ร่างแผนปฏิรูปองค์การ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Strategic management MBA Rajaphat Chiangmai University
Advertisements

แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
ศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อบริหารจัดเก็บและใช้ประโยชน์
แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ ของ
บทบาทของผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่มีต่อ
การประชุมซักซ้อมเตรียมการชี้แจงงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบและการวิเคราะห์ระบบ
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
สรุปผลการนิเทศ รอบที่ 1 คณะที่ 3 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
การนำเสนอ โดย นายศุมล ศรีสุขวัฒนา
การประชุมผู้บริหารกรมอนามัย เพื่อทบทวน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ ค่านิยม
วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 และ 20 มิถุนายน 2560
แนวทางการตรวจประเมินองค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment)
ยุทธศาสตร์ชาติกับการพัฒนา มจธ.
การเตรียมพร้อมทรัพยากรมนุษย์สู่ไทยแลนด์ 4.0
การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ เพื่อเข้าสู่ Industry 4.0
การพัฒนา ระบบบริหารกองทัพเรือ ภายใต้กรอบการจัดการภาครัฐแนวใหม่
หน่วยงานที่ 2 บัณฑิตวิทยาลัย เวลา น. Process Key factor คำถาม (1) มีแนวทางและวิธีการอย่างไรในการส่งมอบผลิตภัณฑ์หลักและ/หรือ บริการหลักที่เราส่งมอบให้กับลูกค้าของเรา.
Road to the Future - Future is Now
นโยบายการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพมุ่งสู่คุณภาพ
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
Dr. Mano Choondee. By Director of Angthong
การประชุมการบริหารยุทธศาสตร์กรมอนามัย ครั้งที่ 4/2559
หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ การจัดการกระบวนการ
การวิเคราะห์ระบบงาน ขั้นตอนวิเคราะห์ จะเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ระบบงาน
แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข แผนยุทธศาสตร์ กรมอนามัย แผนปฏิบัติการ
“สัมมนา 1 (Seminar I)” จัดโดย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา ณ อาคารเวฟเพลส ชั้น 8 วันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2558 เวลา – น. โดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์
การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดย นายศุมล ศรีสุขวัฒนา หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
Introduction to Data mining
การอบรมเชิงปฏิบัติการ
Individual Scorecard ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 12 มกราคม 2550
บริษัท โกลบัล คอนเซิร์น จำกัด 1 ธันวาคม 2553
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการตลาด Marketing Environmental Analysis
รร.มุกดารา เขาหลัก พังงา
ระดับความเข้มแข็งและขีดความสามารถขององค์การ
กระทรวงยุติธรรม   รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ  แนวทางการปฏิรูปประเทศ
โครงสร้างอัตรากำลังของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงยุติธรรม  แนวทางการปฏิรูปประเทศ  การปรองดองสมานฉันท์
มิถุนายน 2548 การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development)
การประชุมชี้แจงรายละเอียดการตอบคำถาม/ค่าคะแนน แบบสำรวจเชิงประจักษ์ ( Evidence-based – ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ วันพุธที่
สังคมวิทยาอุตสาหกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตร และสหกรณ์ระดับจังหวัด ครั้งที่ 5/2561 วันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 เวลา – น. ณ ห้องประชุมสุพรรณิการ์ ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขกับการดำเนินงานOSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
แผนยุทธศาสตร์สุขภาพ 20 ปี จังหวัดสระแก้ว ( )
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
บุคลากร (Workforce) หมวด 5 หน้า 1.
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การบริหารโครงการ ด้วยระบบปฏิทินกิจกรรมแบบเบ็ดเสร็จ Project management with integrated calendar system โดย ... ธนาภรณ์ ฉิมแพ / ประจักษ์ สุขอร่าม / จารุวรรณ.
กรอบการบริหารยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ปี 2560
หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหาร สายสนับสนุนและช่วยวิชาการ
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
การสื่อสารจากกระทรวงไปสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
The Association of Thai Professionals in European Region
การทบทวนผลการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2559
การวางแผนพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
โดย นพ.วชิระ เพ็งจันทร์
แนวทางการกำกับติดตามและประเมินผล
ผลการประชุมกลุ่มสาธารณสุข ไทย-ลาว
การกำหนดโครงสร้าง ตาม ว 108 (ว 1)
การวิเคราะห์ข้อมูล เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
การพัฒนา IT ให้บูรณาการเข้ากับโครงสร้างและระบบงาน
การเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจเมืองชายแดน ภายใต้ประชาคมอาเซียน
Introduction to Structured System Analysis and Design
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ร่างแผนปฏิรูปองค์การ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 06 พ.ค. 62 ร่างแผนปฏิรูปองค์การ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 06 พ.ค. 62

ส่วนที่ ๑ บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ ๑ บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง

แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ : 06 พ.ค. 62 แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ : ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง ............... 1.1 ความเชื่อมโยงภารกิจของกระทรวงกับนโยบายที่สำคัญของประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนฯ 12 นโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) ที่มี ผลกระทบต่อการทำงานของกระทรวง วิเคราะห์บริบทการเปลี่ยนแปลงภายนอก – PEST Analysis 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของกระทรวง (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (ภายในองค์การ) 1.4 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และภารกิจของกระทรวง ในอนาคต 1.4.1 Value proposition statement 1.4.2 Portfolio analysis 1.4.3 Business model 1.4.4 Government 4.0 : กระทรวง 4.0 1.5 ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.1 ความเชื่อมโยงภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับนโยบายที่สำคัญของประเทศ รัฐธรรมนูญ 2560 พรบ. แผนระดับชาติ และแผนแม่บทอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 แผนระดับชาติที่ 19 การรักษาความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบาย/ข้อสั่งการ รมว.ทส. ที่สำคัญ นโยบายรัฐบาล ประเทศไทย 4.0 มาตรา 57 (2) อนุรักษ์ คุ้มครอง ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สวล. และความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างสมดุลและยั่งยืน มาตรา 58 ดำเนินการใดๆ เพื่อลดผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ สวล. รวมถึงคุณภาพชีวิต มาตรา 65 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ การสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ มาตรา 258 หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันให้มีน้ำใช้ และมีการบริหารจัดการน้ำและการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน 1. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals. SDGs) เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มี รูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จาก มหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน การต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้ง การเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นฟูสภาพดินและหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 2. ประเด็นปฏิรูปประเทศ (37 วาระ) 3. นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ.2560 – 2579) วาระที่ 1, 11, 21, 25, 26, 28 เป้าหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ที่เกิดประโยชน์สูงสุด สมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ 4. แผนแม่บท แก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เป้าหมายประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องปรองดองกับธรรมชาติ โดยรัฐบาลและ ทุกภาคส่วน ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 5.แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ.2558 – 2564 7. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ.2560-2564 6. แผนแม่บทบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ด้านสิ่งแวดล้อม 1. แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 – 2593 เป้าหมายประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมีการเติบโตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน 2. นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 เป้าหมายประเทศไทยมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สมดุลและยั่งยืนและเป็นสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้านอื่นๆ 4. แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ.2559 – 2564 3. ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี และแผนจัดการมลพิษ 2560 – 2564 1. นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2558 – 2564 2. แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2560 – 2564 นโยบายที่ 11 รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป้าหมายอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และมุ่งสู่การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างมีความสุข ภายใต้กติกาที่ยอมรับได้ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีความอุดมสมบูรณ์ มีคุณภาพ พร้อมได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน บริหารจัดการทรัพยากรแร่ อย่างมีคุณภาพ “Smart & Clean Mining” ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านน้ำ ทุกหมู่บ้านมีน้ำอุปโภคและบริโภคใช้ โดยกรอบการใช้น้ำร่วมกันระหว่างน้ำบาดาลและน้ำผิวดิน (ระบบกระจายน้ำ) สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดี ประชาชนมีสุข และ สินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีราคาถูกกว่าสินค้าที่เป็นพิษ เศรษฐกิจบนฐานชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับรายได้ เป้าหมาย “ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการทำงาน ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ โดยเฉพาะประเด็นสังคมคาร์บอนต่ำ และการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับ สวล. เป้าหมาย “การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นฐานการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน” 9. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เป้าหมายโดยสรุป “ปกป้อง ฟื้นฟู พร้อมกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา การบุกรุกที่ดินของรัฐ จัดทำแนวเขต กำหนดรูปแบบบริหารจัดการทรัพยากรทุกประเภทให้เป็นเอกภาพ เน้นการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ” ร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 เป้าหมาย “เติบโต สมดุล ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาที่มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดในอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2580” ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 1 การรักษาและฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติ ข้อ 2 สร้างความมั่นคงและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ข้อ 3 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษ ข้อ 4 พัฒนาขีดความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนปฏิรูปประเทศด้าน ทส. พ.ศ. 2561 ทรัพยากรธรรมชาติ ได้รับการรักษาและฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน เป็นฐานการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมได้รับการดูแล รักษา อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อลดมลพิษ และผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ ลดความขัดแย้งของการพัฒนา ที่ใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติ บรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และลดภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามแนวทางประชารัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศ “ยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)” 1 2 3 4 5 6 การจัดการป่าไม้และ ความหลากหลายทางชีวภาพ การบริหารจัดการน้ำ การจัดการขยะมูลฝอย การส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ การพัฒนาระบบบริหารจัดการและองค์กร 1. ด้านป่าไม้ ป้องกันพื้นที่ป่าไม้ เพิ่มพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียวเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ 2. ด้านทรัพยากรชายฝั่งทะเล เพิ่มความสมบูรณ์ของแนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล และระบบนิเวศทางทะเล 3. ด้านอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบริการระบบนิเวศให้กับประชาชนและชุมชนท้องถิ่น/แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติมีคุณภาพและมาตรฐานในการบริการการท่องเที่ยวระดับสากล 4. ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ลดอัตราการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ 5. ด้านสัตว์ป่า จำนวนและชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่ามีความสมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่/สัตว์ป่าชนิดที่หายากใกล้สูญพันธุ์ได้รับการฟื้นฟู 6. ด้านการจัดการที่ดิน บริหารจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมและที่ดินอื่นๆ เพื่อให้ ชุมชนอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 7. ด้านทรัพยากรธรณี กำหนดเขตพื้นที่การทำเหมืองแร่ บนหลักพื้นฐานศักยภาพแร่ และการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน E15 แหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างพอเพียง ปริมาณน้ำสะอาดเพียงพอกับการอุปโภคบริโภค สิ่งแวดล้อมได้รับการจัดการให้มีคุณภาพดีตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชนซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการรับรองทุกประเภท ประชาชนเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น D11D15 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กรและ พัฒนาการบริหารจัดการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สามารถใช้เป็นกรอบการกำหนดทิศทางการพัฒนาในทุกพื้นที่และทุกมิติ เพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนากลไก ขีดความสามารถในการลดก๊าซ เรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากสาธารณภัยลดลง

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของ สป.ทส. POLITICAL รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 57(2) มาตรา 58 มาตรา 65 (ยุทธศาสตร์ชาติ) มาตรา 258 (การปฏิรูปประเทศ) กฎหมายเฉพาะครอบคลุมภารกิจทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน นโยบายรัฐบาลที่สำคัญ ได้แก่ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร ด้านพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ด้านการป้องกันพิบัติภัย ด้านความมั่นคง ด้านการพัฒนาศักยภาพคน และด้านการป้องกันการทุจริต วาระแห่งชาติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การบริหารจัดการที่ดิน ป่าไม้ น้ำ ขยะมูลฝอย และสิ่งแวดล้อม องค์กรระหว่างประเทศทั้งระดับอาเซียนและระดับโลกให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การดำเนินการในระดับพื้นที่ตามภารกิจการถ่ายโอนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอและไม่ต่อเนื่อง ECONOMIC ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรน้ำ เป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการรวมตัวของ ASEAN จะช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการและเสริมสร้างความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเพื่อเชื่อมต่อระบบ Logistic กับประเทศเพื่อนบ้านสู่ภูมิภาคอื่นๆ จะส่งผลต่อความต้องการ การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น การแข่งขันด้านการค้าในเวทีโลกเสรี มีแนวโน้มนำประเด็นการไม่ดำเนินการตามพันธกรณีต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ระบบภาษี ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ให้นำมาผนวกเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การขาดการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยเชิงลึกด้านการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภูมิภาค เอื้อต่อการค้าพืชป่า และสัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่ผิดกฎหมาย การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในทุกด้าน เช่น การค้า อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การเกษตร พลังงาน และการคมนาคม อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของ สป.ทส. SOCIAL การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลทำให้เกิดความสูญเสียด้านองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ และมีแนวโน้ม การลดลงของศักยภาพและความรวดเร็วในการใช้แรงงาน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยในการถ่วงดุลระหว่างโครงการพัฒนาขนาดใหญ่กับความมั่นคงและยั่งยืน กระแสด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้โอกาสในการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมทั้งในประเทศกับนานาชาติมีมากหรือง่ายขึ้น เครือข่ายอาสาสมัคร (ทสม.) ในทุกพื้นที่พร้อมที่จะบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นสังคมเมืองเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนมากขึ้น การสร้างเครือข่ายประชาชน เพื่อการมีส่วนร่วม : บูรณาการการทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน และภาคประชาชน ภัยพิบัติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประชาชนต้องการความช่วยเหลือที่ทันเหตุการณ์ กระบวนการในการแบ่งปันและเข้าถึงอย่างเป็นธรรมในการใช้ทรัพยากรเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี การเปิดเสรีด้านแรงงาน ส่งผลต่อการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม TECHNOLOGY การเชื่อมต่อของโลกในระบบโครงข่ายไร้สายและเครื่องมือในการสื่อสาร ต้องมีการจัดการข้อมูลให้มีความปลอดภัย ไม่ซ้ำซ้อน น่าเชื่อถือ และทันสมัย Social media ทุกชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วม เทคโนโลยีสีเขียว และเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสมัยใหม่มีมาก จำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม การบริหารการวิจัยและการกำหนดประเด็นการวิจัยไม่ตรงกับความต้องการ จึงมีการนำงบประมาณมาใช้ไม่มาก เทคโนโลยีดิจิตอลมีความก้าวหน้าไปมากและมีราคาที่ถูกลง ควรที่จะได้ทำการศึกษาและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละภารกิจ

จุดแข็ง แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของ สป.ทส. (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดแข็ง) จุดแข็ง แนวทางการพัฒนา ด้านโครงสร้าง : เป็นหน่วยงานหลักโดยมี สป.ทส. เป็นศูนย์กลางระหว่างฝ่ายนโยบายและฝ่ายปฏิบัติ มีหน่วยงานและบุคลากรกระจายครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เพิ่มบทบาทเชิงนโยบายและการกำกับดูแลของหน่วยงานส่วนกลาง มีหน่วยงานที่มีห้องปฏิบัติการที่ให้ข้อมูลทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม จัดปรับโครงสร้างองค์กรและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องในระดับการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ปรับปรุงระบบการบริหารและสั่งการให้มีเอกภาพ เพิ่มประสิทธิภาพให้หน่วยงานในภูมิภาค ด้านกระบวนงาน/การบูรณาการทำงานร่วมกันภายในกระทรวง : มีการบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงาน และแต่ละหน่วยงานมีแผนปฏิบัติการเฉพาะ มีเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนสนับสนุนการปฏิบัติงาน มีกลไกคณะกรรมการและอนุกรรมการระดับชาติและระดับพื้นที่ มีอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมตามภารกิจที่ได้รับการกระจายอำนาจและถ่ายโอน พัฒนากระบวนงานตามภารกิจให้สนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรในกระทรวง ทส. บูรณาการการทำงานของทุกเครือข่ายเพื่อให้ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับพื้นที่ไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายกระทรวง ผนวกพันธะกรณีต่างๆ ไว้ในแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในทุกระดับ ปฏิรูประบบการเสริมสร้างความตระหนักและจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ด้านกฎหมาย : 1. ด้านพัฒนากฎหมาย มีคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะทำงานพัฒนากฎหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติ และคณะทำงานพัฒนากฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพิจารณาตีความ และวิเคราะห์กฎหมาย เฉพาะด้านตามภารกิจ และทุกหน่วยงานมีนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญในกฎหมายเหล่านั้น 3. การบังคับใช้กฎหมาย มีหน่วยงานที่เป็นตัวแทนของ ทส. ในระดับจังหวัด และมีหน่วยงานส่วนกลางปฏิบัติงานในระดับพื้นที่และระดับภาคที่ได้รับการมอบหมาย/รับการมอบอำนาจ/รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พรบ.ต่างๆ 4. ด้านกระบวนการยุติธรรมและคดี ทุกหน่วยงานมีนักกฎหมายที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการดำเนินคดีต่าง ๆ เช่น คดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ทันสมัย บูรณาการ โปร่งใสเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเพิ่มขึ้น เร่งรัดแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้ทันกับสถานการณ์ สนับสนุนการดำเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริต พัฒนาบุคลากรในทุกระดับให้มีความรู้ด้านกฎหมาย และสามารถใช้บทบัญญัติของกฎหมายเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ด้านบุคลากร : บุคลากรมีพื้นฐานการศึกษาจากหลายสาขาวิชา มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถตอบสนองนโยบายต่างๆ ได้ แต่ละกรมในสังกัด ทส. มีส่วนงานด้านการพัฒนาเพิ่มศักยภาพบุคลากร (HRD) พัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามภารกิจ มอบหมายงานให้ตรงกับศักยภาพของบุคลากร หรือกำหนดสมรรถนะ (competency) ประจำตำแหน่ง รวมทั้งกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าของแต่ละสายงาน (career path) ให้ชัดเจน ปรับบทบาทหน้าที่และเสริมศักยภาพของ ทสจ.เพื่อสนับสนุนจังหวัดกับภารกิจด้านบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จุดแข็ง แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของ สป.ทส. (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดแข็ง) จุดแข็ง แนวทางการพัฒนา ด้านเทคโนโลยี : มีศูนย์ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้ระบบเทคโนโลยีในการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบได้ง่าย ทุกหน่วยงานมีฐานข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลาย และมีการพัฒนารวบรวมและจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่มาโดยต่อเนื่อง และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ มีระบบเตือนภัย (early warning) ด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบเครือข่ายฐานข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ดิน ที่ดิน น้ำ ป่า ทะเล ความหลากหลายทางชีวภาพ มลพิษ สุขภาพ) และระบบสนับสนุนการกำหนดตัดสินใจทางนโยบาย (Decision Support System : DSM) บูรณาการข้อมูลซึ่งเป็น Big Data และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย และเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ทำการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบประเมิน คาดการสถานการณ์ และกำหนดแผนจัดการคุณภาพน้ำในลำน้ำสายหลัก รวมทั้งแจ้งเตือนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย หมายเหตุ : ประเด็นการวิเคราะห์ในแต่ละด้านอาจจะเป็นจุดแข็งและ/หรือจุดอ่อนขององค์การก็ได้ ส่วนราชการไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดครบทุกด้านในการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ

จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของ สป.ทส. (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดอ่อน) จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา ด้านโครงสร้าง : อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลางในพื้นที่และหน่วยงานส่วนภูมิภาคยังมีความซ้ำซ้อนและมีเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดปัญหาด้านการบูรณาการ โครงสร้างบางหน่วยงานยังไม่สามารถตอบสนองภารกิจได้ (ภารกิจด้านการจัดการข้อร้องเรียนร้องทุกข์ และภารกิจด้านบริหารราชการส่วนภูมิภาค) การยุบส่วนบำรุงรักษาอากาศยาน มีผลทำให้การบริหารจัดการขาดประสิทธิภาพในเรื่องการจัดจ้างซ่อมใหญ่อากาศยาน และการจัดซื้อวัสดุอากาศยาน รวมทั้งงานซ่อมบำรุงรักษาอากาศยานในภาพรวม มีศูนย์ปฏิบัติการบิน จำนวน 9 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งทำให้การบริหารงานไม่เป็นเอกภาพ เนื่องจากขาดศูนย์รวมภาค และขาดพนักงานเจ้าหน้าที่ทดแทนกัน ปรับปรุงโครงสร้างองค์การ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ ปรับปรุงโครงสร้างองค์การ และปรับบทบาทจาก Regulator เป็น Smart Regulator กำหนดให้ส่วนติดตาม ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนแยกออกมาจาก กตร. และยกระดับให้เป็นกองบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ เนื่องจาก สป.ทส. จำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางในระดับกองเพื่อประสานหน่วยงานกรมสังกัด ทส. ทสจ. และ สสภ. รวมถึงหน่วยงานนอกสังกัด ทส. เพื่อให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหา ข้อพิพาท ข้อร้องเรียนร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของประชาชน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับประชาชน ซึ่งเป็นไปโดยสอดคล้องกับนโยบายของ ทส. และ รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม นำส่วนงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนบุคคล มารวมกันเป็นหน่วยงานเดียว ปรับปรุงโครงสร้างให้มีความเชื่อมโยงระหว่างระดับนโยบายจากส่วนกลางไปสู่ระดับภาค ภูมิภาค และระดับพื้นที่ โดยจัดตั้งกองบริหารราชการภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนงานในพื้นที่ทั้งในส่วนของการกำกับและการปฏิบัติ โดยแบ่งการบริหารด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค เป็น 6 ฝ่าย ตามกรอบภาคที่ สศช. กำหนดและทำหน้าที่ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะ และประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัด สป.ทส. ในพื้นที่ รวมทั้งบูรณาการและขยายผลการดำเนินงานโครงการพระราชดำริให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เพิ่มส่วนบำรุงรักษาอากาศยาน เพื่อการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงรักษาอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการบิน (ภาค) จำนวน 4 แห่ง ภายใต้ส่วนสนามบิน เพื่อเป็นศูนย์รวมผลความเป็นเอกภาพในการบริหารงาน สามารถจัดพนักงานเจ้าหน้าที่ทดแทนกันได้

จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของ สป.ทส. (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดอ่อน) จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา ด้านกระบวนงาน/การบูรณาการทำงานร่วมกันภายในกระทรวง : การดำเนินงานของหน่วยงานส่วนกลางไม่สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการรับบริการ โดยเฉพาะการขออนุมัติ อนุญาต และการติดตามเรื่องร้องเรียน ต่อหน่วยงานในสังกัด ทส. การตรวจสอบติดตามเงื่อนไขประกอบการอนุญาตยังไม่มีประสิทธิภาพ การดำเนินการขาดการบูรณาการร่วมกันและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขาดเอกภาพในการถ่ายทอดนโยบายไปสู่ระดับปฏิบัติยังไม่มีประสิทธิภาพ การขาดข้อมูลภาพรวมของกระทรวงในเชิงพื้นที่ การทำงานยังแยกกันเป็นกลุ่มภารกิจ ไม่มีการบูรณาการข้ามกลุ่มภารกิจ การถ่ายโอนภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางภารกิจ ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน (ภาพกระทรวง) มาตรการจูงใจเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่หลากหลาย ครอบคลุม งานบริหารงานบุคคล พัสดุ และงบประมาณมีความล่าช้า ไม่ทันการ การดำเนินงานการจัดฝึกอบรมยังไม่ครอบคลุมทั้งบุคคลภายในและภายนอก อากาศยานเฮลิคอปเตอร์ มีอายุการใช้งานมานานมากแล้ว ระบบเทคโนโลยีอากาศยานล้าสมัย ปรับปรุงกระบวนงานและอำนวยการให้เกิดการจัดการเชิงพื้นที่ โดยตอบสนองต่อประเด็นนโยบาย ปรับปรุงกระบวนงานให้ประชาชนสามารถยื่นคำขออนุมัติ อนุญาต ต่อหน่วยงานในสังกัด ทส. แบบ One Stop Service ณ ศูนย์บริการร่วม ทส. และศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จของจังหวัดพัฒนาระบบเรื่องข้อร้องเรียน พัฒนาระบบเรื่องข้อร้องเรียน พัฒนาระบบรายงานและติดตามผลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ถ่ายทอดนโยบาย โดยกำหนดเป้าหมาย ขั้นตอน ระยะเวลา ให้ชัดเจน รวมทั้งติดตามและรายงานผลอย่างเป็นระบบ จัดให้มีมาตรการจูงใจในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานด้านการบริหารงานบุคคล พัสดุ และคลัง พัฒนาหลักสูตร/โครงการ ให้สอดรับกับกลุ่มเป้าหมายทั้งบุคคลภายในและบุคคลภายนอก โดยจัดตั้งกองพัฒนาบุคลากร ในสังกัด สป.ทส. และมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกระทรวง เป็นหน่วยงาน Cluster วิเคราะห์แผนงาน โครงการ และงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรภาพรวมของกระทรวง เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรกระทรวงมีเอกภาพ ปรับปรุงหน่วยงานให้สามารถดำเนินการรองรับนโยบาย THAILAND 4.0 ให้พร้อมอำนวยความสะดวกให้ทุกหน่วยงานภายใน สป.ทส. อาทิ จัดทำระบบติดตามข้อสั่งการของผู้บริหาร (e-monitoring) เพื่อเป็นเครื่องมือในการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน โดยให้สามารถรายงานได้ผ่านทาง website และช่องทางต่างๆ เช่น Mobile หรือ Web Application เพื่อให้การติดตามรายงานผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ เสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับบทบาทของ กตป. ให้เป็นหน่วยงานบูรณาการความร่วมมือด้านต่างประเทศของ ทส. โดยใช้กลไกคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างต่างประเทศของ ทส. ในการขับเคลื่อนภารกิจด้านต่างประเทศของ ทส. อย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการร่วมกับหน่วยประสานงานกลาง (Focal point) ของกรอบอนุสัญญาและข้อตกลงต่างๆ เพื่อกำกับและติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศ

จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของ สป.ทส. (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดอ่อน) จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา ด้านกระบวนงาน/การบูรณาการทำงานร่วมกันภายในกระทรวง : (ต่อ) เป็นศูนย์กลางข้อมูลความร่วมมือด้านต่างประเทศ พันกรณี และข้อตกลงระหว่างประเทศของ ทส. สำหรับผู้บริหารและหน่วยงานใน ทส. หน่วยงานภาครัฐ และผู้ที่สนใจ ปรับปรุงยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงแสวงหาความร่วมมือด้านต่างประเทศ โดยเน้นการดำเนินการตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งระดับพหุภาคีและทวิภาคี มีแผนการดำเนินงานรองรับและถ่ายทอดลงสู่ระดับพื้นที่โดยการบูรณาการกับหน่วยงาน ทส. ในพื้นที่ อาทิ ทสจ. และ สสภ. เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ จัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ ชี้เป้าพื้นที่วิกฤต และจัดลำดับความสำคัญประเด็นเร่งด่วนในการดูแลรักษา ฟื้นฟู และพัฒนา พัฒนาระบบ/กลไก การประสานนโยบาย โดยการนำแนวเขตที่ดินของรัฐ (one map) มาใช้ประกอบการพิสูจน์สิทธิฯ และการเชื่อมโยงข้อมูลและเสริมสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานแบบบูรณาการ จัดทำคู่มือกำหนดมาตรฐานและแนวทางการดำเนินงาน เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานให้มีมาตรฐานเดียวกัน พัฒนางานด้านการจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ผ่านการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านการอ่าน แปลฯ จัดทำ MOU ร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และฐานข้อมูล รวมทั้งมอบงานบางส่วนให้ภาคส่วนอื่นเป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้การกำกับดูแล ตรวจสอบ และรับรองผลโดยคณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ ทบทวน ปรับปรุง มาตรการของ กบร. ให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ปรับปรุงกระบวนงาน วิธีการ การจัดทำแผนการตรวจราชการให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเชื่อมโยงกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กระทรวง ภายใต้ระบบการตรวจราชการยุคใหม่ สร้างการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายใต้สังกัด ทส. ที่รับผิดชอบโครงการตามกลุ่มภารกิจตามแผนการตรวจราชการ ในการจัดทำข้อมูลสนับสนุนในการลงพื้นที่ของผู้ตรวจราชการ และการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ผู้ตรวจราชการได้ให้ไว้

จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของ สป.ทส. (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดอ่อน) จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา ด้านกระบวนงาน/การบูรณาการทำงานร่วมกันภายในกระทรวง : (ต่อ) พัฒนาและปรับปรุงระบบการตรวจราชการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยระบบการตรวจราชการยุคใหม่ที่นำแนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวข้องมาใช้ (ประชารัฐ) การบริหารจัดการเชิงพื้นที่และความเสี่ยง มาพัฒนาโครงสร้างเพื่อตอบสนองให้เกิดการบูรณาการราชการและกระบวนการ พัฒนาเครื่องมือ กลไก การประสานงาน และติดตามรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ สร้างการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายใต้สังกัด ทส. ที่รับผิดชอบโครงการตามกลุ่มภารกิจตามแผนการตรวจราชการ ในการจัดทำฐานข้อมูลกลางด้านการตรวจราชการกระทรวง โดยนำนวัตกรรมมาใช้ ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร มีการฝึกอบรมที่ทั่วถึง เพื่อเป็นหลักประกันว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็น เน้นการสร้างความเข้าใจในเป้าหมายปลายทางที่เป็นผลสำเร็จของการตรวจราชการ ปรับปรุงกระบวนงานให้เอกชน รับสัมปทานการจดการใช้น้ำ ออกใบแจ้งหนี้ และส่งใบแจ้งหนี้ ให้กับผู้ใช้น้ำบาดาล บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ สถาบันการศึกษา และ/หรือ ว่าจ้างเอกชน ในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษาในระดับพื้นที่ จัดทำกลไกการประสานงานเพื่อการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ จ้างเอกชนให้ปฏิบัติภารกิจในบางภารกิจ โดยกองการบินจะควบคุมการดำเนินการของผู้รับจ้าง อาทิ ภารกิจสนับสนุนผู้บริหาร หรือการบินที่ไม่ต้องการเทคนิคเฉพาะ จัดซื้ออากาศยาน จำนวน 2 ลำ เพื่อปฏิบัติภารกิจด้านการบินและทดแทนอากาศยานที่หมดอายุการใช้งาน เพิ่มส่วนบำรุงรักษาอากาศยาน เพื่อการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง รักษาอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาประสิทธิภาพองค์กรเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนเพื่อการทำงานแบบประชารัฐ

จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของ สป.ทส. (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดอ่อน) จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา ด้านกฎหมาย : 1. ด้านพัฒนากฎหมาย ขาดบุคลากรด้านพัฒนากฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ในการร่างกฎหมาย กฎหมายบางฉบับใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติยังไม่ครอบคลุมทุกประเด็น ไม่มีกฎหมายกลางในการกำกับดูแลการบริหารจัดการด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพของประเทศในภาพรวม ด้านพิจารณาตีความ และวิเคราะห์กฎหมาย เจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย แต่ละคนอาจมีการตีความกฎหมายไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับทักษะและความเชี่ยวชาญประสบการณ์ ประกอบกับกฎหมายมีการแก้ไขอยู่เสมอ 3. การบังคับใช้กฎหมาย การตีความและวิเคราะห์กฎหมายต่างกัน อาจมีข้อผิดพลาดที่นำไปสู่การไม่ยอมรับ การร้องเรียน และเกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือหน่วยงานอื่น การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มแข็ง กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่ได้เป็นกฎหมายหลักในการจัดการสิ่งแวดล้อม และมีกฎหมายอื่นในระดับเดียวกัน มีอำนาจในการจัดการสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน การบังคับใช้กฎหมายมีพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ แต่อัตรากำลังของ ทส. ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว ด้านกระบวนการยุติธรรมและคดี ปริมาณงานการดำเนินการด้านคดีกับศาลที่มีระยะเวลากำกับมีจำนวนมาก แต่บุคลากรมีจำนวนจำกัด ทำให้บางคดีอาจไม่สามารถดำเนินการให้ทันระยะเวลา ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ทางราชการได้ ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยและเข้าใจง่ายเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอกองค์การ เร่งพัฒนากฎหมายกลางด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นกรอบกฎหมายในการดำเนินงานบริหารจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพของหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พัฒนาทักษะด้านกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ในแต่ละสายงานอยู่เสมอ ปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมกับงานพัฒนากฎหมาย และพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายและมีระบบสอบทานเพื่อให้การตีความด้านกฎหมายเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม เร่งพัฒนาทักษะ ด้วยการอบรมสัมมนาให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ และการปรับเปลี่ยนการทำงานเชิงรับเป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อป้องกันการเกิดปัญหา ปรับเพิ่มอัตรากำลังให้เหมาะสมกับภารกิจการบังคับใช้กฎหมาย ปรับเพิ่มอัตรากำลังให้เหมาะสมกับปริมาณงาน ทั้งการพัฒนากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการดำเนินคดีต่างๆ และปรับโครงสร้างระดับส่วนกลางในภูมิภาค และส่วนภูมิภาค โดยให้มีนิติกรประจำสำนักงาน และให้แต่ละกรมให้ความสำคัญและมีความรอบคอบในดำเนินการด้านกฎหมาย

จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของ สป.ทส. (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดอ่อน) จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา ด้านบุคลากร : บุคลากรบางส่วนขาดเทคนิค ทักษะในการบริการประชาชน ขาดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ การวางแผนพัฒนาบุคลากรยังไม่ครอบคลุมการทดแทนกำลังคน/Career Path ในตำแหน่งยังไม่ชัดเจน/ขาดระบบหมุนเวียนบุคลากรเพื่อสั่งสมความชำนาญ หน่วยงานในสังกัด สป.ทส. มีจำนวนมาก และหลากหลายวิชาชีพ มีข้อจำกัดทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ ในขณะที่มีภารกิจเพิ่มมากขึ้น พัฒนาบุคลากรให้มีจิตสาธารณะและนวัตกรรมเพื่อการปฏิบัติงานรวดเร็ว ตามหลักธรรมาภิบาล ปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาบุคลากร ให้ครอบคลุมทุกภารกิจ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการอบรม พัฒนา วิเคราะห์อัตรากำลังให้สอดคล้องกับโครงสร้างและภารกิจ/จัดทำเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path) ในตำแหน่งที่ชัดเจนที่ และนำไปปฏิบัติได้จริง พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับภารกิจ/ สร้างระบบหมุนเวียนบุคลากรเพื่อให้เกิดความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานที่หลากหลาย พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้สอดคล้องกับตำแหน่งงาน ภารกิจ และทิศทางการพัฒนาของกระทรวงในอนาคต ด้านเทคโนโลยี : ขาดระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ได้ และยังมีฐานข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการตัดสินใจไม่ครบถ้วน กระบวนการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความซับซ้อนทั้งในเรื่องเทคโนโลยี บุคลากร รวมทั้งขาดแผนงานระดับ ทส. ที่ชัดเจน ขาดความเชื่อมโยงของเทคโนโลยีระหว่างหน่วยงาน เช่น เรื่องระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์) ขาดการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ยังขาดการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ จัดทำแผนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับกระทรวง ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และสร้างกลไกให้มีการนำไปปฏิบัติอย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรม จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการทำหน้าที่จัดการองค์ความรู้ พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางที่เชื่อมโยงทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อให้การรายงานและจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบเดียวกันทุกภูมิภาค ปรับปรุงกระบวนงาน การขออนุญาต ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น แบบ One Stop Service ณ ศูนย์บริการร่วม ทส. และศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จของจังหวัด พัฒนาระบบ Mobile Application เพื่อสามารถให้บริการข้อมูล/สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านทาง Smart Phone พัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บริการและให้คำปรึกษาแนะนำ ผ่าน Application นำเทคโนโลยีด้านการบิน อาทิ การนำอากาศยานไร้คนขับ (UAV) มาเสริมการปฏิบัติการบินในการปฏิบัติงานตามภารกิจในพื้นที่เสี่ยงภัยหรือมีขีดจำกัด หมายเหตุ : ประเด็นการวิเคราะห์ในแต่ละด้านอาจจะเป็นจุดแข็งและ/หรือจุดอ่อนขององค์การก็ได้ ส่วนราชการไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดครบทุกด้านในการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ

ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง : 1 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง : 1.4 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และภารกิจของกระทรวงในอนาคต แบบฟอร์ม 1.4.1 Value Proposition Statement สป.ทส. 06 พ.ค. 62 ให้ส่วนราชการกำหนด Value Proposition ของกระทรวง โดยระบุรายละเอียดให้ชัดเจนถึงสิ่งที่กระทรวงจะนำเสนอคุณค่าขององค์การต่อประชาชนและประเทศชาติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การ และสอดรับกับการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต “เป็นศูนย์กลางการบริหารราชการของกระทรวง โดยการแปลงยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายไปสู่การปฏิบัติในทุกระดับ และสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วม ในการสงวน รักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ระดับความเข้มแข็งและขีดความสามารถขององค์การ 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง : 1.4 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และภารกิจของกระทรวงในอนาคต แบบฟอร์ม 1.4.2 Portfolio Analysis : สป.ทส. ระดับความเข้มแข็งและขีดความสามารถขององค์การ แข็งแรง ปานกลาง อ่อนแอ สูง ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ ระดับความสำคัญทางยุทธศาสตร์ กลาง ต่ำ หมายเหตุ : ขนาดของ bubble แสดงถึงจำนวนอัตรากำลังของงานนั้น ๆ

งานบูรณาการในพื้นที่และการบริการ : 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง : 1.4 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และภารกิจของกระทรวงในอนาคต แบบฟอร์ม 1.4.3 Business Model : สป.ทส. งานนโยบายและแผน : ปรับปรุงหน่วยงานให้สามารถดำเนินการรองรับนโยบาย THAILAND 4.0 ให้พร้อมอำนวยความสะดวกให้ทุกหน่วยงานภายใน สป.ทส. อาทิ จัดทำระบบติดตามข้อสั่งการของผู้บริหาร (e-monitoring) เพื่อเป็นเครื่องมือในการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน โดยให้สามารถรายงานได้ผ่านทาง website และช่องทางต่างๆ เช่น Mobile หรือ Web Application เพื่อให้การติดตามรายงานผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ งานตรวจติดตาม : กำหนดให้ส่วนติดตาม ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนแยกออกมาจาก กตร. และยกระดับให้เป็นกองบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ เนื่องจาก สป.ทส. จำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางในระดับกองเพื่อประสานหน่วยงานกรมสังกัด ทส. ทสจ. และ สสภ. รวมถึงหน่วยงานนอกสังกัด ทส. เพื่อให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหา ข้อพิพาท ข้อร้องเรียนร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของประชาชน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับประชาชน ซึ่งเป็นไปโดยสอดคล้องกับนโยบายของ ทส. และ รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม นำส่วนงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนบุคคล มารวมกันเป็นหน่วยงานเดียว งานบูรณาการในพื้นที่และการบริการ : ปรับปรุงกระบวนงานให้เอกชน รับสัมปทานการจดการใช้น้ำ ออกใบแจ้งหนี้ และส่งใบแจ้งหนี้ ให้กับผู้ใช้น้ำบาดาล บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ สถาบันการศึกษา และ/หรือ ว่าจ้างเอกชน ในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ จัดให้มีศูนย์รับคำขออนุมัติ อนุญาต ของหน่วยงานในสังกัด ทส. แบบ One Stop Service ณ ศูนย์บริการร่วม ทส. และศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จของจังหวัด ใช้ระบบดิจิทัล เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จได้ และใช้ข้อมูลเอกสารจากระบบ Linkage Center แทนการเรียกสำเนาถ่ายเอกสาร งานสนับสนุนการดำเนินงาน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : จ้างเอกชนให้ปฏิบัติภารกิจในบางภารกิจ โดยกองการบินจะควบคุมการดำเนินการของผู้รับจ้าง อาทิ ภารกิจสนับสนุนผู้บริหาร หรือการบินที่ไม่ต้องการเทคนิคเฉพาะ

