นิทรรศการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การผลิตบ่อพัก ทำเอง ใช้เอง หจก. มภัสกาญ คอนสตรัคชั่น
Advertisements

พวกเราต่างคิดว่าการกินผลไม้เป็นเรื่องง่ายๆ แค่ซื้อมา แล้วก็ปอก จากนั้นก็หยิบเข้าปากเท่านั้น คุณจะได้รับประโยชน์มากกว่าถ้าคุณรู้ว่าควรจะกินอย่างไร.
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
การขัดเกลาทางสังคมซ้ำเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ผู้วิจัย นภัสวรรณ บุญประเสริฐ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎี
การบูรณาการยุทธศาสตร์สุขภาพฯ กลุ่มเด็กวัยเรียน มาตรการ เป้าหมาย วิธีการวัด เป้าหมาย/KPI 1.นโยบายร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนแห่งชาติ/วาระสุขภาพแห่งชาติ
Colostrum: Food for Life น้ำนมเหลือง: อาหารเพื่อชีวิต ที่มา: ThePigSite Latest News September 2008 นสพ.วีริศ หิรัญเมฆาวนิช ฝ่ายขายและวิชาการ แผนกผลิตภัณฑ์สัตว์เศรษฐกิจ.
ทีมคลินิกเบาหวาน/ความดัน
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
กรณีศึกษาของเยาวชนที่กระทำความผิดคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา : สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสระบุรี ผู้วิจัย โยธิน จารุจุฑารัตน์ หลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี
โครเมี่ยม (Cr).
นโยบายด้านโรคติดต่อ ศ. คลินิกเกียรติคุณ นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข.
การพัฒนาโปรแกรมระบบ รายงาน หน่วยงานเวชสารสนเทศ หน่วยงานเวชสารสนเทศ กลุ่มพัฒนาระบบบริการ สุขภาพโรงพยาบาลสุโขทัย.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก เทศบาล ตำบลปัว ยินดี ต้อนรับ ยินดี ต้อนรับ.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบบัญชี สุขภาพ (1-8) กุมภาพันธ์ 2558 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดบุรีรัมย์
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
สมัยกลาง (EARLY MEDIVAL)
ระดับความเสี่ยง (QQR)
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
ประสบการณ์การ การใช้ระบบติดตามผลการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ยา/สารเสพติด
สรุปแนวทางการดำเนินงานตามกลุ่มวัย
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ยุทธศาสตร์ ที่ 1 Promotion, Prevention & Protection Excellence
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
แนวทางการดำเนินงานเพื่อผู้สูงอายุ
การคาดประมาณปริมาณการใช้วัคซีน เด็กอายุ 1 ปี (เกิดตั้งแต่ 1 ม.ค. 57)
โครงการกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ถวายเป็นพระราชกุศลฯ
ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
รพ.สต.สายใยรัก อำเภอสัตหีบ
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และการประกาศค่าเป้าหมาย
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
สรุปผลการนิเทศงานเฉพาะกิจ งานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
SMS News Distribute Service
และ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ปี 2557
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
ประชุม คปสจ.ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ MOTTO – กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
อัตราส่วนการตายมารดาไทย
การเตรียมการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
งานนำเสนอสำหรับโครงการ นิทรรศการวิทยาศาสตร์
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
คุณต้องรู้ว่าคุณกำลังมีปัญหาอะไร?
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

นิทรรศการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นิทรรศการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องในสัปดาห์รณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปี 2547

ในขวบปีแรก... เด็กที่กินนมแม่จะเจ็บป่วย น้อยกว่าเด็กที่กินนมผสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยลด โอกาสเจ็บป่วยของทารกในขวบปีแรก ได้ ถ้าลดโอกาสเจ็บป่วยได้ จะช่วยให้ การเจริญเติบโตของทารกไม่ชะงักงัน ช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดความกังวล ของพ่อแม่ได้

โรคท้องเสีย – ปอดบวม น้อยกว่า 3.5 – 4.9 เท่า หูชั้นกลางอักเสบ น้อยกว่า 3 – 4 เท่า โรคลำไส้อักเสบ น้อยกว่า 20 เท่า นอนโรงพยาบาลด้วยโรคท้องเสีย น้อยกว่า 5 เท่า เสียชีวิตจากโรคท้องเสีย น้อยกว่า 14 เท่า จากการศึกษาพบว่า ทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวในระยะ 4 เดือนแรก จะมีโอกาสในการเจ็บป่วย นอนโรงพยาบาล และเสียชีวิตด้วยโรคต่างๆ น้อยกว่าทารกที่ไม่เคยได้รับนมแม่เลย กล่าวคือ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จุดเริ่มต้นของการพัฒนา ทางอารมณ์ที่ดีให้ลูก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จุดเริ่มต้นของการพัฒนา ทางอารมณ์ที่ดีให้ลูก เด็กทุกคนมีพื้นฐานทางอารมณ์ติดตัวมาตั้งแต่เกิดแตกต่างกัน บางคนเลี้ยงง่าย บางคนเลี้ยงยาก บางคนกลางๆ ไม่ง่าย ไม่ยาก แต่สามารถปรุงแต่งได้ด้วยการเลี้ยงดู การเลี้ยงดูที่ตอบสนอง ความต้องการของเด็กได้เหมาะสมและทันการณ์ ทำให้เด็กคาดเดาได้ว่า อะไรจะไป อะไรจะมา เด็กจะเกิดความไว้วางใจและเชื่อมั่น สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างพื้นฐานที่ดี ดังนั้น ทุกครั้งที่แม่กอดลูกขณะให้กินนม ความใกล้ชิดจากแม่จะช่วยเสริมโอกาสด้านนี้

“ต้นทุนที่ดีของสมองและเสริมสร้าง IQ” นมแม่จุดเริ่มต้น “ต้นทุนที่ดีของสมองและเสริมสร้าง IQ” ความฉลาดหรือ IQ หรือพัฒนาการด้านอื่นๆ ของสมองเด็ก มาจากการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมถึง 50% และอีก 50% มาจากพันธุกรรม

อาหารทารกเป็นสิ่งแวดล้อมของสมองที่สำคัญ ส่วนประกอบที่สำคัญของสมองที่มีผลต่อพัฒนาการและความฉลาดคือ เส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อ ยิ่งมีเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อมากยิ่งดี การสื่อสารระหว่างจุดเชื่อมต้องอาศัยมันสมอง หรือคือไขมันที่หุ้มรอบเส้นใยสมอง ซึ่งจะช่วยทำให้กระแสสื่อไฟฟ้าวิ่งระหว่างจุดเชื่อมได้รวดเร็วในน้ำนมแม่มีสารไขมันที่เหมาะสมกับส่วนของมันสมองนี้ รวมทั้งสารอื่นๆ ที่เหมาะสมกับการทำงานของสมองโดยส่วนรวม การโอบกอดพูดคุยในทุกครั้งที่ให้ลูกกินนม จะยิ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดจุดเชื่อมต่อได้ดีมากขึ้น ดังนั้นสมองที่มีการเจริญเติบโตดี ร่วมกับการเลี้ยงดูที่ใกล้ชิด จึงเป็นต้นทุนที่ดีของการพัฒนาและเสริมสร้าง IQ ในเด็ก

สมองทารกโตเร็ว สมองทารกแรกเกิดหนักประมาณ 350-500 กรัม หนักน้อยกว่าสมองผู้ใหญ่ประมาณ 3 เท่า และมีเซลล์สมองอยู่ประมาณ 1 แสนล้านตัว เป็นจำนวนเท่ากับสมองผู้ใหญ่ แต่ที่สมองผู้ใหญ่หนักกว่าสมองเด็ก เพราะมีการสร้างเส้นใยและจุดเชื่อมต่อของเส้นใยมากขึ้น

- สมองทารกจะมีการสร้างเส้นใย และจุดเชื่อมต่อมากนับแต่หลังเกิด โดยเฉพาะในระยะขวบปีแรก เช่น - สมองส่วนที่เกี่ยวกับการเห็น เมื่อแรกเกิดมีจุดเชื่อมต่อ 2,500 จุด ต่อเซลล์สมอง 1 ตัว และจะเพิ่มเป็น 18,000 จุด เมื่อทารกอายุ 6 เดือน - สมองส่วนแขนขา มีจุดเชื่อมต่อมากที่สุดเมื่อระยะอายุ 2 เดือน - สมองส่วนเกี่ยวกับความจำ คือ ที่ฮิปโปแคมปัส มีการสร้างเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อเพิ่มมากที่อายุ 8 เดือน - จากแบเบาะ ทารกจึง เห็น พูด และเดิน ได้เมื่ออายุ 1 ปี

