วิชาว่าความ (คดีแพ่ง) โดย สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย
เนื้อหา บทนำ การเตรียมคดี การร่างคำฟ้อง คำให้การ คำให้การและฟ้องแย้ง การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น การอุทธรณ์ฎีกา การไกล่เกลี่ยและการประนีประนอมยอมความ การบังคับคดี
ตารางกำหนดเวลาและวันที่บรรยาย เนื้อหา เวลา วันที่บรรยาย บทนำ ๑ ชั่วโมง ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๙ การเตรียมคดี ๒ ชั่วโมง การร่างคำฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้ง คำคู่ความอื่นๆ ๓ ชั่วโมง ๒๓ ต.ค. ๒๕๕๙ การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น ๕ ชั่วโมง ๓๐ ต.ค. ๒๕๕๙ และ ๖ พ.ย.๕๙ การไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ ๖ พ.ย.๒๕๕๙ การอุทธรณ์ฎีกา ๑๓ พ.ย.๒๕๕๙ การบังคับคดี ศาลจำลอง ๖ ชั่วโมง ๒๐ , ๒๗ พ.ย.๒๕๕๙ รวม ๑๕ ชั่วโมง ๑๓ ต.ค.๕๙ ถึง ๒๔ พ.ย.๕๙
บทนำ (คำถามชวนคิด)
อำนาจรัฐ VS กลไกรัฐ รัฐ State กฎหมาย Laws เอกชน Private สาธารณะ Public เอกชน Private ส่วนตัว VS ส่วนรวม ตนเอง VS ผู้อื่น
กฎหมาย เจตนารมณ์ กลไก การบังคับใช้ ป.อาญา คุ้มครองชีวิต,ร่างกาย,ทรัพย์สิน,ความมั่นคงแห่งรัฐ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ลงโทษผู้ฝ่าฝืน ป.แพ่ง ความสัมพันธ์ทางสังคม/เศรษฐกิจของเอกชน กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง บังคับเอาทรัพย์สินผู้ฝ่าฝืน ป.ที่ดิน ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนด้านที่ดิน กรมที่ดิน การอนุญาต พรบ.ป่าไม้ , ป่าสงวนแห่งชาติ คุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ กรมป่าไม้ พรบ.อุทยานฯ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้/สัตว์ป่า/พันธุ์พืช กรมอุทยาน พรบ.กฎอัยการศึก ความมั่นคงแห่งรัฐ ทหาร
คดีแพ่ง มีการโต้แย้งสิทธิ หรือ มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล การโต้แย้งสิทธิ หมายถึง การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทบกระเทือนหรือละเมิดต่อสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายของบุคคลอื่น สิทธินี้มิได้หมายถึงสิทธิในทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงสิทธิอื่นๆ ด้วย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย สิทธิในครอบครัว หรือสิทธิในเกียรติยศ ชื่อเสียง
คดีแพ่ง การต้องใช้สิทธิทางศาล หมายถึง กรณีที่กฎหมายกำหนดให้การกระทำบางอย่างต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับการรับรองจากศาลก่อน เช่น การขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย การขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ การขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ การขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือสาบสูญ หรือการขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นต้น
คดีแพ่ง 1. คดีมีข้อพิพาท หมายถึง คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิและต้องฟ้องบุคคลอื่นเป็นจำเลยนั้นเรียกว่า"คดีมีข้อพิพาท" คดีมีทุนทรัพย์ คดีไม่มีทุนทรัพย์ คดีไม่มีข้อพิพาท กรณีเช่นนี้ ผู้ขอไม่ต้องฟ้องใครเป็นจำเลย เพียงแต่ยื่นคำร้องขอต่อศาลเท่านั้น และศาลจะนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องไปฝ่ายเดียว จึงเรียกว่าเป็น "คดีที่ไม่มีข้อพิพาท“
ผู้ที่จะฟ้องคดีหรืออาจถูกฟ้องคดีได้ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล บุคคลธรรมดา ได้แก่ มนุษย์หรือคนซึ่งเมื่อมีสภาพบุคคลก็มีสิทธิและหน้าที่ จึงอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ กรณีผู้เยาว์ ถ้าจะฟ้องคดีอาจแยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ หรือกรณีผู้เยาว์ฟ้องคดีเองซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน แต่ถ้าผู้เยาว์ถูกฟ้องคดี ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องเข้าดำเนินคดีแทน อนึ่ง ตำแหน่งหน้าที่ราชการบางตำแหน่งรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการด้วย เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้เช่นกัน
