เวลาและสถานที่ ในการใช้กฎหมายอาญา กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฎหมายอาญาใช้เมื่อไหร่ และที่ไหน?
ความสำคัญของเวลาและสถานที่ กฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อประกาศใช้ และสิ้นผลเมื่อถูกยกเลิก “บุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็น ความผิดและกำหนดโทษไว้...” กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐและสังคมในการใช้อำนาจเหนือรัฐนั้นๆ ซึ่งอำนาจของรัฐนั้นมีขอบเขตจำกัด อำนาจอธิปไตยมีเหนือดินแดน หรือ “ราชอาณาจักร” เท่านั้น เวลาและสถานที่จึงกลายเป็นปัจจัยตรงในการพิจารณาว่ากฎหมายอาญานั้นๆ มีผลบังคับใช้หรือไม่ หากผิดเวลา ผิดสถานที่ โครงสร้างความรับผิดอื่นๆ ย่อมไม่นำมาพิจารณาอีก เพราะถือว่าไม่อยู่ในอำนาจ ของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่เกี่ยวข้องกับรัฐไทย
เวลาของการใช้บังคับเป็นกฎหมาย กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและ กำหนดโทษ หลักเบื้องต้น คือ กฎหมายอาญาจะใช้เอาผิดบุคคลได้ต่อเมื่อขณะกระทำการ มี กฎหมายที่กำหนดว่าเป็นความผิดไว้แล้ว เวลาที่กระทำความผิด คือ เวลาที่ผู้กระทำความผิดได้ยืนยันเจตจำนงของตนออกไป โดยการกระทำ มิใช้เวลาที่ผลของการกระทำเกิดขึ้น
สังเขปว่าด้วยเรื่อง “การกระทำ” “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ” และ “กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษ” ปกติเรื่อง “การกระทำ” จะอยู่ในมาตรา 59 ของประมวลกฎหมายอาญา แต่ในที่นี้ขอยกขึ้นอธิบายไว้ โดยสังเขปก่อนเพื่อความเข้าใจ “การกระทำ หมายความถึง การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย (งดเว้นหรือละเว้น) โดยรู้สำนึก กล่าวคืออยู่ในบังคับของจิตใจ คือมีความคิดที่จะกระทำ ที่การตกลงใจที่จะกระทำ และได้กระทำไป” งดเว้น = มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ไม่ยอมเคลื่อนโดยรู้สำนึก ละเว้น = ไม่มีหน้าที่โดยตรงตามสถานภาพ แต่มีหน้าที่ในฐานะบุคคลทั่วไป และกฎหมายเอาผิดที่ไม่ยอม เคลื่อนไหวร่างกายตามหน้าที่ในฐานะบุคคลทั่วไปดังกล่าว
จุดเริ่มต้นของการกระทำ คือ “การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย” หากอยู่ในขั้นคิด หรือตกลงใจจะกระทำ นั้นยังไม่ถือว่ามีการกระทำเกิดขึ้น เช่น “การฆ่า” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้ลงมือกระทำ กฤษณ์พชร ต้องการฆ่าคุณประยุทธ์จึงเดินติดตามสังเกตพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของคุณประยุทธเป็น เวลาหนึ่งสัปดาห์ พอได้ความว่าคุณประยุทธ์จะดื่มกาแฟร้านประจำทุกเช้าจึงตกลงใจใช้วิธีการวางยาพิษใน กาแฟร้านประจำด้วยการสับเปลี่ยนแก้ว โดยกฤษณ์พชรได้หายาพิษมาจากห้องแล๊ปในมหาวิทยาลัยแห่ง หนึ่งด้วยการบุกเข้าขโมยในเวลากลางคืนในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 จนเช้าวันรุ่งขึ้นคุณประยุทธ์เกินทาง ไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม คุณประยุทธ์กลับมาในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 กฤษณ์พชร จึงดำเนินการ ตามแผนดังกล่าวด้วยการสลับแก้วกาแฟที่มียาพิษ แต่ปรากฏว่าก่อนที่ที่คุณประยุทธ์จะดื่มกาแฟแก้วนั้น แล้วเกิดพิษในร่างกายขึ้น คุณประยุทธ์ถูกนายเลี่ยว คู่อริยิงจนเสียชีวิต
การกระทำบางอย่างมีช่วงของการกระทำยาว และในช่วงเวลานั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย จึง จำเป็นต้องวินิจฉัยให้ดีว่า การกระทำเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่ ปกติการกระทำจะเริ่มขึ้นก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่อาจใกล้ชิดผลของการกระทำแล้ว เช่น การฆ่า เริ่มเมื่อเล็งปืนไปที่เหยื่อ หากยิงถูกและเหยื่อเสียชีวิต = ฆ่าคนตาย, ถ้ายิงแล้วไม่โดน = พยายามฆ่าคน ตาย, ถ้าเล็งแล้วแต่โดนรวบก่อน = พยายามฆ่าคนตาย แต่ถ้าใส่กระสุนอยู่ยังไม่ชัดว่ามีการกระทำเกิดขึ้น หรือไม่ แต่ความผิดบางฐานกำหนดช่วงของการกระทำตั้งแต่การ “ตระเตรียม” เช่น มาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการอื่นใดหรือสมคบกัน เพื่อเป็นกบฏ หรือกระทำ ความผิดใด ๆ อันเป็นส่วนของ แผนการ เพื่อเป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฎหรือรู้ว่ามีผู้จะเป็น กบฎ แล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
การใช้กฎหมายอาญาย้อนหลัง โดยทั่วไป การใช้กฎหมายย้อนหลังไม่ว่าจะเพื่อเป็นคุณหรือเพื่อเป็นโทษก็ตาม เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ เพราะ ขัดต่อหลักศีลธรรมภายในของกฎหมาย (inner morality of law) ที่ว่าด้วยกฎหมายไม่ควรมีผลย้อนหลัง (retroactive legislation) เพราะเป็นการกระทำย้อนแย้ง (paradox) กับหลักว่าด้วยกฎหมายมีผลเมื่อประกาศใช้ ซึ่งในทางปรัชญา สิ่งที่ขัดแย้งในตัวเองเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเข้าใจได้ ด้วยเหตุและผล ในขณะเดียวกันความซ้อนกันของเวลาหากทำบ่อยเข้า อาจเกิดความรู้สึกที่ไม่ชัดเจนว่า “กฎหมายที่ใช้ บังคับอยู่ตอนนี้ มีผลใช้บังคับจริงหรือไม่ เมื่อถึงเวลาต้องวินิจฉัยข้อพิพาท”
ตัวอย่าง... มาตรา ๔๘ บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติรวมทั้งการกระทําของบุคคล ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้ กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผล บังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการ กระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ ให้กระทํา และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อ กฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง ถึงแม้มาตรา 48 จะให้ผลในทางที่เป็นคุณกับผู้กระทำความผิด ไม่ต้องห้ามตามหลักกฎหมายอาญา แต่มัน ก็ชวนให้คิดว่า หากกฎหมายย้อนหลังได้ เราจะไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่ากฎหมายไหนจะมีผลบังคับใช้บ้าง
คุณประยุทธ์ ยึดอำนาจในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 113 (2) ของ ประมวลกฎหมายอาญา คือ “ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญจะใช้กำลังเพื่อล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการ” ต่อมามีการนิรโทษกรรมในรัฐธรรมนูญในวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 มาตรา 48 ให้ความผิดตาม 113 ไม่มีผล บังคับใช้กับการกระทำของคุณประยุทธ์ นั้นเท่ากับว่า เอาเข้าจริงในวันที่ 22 พฤษภา 2557 ไม่มี ม.113 ใช้บังคับกับพลเอกประยุทธ์อยู่ เท่ากับว่า ในวันที่ 22 พฤษภา ทุกคนเข้าใจผิดว่า ม.113 มีผลบังคับใช้อยู่ การทำเช่นนี้ ทำให้ต่อไปนี้เราอาจคิดเอาเองได้ว่าการกระทำความผิดในวันนี้ อาจถูกยกเลิกไปวันหน้า และ ทำให้กฎหมายปราศจากกฎเกณฑ์ และดำเนินไปตามอำเภอใจ
การใช้กฎหมายอาญาเพื่อย้อนหลัง อย่างไรก็ตาม มาตรา 2 วรรคสอง “ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึง ที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ ก็ให้การ ลงโทษนั้นสิ้นสุดลง” ถึงแม้กฎหมายอาญาจะอนุญาตให้ใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นคุณ แต่ให้ระลึกไว้ว่าการใช้กฎหมาย ย้อนหลังไม่ว่าคุณหรือโทษนั้นมีปัญหาในเชิงตรรกะทั้งสิ้น เพราะจะทำให้เราไม่สามรถเข้าใจกฎหมายอย่าง เป็นเหตุเป็นผลได้ โดยเหตุที่กฎหมายอาญามีลักษณะเฉพาะ กฎหมายอาญาจึงกำหนดกติกาไว้เป็นพิเศษและโดย เฉพาะเจาะจง
กฎหมายที่บัญญัติภายหลังยกเลิกความผิด ฎ 109/2514 “โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานนำใบยาแห้งพันธ์ต่างประเทศตั้งแต่หนึ่งกิโลกรรมขึ้นไปนอกเขต จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามที่ พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 26 และ 51 บัญญัติไว้ ต่อมาคดีอยู่ใน ระหว่างศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ. ยาสูบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2512 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 13 และ 19 ให้ยกเลิก มาตรา 26 และ 51 เดิม จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง” ฎ 2763/2541 “ขณะเกิดเหตุ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานเข้าหรือขึ้นไปบนเกาะที่นกนางแอ่นทำ รังอยู่ตามธรรมชาติ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พ.ร.บ. อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2540 ยกเลิก พ.ร.บ. อากรรังนกอีแอ่นฉบับเดิมทั้งหมด ถือว่าตามบทบัญญัติของกฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิด จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 2 วรรคสอง”
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 55 เม็ดกับ 1 ห่อน้ำหนัก 4 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 55 เม็ดกับ 1 ห่อน้ำหนัก 4.91 กรัมไว้ในครอบครองเพื่อขาย โดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ดังนี้ แม้ ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามฟ้องแต่ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาได้มีประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) ออกมายกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ.2536) ซึ่งบังคับใช้ขณะเกิดเหตุโดยกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ใน ประเภท 1 หรือ 2 เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อไม่มี การคำนวณว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางน้ำหนักรวม 4.91 กรัมมีสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่กำหนด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา 106 ทวิ เพราะ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา 106 วรรคหนึ่งเท่านั้น
“บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง” ต้องเป็นบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายได้แก่ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ ปกติกฎหมายที่กำหนดความผิดและโทษ ต้องเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ แต่บางกรณีที่กฎหมายกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการะกระทำความผิดในกฎหมายระดับ ข้องฝ่ายบริหารและฝ่ายปกครอง เช่น พระราชกฤาฎีกา และกฎกระทรวง
ฎ 320/2515 “จำเลยถูกฟ้องหาว่าขนย้ายข้าวสารออกนอกบริเวณเขตห้ามขนย้ายข้าวแล้วนำไปเข้าเขตห้าม ขนย้ายข้าวอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการฝ่าฝืนประกาศเรื่องการควบคุมและกำหนดเขตห้ามขนย้ายข้าว ของคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. สำรวจและห้ามกักกันข้าว ฯลฯ คดี อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มีประกาศฉบับใหม่ของคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ประกาศฉบับใหม่นี้มิใช้กฎหมายจึงไม่มีผลลบล้างการกระทำของจำเลยซึ่งเป็น ความผิดตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น จำเลยจึงไม่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด” ฎ 1166/2526 “โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเก็บและจำหน่ายแก๊สบิวเตน (ปกติ) ซึ่งเป็นแก๊สปิโตรเลียมเหลวอัน เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ผู้ใช้รถยนต์โดยมิได้รับใบอนุญาต โดยกระทำผิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2524 เมื่อมี ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2524 ให้ยกเลิกความในลำดับที่ 17 แห่งประกาศฯ ฉบับแรก ดังนี้ บิวเตน (ปกติ)จึงไม่เป็นน้ำมัน เชื้อเพลิงอีกต่อไป แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยก็พ้นจากการเป็น ผู้กระทำความผิดต้องยกฟ้อง”
“มีข้อสังเกตว่า การกระทำของจำเลยในตอนแรกเป็นความผิดตาม ‘พ. ร. บ “มีข้อสังเกตว่า การกระทำของจำเลยในตอนแรกเป็นความผิดตาม ‘พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมัน เชื้อเพลิง พ.ศ. 2474’ ซึ่งเป็น ‘กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำ’ ตามความหมายของมาตรา 2 วรรคแรก ต่อมามี ‘ประกาศกระทรวงมหาดไทย’ ออกมาใหม่ ซึ่งมีผลทำให้บิวเทน (ปกติ) ไม่เป็นน้ำมันเชื้อเพลงตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวอีกต่อไป ปัญหาที่ควรพิจารณาคือ ‘ประกาศกระทรวงมหาดไทย’ ที่ออกมาใหม่ ไม่ใช่กฎหมาย จึงไม่น่าจะมีผลทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดโดยนัยของมาตรา 2 วรรคสอง ได้...การกระทำในตอนแรกซึ่งเป็นความผิดในขณะกระทำก็ยังน่าจะเป็นความผิดอยู่ต่อไป เพราะมิได้มีการ ออกกฎหมายใดมายกเลิกพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่อย่างใด” (เกียรติขจร: 2546, 34)
“กฎหมายบริหารบัญญัติหรือกฎหมายลำดับรอง คือ กฎเกณฑ์ทางกฎหมายซึ่งองค์กรของรัฐที่ใช้อำนาจ ในทางบริหารอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฯ... โดยกำหนดรายละเอียดเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตาม หลักการและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ...” (วรเจตน์: 2557, 137) “ประกาศกระทรวง คือ กฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นที่มีค่าเสมอ ด้วยพระราชบัญญัติอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับเสมอด้วย พระราชบัญญัติตราขึ้นตามดุลพินิจของตนภายในกรอบของกฎหมายที่ให้อำนาจนั้น ทั้งนี้ไม่ต้องขอความ เห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี” (วรเจตน์: 2557, 138) เกียรติขจร มองว่า ประกาศกระทรวง ไม่ใช่กฎหมาย จะมีผลตามมาตรา 2 วรรคสอง ต้องเป็นการยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติ วรเจตน์ เห็นว่าประกาศกระทรวงเป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการ และเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ
ผลของมาตรา 2 วรรคสอง แบ่งผลออกเป็นสามระยะ ขึ้นอยู่กับว่าการพิจารณาคดีอยู่ในชั้นไหน 1) ผู้กระทำความผิดเพียงถูกกล่าวหา ยังอยู่ระหว่างการต่อสู้คดีและไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด = ให้พ้นจาก การเป็นผู้กระทำความผิด 2) ถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่ยังไม่ได้รับโทษ ให้ถือว่าผู้กระทำความผิดไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ต้อง รับโทษโดยสิ้นเชิงเลย ไม่ว่าจะเป็นผลตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น การรอการลงโทษ การเพิ่มโทษ หรือ ผลตามกฎหมายอื่นเช่นรัฐธรรมนูญ ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นต้น ถ้าได้รับโทษไปแล้วให้ถือว่าโทษนั้นสิ้นสุดลง---อย่างไรก็ตาม โทษที่ได้รับมาแล้วเป็นอันแล้วไป แต่ก็ไม่ถือ ว่าผู้นั้นเคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดมาแล้ว เมื่อไม่ถือว่าเคยต้องคำพิพากษา ย่อมถือว่าไม่เคย ต้องโทษเช่นกัน (จิตติ: 2536, 60)
