 2 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 โปรแกรมสำเร็จรูป (โปรแกรม Flash) รูปแบบที่ 2 อธิบายด้วยตนเองโดยใช้สื่อประกอบ 14

ขั้นที่ 2 : ขั้นดำเนินการ (ต่อ) 2. แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (หากไม่ได้เป็นไปตามที่วางแผนเอาไว้ อยู่ในดุลพินิจของครู) 15

บทบรรยาย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าที่เกิดขึ้น หากไม่ได้เป็นไปตามที่วางแผนเอาไว้ ขอให้เป็นดุลยพินิจ ของครูผู้สอน เช่น นักเรียนยังมีความเข้าใจไม่ครอบคลุม สามารถเน้นย้ำ เพิ่มเติมได้ หรือการเปิด Clip VDO ที่มีความยาว ยากต่อการจดจำและ เข้าใจ สามารถเปิดเป็นระยะ ๆ และสรุป เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะเกิด ขึ้นกับนักเรียน 15

ขั้นที่ 3 : ขั้นประเมินผล ครูดำเนินการประเมินผลตามเครื่องมือของแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผน (รายละเอียดตาม การวัดและการประเมินผลในแผนการจัดการเรียนรู้) 16

บทบรรยาย ขั้นการประเมินผล ครูสามารถศึกษาวิธีการประเมินผลรายแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 4 แผน ตามรายละเอียดการวัดและการประเมินผลตามเล่มคู่มือครู 16

การจัดกิจกรรม ตามรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ 17

บทบรรยาย เพื่อให้การจัดกิจกรรมตามรายละเอียดของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผล จึงควรได้เรียนรู้ในส่วนของการจัดกิจกรรมให้เกิดความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 17

แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในกรณีที่ครูต้องการศึกษาเปรียบเทียบผลการพัฒนาพฤติกรรมนักเรียน ครูต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) ก่อนเริ่มกิจกรรม โดยใช้เวลาอื่นนอกคาบเรียน (ใช้เวลาประมาณ 20 นาที) แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทดสอบก่อนเรียน Pre-test ทดสอบหลังเรียน Post-test 18

บทบรรยาย ในกรณีที่ครูต้องการศึกษาเปรียบเทียบผลการพัฒนาพฤติกรรมนักเรียน ครูต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) ก่อนเริ่มกิจกรรม โดยใช้เวลาอื่นนอกคาบเรียน (ใช้เวลาประมาณ 20 นาที) หลังจากนั้นครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ เรียนรู้ในครั้งนี้จำนวน 4 แผน ร่วมกับกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน จำนวน 2 แผน หลังจากนั้นให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) ซึ่งครูสามารถศึกษาแบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ ได้ตามคู่มือ ครู 18

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง “สุขภาพในอนาคต” แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง “สุขภาพในอนาคต” จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน 1. รับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม 2. รับรู้ความรุนแรงของโรค เมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากมีพฤติกรรมการบริโภค ที่ไม่เหมาะสม 3. เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4. มีสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การมีพฤติกรรมบริโภคเพื่อป้องกันไม่โรคติดต่อเรื้อรัง 19

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง “สุขภาพในอนาคต” บทบรรยาย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง “สุขภาพในอนาคต” มีจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน ดังนี้ 1. รับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ เหมาะสม 2. รับรู้ความรุนแรงของโรค เมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากมีพฤติกรรม การบริโภคที่ไม่เหมาะสม 3. เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง 4. มีสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การมีพฤติกรรมบริโภคเพื่อป้องกันไม่ โรคติดต่อเรื้อรัง 19

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. ดู VDO ชุด “เมื่อสุขภาพเสียไป” 2. เชื่อมโยง VDO เข้าสู่บทเรียน 20

บทบรรยาย ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียนนั้น เริ่มต้นโดยที่ ครูเปิด VDO ชุด เมื่อสุขภาพเสียไป ซึ่งสะท้อน ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดการรับรู้โอกาสเสี่ยง ในการเกิดโรค และความรุนแรงของโรค พร้อมทั้งครูสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน โดยการสอบถาม นักเรียนจากสถานการณ์ใน VDO กับประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน และเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียนถึงความจำเป็นในการที่ต้องได้เรียนรู้ 20

ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน 1. ดู VDO ชุด “ความสำคัญของการมีสุขภาพดี 2. สนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับ VDO 3. ทำใบงาน “สุขภาพในอนาคต” 4. ทำใบงาน “มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันเถอะ” 21

บทบรรยาย ในส่วนขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น หลังจากที่เชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน ให้มีการดำเนินการ ดังนี้ 1. ดู VDO ชุด “ความสำคัญของการมีสุขภาพดี” เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการมี สุขภาพดี และเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2. สนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับ VDO โดยครูควรมีการสอบถามถึงประเด็นสำคัญจาก VDO ชุดดังกล่าว และเชื่อมโยงต่อพฤติกรรมของนักเรียนในปัจจุบัน และเข้าสู่การทำใบงานที่ 1 และ 2 3. ทำใบงาน “สุขภาพในอนาคต” มุ่งเน้นให้นักเรียนสะท้อนพฤติกรรมการบริโภคของ นักเรียนในปัจจุบันและสะท้อนออกมาให้เป็นรูปภาพในอนาคต 4. ทำใบงาน “มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันเถอะ” ซึ่งจากประสบการณ์ในกิจกรรมใบงานที่ 1 และใบงานที่ 2 ไม่สามารถดำเนินการให้แล้ว เสร็จได้ภายในชั่วโมง ครูสามารถให้นักเรียนเก็บไปทำเป็นการบ้านได้ แต่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับนักเรียนที่ทำในชั้นเรียนที่มีความก้าวหน้า และครูสามารถให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้นักเรียนทั้ง ห้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องในการทำใบงาน 21

ขั้นสรุป 1. สรุปบทเรียน 2. นำใบงานไปทำเป็นการบ้าน 22 - ความสำคัญของสุขภาพ - ปัจจัยกำหนดสุขภาพ - พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม 2. นำใบงานไปทำเป็นการบ้าน 22

บทบรรยาย ในส่วนขั้นสรุป ครูควรมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันสรุปกับนักเรียนในชั้นเรียนในประเด็นต่างๆ ดังนี้ ประเด็นความสำคัญของสุขภาพ ประเด็นปัจจัยกำหนดสุขภาพ ประเด็นพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม พร้อมทั้งมอบหมายใบงานให้ทำเป็นการบ้าน และนำมาส่งในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งต่อไป 22

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง “อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี” แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง “อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี” จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน 1. มีความรู้เกี่ยวกับการอ่านฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 2. สามารถใช้ประโยชน์จากส่วนประกอบต่าง ๆ ของฉลากอาหาร ฉลาก โภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 23

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง “อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี” บทบรรยาย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง “อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี” มีจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน ดังนี้ 1. มีความรู้เกี่ยวกับการอ่านฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 2. สามารถใช้ประโยชน์จากส่วนประกอบต่าง ๆ ของฉลากอาหาร ฉลาก โภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 23

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. สุ่มใบงานเพื่อสนทนา 2. นำฉลากประเภทต่างๆในผลิตภัณฑ์ให้ นักเรียนดู 3. สนทนาและเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน 24

บทบรรยาย ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ครูควรดำเนินการ ดังนี้ 1. สุ่มใบงานจากแผนที่ 1 ที่ให้นักเรียนทำการบ้าน นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประมาณ 2 – 3 ตัวอย่าง 2. นำฉลากประเภทต่างๆในผลิตภัณฑ์ให้นักเรียนดู โดยให้นักเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าเคยเห็นฉลากประเภทต่างๆ ที่ไหน และใช้ประโยชน์อย่างไร บ้าง 3. สนทนาและเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน 24

ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน 1. ใช้สื่อชุด “อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี” 2. สนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับฉลากประเภท ต่างๆ และประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 3. เล่นเกม “Lab กริ๊งฉลากอาหาร” 25

บทบรรยาย ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน มีรายละเอียด ดังนี้ 1. ใช้สื่อชุด “อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี” ซึ่งเป็นสื่อที่เสนอองค์ความรู้ เกี่ยวกับฉลากประเภทต่างๆ ที่นักเรียนควรรู้ ได้แก่ ฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลาก หวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 2. สนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับฉลากประเภทต่างๆ และประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน 3. เล่นเกม “Lab กริ๊งฉลากอาหาร” เป็นเกม ในการทดสอบความรู้ ซึ่งครูสามารถ ประเมินจากกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียนได้เพิ่มเติม 25

ขั้นสรุป 1. สรุปบทเรียน - ฉลากประเภทต่างๆ - เหตุผล ความจำเป็น ประโยชน์จากฉลาก 2. ให้การบ้านสร้างสื่อชุด “อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี” และเผยแพร่ให้เพื่อนๆ ทราบในช่องทางที่นักเรียนสื่อสารกับเพื่อน 26

บทบรรยาย ในส่วนขั้นสรุป ครูควรมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันสรุปกับนักเรียนในชั้นเรียนในประเด็นต่างๆ ดังนี้ - ฉลากประเภทต่างๆ - เหตุผล ความจำเป็น ประโยชน์จากฉลาก พร้อมทั้งมอบหมายให้นักเรียนทำการบ้านโดยการสร้างสื่อชุด “อ่านฉลากสักนิด พิชิตสุขภาพดี” และเผยแพร่ให้เพื่อนๆ ทราบในช่องทางที่นักเรียนสื่อสารกับเพื่อน 26

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง “ฉลาดบริโภค โรคไม่ถามหา” แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง “ฉลาดบริโภค โรคไม่ถามหา” จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน 1. รับรู้โอกาสเสี่ยงของการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลม 2. รับรู้ความรุนแรงของการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลม 3. ลดการรับรู้อุปสรรคจากการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และ น้ำอัดลม 4. เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการลดการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลม 27

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง “ฉลาดบริโภค โรคไม่ถามหา” บทบรรยาย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง “ฉลาดบริโภค โรคไม่ถามหา” มีจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน ดังนี้ 1. รับรู้โอกาสเสี่ยงของการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลม 2. รับรู้ความรุนแรงของการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และ น้ำอัดลม 3. ลดการรับรู้อุปสรรคจากการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และ น้ำอัดลม 4. เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการลดการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี อาหารทอด และน้ำอัดลม 27

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. สนทนาเรื่องสื่อที่นักเรียนพัฒนาขึ้น 2. ดู VDO ชุด “มันมากับอาหาร” 28

บทบรรยาย ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ของแผนการจัดการเรียนรู้นี้ 1. สนทนาเรื่องสื่อที่นักเรียนพัฒนาขึ้น ที่ครูมอบหมายให้นักเรียน ทำการบ้าน ประมาณ 2 – 3 ตัวอย่าง และสรุปเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ VDO 2. เปิด VDO ชุด “มันมากับอาหาร” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับอันตราย ที่มาจากอาหาร พิษภัยที่เกิดจากการบริโภคขนมกรุบกรอบ อาหารใส่สี และ อาหารที่ไม่ปลอดภัย 28

ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน 1. สนทนาและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VDO 2. ครูและนักเรียนร่วมกันอธิบายเกี่ยวกับวิธีการหลักเลี่ยง ปฏิเสธ การบริโรคอาหารไม่ปลอดภัย 3. ครูเน้นย้ำเรื่องพิษภัยเกี่ยวกับการบริโภค อาหารที่ไม่ปลอดภัย 29

บทบรรยาย ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน ของแผนการจัดการเรียนรู้นี้ คือ 1. สนทนาและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VDO ซึ่งควรเน้นย้ำในประเด็นอันตรายและพิษภัยที่มาจากอาหารที่ไม่ปลอดภัย 2. ครูและนักเรียนร่วมกันอธิบายเกี่ยวกับวิธีการหลักเลี่ยง ปฏิเสธ การบริโรคอาหารไม่ปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของนักเรียน เนื่องจากอาหารที่ไม่ปลอดภัยมีอยู่รอบตัวนักเรียน 3. ครูเน้นย้ำเรื่องพิษภัยเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย 29

ขั้นสรุป 1. สรุปบทเรียน - พิษภัยจากจากการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย 2. กระตุ้นและให้กำลังใจเรื่องการปฏิบัติตัวในการลด/หลีกเลี่ยงการบริโภค 3. มอบหมายในการจัดทำ “สุสานอาหารไม่ปลอดภัย” 30

บทบรรยาย ขั้นสรุป ของแผนการจัดการเรียนรู้นี้ ควรดำเนินการ ดังนี้ 1. สรุปบทเรียน โดยควรเน้นนำถึงพิษภัยจากจากการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย 2. กระตุ้นและให้กำลังใจเรื่องการปฏิบัติตัวในการลด/หลีกเลี่ยงการบริโภค โดยครู หรือให้นักเรียนตัวแทนมาให้กำลังใจเพื่อนๆ 3. มอบหมายในการจัดทำ “สุสานอาหารไม่ปลอดภัย” ซึ่งครูสามารถยกตัวอย่างแนวคิดในการทำ หรือตัวอย่างให้แก่นักเรียน และนำมาใช้ในกิจกรรมครั้งต่อไป 30

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง “บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ” แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง “บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ” จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน 1. มีพฤติกรรมการอ่านฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 2. มีพฤติกรรมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 3. มีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง หรือลดการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย 31

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง “บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ” บทบรรยาย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง “บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ” จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน 1. มีพฤติกรรมการอ่านฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 2. มีพฤติกรรมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลาก หวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA) และสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” 3. มีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง หรือลดการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย 31

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. ครูสนทนากับนักเรียนเรื่องการเตรียมการ นำเสนอและข้อตกลงต่างๆ ในการทำกิจกรรม “สุสาน อาหารไม่ปลอดภัย” 32

บทบรรยาย ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ควรดำเนินการ ดังนี้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ควรดำเนินการ ดังนี้ ครูสนทนากับนักเรียนเรื่องการเตรียมการนำเสนอและข้อตกลง ต่างๆ ในการทำกิจกรรม “สุสาน อาหารไม่ปลอดภัย” ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ ครู เช่น ตกลงลำดับในการนำเสนอ และรูปแบบการนำเสนอ เช่น แนวคิดของ ชิ้นงาน วิธีการพัฒนาชิ้นงาน เป็นต้น 32

ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน 1. นักเรียนนำเสนอ “สุสาน อาหารไม่ปลอดภัย” 2. ครูใช้สื่อชุด “บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ” 3. สนทนาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมในสื่อที่นักเรียนดู 4. ครูสรุปแนวคิดเพื่อให้นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 33

บทบรรยาย ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน ครูควรมีการดำเนินการ ดังนี้ 1. นักเรียนนำเสนอ “สุสาน อาหารไม่ปลอดภัย” และให้นักเรียนทำกิจกรรมจากการที่นักเรียนนำขนมหรือเครื่องดื่มที่ชื่นชอบรับประทานในชีวิตประจำวันมา 2. ครูใช้สื่อชุด “บริโภคอย่างนี้สิ ดีต่อสุขภาพ” 3. ครูสนทนาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมในสื่อที่นักเรียนดู 4. ครูสรุปแนวคิดเพื่อให้นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 33

ขั้นสรุป 1. ใช้สื่อ “อ่าน งด ลด ทำ” 2. ทำใบงานความประทับใจ และสุ่มนักเรียนเพื่อให้ออกมาเล่าประโยชน์และความประทับใจที่ได้รับ 3. ชมเชยและให้กำลังใจนักเรียน 34

บทบรรยาย ขั้นสรุปบทเรียน มีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้ 1. ครูใช้สื่อ “อ่าน งด ลด ทำ” ซึ่งเป็น VDO สรุปบทเรียนทั้งหมดจากการเรียนมาทั้ง 4 แผนการเรียนรู้ พร้อมทั้งครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน 2. ให้นักเรียนทำใบงานความประทับใจ และสุ่มนักเรียนเพื่อให้ออกมาเล่าประโยชน์และความประทับใจที่ได้รับ 3. ครูชมเชยและให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมต่อไป และห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 34

สาธิตการจัดกิจกรรม ตามรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (โปรแกรม Flash) 35

บทบรรยาย จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอน สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (โปรแกรม Flash) ซึ่งครูจะได้รับ CD จากคู่มือครู ซึ่งในแต่ละแผนการเรียนรู้ จะมีแผนละ 1 แผ่น 35

วัสดุอุปกรณ์ที่โรงเรียน อย.น้อย จะได้รับ 1. คู่มือครูในการดำเนินการการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 2. โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการเรียนรู้ (โปรแกรม Flash) 36

บทบรรยาย วัสดุอุปกรณ์ที่ครูจะได้รับ เพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรมในโรงเรียน ประกอบด้วย 1. คู่มือครูในการดำเนินการการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 2. โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการเรียนรู้ (โปรแกรม Flash) 36

ส่วนประกอบของ Folder ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ โปรแกรมสำเร็จรูป ในการจัดการเรียนรู้ 37

บทบรรยาย เมื่อครูใช้ CD จะปรากฏ Folder ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ Folder ที่ 1 คู่มือครู ซึ่งเป็นไฟล์ของคู่มือครูที่ทุกท่านได้รับ Folder ที่ 2 โปรแกรมแฟลช ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปในการ จัดการเรียนรู้ จากประสบการณ์ เมื่อครูจะใช้โปรแกรมแฟลช ควร Copy ลงใน เครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน (เนื่องจากหากเปิดจาก CD อาจมีปัญหาเรื่อง ความเร็วได้) 37

ส่วนประกอบของ Folder ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ครูเปิดใช้โปรแกรม Flash เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง โปรแกรมสำเร็จรูป ในการจัดการเรียนรู้ Folder อื่นๆ เพื่อใช้ในการเตรียมการและประกอบ การจัดการเรียนรู้ 38

บทบรรยาย  แผนการจัดการเรียนรู้ เมื่อครูเปิดเข้าไปใน Folder คู่มือครู จะปรากฏ Folder ย่อยๆ ซึ่งประกอบ ไปด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้  สื่อประกอบการเรียนรู้ (ในกรณีที่ครูจะใช้เพื่อประกอบการเรียนการสอนเองโดยไม่ใช้ โปรแกรมแฟลช)  ใบงาน  ใบประเมินผล  วีดีทัศน์สาธิตการสอน  หนังสืออ่านเพิ่มเติม ซึ่งครูสามารถศึกษาเพิ่มเติมก่อนการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้ 38

ขั้นตอนการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการเรียนรู้ (ต่อ) click ที่ ไฟล์ main 39

บทบรรยาย เมื่อครู Click ไปที่ Folder โปรแกรมแฟลช จะปรากฏ Folder และ File ต่างๆ ดังภาพ ครูจะสังเกตเห็น File ชื่อ main ครูสามารถ Double Click เพื่อเข้าสู่โปรแกรมการเรียนรู้สำเร็จรูป ต่อไป 39

ขั้นตอนการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการเรียนรู้ (ต่อ) จะพบหน้าต่างเล็ก ๆ ปรากฏบนหน้าจอ ให้ click Run เพื่อเข้าสู่หน้าจอหลักของโปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการเรียนรู้ 40

บทบรรยาย เมื่อครู Double Click ใน File ชื่อ main แล้วจะปรากฏหน้าต่างเล็ก ๆ บนหน้าจอ ให้ click Run เพื่อเข้าสู่หน้าจอหลักของโปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการเรียนรู้ต่อไป 40

ตัวอย่างหน้าจอหลักในแผนการจัดการเรียนรู้ 41

บทบรรยาย ภาพดังกล่าวเป็นตัวอย่างหน้าจอหลักในแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน เคล็ดลับสำหรับครู แบบฝึกหัด 41

ตัวอย่างหน้าจอในส่วนกิจกรรมการเรียนการสอน 42

บทบรรยาย ภาพดังกล่าวเป็นตัวอย่างหน้าจอในส่วนของกิจกรรมการเรียนการ สอน ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าจะเป็นรูปท่อนไม้ ซึ่งได้แยกเป็นขั้นตอนของ การเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้วางแผนเอาไว้ ตั้งแต่ขั้น นำเข้าสู่บทเรียน ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน และขั้นสรุปบทเรียน 42

ตัวอย่างหน้าจอในส่วนเคล็ดลับสำหรับครู 43

บทบรรยาย ภาพดังกล่าวเป็นตัวอย่างหน้าจอในส่วนของเคล็ดลับสำหรับครู ซึ่งจะประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ใบงาน เครื่องมือวัดและประเมินผล และเอกสารอ่านเพิ่มเติม 43

ตัวอย่างหน้าจอในส่วนของแบบฝึกหัด 44

บทบรรยาย ภาพดังกล่าวเป็นตัวอย่างหน้าจอในส่วนของแบบฝึกหัด ซึ่งครู สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่ม จากช่องทางดังกล่าว นอกเหนือจาก กิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ 44

ประสบการณ์ในการดำเนินการที่ผ่านมา 45

บทบรรยาย ประสบการณ์ในการดำเนินการที่ผ่านมาในการนำ รูปแบบ การพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียน อย. น้อย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไป ประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น ได้ผ่านการทดลองใช้จากกลุ่ม ตัวอย่างทั่วประเทศ และบริบทที่แตกต่างกัน ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ดังนั้น ขอให้ครูทุกท่านมั่นใจในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับใน ครั้งนี้ 45

จุดแข็ง กิจกรรมการเรียนการสอนมีความหลากหลาย เปลี่ยนแปลงไปแต่ละสัปดาห์ มีกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน (การพัฒนาสื่อ สิ่งประดิษฐ์) ซึ่งนักเรียนจะได้ พัฒนากระบวนการคิด และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล มีกิจกรรมการเสริมแรงโดยการใช้เทคนิคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ครูผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง (ทั้งที่มาจากตนเอง และมาจากการสนับสนุนจากทีมวิจัย อย.) 46

จุดแข็งของแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แผนในครั้งนี้ คือ บทบรรยาย จุดแข็งของแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แผนในครั้งนี้ คือ กิจกรรมการเรียนการสอนมีความหลากหลาย เปลี่ยนแปลงไปแต่ละสัปดาห์ มีกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน (การพัฒนาสื่อ สิ่งประดิษฐ์) ซึ่งนักเรียนจะได้ พัฒนากระบวนการคิด และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล มีกิจกรรมการเสริมแรงโดยการใช้เทคนิคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ครูผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง (ทั้งที่มาจากตนเอง และมาจากการสนับสนุนจากทีมวิจัย อย.) 46

จุดที่ควรพึงระวัง ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้สั้น (50 นาที) จึงต้องมีการบริหาร จัดการเวลาเป็นอย่างดี (การเปลี่ยนคาบเรียน, กิจกรรมเยอะ) การทำชิ้นงานของนักเรียน ยังเป็นตามตัวอย่างที่ครูนำเสนอหรือ ยกตัวอย่าง (ทั้งชิ้นงานในใบงาน การพัฒนาสื่อ และ ชิ้นงานสุสาน อาหารไม่ปลอดภัย) 47

จุดที่ควรพึงระวัง ประกอบไปด้วย บทบรรยาย จุดที่ควรพึงระวัง ประกอบไปด้วย ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้สั้น (50 นาที) จึงต้องมีการบริหารจัดการ เวลาเป็นอย่างดี (การเปลี่ยนคาบเรียน, กิจกรรมเยอะ) การทำชิ้นงานของนักเรียน ยังเป็นตามตัวอย่างที่ครูนำเสนอหรือ ยกตัวอย่าง (ทั้งชิ้นงานในใบงาน การพัฒนาสื่อ และ ชิ้นงานสุสาน อาหารไม่ปลอดภัย) 47

ผู้จัดการเรียนการสอน บุคลิกลักษณะของ ผู้จัดการเรียนการสอน 48

บทบรรยาย จากประสบการณ์ในการใช้รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภค อาหารของนักเรียนในโรงเรียน อย.น้อย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง (NCDs) นั้น ครูผู้สอนเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะส่งเสริมให้รูปแบบฯ ครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ซึ่งได้มีการถอดบทเรียนแล้ว พบว่า บุคลิกของ ผู้จัดการเรียนรู้ ที่เหมาะกับการใช้รูปแบบฯ มีดังนี้ 48

บุคลิกลักษณะของผู้จัดการเรียนการสอน เป็นบุคคลที่มีความเป็นกันเองต่อนักเรียน (Friendly) เป็นบุคคลที่สร้างความผ่อนคลายแก่นักเรียน (Relax) เป็นบุคคลที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของ ตนเองให้แก่นักเรียน (Self-Efficacy) 49

บุคลิกของผู้จัดการเรียนรู้ บทบรรยาย บุคลิกของผู้จัดการเรียนรู้ ควรเป็นบุคคลที่มีความเป็นกันเองต่อนักเรียน (Friendly) ควรเป็นบุคคลที่สร้างความผ่อนคลายแก่นักเรียน (Relax) ควรเป็นบุคคลที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองให้แก่นักเรียน (Self-Efficacy) 49

บุคลิกลักษณะของผู้จัดการเรียนการสอน (ต่อ) เป็นบุคคลที่นักเรียนมั่นใจที่จะปลอดภัยในความลับ (Secure) เป็นบุคคลที่สร้างท้าทายให้แก่นักเรียน (Challenge) เป็นบุคคลที่สร้างความสนุกและความสุขใจให้แก่นักเรียน (Enjoy) 50

บุคลิกของผู้จัดการเรียนรู้ บทบรรยาย บุคลิกของผู้จัดการเรียนรู้ เป็นบุคคลที่นักเรียนมั่นใจที่จะปลอดภัยในความลับ (Secure) เป็นบุคคลที่สร้างท้าทายให้แก่นักเรียน (Challenge) เป็นบุคคลที่สร้างความสนุกและความสุขใจให้แก่นักเรียน (Enjoy) 50

“สุขภาพดีเราเลือกได้” บทบรรยาย หวังว่าทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในครั้งนี้ไปสู่การปฏิบัติในการนำรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียน อย.น้อย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมุ่งเน้นให้นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่พึงประสงค์ และนำไปสู่การมีสุขภาพดีโดยเฉพาะป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคตต่อไป “สุขภาพดีเราเลือกได้” 51