THE4404 คติชนวิทยาสำหรับครู อ.กฤติกา ผลเกิด
ประเภทของคติชนวิทยา แจน แฮโรลด์ บรุนแวนด์ ได้จำแนกข้อมูลคติชนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ คติชนที่ใช้ถ้อยคำ (verbal folklore) คติชนที่ไม่ใช้ถ้อยคำ (non-verbal folklore) คติชนแบบผสม (Partly verbal folklore)
คติชนที่ใช้ถ้อยคำ (Verbal folklore) คำพูด/ภาษาถิ่น/การตั้งชื่อ (folk speech, dialect, naming) สุภาษิต (folk proverb) ปริศนาคำทาย (folk riddles) บทประพันธ์ที่มีสัมผัส (folk rhymes) เรื่องเล่า (narratives) เพลงพื้นบ้าน (folk song)
คติชนที่ไม่ใช้ถ้อยคำ (non-verbal folklore) สถาปัตยกรรมพื้นบ้าน (folk architecture) ศิลปะพื้นบ้าน (folk art) งานหัตถกรรม (folk craft) การแต่งกาย (folk costumes) อาหารพื้นบ้าน (folk food) การแสดงท่าทาง (folk gesture) ดนตรีพื้นบ้าน (folk music)
คติชนแบบผสม (Partly verbal folklore) ความเชื่อและคติในเรื่องโชคลาง (belief and superstition) การละเล่นพื้นบ้าน (folk game) ละครพื้นบ้าน (folk drama) การร่ายรำพื้นบ้าน (folk dance) ขนบธรรมเนียมพื้นบ้าน (folk custom) งานรื่นเริงพื้นบ้าน (folk festival)
บรุนแวนด์ กล่าว่า การจำแนกประเภทข้อมูล ของเขานั้น ยึดข้อมูลของชาวอเมริกันเป็นหลัก ซึ่ง บางประเภทอาจคาบเกี่ยวกัน แต่การแบ่งลักษณะ นี้มุ่งเน้นถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เป็นคติชน
การจำแนกประเภทข้อมูลคติชน ริชาร์ด เอ็ม. ดอร์สัน นักคติชนวิทยาที่สนับสนุนการศึกษาวิถีชีวิต (folklife) และได้จำแนกประเภทข้อมูลคติชนในเรื่อง The Fields of Folklore and Folklife Studies ดังนี้ วรรณกรรมมุขปาฐะ วัฒนธรรมวัตถุ ประเพณีสังคมพื้นบ้าน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน
วรรณกรรมมุขปาฐะ (Oral literature) เรื่องเล่าพื้นบ้าน (folk narrative) เพลงพื้นบ้าน / กวีนิพนธ์ / บทประพันธ์ที่มีสัมผัส (folk song / folk poetry / rhyme) เกร็ด (anecdote) นิยายผจญภัยหรือเรื่องจินตนาการ (romance) มหากาพย์ (epic) สุภาษิต/ปริศนา (proverb / riddle) คำกล่าว/คำพูดพื้นบ้าน (folk speech)
วัฒนธรรมวัตถุ (Material culture) วัฒนธรรมวัตถุ คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับลักษณะของ คติชนที่มองเห็นได้ ซึ่งคงอยู่มาก่อนสังคม อุตสาหกรรม เช่น การสร้างบ้านเรือน การ เตรียมอาหาร การประดิษฐ์เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ประเพณีสังคมพื้นบ้าน (Social folk custom) ประเพณีสังคมพื้นบ้าน คือ การใช้ชีวิตตามประเพณีที่ ถ่ายทอดมา และเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม เช่น การเกิด การแต่งงาน การตาย รวมทั้งความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
การแสดงศิลปะพื้นบ้าน (Performing folk arts) การร่ายรำ การละคร การแสดงพื้นบ้านต่างๆ นักคติชนวิทยา ถือว่า การเล่านิทานและการว่าเพลง พื้นบ้านจัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย
การจำแนกประเภทข้อมูลคติชนวิทยาของ กิ่งแก้ว อัตถากร การจำแนกประเภทข้อมูลคติชนวิทยาของ กิ่งแก้ว อัตถากร มุขปาฐะ อมุขปาฐะ ผสม บทเพลง ศิลปะ การร้องรำ นิทาน หัตถกรรม การละเล่น ปริศนา สถาปัตยกรรม ละคร ภาษิต / พังเพย พิธีกรรม ภาษาถิ่น ประเพณี ความเชื่อ
แนวคิดและวิธีการศึกษาคติชนวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างคติชนกับศาสตร์อื่น บทบาทหน้าที่ของคติชน การศึกษาวรรณกรรมมุขปาฐะ การศึกษาวัฒนธรรมวัตถุ การศึกษาประเพณีสังคมพื้นบ้าน การศึกษาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน การศึกษาเพลงพื้นบ้าน
สวัสดีค่ะ