กฎหมายใหม่กับกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดแตกต่างกัน กฎหมายอาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามวิธีการทางนิติบัญญัติ เมื่อกฎหมายใหม่ออกมากอาจเป็นการยกเลิกกฎหมายเก่าไปโดยปริบายเมื่อกฎหมายทั้งสอง กล่าวถึงเนื้อหาสาระเดียวกัน ผลในทางกฎหมายประเภทอื่นย่อมใช้กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ ในขณะที่ข้อพิพาทเกิดขึ้น เช่น ตามพระราชบัญญัติสัญชาติต่างๆ กฎหมายจะกำหนดวิธีการโดยเฉพาะเจาะจงว่าต้องทำอย่างไร กับกรณีที่คร่อมเกี่ยวระหว่าง กฎหมายเก่ากับกฎหมายใหม่ แต่กฎหมายอาญามีการกำหนดวิธีการไว้โดยเฉพาะ ตามมาตรา 3
“มาตรา 3 ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วน ที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่และ โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลังเมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล เมื่อผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือ พนักงานอัยการร้องขอให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว เมื่อได้คำนึงถึงโทษตาม กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง หากเห็นเป็นการสมควรศาลจะ กำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลัง กำหนดไว้ ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิด ได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อยผู้กระทำความผิดไปก็ได้ (2) ถ้าศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และตาม กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ถึงประหารชีวิต ให้งดการประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และ ให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุด ที่จะพึงลงได้ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง”
จากมาตรา 3... อาจพิจารณาได้ 3 กรณีด้วยกัน 1) กรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุด 2) กรณีคดีถึงที่สุดแล้ว และผู้กระทำรับโทษครบถ้วนจนกระทั้งพ้นโทษแล้ว 3) กรณีที่คดีถึงที่สุด และผู้กระทำยังไม่ได้รับโทษหรือกำลังรับโทษอยู่
กรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุด ถ้าคดียังไม่ถึงที่สุด ดูมาตรา 3 วรรคหนึ่ง “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ กฎหมายที่ใช้ ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วน ที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่ คดีถึงที่สุด...” การจะตอบปัญหานี้ได้มีประเด็นต้องพิจารณาสามเรื่อง 1) การกระทำความผิดเกิดขึ้นเมื่อใด กฎหมายใดมีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น 2) กฎหมายใหม่ที่ออกมาเป็นเรื่องเดียวกันกับกฎหมายเก่าที่ว่าด้วยการกระทำความผิดเดียวกันหรือไม่ กฎหมายใหม่ย่อมเลิกกฎหมายเก่าไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถ้าเป็นประเด็นเดียวกัน 3) การวินิจฉัยว่ากฎหมายใดเป็นคุณมากกว่ากัน
“การทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ สัตว์ได้รับ ความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวดความ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย และให้หมายความรวมถึง การใช้สัตว์พิการ สัตว์เจ็บป่วย สัตว์ชรา หรือสัตว์ที่กำลังตั้งท้อง เพื่อแสวงหา ประโยชน์ ใช้สัตว์ประกอบกามกิจ ใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงาน อันไม่สมควร เพราะเหตุที่สัตว์นั้นเจ็บป่วย ชราหรืออ่อนอายุ มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอัน สมควร มาตรา ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่ เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 381-382 (น่าจะถูกยกเลิกไปโดยปริยายด้วยการ ออก พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ 2557) มาตรา 381 ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้ รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตัวอย่าง กฤษณ์พชร ใส่รองเท้าส้นสูงแล้วเหยียบแมวจนตาย พอตายแล้วก็นำแมว นั้นไปถลกหนังแล้วย่างไฟจนน้ำมันฉ่ำ แล้วนำน้ามันแมวมาปลุกเสกขาย เป็นนั้นมันทาสแมว ผู้ใช้จะมีเสน่ห์ราวกับแมว ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 เวลาบ่ายสามโมงตรง ใช้ มาตรา 381 ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้ รับทุกขเวทนา อันไม่จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือ มาตรา 31 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่ เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตัวอย่าง กฤษณ์พชร ใส่รองเท้าส้นสูงแล้วเหยียบแมวจนตาย พอตายแล้วก็นำแมว นั้นไปถลกหนังแล้วย่างไฟจนน้ำมันฉ่ำ แล้วนำน้ามันแมวมาปลุกเสกขาย เป็นนั้นมันทาสแมว ผู้ใช้จะมีเสน่ห์ราวกับแมว ในวันที่ 10 ธันวาคม 2557 เวลาบ่ายสามโมงตรง มีการดำเนินคดีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ใช้ มาตรา 381 ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้ รับทุกขเวทนา อันไม่จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือ มาตรา 31 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่ เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติป้องกันป้องกันการทารุณ กรรมแลการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ. ศ พระราชบัญญัติป้องกันป้องกันการทารุณ กรรมแลการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 : มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป เวลากระทำความผิด = 10 ธันวาคม 2557 เวลาที่กฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ 27 ธันวาคม 2557 เพราะเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำ ตาม มาตรา? 2 วรรคหนึ่ง ของประมวลกฎหมายอาญา
การวินิจฉัยว่ากฎหมายใดเป็นคุณมากกว่ากัน กฎหมายที่มีโทษเบากว่า : ฎ 3992/2539 “โทษปรับตามมาตรา 326 (หมิ่นประมาท) เดิมปรับไม่เกิด 2,000 บาท และมาตรา 328 (หมิ่น ประมาทด้วยการโฆษณา) เดิมปรับไม่เกิน 4,000 บาท ต่อมามีการแก้ไขมาตรา 326 เป็นไม่เกิน 20,000 บาท และ เพิ่มโทษปรับตามมาตรา 328 เป็นไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535...” ฎ 6142/2540 “เมื่อระวางโทษตาม พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทฯ มาตรา 106 ตรี และ พ.ร.บ. ยาเสพย์ติดให้ โทษฯ มาตรา 91 ต่างเป็นคุณต่อผู้กระทำความผิดคือถ้าดูโทษขั้นสูงแล้ว พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 106 ตรี เป็นคุณกว่า เพราะระวางโทษขั้นสูงเพียงห้าปี แต่ พ.ร.บ. ยาเสพย์ติดให้โทษฯ มาตรา 91 ลงโทษ อย่างสูงได้ถึงสิบปี แต่ถ้าดูโทษขั้นตำแล้ว พ.ร.บ. ยาเสพย์ติให้โทษฯ มาตรา 91 เป็นคุณกว่าเพราะจำคุกตั้งแต่หก เดือนขึ้นไป แต่ พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 106 ตรี จำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนขึ้นไป ฉะนั้น ถ้าศาล ลงโทษจำคุกในอัตราขั้นสูงต้องใช้ พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ เพราเป็นคุณแก่จำเลย แต่ถ้าจะจำคุก ในอัตราขั้นต่ำต้องใช้ พ.ร.บ. ยาเสพย์ติดให้โทษเพราะเป็นคุณแก่จำเลย”
กฎหมายที่มีโทษลำดับหลังๆ ของมาตรา 18 จะถือว่าโทษเบากว่าลำดับบนๆ ดังนั้น หากเรียงลำดับจาก หนักไปหาเบา คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์ หากกฎหมายใหม่กำหนดโทษลำดับที่ต่ำกว่า กฎหมายเก่าก็ให้ใช้กฎหมายใหม่บังคับกับกรณี หากกฎหมายใดเปิดโอกาสให้เลือกลงโทษเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นคุณกับผู้กระทำความผิด มากกว่า กฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาคดีน้อยกว่าย่อมเป็นคุณกว่า เช่น การเป็นความผิดต่อส่วนได้ ย่อมเป็นคุณกว่าการเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เพราะความผิดต่อส่วนตัวนั้นอาจยอมความได้, อายุความ, การวินิจฉัยความผิด เอาส่วนดีของทั้งกฎหมายเก่าและใหม่มารวมไว้ จึงจะเรียกว่าเป็นคุณที่สุด