ผู้ที่จะฟ้องคดีหรืออาจถูกฟ้องคดีได้ นิติบุคคล เป็นบุคคลทีกฎหมายกำหนดขึ้นให้มีสิทธิและหน้าที่บางประการที่นิติบุคคลจะมีอย่างเช่นบุคคลธรรมดาไม่ได้ การจะเป็นนิติบุคคลได้ต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ นิติบุคคลได้แก่ บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ สมาคม มูลนิธิ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา หน่วยราชการ (กระทรวง ทบวง กรม) รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย จังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เป็นต้น
ฟ้องที่ไหน การฟ้องจะฟ้องที่ศาลใด พิจารณาจาก ประเภทของคดี ทุนทรัพย์ของคดี
ประเภทคดี คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก คดีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นคดีฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์โดยตรง เช่น ฟ้องบังคับจำนอง หรือไถ่ถอนที่ดินขายฝาก ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกออกจากที่ดิน หรือฟ้องเกี่ยวกับสิทธิหรือประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ฟ้องเรียกค่าเช่าค่าเสียหาย ก. ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือ ข. ศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ คดีเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคล เช่น ฟ้องเรียกเงินกู้ ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค ฟ้องผิดสัญญา ฟ้องหย่า ฯลฯ ก. ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ข. ศาลที่มูลคดีเกิด คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ก. ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตขณะถึงแก่ความตาย
ทุนทรัพย์ ศาลจังหวัด มีอำนาจทั่วไปที่จะชำระคดีได้ทุกประเภท ในส่วนของคดีแพ่งมีเงื่อนไขดังนี้ 1. คดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์ที่พิพาทเกินกว่า 300,000 บาท 2. คดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น การฟ้องขับไล่ 3. คดีที่ไม่มีข้อพิพาท เช่น คดีขอเป็นผู้จัดการมรดก คดีขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครอง คดีขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ เป็นต้น ศาลแขวง มีอำนาจชำระคดีเล็กๆ น้อยๆ ที่อยู่ในอำนาจของพิพากษาคนเดียว ในส่วนของคดีแพ่ง เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท
คำถามชวนคิด อะไรคือหัวใจของกระบวนการยุติธรรม การว่าความสำคัญยังไงกับกระบวนการยุติธรรม
คำถามชวนคิด คำตอบ : การตัดสินคดีจากความจริง อะไรคือหัวใจของกระบวนการยุติธรรม การว่าความสำคัญยังไงกับกระบวนการยุติธรรม คำตอบ : การตัดสินคดีจากความจริง
คำถามชวนคิด คำตอบ : การตัดสินคดีจากความจริง อะไรคือหัวใจของกระบวนการยุติธรรม การว่าความสำคัญยังไงกับกระบวนการยุติธรรม คำตอบ : การตัดสินคดีจากความจริง คำตอบ : การค้นหาและนำเสนอความจริง
หลักแห่งความจริงและ กฎแห่งความคิด
การพิสูจน์ความจริงด้วยกฎแห่งความคิด กฎแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กฎแห่งความขัดกัน กฎแห่งความเป็นครึ่งๆกลางๆ กฎแห่งความมีเหตุผลอันควร
กฎที่ ๑ กฎแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่า เหตุการณ์อันหนึ่งจะมีความจริงได้ประการเดียว จะมีความจริงหลายประการในเหตุการณ์เดียวกันไม่ได้ กฎความจริงมีได้อันเดียวจึงมีความหมายในแง่ที่ว่า เมื่อความจริงมีอันเดียวแล้ว ถ้ามีหลายคนต่างพูดตรงกันในสิ่งเดียวกัน ก็เชื่อได้ว่าเป็นความจริง