สารที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง เช่น DHA AA Taurine Nucleotides ฯลฯ สารเหล่านี้เราคงได้เห็นว่ามีการนำมาเติมในนมผสมหลายยี่ห้อ จนอาจเข้าใจผิดว่าจะมีประโยชน์ทัดเทียมนมแม่ แต่ในความเป็นจริง ประโยชน์จากการเติมสารต่างๆ ไม่สามารถทำได้เช่นในน้ำนมแม่ เนื่องจาก 1 ไขมันในน้ำนมแม่ถูกนำไปใช้ได้เต็มที่ เพราะมีสารช่วยย่อยอยู่ในน้ำนมแม่ด้วย 2 ไขมันในน้ำนมแม่ระยะ 2-3 เดือนแรก มีขนาดโมเลกุลเล็ก ทำให้มีสัดส่วนของไขมัน Phospholipid ที่สำคัญต่อการสร้างเครือข่ายใยสมอง และน้ำนมแม่ในระยะ 6 เดือนแรก ยังมีปริมาณไขมันสูงสุด คือประมาณ 50-55% หลังจากนี้จะลดลง จึงเหมาะสมกับสมองในระยะ 6 เดือนแรกที่มีอัตราการเติบโตสูง 3 ลูกที่กินนมแม่ไม่ค่อยป่วยบ่อย เมื่อไม่ป่วยบ่อย ทำให้มีเวลาโต เด็กเล็กๆ ไม่สบายแต่ละครั้ง เสียเวลาโตและพัฒนาการมาก 4 การโอบกอด การได้อยู่ใกล้ชิดลูกทำให้ลูกได้รับความรัก ความมั่นใจจากแม่ในทุกอิ่ม ส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง น้ำนมแม่มีชนิดของไขมัน โปรตีน สารอาหารต่างๆ ที่ส่งเสริมให้สมองได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่

เมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว คนไทยเริ่มนิยมใช้นมผสมเลี้ยงทารก สมัยนั้นนมผสมยังไม่มีการเติมสารต่างๆ เด็กสมัยนั้นก็เสียโอกาส ในการได้รับอาหารที่ดีที่สุด แม้แต่ตอนนี้ถ้าจะคิดว่าการเติมการดัดแปลงที่มีอยู่เพียงพอก็อาจเป็นการเข้าใจผิด เพราะในน้ำนมแม่มีส่วนประกอบต่างๆ มากกว่า 200 ชนิด จึงเป็นการยากที่จะเลียนแบบธรรมชาติได้ การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวอย่างเพียงพอในระยะ 6 เดือนแรก เป็นการให้อาหารและการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดกับสมองลูกที่กำลังโตอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงนาทีทองที่สำคัญสำหรับพื้นฐานพัฒนาการทางสมองที่ดี

การศึกษาผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับพัฒนาการและ IQ ในระยะ 4 - 5 ปีที่ผ่านมา มีการศึกษามากกว่า 30 การศึกษา ที่แสดงให้เห็นว่า ทารกที่กินนมแม่ มีระดับพัฒนาการและเชาว์ปัญญาที่ดีกว่าทารกที่ได้รับนมผสม มีความแตกต่างกันตั้งแต่ 2-3 จุด จนถึง 8-11 จุด

Quinn-PJ et al ได้ติดตามเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 5 ปี จำนวน 3,880 คน พบว่าเด็กที่ได้รับนมแม่นาน 6 เดือน มีระดับพัฒนาการดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่เลย 5.8-8.6 จุด Rao MR et al ติดตามพัฒนาการของเด็กน้ำหนักตัวน้อยตั้งแต่แรกเกิด จำนวน 220 ราย พบว่าเด็กที่ได้รับนมแม่นาน 6 เดือน เมื่ออายุ 5 ปี มีระดับเชาว์ปัญญาเบื้องต้นดีกว่าเด็กที่ได้รับนมแม่เพียง 3 เดือน ถึง 11 จุด Mortensen EL; et al ในประเทศเดนมาร์ก ศึกษาในผู้ใหญ่ที่โตๆ แล้วประมาณ 3,000 คน ที่เกิดเมื่อ 40 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2503) กลุ่มที่มีประวัติกินนมแม่นานจะมีระดับเชาว์ปัญญา ดีกว่าที่กินได้น้อยกว่า โดยพบว่าถ้ากินนมแม่นานกว่า 9 เดือน มีระดับเชาว์ปัญญาดีกว่ากลุ่มที่กิน นมแม่น้อยกว่า 1 เดือน ประมาณ 5 จุด Anderson JW et al วิเคราะห์การศึกษาที่มีคุณภาพดี จำนวน 20 การศึกษา พบว่าทารกที่กินนมแม่ โดยเฉลี่ยมีระดับพัฒนาการทางสมองดีกว่าทารกที่ได้รับนมผสม 3.2 จุด และในกลุ่มทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักตัวน้อย จะมีระดับที่ดีกว่าถึงประมาณ 5 จุด พญ.ศุภกาญจน์ ศิลปรัศมี โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช ศึกษาในศูนย์เลี้ยงเด็กพบว่า เด็กที่กินนมแม่จะมีพัฒนาการเมื่ออายุ 1 ปี ปกติทั้งหมด ในขณะที่กลุ่มได้รับนมผสมจะมีพัฒนาการช้า ร้อยละ 17