กรณีคดีถึงที่สุด และรับโทษครบถ้วนจนกระทั้งพ้นโทษแล้ว ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เลย และเมื่อพ้นโทษแล้ว ก็ถือว่ากระบวนการทางอาญาทั้งหมดยุติลง ย่อมไม่สามารถถือกฎหมาย ทีเป็นคุณมากกว่าในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด (หากเป็นกรณีตามมาตรา 2 วรรคสอง หากผู้กระทำความผิดได้รับโทษจนครบถ้วนแล้ว แต่ กฎหมายที่ลงโทษผู้กระทำความผิดดังกล่าวถูกยกเลิกไป จะถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำ พิพากษา และไม่เคยต้องโทษ ที่มีผลลัพธ์เป็นการติดตัวระยะยาว เช่น ลักษณะต้องห้ามของ ข้าราชการพลเรือน เป็นต้น) แต่หากไม่ถึงขั้นยกเลิก เพียงแต่เปลี่ยนแปลงคุณโทษ ก็ยังต้องถือว่าบุคคลนั้นมีความผิดและ รับโทษไปตามนั้นอยู่
กรณีที่คดีถึงที่สุด และผู้กระทำยังไม่ได้รับโทษหรือกำลังรับโทษอยู่ มาตรา 3 วรรคสอง แบ่งออกเป็นสองกรณี 1) โทษตามคำพิพากษาไม่ใช่โทษประหารชีวิต เป็นไปตาม มาตรา 3 วรรคสอง (1) 2) โทษตามคำพิพากษาเป็นโทษประหารชีวิต เป็นไปตามมาตรา 3 วรรคสอง (2)
โทษตามคำพิพากษาไม่ใช่โทษประหารชีวิต (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล เมื่อผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือ พนักงานอัยการร้องขอให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว เมื่อได้คำนึงถึงโทษตาม กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง หากเห็นเป็นการสมควรศาลจะ กำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลัง กำหนดไว้ ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิด ได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อยผู้กระทำความผิดไปก็ได้
ความเห็นของเกียรติขจร เกียรติขจร เห็นว่าสมควรแยกเป็นสองกรณี (เกียรติขจร: 2546, 40) 1) ผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ : “ถ้าปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่า โทษที่กำหนดตาม กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ศาลต้องกำหนดโทษเสียใหม่ตามที่กฎหมายบัญญัติในภายหลัง” 2) ผู้กระทำความผิดกำลังรับโทษอยู่ : “ถ้าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่ บัญญัติในภายหลังศาลก็จะต้องกำหนดโทษเสียใหม่ตามที่กฎหมายกำหนดในภายหลัง” “ถ้า (ผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่) และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่ กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล เมื่อผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรม ของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือ พนักงานอัยการร้องขอให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติใน ภายหลัง /ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว เมื่อได้คำนึงถึงโทษ ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง หากเห็นเป็นการสมควรศาลจะกำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายที่บัญญัติ ในภายหลังกำหนดไว้ ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิด ได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อย ผู้กระทำความผิดไปก็ได้”
โทษตามคำพิพากษาเป็นโทษประหารชีวิต (2) ถ้าศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ถึงประหารชีวิต ให้งดการประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และ ให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุด ที่จะพึงลงได้ตาม กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง” ถ้ากฎหมายใหม่ออกมา แล้วกำหนดโทษในฐานความผิดที่ผู้กระทำเสียใหม่ ให้ไม่ถึงขั้น ประหารชีวิต ให้งดการประหารชีวิต และให้เปลี่ยนมาใช้โทษสูงสุดที่จะทำได้ตามกฎหมายใหม่
สรุปเรื่องเวลาของกฎหมายอาญา เวลาของกระกระทำความผิด และเวลาของการบังคับใช้กฎหมายต้อง สอดคล้องกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงในตัวบทกฎหมาย กฎหมายอาญาก็จะมีกลไกในการ คิดเพื่อวินิจฉัยว่ากฎหมายใดจะมีผลบังคับใช้อยู่ ซึ่งโดยทั่วไป คือกฎหมายทีเป็นคุณกับผู้กระทำความผิดมากกว่า เหตุผลเพราะลักษณะของการลงโทษทางอาญา ความผิดอาญา และเงื่อนไข ในการใช้อำนาจของรัฐในโลกสมัยใหม่ที่ต้องใช้อำนาจอย่างจำกัด และ เท่าที่จำเป็น
เขตอำนาจของกฎหมายอาญา เขตอำนาจ (jurisdiction) หมายถึง พื้นที่ๆ และเงื่อนไขที่อำนาจรัฐและกฎหมายของ แต่ละรัฐมีผลใช้บังคับ ในเชิงทฤษฎี คือ อำนาจของรัฐนั้นดำเนินไปโดยมีขอบเขตเพียงใด หาก “ข้อเท็จจริง” เกิดขึ้นในเขตอำนาจของกฎหมายอาญา รัฐนั้นๆจึงจะมี ความสามารถในการดำเนินการเหนือข้อเท็จจริงนั้นๆ ได้
เช่น... กฤษณ์พชร เป็นคนสัญชาติไทย เดินทางไปพักร้อนที่ประเทศมาเลเซียโดยหลบหนีเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 13 มีนาคม 2559 เผอิญเดินสวนทางกับโดนัลล์ ทรัมพ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ประเทศสหรัฐฯ สังกัดพรรครีพลับบิกัน กฤษณ์พชร รู้สึกหมั่นไส้เพราะความคิดทางการเมืองไม่ตรงกันจึง ตะโกนด่าไปว่า “Go fuck yourself, motherfucker racist” โดนัลล์ ทรัมพ์ รู้สึกโมโหมากจึง ชักปืนมายิงกฤษณ์พชร กฤษณ์พชรหลบได้มาตลอด แต่โดนัลล์ก็ไม่ล้มเลิกความตั้งใจไล่ล่ามาจนถึง ชายแดนอำเภอเบตง จังหวัดสงขลา กฤษณ์พชรข้ามชายแดนมา โดนัลล์ ทรัมยิงจากฝั่งมาเลเซียยิงถูกศีรษะ ของกฤษณ์พชร แต่กฤษณ์พชรไม่เจ็บจึงชักปืนยิงสวนโดนัลล์ ทรัมพ์ไปสองนัด นัดแรกโดนเจ้าหน้าที่ ศุลกากรประจำด่านเบตง นัดที่สองจึงจะโดนโดนัลล์ ทรัพย์ และบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะ ตามมาห้าม ทั้งคู่เสียชีวิต ระหว่างไทย มาเลเซีย สหรัฐฯ ใครจะมีอำนาจในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องบ้าง?
จำไว้ว่า, เช่นเดียวกับเรื่องเวลา, หากข้อเท็จจริงไม่อยู่ในเขตอำนาจ ของกฎหมายไทย ก็ไม่สามารถนำกฎหมายไทยมาปรับใช้กับกรณีได้ อีกต่อไป การพิจารณาเรื่องเวลากับสถานที่จึงต้องทำก่อนโครงสร้าง ความรับผิดทางอาญาอื่นๆ
เขตอำนาจของกฎหมายอาญาไทย ในเชิงพื้นที่ กฎหมายอาญาของไทยมีขอบเขตการบังคับใช้ตามมาตรา 4-11 บาง ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก เขตอำนาจตามหลักดินแดน (territorial principle) ส่วนที่สอง เขตอำนาจตามหลักอำนาจลงโทษสากล (universality principle) และส่วนสุดท้าย เขตอำนาจตามหลักบุคคล (personality principle)
หลักดินแดนในกฎหมายอาญา หลักดินแดนปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4, 5 และ 6 มาตรา 4 = เขตอำนาจตามปกติ, มาตรา 5 = กรณีที่ถือว่าอยู่ในเขตอำนาจ, มาตรา 6 กรณีร่วมกันกระทำ ความผิด มาตรา 4 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษตามกฎหมาย การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งใด ให้ถือว่า กระทำความผิดในราชอาณาจักร
อธิบายมาตรา 4 วรรคหนึ่ง มาตรา 4 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษตามกฎหมาย กฎหมายอาญาจะลงโทษบุคคลได้กรณีกระทำความผิดในราชาอาณาจักร (“ความผิด” จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีกฎหมายกำหนดให้การกระทำนั้นๆ เป็นความผิด ตามมาตรา 2 ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย อะไรก็ได้ที่มีการกำหนดโทษทางอาญา ตั้งแต่ พรบ ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี, พรบ ยาเสพติดให้โทษ พรบ ป่าไม้, พรบ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ) “การกระทำ” คือ ส่วนของการปฏิบัติการของผู้กระทำ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับ “ผลของการกระทำ” เช่น กฤษณ์พชร เล็งปืนไปยังทักษิณ แล้วยิง กระสุนนั้นพุ่งไปถูกหัวเข่าของทักษิณ ที่อำเภอแม่สาย ทักษิณคลานหนีไป ตายที่ท่าขี้เหล็ก ความตายของทักษิณที่เกิดที่ท่าขี้เหล็กเป็น “ผลของการกระทำ” แต่การกระทำของกฤษณ์พชร คือ เล็ง ยิง ยิงโดน ทั้งหมดเกิดที่แม่สาย (กรณีนี้จะเข้ามาตรา 4, ถ้าเป็นการกระทำส่วนใดส่วนหนึ่งจะเข้า มาตรา 5)
“หากการกระทำความผิดทั้งหมดเกิดในราชอาณาจักรก็เป็นกรณีตามมาตรา 4 วรรคแรก โดย ไม่จำเป็นว่า “ผลของการกระทำความผิด” จะเกิดนอกราชอาณาจักรก็ตาม มีข้อสังเกต ว่า “ผลของการกระทำความผิด” มิใช่ “การกระทำความผิด” เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดย เจตนาตาม ป.อ. 288 “ความตาย” ของผู้ถูกฆ่าเป็นผลของการกระทำความผิด ดังนั้น หากการ ฆ่าทุกขั้นตอนเกิดในราชอาณาจักรแล้ว ไม่ว่าผู้ตายจะตายในหรือนอกราชอาณาจักร ก็เป็น กรณีตามมาตรา 4 วรรคแรก” ฎ 3337/2543: จำเลยให้ผู้ตายดื่มสารพิษที่บ้านพักของผู้ตาย ความผิดอาญา ที่จำเลยกระทำ เกิดขึ้นที่บ้านพักของผู้ตาย ส่วนที่ผู้ตายถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลนั้น เป็นผลของการ กระทำความผิด
บุคคลที่อยู่ในบังคับของมาตรา 4 คือ “ผู้ใด” การที่กฎหมายไม่กำหนดคุณสมบัติใดๆ ไว้อีก นั่น เท่ากับว่า “มนุษย์” ทุกคนย่อมอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 4 นี้ หญิง/ชาย/เพศหลากหลาย, ไทย/เทศ/ไร้สัญชาติ, จน/รวย/รวยมาก อยู่ในบังคับของมาตราสี่ ทั้งสิ้น โดยสภาพ, เวลาทางกฎหมายกล่าวถึง “หลักดินแดน” ย่อมปฏิเสธเงื่อนไขเกี่ยวกับ “ตัวบุคคล” ทั้งหมดออกไป และเน้นที่ “ดินแดน” อย่างเดียว ประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ คือ “ราชอาณาจักร”
รัฐสมัยใหม่-รัฐชาติ Concept เรื่อง “ราชอาณาจักร” เป็นผลมาจากการเกิดขึ้นของ “รัฐสมัยใหม่” คือ องค์กรทางการเมืองที่เกิดขึ้นใน ”สมัยใหม่” ที่มีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) อณาเขตที่มั่นคงชัดเจน (Territory) ประชาชนที่มั่นคงชันเจน/พลเมือง (Population-Citizen) รัฐบาล (Government) รัฐในความหมายนี้เป็นผลมาจากกฎหมายระหว่างประเทศชื่อว่า “The Peace of Westphalia 1648” ในกรณีของไทยการร่างแผนที่เกิดขึ้นครั้งแรกช่วงปลายรัชกาลที่ห้า (พ.ศ. 2431)
โลกจริงๆ: เรากลับมองไม่เห็นพรมแดน
“ราชอาณาจักร” (๑) พื้นดิน แม่น้ำ ลำคลอง เกาะในแม่น้ำที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศไทย (๒) ทะเลอันเป็นอ่าวไทย (๓) ทะเลอาณาเขต ได้แก่พื้นน้ำและพื้นแผ่นดินใต้น้ำที่อยู่ระหว่างพื้นดินกับ ทะเลหลวง ความกว้างของทะเลอาณาขตนี้ประเทศไทยถือ ๑๒ ไมล์ทะเล (๔) ฉนวนอากาศเหนือ (๑) (๒) และ (๓) เฉพาะการกระทำความผิดบนพื้นที่เหล่านี้เท่านั้น ที่เป็นการกระทำความผิด ในราชอาณาจักรโดยแท้
ประเทศไทย: ในฐานะที่เป็นรัฐสมัยใหม่
ข้อสังเกต “ราชอาณาจักร” หมายถึง พื้นที่เกิดขึ้นตามการตกลงของประเทศต่างๆ (กฎหมายระหว่าง ประเทศ) นอกเหนือจากพื้นที่ ดิน น้ำ อากาศ แล้ว, ไม่เรียกว่าเป็นราชอาณาจักร เช่น สถานทูตไทยในต่างประเทศ เรือ หรืออากาศยาน เหล่านี้ มิใช่ราชอาณาจักรไทย โดยหลักการ เพียงแต่หากกฎหมายใดต้องการให้ สถานทูต, เรือ หรืออากาศยาน มีอำนาจกฎหมายไทยไปบังคับเสมือนเป็นราชอาณาจักรก็ต้องระบุไว้ อย่างชัดแจ้ง
กรณีที่กฎหมายเสมือนว่าการกระทำนั้นๆ เกิดในราชอาณาจักร ได้แก่ การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย (มาตรา 4 วรรคสอง) การกระทำความผิดบางส่วนนอกราชอาณาจักรและบางส่วนในราชอาณาจักร (มาตรา 5 วรรคแรก) ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร (มาตรา 5 วรรคแรก) ผลของการกระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักร แต่การตระเตรียม หรือความพยายามนั้นเกิดขึ้นนอก ราชอาณาจักร (มาตรา 5 วรรคสอง) ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ได้กระทำความผิดนอกราชอาณาจักร แต่ความผิดได้กระทำในราชอาณาจักร หรือ กระทำนอกราชอาณาจักรแต่ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร (มาตรา 6)
การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย มาตรา 4 วรรคสอง “การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งใด ให้ถือว่า กระทำความผิดในราชอาณาจักร” เพราะ โดยปกติเรือและอากาศยานไม่ใช่ราชอาณาจักรจึงต้องเขียนกฎหมายให้เขตอำนาจแยกไว้จาก มาตรา 4 วรรคหนึ่ง สัญชาติของเรือไทย พิจารณาจาก พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 โดยอาศัยการจดทะเบียนตามมาตรา 6 ซึ่งผู้ที่จะขอจดทะเบียนได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทยและเกี่ยวโยง กับรัฐไทยเป็นหลัก ส่วนสัญชาติของอากาศยานไทย พิจารณาจาก พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 มาตรา 30-33 โดยหลักการเน้นการจดทะเบียนเช่นกัน
การกระทำความผิดบางส่วนนอกราชอาณาจักรและบางส่วนในราชอาณาจักร มาตรา 5 ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำในราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่ง การกระทำเกิดในราชอาณาจักรโดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดย ลักษณะแห่งการกระทำ ผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะ เกิดในราชอาณาจักรก็ดีให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร มาตรานี้แบ่งเป็นสองกรณี คือ 1) การกระทำส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดในราชอาณาจักร 2) ผลของการกระทำเกิดหรือจะเกิดในราชอาณาจักร ข้อสังเกต กรณีตามมาตรา 5 พูดถึง “ราชอาณาจักร” โดยตรง มิได้พูดถึงเรือหรืออากาศยานไทย
“การกระทำ” และ “ผลของการกระทำ” ยิงปืนจากฝั่งพม่าเข้ามาในฝั่งไทยทำให้คนตาย การเล็ง ยิง และยิงโดนคือ “การกระทำ”/ความตายคือ “ผลของการกระทำ” เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์จากสหรัฐฯ เพื่อขโมยเงินฝากของเจ้าของบัญชีในประเทศไทย การเผาป่าในต่างประเทศบริเวณชายแดนที่ติดกับไทย ฯลฯ อาชญากรรมปัจจุบันมีลักษณะข้ามชาติและข้ามพรมแดนมากขึ้น
ฎ 1644/2531 การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร ตามมาตรา 319 วรรคหนึ่ง เริ่มขึ้นตั้งแต่จำเลยพาผู้เสียหายขึ้นรถที่ปากซอยหน้าบ้านในประเทศไทย แม้จำเลยจะไปร่วม ประเวณีกับผู้เสียหายที่ประเทศญี่ปุ่น การกระทำของจำเลยส่วนหนึ่งได้เกิดในประเทศไทยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามบทบัญญัติมาตรา 5 การพรากเริ่มตั้งแต่ นำตัวผู้เยาว์ไปจากความปกครองของผู้ปกครองแล้ว และไปเป็นความผิด สำเร็จตาม 319 วรรคหนึ่ง คือพรากเพื่ออนาจารที่ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น การกระทำส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นในไทย การจะวินิจฉัยเรื่องนี้ได้ ต้องแม่นยำว่าการกระทำตามความผิดฐานต่างๆ เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ ซึ่งมิได้ เหมือนกันในทุกฐานความผิด
ตัวอย่างต่างๆ การฆ่าคนตาย ตาม 288 เริ่มเมื่อกำลังลงมือฆ่า การเล็งปืน การพรากผู้เยาว์เริ่มเมื่อมีการนำพาผู้เยาว์ไปพ้นจากอำนาจปกครองของผู้มีอำนาจ การข่มขืนกระทำชำเรา เริ่มขึ้นเมื่อมีการสอดใส่ในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรา 276 วรรคสอง การบุกรุกโดยใช้โดรน (drone) จากนอกราชอาณาจักร? ฯลฯ