กฎที่ ๒ กฎแห่งความขัดกัน หมายความว่า ข้อที่ขัดกันย่อมแสดงว่าไม่เป็นความจริง ข้อแตกต่างนั้นจะสำคัญหรือไม่สำคัญ ขึ้นอยู่กับ ข้อเท็จจริงควรแตกต่างกันเช่นนั้นหรือไม่ ข้อเท็จจริงนั้นไม่รับฟังเลยได้หรือไม่ พอที่จะหาความจริงต่อไปได้หรือไม่ ถ้าหาไม่ได้ ก็ไม่อาจยืนยันได้ว่าข้อเท็จจริงที่ขัดกันนั้น อันไหนเป็นจริง
กฎที่ ๓ กฎแห่งความเป็นครึ่งๆกลางๆ หมายความว่า อะไรที่เป็นความจริงนั้นต้องเป็นความจริงตั้งแต่ต้นจนจบ จะเป็นความจริงครึ่งหนึ่ง หรือจริงบ้างไม่จริงบ้างไม่ได้ นอกจากจะมีพฤติการณ์เพิ่มเติมให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่าทุกตอนที่ต่างกันนั้นเป็นความจริงทั้งหมด ทั้งตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย
กฎที่ ๔ กฎแห่งความมีเหตุผลอันควร เป็นหลักประการหนึ่งที่จะประกอบข้อเท็จจริงแล้วตัดสินลงไปว่าเชื่อได้ เนื่องจากกฎสามข้อแรกนั้นเป็นเพียงพิสูจน์ในทางที่ว่าถ้าไม่เป็นอย่างนั้นแล้วไม่จริง เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะผ่านกฎสามประการชั้นต้นนั้นแล้วก็ตาม ก็ต้องมีหลักแห่งกฎ ๔ ขึ้นมาอีกหลักหนึ่งที่จะรับฟังว่ามันจริง ต้องมีอะไรมาแสดงให้เห็นว่ามันมีเหตุผลสมควรที่จะเป็นอย่างนั้น จึงจะเป็นความจริงขึ้นมาได้
หลักการรับฟังข้อเท็จจริง(ตามกฎหมาย) ข้อเท็จจริงอันเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วๆ ไป .....เช่น....(เป็นเรื่องของการรับรู้ของผู้คนในสังคม...ผ่านช่องทางต่างๆ ) ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ ส่วนใหญ่ได้แก่ สิ่งที่กฎหมายปิดปากห้ามมิให้โต้แย้งหรือโต้เถียง หรือที่เราเรียกว่า “ข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย” เช่น การมีเมทแอมเฟตามีนเกินกว่า 15 เม็ด หรือหน่วยการใช้ ถือว่า มีไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย..ฯลฯ ข้อเท็จจริงที่ยอมรับกันแล้ว
หลักการรับฟังข้อเท็จจริง (ที่ศาลใช้) หลักแห่งธรรมชาติ (Rules of Nature) หลักแห่งความสมดุล (Rules of equilibrium) หลักแห่งความขัดแย้ง (Rules of opposition) หลักแห่งความเป็นไปได้ (Rules of possibility) หลักแห่งความสมเหตุสมผล (Rules of reasonability) หลักแห่งความเป็นจริง (Rules of reality)
1. หลักแห่งธรรมชาติ (Rules of Nature) อันได้แก่กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก เป็นต้น อันเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันโดยทั่วไป เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นข้อเท็จจริงที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็สามารถคาดคะเนผลที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างแน่นอน
2. หลักแห่งความสมดุล (Rules of equilibrium) หมายถึง เมื่อมีข้อเท็จจริงใดเกิดขึ้นก่อนอย่างหนึ่ง แล้วมีข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นตามหลังมา เหตุการณ์ทั้งสองเหตุการณ์จะต้องเชื่อมโยงและเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและสมดุลกัน หรือเท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะรับฟังได้ว่าข้อเท็จจริงนั้นเป็นความจริง คล้ายกับตาชั่งตรง แต่ถ้าไม่สมดุลหรือขัดแย้งกันเองก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าข้อเท็จจริงนั้นได้เกิดขึ้นจริง คล้ายกับตาชั่งเอียง เช่น หากบุคคลใดรู้จุดที่ทิ้งของร้ายว่าอยู่ตรงจุดใด ตามปกติทั่วๆ ไป เจ้าพนักงานตำรวจต้องพาบุคคลนั้นไปนำชี้จุดดังกล่าวจึงจะสามารถพบของรายนั้นได้อย่างรวดเร็ว หากนำบุคคลอื่นที่ไม่รู้ไปนำชี้ ย่อมเป็นพิรุธ
3. หลักแห่งความขัดแย้ง (Rules of opposition) เป็นหลักที่คล้ายคลึงกับหลักแห่งความสมดุล โดยใช้วิธีเปรียบเทียบเหตุการณ์ตั้งแต่สองเหตุการณ์ขึ้นไป หากเหตุการณ์เหล่านั้นขัดแย้งกันหรือขัดกันเองในสาระสำคัญแล้ว ก็ไม่อาจรับฟังได้ว่ามีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง คือจะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพูดโกหกหรือพูดความจริงไม่หมด ศาลมักจะนำหลักนี้ไปใช้กับ “พยานคู่” เพราะหากพยานคู่เบิกความขัดแย้งกันเองในสาระสำคัญ ศาลมักจะหยิบยกสิ่งเหล่านั้นขึ้นมายกฟ้อง
4. หลักแห่งความเป็นไปได้ (Rules of possibility) เป็นข้อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีความเป็นไปได้เพียงใดหรือไม่ว่า หากเหตุการณ์เกิดขึ้นเวลาใดแล้วบุคคลคนนั้นจะสามารถรับรู้ถึงเหตุการณ์เหล่านั้นได้ดีเพียงพอหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ทางตา ทางหู ทางปาก ทางจมูก ทางลิ้นและการสัมผัสอันได้แก่ การรับรู้เกี่ยวกับ รูป รส กลิ่น สี นั่นเอง เช่น ตามแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุและคำเบิกความผู้เสียหายที่ว่าจุดที่คนร้ายเดินตามผู้เสียหายทันเป็นบริเวณเสาไฟฟ้าที่มีหลอดไฟฟ้า แต่ตามภาพถ่ายไม่ปรากฏว่าเสาไฟฟ้าบริเวณดังกล่าวมีหลอดไฟ จึงไม่น่าเชื่อว่าผู้เสียหายจะเห็นหน้าคนร้าย
5.หลักแห่งความสมเหตุสมผล (Rules of reasonability) ก็เป็นหลักที่คล้ายคลึงกับหลักแห่งการสมดุล เพราะความสมเหตุสมผล คือที่มาของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นและสามารถอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน เพราะหากเหตุการณ์ที่อ้างว่าเกิดขึ้นไม่สมเหตุสมผลหรือไม่สมจริงสมจัง ก็ไม่อาจนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เช่น อ้างว่า จำเลยทำพิธีรักษาโรคโดยนั่งเพ่งกระแสจิตเกิดตัวลอยขึ้นไปยืนอยู่บนฐานพระพุทธรูปนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผล ต้องพิสูจน์ได้ ซึ่งอาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ
6. หลักแห่งความเป็นจริง (Rules of reality) เป็นหลักที่ศาลมักจะนำมาใช้พิจารณาว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวที่เกิดขึ้นเป็นความจริงหรือไม่ โดยดูจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นความจริงได้มากน้อยเพียงใดหรือไม่ และการต่อสู้คดีที่ขัดกับหลักแห่งความจริงมักจะไม่เป็นที่น่าเชื่อถือของศาล ไม่อาจนำมารับฟังได้ เช่น ตอนจำเลยนำสร้อยข้อมือของกลางมาขายฝากผู้เสียหาย จำเลยบอกว่าเป็นสร้อยข้อมือที่จำเลยสั่งทำเองโดยมีน้ำหนักมากกว่าปกติเพราะอาจมีการชุบเคลือบหนาไว้ แสดงว่าสร้อยข้อมือดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของจำเลยมาโดยตลอด ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะไม่รู้ว่าสร้อยข้อมือนั้นเป็นทองคำปลอม
การเตรียมคดีเบื้องต้น
การสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ประวัติส่วนตัวลูกความ ประวัติคู่กรณี (ถ้ามี) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นพิพาท หรือประเด็นข้อโต้แย้งสิทธิ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลา (อาจได้จากตัวความ หรือพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์) รายละเอียดสถานที่เกิดเหตุ (ควรไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ) รายละเอียดพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (เอกสาร , วัตถุพยาน , รายชื่อพยานที่เห็นเหตุการณ์) รายละเอียดความเสียหายที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ความประสงค์หรือความต้องการของตัวความ
เทคนิคในการสอบข้อเท็จจริง ระหว่างฟังลูกความเล่าข้อเท็จจริง ต้องคาดคั้นเอาความจริงออกมาให้ได้ และต้องสืบเสาะเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับเหตุผลออกมา สิ่งใดสำคัญให้ทำเครื่องหมายไว้หรือบันทึกข้อสังเกตไว้ ต้องเตือนลูกความว่า ถ้าไม่พูดความจริงก็จะช่วยเหลือไม่ได้..... ให้ลูกความพาไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ ทำแผนที่เกิดเหตุเอาและบันทึกข้อสังเกตที่สำคัญในแผนที่เอาไว้ เช่น ระยะทางต่างๆ ทิศทาง ต้องวัดและบันทึกลงในแผนที่ไว้ สถานที่และสภาพแวดล้อมที่สำคัญ เอกสารและวัตถุที่เกี่ยวข้องกับคดี พยานที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุหรือใกล้สถานที่เกิดเหตุ ถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุไว้