ถึงแม้ข้อมูลการศึกษาดังกล่าวจะมีการกระจายของผลลัพธ์ค่อนข้างมาก แต่แสดงให้เห็นทิศทางผลลัพธ์ในทางบวกว่า ลูกที่กินนมแม่จะมีพัฒนาการและระดับเชาว์ปัญญาที่ดี ทารก ควรได้กินนมแม่อย่างเดียว อย่างเต็มที่ถึงอายุ 6 เดือน จึงเริ่ม ให้อาหารตามวัยเพิ่มเติม ควบคู่กับนมแม่จนลูกอายุ 2 ปี โดยแม่ต้องดูแลสุขภาพตัวเองด้วย การให้ลูกกินนมแม่ เป็นการเริ่มต้นชีวิต ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย ลดโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้และมีพัฒนาการทางสติปัญญาดี

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ ในระยะทารกอายุ 4-6 เดือน ยังมีข้อจำกัดในการย่อยสลายโปรตีนแปลกปลอมเพราะ เยื่อบุทางเดินอาหารมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง เซลล์เยื่อบุยังมีช่องว่าง ระหว่างเซลล์กว้างกว่าปกติ ระบบน้ำย่อยยังพัฒนาไม่ดีพอ ย่อยไม่ได้เต็มที่ สารภูมิคุ้มกันที่เยื่อบุลำไส้ โดยเฉพาะ secretory IgA ที่จะคอยดักจับสารแปลกปลอมยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นเมื่อได้รับอาหารอื่น เช่น นมผสม โปรตีนเหล่านี้นับเป็นโปรตีนแปลกปลอมสำหรับลูกคน การได้รับนมผสมในระยะนี้ ซึ่งทารกมีข้อจำกัดในการย่อย จึงทำให้โปรตีนยังคงสภาพโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีโอกาสหลุดลอดเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เป็นผลให้เกิดโรคกลุ่มภูมิแพ้ได้ โปรตีนในนมแม่เป็นโปรตีนของคนจึงไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมกับลูกคน ถึงแม้ว่าทารกจะมีข้อจำกัดในการย่อยก็ไม่กระตุ้นให้เกิดภาวะภูมิแพ้ การที่มีรายงานว่าลูกกินนมแม่อย่างเดียวในระยะ 4-6 เดือนแล้ว ยังเกิดปัญหาแพ้ได้ อธิบายว่าน่าจะเป็นโปรตีนจากนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ของนมวัว เล็ดลอดผ่านนมแม่มาสู่ลูกได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการให้คำแนะนำแม่ ถ้าแม่จะกินนมวัว ก็ควรกินแต่พอประมาณ วันละ 1-2 แก้ว การกินมากจนเกินไป จะไปเพิ่มโอกาสให้โปรตีนนมวัวผ่านสู่น้ำนมแม่และก่อปัญหาได้ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้

การได้รับนมแม่อย่างเดียวในระยะอายุ 4-6 เดือนแรก เป็นการให้อาหารที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะภูมิแพ้ได้ การป้องกันนี้จะเห็นได้ชัดในทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ พบว่าถ้าให้ได้รับนมแม่อย่างเดียวในระยะ 6 เดือนแรกและได้รับนมแม่ต่อไป ลูกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภูมิแพ้ มักจะยังไม่มีอาการของโรคภูมิแพ้ในระยะที่กินนมแม่ แต่เมื่อโตขึ้นได้รับสารภูมิแพ้จากแหล่งอื่นก็อาจเกิดปัญหาได้ เรื่องนี้นับเป็นผลดีที่ทารกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภูมิแพ้โดยกรรมพันธุ์ ยังไม่ต้องเจ็บป่วยในวัยที่บอบบาง

โดยสรุป การเกิดภาวะภูมิแพ้ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์เป็นสิ่งสำคัญร่วมกับปัจจัยทางอาหารและสิ่งแวดล้อม จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าทารกที่กินนมแม่จะไม่เป็นโรคภูมิแพ้ แต่สามารถกล่าวได้ว่าทารกที่กินนมแม่มีโอกาสเป็นโรคกลุ่มภูมิแพ้น้อยกว่าทารกที่กินนมผสม ในภาพรวมประมาณ 2-7 เท่าและในครอบครัวที่มีประวัติพันธุกรรมเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ถ้าทารกจะต้องเป็นโรค ก็จะช่วยชะลอการเกิดโรคได้ การศึกษาในประเทศสวีเดน ติดตามตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 2 ปี จำนวน 4,000 คน พบว่าเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว 4 เดือนแรก มีโอกาสเป็นโรคกลุ่มภูมิแพ้น้อยกว่ากลุ่มได้รับนมผสม เช่น เป็นโรคหอบหืด 4% ภูมิแพ้ผิวหนัง 3% เยื่อบุจมูกอักเสบ 2.5% และจากการศึกษาอื่นพบว่าเป็นโรคภูมิแพ้อาหารน้อยกว่า 5%

ถ้าพิจารณาตัวเลขจะพบว่าแตกต่างกันนิดเดียว แต่ถ้าลองคำนวณดูขนาดของปัญหา นำผลการศึกษานี้ทดลองคิดกับเด็กไทย ซึ่งเกิดปีละประมาณ 800,000 คน มีทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวในระยะ 4 เดือนแรก ร้อยละ 16 และที่ไม่ได้กินนมแม่อย่างเดียว ประมาณ 672,000 คน ทารกจำนวน 1 % ก็คือ 6,720 คน มีโอกาสเป็นโรคหอบหืดมากกว่า 4.3 % คือ 28,896 คน มีโอกาสโรคผื่นผิวหนังมากกว่า 3 % คือ 20,160 คน มีโอกาสโรคเยื่อบุจมูกอักเสบมากกว่า 2.5 % คือ 16,800 คน มีโอกาสโรคภูมิแพ้อาหารมากกว่า 5 % คือ 33,600 คน รวมเป็น 99,456 คน ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าเราช่วยกันส่งเสริมให้ทารกได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในระยะ 4 เดือนแรก น่าจะช่วยลดปัญหาโรคภูมิแพ้จนถึงอายุ 2 ปีได้เกือบ 100,000 คน ซึ่งจะช่วยสร้างความสุขให้กับครอบครัวและประหยัดเงินตราได้เป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือผลจากการตลาด นมผงดัดแปลงพิเศษที่สื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าใช้ป้องกันภูมิแพ้ ทำให้มีครอบครัวทั้งที่มีความเสี่ยงและไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะภูมิแพ้ ลงทุนเลือกนมชนิดนี้ให้ลูก โดยคิดว่ากันไว้ดีกว่าแก้ ผลดีอาจเกิดขึ้นบ้าง แต่ถ้ามองในระดับมหภาค จะเห็นว่าน่าจะเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และเข้าใจผิดว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันภาวะภูมิแพ้ การช่วยกันให้ข้อมูลแม่และช่วยสนับสนุนแม่ให้สามารถให้นมลูกได้ในระยะที่ทางเดินอาหารมีความเสี่ยงสูงต่อการรับสารก่อภูมิแพ้ เป็นการป้องกันภาวะภูมิแพ้ที่ดี ทารกจะไม่เพียงแต่ได้รับนมชนิดที่ไม่แพ้ แต่ยังจะได้รับประโยชน์อื่นๆ ของน้ำนมแม่ด้วย

น้ำนมแม่ เป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดในระยะเริ่มต้นของชีวิต และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทารก ทารกต้องได้รับน้ำนมแม่อย่างเดียว 4 – 6 เดือน จึงเริ่มป้อนอาหารอย่างอื่น น้ำ ควบคู่กันไปกับนมแม่ จนลูกอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ในระยะ 4-6 เดือนแรก ซึ่งเป็นระยะที่ทารกเติบโตอย่างรวดเร็ว และภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ นมแม่จึงเป็นอาหารอย่างเดียวที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ทารก สรุป

ประโยชน์ของนมแม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้ทั้งคุณค่าอาหารและสัมผัสทางใจ มีผลให้ เพิ่มพูนพัฒนาการทางสมอง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปกป้องทารกน้อยจากความเจ็บป่วย ซึ่งทำให้ เกิดภาวะทุพโภชนาการเกิดปัญหาในการเรียนรู้และรับรู้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มั่นใจได้ว่าก่อให้เกิดสัมผัสทางใจ ได้ผลดีทั้ง ด้านภาษาและด้านพฤติกรรมทางสังคม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เสริมสร้างพัฒนาการทางสายตาและการมองเห็นที่ดีกว่า ซึ่งนำความพร้อมในการอ่านและการเรียนรู้

คำแนะนำสำหรับแม่มือใหม่ในระยะหลังคลอดที่จะเริ่มต้นให้นมลูก  แม่พร้อมและเต็มใจจะให้ลูกดูดนมทันทีหลังคลอด แม่ขอลูกมานอนกับแม่ตลอดเวลาและให้ลูกดูดนมแม่บ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 9 ครั้ง ในแต่ละครั้งให้ลูกดูดนมทั้ง 2 เต้า  แม่นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย ลูกดูดนมได้สะดวก ตะแคงตัวลูกให้หน้าหันเข้าหาตัวแม่ ศีรษะและลำตัวอยู่ในแนวเดียวกันหรือก้มได้ เล็กน้อย ช้อนเต้านมโดยให้หัวแม่มือวางอยู่ด้านบน อีกสี่นิ้วอยู่ด้านล่าง ทุกนิ้วอยู่นอกขอบลาน หัวนม ใช้นิ้วชี้รั้งผิวหนังใต้นมเพื่อให้หัวนมยื่นออก  ใช้หัวนมเขี่ยที่กลางริมฝีปากล่างของลูก ลูกจะอ้าปากกว้าง กอดลูกเข้าหาตัว พร้อมสอดหัวนมเข้าปากลูกให้กระชับและลึก จนเหงือกกดลงบน ลานหัวนม ลิ้นอยู่ใต้ลานหัวนม ริมฝีปากลูกไม่เม้มเข้า สังเกตลูกดูดนมแก้มจะไม่บุ๋ม เหงือกจะขยับเข้าลานหัวนมเป็นจังหวะ และจะไม่ได้ยิน เสียงดูดนมเลย นอกจากเสียงกลืนเบาๆ  ให้ลูกดูดนมข้างหนึ่งจนน้ำนมหมดเต้า แล้วจึงเปลี่ยนให้ดูดอีกข้างหนึ่ง  ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ไม่ให้น้ำ นมผสม หรืออาหารอื่น  แม่ควรทำใจให้สบายไม่วิตกกังวล  แม่จะได้รับความช่วยเหลือและกำลังใจจากเจ้าหน้าที่  สามีหรือญาติผู้ใหญ่ควรมีส่วนช่วยในการให้ลูกกินนมแม่ด้วย

IQ ที่แบ่งโดยรูปแบบการให้อาหารนม ทารกเลี้ยงด้วยนมผสม 2.1 จุด 2. เด็กอายุ 3-7 ปี ที่เคยเลี้ยงด้วยนมแม่ จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่เลี้ยง ด้วยนมผสม 2 จุด 3. เด็กอายุ 7½ - 8 ปี ที่เคยเลี้ยงด้วยนมแม่ จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่เลี้ยง ด้วยนมผสม 2 จุด 4. เด็กอายุ 8 - 9 ปี ที่เคยเลี้ยงด้วยนมแม่ (มากกว่าหรือเท่ากับ 8 เดือน) จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมผสม 2.84 จุด 5. เด็กอายุ 9 ½ ปี ที่เคยเลี้ยงด้วยนมแม่ จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่เลี้ยง ด้วยนมผสม 12.9 จุด 6. เด็กอายุ 8 - 15 ปี ที่เคยเลี้ยงด้วยนมแม่ จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่เลี้ยง ด้วยนมผสม 0.4 - 1.7 จุด

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข