ระเบียบวาระการประชุม

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การนำเข้าสินค้าเกษตร ตามพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศ
Advertisements

พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร(บูรณาการกระทรวง)
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
แนวทางการบริหารงบประมาณ
การจัดสรรตำแหน่งและการ คัดเลือก เพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเข้า รับราชการ.
1. 2 วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ.
กระบี่ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ผอ. สำนักควบคุมและ ตรวจสอบอาคาร (1/1) สำนักงานคณะกรรมการ ควบคุมอาคาร ข้าราชการ พนักงานราชการ 66 ลูกจ้างประจำ 11 กลุ่มงานควบคุม โรงมหรสพ ข้าราชการ.
สารบัญญัติ ของพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
การดำเนินงาน อาหารแปรรูปในภาชนะพร้อมจำหน่าย (primary GMP)
ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี
อำเภอควบคุมยาสูบและเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์เข้มแข็ง ปี 2556
Royal project and Government project พระบิดาแห่งชาวโคนมไทย.
การมอบนโยบายแนวทาง การปฏิรูปที่ดินประจำปี 2559 โดย นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส. ป. ก.
2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ตัวชี้วัดระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน บริการ อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประเด็น / ตัวชี้วัดผลงาน 1. การกำกับดูแลคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะ.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ พัสดุ ประกาศคณะรักษาความรักษา ความสงบแห่งชาติ การซื้อและ การจัดจ้างด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e – GP) และการบริหาร งบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วน.
1 ตัวชี้วัดที่ 10 ระดับความสำเร็จของการพัฒนา สมรรถนะของบุคลากร ตัวชี้วัดที่ 12 ระดับความสำเร็จของการพัฒนา ปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ หน่วยงานกำกับ : กองการเจ้าหน้าที่
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก จากต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
การบริหารจัดการงบค่าเสื่อม ปี 2561
ประเด็นที่เปลี่ยนแปลงจากปี 2560
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
โครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน ปีการศึกษา 2560 จังหวัดสมุทรสงคราม
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย
ส้วมสะอาดในร้านอาหาร
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แนวทางปฏิบัติ กรมป่าไม้
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
1.
กลุ่มเกษตรกร.
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
วาระที่ 3.1 ผลเบิกจ่ายงบลงทุน
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 4 มกราคม 2562
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
กรณีกองทุนหมู่บ้าน. กรณีกองทุนหมู่บ้าน กรณีกองทุนหมู่บ้าน (ต่อ) ตามหนังสือที่ พณ /1099 ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
แนวทางปฏิบัติการรายงานข้อบกพร่องหรือข้อสังเกตที่ตรวจพบ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
การประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการยกเลิกสำเนา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
สรุปผลการดำเนินงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) ไตรมาส 4 ปีงบประมาณ 2560
ทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงพลังงาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 22 ตุลาคม 2561
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
การสรรหาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การประกวดสิ่งประดิษฐ์ ของคนรุ่นใหม่
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ระเบียบวาระการประชุม ของคณะกรรมการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน จังหวัดร้อยเอ็ดและคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงตามประกาศคณะกรรมการ โคนมและผลิตภัณฑ์นม ตามคำสั่งจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ ๑๔๘๑/๒๕๕๙ วันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ. ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดร้อยเอ็ด

ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งให้ทราบ ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งให้ทราบ ........................................................................................ ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องเพื่อทราบ - เรื่องที่ ๑ คำสั่งจังหวัดร้อยเอ็ดที่ ๑๔๘๑/๒๕๕๙ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการอาหารเสรอม (นม) โรงเรียน จังหวัดร้อยเอ็ด - เรื่องที่ ๒ ประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นท เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๙

ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา - เรื่องที่ ๑ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต ๑๐ และเขต ๑๒ ให้แนวทางการปฎิบัติงาน - เรื่องที่ ๒ ......................................................................... ....................................................................................................... ระเบียบวาระที่ ๕ : เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) .................................................................................................... .....................................................................................................

ประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โดย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด

๑. ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่องหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๘ ๒. ประกาศ คำสั่งหรือหลักเกณฑ์อื่นใดที่กำหนดไว้ ซึ่งขัดแย้งกับประกาศให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน ๓. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ๔. ในกรณีที่มีปัญหาใดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ให้ประธานกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

หมวดที่ ๑ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ อาหารเสริม (นม) โรงเรียน ๕.๑ มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ๕.๒ มีใบอนุญาตผลิตอาหาร ๕.๓ มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (นมฟลูออไรด์) ๕.๔ มีใบรับรองการผ่านเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดี (GMP) ๕.๕ มีผลผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพนมโรงเรียน ๕.๖ มีหนังสือยืนยันจากศูนย์รวบรวมนำนมโค และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม UHT ไม่มีหนี้สินค้างชำระค่านมโค ๕. คุณสมบัติของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม

๕.๗ ใช้น้ำนมโคจากศูนย์รวบรวมน้ำนมโคที่ผ่านเกณฑ์(GMP) หรือใช้น้ำนมโคจากฟาร์มโคนมที่ผ่านเกณฑ์ (GAP) โดยน้ำนมโคมีคุณภาพตามมาตรฐาน ดังนี้ - (Somatic Cell Count) ไม่เกิน ๖๕๐,๐๐๐ เซลล์/ลบ.ซม - (Total Solid) ไม่ต่ำกว่า ๑๒.๑๕ % ผลวิเคราะห์ เป็นค่าเฉลี่ยของผลตรวจในรอบ ๖ เดือนจากกรมปศุสัตว์ ๕.๘ ไม่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียนในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๘

๖. เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการฯ ให้เสนอเอกสารที่เกี่ยวข้อง ต่อ (อ.ส.ค) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ๖.๑ ผู้ประกอบการต้องจัดทำคำเสนอขอเข้าร่วมโครงการฯ ตามแบบ นร.๑ ให้ครบถ้วนและความเป็นจริง ๖.๒ ผู้ประกอบการต้องใช้น้ำนมโคจากศูนย์รวมนมที่ได้(GMP)หรือใช้น้ำนมจากฟาร์มโคนมที่ได้(GAP) ตาม MOU ที่กำหนดไว้ - หนังสือรับรองการใช้น้ำนมโคจากศูนย์รวมนมของตน/รับ - สัญญาการจะซื้อจะขายน้ำนมโคของศูนย์รวมนมให้กับผู้ประกอบการฯ - แผนและคำรับรองในการบริหารจัดการโคนม ๖.๓ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ จัดสรรพื้นที่การจำหน่ายนม ๖.๔ ผู้ประกอบการฯไม่จ้างผู้ประกอบการอื่นผลิต ยกเว้นนม UHT

๖.๕. ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องผลิตนมโรงเรียนที่มีคุณภาพ ๖.๖ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องดำเนินการขนส่ง และเก็บรักษานมโรงเรียน ดังนี้ - นมพาสเจอร์ไรส์ ขนส่งด้วยรถห้องเย็น T ไม่เกิน ๔ องศา - นม UHT ต้องขนส่งด้วยรถบรรทุกที่มีตู้หรือหลังคา หรือผ้าใบปิดมิดชิด โดยบรรจุในลังกระดาษและไม่ควรซ้อนลังสูงเกิน ๑๐ ชั้น - การขนส่งนมไปยังโรงเรียนในวันและเวลาราชการ กรณีนม UHT ต้องส่งครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน นมพาสเจอร์ไรส์ต้องส่งทุกวัน โดยจัดหาน้ำแข็งให้กับทางโรงเรียนให้เพียงพอ

- ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องแจ้งรายชื่อผู้รับจ้างขนส่งนมโรงเรียนให้กับ อ.ส.ค. และรับผิดชอบกำกับดูแลคุณภาพ/อสค. แสดงบน website - ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องเป็นผู้จัดหาตู้เย็น หรือถังแช่นมพาสเจอร์ไรส์/น้ำแข็งสะอาด/เทอร์โมมิเตอร์ชนิดก้านเหล็ก T ๘ องศา และจัดหาคู่มือนมโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้กับโรงเรียนด้วย - ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมและผู้รับจ้างขนส่งดำเนินการจำหน่ายและขนส่งผลิตภัณฑ์นมเพื่อจำหน่ายเฉพาะภายในโครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียน ภายในประเทศไทยเท่านั้น

หมวดที่ ๒ หลักเกณฑ์การจัดสรรสิทธิ์ และพื้นที่การจำหน่ายนมโรงเรียน ๑. มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ๒. มีใบอนุญาตผลิตอาหาร ๗.๑ กำหนดปริมาณน้ำนมโคที่จะจัดสรรสิทธิการจำหน่ายให้คำนวณปริมาตรจาก จำนวนนักเรียนในรอบปีที่ผ่านมา ในวันเรียนคนละ ๑ ถุง-กล่อง/วัน (๒๐๐ มล.) ทั้งนี้ ให้ปรับเพิ่มสองกรณี ดังนี้ - ปรับเพิ่มเพื่อชดเชยการสูญเสียจากกระบวนการแปรรูป ๒ % - ปรับเพิ่มค่าบริหารความเสี่ยง ๕% ๗. ให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติและการจัดสรรพื้นที่การจำหน่ายนมโรงเรียน(คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ) จัดสรรสิทธิการจำหน่ายตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

๗.๒ การจัดสรรสิทธิการจำหน่ายให้เป็นไปตาม ขั้นตอนและหลักเกณฑ์ ดังนี้ - ให้ลำดับความสำคัญกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่เป็นภาคสหกรณ์ ที่มีน้ำนมโคเป็นของตัวเอง - ให้ผู้ประกอบการฯแจ้งปริมาณน้ำนมโคที่จัดทำ MOU การซื้อขายน้ำนมโค กับศูนย์รวบรวมน้ำนมโค/ฟาร์มโคนม เพื่อแปรรูปจำหน่าย โดยแจ้งไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์ - คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ จะรวบรวมปริมาณน้ำนมโคที่จัดทำ MOU ดังกล่าว เพื่อแปรรูปจำหน่ายของผู้ประกอบการทุกราย จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ มาใช้ในการจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียน ปี ๒๕๕๙

๗.๓ การจัดสรรสิทธิการจำหน่ายให้เป็นไปตาม ขั้นตอนและหลักเกณฑ์ ดังนี้ - ให้ลำดับความสำคัญกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่เป็นภาคสหกรณ์ ที่มีน้ำนมโคเป็นของตัวเอง - ให้ผู้ประกอบการฯแจ้งปริมาณน้ำนมโคที่จัดทำ MOU การซื้อขายน้ำนมโค กับศูนย์รวบรวมน้ำนมโค/ฟาร์มโคนม เพื่อแปรรูปจำหน่าย โดยแจ้งไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์ - คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ จะรวบรวมปริมาณน้ำนมโคที่จัดทำ MOU ดังกล่าว จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ มาใช้ในการจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียน ปี ๒๕๕๙

๘. ให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ มีอำนาจสงวนไว้ซึ่งสิทธิในการจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียนให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ๙. การจัดสรรสิทธิพื้นที่การจำหน่าย ให้เป็นไปตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริงในแต่ละภาค โดยให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ เป็นผู้ตัดสินชี้ขาด โดยมีหลักเกณฑ์ในการจัดสรร ดังนี้ ๙.๑. จัดสรรให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่มีสถานที่การผลิต และพื้นที่จำหน่ายในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงก่อน ๙.๒ จัดสรรให้กับผู้ประกอบการฯ ที่ได้รับสิทธิน้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ กล่อง-ถุง/วัน ให้จำหน่ายในพื้นทีนั้นๆ หากมีผู้ประกอบการมากกว่า ๑ แห่ง ให้จัดสรรโดยเฉลี่ย ๙.๓ กรณีพื้นที่ในโครงการนมฟลูออไรส์ ให้ใช้ข้อมูลของกรมอนามัยประกอบการพิจารณา

๙.๔.จัดสรรพื้นที่จำหน่ายที่มีชนิดของการบริโภคนม UHT และนมพาสเจอร์ไรส์ ให้สอดคล้องกับชนิดนมที่ผู้ประกอบการผลิต ๙.๕ หากการจัดสรรเกินสิทธิในภาคใด ให้ผู้ประกอบการทุกราย มีส่วนร่วมในการพิจารณาจัดสรรพื้นที่จำหน่าย ในกรณีที่หาข้อยุติไม่ได้ให้เสนอต่อคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ๙.๖ หากมีสิทธิการจำหน่ายเหลือใน ๔ จังหวัดชายแดนใต้ให้เสนอต่อคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

หมวดที่ ๓ มาตรการตรวจสอบ และควบคุม การผลิตและจำหน่ายนมโรงเรียนของผู้ประกอบการ ตามที่ได้รับการจัดสรรสิทธิ ข้อ ๑๐. ทุกวันที่ ๕ ของเดือน ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมจะต้องรายงานยอดการใช้น้ำนมโคจากศูนย์ฯตนเอง/หรือซื้อจากศูนย์อื่นรายเดือน,ยอดการผลิตรายเดือน ยอดการส่งมอบไปยังโรงเรียน ตามแบบที่ อ.ส.ค.กำหนด พร้อมทั้งสำเนาสัญญาซื้อขาย ให้กองเลขาฯคณะกรรมการโคนมฯ ข้อ ๑๑. ข้อมูลที่รายงานต้องถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ สามารถเรียกเอกสารตรวจสอบได้ ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมและศูนย์รับน้ำนมโคที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องยินยอมในการตรวจสอบโรงงาน หรือสถานประกอบการฯ

หมวดที่ ๔ แนวปฏิบัติในการจัดซื้อนมโรงเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และโรงเรียนเอกชน ๑๓. เมื่อดำเนินการจัดสรรสิทธิและพื้นที่จำหน่าย หรือส่งนมให้เด็กนักเรียนครบถ้วนแล้ว ให้ อ.ส.ค.จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการฯ แจ้ง อปท. และโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศทราบ ๑๔. อ.ส.ค.มีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ประกอบการฯ เพื่อติดต่อทำสัญญาซื้อขายกับ อปท. และโรงเรียนเอกชนในนาม อ.ส.ค.ตามหนังสือที่ได้รับมอบอำนาจแล้วเท่านั้น ๑๕. อปท. และโรงเรียนเอกชนทำสัญญาซื้อขายกับ อ.ส.ค.หรือผู้ประกอบการฯ โดยใช้ขบวนการจัดซื้อโดยวิธีกรณีพิเศษ ซึ่งขยายสิทธิพิเศษในการจำหน่ายนมโรงเรียนให้แก่ อ.ส.ค ออกไป ๒ ปี (ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๕๘ – ๓๐ กันยายน ๖๐)

๑๖. ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ดำเนินการจัดส่งนมโรงเรียนให้กับ อปท ๑๖. ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ดำเนินการจัดส่งนมโรงเรียนให้กับ อปท. และโรงเรียนเอกชน โดยสัญญาซื้อขายให้ระบุงวดการชำระเงินค่านมโรงเรียนเป็นรายเดือน ทั้งนี้ ในสัญญาซื้อขายให้ อปท. และโรงเรียนเอกชนให้ระบุประเภท ว่าเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ หรือนม UHT พร้อมทั้งจำนวนและราคาไว้อย่างชัดเจน โดยทำสัญญาเป็นช่วงเปิดภาคเรียน (นามพาสฯหรือ UHT เป็นระยะเวลา ๑๐๐ วัน) และช่วงก่อนปิดภาคเรียน (เฉพาะนม UHT ระยะเวลา ๓๐ วัน) /จัดทำปฏิทินการส่งมอบ และให้เด็กได้ดื้มนมตั้งแต่วันแรกของการเปิดภาคเรียน

หมวดที่ ๕ แนวปฏิบัติในการเก็บรักษานมโรงเรียน ๑๗. นมพาสเจอร์ไรส์ ต้องเก็บในตู้เย็น หรือถังแช่และน้ำแข็งที่สะอาด อุณหภูมิไม่เกิน ๘ องศาเซลเซียส ๑๘. นม UHT ต้องมีสถานที่จัดเก็บที่สะอาด ป้องกันสัตว์พาหนะ โดยบรรจุในลังกระดาษ ไม่ควรซ้อนลังสูงเกิน ๘ ชั้น กรณีห่อฟิล์มพลาสติกไม่ควรซ้อนสูงเกิน ๕ ชั้น ยกสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๐ ซ.ม เก็บรักษาอุณหภูมิไม่เกิน ๔๕ องศา ในสภาพไม่เปียกชื้น ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง

หมวดที่ ๖ ราคาจัดซื้อนมโรงเรียน ๑๙. ให้ อปท. และโรงเรียนเอกชนจัดซื้อนมตามราคากลางที่รัฐมนตรีกำหนด (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๕๗) เป็นราคาในการจัดซื้อ ดังนี้ - นมพาสเจอร์ไรส์ชนิดถุง ถุงละ ๖.๕๘ บาท - นม UHT ชนิดกล่องๆละ ๗.๘๒ บาท ชนิดซองๆละ ๗.๗๒ บาท ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวเป็นราคาจำหน่ายเท่ากันทุกจังหวัดทั่วประเทศ และเปลี่ยนแปลงได้ตามมติคณะรัฐมนตรี

หมวดที่ ๗ มาตรการควบคุมกำกับดูแลการบริหารจัดการ และคุณภาพนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ๒๐. ให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน โดยแต่งตั้งคณะทำงานติดตามและแก้ไขปัญหาการจำหน่ายนมโรงเรียน ๒๑. ให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลคุณภาพนมโรงเรียน ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ติดตามกำกับดูแลคุณภาพนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ๒๒. ให้คณะกรรมการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ระดับจังหวัด ติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการคุณภาพนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ในระดับพื้นที่

๒๓. หากโรงเรียนหรือหน่วยงานที่จัดซื้อตรวจพบปัญหาคุณภาพนมโรงเรียน และไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา หรือไม่ได้รับการเปลี่ยนนมใหม่ชดเชยนมที่มีปัญหาคุณภาพจากผู้ประกอบการหรือผู้รับจ้างขนส่งนมในโรงเรียน ให้แจ้งมายัง อ.ส.ค. ในฐานะเลขานุการฯ ๒๔. ในกรณีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมถูกร้องเรียนเรื่องคุณภาพและบริการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ในพื้นที่จังหวัดที่มีการส่งมอบนมโรงเรียน ให้มีคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ปกด. ปศุสัตว์จังหวัด เป็นประธานกรรมการ ๒๕. ในกรณีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ไม่สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์นม ตามที่ได้รับจัดสรรสิทธิ เนื่องจากถูกตัดสิทธิ ให้ผู้ประกอบการแต่ละภาค คัดเลือก ภาคละ ๕ ราย เสนอให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณา

๒๖. ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษและพิจารณาเบี้ยปรับ พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงและจัดทำข้อเสนอ เพื่อให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมใช้ประกอบการพิจารณาดำเนินการ กรณีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมเรื่องหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๙ - ลดสิทธิหรือตัดสิทธิการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม ในโครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียนโดยทันทีต่อไป - หากมีความผิดตามกฎหมายอื่น ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือหน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินการตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป