การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ. ศ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Yamaha Electrics Co.,Ltd.
Advertisements

อาหาร 500 ราย 1 เครื่องดื่ม 144 ราย 2 ผ้าและเครื่องแต่งกาย 1,209 ราย 3 ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก 1,570 ราย 4 การลงทะเบียน OTOP รวม 985 ราย เดิม 638.
เกษตรอินทรีย์ (Organic)
SHINPO – TOMI COMPANY LIMITED
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1 ประกาศสำนักงานมาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ชื่อย่อ ของมาตรฐานสินค้าเกษตร ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 15 พฤศจิกายน.
LIT MBA รุ่นที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ธันวาคม 2558.
1 คณะที่ 5 การตรวจราชการแบบบูรณา การ ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี
การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management).
พันธกิจที่ 4 สร้างกลไกการพัฒนางานสุขภาพจิต นายแพทย์บุญชัย นวมงคลวัฒนา ประธานพันธกิจที่ 4.
KS Management Profile.
บทบาทอำนาจหน้าที่และความสำคัญของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาหมู่บ้าน
L I O รายงานผลการดำเนินงาน ประจำเดือนมกราคม 2555
การประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล
เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ
สัมมนาการตลาด (Seminar in Marketing)
บทที่ 8 กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
บทที่ ๓ กินเป็น อยู่เป็น
การเตรียมความพร้อมในการจัดทำงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงพ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
การแก้ไขข้อบกพร่องระบบ GMP จากการตรวจรับรองโรงงานเพื่อการส่งออก วันที่
กลุ่มประสิทธิภาพกลุ่มที่ 1 (เขตตรวจราชการที่ 1, 2 และ 4)
“หลักการแก้ปัญหา”.
ข้อพึงระวังในการปฏิบัติงาน
กรณีตัวอย่าง : ส้มโอแปลงใหญ่ประชารัฐ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
บทที่ 2 ภาพรวมกระบวนการ (A Generic View of Process)
1.โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตคนอีสานศตวรรษที่ 21 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การพัฒนาระบบบริหารจัดการ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดบุรีรัมย์ 9 สิงหาคม นางสุนิสา บุญยาทิษฐาน พัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์ 9 สิงหาคม 2560.
4.1 งานนโยบายรัฐบาล ปีงบประมาณ 2560 เดือน สิงหาคม 2560
ส่วนรับรองด้านการปศุสัตว์ สพส.
“มิติใหม่ของ QR Code กับ งานสุขศึกษา” อุบัติเหตุ 1
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2559 เวลา น.
คำขวัญอำเภอเมืองเชียงใหม่
การสร้างข้อสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
การขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์
Risk Management in New HA Standards
ภูมิปัญญาผ้าหมักย้อมดินภูเขาไฟ :ผ้าภูอัคนี นางสมศรี เจ้าของภูมิปัญญา ปราชญ์ภูมิปัญญา การย้อมผ้าด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่นมะเกลือ แก่นขนุน ใบสาบเสือ.
การผลิตและการจัดการการผลิต
กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม
เป็นฐานสำคัญขององค์กร
ใบงานที่ 2 ประเด็น : … Engine : …….……………………………………………………………………
คณะที่ 2 : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (ยุทธศาสตร์ด้านบริการเป็นเลิศ)
บทที่ 8 กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategy)
การตรวจสอบย้อนกลับ TRACEABILITY
การวิเคราะห์ข้อมูล เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
สรุปงาน กศน.อำเภอไพศาลี ประจำเดือน มกราคม 2559
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
แผนพัฒนาบริการสุขภาพ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ สุโขทัย ตาก
ผลการดำเนินงาน ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 –
(Rice Analysis) จังหวัดอุทัยธานี การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องข้าว
บทที่ 8 ผลิตภัณฑ์การบริหารการผลิต
ตู้หยอดเหรียญผักสลัด ดึงเกษตรกรเข้าถึงผู้บริโภคในเมือง
การตลาดในเศรษฐกิจยุคใหม่ (Marketing in the New Economy)
Product Champion Cluster วัยเรียน : โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
หมวด 1 การนำองค์กร และการจัดการดี
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
กรอบแนวคิดชุดวิจัย Cluster วัยเรียน
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
การจัดทำและการบริหาร งบประมาณรายจ่ายประจำปี นางดรงค์รัตน์ กล้าหาญ
Service Profile หน่วยงาน : ห้องคลอด รพร.เดชอุดม
แผนพัฒนาการเกษตรตำบลคำพราน ปีงบประมาณ 2560 พื้นที่เพาะปลูกพืช เศรษฐกิจ
11/17/2010.
กลยุทธ์ธุรกิจ.
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ วันศุกร์ที่ ๑๒ กรกฏาคม ๒๕๖๒
สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง
การแก้ไขข้อบกพร่องระบบ GMP จากการตรวจรับรองโรงงานเพื่อการส่งออก วันที่
กลยุทธ์องค์การ.
การยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ. ศ การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2559 OTOP PRODUCT CHAMPION : OPC โดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์