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.5 ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านโครงสร้าง 1) งานเชื่อมโยงและประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นการบูรณาการงานระหว่าง Function และ Area (จัดตั้งกองบริหารราชการภูมิภาค) 2) งานด้านการประสานดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ/อำนวยการ ให้ประชาชนในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท/ข้อร้องเรียน (จัดตั้งกองบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์) 3) งานด้านการดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (เพิ่มส่วนบำรุงรักษาอากาศยาน) 4) งานด้านการดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการบิน (ภาค)) 5) งานด้านบุคลากร (จัดตั้งกองพัฒนาบุคลากร) ด้านกระบวนงาน 1) งานด้านยุทธศาสตร์และแผนงาน 2) งานด้านการกำหนดนโยบาย ท่าที และ แนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) งานด้านการจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับภาค และการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.5 ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 4) งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (พัฒนาระบบ/กลไก) 5) งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (จัดทำคู่มือกำหนดมาตรฐานและแนวทางการดำเนินงาน) 6) งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (พัฒนางานด้านการจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ) 7) งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (ทบทวน ปรับปรุง มาตรการ) 8) งานการตรวจราชการ (ปรับปรุงกระบวนงาน) 9) งานการตรวจราชการ (สร้างการบูรณาการความร่วมมือ) 10) งานการตรวจราชการ (พัฒนาและปรับปรุงระบบการตรวจราชการ) 11) งานการตรวจราชการ (พัฒนาเครื่องมือ กลไก) 12) งานการตรวจราชการ (สร้างการบูรณาการความร่วมมือ) 13) งานการตรวจราชการ (ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร) 14) งานด้านการพิจารณาอนุญาต อนุมัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ สัตว์ป่า เลื่อยโซ่ยนต์ ทรัพยากรน้ำ และน้ำบาดาล

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.5 ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 15) งานด้านการดำเนินการเพื่อจัดเก็บค่าบริการใช้น้ำบาดาล 16) งานด้านการติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม 17) งานด้านวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและข้อเสนอทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ 18) งานด้านศูนย์เตือนภัยมลพิษสิ่งแวดล้อมระดับภาค 19) งานด้านให้คำปรึกษาแนะนำการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 20) งานด้านการดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 21) งานการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 22) งานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 23) งานการใช้อากาศยานปฏิบัติงานด้านการบินเพื่อสนับสนุนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 24) งานปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต 25) งานด้านบุคลากร (แต่งตั้งโยกย้าย)

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.5 ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 26) งานประชาสัมพันธ์ 27) งานตรวจสอบภายใน 28) งานบริการร่วม ด้านกฎหมาย 1) งานด้านกฎหมาย ด้านบุคลากร 1) งานปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (เพิ่มอัตรากำลัง) 2) งานพัฒนาระบบบริหาร (พัฒนาบุคลากร) 3) งานบริหารจัดการพัสดุ (พัฒนาบุคลากร) 4) งานบริหารการคลัง (พัฒนาบุคลากร)

ส่วนที่ ๒ บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ ๒ บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม

06 พ.ค. 62 แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ : ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม........................ 2.1 การวิเคราะห์ภารกิจของกรมในปัจจุบัน (As-Is) 2.1.1 วิเคราะห์ภารกิจหลัก vs ภารกิจรอง : โดยวิเคราะห์จากแนวทางการจำแนกภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ วิเคราะห์ภารกิจหลัก (ไม่เกิน 5 ภารกิจหลัก) (เรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย) วิเคราะห์ภารกิจรองของกรม แบ่งเป็น งานให้การสนับสนุนทางวิชาการ (Technical Support) งานสนับสนุนทางบริหารจัดการ (Administrative Support) 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของกรม : ภารกิจหลัก (Core function) และภารกิจรอง (Non-core function) ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของกรม : ภารกิจหลัก (Core function) วิเคราะห์บทบาทภารกิจในปัจจุบัน (As-Is) : โดยวิเคราะห์จากคำนิยามการจำแนกบทบาทภาครัฐ วิเคราะห์บทบาทภารกิจในอนาคตที่ควรจะเป็น (To-be) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาองค์การที่จะไปสู่บทบาทนั้น (How to) ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของกรม : ภารกิจรอง (Non-core function) Technical Support Administrative Support 2.2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและอัตรากำลังที่จะรองรับบทบาทภารกิจใหม่ในอนาคต 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564)

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.1 การวิเคราะห์ภารกิจของกรมในปัจจุบัน (As-Is) แบบฟอร์ม 2.1.1 วิเคราะห์ภารกิจหลักและภารกิจรองของ สป.ทส. ภารกิจ ประเภท* C NC (TS) (AS) ภารกิจ 1 : งานนโยบายและแผน (กยผ. กตป. สสภ. ทสจ. กปร. กตร.) กิจกรรม 1 : งานด้านยุทธศาสตร์และแผนงาน 1.1 จัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง และประสานนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับนโยบาย และแผนแม่บทของกระทรวง รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวง 1.2 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูล เพื่อเสนอแนะในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง และเพื่อกำหนดนโยบาย แผนกลยุทธ์ แผนงาน โครงการ รวมทั้งจัดทำและประสานการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ของกระทรวง 1.3 ดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงให้สอดคล้องกับ นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวง 1.4 ประสานการดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาตามกรอบ ภารกิจหน้าที่ของผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) และติดตามผลการดำเนินงาน ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับกระทรวง กิจกรรม 2 : การกำหนดนโยบาย ท่าที และแนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กตป.) 2.1 กำหนดนโยบาย ท่าที และแนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์กรระหว่างประเทศต่อผู้บริหาร ทส. 2.2 ประสานความร่วมมือด้านวิชาการและการเข้าร่วมในพันธกรณีด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ 2.3 เป็นหน่วยประสานงานกลาง (Focal point) ภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ อาทิ อาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม/โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment)/กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก/GMS ด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ 2.4 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําข้อมูลด้านต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะในการกําหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ รวมทั้งจัดทําและประสานแผนการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ของกระทรวง กิจกรรม 3 : การจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับภาค และการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด (สสภ. ทสจ.) 3.1 จัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค 6 ภูมิภาค ตามภูมิภาคที่ สศช. กำหนด เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 3.2 กำหนดกรอบทิศทางในการดำเนินงานบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับภาค และส่งไปในระดับจังหวัด 3.3 จัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดและร่วมจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด และท้องถิ่น 

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.1 การวิเคราะห์ภารกิจของกรมในปัจจุบัน (As-Is) แบบฟอร์ม 2.1.1 วิเคราะห์ภารกิจหลักและภารกิจรองของ สป.ทส. ภารกิจ ประเภท* C NC (TS) (AS) กิจกรรม 4 : งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กปร.) 4.1 ประสานนโยบายการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ 4.2 ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ 4.3 จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการแก้ไขปัญหาด้านการบุกรุกที่ดินของรัฐ 4.4 การศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะให้มีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ กิจกรรม 5 งานตรวจราชการ (กตร.) 5.1 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนการตรวจราชการของกระทรวง และแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการ 5.2 สนับสนุนการตรวจราชการตามแผนการประจำปี และแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการกระทรวง ภารกิจ 2 : ภารกิจ งานตรวจติดตาม (กตร.) กิจกรรม 1 : การประสานดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ/อำนวยการ ให้ประชาชนในการแก้ไข ปัญหาข้อพิพาท/ข้อร้องเรียน (กตร.) 1.1 รับเรื่อง กลั่นกรอง และตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องร้องเรียนและเรื่องร้องทุกข์ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงฯ เสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป 1.2 ร่วมติดตาม และสนับสนุนผู้ตรวจราชการกระทรวงในการตรวจติดตามเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ 1.3 ประสานและติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.4 พัฒนากลไกการประสานงาน และระบบการติดตามเรื่องร้องเรียน กิจกรรม 2 : การตรวจราชการ (กตร.) 2.1 สนับสนุนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง 2.1.1 พัฒนาระบบการตรวจราชการ 2.1.2 การจัดทำฐานข้อมูล 2.1.3 พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสนับสนุนการตรวจราชการ 

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.1 การวิเคราะห์ภารกิจของกรมในปัจจุบัน (As-Is) แบบฟอร์ม 2.1.1 วิเคราะห์ภารกิจหลักและภารกิจรองของ สป.ทส. ภารกิจ ประเภท* C NC (TS) (AS) ภารกิจ 3 : ภารกิจ งานบูรณาการในพื้นที่และการบริการ (สสภ. ทสจ. ศทส.) กิจกรรม 1 : เชื่อมโยงและประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นการบูรณาการงานระหว่าง Function และ Area กิจกรรม 2 : การพิจารณาอนุญาต อนุมัติ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ สัตว์ป่า เลื่อยโซ่ยนต์ ทรัพยากรน้ำ และน้ำบาดาล กิจกรรม 3 : การดำเนินการเพื่อจัดเก็บค่าบริการใช้น้ำบาดาล  ภารกิจ 4 : ภารกิจ งานสนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สสภ. กกบ. ทสจ. (ส่วนสิ่งแวดล้อม)) กิจกรรม 1 : การติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม กิจกรรม 2 : วิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและข้อเสนอทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ กิจกรรม 3 : ศูนย์เตือนภัยมลพิษสิ่งแวดล้อมระดับภาค กิจกรรม 4 : ให้คำปรึกษาแนะนำการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรม 5 : การดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 5.1 ปฏิบัติการบินลาดตระเวน คุ้มครอง ป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานภาคพื้นดิน เพื่อไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่เป้าหมาย 5.2 การปฏิบัติการบินสนับสนุนภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมพิเศษและปฏิบัติการบินกู้ภัย เหตุฉุกเฉิน ไฟป่า ภัยพิบัติ รวมทั้งสำรวจติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.3 ปฏิบัติการบินสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนด้านอื่นๆ กิจกรรมที่ 6 : การมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.1 การวิเคราะห์ภารกิจของกรมในปัจจุบัน (As-Is) แบบฟอร์ม 2.1.1 วิเคราะห์ภารกิจหลักและภารกิจรองของ สป.ทส. ภารกิจ ประเภท* C NC (TS) (AS) ภารกิจ 5 : งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศทส.)  ภารกิจ 6 : งานด้านกฎหมาย (กกม.) ภารกิจ 7 : งานพัฒนาระบบบริหาร (กพร.ทส.) ภารกิจ 8 : งานด้านการปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) ภารกิจ 9 : งานด้านการบริหารจัดการทรัพยากร (กกล. กตน.) ภารกิจ 10 : งานด้านบริการร่วม (ศทส. ศบร.) หมายเหตุ : * C = ภารกิจหลัก (Core function) NC (TS) = ภารกิจรอง (Non-core Technical Support) NC (AS) = ภารกิจรอง (Non-core Administrative Support)

ภารกิจหลัก (Core function) แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจหลัก (Core function) ภารกิจหลัก (Core function) บทบาทภาครัฐ แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) (As-Is) (To-Be) ภารกิจ 1 : ภารกิจ งานนโยบายและแผน (กยผ. กตป. สสภ. ทสจ. กปร. กตร.) กิจกรรม 1 : งานด้านยุทธศาสตร์และแผนงาน 1.1 จัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง และประสานนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับนโยบาย และแผนแม่บทของกระทรวง รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวง 1.2 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูล เพื่อเสนอแนะในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง และเพื่อกำหนดนโยบาย แผนกลยุทธ์ แผนงาน โครงการ รวมทั้งจัดทำและประสานการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ของกระทรวง 1.3 ดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงให้สอดคล้องกับ นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวง 1.4 ประสานการดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาตามกรอบ ภารกิจหน้าที่ของผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) และติดตามผลการดำเนินงาน ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับกระทรวง Policy Advisor   ปรับปรุงหน่วยงานให้สามารถดำเนินการรองรับนโยบาย THAILAND 4.0 ให้พร้อมอำนวยความสะดวกให้ทุกหน่วยงานภายใน สป.ทส. อาทิ จัดทำระบบติดตามข้อสั่งการของผู้บริหาร (e-monitoring) เพื่อเป็นเครื่องมือในการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน โดยให้สามารถรายงานได้ผ่านทาง website และช่องทางต่างๆ เช่น Mobile หรือ Web Application เพื่อให้การติดตามรายงานผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์

ภารกิจหลัก (Core function) แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจหลัก (Core function) ภารกิจหลัก (Core function) บทบาทภาครัฐ แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) (As-Is) (To-Be) ภารกิจ 1 : ภารกิจ งานนโยบายและแผน (กยผ. กตป. สสภ. ทสจ. กปร. กตร.) กิจกรรม 2 : การกำหนดนโยบาย ท่าที และแนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กตป.) 2.1 กำหนดนโยบาย ท่าที และแนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์กรระหว่างประเทศต่อผู้บริหาร ทส. 2.2 ประสานความร่วมมือด้านวิชาการและการเข้าร่วมในพันธกรณีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ 2.3 เป็นหน่วยประสานงานกลาง (Focal point) ภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ อาทิ อาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม/โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment)/กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก/GMS ด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ 2.4 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําข้อมูลด้านต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะในการกําหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ รวมทั้งจัดทําและประสานแผนการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ของกระทรวง Policy Advisor เสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับบทบาทของ กตป. ให้เป็นหน่วยงานบูรณาการความร่วมมือด้านต่างประเทศของ ทส. โดยใช้กลไกคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างต่างประเทศของ ทส. ในการขับเคลื่อนภารกิจด้านต่างประเทศของ ทส. อย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการร่วมกับหน่วยประสานงานกลาง (Focal point) ของกรอบอนุสัญญาและข้อตกลงต่างๆ เพื่อกำกับและติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็นศูนย์กลางข้อมูลความร่วมมือด้านต่างประเทศ พันกรณี และข้อตกลงระหว่างประเทศของ ทส. สำหรับผู้บริหารและหน่วยงานใน ทส. หน่วยงานภาครัฐ และผู้ที่สนใจ ปรับปรุงยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงแสวงหาความร่วมมือด้านต่างประเทศ โดยเน้นการดำเนินการตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งระดับพหุภาคีและทวิภาคี มีแผนการดำเนินงานรองรับและถ่ายทอดลงสู่ระดับพื้นที่โดยการบูรณาการกับหน่วยงาน ทส. ในพื้นที่ อาทิ ทสจ. และ สสภ. เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

ภารกิจหลัก (Core function) แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจหลัก (Core function) ภารกิจหลัก (Core function) บทบาทภาครัฐ แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) (As-Is) (To-Be) ภารกิจ 1 : ภารกิจ งานนโยบายและแผน (กยผ. กตป. สสภ. ทสจ. กปร. กตร.) กิจกรรม 3 : การจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับภาค และการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด (สสภ. ทสจ.) 3.1 จัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค 6 ภูมิภาค ตามภูมิภาคที่ สศช. กำหนด เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 3.2 กำหนดกรอบทิศทางในการดำเนินงานบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับภาค และส่งไปในระดับจังหวัด 3.3 จัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดและร่วมจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด และท้องถิ่น Policy Advisor จัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ ชี้เป้าพื้นที่วิกฤต และจัดลำดับความสำคัญประเด็นเร่งด่วนในการดูแลรักษา ฟื้นฟู และพัฒนา

ภารกิจหลัก (Core function) แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจหลัก (Core function) ภารกิจหลัก (Core function) บทบาทภาครัฐ แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) (As-Is) (To-Be) ภารกิจ 1 : ภารกิจ งานนโยบายและแผน (กยผ. กตป. สสภ. ทสจ. กปร. กตร.) กิจกรรม 4 : งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กปร.) 4.1 ประสานนโยบายการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ 4.2 ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ 4.3 จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการแก้ไขปัญหาด้านการบุกรุกที่ดินของรัฐ 4.4 การศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะให้มีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ Policy Advisor พัฒนาระบบ/กลไก การประสานนโยบาย โดยการนำแนวเขตที่ดินของรัฐ (one map) มาใช้ประกอบการพิสูจน์สิทธิฯ และการเชื่อมโยงข้อมูลและเสริมสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานแบบบูรณาการ จัดทำคู่มือกำหนดมาตรฐานและแนวทางการดำเนินงาน เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานให้มีมาตรฐานเดียวกัน พัฒนางานด้านการจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ผ่านการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านการอ่าน แปลฯ จัดทำ MOU ร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และฐานข้อมูล รวมทั้งมอบงานบางส่วนให้ภาคส่วนอื่นเป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้การกำกับดูแล ตรวจสอบ และรับรองผลโดยคณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ ทบทวน ปรับปรุง มาตรการของ กบร. ให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ภารกิจหลัก (Core function) แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจหลัก (Core function) ภารกิจหลัก (Core function) บทบาทภาครัฐ แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) (As-Is) (To-Be) ภารกิจ 1 : ภารกิจ งานนโยบายและแผน (กยผ. กตป. สสภ. ทสจ. กปร. กตร.) กิจกรรม 5 : งานตรวจราชการ (กตร.) 5.1 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนการตรวจราชการของกระทรวง และแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการ 5.2 สนับสนุนการตรวจราชการตามแผนการประจำปี และแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการกระทรวง Policy Advisor ปรับปรุงกระบวนงาน วิธีการ การจัดทำแผนการตรวจราชการให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเชื่อมโยงกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กระทรวง ภายใต้ระบบการตรวจราชการยุคใหม่ สร้างการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายใต้สังกัด ทส. ที่รับผิดชอบโครงการตามกลุ่มภารกิจตามแผนการตรวจราชการ ในการจัดทำข้อมูลสนับสนุนในการลงพื้นที่ของผู้ตรวจราชการ และการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ผู้ตรวจราชการได้ให้ไว้

ภารกิจหลัก (Core function) แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจหลัก (Core function) ภารกิจหลัก (Core function) บทบาทภาครัฐ แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) (As-Is) (To-Be) ภารกิจ 2 : ภารกิจ งานตรวจติดตาม (กตร.) กิจกรรม 1 : การประสานดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ/อำนวยการ ให้ประชาชนในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท/ข้อร้องเรียน (กตร.) 1.1 รับเรื่อง กลั่นกรอง และตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องร้องเรียนและเรื่องร้องทุกข์ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงฯ เสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป 1.2 ร่วมติดตาม และสนับสนุนผู้ตรวจราชการกระทรวงในการตรวจติดตามเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ 1.3 ประสานและติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.4 พัฒนากลไกการประสานงาน และระบบการติดตามเรื่องร้องเรียน Facilitator กำหนดให้ส่วนติดตาม ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนแยกออกมาจาก กตร. และยกระดับให้เป็นกองบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ เนื่องจาก สป.ทส. จำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางในระดับกองเพื่อประสานหน่วยงานกรมสังกัด ทส. ทสจ. และ สสภ. รวมถึงหน่วยงานนอกสังกัด ทส. เพื่อให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหา ข้อพิพาท ข้อร้องเรียนร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของประชาชน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับประชาชน ซึ่งเป็นไปโดยสอดคล้องกับนโยบายของ ทส. และ รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม นำส่วนงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนบุคคล มารวมกันเป็นหน่วยงานเดียว

ภารกิจหลัก (Core function) แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจหลัก (Core function) ภารกิจหลัก (Core function) บทบาทภาครัฐ แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) (As-Is) (To-Be) ภารกิจ 2 : ภารกิจ งานตรวจติดตาม (กตร.) กิจกรรม 2 : การตรวจราชการ (กตร.) 2.1 สนับสนุนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง 2.1.1 พัฒนาระบบการตรวจราชการ 2.1.2 การจัดทำฐานข้อมูล 2.1.3 พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสนับสนุนการตรวจราชการ Policy Advisor พัฒนาและปรับปรุงระบบการตรวจราชการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยระบบการตรวจราชการยุคใหม่ที่นำแนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวข้องมาใช้ (ประชารัฐ) การบริหารจัดการเชิงพื้นที่และความเสี่ยง มาพัฒนาโครงสร้างเพื่อตอบสนองให้เกิดการบูรณาการราชการและกระบวนการ พัฒนาเครื่องมือ กลไก การประสานงาน และติดตามรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ สร้างการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายใต้สังกัด ทส. ที่รับผิดชอบโครงการตามกลุ่มภารกิจตามแผนการตรวจราชการ ในการจัดทำฐานข้อมูลกลางด้านการตรวจราชการกระทรวง โดยนำนวัตกรรมมาใช้ ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร มีการฝึกอบรมที่ทั่วถึง เพื่อเป็นหลักประกันว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็น เน้นการสร้างความเข้าใจในเป้าหมายปลายทางที่เป็นผลสำเร็จของการตรวจราชการ

ภารกิจหลัก (Core function) แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจหลัก (Core function) ภารกิจหลัก (Core function) บทบาทภาครัฐ แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) (As-Is) (To-Be) ภารกิจ 3 : ภารกิจ งานบูรณาการในพื้นที่และการบริการ (สสภ. ทสจ. ศทส.) กิจกรรม 1 : เชื่อมโยงและประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นการบูรณาการงานระหว่าง Function และ Area Facilitator ปรับปรุงโครงสร้างให้มีความเชื่อมโยงระหว่างระดับนโยบายจากส่วนกลางไปสู่ระดับภาค ภูมิภาค และระดับพื้นที่ โดยจัดตั้งกองบริหารราชการภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนงานในพื้นที่ทั้งในส่วนของการกำกับและการปฏิบัติ โดยแบ่งการบริหารด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค เป็น 6 ฝ่าย ตามกรอบภาคที่ สศช. กำหนดและทำหน้าที่ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะ และประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัด สป.ทส. ในพื้นที่ รวมทั้งบูรณาการและขยายผลการดำเนินงานโครงการพระราชดำริให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ กิจกรรม 2 : การพิจารณาอนุญาต อนุมัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ สัตว์ป่า เลื่อยโซ่ยนต์ ทรัพยากรน้ำ และน้ำบาดาล Regulator ปรับปรุงกระบวนงาน การขออนุญาต ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น แบบ One Stop Service ณ ศูนย์บริการร่วม ทส. และศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จของจังหวัด ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และนำไปบังคับใช้ได้อย่างเหมาะสม พัฒนาระบบ Mobile Application เพื่อสามารถให้บริการที่ครอบคลุมทุกด้านผ่านทาง Smart Phone กิจกรรม 3 : การดำเนินการเพื่อจัดเก็บค่าบริการใช้น้ำบาดาล Smart Regulator ปรับปรุงกระบวนงานให้เอกชน รับสัมปทานการจดการใช้น้ำ ออกใบแจ้งหนี้ และส่งใบแจ้งหนี้ ให้กับผู้ใช้น้ำบาดาล

ภารกิจหลัก (Core function) แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจหลัก (Core function) ภารกิจหลัก (Core function) บทบาทภาครัฐ แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) (As-Is) (To-Be) ภารกิจ 4 : ภารกิจ งานสนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สสภ. กกบ. ทสจ. (ส่วนสิ่งแวดล้อม)) กิจกรรม 1 : การติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม Regulator Smart Regulator บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ สถาบันการศึกษา และ/หรือ ว่าจ้างเอกชน ในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ กิจกรรม 2 : วิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและข้อเสนอทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ Facilitator บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษาในระดับพื้นที่ จัดทำกลไกการประสานงานเพื่อการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ กิจกรรม 3 : ศูนย์เตือนภัยมลพิษสิ่งแวดล้อมระดับภาค พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางที่เชื่อมโยงทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อให้การรายงานและจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบเดียวกันทุกภูมิภาค พัฒนาระบบ Mobile Application เพื่อสามารถให้บริการข้อมูล/สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านทาง Smart Phone กิจกรรม 4 : ให้คำปรึกษาแนะนำการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บริการและให้คำปรึกษาแนะนำ ผ่าน Application

ภารกิจหลัก (Core function) แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจหลัก (Core function) ภารกิจหลัก (Core function) บทบาทภาครัฐ แนวทางการพัฒนาองค์การ (How to) (As-Is) (To-Be) ภารกิจ 4 : ภารกิจ งานสนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สสภ. กกบ. ทสจ. (ส่วนสิ่งแวดล้อม)) กิจกรรม 5 : การดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (กกบ.) 5.1 ปฏิบัติการบินลาดตระเวน คุ้มครอง ป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานภาคพื้นดิน เพื่อไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่เป้าหมาย 5.2 การปฏิบัติการบินสนับสนุนภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมพิเศษและปฏิบัติการบินกู้ภัย เหตุฉุกเฉิน ไฟป่า ภัยพิบัติ รวมทั้งสำรวจ ติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.3 ปฏิบัติการบินสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนด้านอื่นๆ Operator New Operator จ้างเอกชนให้ปฏิบัติภารกิจในบางภารกิจ โดยกองการบินจะควบคุมการดำเนินการของผู้รับจ้าง อาทิ ภารกิจสนับสนุนผู้บริหาร หรือการบินที่ไม่ต้องการเทคนิคเฉพาะ จัดซื้ออากาศยาน จำนวน 2 ลำ เพื่อปฏิบัติภารกิจด้านการบินและทดแทนอากาศยานที่หมดอายุการใช้งาน เพิ่มส่วนบำรุงรักษาอากาศยาน เพื่อการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง รักษาอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการบิน (ภาค) จำนวน 4 แห่ง ภายใต้ส่วนสนามบิน เพื่อเป็นศูนย์รวมผลความเป็นเอกภาพในการบริหารงาน สามารถจัดพนักงานเจ้าหน้าที่ทดแทนกันได้ นำเทคโนโลยีด้านการบิน อาทิ การนำอากาศยานไร้คนขับ (UAV) มาเสริมการปฏิบัติการบินในการปฏิบัติงานตามภารกิจในพื้นที่เสี่ยงภัยหรือมีขีดจำกัด กิจกรรม 6 : การมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Facilitator พัฒนาประสิทธิภาพองค์กรเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนเพื่อการทำงานแบบประชารัฐ หมายเหตุ : ใส่กรอบสีแดงกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทภาครัฐจาก As-Is ไป To-Be

การปรับเปลี่ยน (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจรอง (Non-Core function) ภารกิจรอง (Non-core function) เป้าหมาย การปรับเปลี่ยน ข้อเสนอ การปรับเปลี่ยน (How to) Technical Support 1. งานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง 1.2 พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และเครือข่าย และระบบข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ และฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรม มีระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนระบบการแต่งตั้ง CIO กำหนดให้ CIO ของแต่ละหน่วยงาน เป็นผู้รับผิดชอบระบบสารสนเทศของหน่วยงาน จัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง โดยนำข้อมูลของแต่ละกรมมาไว้เป็นส่วนกลาง กำหนดแนวทางความก้าวหน้า และค่าตอบแทนของบุคคลากรสารสนเทศให้ชัดเจน สนับสนุนบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จัดทำ Enterprise Architecture ของทุกระบบงาน ภายใต้ ทส. โดยการจัดทำ Work Process ของแต่ละกระบวนงานให้เห็น การเชื่อมโยงของการทำงานในระดับ ส่วน กอง สำนัก กรม และระหว่างกรม แยกการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ตอบสนองการทำงานของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ การบริหารงานของหน่วยงาน และงานบริการประชาชน ปรับเปลี่ยน ผู้บริหาร จากรอง ปลัด รองอธิบดี เป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องสารสนเทศของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาระบบสารสนเทศของหน่วยงานเกิดความต่อเนื่อง กำหนดเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี หรือกฎกระทรวง แต่ละส่วนราชการไปกำหนดแนวทางของตัวเองให้สอดคล้องกับบริบทของพันธกิจ ของหน่วยงาน ก.พ. และ กพร. เป็นหน่วยงานที่ต้องไปกำหนดให้ชัดเจน กำหนดให้เป็นตัวชี้วัดระดับบุคคล 2. งานการใช้อากาศยานปฏิบัติงานด้านการบิน เพื่อสนับสนุนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการบินกู้ภัย เหตุฉุกเฉิน ไฟป่า และภัยพิบัติ ปฏิบัติการบินสำรวจติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการบินการตรวจราชการเร่งด่วน และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมพิเศษ พัฒนาโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ติดตั้ง GPS tracking) มาประยุกต์ใช้ในการวางแผน ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติการบิน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เน้นการบูรณาการระหว่างส่วนราชการ ที่มีภารกิจด้านการบินเกี่ยวเนื่องกัน เช่น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

การปรับเปลี่ยน (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจรอง (Non-Core function) ภารกิจรอง (Non-core function) เป้าหมาย การปรับเปลี่ยน ข้อเสนอ การปรับเปลี่ยน (How to) Technical Support 3. งานด้านกฎหมาย 3.1 ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานพัฒนากฎหมาย และอนุสัญญาระหว่างประเทศ งานนิติกรรมและสัญญา ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวง หน่วยงานในสังกัดกระทรวง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 3.2 สนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ปรึกษากฎหมายกระทรวง 3.3 ดำเนินงานด้านคดีปกครอง คดีแพ่ง คดีอาญา คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คดีล้มละลาย งานคดีอื่น ๆ ตลอดจนการบังคับคดีต่างๆ และการดำเนินการทางละเมิด ที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของ สป.ทส. ปรับบทบาทของ สป.ทส. ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดบทบาทที่ไม่จำเป็น สป.ทส. ต้องมีบทบาทชัดเจนในแต่ละเรื่อง เป็น “ผู้ควบคุม” กฎกติกา แต่ต้องปรับสมดุลใหม่และมุ่งเป็น “ผู้สนับสนุน” มากขึ้น รวมทั้งต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและความยั่งยืนในระยะยาว พัฒนากระบวนการจัดทำและตรวจพิจารณาร่างกฎหมายให้รวดเร็ว รอบคอบ และสอดคล้องกับเงื่อนเวลาในการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญฯ หรือตามนโยบายของรัฐบาลหรือกระทรวง สร้างกลไกส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สร้างกลไกให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายต่างๆ โดยสะดวกและเข้าใจกฎหมายได้ง่าย รวมทั้งการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของกฎหมาย คำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือการตีความกฎหมาย ให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก สร้างความเข้าใจกับผู้รักษาการตามกฎหมาย เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมาย พันธกรณีระหว่างประเทศ และหลักสากล พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายได้โดยสะดวก เพื่อลดค่าใช้จ่ายและขจัดช่องทางการทุจริตประพฤติมิชอบ ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความรู้ความเข้าใจ และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม 4. งานพัฒนาระบบบริหาร 4.1 เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ปลัดกระทรวงเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง 4.2 ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง 4.3 ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลาง ต่างๆ และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง เพื่อพัฒนาการบริหารของ สป.ทส. และ ทส. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงขึ้น กำหนดวิธีสร้างแรงจูงใจเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์

การปรับเปลี่ยน (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจรอง (Non-Core function) ภารกิจรอง (Non-core function) เป้าหมาย การปรับเปลี่ยน ข้อเสนอ การปรับเปลี่ยน (How to) Technical Support 5. งานปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต 5.1 เสนอแนะแก่ปลัดกระทรวงเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเสนอต่อ ปกท. 5.2 ประสานงาน เร่งรัด และกำกับให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ 5.3 รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ของเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.4 คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการ พลเรือน 5.5 ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อ 5.3 และ 5.4 และร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.6 ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัดและการคุ้มครองจริยธรรมเสนอต่อปลัดกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้คำแนะนำ ร่วมเป็นหนึ่งในเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำเนินภารกิจทั้งการป้องกัน ปราบปราม แก้ไขการทุจริตคอร์รัปชั่น และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมข้าราชการไปพร้อมกัน เป็นการบูรณการงานต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นกับงานคุ้มครองจริยธรรม ขออัตรากำลังเพิ่มใหม่เป็นข้าราชการ 5 อัตรา

การปรับเปลี่ยน (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจรอง (Non-Core function) ภารกิจรอง (Non-core function) เป้าหมาย การปรับเปลี่ยน ข้อเสนอ การปรับเปลี่ยน (How to) Administrative Support 1. งานบริหารจัดการพัสดุ 1.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุ ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึง ระเบียบ หนังสือเวียน และมติครม. ที่เกี่ยวข้อง บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความเข้าใจในระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดฝึกอบรมบุคลากร 2. งานบริหารการคลัง 2.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ ของ สป.ทส. ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติและนโยบายของรัฐบาล แบ่งงานภายในออกเป็น 3 ฝ่าย - ฝ่ายงบประมาณ - ฝ่ายการเงิน - ฝ่ายบัญชี กระจายงานให้พนักงานราชการและลูกจ้าง TOR จัดฝึกอบรม กระจายงานภายในและมอบหมายงานให้ชัดเจน

การปรับเปลี่ยน (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจรอง (Non-Core function) ภารกิจรอง (Non-core function) เป้าหมาย การปรับเปลี่ยน ข้อเสนอ การปรับเปลี่ยน (How to) Administrative Support 3. งานด้านบุคลากร 3.1 งานด้านการพัฒนา 3.1.1 จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรของกระทรวง 3.1.2 สนับสนุนและประสานการจัดทำแผนพัฒนาข้าราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวง 3.1.3 ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดนโยบาย แผนงานและแนวทางการพัฒนาบุคลากรของกระทรวง ตลอดจนการสร้างและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและสัมมนา ดำเนินการฝึกอบรมและสัมมนา รวมทั้งการวิจัย พัฒนา และบริหารจัดการองค์ความรู้ กำหนดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรให้ครอบคลุมทุกระดับ จัดตั้งกองพัฒนาบุคลากรของกระทรวง 1. จัดตั้งกองพัฒนาบุคลากร ในสังกัด สป.ทส. และมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกระทรวง เป็นหน่วยงาน Cluster วิเคราะห์แผนงาน โครงการ และงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรภาพรวมของกระทรวง เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรกระทรวงมีเอกภาพ 2. กำหนดให้กองพัฒนาบุคลากร มีภารกิจด้านการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานและบุคคลภายนอก เพื่อรองรับภารกิจที่สำคัญและจำเป็นของ สป.ทส. และกระทรวงในอนาคต เช่น ภารกิจด้านการส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและบุคคลภายนอก 3. โครงสร้างและภารกิจของกองพัฒนาบุคลากร 3.1 ส่วนอำนวยการ 3.2 ส่วนแผนและพัฒนาบุคลากร ทำหน้าที่ด้านการจัดทำแผน/ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร ทำหน้าที่ Cluster ในการวิเคราะห์แผนงาน โครงการและงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรภาพรวมของกระทรวง เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรกระทรวงมีเอกภาพ รวมทั้งการจัดหาและพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร และการส่งเสริม/สนับสนุน จัดสรรทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรม 3.3 ส่วนพัฒนาหลักสูตร ทำหน้าที่จัดทำหลักสูตรและทำหน้าที่ด้านการจัดการความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ ให้หน่วยงานภายในและภายนอก 3.4 ส่วนฝึกอบรม ทำหน้าที่จัดฝึกอบรมตามแผนงานโครงการและสรุปติดตาม ประเมินผลโครงการ 4. จัดทำแผน/แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาพรวมของกระทรวง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง/พัฒนาคนดี คนเก่ง และสร้างความไว้วางใจขององค์กร ซึ่งจะเป็นการเพิ่มสมรรถนะและประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร 5. จัดให้มีสถานที่ เพื่อเป็นศูนย์การฝึกอบรมของกระทรวงในพื้นที่ภูมิภาค (Campus) เพื่อดำเนินการและบูรณาการงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภาพรวมของกระทรวง โดยใช้สถานที่ศูนย์ฝึกอบรมของกรมในสังกัดกระทรวง

การปรับเปลี่ยน (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจรอง (Non-Core function) ภารกิจรอง (Non-core function) เป้าหมาย การปรับเปลี่ยน ข้อเสนอ การปรับเปลี่ยน (How to) Administrative Support 3.2 งานด้านการบริหารจัดการ 3.2.1 การบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อนระดับ 3.2.2 ให้คำปรึกษาระเบียบ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานส่วนภูมิภาคในสังกัด หลักเกณฑ์การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ชัดเจน เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ 6. จัดตั้งกองพัฒนาบุคลากรของกระทรวง โดยมีโครงสร้าง ดังนี้ 6.1 ส่วนอำนวยการ 6.2 ส่วนแผนและพัฒนาบุคลากร 6.3 ส่วนพัฒนาหลักสูตร 6.4 ส่วนฝึกอบรม พร้อมทั้งกำหนดให้มีศูนย์กลางการฝึกอบรมของกระทรวง 7. หลักสูตรครอบคลุมทุกระดับ จัดทำแผนงานบริหารบุคคลและระยะเวลาดำเนินการ โดยการจัดทำวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งและเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path) ในตำแหน่งที่ชัดเจน 4. งานประชาสัมพันธ์ 4.1 ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจกับประชาชน ประชาชน รับรู้และเข้าใจ ในภารกิจของหน่วยงาน เน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์และการสื่อสารของหน่วยงาน เน้นการทำงานแบบเชิงรุกและเชิงรับ จัดฝึกอบรมบุคลากร เพิ่มช่องทางการสร้างความรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนของหน่วยงาน 5. งานตรวจสอบภายใน 5.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของ สป.ทส. เพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กรให้ดีขึ้น  มุ่งสู่การประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าของกระบวนการปฏิบัติงาน ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าและความสำเร็จแก่องค์กร  โดยมีการตรวจสอบที่ครอบคลุมทุกประเภท ดังนี้ การตรวจสอบทางการเงิน (Financial Auditing) การตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Auditing) การตรวจสอบการบริหาร (Management Auditing) การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance Auditing) การตรวจสอบระบบงานสารสนเทศ (Information System Auditing) การตรวจสอบพิเศษ (Special Auditing)

การปรับเปลี่ยน (How to) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.1 ข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจของ สป.ทส. : ภารกิจรอง (Non-Core function) ภารกิจรอง (Non-core function) เป้าหมาย การปรับเปลี่ยน ข้อเสนอ การปรับเปลี่ยน (How to) Administrative Support 6. งานบริการร่วม 6.1 ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาขอรับบริการ 6.2 บริการข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของ สป.ทส. 6.3 บริการรับคำขออนุมัติ อนุญาต แบบ One Stop Service 6.4 เป็นจุดบริการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ และเบาะแสการกระทำผิดด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และประหยัด ในการติดต่อราชการเพื่อขอรับบริการจากหน่วยงานในสังกัด ทส. การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของ ทส. เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้บริการประชาชน ตามมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (Government Easy Contact Center : GECC ) รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานขั้นสูงศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของบุคลากร เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้มีบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และใช้ Smart Card Reader แทนการเรียกสำเนาเอกสารจากประชาชน ปรับปรุงกระบวนงาน มีช่องทางให้ประชาชนสามารถยื่นคำขออนุมัติ อนุญาตแบบ One Stop Service ณ ศูนย์บริการร่วม ทส. และ ศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จของจังหวัด

ข้อเสนอขอจัดตั้งใหม่ 3 หน่วยงาน ปัจจุบัน ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและอัตรากำลังที่จะรองรับบทบาทภารกิจใหม่ในอนาคต ข้อเสนอขอจัดตั้งใหม่ 3 หน่วยงาน ปัจจุบัน ลจป. = ๖๑ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขรก. = 19๑๒ พรก. = 5๓๒ ลจป. = ๖๑ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขรก. = 19๑๒ พรก. = 5๓๒ ส่วนกลาง ส่วนกลาง - กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ขรก. = ๗/ พรก. = 6 กลุ่มตรวจสอบภายใน ขรก. = 9/ พรก. = ๕ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ขรก. = ๙ - กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ขรก. = ๗/ พรก. = 6 กลุ่มตรวจสอบภายใน ขรก. = 9/ พรก. = ๕ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ขรก. = ๙ ขรก. - ๒๐ กองการบิน พรก. - ๓๓ ขรก. - ๒๐ ลจป. - ๑๕ ขรก. - 6๕ กองการบิน กองกลาง กองกลาง ขรก. - 6๕ พรก. - 5๕ ลจป. - ๐๐๐ พรก. - 5๕ พรก. - ๓๓ ลจป. - ๐๐๐ ลจป. - ๑๕ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขรก. - ๒๓ พรก. - ๑๔ กองแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ขรก. - ๒๖ พรก. - ๑๓ ลจป. - ๐๐๐ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขรก. - ๒๓ พรก. - ๑๔ ลจป. - ๐๐๐ กองแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ขรก. - ๒๖ พรก. - ๑๓ ลจป. - ๐๐๐ ลจป. - ๐๐๐ กองกฎหมาย ขรก. - ๑๗ พรก. - ๔ ลจป. - ๐๐๐ กองตรวจราชการ ขรก. - ๒๐ พรก. - ๑๖ ลจป. - ๐๐๐ กองกฎหมาย ขรก. - ๑๗ พรก. - ๔ ลจป. - ๐๐๐ กองตรวจราชการ ขรก. - ๒๐ พรก. - ๑๖ ลจป. - ๐๐๐ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ขรก. - ๒๗ พรก. - ๓๕ ลจป. - ๐๐๐ กองการต่างประเทศ ขรก. - ๑๙ พรก. - ๑๗ ลจป. - ๐๐๐ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ขรก. - ๒๗ พรก. - ๓๕ ลจป. - ๐๐๐ กองการต่างประเทศ ขรก. - ๑๙ พรก. - ๑๗ ลจป. - ๐๐๐ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑ - ๑๖ ขรก. - ๒๘๕ พรก. - ๑๐๘ ลจป. - ๔๖ กองบริหารราชการภูมิภาค ขรก. - XXX พรก. - XXX ลจป. - XXX ขรก. - ๑๓ พรก. - ๑๐ ลจป. - ๐๐๐ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑ - ๑๖ ขรก. - ๒๘๕ พรก. - ๑๐๘ ลจป. - ๔๖ สถาบันพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองพัฒนาบุคลากร ขรก. - XXX พรก. - XXX ลจป. - XXX กองบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ขรก. - 20 * พรก. - 8 * ลจป. - XXX ส่วนภูมิภาค สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (๗๖ จังหวัด) พรก. - ๒๑๓ ลจป. - ๐๐๐ ขรก. - ๑๓๕๔ ส่วนภูมิภาค สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (๗๖ จังหวัด) พรก. - ๒๑๓ ลจป. - ๐๐๐ ขรก. - ๑๓๕๔ เปลี่ยนชื่อ คงเดิม ตัดโอน ข้อมูล ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ * เป็นอัตรากำลังในการสนับสนุนกองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจ และเปลี่ยนชื่อ จัดตั้งใหม่ ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจ

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 1 : ด้านโครงสร้าง 1.1 งานเชื่อมโยงและประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นการบูรณาการงานระหว่าง Function และ Area 1.2 งานด้านการประสานดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ/อำนวยการ ให้ประชาชนในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท/ข้อร้องเรียน ปรับปรุงโครงสร้างให้มีความเชื่อมโยงระหว่างระดับนโยบายจากส่วนกลางไปสู่ระดับภาค ภูมิภาค และระดับพื้นที่ โดยจัดตั้งกองบริหารราชการภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนงานในพื้นที่ทั้งในส่วนของการกำกับและการปฏิบัติ โดยแบ่งการบริหารด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค เป็น 6 ฝ่าย ตามกรอบภาคที่ สศช. กำหนดและทำหน้าที่ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะ และประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัด สป.ทส. ในพื้นที่ รวมทั้งบูรณาการและขยายผลการดำเนินงานโครงการพระราชดำริให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ (ข้อ 1.1) กำหนดให้ส่วนติดตาม ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนแยกออกมาจาก กตร. และยกระดับให้เป็นกองบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ เนื่องจาก สป.ทส. จำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางในระดับกองเพื่อประสานหน่วยงานกรมสังกัด ทส. ทสจ. และ สสภ. รวมถึงหน่วยงานนอกสังกัด ทส. เพื่อให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหา ข้อพิพาท ข้อร้องเรียนร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของประชาชน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับประชาชน ซึ่งเป็นไปโดยสอดคล้องกับนโยบายของ ทส. และรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม (ข้อ 1.2) นำส่วนงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนบุคคล มารวมกันเป็นหน่วยงานเดียว (ข้อ 1.2) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านโครงสร้าง 1) งานเชื่อมโยงและประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นการบูรณาการงานระหว่าง Function และ Area (จัดตั้งกองบริหารราชการภูมิภาค) 2) งานด้านการประสานดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ/อำนวยการ ให้ประชาชนในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท/ข้อร้องเรียน (จัดตั้งกองบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์)

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 1 : ด้านโครงสร้าง 1.3 งานด้านการดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 1.4 งานด้านบุคลากร เพิ่มส่วนบำรุงรักษาอากาศยาน เพื่อการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง รักษาอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ (ข้อ 1.3) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการบิน (ภาค) จำนวน 4 แห่ง ภายใต้ส่วนสนามบิน เพื่อเป็นศูนย์รวมผลความเป็นเอกภาพในการบริหารงาน สามารถจัดพนักงานเจ้าหน้าที่ทดแทนกันได้ (ข้อ 1.3) จัดตั้งกองพัฒนาบุคลากร ในสังกัด สป.ทส. และมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกระทรวง เป็นหน่วยงาน Cluster วิเคราะห์แผนงาน โครงการ และงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรภาพรวมของกระทรวง เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรกระทรวงมีเอกภาพ (ข้อ 1.4) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านโครงสร้าง 3) งานด้านการดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (เพิ่มส่วนบำรุงรักษาอากาศยาน) 4) งานด้านการดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการบิน (ภาค)) 5) งานด้านบุคลากร (จัดตั้งกองพัฒนาบุคลากร)

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.1 งานด้านยุทธศาสตร์และแผนงาน ปรับปรุงหน่วยงานให้สามารถดำเนินการรองรับนโยบาย THAILAND 4.0 ให้พร้อมอำนวยความสะดวกให้ทุกหน่วยงานภายใน สป.ทส. อาทิ จัดทำระบบติดตามข้อสั่งการของผู้บริหาร (e-monitoring) เพื่อเป็นเครื่องมือในการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน โดยให้สามารถรายงานได้ผ่านทาง website และช่องทางต่างๆ เช่น Mobile หรือ Web Application เพื่อให้การติดตามรายงานผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ (ข้อ 2.1) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 1) งานด้านยุทธศาสตร์และแผนงาน

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.2 งานด้านการกำหนดนโยบาย ท่าที และ แนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับบทบาทของ กตป. ให้เป็นหน่วยงานบูรณาการความร่วมมือด้านต่างประเทศของ ทส. โดยใช้กลไกคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างต่างประเทศของ ทส. ในการขับเคลื่อนภารกิจด้านต่างประเทศของ ทส. อย่างมีประสิทธิภาพ (ข้อ 2.2) บูรณาการร่วมกับหน่วยประสานงานกลาง (Focal point) ของกรอบอนุสัญญาและข้อตกลงต่างๆ เพื่อกำกับและติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศ (ข้อ 2.2) เป็นศูนย์กลางข้อมูลความร่วมมือด้านต่างประเทศ พันกรณี และข้อตกลงระหว่างประเทศของ ทส. สำหรับผู้บริหารและหน่วยงานใน ทส. หน่วยงานภาครัฐ และผู้ที่สนใจ (ข้อ 2.2) ปรับปรุงยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงแสวงหาความร่วมมือด้านต่างประเทศ โดยเน้นการดำเนินการตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งระดับพหุภาคีและทวิภาคี มีแผนการดำเนินงานรองรับและถ่ายทอดลงสู่ระดับพื้นที่โดยการบูรณาการกับหน่วยงาน ทส. ในพื้นที่ อาทิ ทสจ. และ สสภ. เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ (ข้อ 2.2) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 2) งานด้านการกำหนดนโยบาย ท่าที และ แนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.3 งานด้านการจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับภาค และการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด จัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ ชี้เป้าพื้นที่วิกฤต และจัดลำดับความสำคัญประเด็นเร่งด่วนในการดูแลรักษา ฟื้นฟู และพัฒนา (ข้อ 2.3) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 3) งานด้านการจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับภาค และการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.4 งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พัฒนาระบบ/กลไก การประสานนโยบาย โดยการนำแนวเขตที่ดินของรัฐ (one map) มาใช้ประกอบการพิสูจน์สิทธิฯ และการเชื่อมโยงข้อมูลและเสริมสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานแบบบูรณาการ (ข้อ 2.4) จัดทำคู่มือกำหนดมาตรฐานและแนวทางการดำเนินงาน เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานให้มีมาตรฐานเดียวกัน (ข้อ 2.4) พัฒนางานด้านการจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ผ่านการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านการอ่าน แปลฯ จัดทำ MOU ร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และฐานข้อมูล รวมทั้งมอบงานบางส่วนให้ภาคส่วนอื่นเป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้การกำกับดูแล ตรวจสอบ และรับรองผลโดยคณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ (ข้อ 2.4) ทบทวน ปรับปรุง มาตรการของ กบร. ให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน (ข้อ 2.4) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 4) งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (พัฒนาระบบ/กลไก) 5) งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (จัดทำคู่มือกำหนดมาตรฐานและแนวทางการดำเนินงาน) 6) งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (พัฒนางานด้านการจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ) 7) งานนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (ทบทวน ปรับปรุง มาตรการ)

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.5 งานการตรวจราชการ ปรับปรุงกระบวนงาน วิธีการ การจัดทำแผนการตรวจราชการให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเชื่อมโยงกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กระทรวง ภายใต้ระบบการตรวจราชการยุคใหม่ (ข้อ 2.5) สร้างการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายใต้สังกัด ทส. ที่รับผิดชอบโครงการตามกลุ่มภารกิจตามแผนการตรวจราชการ ในการจัดทำข้อมูลสนับสนุนในการลงพื้นที่ของผู้ตรวจราชการ และการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ผู้ตรวจราชการได้ให้ไว้ (ข้อ 2.5) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 8) งานการตรวจราชการ (ปรับปรุงกระบวนงาน) 9) งานการตรวจราชการ (สร้างการบูรณาการความร่วมมือ)

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.5 งานการตรวจราชการ (ต่อ) พัฒนาและปรับปรุงระบบการตรวจราชการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยระบบการตรวจราชการยุคใหม่ที่นำแนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวข้องมาใช้ (ประชารัฐ) การบริหารจัดการเชิงพื้นที่และความเสี่ยง มาพัฒนาโครงสร้างเพื่อตอบสนองให้เกิดการบูรณาการราชการและกระบวนการ (ข้อ 2.5) พัฒนาเครื่องมือ กลไก การประสานงาน และติดตามรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ (ข้อ 2.5) สร้างการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายใต้สังกัด ทส. ที่รับผิดชอบโครงการตามกลุ่มภารกิจตามแผนการตรวจราชการ ในการจัดทำฐานข้อมูลกลางด้านการตรวจราชการกระทรวง โดยนำนวัตกรรมมาใช้ (ข้อ 2.5) ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร มีการฝึกอบรมที่ทั่วถึง เพื่อเป็นหลักประกันว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็น เน้นการสร้างความเข้าใจในเป้าหมายปลายทางที่เป็นผลสำเร็จของการตรวจราชการ (ข้อ 2.5) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 10) งานการตรวจราชการ (พัฒนาและปรับปรุงระบบการตรวจราชการ) 11) งานการตรวจราชการ (พัฒนาเครื่องมือ กลไก) 12) งานการตรวจราชการ (สร้างการบูรณาการความร่วมมือ) 13) งานการตรวจราชการ (ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร)

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.6 งานด้านการพิจารณาอนุญาต อนุมัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ สัตว์ป่า เลื่อยโซ่ยนต์ ทรัพยากรน้ำ และน้ำบาดาล 2.7 งานด้านการดำเนินการเพื่อจัดเก็บค่าบริการใช้น้ำบาดาล ปรับปรุงกระบวนงาน การขออนุญาต ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น แบบ One Stop Service ณ ศูนย์บริการร่วม ทส. และศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จของจังหวัด (ข้อ 2.6) ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และนำไปบังคับใช้ได้อย่างเหมาะสม (ข้อ 2.6) พัฒนาระบบ Mobile Application เพื่อสามารถให้บริการที่ครอบคลุมทุกด้านผ่านทาง Smart Phone (ข้อ 2.6) ปรับปรุงกระบวนงานให้เอกชน รับสัมปทานการจดการใช้น้ำ ออกใบแจ้งหนี้ และส่งใบแจ้งหนี้ ให้กับผู้ใช้น้ำบาดาล (ข้อ 2.7) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 14) งานด้านการพิจารณาอนุญาต อนุมัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ สัตว์ป่า เลื่อยโซ่ยนต์ ทรัพยากรน้ำ และน้ำบาดาล 15) งานด้านการดำเนินการเพื่อจัดเก็บค่าบริการใช้น้ำบาดาล

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.8 งานด้านการติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2.9 งานด้านวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและข้อเสนอทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ สถาบันการศึกษา และ/หรือ ว่าจ้างเอกชน ในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ (ข้อ 2.8) บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษาในระดับพื้นที่ (ข้อ 2.9) จัดทำกลไกการประสานงานเพื่อการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ (ข้อ 2.9) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 16) งานด้านการติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม 17) งานด้านวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและข้อเสนอทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.10 งานด้านศูนย์เตือนภัยมลพิษสิ่งแวดล้อมระดับภาค 2.11 งานด้านให้คำปรึกษาแนะนำการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางที่เชื่อมโยงทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อให้การรายงานและจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบเดียวกันทุกภูมิภาค (ข้อ 2.10) พัฒนาระบบ Mobile Application เพื่อสามารถให้บริการข้อมูล/สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านทาง Smart Phone (ข้อ 2.10) พัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บริการและให้คำปรึกษาแนะนำ ผ่าน Application (ข้อ 2.11) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 18) งานด้านศูนย์เตือนภัยมลพิษสิ่งแวดล้อมระดับภาค 19) งานด้านให้คำปรึกษาแนะนำการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.12 งานด้านการดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 2.13 งานการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ้างเอกชนให้ปฏิบัติภารกิจในบางภารกิจ โดยกองการบินจะควบคุมการดำเนินการของผู้รับจ้าง อาทิ ภารกิจสนับสนุนผู้บริหาร หรือการบินที่ไม่ต้องการเทคนิคเฉพาะ (ข้อ 2.12) จัดซื้ออากาศยาน จำนวน 2 ลำ เพื่อปฏิบัติภารกิจด้านการบินและทดแทนอากาศยานที่หมดอายุการใช้งาน (ข้อ 2.12) นำเทคโนโลยีด้านการบิน อาทิ การนำอากาศยานไร้คนขับ (UAV) มาเสริมการปฏิบัติการบินในการปฏิบัติงานตามภารกิจในพื้นที่เสี่ยงภัยหรือมีขีดจำกัด (ข้อ 2.12) พัฒนาประสิทธิภาพองค์กรเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนเพื่อการทำงานแบบประชารัฐ (ข้อ 2.13) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 20) งานด้านการดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 21) งานการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.14 งานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดทำ Enterprise Architecture ของทุกระบบงาน ภายใต้ ทส. โดยการจัดทำ Work Process ของแต่ละกระบวนงานให้เห็น การเชื่อมโยงของการทำงานในระดับ ส่วน กอง สำนัก กรม และระหว่างกรม (ข้อ 2.14) แยกการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ตอบสนองการทำงานของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ การบริหารงานของหน่วยงาน และงานบริการประชาชน (ข้อ 2.14) ปรับเปลี่ยน ผู้บริหาร จากรอง ปลัด รองอธิบดี เป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องสารสนเทศของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาระบบสารสนเทศของหน่วยงานเกิดความต่อเนื่อง (ข้อ 2.14) กำหนดเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี หรือกฎกระทรวง (ข้อ 2.14) แต่ละส่วนราชการไปกำหนดแนวทางของตัวเองให้สอดคล้องกับบริบทของพันธกิจของหน่วยงาน (ข้อ 2.14) ก.พ. และ กพร. เป็นหน่วยงานที่ต้องไปกำหนดให้ชัดเจน (ข้อ 2.14) กำหนดให้เป็นตัวชี้วัดระดับบุคคล (ข้อ 2.14) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 22) งานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.15 งานการใช้อากาศยานปฏิบัติงานด้านการบิน เพื่อสนับสนุนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.16 งานปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต พัฒนาโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ติดตั้ง GPS tracking) มาประยุกต์ใช้ในการวางแผน ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติการบิน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (ข้อ 2.15) เน้นการบูรณาการระหว่างส่วนราชการ ที่มีภารกิจด้านการบินเกี่ยวเนื่องกัน เช่น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (ข้อ 2.15) ให้คำแนะนำ ร่วมเป็นหนึ่งในเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ข้อ 2.16) ให้ดำเนินภารกิจทั้งการป้องกัน ปราบปราม แก้ไขการทุจริตคอร์รัปชั่น และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมข้าราชการไปพร้อมกัน เป็นการบูรณการงานต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นกับงานคุ้มครองจริยธรรม (ข้อ 2.16) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 23) งานการใช้อากาศยานปฏิบัติงานด้านการบินเพื่อสนับสนุนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 24) งานปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.17 งานด้านบุคลากร (แต่งตั้งโยกย้าย) 2.18 งานประชาสัมพันธ์ จัดทำแผนงานบริหารบุคคลและระยะเวลาดำเนินการ โดยการจัดทำวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งและเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path) ในตำแหน่งที่ชัดเจน (ข้อ 2.17) เพิ่มช่องทางการสร้างความรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนของหน่วยงาน (ข้อ 2.18) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 25) งานด้านบุคลากร (แต่งตั้งโยกย้าย) 26) งานประชาสัมพันธ์

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 2 : ด้านกระบวนงาน 2.19 งานตรวจสอบภายใน 2.20 งานบริการร่วม มุ่งสู่การประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าของกระบวนการปฏิบัติงาน ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าและความสำเร็จแก่องค์กร โดยมีการตรวจสอบที่ครอบคลุมทุกประเภท ดังนี้ การตรวจสอบทางการเงิน (Financial Auditing) การตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Auditing) การตรวจสอบการบริหาร (Management Auditing) การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance Auditing) การตรวจสอบระบบงานสารสนเทศ (Information System Auditing) การตรวจสอบพิเศษ (Special Auditing) (ข้อ 2.19) ให้บริการประชาชน ตามมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (Government Easy Contact Center : GECC ) รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานขั้นสูงศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ (ข้อ 2.20) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของบุคลากร เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง (ข้อ 2.20) ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้มีบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และใช้ Smart Card Reader แทนการเรียกสำเนาเอกสารจากประชาชน (ข้อ 2.20) ปรับปรุงกระบวนงาน มีช่องทางให้ประชาชนสามารถยื่นคำขออนุมัติ อนุญาตแบบ One Stop Service ณ ศูนย์บริการร่วม ทส. และ ศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จของจังหวัด (ข้อ 2.20) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกระบวนงาน 27) งานตรวจสอบภายใน 28) งานบริการร่วม

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 3 : ด้านกฎหมาย 3.1 งานด้านกฎหมาย สร้างกลไกให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายต่างๆ โดยสะดวกและเข้าใจกฎหมายได้ง่าย รวมทั้งการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของกฎหมาย คำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือการตีความกฎหมาย ให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก (ข้อ 3.1) สร้างความเข้าใจกับผู้รักษาการตามกฎหมาย เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมาย พันธกรณีระหว่างประเทศ และหลักสากล (ข้อ 3.1) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายได้โดยสะดวก เพื่อลดค่าใช้จ่ายและขจัดช่องทางการทุจริตประพฤติมิชอบ (ข้อ 3.1) ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความรู้ความเข้าใจ และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม (ข้อ 3.1) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านกฎหมาย 1) งานด้านกฎหมาย

สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.2 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของกรม (To-Be) แบบฟอร์ม 2.2.3 ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนในระยะ 3 ปี ของ สป.ทส. ประเด็นการปรับปรุง แนวทางการพัฒนา ภารกิจ 4 : ด้านบุคลากร 4.1 งานปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต 4.2 งานพัฒนาระบบบริหาร 4.3 งานบริหารจัดการพัสดุ 4.4 งานบริหารการคลัง ขออัตรากำลังเพิ่มใหม่เป็นข้าราชการ 5 อัตรา (ข้อ 4.1) พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงขึ้น (ข้อ 4.2) กำหนดวิธีสร้างแรงจูงใจเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ (ข้อ 4.2) จัดฝึกอบรมบุคลากร (ข้อ 4.3) จัดฝึกอบรม (ข้อ 4.4) กระจายงานภายในและมอบหมายงานให้ชัดเจน (ข้อ 4.4) ข้อเสนอการปรับเปลี่ยน ประเด็นการปรับปรุง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) หมายเหตุ 2562 2563 2564 Q1 Q2 Q3 Q4 ด้านบุคลากร 1) งานปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (เพิ่มอัตรากำลัง) 2) งานพัฒนาระบบบริหาร (พัฒนาบุคลากร) 3) งานบริหารจัดการพัสดุ (พัฒนาบุคลากร) 4) งานบริหารการคลัง (พัฒนาบุคลากร) หมายเหตุ : 1. ให้ส่วนราชการระบุประเด็นการปรับปรุงภายใต้หัวข้อ 4 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง/กระบวนงาน/กฎหมาย/บุคลากร (ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกด้าน ขึ้นกับบริบทของแต่ละส่วนราชการ) หากมีด้านอื่น ๆ นอกเหนือข้างต้น ให้ระบุชื่อด้านและประเด็นการปรับปรุงให้ชัดเจน 2. เป็นข้อมูลที่จะนำไปวิเคราะห์ในภาพกระทรวง ในหัวข้อ 1.4.2 และ 1.5 3. สำหรับประเด็นการปรับปรุงที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ให้ส่วนราชการจัดทำ Action Plan เป็นเอกสารแนบ ส่งสำนักงาน ก.พ.ร. ในรอบการประเมินที่ 2 เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผลต่อไป

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ ๓ ภาคผนวก

แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ : ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก : ข้อมูลพื้นฐานกรม........................ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ หน้าที่และอำนาจ (ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรมฯ) เป้าประสงค์/ กลยุทธ์/ งบประมาณ กฎหมายที่สำคัญ โครงสร้างและอัตรากำลัง

สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.1 : ข้อมูลพื้นฐานกรม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิสัยทัศน์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศในการเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน พันธกิจ กำกับ ดูแล ควบคุม สนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่อย่างสมดุลและยั่งยืน ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และบูรณาการความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกระดับ พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงรุก ประเด็นยุทธศาสตร์ สงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างบูรณาการที่ตอบสนองต่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม กำกับ ดูแล และควบคุมการบริหารจัดการน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ส่งเสริม สนับสนุน การเตรียมความพร้อมและรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาระบบบริหารและจัดการองค์กรอย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.1 : ข้อมูลพื้นฐานกรม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน้าที่และอำนาจ 1. เสนอความเห็นและคำแนะนำในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง 2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง รวมทั้งแปลงนโยบายเป็นแนวทาง และแผนการปฏิบัติงาน 3. จัดสรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวง เพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่าและสมประโยชน์ 4. ประสานการปฏิบัติงาน รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการ และดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง 5. กำหนดนโยบาย ท่าที และแนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง 7. กำหนดยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังและทดสอบตัวอย่างสิ่งแวดล้อม รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม ให้บริการข้อมูลสารสนเทศ และให้คำปรึกษาแนะนำการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.1 : ข้อมูลพื้นฐานกรม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน้าที่และอำนาจ (ต่อ) 8. ดำเนินการ รวมทั้งประสานงานและสนับสนุนการดำเนินการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ 9. ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ 10. ปฏิบัติงานด้านการบินและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11. ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย พัฒนาปรับปรุงกฎหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานด้านนิติกรรมและสัญญา งานคดีต่างๆ ที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง 12. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

แบบฟอร์ม 3.2 : ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.2 : ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ สงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างบูรณาการที่ตอบสนองต่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม กำกับ ดูแล และควบคุมการบริหารจัดการน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายได้รับการจัดการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินของรัฐอย่างเป็นธรรม กลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์จากการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับดูแลติดตามและตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีผลบังคับทั่วถึงเท่าเทียมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ พัฒนาประสิทธิภาพ ติดตามเฝ้าระวัง เตือนภัย คุ้มครอง อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เฝ้าระวัง ดูแล รักษา ติดตาม กำกับตรวจสอบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสนับสนุนการดำเนินภารกิจให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร พัฒนาระบบบริหารจัดการพิบัติภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

แบบฟอร์ม 3.2 : ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.2 : ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ 3. รักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 4. ส่งเสริม สนับสนุน การเตรียมความพร้อมและรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3. พื้นที่เป้าหมายได้รับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากการบริหารและอำนวยการอย่างเท่าเทียม 6. พัฒนาเพิ่มขีดสมรรถนะของบุคลากร และองค์กรในการบริหารและการให้บริการ 7. พัฒนาบทบาทและความสามารถการประสานงานการดำเนินภารกิจในเวทีระหว่างประเทศให้มีความชัดเจนและเข้มแข็ง 8. ปรับปรุงโครงสร้างกลไกการจัดการ และระเบียบปฏิบัติให้มีคุณภาพและความคล่องตัวในการดำเนินภารกิจ 9. สนับสนุนระบบการประเมินและการกำกับดูแลองค์กรโดยยึดหลัก ธรรมาภิบาล 10. พัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสนับสนุนการดำเนินภารกิจให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร 11. เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็งและบรรยากาศในการทำงานที่เอื้ออำนวยต่อการร่วมมือกันขับเคลื่อน

แบบฟอร์ม 3.2 : ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.2 : ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ 5. พัฒนาระบบบริหารและจัดการองค์กรอย่างมี ธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 12. ปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการให้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงงานเพื่อร่วมทุนกับภาคีเครือข่ายในทุกระดับ 13. เปิดช่องทางในการรับข้อมูลป้อนกลับเพื่อพัฒนาคุณภาพการอำนวยการและการให้บริการ 14. พัฒนาองค์ความรู้ ระบบสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการอำนวยการและการให้บริการ 15. สร้างจิตสำนึกสาธารณะให้แก่ประชาชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และร่วมกันจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ กฎหมายที่สำคัญ ลำดับที่ กฎหมายที่สำคัญ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 3 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไข 4 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5 พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 6 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 7 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 8 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 9 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 10 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 11 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 12 พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 13 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการและวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 14 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548

แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ กฎหมายที่สำคัญ (ต่อ) ลำดับที่ กฎหมายที่สำคัญ 15 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 16 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการและการจัดประชุมของทางราชการ พ.ศ. 2524 17 ระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 18 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 19 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขออนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 20 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 21 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 22 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 23 ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน พ.ศ. 2546 24 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 25 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 26 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2549 27 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุว่าด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549

แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ กฎหมายที่สำคัญ (ต่อ) ลำดับที่ กฎหมายที่สำคัญ 28 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 29 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา พ.ศ. 2551 30 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 31 ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 32 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2551 33 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ กฎหมายที่สำคัญเฉพาะด้าน ลำดับที่ กฎหมายที่สำคัญ 1 พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4 พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) 5 พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 6 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2515 7 พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 8 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 9 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 10 พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 11 พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 12 พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 13 พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 14 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 90/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สั่ง ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2557

แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ กฎหมายที่สำคัญเฉพาะด้าน (ต่อ) ลำดับที่ กฎหมายที่สำคัญ 15 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 16 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 9/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สั่ง ณ วันที่ 7 มีนาคม 2559 17 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ สั่ง ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2559 18 พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 19 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 20 พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 21 พระราชกฤษฎีกาโอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงอำนาจหน้าที่และกิจการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2546 22 กฎกระทรวง ว่าด้วยกลุ่มภารกิจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 23 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2554 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 24 ระเบียบสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการมอบอำนาจและการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ. 2553

แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.2 : กฎหมายที่สำคัญ กฎหมายที่สำคัญเฉพาะด้าน (ต่อ) ลำดับที่ กฎหมายที่สำคัญ 25 ระเบียบสวัสดิการภายในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2556 26 ระเบียบว่าด้วยการเงินและบัญชีของเงินกองทุนสวัสดิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2556 27 มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับความตกลง การทำอนุสัญญา และสนธิสัญญาต่างๆ และการรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ 28 มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานภายในของส่วนราชการ

สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก แบบฟอร์ม 3.3 : โครงสร้างและอัตรากำลัง อัตรากำลัง ข้าราชการ 1,912 พนักงานราชการ 532 ลูกจ้างประจำ 61 งบประมาณ : 1,681.8161 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2561) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มตรวจสอบภายใน (9/5/0) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (7/6/0) ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (9/0/0) กองกลาง ขรก. 78 พรก. 65 ลจป. 0 กองกฎหมาย ขรก. 15 พรก. 4 ลจป. 0 กองการต่างประเทศ ขรก. 19 พรก. 17 ลจป. 0 กองการบิน ขรก. 20 พรก. 33 ลจป. 16 กองแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ขรก. 26 พรก. 13 ลจป. 0 กองตรวจราชการ ขรก. 25 พรก. 19 ลจป. 0 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ขรก. 27 พรก. 35 ลจป. 0 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขรก. 23 พรก. 14 ลจป. 0 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 - 16 ขรก. 285 พรก. 108 ลจป. 46 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 75 จังหวัด ขรก. 1,354 พรก. 213 ลจป. 0 ข้อมูล ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561

ยึดหลักการทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นหน่วยงานที่เข้าถึงง่าย ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง : 1.4 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และภารกิจของกระทรวงในอนาคต แบบฟอร์ม 1.4.1 Value Proposition Statement ของ สป.ทส. 06 พ.ค. 62 ยึดหลักการทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นหน่วยงานที่เข้าถึงง่าย มีฐานข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยใช้งานได้จริง โปร่งใสตรวจสอบได้ ให้ส่วนราชการกำหนด Value Proposition ของกระทรวง โดยระบุรายละเอียดให้ชัดเจนถึงสิ่งที่กระทรวงจะนำเสนอคุณค่าขององค์การต่อประชาชนและประเทศชาติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การ และสอดรับกับการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.1 ความเชื่อมโยงภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับนโยบายที่สำคัญของประเทศ แผนระดับชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เช่น วาระการปฏิรูปประเทศ (37 วาระ) แผนแม่บท หรือ แผนยุทธศาสตร์ระดับประเทศ เป็นต้น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ (แผนฯ 12 ปี 60-64) นโยบายรัฐบาล นโยบายสำคัญอื่นๆและข้อสั่งการรัฐมนตรี ประเทศไทย 4.0 5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (1) จัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ (2) วางระบบบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพทั้ง 25 ลุ่มน้ำ เน้นการปรับระบบการบริหารจัดการอุทกภัยอย่าง บูรณาการ (3) การพัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (4) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (5) การร่วมลดปัญหาโลกร้อนและปรับตัวให้พร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (6) การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และนโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม มาตรา 57 (2) มาตรา 58 - ทรัพยากรทางบก - ทรัพยากรน้ำ - ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง - ความหลากหลายทางชีวภาพ - สิ่งแวดล้อม - ระบบบริหารจัดการด้าน ทส. 1. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals. SDGs) เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันให้มีน้ำใช้ และมีการบริหารจัดการน้ำและการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มี รูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จาก มหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน การต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้ง การเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นฟูสภาพดินและหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 2. แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 – 2593 เป้าหมายประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมีการเติบโตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. ประเด็นปฏิรูปประเทศ (37 วาระ) วาระที่ 1, 11, 21, 25, 26, 28 4. นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2558 – 2564 นโยบายที่ 11 รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ.2560 – 2579) เป้าหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ที่เกิดประโยชน์สูงสุด สมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ 6. นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 เป้าหมายประเทศไทยมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สมดุลและยั่งยืนและเป็นสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 7. แผนแม่บท แก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 8. แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2560 – 2564 เป้าหมายอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และมุ่งสู่การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 9. แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ.2558 – 2564 เป้าหมายประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องปรองดองกับธรรมชาติ โดยรัฐบาลและทุกภาคส่วนร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 10. แผนแม่บทบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 11. ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี และแผนจัดการมลพิษ 2560 – 2564 12. แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ.2559 – 2564 1. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) การประเมินผลและรายงาน EIA EHIA และ COP การส่งเสริมสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการและควบคุมมลพิษ การสร้างจิตสำนึกและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่าย ทสม. 2. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ การจัดทำข้อมูลและสถานการณ์ป่าไม้แสดงบนแผนที การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียวที่สอดคล้องกับข้อมูลพื้นที่และพื้นที่สีเขียวในจังหวัด การอนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ การยกเลิกด่านป่าไม้ การส่งมอบพื้นที่ป่าระหว่าง ปม. และ อส. ไม้ของกลาง การส่งเสริมเรือน เพาะชำกล้าไม้ตำบล/ชุมชน ป่าชุมชน (21,850 หมู่บ้าน/19.1 ล้านไร่) ป่าเศรษฐกิจ การทำหน้าที่งานด้านป่าไม้ในระดับจังหวัดของกรมป่าไม้ การพัฒนาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในเมืองเพื่อความสุขของคนไทย การป้องกัน เกื้อกูลระหว่างคน ชุมชน และสัตว์ป่า ชุมชนหวงแหนและสามารถอยู่ร่วมกับป่า “ป่ามีคน ชุมชนมีป่า” ในพื้นที่อนุรักษ์ (2,700 หมู่บ้าน /5.9 ล้านไร่) การยกระดับอุทยานแห่งชาติ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทรัพยากรแร่ เครือข่ายทรัพยากรป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ 3. นโยบายด้านน้ำ ฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำ การพัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำบาดาล การเติมน้ำลงใต้ดิน/ธนาคารน้ำใต้ดิน 4. นโยบายการบริหารจัดการ เป้าหมายหน่วยงาน การบริหารบุคลากร และ Career Path การพัฒนาบุคลากรและการจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากร (สู่มิติอนาคต) การประชาสัมพันธ์และสื่อสารสู่สังคม ระบบและข้อมูลเพื่อการบริหารวางแผน และบริการประชาชน ความร่วมมือระหว่างประเทศ ให้บูรณาการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสื่อ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จเพื่อบริการประชาชน ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ การทบทวนกฎหมาย/มติ ครม. /ประกาศกระทรวง/ระเบียบและกฎหมายลำดับรองของ พรบ. ที่บังคับใช้แล้ว การป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน ความโปร่งใสและความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณ 4. การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 1 รักษา และฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติ เป้าหมายที่ 2 สร้างความมั่นคงด้านน้ำ และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ให้มีประสิทธิภาพ เป้าหมายที่ 3 สร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ เป้าหมายที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการลดก๊าซเรือนกระจกและขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากสาธารณภัยลดลง 9. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (1) ในระยะเฉพาะหน้า เร่งปกป้องและฟื้นฟู พื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ จัดทำแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่เอกชน เพื่อลดแรงกดดันในการตัดไม้จากป่าธรรมชาติ (2) ในระยะต่อไป พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดินและแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐโดยยึดแนวพระราชดำริที่ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันกับป่าได้ เช่น การกำหนดเขตป่าชุมชนให้ชัดเจน บริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้เป็นเอกภาพในทุกมิติทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จัดให้มีแผนบริหารน้ำของประเทศ เพื่อให้การจัดทำแผนงานไม่เกิดความซ้ำซ้อนมีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบเร่งรัดการควบคุมมลพิษทางอากาศ ขยะ และน้ำเสียที่เกิดจากการผลิตและบริโภค ในพื้นที่ใดที่สามารถจัดการขยะมูลฝอย โดยการแปรรูปเป็นพลังงานก็จะสนับสนุนให้ดำเนินการ ส่วนขยะอุตสาหกรรมนั้นจะวางระเบียบมาตรการเป็นพิเศษ โดยกำหนดให้ทิ้งในบ่อขยะอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นแบบมีมาตรฐาน และพัฒนาระบบตรวจสอบไม่ให้มีการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อ และใช้มาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด (4) บริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยให้เป็นเอกภายในทุกมิติทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จัดให้มีแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศและมีกระบวนการบูรณาการแผนงานและงบประมาณร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจัดตั้งหรือกำหนดกลไกในการบริหารจัดการน้ำพร้อมทั้งมีการนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้ในระบบของการบริหารจัดการน้ำและการเตือนภัย ระบบเศรษฐกิจที่สามารถปรับสภาพตามภูมิอากาศควบคู่ไปกับสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเต็มรูปแบบ เปลี่ยนกระบวนทัศน์สู่การพัฒนาที่สมดุลตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนจาก Traditional Services ไปสู่ High Value Services ทส. 4.0 (1) ปรับเปลี่ยนบทบาทจากหน่วยงานปฏิบัติ (Operator) เป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) (2) การสร้างบุคลากรยุคใหม่และเตรียมความพร้อมขององค์กรและบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่บริบทของโลกที่ เปลี่ยนไป (เปลี่ยน mind set ในการทำงาน) (3) เพิ่มประสิทธิภาพและช่องทางในการอำนวยความสะดวกการบริการประชาชน (4) เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใสใน องค์กร (5) สร้างเสริมการมีส่วนร่วมและเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ (6) การพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลระดับพื้นที่ เช่น ระดับจังหวัด (7) พัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น Software Application (8) บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรในหน่วยงานอย่างคุ้มค่า (ลดการใช้กระดาษ ลดพลังงาน) (9) สร้างระบบการเข้าถึงและเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ รัฐธรรมนูญ 2560 แผนปฏิรูปประเทศด้าน ทส. “ยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)” 1 2 3 4 5 6 การจัดการป่าไม้และ ความหลากหลายทางชีวภาพ การบริหารจัดการน้ำ การจัดการขยะมูลฝอย การส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ การพัฒนาระบบบริหารจัดการและองค์กร 1. ด้านป่าไม้ ป้องกันพื้นที่ป่าไม้ เพิ่มพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียวเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ 2. ด้านทรัพยากรชายฝั่งทะเล เพิ่มความสมบูรณ์ของแนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล และระบบนิเวศทางทะเล 3. ด้านอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบริการระบบนิเวศให้กับประชาชนและชุมชนท้องถิ่น/แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติมีคุณภาพและมาตรฐานในการบริการการท่องเที่ยวระดับสากล 4. ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ลดอัตราการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ 5. ด้านสัตว์ป่า จำนวนและชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่ามีความสมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่/สัตว์ป่าชนิดที่หายากใกล้สูญพันธุ์ได้รับการฟื้นฟู 6. ด้านการจัดการที่ดิน บริหารจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมและที่ดินอื่นๆ เพื่อให้ ชุมชนอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 7. ด้านทรัพยากรธรณี กำหนดเขตพื้นที่การทำเหมืองแร่ บนหลักพื้นฐานศักยภาพแร่ และการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน E15 แหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างพอเพียง ปริมาณน้ำสะอาดเพียงพอกับการอุปโภคบริโภค สิ่งแวดล้อมได้รับการจัดการให้มีคุณภาพดีตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชนซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการรับรองทุกประเภท ประชาชนเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น D11D15 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กรและ พัฒนาการบริหารจัดการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สามารถใช้เป็นกรอบการกำหนดทิศทางการพัฒนาในทุกพื้นที่และทุกมิติ เพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนากลไก ขีดความสามารถในการลดก๊าซ เรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากสาธารณภัยลดลง

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม POLITICAL 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐและสิทธิของประชาชนที่ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ชัดเจน ดังนี้ มาตรา 57 รัฐต้อง (2) อนุรักษ์ คุ้มครอง บํารุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุล และยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดําเนินการและได้รับประโยชน์ จากการดําเนินการดังกล่าวด้วย ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 58 การดําเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดําเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสีย สําคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้องดําเนินการให้มีการศึกษา และประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนํามาประกอบการพิจารณา ดําเนินการหรืออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คําชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการดําเนินการ หรืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ในการดําเนินการหรืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง รัฐต้องระมัดระวังให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุด และต้องดําเนินการให้มีการเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ประชาชนหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม POLITICAL รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามมาตรา 65 ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่ง 1 ใน 6 ด้าน ได้กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งตราพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และในขั้นปฏิบัติให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในทุกระยะ 5 ปี กำหนดให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรอบในการขับเคลื่อนให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยในปัจจุบันอยู่ในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่กำหนดให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและมีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม 2) สร้างความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ 3) บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และลดมลพิษให้มีคุณภาพดีขึ้น และ 4) พัฒนาขีดความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรับมือกับภัยพิบัติ ส่งผลให้ประเทศไทยมีเป้าหมายและมาตรการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปประเทศตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 258 ด้วยการตราพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.2560 และแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ซึ่ง 1 ใน 11 ด้าน เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่จัดทำแผนการปฏิรูปประเทศและดําเนินการให้เป็นไปตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสนอคณะรัฐมนตรี ส่งผลให้มีประเด็นสำคัญเร่งด่วนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นรูปธรรม

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม POLITICAL นโยบายรัฐบาลที่สำคัญด้านอื่นๆ ทั้ง ด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร ด้านพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการป้องกันพิบัติภัย ด้านความมั่น ด้านการพัฒนาศักยภาพคน และด้านป้องกันการทุจริต ทั้งที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ จะมีประเด็นสำคัญที่จะต้องบูรณาการการดำเนินงานให้สอดรับกับประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายเดียวกันของการพัฒนาประเทศ วาระแห่งชาติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การบริหารจัดการขยะมูลฝอย การบริหารจัดการน้ำ จะมีส่วนที่นำไปสู่การปรับปรุงหรือพัฒนากฎหมาย ปรับกระบวนทัศน์ในการทำงาน และการจัดตั้งองค์กรหลักที่รับผิดชอบขึ้นใหม่ องค์กรระหว่างประเทศ ทั้งระดับอาเซียนและระดับโลกให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยมีการกำหนดเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์การดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน เช่น ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมอาเซียน เป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนหรือ Sustainable Development Goals: SDGs รวมถึงกรอบอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ประเทศจะต้องดำเนินการในฐานะภาคีสมาชิก มีกฎหมายเฉพาะซึ่งสามารถครอบคลุมภารกิจทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านทรัพยากรน้ำ แต่อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นที่ต้องทำการทบทวนเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ตามภารกิจการถ่ายโอนยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอและไม่ต่อเนื่อง ด้วยข้อจำกัดของขอบเขตอำนาจตามกฎหมายและการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในระดับท้องถิ่น

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ECONOMIC ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรน้ำ ถือว่าเป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่สำคัญ ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ การเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการรวมตัวของ ASEAN จะช่วยยกระดับการบริหารจัดการและเสริมสร้างความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเพื่อเชื่อมต่อระบบ Logistic กับประเทศเพื่อนบ้านและสู่ภูมิภาคอื่นๆ จะส่งผลให้เกิดความต้องการการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ น้ำและน้ำบาดาล รวมทั้งสร้างมลพิษและความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการอพยพย้ายถิ่นของมนุษย์และการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น การแข่งขันด้านการค้าในเวทีโลกเสรีมีแนวโน้มที่จะนำประเด็นการไม่ดำเนินการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามพันธกรณีต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ระบบภาษี หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP) ที่เสนอโดยองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) ให้นำมาผนวกเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนและราคาสินค้าและบริการดังกล่าวสูงขึ้น และทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนอันจะเป็นผลดีต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงบทบาทของบริการจากระบบนิเวศ (Ecosystem Services) ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง ในทุกขั้นตอนของการผลิตและจำหน่าย ยังไม่มีการนำมาใช้ให้เป็นรูปธรรมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยเชิงลึก ในเรื่องของการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยระบบนิเวศระยะยาว และการวิจัยพัฒนาต่อยอดเชิงเศรษฐกิจ การเก็บรักษาทรัพยากรพันธุกรรม (DNA) การป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณค่า การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อพิสูจน์แหล่งกำเนิด และการใช้กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อรับมือต่อการใช้ทรัพยากรชีวภาพที่จะเพิ่มมากขึ้นในการผลิตสินค้าเชิงอุตสาหกรรมประเภท อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ ยาและเวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง ฯลฯ ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นในตลาดโลกและเป็นเป้าหมายการพัฒนาธุรกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รวมทั้งประเทศไทย

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ECONOMIC ประเทศไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภูมิภาคที่เอื้อต่อการค้าพืชป่าและสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ประกอบประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการจำนวนมากการบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้เกิดการลักลอบ (ไม่แก้ก็ได้ค่ะ เพราะ ปม./อส. อาจมีมุมที่จะปฏิรูปเรื่องนี้) แผนหรือโครงการการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกด้านไม่ว่าจะเป็น การพาณิชย์ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การเกษตร พลังงาน และการคมนาคม มักจะระบุว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีพของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ยังปรากฏผลกระทบดังกล่าวอย่างชัดเจน

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม SOCIAL การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลทำให้เกิดความสูญเสียด้านองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และมีแนวโน้มการลดลงของศักยภาพและความรวดเร็วในการใช้แรงงานเนื่องจากการจ้างงานผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยในการถ่วงดุลระหว่างโครงการพัฒนาขนาดใหญ่กับความมั่นคงและยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคุณภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ที่ให้เจ้าของโครงการเป็นผู้จ่ายและจ้างดำเนินการศึกษาประเมิน และรัฐโดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจ กำลังมีปัญหาการคัดค้าน เกิดปัญหาความขัดแย้งของภาคประชาชน ที่ไม่เชื่อมั่นในเครื่องมือ และกลไก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะประชาชน ชุมชน และประชาคมในพื้นที่ที่ต้องการพัฒนา กระแสด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ทำให้โอกาสในการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมทั้งในประเทศกับนานาชาติ มีมากหรือง่ายขึ้น มีเครือข่ายอาสาสมัครด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทสม.) ในทุกพื้นที่พร้อมที่จะบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นสังคมเมืองเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการในการบริโภคทรัพยากร โดยเฉพาะการใช้น้ำและน้ำบาดาลเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันการก่อมลพิษ โดยเฉพาะน้ำเสียและปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง : ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น การสร้างเครือข่ายประชาชน เพื่อการมีส่วนร่วม : บูรณาการการทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน และภาคประชาชน ภัยพิบัติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประชาชนต้องการให้ความช่วยเหลือที่ทันเหตุการณ์ ความขัดแย้งและการแย่งชิงการใช้ทรัพยากรเพื่อความเป็นอยู่ที่ดียังปรากฏเหตุการณ์อยู่เสมอ จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกระบวนการในการแบ่งปันและเข้าถึงอย่างเป็นธรรม การเปิดเสรีด้านแรงงาน ทำให้มีแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศจำนวนมาก ส่งผลต่อการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) ที่มีผลกระทบต่อการทำงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม TECHNOLOGY การเชื่อมต่อของโลกในระบบโครงข่ายไร้สายและเครื่องมือในการสื่อสาร ทำให้มีข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ตปริมาณมากหรือเรียกว่า Big Data ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่รับผิดชอบก็มีจำนวนมากเช่นกันซึ่งต่างคนต่างเก็บและไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการข้อมูลเหล่านี้ให้มีความปลอดภัย ไม่ซ้ำซ้อน น่าเชื่อถือ และทันสมัย เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานบริหารจัดการ การศึกษา การพัฒนา และการเข้าถึงของประชาชน จากแหล่งเดียว Social media ทุกชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือการสร้างให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ เทคโนโลยีสีเขียว และเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสมัยใหม่ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีมาก จำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย การศึกษาวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีงบประมาณสนับสนุนตั้งไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งผลงานวิจัยที่ผ่านมามีการนำมาใช้โดยหน่วยงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่มากนัก อาจจะเนื่องมาจากการบริหารการวิจัยและการกำหนดประเด็นการวิจัยไม่ตรงกับความต้องการ เทคโนโลยีดิจิตอลมีความก้าวหน้าไปมากและมีราคาที่ถูกลง เช่น Visual Reality: VR ควรที่จะได้ทำการศึกษาและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละภารกิจ

จุดแข็ง แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดแข็ง) จุดแข็ง แนวทางการพัฒนา ด้านโครงสร้าง : เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี สป.ทส. เป็นศูนย์กลางระหว่างฝ่ายนโยบายและฝ่ายปฏิบัติ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล การติดตามเร่งรัดผลการดำเนินงาน และการบูรณาการระหว่างส่วนราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน่วยงานและบุคลากรกระจายครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เพิ่มบทบาทเชิงนโยบายและการกำกับดูแลของหน่วยงานส่วนกลางเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจหลักและบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีศูนย์ข้อมูลด้านน้ำ (เมขลา/นาคราช) มีหน่วยงานที่มีบทบาทสอดประสานกัน ใช้ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมห้องปฏิบัติการและศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงระบบการบริหารและสั่งการให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพให้หน่วยงานในภูมิภาคให้ดำเนินงานในฐานะเป็นตัวแทน ทส. ปรับโครงสร้างเพิ่มหน่วยงานหรือกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กับส่วนงานที่มีอยู่ทำหน้าที่ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภูมิภาค เพิ่มโครงสร้างเพื่อเพิ่มหน่วยงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพ สป.ทส. ให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพียงแหล่งหนึ่งเดียว โดยให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานในสังกัด จัดระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และเชื่อมโยงการเข้าถึงทั้งในและระหว่างประเทศ พัฒนาให้เป็นหน่วยนิติวิทยาศาสตร์ (พิสูจน์) ทางสิ่งแวดล้อม และพัฒนาให้เป็นหน่วยงานด้าน Research & Development, Learning Center ด้านกระบวนงาน/การบูรณาการทำงานร่วมกันภายในกระทรวง : มีการบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงาน และแต่ละหน่วยงานมีแผนปฏิบัติการเฉพาะ มีเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนสนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงาน เช่น เครือข่ายอาสาสมัครป้องกันไฟป่า เครือข่ายป่าชุมชนเครือข่ายกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง PAC มีกลไกคณะกรรมการและอนุกรรมการระดับชาติและระดับจังหวัด ในการขับเคลื่อนภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอนุสัญญาและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเป็นกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน กำหนดเป้าหมายระดับกระทรวงให้ชัดเจนโดยเฉพาะในส่วนที่จะต้องบูรณาการ บูรณาการการทำงานของทุกเครือข่ายเพื่อให้ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับพื้นที่ไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายกระทรวง และแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่าย เช่น CSR จากภาคธุรกิจ ใช้กลไกที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเสริมสร้างความเข้าใจถึงเป้าหมายของกระทรวง สนับสนุนข้อมูล และความชัดเจนของเขตอำนาจตามกฎหมาย ผนวกพันธะต่างๆ ไว้ในแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในทุกระดับ ด้านกฎหมาย : 1. ด้านพัฒนากฎหมาย มีคณะทำงานด้านพัฒนากฎหมาย ประกอบด้วย 1) คณะทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ 2) คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองร่างกฎหมายของหน่วยงานในสังกัด ทส. ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะเข้าสู่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายของ ทส. ด้านพิจารณาตีความ และวิเคราะห์กฎหมาย หน่วยงานใน ทส. ส่วนใหญ่มีกฎหมายเฉพาะด้านตามภารกิจ และทุกหน่วยงานมีนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญในกฎหมายเหล่านั้นเป็นกลไกในการทำงาน 3. การบังคับใช้กฎหมาย มีหน่วยงานที่เป็นตัวแทนของ ทส. ในระดับจังหวัด และมีหน่วยงานส่วนกลางปฏิบัติงานในระดับพื้นที่และระดับภาคที่ได้รับการมอบหมาย/รับการมอบอำนาจ/รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พรบ.ต่างๆ 4. ด้านกระบวนการยุติธรรมและคดี ทุกหน่วยงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีนักกฎหมายที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการดำเนินการด้านยุติธรรมและคดีโดยเฉพาะ เร่งรัดการออกกฎหมายลูกให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้ทันกับสถานการณ์ เร่งรัดทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการที่มีอยู่และปรับปรุงให้ทันกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ใช้กฎหมายเป็นเครื่องในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตตามนโยบายรัฐบาลและตามแผนการปฏิรูปประเทศ พัฒนาบุคลากรในทุกระดับให้มีความรู้ด้านกฎหมาย และสามารถใช้บทบัญญัติของกฎหมายเป็นเครื่องในการปฏิบัติงาน สร้างความเป็นธรรมและอำนวยประโยชน์สุขให้กับประชาชน

จุดแข็ง แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดแข็ง) จุดแข็ง แนวทางการพัฒนา ด้านบุคลากร : บุคลากรมีพื้นฐานการศึกษาจากหลายสาขาวิชา มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถตอบสนองนโยบายต่างๆ ได้ แต่ละกรมในสังกัด ทส. มีส่วนงานด้านการพัฒนาเพิ่มศักยภาพบุคลากร (HRD) มอบหมายงานให้ตรงกับศักยภาพของบุคลากร หรือกำหนดสมรรถนะ (competency) ประจำตำแหน่ง รวมทั้งกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าของแต่ละสายงาน (career path) ให้ชัดเจน เสริมสร้างขีดความสามารถของส่วนงาน HRD ในการพัฒนาเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สามารถขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายของ ทส. อย่างมีประสิทธิภาพ หรือปรับโครงสร้างให้มีหน่วยงานรับผิดชอบด้าน HRD ของ ทส. เพียงแห่งเดียว ด้านเทคโนโลยี : ทุกหน่วยงานในสังกัด ทส. มีศูนย์ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทำการปรับปรุงเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย มีการใช้ระบบเทคโนโลยีในการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบได้ง่าย ทุกหน่วยงานในสังกัด ทส. มีฐานข้อมูลสารสนเทศหลากหลาย และมีการพัฒนารวบรวมและจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่มาโดยต่อเนื่อง และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ มีระบบเตือนภัย (early warning) / CCTV และระบบโทรมาตร ทำการบูรณาการข้อมูลซึ่งเป็น Big Data ไม่ใช้เกิดความซ้ำซ้อน และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย ประกอบการปฏิบัติการ การเผยแพร่ และเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ และมอบหมายหน่วยงานที่มีอยู่หรือปรับโครงสร้างให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับชาติเพียงแห่งเดียว ทำการศึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายเหตุ : ประเด็นการวิเคราะห์ในแต่ละด้านอาจจะเป็นจุดแข็งและ/หรือจุดอ่อนขององค์การก็ได้ ส่วนราชการไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดครบทุกด้านในการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ

จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดอ่อน) จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา ด้านโครงสร้าง : หน่วยงานในสังกัด ทส. มีจำนวนมาก และมาจากหลากหลายที่ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการ ปรับโครงสร้างส่วนราชการเมื่อปี พ.ศ. 2545 ทำให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร บางหน่วยงานมีอำนาจหน้าที่ไม่สอดคล้องหรือเกินจากอำนาจหน้าที่ของ ทส. และบางหน่วยงานมีอำนาจหน้าที่ไม่สะท้อนกับสถานการณ์ในปัจจุบัน มีข้อจำกัดทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ ในขณะที่มีภารกิจเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากใช้กฎหมายใหม่หรือกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลางในพื้นที่และหน่วยงานส่วนภูมิภาคยังมีความซ้ำซ้อนและมีเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดปัญหาด้านการบูรณาการ การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อาจเพิ่มความชัดเจนในการกำหนดและ สั่งการระดับนโยบาย แต่ระดับการปฏิบัติยังคงอยู่ในหลายส่วนราชการและต่างกระทรวงจึงยังคงมีปัญหาด้านเขตอำนาจทางกฎหมาย ปรับปรุงโครงสร้างองค์การ เพื่อรองรับภารกิจของหน่วยงานที่เพิ่มมากขึ้น หรือ ยุบ/รวม ส่วนงานที่มีภารกิจซ้ำซ้อนและไม่มีความจำเป็น เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชนในทุกระดับ ปรับปรุงโครงสร้างหรือระบบงานของ สป.ทส. และทุกกรมในสังกัด ทส. ให้สามารถเป็นมีกลไก ในการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานระหว่างส่วนกลาง ส่วนกลางในภูมิภาค และส่วนภูมิภาค ให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงระบบบริหารจัดการภาครัฐและปรับบทบาทจากหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) เป็น Smart Regulator ในระยะยาวการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นเอกภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ น่าจะทำการปฏิรูปโดยจัดตั้งกระทรวงทรัพยากรน้ำ โดยนำส่วนราชการที่ดำเนินการด้านบริหารจัดการน้ำมารวมไว้ที่เดียวกันทั้งหมด ด้านกระบวนงาน/การบูรณาการทำงานร่วมกันภายในกระทรวง : การดำเนินงานของหน่วยงานส่วนกลางไม่สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการยื่นคำขออนุมัติ อนุญาต ต่อหน่วยงานในสังกัด ทส. เนื่องจากยังไม่มีการให้บริการที่จังหวัดทุกเรื่อง และยังมีข้อตำหนิจากประชาชนถึงความล่าช้า ไม่โปร่งใสเป็นธรรม ขาดการตรวจสอบติดตามเงื่อนไขประกอบอนุญาตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังไม่สามารถบูรณาการการปฏิบัติงานได้ทุกภาคส่วน และการบูรณาการร่วมกันทำให้การดำเนินการไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขาดเอกภาพในการสั่งการทำงาน/โครงการไม่มีความเนื่อง เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ทำให้ขาดความสนใจและศรัทธาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การทำงาน/โครงการไม่มีความเนื่อง เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ทำให้ขาดความสนใจและศรัทธาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขาดข้อมูลภาพรวมของกระทรวงในเชิงพื้นที่ การทำงานยังแยกกันเป็นกลุ่มภารกิจ ไม่มีการ บูรณาการข้ามกลุ่มภารกิจ และการไม่มีข้อมูลที่ทันสมัยทำให้ไม่สามารถมีบทบาทเป็นผู้นำ ในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ได้ หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมไม่มีเจ้าหน้าที่ในภูมิภาค และยังไม่มีกลไกที่จะทำให้ ทสจ. และเครือข่าย ทส. ในพื้นที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การดำเนินงานไม่เกาะติดสถานการณ์และทันการ จึงทำให้การทำงานเป็นแบบเชิงรับมากกว่าเชิงรุก การดำเนินงานภารกิจถ่ายโอนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นยังไม่มีประสิทธิภาพและขาดการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน การดำเนินงานของ ทส. ยังคงปฏิบัติตามภารกิจอำนาจหน้าที่ (Function) ที่แต่ละหน่วยงานได้รับมอบหมายแต่ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ต้องผสานความร่วมมือในทุกภาคส่วน และเมื่อเกิดปัญหาทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่ใช่อำนาจหน้าที่ หรือ เป็นอำนาจหน้าที่หน่วยงานอื่น มาตรการจูงใจเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่หลากหลาย ครอบคลุม ให้ความสำคัญกับการอำนวยการให้เกิดการจัดการปัญหาเชิงพื้นที่โดยชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งยึดเป้าหมายหรือบริบทของพื้นที่เป็นหลัก ปรับปรุงกระบวนงานและการจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยให้จังหวัดรับทราบข้อเสนอแผน/งานโครงการของส่วนกลาง เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนหรือไม่ตั้งงบประมาณที่เป็นอำนาจหน้าที่ของจังหวัด ใช้ศูนย์บริการประชาชนแบบ One Stop Service ของจังหวัดในการให้บริการประชาชนด้านบริการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกประเภท และให้ ทสจ. ทำหน้าที่เป็นหน่วยช่วยรับเรื่อง รวมทั้งปรับปรุงกระบวนงานอนุมัติ อนุญาต ให้รวดเร็ว โปร่งใส ถูกต้อง เป็นธรรม โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างการรับรู้ของผู้รับบริการ กำหนดให้มีหน่วยงานหลัก พร้อมทั้งมาตรการและอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ ติดตามเงื่อนไขประกอบการอนุญาตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง พัฒนากระบวนการบูรณาการทำงานร่วมกันภายใน ทส. โดยหน่วยงานในส่วนกลางควรจะมีข้อตกลงในการบูรณาการที่ชัดเจน ด้วยการกำหนดให้เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ รวมทั้งยกระดับความร่วมมือแบบประชารัฐและปรับปรุงกระบวนงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะสามารถสร้างเอกภาพในการบูรณาการการทำงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะส่งผ่านการทำงานไปยังพื้นที่ ระดับบริหารต้องกำหนดเป้าหมายร่วมอย่างชัดเจนในแผนยุทธศาสตร์ ทส./หน่วยงาน และจัดทำแผนปฏิบัติระยะ 5 ปี และทุก 1 ปี ให้ครอบคลุมนโยบายเฉพาะ เพื่อเป็นทิศทางการทำงานที่หน่วยงานอื่นยอมรับ และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศในเชิงบูรณาการ โดยมีฐานข้อมูลที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ และผู้ใช้งานสามารถกำหนดชั้นข้อมูลและความยากง่ายของการเผยแพร่ให้เหมาะสมได้ตามความต้องการ เพื่อสร้างการยอมรับในระดับพื้นที่ ปรับรูปแบบการดำเนินงานและพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนภารกิจถ่ายโอนให้ก้าวข้ามเขตอำนาจทางกฎหมาย ดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรในลักษณะองค์รวม Multilayer poly-centric network หรือเปลี่ยนการทำงานแบบ Function-based เป็น Agenda-based หรือ อื่นๆ ที่มีความยึดหยุ่นต่อสถานการณ์ จัดให้มีมาตรการจูงใจในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดอ่อน) จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา ด้านกฎหมาย : 1. ด้านพัฒนากฎหมาย ขาดบุคลากรด้านพัฒนากฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ในการร่างกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปริมาณร่างกฎหมายของ ทส. ที่มีจำนวนมาก กฎหมายบางฉบับใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน กฎหมายสิ่งแวดล้อมยังไม่ครอบคลุมทุกประเด็น ไม่มีกฎหมายกลางในการกำกับดูแลการบริหารจัดการด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพของประเทศในภาพรวม ด้านพิจารณาตีความ และวิเคราะห์กฎหมาย เจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย หรือเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมาย แต่ละคนอาจมีการตีความกฎหมายไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับทักษะและความเชี่ยวชาญประสบการณ์ ประกอบกับกฎหมายมีการแก้ไขอยู่เสมอ จึงทำให้มีความผิดพลาดที่อาจส่งเสียหายแก่ทางราชการได้ 3. การบังคับใช้กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายมีการตีความและวิเคราะห์กฎหมายต่างกัน อาจมีข้อผิดพลาดที่นำไปสู่การไม่ยอมรับ การร้องเรียน และเกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือหน่วยงานอื่น เนื่องจากความไม่ชำนาญและทักษะด้านกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มแข็ง กฎหมาย พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ไม่ได้เป็นกฎหมายหลักในการจัดการสิ่งแวดล้อม (ในสิ่งแวดล้อม/นอกอาคาร) และมีกฎหมายอื่นในระดับเดียวกัน มีอำนาจในการจัดการสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน การบังคับใช้กฎหมายมีพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ แต่อัตรากำลังของ ทส. ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว ด้านกระบวนการยุติธรรมและคดี ปริมาณงานการดำเนินการด้านคดีกับศาลที่มีระยะเวลากำกับมีจำนวนมาก ประกอบกับพื้นที่ความรับผิดชอบของ ทส. ครอบคลุมทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ต้องเป็นผู้แทนของ ทส. ในทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งมีปัญหาด้านคดีความเป็นจำนวนมาก แต่บุคลากรมีจำนวนจำกัด ทำให้บางคดีอาจไม่สามารถดำเนินการให้ทันระยะเวลา ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ทางราชการได้ ปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมกับงานพัฒนากฎหมาย และพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนากฎหมาย และมีระบบสอบทานเพื่อให้การตีความด้านกฎหมายเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเพื่อทดแทนผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่จะเกษียณอายุ และรองรับปริมาณงานที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เร่งศึกษาและปรับปรุงประมวลกฎหมายใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม เพื่อให้กฎหมายอื่นนำไปปฏิบัติ เร่งพัฒนากฎหมายกลางด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นกรอบกฎหมายในการดำเนินงานบริหารจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพของหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พัฒนาทักษะด้านกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ในแต่ละสายงานอยู่เสมอ เร่งพัฒนาทักษะ ด้วยการอบรมสัมมนาให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ และการปรับเปลี่ยนการทำงานเชิงรับเป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อป้องกันการเกิดปัญหา ปรับการดำเนินงานเป็น Smart regulator สร้างเครือข่ายในการบังคับใช้กฎหมาย (Out Source) ปรับเพิ่มอัตรากำลังให้เหมาะสมกับปริมาณงาน และปรับโครงสร้างระดับส่วนกลางในภูมิภาค และส่วนภูมิภาค โดยให้มีนิติกรประจำสำนักงาน และให้แต่ละกรมให้ความสำคัญและมีความรอบคอบในดำเนินการที่ไม่สุ่มเสี่ยงต่อการร้องเรียนทางปกครอง หมายเหตุ : ประเด็นการวิเคราะห์ในแต่ละด้านอาจจะเป็นจุดแข็งและ/หรือจุดอ่อนขององค์การก็ได้ ส่วนราชการไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดครบทุกด้านในการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ

จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง แบบฟอร์ม 1.3 การวิเคราะห์ขีดความสามารถ/ความเข้มแข็งของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (organization capacity) ในด้านต่าง ๆ (จุดอ่อน) จุดอ่อน แนวทางการพัฒนา ด้านบุคลากร : บุคลากรบางส่วนยังขาดจิตสาธารณะในการให้บริการประชาชน กระบวนงานบริหารบุคคลยังมีข้อจำกัดทำให้เกิดความล่าช้า และไม่มีเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path) ในตำแหน่งที่ชัดเจน บุคลากรส่วนใหญ่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ด้านการปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นอย่างดี แต่ยังไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ที่มีอยู่แก่บุคคลอื่นได้ตามศักยภาพ และขาดการหมุนเวียนงานและบุคลากรในงาน ทำให้ขาดประสบการณ์ในงานที่หลากหลาย บุคลากรมีจำนวนมากและมีพื้นฐานความรู้ที่หลากหลายแตกต่างซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อภาระงานในตำแหน่ง แต่ระบบการพัฒนาศักยภาพบุคลากรมีข้อจำกัด ทำให้การพัฒนาเพิ่มพูนความรู้และเพิ่มศักยภาพของการปฏิบัติงานมาสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและนโยบายที่สำคัญ จำนวนบุคลากรยังไม่สอดคล้องกับปริมาณงานในทุกระดับ การทดแทนของบุคลากรรุ่นใหม่ ไม่ทันกับจำนวนบุคลากรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะที่เป็นผลจากการเข้าสู่ยุคผู้สูงวัย จะมีผลต่อศักยภาพและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ ทส. กำหนดแนวทางปฏิบัติงานด้านบริการที่ชัดเจน (แต่ไม่ขัดต่อกฎ ระเบียบ) เพื่อรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับบริการของประชาชน และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน กำหนดแผนงานบริหารบุคคลและระยะเวลาดำเนินการ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งและเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path) ในตำแหน่งที่ชัดเจนที่ รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงาน ปรับปรุงโครงสร้างให้มีหน่วยงานหลักของ ทส. ทำหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากร ให้สอดรับกับความต้องการของแต่ละส่วนราชการในสังกัด ทส. และสอดคล้องกับเงื่อนวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งและเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path) ของแต่ละตำแหน่งอย่างเป็นระบบ เพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานในลักษณะหน่วยงานขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งพัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมศักยภาพบุคลากรให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เร่งจัดทำ knowledge management ใน ทส. ในทุกระดับกระทรวง รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และองค์ความรู้จากบุคลากรที่มีประสบการณ์ที่เกษียณแล้วหรือบุคคลที่มีประสบการณ์และมีชื่อเสียงของประเทศ เพื่อทำการบันทึกองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ทั้งหลายเหล่านั้น ให้เป็นแหล่งถ่ายทอดและเรียนรู้ด้วยตนเองของบุคลากรในทุกระดับต่อไป ด้านเทคโนโลยี : ไม่สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ได้ และยังมีฐานข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจไม่ครบถ้วนถูกต้อง กระบวนการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความซับซ้อนทั้งในเรื่องเทคโนโลยี บุคลากร รวมทั้งขาดแผนงานระดับ ทส. ที่ชัดเจน ขาดนวัตกรรมใหม่หรือการนำนวัตกรรมที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานตามภาระงาน ตามแผนปฏิบัติการ ตามนโยบาย ตามวาระแห่งชาติ และตามปัญหาที่สั่งสมและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ขาดความเชื่อมโยงของเทคโนโลยีระหว่างหน่วยงาน และไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า มีข้อมูลรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์มากมายหลายด้าน แต่ยังขาดการนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อนำมาใช้ในการบริหารระดับนโยบาย การปฏิบัติในระดับพื้นที่ และการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งใน ทส. และหน่วยงานอื่นๆ ปรับโครงสร้างองค์การให้มีหน่วยงานหลักเพื่อทำการวางแผนและระบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และทำการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย ถูกต้อง และครบถ้วน ให้ครอบคลุมทั้งในระดับหน่วยงาน ระดับพื้นที่ และระดับภาพรวมของประเทศ และสามารถเชื่อมโยงการเข้าถึง ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และการให้บริการของหน่วยงานในสังกัด ทส. หน่วยอื่นๆ ทั้งในต่างประเทศและระหว่างประเทศ ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีหน่วยงานหลักทำหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย รวมทั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อนำไปแก้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างทันเหตุการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลง หมายเหตุ : ประเด็นการวิเคราะห์ในแต่ละด้านอาจจะเป็นจุดแข็งและ/หรือจุดอ่อนขององค์การก็ได้ ส่วนราชการไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดครบทุกด้านในการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.1 การวิเคราะห์ภารกิจของกรมในปัจจุบัน (As-Is) แบบฟอร์ม 2.1.1 วิเคราะห์ภารกิจหลักและภารกิจรองของ สป.ทส. ภารกิจ ประเภท* C NC (TS) (AS) ภารกิจ : 5 งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศทส.) กิจกรรม 1 : งานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง 5.2 พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และเครือข่าย และระบบข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ และฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรม  ภารกิจ 6 : งานด้านกฎหมาย (กกม.) 6.1 ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวง หน่วยงานในสังกัดกระทรวง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 6.2 สนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ปรึกษากฎหมายกระทรวง 6.3 ศึกษา พิจารณา ปรับปรุง และพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง 6.4 ตรวจสอบ ให้คำแนะนำ และเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการด้านนิติกรรมและสัญญาที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง 6.5 ดำเนินงานด้านคดีปกครอง คดีแพ่ง คดีอาญา คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คดีล้มละลาย และงานคดีอื่น ๆ ตลอดจนการบังคับคดีต่างๆ ที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง 6.6 ดำเนินการและปฏิบัติงานตรวจสอบ ติดตาม และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับ การปฏิบัติราชการทางปกครองและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง 6.7 ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอความเห็นเกี่ยวกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี ภารกิจ 7 : งานพัฒนาระบบบริหาร (กพร.ทส.) 7.1 เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ปลัดกระทรวงเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง 7.2 ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง 7.3 ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลาง ต่างๆ และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.1 การวิเคราะห์ภารกิจของกรมในปัจจุบัน (As-Is) แบบฟอร์ม 2.1.1 วิเคราะห์ภารกิจหลักและภารกิจรองของ สป.ทส. ภารกิจ ประเภท* C NC (TS) (AS) ภารกิจ 8 : การปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) 8.1 เสนอแนะแก่ปลัดกระทรวงเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเสนอต่อ ปกท. 8.2 ประสานงาน เร่งรัด และกำกับให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ 8.3 รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ของเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8.4 คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน 8.5 ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อ 8.3 และ 8.4 และร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8.6 ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัดและการคุ้มครองจริยธรรมเสนอต่อปลัดกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ภารกิจ 9 : ภารกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากร (กกล. กตน.) กิจกรรม 1 : งานบริหารจัดการพัสดุ 1.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุ ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (เริ่มใช้บังคับ 23 ส.ค. 60) รวมถึงหนังสือเวียน และมติครม. ที่เกี่ยวข้อง กิจกรรม 2 : งานบริหารการคลัง 2.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ ของ สป.ทส. ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติและนโยบายของรัฐบาล กิจกรรม 3 : งานด้านบุคลากร 3.1 การบริหารทรัพยากรบุคคล 3.2 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 2 : บทวิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรม : 2.1 การวิเคราะห์ภารกิจของกรมในปัจจุบัน (As-Is) แบบฟอร์ม 2.1.1 วิเคราะห์ภารกิจหลักและภารกิจรองของ สป.ทส. ภารกิจ ประเภท* C NC (TS) (AS) กิจกรรม 4 : งานประชาสัมพันธ์ 4.1 ดำเนินการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของ สป.ทส. เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจกับประชาชน กิจกรรม 5 : ภารกิจตรวจสอบภายใน 5.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของ สป.ทส.  หมายเหตุ : * C = ภารกิจหลัก (Core function) NC (TS) = ภารกิจรอง (Non-core Technical Support) NC (AS) = ภารกิจรอง (Non-core Administrative Support)

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง : 1.4 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และภารกิจของกระทรวงในอนาคต แบบฟอร์ม 1.4.3 Business Model : สป.ทส. งานการตรวจราชการ : สร้างการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายใต้สังกัด ทส. ที่รับผิดชอบโครงการตามกลุ่มภารกิจตามแผนการตรวจราชการ ในการจัดทำข้อมูลกลางด้านการตรวจราชการกระทรวง โดยนำวัตกรรมมาใช้ เป็นหน่วยนำในการถ่ายทอดนโยบายผู้บริหาร สู่หน่วยปฏิบัติระดับพื้นที่ (หน่วยรับตรวจ) ผ่านกลไกการตรวจ ติดตามการปฏิบัติงานของกระทรวงฯ มีแนวทาง รูปแบบกระบวนการปฏิบัติงานการตรวจราชการของทส.ที่เหมาะสมด้วยระบบการตรวจที่มีเอกภาพ มีมาตรการการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เชื่อมโยงการตรวจราชการกระทรวงกับหน่วยงานระดับกรม โดยสอดรับกับแนวทางการตรวจราชการยุคใหม่ของสำนักนายกรัฐมนตรี วิเคราะห์ จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเฉพาะด้านการตรวจราชการ (เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสนับสนุน ด้านการตรวจราชการกระทรวง) ตามขีดสมรรถนะ จัดทำแผนระยะสั้นและระยะยาว ที่เน้นการพัฒนาทักษะด้านเทคนิค ควบคู่กับการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง สร้างบรรยากาศแห่งการแบ่งปัน ความรู้จากการปฏิบัติในแนวทางการ งานประสานงานกับ สสภ. และ ทสจ. ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค : ปรับปรุงโครงสร้างให้มีความเชื่อมโยงระหว่างระดับนโยบายจากส่วนกลางไปสู่ระดับภาค ภูมิภาค และระดับพื้นที่ โดยจัดตั้งกองบริหารราชการภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนงานในพื้นที่ทั้งในส่วนของการกำกับและการปฏิบัติ โดยแบ่งการบริหารด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค เป็น 6 ฝ่าย ตามกรอบภาคที่ สศช. กำหนดและทำหน้าที่ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะ และประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัด สป.ทส. ในพื้นที่ รวมทั้งบูรณาการและขยายผลการดำเนินงานโครงการพระราชดำริให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

งานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร : 06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง : 1.4 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และภารกิจของกระทรวงในอนาคต แบบฟอร์ม 1.4.3 Business Model : สป.ทส. งานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร : จัดทำ Enterprise Architecture ของทุกระบบงาน ภายใต้ ทส. โดยการจัดทำ Work Process ของแต่ละกระบวนงานให้เห็น การเชื่อมโยงของการทำงานในระดับ ส่วน กอง สำนัก กรม และระหว่างกรม แยกการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ตอบสนองการทำงานของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ การบริหารงานของหน่วยงาน และงานบริการประชาชน ปรับเปลี่ยน ผู้บริหาร จากรอง ปลัด รองอธิบดี เป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องสารสนเทศของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาระบบสารสนเทศของหน่วยงานเกิดความต่อเนื่อง กำหนดเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี หรือกฎกระทรวง แต่ละส่วนราชการไปกำหนดแนวทางของตัวเองให้สอดคล้องกับบริบทของพันธกิจของหน่วยงาน ก.พ. และ กพร. เป็นหน่วยงานที่ต้องไปกำหนดให้ชัดเจน กำหนดให้เป็นตัวชี้วัดระดับบุคคล งานการใช้อากาศยานปฏิบัติงานด้านการบิน เพื่อสนับสนุนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : พัฒนาโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ติดตั้ง GPS tracking) มาประยุกต์ใช้ในการวางแผน ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติการบิน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เน้นการบูรณาการระหว่างส่วนราชการ ที่มีภารกิจด้านการบินเกี่ยวเนื่องกัน เช่น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

06 พ.ค. 62 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์ภาพรวมของกระทรวง : 1.4 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และภารกิจของกระทรวงในอนาคต แบบฟอร์ม 1.4.3 Business Model : สป.ทส. งานพัฒนาบุคลากร : จัดตั้งสถาบันพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นหน่วยงานระดับกอง ในสังกัด สป.ทส. และมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกระทรวง และเป็นหน่วยงาน Cluster วิเคราะห์แผนงาน โครงการและงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรภาพรวมของกระทรวง เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรกระทรวงมีเอกภาพ กำหนดให้สถาบันพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีภารกิจด้านการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานและบุคคล ภายนอก เพื่อรองรับภารกิจที่สำคัญและจำเป็นของ สป.ทส. และของกระทรวงในอนาคต เช่น ภารกิจด้านการส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและบุคคลภายนอก ปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของสถาบันพัฒนาทรัพยากรบุคคล ดังนี้ 1. ส่วนอำนวยการ 2. ส่วนแผนและพัฒนาบุคลากร ทำหน้าที่ด้านการจัดทำแผน/ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร ทำหน้าที่ Cluster ในการวิเคราะห์แผนงาน โครงการและงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรภาพรวมของกระทรวง เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรกระทรวงมีเอกภาพ รวมทั้งการจัดหาและพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร และการส่งเสริม/สนับสนุน จัดสรรทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรม 3. ส่วนการบริหารจัดการองค์ความรู้ (KM) ทำหน้าที่ด้านการจัดการ ความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติให้หน่วยงานภายในและภายนอก รวมทั้งงานประชุมวิชาการ 4. วิทยาลัยการบริหารจัดการ ทส. ประกอบด้วย 1) ด้านบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ 2) ด้านบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 3) ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 4) ด้านอำนวยการและการจัดการองค์กร จัดให้มีสถานที่ เพื่อเป็นศูนย์การฝึกอบรมของกระทรวงในพื้นที่ภูมิภาค (Campus) เพื่อดำเนินการและบูรณาการงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภาพรวมของกระทรวง โดยใช้สถานที่ศูนย์ฝึกอบรมของกรมในสังกัดกระทรวง จัดทำแผน/แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาพรวมของกระทรวง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง/พัฒนา คนดี คนเก่ง และสร้างความไว้วางใจขององค์กร ซึ่งจะเป็นการเพิ่มสมรรถนะและประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร