งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities
Kanya Hirunwattanapong October 2015 Faculty of Law

2 Who’s the Aliens? How are they being treated?
Nationality – according to national law Dual nationality Stateless persons ภาวะการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่อาจก่อปัญหาในเวทีระหว่างประเทศในการแสดงความรับผิดของรัฐ มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่พยายามเข้ามาดูแลแก้ไขในกรณีที่มีปัญหาจากการมีสองสัญชาติ หรือการเป็น คนไร้รัฐ อาทิ Hague Convention on Certain Questions Relating to the Conflict of Nationality Laws 1930 รัฐอาจไม่ใช้ Diplomatic protection กับรัฐที่เป็นเจ้าของสัญชาติอีกสัญชาติหนึ่ง ถ้าคนมีมากกว่าหนึ่งสัญชาติ รัฐที่สามจะถือว่าเขาเป็นคนสัญชาติของรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น โดยจะถือเอาสัญชาติของประเทศที่คนนั้นมี ถิ่นที่อยู่ หรือที่มีความผูกพันใกล้ชิด หากมีสองสัญชาติ จะสละสัญชาติใดก็ได้แต่การสละนั้นต้องเป็นไปตามกฎหมายภายในของรัฐเจ้าของสัญชาติที่จะสละ “สัญชาติ” เป็นจุดเชื่อมโยงเอกชนของรัฐและกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวคือ การที่เอกชนมีสัญชาติของรัฐหนึ่งจะทำให้ เอกชนได้ประโยชน์จากกฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐเจ้าของสัญชาตินั้นสามารถใช้ Diplomatic protection ได้ ในแง่นี้การมีสัญชาติของรัฐหนึ่งจะต้องปรากฏด้วยว่าบุคคลนั้นมี “ความเชื่อมโยงที่แท้จริง” (genuine link) กับรัฐเจ้าของสัญชาติ

3 สัญชาติของนิติบุคคล, เรือ, อากาศยาน
Nottebohm Case [Liechtenstein v. Guatemala] ICJ 1953 ในคดีนี้ศาลปฏิเสธคำร้องของ Liechtenstein ในการใช้ Diplomatic protection กับ Nottebohm สัญชาติของนิติบุคคล, เรือ, อากาศยาน นิติบุคคล (corporations) ที่ก่อตั้งตามกฎหมายภายในของรัฐและมีสำนักงานใหญ่ในรัฐนั้นต้องถือว่าเป็นนิติบุคคลที่มีสัญชาติของรัฐนั้น คดี Barcelona Light and Traction Case (Belgium v. Spain) ICJ 1970 สัญชาติของเรือเป็นไปตามที่กฎหมายภายในกำหนด ส่วนมากมักกำหนดให้มีสัญชาติของรัฐที่จดทะเบียน โดยที่เรือนั้นสามารถติดธงของชาติที่เรือมีสัญชาติ Geneva Convention on the High Seas 1958; UNCLOS 1982 กำหนดให้ภาคีดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเรือ และการติดธง อาทิ เรือต้องแล่นและติดธงของหนึ่งรัฐเท่านั้น เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในข้อตกลงระหว่างประเทศ, เรือไม่เปลี่ยนธงในระหว่างการแล่น ยกเว้นกรณีเปลี่ยนการจดทะเบียน

4 การจดทะเบียนเรือในรัฐที่พัฒนาแล้วมักมีค่าใช้จ่ายสูงเพราะได้รวมเอาการประกันและกฎระเบียบต่างๆ อาทิ การกำหนด ค่าจ้างลูกเรือ มาตรฐานความปลอดภัยด้านต่างๆ ดังนั้นจึงมีหลายประเทศที่ทำการจดทะเบียนเรือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเหล่านี้ หรือมีก็เป็นจำนวนไม่มากเมื่อจดทะเบียนแล้วก็ติดธงของรัฐนั้นซึ่งธงเรือในลักษณะนี้เรียก “Flags of convenience” (ธงแห่งความสะดวก) อากาศยานก็เช่นเดียวกันที่มีสัญชาติของรัฐที่จดทะเบียน The Convention on International Civil Aviation 1944 – The Chicago Convention

5 Jurisdiction กฎหมายระหว่างประเทศพยายามกำหนดหลักการการที่รัฐบาลและองค์กรของรัฐจะดำเนินการได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นการกำหนดความสามารถของรัฐในการดูแลคนและทรัพย์ด้วยกฎหมายภายในของรัฐนั้น สิ่งนี้เรียก “เขตอำนาจศาล” เขตอำนาจศาลในคดีแพ่ง ไม่อยู่ในการพิจารณาของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองฯ แต่จะอยู่ในการศึกษาของ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International Law) ดังนั้น เขตอำนาจศาลในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองฯ จึงเป็นเรื่องเขตอำนาจศาลทางคดีอาญา เขตอำนาจศาลในเรื่องหนึ่งอาจเป็นของรัฐหนึ่งเป็นการเฉพาะ (exclusive jurisdiction) หรือในเรื่องหนึ่งหรือเหตุการณ์ หนึ่งอาจมีรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐที่ต่างก็มีเขตอำนาจศาล (concurrent jurisdiction) อาทิ คนจีนฆ่าคนมาเลเซียตาย บนเรือจดทะเบียนญี่ปุ่นโดยขณะเกิดเหตุอยู่ที่ท่าเรือสิงคโปร์

6 หลักการเรื่องเขตอำนาจศาลมีด้วยกัน 5 หลักการ
Territorial principle (หลักดินแดน) - Subjective territorial principle หลักดินแดนของรัฐเจ้าของสัญชาติผู้กระทำผิด - Objective territorial principle หลักดินแดนของรัฐเจ้าของสัญชาติผู้เสียหาย หลักการนี้ได้รับการวิจารณ์อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีมีปัญหาในทะเลหลวง (ไม่มีรัฐใดอ้างอธิปไตยได้) คดี Lotus Case (France v. Turkey) PCIJ ในหลักการเรื่องเขตอำนาจศาลตามหลักดินแดนของรัฐผู้เสียหายสหรัฐได้พัฒนาหลักการ “the effect doctrine” ซึ่งในเบื้องต้นนั้นหลักการนี้ใช้ในกรณี anti-trust - Hot pursuit คดี I’m Alone Case (Canada v. US) Conspiracyผลความผิดนั้นเกิดในอีกรัฐ ดังนั้นรัฐที่เป็นที่ก่อหรือวางแผนการกระทำผิด และรัฐที่ผลความผิดเกิดต่างก็มีเขตอำนาจศาลด้วยกันทั้งคู่ Somchai Liangsiriprasert v. Government of US [1990] Nationality or active personality principle (หลักสัญชาติผู้กระทำผิด) โดยหลักแล้วถ้ามีการขัดกันของเขตอำนาจศาลระหว่างหลักดินแดนและหลักสัญชาติ เช่นนี้แล้วให้ใช้หลักดินแดน คดี Friedrich Engel Case ปัจจุบันหลายประเทศได้ตรากฏหมายที่ทำให้รัฐเจ้าของสัญชาติมีเขตอำนาจศาลในความผิดที่กระทำนอกอาณาจักร อาทิ กรณีความผิดเกี่ยวกับการกระทำทางเพศกับเด็ก

7 3. Protective or security principle (หลักป้องกัน) อาทิ ความมั่นคง เอกภาพทางดินแดน เอกราชหรืออิสระทางการเมือง รวมถึงภยันตรายทางเศรษฐกิจ เป็นต้น Attorney-General of the Government of Israel v. Eichman [1961] 4. Universal principle (หลักเขตอำนาจศาลสากล) ความผิดอาญาสากล อาทิ โจรสลัด การก่อวินาศกรรม การเหยียดผิว การค้าทาส การทำร้ายฑูต ยาเสพติด ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และอาชญกรรมสงคราม เป็นต้น 5. Passive nationality or personality principle (หลักสัญชาติผู้เสียหาย) หลักการนี้เป็นการปกป้องคนชาติซึ่งหลักการนี้เก่าแก่มากในสมัยโรมันก็ใช้หลักการนี้

8 การส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการลักพาตัว (Extradition and Abduction)
การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นกรณีที่รัฐที่เป็นที่พำนักของคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด หรือผู้กระทำผิดส่งคนดังกล่าวไปยังรัฐที่ เขาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดนั้น รัฐไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน การส่งผู้ร้ายข้ามแดนไม่ได้เป็นส่วนของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ในทางตรงกันข้ามรัฐมักถือ สิทธิของตนในการให้ที่พำนักแก่คนต่างชาติด้วยเหตุผลของการแสดงออกซึ่งอธิปไตยทางดินแดนของรัฐ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องพิจารณาว่าได้มีการทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐว่าด้วยเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องผูกพันตามนั้น อย่างไรก็ตามมักยกเว้นคดีอาญาทางการเมือง (political crimes) การส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นเริ่มมีความชัดเจนใน ศตวรรษที่ 19 เพราะเป็นยุคที่มีความก้าวหน้าทางด้านการคมนาคมทำให้ผู้ร้ายหนีได้ง่ายขึ้น การทำสนธิสัญญาส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนจึงเริ่มมีความสำคัญและในบางส่วนของโลกได้มีการทำสนธิสัญญาพหุพาคีว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน อาทิ Inter-American Convention on Extradition 1981; Council of Europe Convention on Extradition 1957

9 หลายรัฐเลือกที่จะใช้ช่องทางที่สะดวกกว่าการทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ รัฐที่มีชายแดนติดกันเลือกที่จะใช้ วิธีจับผู้ร้ายและส่งคืนไปยังรัฐ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “backing of warrants” เมื่อมีการออกหมายจับในรัฐหนึ่งและ หมายจับนั้นเป็นที่ยอมรับและปฏิบัติในอีกรัฐหนึ่ง อาทิ ระหว่างอังกฤษกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ประเทศไทยส่งผู้ร้ายข้ามแดนชาวรัสเซียให้สหรัฐอเมริกา เดือนกรกฎา 2007 อังกฤษของให้รัฐเซียส่งผู้ร้ายข้ามแดนสายลับชาวรัสเซียที่วางยาพิษฆ่าคนรัสเซียอดีตสายลับที่ได้ สัญชาติอังกฤษ (อังกฤษอ้างเขตอำนาจศาลตามหลักดินแดน) แต่รัสเซียปฏิเสธการส่งผู้ร้ายข้ามแดนโดยที่จะเป็นผู้พิจารณา คดีเอง คดีอาญาที่มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Extraditable crimes) กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตให้รัฐกำหนดให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในคดีอาญาที่เห็นว่าเหมาะสม อาทิ กฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดนอังกฤษกำหนดรายการคดีอาญาที่มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยที่มีโทษอย่างน้อยเป็น การจำคุกไม่ต่ำกว่า 12 เดือน

10 ปี 2001 ศาลอังกฤษส่งผู้ร้ายข้ามแดน ปิ่น จักกพาก มายังประเทศไทยที่ถูกกล่าวหาร่วมกันหรือก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 โดยการให้เงินกู้โดยไม่มีหลักประกันที่ดี นอกจากที่ตกลงกันไว้ในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน รัฐอาจปฏิเสธการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในคดีอาญาใดๆก็ได้ ดังนี้ เป็นคดีอาญาที่ไม่ได้ระบุไว้ในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายฯ ข้อกำหนดเรื่องการเป็นคดีอาญาในรัฐผู้ขอฯ และรัฐผู้ส่งฯ การกระทำนั้นเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายของรัฐผู้ถูก ขอให้ส่งฯ และของรัฐผู้ขอฯด้วย ศาลในรัฐผู้ถูกขอให้ส่งฯ จะดูว่าพยานหลักฐานที่ส่งมานั้นเพียงพอที่จะสนับสนุนคำฟ้อง หรือไม่ (เรื่องพยานหลักฐานนั้นก็ไม่จำต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของรัฐผู้ถูกขอให้ส่งฯ อย่างเคร่งครัด) สนธิสัญญส่งผู้ร้ายข้ามแดนส่วนใหญ่มีหลักการที่เรียกว่า ‘principle of speciality’ กล่าวคือ เป็นเงื่อนไขของ การส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่บุคคลที่ถูกส่งต้องได้รับการพิจารณาคดีและลงโทษสำหรับความผิดอาญาที่ได้มีการขอส่งตัวเท่านั้น ถ้าเขาต้องถูกพิจารณาคดีอาญาอื่นที่ไม่ได้เป็นสาเหตุการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้น รัฐผู้ส่งสามารถทำการประท้วงได้ 4. กรณีที่รัฐเป็นภาคีในสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน นั้นมีความจำเป็นที่รัฐต้องแน่ใจว่าการอนุญาตให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน สอดคล้องกับข้อผูกพันตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน (และแม้ว่ารัฐผู้ขอฯ จะไม่ได้เป็นภาคีในสนธิสัญญาสืมธิมนุษยชนนั้น) อาทิ การที่บุคคลจะต้องถูกส่งไปนั้นต้องเผชิญกับการปฏิบัติที่ไม่ดี หรือการส่งตัวไปจะทำให้กระทบการเป็นครอบครัว

11 5. หลายรัฐปฏิเสธการส่งผู้ร้ายข้ามแดนถ้าความผิดในคดีอาญานั้นมีโทษประหารชีวิต หรือบางครั้งอาจมีการส่งผู้ร้ายข้าม แดนบนเงื่อนไขที่ว่าจะไม่ลงโทษประหารชีวิต 6. อาชญากรทางการเมือง (Political criminals) โดยหลักอาชญากรทางการเมืองจะไม่ถูกส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดน


ดาวน์โหลด ppt Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google