โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลของนักเรียนมัธยมปลายโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ เสนอต่อ อาจารย์ กุลนันท์ เปล่งความดี จัดทำโดย 1.นางสาว ธนวรรณ สดใสญาติ ม.4/11 เลขที่ 4ก. 2.นางสาวลัลนลักษณ์ เชิงทวี ม.4/11 เลขที่ 8ก. 3.นางสาวกมลชนก เจริญสวัสดิ์ ม.4/11 เลขที่ 13ก. โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ในปี 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ในปี 2560 วิธีดำเนินการวิจัย 1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,468 คน โดยทำการสุ่มแบบตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยมีกลุ่มระดับชั้นการเรียนและห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 1.ศึกษาเอกสาร ตำรา แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัย เกี่ยวกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย 2.ศึกษาแนวทางการสร้างแบบสอบถามตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert. 1932:1-55) เพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ 3.นำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาสร้างแบบสอบถามตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5ระดับ ตามวิของลิเคิร์ท (Likert. 1932:1-55) โดยให้ตั้งข้อคำถามครอบคลุมเกี่ยวกับการใช้สื่อโซเชียลของนักเรียนมัธยมปลาย
3.การเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดกระทำข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวม และจัดกระทำข้อมูล โดยการดำเนินงานตามขั้นตอนดังนี้ 1.ผู้วิจัยติดต่อขอความร่วมมือจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย โดยการส่งแบบสอบถามและรับคืนแบบสอบถามด้วยตนเอง 2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทั้งหมด ได้แบบสอบถามที่มีคำตอบที่สมบูรณ์มาจัดกระทำข้อมูล จำนวน 120ฉบับ จากแบบสอบถามที่แจกไปทั้งหมด ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 3.การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามในตอนที่1 และตอนที่2โดยจำแนกเป็นค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตอนที่1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ ชั้นปีที่ศึกษา 4.การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมดโดยใช้ ตารางสูตรคำนวนแบบสอบถามด้วยโปรแกรม Microsoft Excel 4.1ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตอนที่1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ ชั้นปีที่ศึกษา ตอนที่2 เป็นแบบสอบถามสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลของนักเรียนมัธยมปลายในโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ โดยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ใช้วิธีหาค่าความถี่ข้อมูล (Frequencies : Variable : IF Cases), ค่าเฉลี่ยหรือ (x) (Means), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ SD (Standard Deviation)
สรุปผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ตามลำดับ คือ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลของนักเรียนมัธยมปลายในโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ปีการศึกษา 2560 มี ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้มีแนวคิดที่จะเสนอข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้เพิ่มให้ผู้ที่จะทำการวิจัยต่อได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยต่างๆเพิ่มมากขึ้น