การสรุปข้อเท็จจริง นำข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนมาสรุปโดยย่อ ลำดับตามวันเวลาของเหตุการณ์ ประเด็นแห่งคดี / ประเด็นข้อโต้แย้งสิทธิ หลักกฎหมายที่น่าจะนำมาปรับแก่คดี กฎหมายที่น่าจะเกี่ยวข้องและนำมาใช้ในคดี แนวคำพิพากษาฎีกาที่น่าจะเกี่ยวกับคดี สรุปเหตุผลที่ศาลฎีกาตัดสินจากคดีที่เอามาเป็นแนวทางในการประกอบการเตรียมคดี
การเตรียมคดีในเนื้อหา
การวิเคราะห์คดี ประเมินข้อดีข้อเสีย หรือความคุ้มค่าในการตัดสินใจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดี หรือการขอเจรจาระงับข้อพิพาทด้วยทางเลือกอื่น สิ่งที่นำมาประกอบการตัดสินใจคือ พยานหลักฐานที่มีอยู่มีน้ำหนักให้รับฟังได้เพียงใด เพียงพอสำหรับการนำไปฟ้องร้องหรือไม่ หรือเพียงพอที่จะต่อสู้คดีได้หรือไม่ ทางเลือกอื่นๆ ถ้ามี
การตัดสินใจเลือกรูปแบบคดี จะเลือกฟ้องคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา หรือฟ้องไปพร้อมๆกัน การตัดสินใจต้องพิจารณาถึง ภาระการพิสูจน์ , อายุความ , อำนาจฟ้อง , ทางในการนำสืบ และพยานหลักฐานที่มี ต้องคำนึงถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ระยะเวลา และทางได้เสียของลูกความ โดยต้องให้ข้อมูลกับลูกความอย่างตรงไปตรงมา
การตั้งประเด็นเพื่อฟ้องคดีหรือต่อสู้คดี ประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง ประเด็นเรื่องอายุความ ประเด็นเรื่องดังกล่าวมีพฤติการณ์หรือลักษณะอย่างไร ประเด็นเรื่องดังกล่าวมีข้อยกเว้นหรือไม่ ประเด็นเรื่องการได้มาซึ่งพยานหลักฐานนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นเรื่องจำนวนค่าเสียหายหรือความเสียหาย
การส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถาม
การบอกกล่าวทวงถาม (Notice) การดำเนินคดีบางเรื่อง กฎหมายกำหนดให้ต้องบอกกล่าวทวงถาม ซึ่งเป็นขั้นตอนตามกฎหมายที่ให้เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติเสียก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาล เช่น การบังคับจำนอง , การบอกเลิกสัญญาบางประเภทที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เฉพาะ เช่น การบอกเลิกสัญญาเช่าเพราะเหตุไม่ชำระค่าเช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๖๐ ต้องส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
การบอกกล่าวทวงถาม (Notice) สำหรับหนี้บางประเภทนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน เจ้าหนี้ชอบที่จะฟ้องร้องได้ทันที เช่น คดีละเมิด คดีการกู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน คดีตั๋วแลกเงิน หรือหนี้เงินตามเช็คซึ่งมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอน อย่างไรก็ตาม ตามธรรมเนียมปฏิบัติของสำนักงานทนายความ คดีทุกๆเรื่อง ทนายความจะมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปเสมอ
การส่งคำบอกกล่าวทวงถาม ส่งไปยังภูมิลำเนาของลูกหนี้หรือผู้ที่รับคำบอกกล่าวทุกที่ เช่น ภูมิลำเนาตามบัตรประชาชน , ตามสำเนาทะเบียนบ้าน , ตามที่ปรากฏในสัญญา , สถานที่ทำงาน ฯลฯ ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ
ถามตัวเอง พระยานิติศาสตร์ไพศาล เขียนไว้ในหนังสือหลักการว่าความว่า "การว่าความนั้นเป็นศิลปะอันหนึ่ง หาใช่วิทยาศาสตร์มิได้ ถึงแม้ผู้รู้กฎหมายเก่งเพียงใดก็ดี ถ้าแม้ปราศจากคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ ความฉลาดไหวพริบดี และรู้หลักในวิธีการว่าความดีด้วยแล้วก็หาเป็นทนายความที่ดีได้ ข้อสำคัญในการว่าความนั้น จะต้องมีความฉลาดมีไหวพริบรู้เท่าทันทนายความฝ่ายตรงข้าม และยังมีความสามารถแสดงต่อศาลให้เห็นใจคดีของตนเองอย่างชัดเจน ผู้ที่ปราศจากคุณสมบัติดังกล่าว ไม่ควรสมัครเป็นทนายความและเป็นทนายความให้แก่ผู้ใด”
จบคำบรรยายวันนี้