ความเป็นมา รัฐบาลได้มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยรัฐพร้อม ที่จะสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ แหล่งเงินทุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารและการตลาดเพื่อเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การดำเนินงานโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP Product Champion : OPC ) เป็นโครงการตามนโยบายการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และการจัดระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (๑ – ๕ ดาว) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ นำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดแผนการส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งกำหนดดำเนินการคัดสรรฯ ทุก ๆ ๒ ปี โดย ใน ปีพ.ศ.๒๕๕๘ คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ) มีมติการประชุมคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการโครงการ คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ.๒๕๕๙ (OTOP Product Champion : OPC)

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อจัดระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) 2. เพื่อจัดระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Profile) ที่จะใช้ในการทำงานเชิงบูรณาการ ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป จน สามารถ ใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน 4. เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

กรอบการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย 1. สามารถส่งออกได้ (Exportable) โดยมีความแกร่งของตราผลิตภัณฑ์ (Brand Equity) 2. ผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistant) 3. ความมีมาตรฐาน(Standardization) โดยมีคุณภาพ (Quality) และสร้าง ความพึงพอใจแก่ลูกค้า (Satisfaction) 4. มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product)

คุณสมบัติของผู้ผลิตผู้ประกอบการ และผลิตภัณฑ์ ที่สามารถเข้ารับการคัดสรรฯ 1. เป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีชื่ออยู่ในการสำรวจและลงทะเบียน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP ปี พ.ศ. 2557-2558 ของจังหวัด หรือ กรุงเทพมหานคร 2. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้แจ้งไว้ในการสำรวจและลงทะเบียนผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ปี พ.ศ. 2557-2558 3. ผลิตภัณฑ์ตามข้อ 2 ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น อย.และหากผลิตภัณฑ์ใดไม่มีข้อกำหนดของกฎหมายระบุไว้ต้องผ่านการ รับรองมาตรฐานอย่างใด อย่างหนึ่ง ก่อนวันสมัครเข้ารับการ คัดสรรฯ เช่น มผช., มอก., ฮาลาล, คิว (Qmark), GAP, GMP, HACCP และมาตรฐานเกษตร อินทรีย์ เป็นต้น ทั้งนี้ กรณีผลิตภัณฑ์เครื่องประดับอัญมณีหากไม่มี มาตรฐานใดรับรองให้สามารถส่งเข้ารับการคัดสรรฯ ได้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ อยู่ในระหว่างขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้

คุณสมบัติของผู้ผลิตผู้ประกอบการ และผลิตภัณฑ์ ที่สามารถเข้ารับการคัดสรรฯ 3.1 กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายใหม่ สามารถใช้หนังสือ รับรองจากหน่วยงานที่ยื่นขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์เป็นหลักฐานแทนใบรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ในระหว่างก่อนประกาศผลการคัดสรรฯ หากไม่ได้รับการ รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จะถือว่าขาดคุณสมบัติและไม่ประกาศผลการจัดระดับ ผลิตภัณฑ์ 3.2 กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายเก่าซึ่งใบรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์หมดอายุสามารถใช้ใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุสมัครเข้า รับการคัดสรรฯ ได้ ทั้งนี้ ในระหว่างก่อนประกาศผลการคัดสรรฯ หากได้รับการรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ จะนำผลคะแนนที่ได้ คูณด้วย 1 แต่หากยังไม่ได้รับการรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ในห้วงเวลาดังกล่าว ผลคะแนนที่ได้จะคูณด้วย 0.75 3.2 กรณีที่ไม่อยู่ในคุณสมบัติตามข้อ 3.1 และ3.2 ให้ใช้หนังสือรับรองการจด ทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ ทั้งนี้ ในระหว่างก่อนประกาศผลการคัดสรรฯ หากไม่ได้รับหนังสือรับรองการจดทะเบียน ทรัพย์สินทางปัญญา จะถือว่าขาดคุณสมบัติและไม่ประกาศผลการจัดระดับผลิตภัณฑ์

จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ สามารถส่งเข้าประกวด ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP สามารถส่งผลิตภัณฑ์ ที่ได้ แจ้งไว้ในการสำรวจและลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ปี พ.ศ. 2557-2558 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ผ่านการรับรอง มาตรฐาน ที่กำหนดไว้ ตามคุณสมบัติที่กำหนด ส่งผลิตภัณฑ์เข้ารับการคัดสรรฯ ได้รายละ 1 ผลิตภัณฑ์ (กรณีผลิตภัณฑ์เดี่ยว) หรือ 1 ชุด (กรณีชุดผลิตภัณฑ์)

ประเภทผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรฯ ผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรฯ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ ดังนี้ ประเภทอาหาร ประเภทเครื่องดื่ม ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ประเภทของใช้ ของประดับตกแต่ง ของที่ระลึก ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

หน่วยดำเนินการ ระดับจังหวัด / กรุงเทพมหานคร จังหวัดและกรุงเทพมหานคร - แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดสรรฯ ระดับ จังหวัดและกรุงเทพมหานคร - พิจารณาให้ค่าคะแนนในส่วน ก และ ส่วน ข ตามกลุ่ม ประเภทผลิตภัณฑ์

หน่วยดำเนินการ (ต่อ) ระดับประเทศ - แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดสรรฯ ระดับประเทศ โดยให้ส่วนราชการที่ได้รับมอบหมายดำเนินการสรรหา และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดสรรฯ - พิจารณาให้ค่าคะแนนในส่วน ค. ตามประเภทผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับมอบหมาย

หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการตรวจและให้ค่าคะแนน คัดสรรฯระดับประเทศ ตามประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทผลิตภัณฑ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ประเภทอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประเภทเครื่องดื่ม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ้า เครื่องแต่งกาย กระทรวงอุตสาหกรรม ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก กระทรวงพาณิชย์ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร กระทรวงสาธารณสุข

การจัดระดับผลิตภัณฑ์ การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ.2559 ผลการ ดำเนินการคัดสรรฯ จัดระดับผลิตภัณฑ์ มีระดับเดียว คือ ระดับประเทศเท่านั้น โดยใช้หลักเกณฑ์เฉพาะแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ (Specific Criteria) ซึ่งกำหนด คะแนนรวมไว้ 100 คะแนน ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ในการพิจารณา 3 ด้าน คือ หลักเกณฑ์ด้านผลิตภัณฑ์และความเข้มแข็งของชุมชน หลักเกณฑ์ด้าน การตลาดและความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ และหลักเกณฑ์ด้านคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะนำมากำหนดกรอบในการจัดระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ออกเป็น 5 ระดับ ตามค่าคะแนน ดังนี้

การจัดระดับผลิตภัณฑ์ ระดับดาว ค่าคะแนน คุณลักษณะ  5 ดาว 90 – 100 คะแนน เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน หรือมีศักยภาพ ในการส่งออก  4 ดาว 80 – 89 คะแนน เป็นสินค้าที่มีศักยภาพ เป็นที่ยอมรับระดับ ประเทศ และสามารถพัฒนาสู่สากล  3 ดาว 70 - 79 คะแนน เป็นสินค้าที่มีคุณภาพระดับกลางที่สามารถพัฒนา สู่ระดับ 4 ดาวได้  2 ดาว 50 - 69 คะแนน เป็นสินค้าที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 3 ดาว มีการ ประเมินศักยภาพเป็นระยะ  1 ดาว ต่ำกว่า 50 คะแนน เป็นสินค้าที่ไม่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 2 ดาว ได้เนื่องจากมีจุดอ่อนมาก และพัฒนายาก

หลักเกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี พ.ศ. 2559 ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วน ก. ด้านผลิตภัณฑ์และความเข้มแข็งของชุมชน(30 คะแนน) ด้านการผลิต (12 คะแนน) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (9 คะแนน) ด้านความเข้มแข็งของชุมชน (9 คะแนน) ส่วน ข. ด้านการตลาดและความเป็นมาของผลิตภัณฑ์(25 คะแนน) ด้านการตลาด (11 คะแนน) ด้านความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (14 คะแนน) ส่วน ค. ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ (45 คะแนน) การตรวจสอบ/วิเคราะห์คุณภาพตามประเภทผลิตภัณฑ์ (40 คะแนน) โอกาสทางการตลาดสู่สากล (5 คะแนน)

จำนวนตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ที่จะต้องจัดส่งเข้าคัดสรรฯ ระดับประเทศ ประเภทผลิตภัณฑ์ จำนวน(ชิ้น/ชุด) อาหาร 6 เครื่องดื่ม ผ้า เครื่องแต่งกาย 1 ของใช้ฯ สมุนไพรฯ

การส่งคืนผลิตภัณฑ์ ส่งคืนเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภท ผ้า เครื่องแต่งกาย และประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ไม่มีการส่งคืนผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร,เครื่องดื่ม และ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เนื่องจากต้องมีการนำตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ไป ตรวจ ชิม ทดสอบ และวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์

การตัดสินผลิตภัณฑ์ คณะกรรมการระดับประเทศ สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคุณสมบัติของ ผลิตภัณฑ์ ผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ กรณีชุดตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้าคัดสรรมี รายการใดรายการหนึ่งไม่ผ่านมาตรฐานให้ถือว่าไม่ผ่านมาตรฐานทั้งชุด และไม่ได้รับคะแนน ส่วน ค. ว่าด้วยคุณภาพผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้าคัดสรรระดับประเทศ ต้องตรงตามรูปภาพที่ส่งสมัคร เข้าคัดสรรระดับจังหวัด

ขั้นตอนการดำเนินงานของจังหวัด และ กทม.(ต่อ) ขั้นตอนที่ 4 เตรียมเจ้าหน้าที่ สถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนที่ 5 รับสมัครผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรฯ ขั้นตอนที่ 6 พิจารณา ตรวจสอบและกลั่นกรองรับสมัครผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรฯ ขั้นตอนที่ 7 บันทึก ประมวลผล รายงานผลการคัดสรรฯ และการจัดส่งผลิตภัณฑ์

ขั้นตอนการดำเนินงานของจังหวัด และ กทม.(ต่อ) ขั้นตอนที่ 4 เตรียมเจ้าหน้าที่ สถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนที่ 5 รับสมัครผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรฯ ขั้นตอนที่ 6 พิจารณา ตรวจสอบและกลั่นกรองรับสมัครผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรฯ ขั้นตอนที่ 7 บันทึก ประมวลผล รายงานผลการคัดสรรฯ และการจัดส่งผลิตภัณฑ์

การดำเนินงานการคัดสรรฯ ระดับจังหวัด ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ การดำเนินงานของระดับจังหวัด (จังหวัดบันทึกใบสมัคร และส่วน ก,ข และ คำรับรองของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการกลั่นกรองฯ,ถ่ายรูปผลิตภัณฑ์, จัดส่งผลิตภัณฑ์) หลักฐานการสมัครฯ ใบสมัครการคัดสรรฯ สำเนาบัตรประชาชน/ใบมอบอำนาจ (กรณีไม่ได้มาเอง) สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบ สำเนาหลักฐานมาตรฐานผลิตภัณฑ์(อย./มผช.....) ผลิตภัณฑ์ตามจำนวน

กรณีส่งผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง กรณีส่งผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง คือ ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพรฯกรณีแช่แข็ง/แช่เย็น ขอให้แพ็ค หีบห่อให้เรียบร้อย คือสามารถคงสภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีได้ ไม่เกิดความเสียหายระหว่างการขนส่ง ประเภทอัญมณี สำหรับผู้ประกอบการที่จะนำส่งผลิตภัณฑ์ประเภทอัญมณีด้วยตนเอง ณ สถานที่รับผลิตภัณฑ์ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์รังสิต เข้าประตูพหลโยธิน ๔ วัน เวลา รับผลิตภัณฑ์ ๑๘-๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐-๑๕.๓๐ น. ผู้ประกอบการต้องรับรหัสขนส่งพร้อม OR code ของผลิตภัณฑ์จากทางจังหวัด ประเภททั่วไป สำหรับผู้ประกอบการที่จะนำส่งผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ (อาหารที่ต้องปรุงสดหรือ ต้องแช่งแข็ง,เครื่องดื่ม,สมุนไพรฯ) ด้วยตนเอง ณ สถานที่รับผลิตภัณฑ์ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์รังสิต เข้าประตูพหลโยธิน ๔ วัน เวลา รับผลิตภัณฑ์ ๑๘-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐-๑๕.๓๐ น. ผู้ประกอบการต้องรับรหัสขนส่งพร้อม OR code ของผลิตภัณฑ์จากทางจังหวัด

สวัสดี