ข้อสังเกต ในฐานะนักเรียนกฎหมายจะต้องวินิจฉัยให้ดี และให้เหตุผลให้ได้ว่าการกระทำตาม ข้อเท็จจริงต่างๆ นั้นเป็นการกระทำที่คาบเกี่ยวกับราชอาณาจักรไทยเพราะอะไร ระหว่างการกระทำส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดในไทย กับ ผลของการกระทำเกิดหรืออาจจะ เกิดในไทย ถึงแม้ว่าผลในทางกฎหมายของทั้งสองกรณีจะเป็นการอยู่ในเขตอำนาจของ กฎหมายไทยตามมาตรา 5 เหมือนกันก็ตาม
ผลของการกระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักร แต่การตระเตรียม หรือความพยายามนั้นเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร มาตรา 5 วรรคสอง: ในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติ เป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำ ตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่า การตระเตรียมการหรือ พยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร โดยปกติ “การกระทำ” ในทางกฎหมายอาญาต้องเป็นการกระทำที่ใกล้เคียงกับผลของการกระทำแล้ว แต่ บางกรณีที่เป็นเรื่องที่กฎหมายให้ความสำคัญก็อาจกำหนดโทษเอากับการ “ตระเตรียม” เอาไว้ (เน้นว่าไม่ใช่ทุกเรื่องที่ถือว่าการกระทำเริ่มตั้งแต่การตระเตรียม) เช่น การกบฏตามมาตรา 113, การวางเพลิงเผาทรัพย์ ตามมาตรา 219 เป็นต้น
“ตระเตรียม” กับ “พยายาม” พยายาม ต่างจากการ ตระเตรียม ขั้นตอนของการกระทำอาชญากรรมคือ คิด, ตกลงใจ, (ตระเตรียม, ลงมือ, ผลสำเร็จ) การพยายามกระทำความผิด คือ การที่บุคคลได้ “เริ่ม” การกระทำไปแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ตามมาตรา 80 ความว่า “ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้ว แต่การ กระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด” “การพยายามกระทำความผิด” จึงเป็นลักษณะของการกระทำความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา ผลของการพยายามกระทำความผิด คือ เป็นเหตุให้การศาลอาจลงโทษได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งสำหรับความผิดนั้น มาตรา 5 วรรคสองกำหนดว่า การตระเตรียมหรือการพยายามกระทำความผิด ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ แต่ ผลจะเกิดในประเทศไทยให้ถือว่าเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักร
ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนกับการกระทำความผิดในหรือถือว่าในราชอาณาจักร มาตรา 6: ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักร หรือที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำใน ราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็นตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุน หรือของผู้ใช้ให้กระทำ ความผิดนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำได้ กระทำในราชอาณาจักร สภาพของการกระทำความผิดในโลกปัจจุบัน คือ มีการกระทำความผิดร่วมกันในลักษณะองค์กร อาชญากรรม (organized crime) ด้วย การใช้มาตรา 6 ต้องคิดเรื่องมาตรา 4 และมาตรา 5 มาจนสุดแล้ว ว่า ผู้กระทำความผิดหลัก (ตัวการ) นั้นมีการกระทำที่เข้าตามมาตรา 4 มาตรา 5 แล้วค่อยมาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ซึ่งด้วยอำนาจของมาตรา 6 จะทำให้ผู้ร่วมกระทำความผิดถือว่ากระทำ ความผิดในราชอาณาจักร เช่นเดียวกับตัวการ
ตัวอย่าง... กฤษณ์พชร ยิงปืนจากฝั่งแม่สายประเทศไทยโดยเล็งไปที่จัสติน บีเบอร์ ที่จัดการแสดงดนตรีอยู่ฝั่งพม่า แต่ ไม่โดน จัสติน บีเบอร์ หนีไปได้ กฤษณ์พชร ยิงปืนจากฝั่งท่าขี้เหล็กประเทศพม่าโดยเล็งไปที่จัสติน บีเบอร์ ที่จัดการแสดงดนตรีอยู่ฝั่งลาว แต่ไม่โดน จัสติน บีเบอร์ หนีไปได้ กฤษณ์พชร ยิงปืนจากฝั่งท่าขี้เหล็กประเทศพม่าโดยเล็งไปที่จัสติน บีเบอร์ ที่จัดการแสดงดนตรีอยู่แม่สายฝั่ง ประเทศไทย โดน จัสติน บีเบอร์ แต่ไม่ตาย กฤษณ์พชร ยิงปืนจากฝั่งท่าขี้เหล็กประเทศพม่าโดยเล็งไปที่จัสติน บีเบอร์ ที่จัดการแสดงดนตรีอยู่แม่สายฝั่ง ประเทศไทย โดน จัสติน บีเบอร์ เสียชีวิตทันที กฤษณ์พชร ยิงปืนจากฝั่งท่าขี้เหล็กประเทศพม่าโดยเล็งไปที่จัสติน บีเบอร์ ที่จัดการแสดงดนตรีอยู่แม่สายฝั่ง ประเทศไทย โดน จัสติน บีเบอร์ เขาจึงวิ่งหนีไปฝั่งลาว และเสียชีวิตที่นั่น 4 ว.1 ? 5 ว.2 5 ว.1 5 ว.1
หลักการลงโทษสากล โดยปกติ อาชญากรรม คือการกระทำที่น่าตำหนิ สังคมไม่ยอมรับ มีความชั่วร้ายและทลายความไว้เนื้อเชื่อ ใจกันในสังคม ดังนั้นอาชญกรรมเกิดขึ้น “ที่ไหน” รัฐที่ตั้งอยู่บนพื้นที่นั้นก็ต้องเข้าไปควบคุมอาชญากรรมเพื่อจรรโลงระบบ เศรษฐกิจและสังคมให้ดำเนินต่อไปได้ จึงเป็นที่มาของ “หลักดินแดน” ในกฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม การจรรโลงระบบเศรษฐกิจและสังคมของรัฐจะไม่อาจดำเนินไปได้หากบุคคลได้กระทำการอัน เป็นปฏิปักษ์และกระทบกระเทือนต่อรัฐโดยตรง เช่น ก่อกบฏ ปลอมเงินตรา โจมตีเรือสินค้า ฯลฯ ตรงนี้ แต่ละรัฐจึงกำหนดอำนาจลงโทษสากลขึ้น เพื่อลงโทษกับความผิดบางฐานโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะการ กระทำจะเกิดขึ้นที่ใด และใครเป็นผู้เสียหายหรือผู้กระทำความผิด
หลักอำนาจลงโทษสากล ตามประมวลกฎหมานอาญาของไทย อยู่ในมาตรา 7 ความว่า “ผู้ใดกระทำดังที่ระบุไว้ต่อไปนี้นอกราชอาณาจักรจะต้องรับโ?ษในราชอาณาจักร คือ (๑) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๒๙ (1/1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย มาตรา 135/1 มาตรา 135/2 มาตรา 135/3 และ มาตรา 135/4 (๒) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๐ ถึงมาตรา ๒๔๙ มาตรา ๒๕๔ มาตรา ๒๕๖ มาตรา ๒๕๗ และมาตรา ๒๖๖ (๓) และ (๔) (๓) ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๙ และความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา ๓๔๐ ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง”
ตัวอย่าง.. กฤษณ์พชร เป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น แต่ทำมาหากินโดยการชิงเรือสินค้าแล้วเอามาแยกชิ้นส่วนเป็นอะไหล่ขาย แล้วนำเอาสินค้าแยกแจกจ่ายแก่คนยากไร้ในหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศศรีลังกา ซึ่งยังคงบอบช้ำ จากสงครามการเมืองในศตวรรษที่ 19 จนวันที่ 26 มีนาคม 2559 กฤษณ์พชร ได้พาพรรคพวกเข้าโจมตี และยึดเรือมิลลิเนี่ยม ฟอลตอน ซึ่งประดับธงไทยในน่านน้ำทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ตที่ห่างจากชายฝั่งไป 10 ไมล์ทะเล ในการยึดเรือครั้งนั้น กฤษณ์พชร ได้ให้เสื้อชูชีพแก่ลูกเรือที่เป็นคนไทยคนละตัวแล้วถีบลง กลางทะเลที่ยึดเรือไว้ แต่ก็กุมตัวผู้โดยสารที่เป็นชาวโรฮิงญาไว้แล้วพาไปส่งที่ประเทศมาเลเซีย จากนั้นก็ยิง สัญญาณให้มีคนช่วยเหลือพวกลูกเรือไทย การกระทำของกฤษณ์พชร เป็นความผิดที่ต้องรับโทษตามกฎหมายไทยหรือไม่?
กฤษณ์พชร เป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น แต่ทำมาหากินโดยการชิงเรือสินค้าแล้วเอามาแยกชิ้นส่วนเป็นอะไหล่ขาย แล้วนำเอาสินค้าแยกแจกจ่ายแก่คนยากไร้ในหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศศรีลังกา ซึ่งยังคงบอบช้ำ จากสงครามการเมืองในศตวรรษที่ 19 จนวันที่ 26 มีนาคม 2559 กฤษณ์พชร ได้พาพรรคพวกเข้าโจมตี และยึดเรือมิลลิเนี่ยม ฟอลตอน ซึ่งประดับธงไทยในน่านน้ำทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ตที่ห่างจากชายฝั่งไป 13 ไมล์ทะเล ในการยึดเรือครั้งนั้น กฤษณ์พชร ได้ให้เสื้อชูชีพแก่ลูกเรือที่เป้นคนไทยคนละตัวแล้วถีบลง กลางทะเลที่ยึดเรือไว้ แต่ก็กุมตัวผู้โดยสารที่เป็นชาวโรฮิงญาไว้แล้วพาไปส่งที่ประเทศมาเลเซีย จากนั้นก็ยิง สัญญาณให้มีคนช่วยเหลือพวกลูกเรือไทย การกระทำของกฤษณ์พชร เป็นความผิดที่ต้องรับโทษตามกฎหมายไทยหรือไม่?
กฤษณ์พชร เป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น แต่ทำมาหากินโดยการชิงเรือสินค้าแล้วเอามาแยกชิ้นส่วนเป็นอะไหล่ขาย แล้วนำเอาสินค้าแยกแจกจ่ายแก่คนยากไร้ในหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศศรีลังกา ซึ่งยังคงบอบช้ำ จากสงครามการเมืองในศตวรรษที่ 19 จนวันที่ 26 มีนาคม 2559 กฤษณ์พชร ได้พาพรรคพวกเข้าโจมตี และยึดเรือมิลลิเนี่ยม ฟอลตอน ซึ่งประดับธงมาเลเซียในน่านน้ำทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ตที่ห่างจาก ชายฝั่งไป 10 ไมล์ทะเล ในการยึดเรือครั้งนั้น กฤษณ์พชร ได้ให้เสื้อชูชีพแก่ลูกเรือที่เป็นคนไทยคนละตัว แล้วถีบลงกลางทะเลที่ยึดเรือไว้ แต่ก็กุมตัวผู้โดยสารที่เป็นชาวโรฮิงญาไว้แล้วพาไปส่งที่ประเทศไทย จากนั้น ก็ยิงสัญญาณให้มีคนช่วยเหลือพวกลูกเรือไทย การกระทำของกฤษณ์พชร เป็นความผิดที่ต้องรับโทษตามกฎหมายไทยหรือไม่?
กฤษณ์พชร เป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น แต่ทำมาหากินโดยการชิงเรือสินค้าแล้วเอามาแยกชิ้นส่วนเป็นอะไหล่ขาย แล้วนำเอาสินค้าแยกแจกจ่ายแก่คนยากไร้ในหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศศรีลังกา ซึ่งยังคงบอบช้ำ จากสงครามการเมืองในศตวรรษที่ 19 จนวันที่ 26 มีนาคม 2559 กฤษณ์พชร ได้พาพรรคพวกเข้าโจมตี และยึดเรือมิลลิเนี่ยม ฟอลตอน ซึ่งประดับธงอินโดนีเซียน ที่น่านน้ำทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ตที่ห่างจาก ชายฝั่งไป 18 ไมล์ทะเล ในการยึดเรือครั้งนั้น กฤษณ์พชร ได้ให้เสื้อชูชีพแก่ลูกเรือที่เป็นคนญี่ปุ่นคนละตัว แล้วถีบลงกลางทะเลที่ยึดเรือไว้ แต่ก็กุมตัวผู้โดยสารที่เป็นชาวโรฮิงญาไว้แล้วพาไปส่งที่ประเทศพม่า ตามเดิม จากนั้นก็ยิงสัญญาณให้มีคนช่วยเหลือพวกลูกเรือญี่ปุ่น การกระทำของกฤษณ์พชร เป็นความผิดที่ต้องรับโทษตามกฎหมายไทยหรือไม่?
หลักบุคคล รัฐสมัยใหม่นอกจากมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนแล้ว มีการกำหนดสถานภาพทางกฎหมายของ ประชาชนอย่างเฉพาะเจาะจง เรียกว่า “สัญชาติ” (nationality) สัญชาติ มีไว้กำหนดสิทธิหน้าที่และความผูกพันระหว่างประชาชนและรัฐ เป็นต้นว่า คนที่มีสัญชาติไทยย่อม มีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองของประเทศไทยโดยตรง หรือการต้องเป็นทหาร แต่ขณะเดียวกันรัฐไทย ก็มีหน้าที่ต้องปกป้องสวัสดิภาพในด้านต่างๆ ของคนไทยเช่นกัน กล่าวคือ นอกจากรัฐต้องควบคุมและคุ้มครองความสงบเรียบร้อยเหนือ “พื้นที่” แล้ว ในหลายกรณีรัฐมี หน้าที่ต้องคุ้มครอง “พลเมืองแห่งรัฐ” ด้วย นำมาสู่ “หลักบุคคล” ในประมวลกฎหมายอาญา
หลักเกณฑ์ตามมาตรา 8 มาตรา 8 ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ (ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิด ได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ (ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทย เป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายใน ราชอาณาจักร คือ
ประการแรก การกระทำความผิดต้องเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร ประการที่สอง ผู้กระทำความผิดหรือผู้เสียหาย คนใดคนหนึ่ง ต้องเป็นคนมีสัญชาติไทย รัฐบาลหรือบุคคลไทย ซึ่งเป็นผู้เสียหาย ร้องขอให้ลงโทษคนต่างด้าวซึ่งกระทำความผิด รัฐบาลหรือบุคคลต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้เสียหาย ร้องขอให้ลงโทษคนไทยซึ่งกระทำความผิด ประการที่สาม ความผิดที่อาจลงโทษได้นั้นต้องเป็นฐานใดฐานหนึ่งในมาตรา 8 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน, ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร, ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์, ความผิดเกี่ยวกับเพศ, ความผิดต่อชีวิต, ความผิดต่อร่างกาย, ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา, ความผิดต่อเสรีภาพ, ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์, ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้น ทรัพย์, ความผิดฐานฉ้อโกง, ความผิดฐานรับของโจร, ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์, ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง เกือบทั้งหมด ยกเว้นที่เห็นได้ชัด เช่น หมิ่นประมาท, บุกรุก, ลหุโทษ, และบรรดากฎหมายพิเศษที่มีโทษทางอาญาต่างๆ
มาตรา 9 เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยกระทำความผิดตามที่บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 147 ถึง มาตรา 166 และ มาตรา 200 ถึง มาตรา 205 นอกราชอาณาจักร จะต้อง รับโทษในราชอาณาจักร กรณีจะเข้ามาตรา 9 ได้มีเงื่อนไขต้องพิจารณา คือ ประการแรก ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ปราการที่สอง ความผิดที่ทำต้องเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ ประการที่สาม ความผิดนั้นต้องมีการกระทำอยู่นอกราชอาณาจักร
ตัวอย่าง... กฤษณ์พชร เป็นคนสัญชาติไทยขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความลับทางการค้า ของนาย สมชายซึ่งเป็นคนกัมพูชา ในประเทศมาเลเซีย แต่กว่านายสมชายจะรู้ตัว ว่าข้อมูลของตนถูกทำลายและลบทิ้งไปนั้น กฤษณ์พชร ได้หนีกลับประเทศไทยเสีย แล้ว ดังนั้น ตำรวจในประเทศมาเลเซียจึงไม่สามารถดำเนินการใดๆ กับกฤษณ์พชร ได้ ทว่าข้อมูลนั้นสำคัญมาก นายสมชายจึงร้องขอต่อรัฐบาลประเทศไทยให้ ดำเนินคดีกับกฤษณ์พชร กฎหมายอาญาไทยสามารถลงโทษ กฤษณ์พชร ได้หรือไม่?
กฤษณ์พชร เป็นคนสัญชาติไทยที่อาศัยในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเคยเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ หลายปี ก่อนที่จะเดินทางกลับได้ฝากพระเครื่องที่สะสมไว้หลายร้อยรูปไว้กับนายธงชัย ซึ่งเป็นคนไทยที่ อาศัยในประเทศญี่ปุ่น จนอยู่มาวันหนึ่ง กฤษณ์พชร ได้ทวงถามให้ส่งพระเครื่องเหล่านั้นมาให้ตน หากแต่ พบว่านายธงชัยได้นำพระเครื่องเหล่านั้นไปทิ้งอ่าวโตเกียวหมดแล้ว ด้วยความปรารถนาดีอยากตักเตือน กฤษณ์พชรว่า พระเครื่องเหล่านั้นเป็นสิ่งงมงาย แต่ทั้งนี้ นายธงชัยเป็นผู้ได้รับความเคารพนับถือในประเทศ ญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีเส้นสายอยู่ในพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย กฤษณ์พชร จึงรู้สึกไม่ไว้วางใจศาลญี่ปุ่นว่าจะ เห็นความสัญของพระเครื่องของตนตลอดจนอิทธิพลของนายธงชัย และเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีใน ประเทศญี่ปุ่นด้วย กฤษณ์พชร จึงปรารถนาให้นายธงชัยต้องถูกดำเนินคดีในศาลไทย กฎหมายอาญาไทยมีอำนาจเหนือการกระทำความผิดดังกล่าวหรือไม่?
กฤษณ์พชร เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ สายวิชาการ ได้เดินทางไปทำวิจัยยังต่างประเทศ โดย ได้รับการสับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตาม กฤษณ์พชร รู้สึกเหนื่อยหน่ายกับ การทำงานราชการจึงนำเงินทุนวิจัยดังกล่าวไปเปิดร้านอาหารไทยในประเทศโมซัมบิก แล้ว ล่อลวงให้ระพนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต้นสังกัด ซึ่งเป็นผู้ช่วยวิจัยในประเทศไทยนั้น ส่งเงิน ส่วนตัวมาให้โดยอ้างว่าเพื่อใช้จ่ายระหว่างการทำวิจัยในต่างประเทศ ต่อมาหลังจากนั้นไม่ นาน รัฐบาลไทยและระพน ได้รับรู้ข้อเท็จจริงว่าเงินของตนมิได้ถูกใช้ไปเพื่องานวิจัยแต่อย่างใด จึงคาดหวังจะดำเนินคดีกับกฤษณ์พชร กฎหมายอาญาไทย มีอำนาจดังกล่าวหรือไม่?
การคำนึงถึงคำพิพากษาศาลต่างประเทศ กรณีการกระทำความผิดที่คาบเกี่ยวหลายประเทศ โปรดสังเกตว่า กฎหมายอาญาของต่างประเทศ ก็อาจมีเขตอำนาจเหนือการกระทำเหล่านั้นด้วยไปพร้อมๆ กัน เช่น การยิงปืนจากฝั่งพม่ามาถูกบุคคลในประเทศไทยเสียชีวิต นอกจากจะเป็นกรณีที่ผลของการ กระทำเกิดในประเทศไทยตามมาตรา 5 แล้ว การกระทำดังกล่าวย่อมเข้าข่ายของกฎหมายพม่า เช่นเดียวกับมาตรา 4 ของกฎหมายอาญาไทย ดังนั้น บุคคลจึงอาจมีความผิดจากกฎหมายในหลายๆ ประเทศ พร้อมๆ กันได้ แต่หลักการทั่วไปในทางอาญา คือ บุคคลจะต้องไม่ถูกลงโทษซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการกระทำความผิด กรรมเดียว กล่าวคือการดำเนินคดีอาญาซ้ำเป็นสิ่งที่ต้องห้าม (double jeopardy)
มาตรา 10 เป็นกฎหมายที่ใช้จัดการปัญหาดังกล่าว มาตรา 10 ผู้ใดกระทำการนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 7 (2) และ (3) มาตรา 8 และ มาตรา 9 ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้น ในราชอาณาจักร เพราะการ กระทำนั้นอีก ถ้า (1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัว ผู้นั้นหรือ (2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาได้รับโทษ สำหรับการกระทำนั้น ตามคำพิพากษา ของศาลในต่างประเทศมาแล้ว แต่ยังไม่พ้นโทษ ศาลจะ ลงโทษน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษ เลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว
เช่นเดียวกับมาตรา 11 มาตรา 11 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำ ความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำ ในราชอาณาจักร ถ้า ผู้นั้นได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้นตามคำพิพากษาของศาลในต่าง ประเทศมาแล้ว ทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ศาลจะลงโทษน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือ จะไม่ลงโทษเลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิด ที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำใน ราชอาณาจักร ได้ถูกฟ้องต่อศาลในต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นใน ราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า (1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อย ตัวผู้นั้น หรือ (2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษ แล้ว
ความแตกต่างระหว่างมาตรา 10/11 มาตรา 10 กล่าวถึง การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร ที่รับโทษไปตามหลักอำนาจ ลงโทษสากล และหลักบุคคล แต่มาตรา 11 คือ กรณีที่มีการกระทำความผิดในราชอาณาจักร หากแต่อำนาจของกฎหมาย ต่างประเทศได้ลงกับบุคคลนั้นแล้ว มีรายละเอียดต่างกันที่สำคัญ คือ กฎหมายไทยให้ความสำคัญกับการกระทำความผิดใน ราชอาณาจักรมากกว่า หลักอำนาจสากล และหลักบุคคล เพราะสองกรณีหลังนี้ มาตรา 10 ห้ามลงโทษไว้อย่างชัดเจน ขณะที่ หากเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักรจะห้ามลงโทษอีกเฉพาะกรณีทั่ฐบาลไทย เป็นผู้ร้องขอให้ลงโทษเอง
สรุป: สถานที่ในการใช้กฎหมายอาญา เขตอำนาจของกฎหมายอาญาไทยพิจารณา จากสามหลัก หนึ่ง หลักดินแดน ภายใต้มาตรา 4-6 มีทั้งกรณีที่เป็นการกระทำในราชอาณาจักรโดยแท้ และกรณีที่ถือว่าได้กระทำใน ราชอาณาจักร หลักคิดสำคัญ คือ เรื่อง “ราชอาณาจักร” และ “การกระทำ” สอง หลักอำนาจลงโทษสากล มาตรา 7 เป็นกรณีที่รัฐไทยเป็นผู้เสียหายหลัก ความผิดที่ระบุไว้ตามมาตรา 7 ไม่ต้อง คำนึงถึงสัญชาติของผู้กระทำ และสถานที่กระทำความผิดเลย หลักสำคัญอยู่ที่ ต้องเป็นการกระทำนอก ราชอาณาจักร และความผิดที่มาตรา 7 กำหนดไว้เป็นพิเศษ สาม หลักบุคคล ตามมาตรา 8-9 แบ่งเป็นกรณีบุคคลทั่วไป (8) และเจ้าพนักงาน (9) โดยการพิจารณาตามสอง มาตรานี้ คิดจาก เรื่อง 1) ราชอาณาจักร, 2) สัญชาติของผู้กระทำ/ผู้เสียหาย, 3) ฐานความผิดต้องเป็นไปตามที่ กำหนด และ 4) การร้องขอให้ดำเนินคดีจากผู้มีสิทธิ ดังนั้น เรื่อง “หลักดินแดน” จะเป็นประเด็นแรกที่ต้องตอบให้ได้ว่าเข้าเกณฑ์หรือไม่ก่อนเสมอ
ยำใหญ่ กฤษณ์พชร เป็นเจ้าพนักงานของรัฐไทย ระหว่างที่เดินทางไปพักผ่อนที่ภูเก็ต โดยกฤษณ์พชรได้ร่องเรือไปใน เรือที่ประดับธงของมาเลเซีย เพื่อเดินทางไปยังปีนัง หลังจากออกออกเดินทางไปได้สักระยะเรือลำดังกล่าว ร่องอยู่ห่างจากฝั่งไทย 10 ไมล์ทะเล ระหว่างที่อยู่บนเรือได้เจอกับสมโชติ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงของ กระทรวงหนึ่ง ได้พูดคุยกันยื่นข้อเสนอทรัพย์สินแก่กฤษณ์พชรให้ขัดขวางการขออนุญาตก่อสร้างของ คะนึง ซึ่งเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของนายสมโชติ แต่ด้วยความกังวลที่อาจทผิดกฎหมายประกอบกับกลัวอิทธิพลของ สมโชติ กฤษณ์พชร จึงนอนคิดอยู่คืนหนึ่งแล้ว รุ่งเช้าที่ปีนังจึงค่อยตอบตกลงกับนายสมโชติ หลังจาก พักผ่อนได้สักพักพอกฤษณ์พชรเดินทางไปยังอินโดนีเซียจึงโทรศัพท์ไปให้สมหมายซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชามี คำสั่งให้ขัดขวางการขออนุญาตก่อสร้างดังกล่าว สมหมาย ผู้ใต้บังคับบัญชาของกฤษณ์พชรจึงปฏิเสธการ ขออนุญาตก่อสร้างตามที่กฤษณ์พชร ได้ร้องขอ
ยำใหญ่กว่า (สมมุติล้วนๆ เพื่อการศึกษา) กฤษณ์พชร เป็นนักวิชาการอิสระที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่เกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย เนื่องจากถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนที่รักสถาบันกษัตริย์ กฤษณ์พชร จึง ตัดสินใจย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ประเทศแม็กซิโกใน พ.ศ. 2545 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กฤษณ์พชร ได้ทุ่มเท กำลังแรงงานสมองในการค้นคว้าและศึกษาบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางการเมือง และ ตีพิมพ์ผลงานจำนวนมากที่แสดงความอาฆาตมาดร้ายองคมนตรีคนหนึ่งของไทย จนใน พ.ศ. 2549 เกิด การรัฐประหารขึ้น กฤษณ์พชร จึงเริ่มเคลื่อนไหวผ่านโซเชียลมีเดียในลักษณะที่ก้าวร้าวขึ้น แล้วนำผลงาน ของตนมาเปิดเผยในโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เองรัฐบาลทหารของไทยจึงมีความพยายามปิด ปากกฤษณ์พชร ด้วยการดำเนินคดีในความผิดฐานหมิ่นพระบรดมเดชานุภาพครั้งแล้วครั้งเล่า และยังส่ง นายทองดีไปจับกุม แต่ทองดีที่ถูกส่งไปถูกกฤษณ์พชร ทำร้ายและสังหารระหว่างที่นายทองดีอยู่บนเรือที่ ประดับธงชาติไทย โดยกฤษณ์พชร ใช้ปืน M79 เล็งไปที่ศีรษะของนายทองดีจากชายฝั่งหลังจากที่เรือไทย นั้นแล่นออกไปนอกชายฝั่งแม๊กซิโก 13 ไมล์ทะเล
ภาพรวมของวิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครึ่งแรก) ลักษณะทั่วไปของกฎหมายอาญา การกำหนดความผิดทางอาญา ทฤษฎีและแนวคิดในการลงโทษ การตีความกฎหมายอาญา เวลาในการใช้กฎหมายอาญา สถานที่ในการใช้กฎหมายอาญา เนื้อหาส่วนนี้จะเน้นที่การทำความเข้าใจภาพรวมของกฎหมายอาญาก่อนการพิจารณากฎหมายอาญาใน เชิงองค์ประกอบความผิด