การคิดราคาขาย การลดต้นทุน และการวางแผนจัดนำเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
ประเภทของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายในการจัดนำเที่ยวสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Cost) 2. ค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable Cost) 3. ค่าใช้จ่ายกึ่งผันแปร (Semi Variable Cost) 4. ค่าใช้จ่ายพิเศษ (Specific Variable Cost)
รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจัดนำเที่ยว ต่อไปนี้จะเป็นการแยกย่อยประเภทค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดนำเที่ยวออกมาเป็นรายละเอียดต่าง ๆ อันได้แก่ 1. ค่าอาหาร 2. ค่ายานพาหนะเดินทาง 2.1 เครื่องบิน 2.2 รถเช่า 2.3 ยานพาหนะอื่น ๆ เช่น เรือ หรือรถไฟ รถสองแถว 3. ค่าที่พักแรม 4. ค่าธรรมเนียมเข้าชม 5. ค่าทิป 6. ค่าภาษี 7. ค่าขนสัมภาระกระเป๋า 8. ค่าวีซ่า 9. ค่าการตลาด 10. ค่าเบี้ยเลี้ยง 11. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หรือค่าเบ็ดเตล็ด
การคิดราคาขาย การคิดราคาขายโดยมากคำนึงหลักการคิด 2 แบบ คือคิดราคาขายกรณีขายทัวร์หน้าร้าน ส่วนอีกแบบคือคิดราคาขายตามกำลังซื้อของคณะนักท่องเที่ยว กรณีนี้จะคิดราคาขายตามความ ต้องการและกำลังซื้อของกลุ่มลูกค้า โดยการคิดราคาจะต้องทราบรายการนำเที่ยวว่าจะเที่ยวกี่วัน เที่ยวที่ไหน อย่างไร อาหารกี่มื้ออย่างไร มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นหรือมีหัวหน้าทัวร์หรือไม่ รถบัส ระดับไหน โรงแรมระดับกี่ดาว คณะทัวร์มีกี่คน เป็นต้น โดยบริษัทนำเที่ยวจะขอราคาจากสถาน ประกอบการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจะเป็นผู้ซื้อบริการตามแต่จะตกลงกันว่าจะให้ราคากันอย่างไร เช่นหากมาเป็นกลุ่มคณะ 15 คน ก็อาจให้ 15+1 F.O.C. (Free of Charge) คือดิน ทาง 15 คนได้ฟรี 1 คน คือหัวหน้าทัวร์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่คำว่ากรุ๊ปหรือกลุ่มทัวร์ (Group Tour) นั้น มักจะนิยมนับตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป ตามหลักสากล การคิดคำนวณราคาขายรายการนำเที่ยวแต่ละรายการ จะต้องคำนึงความเป็นไปได้ของ ราคาที่ตั้งไว้ ต้องไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ราคาที่ตั้งไว้หลังจากที่หักต้นทุนทุกอย่างแล้ว จะต้องมี กำไรเหลืออยู่พอที่จะดำเนินธุรกิจอยู่ได้ โดยในแต่ละบริษัทจะมีวิธีการคิดคำนวณราคาที่แตกต่าง กัน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละบริษัทจะมีวิธีคิดจุดคุ้มทุน (Break Even Point หรือ BEP) อย่างไร แต่โดยมากแล้วรายการนำเที่ยวรายการเดียวกัน ราคาขายของแต่ละบริษัทก็จะไม่แตกต่าง กันมากนัก
การคำนวณราคาขายในการจัดรายการนำเที่ยว จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของ รายการนำเที่ยวและสิ่งหลัก ๆ ต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1. ค่ายานพาหนะ (Transportation Cost) ซึ่งประกอบด้วยค่ายานพาหนะทุก ชนิด 2. ค่าโรงแรมและที่พัก (Hotel and Lodging Cost) คือ ค่าบริการที่พักค้างคืน 3. ค่าอาหาร (Meal Cost) คือ ค่าอาหารทุกมื้อที่จัดบริการให้ลูกค้ามา 4. ค่าธรรมเนียมเข้าชม (Fee Cost) คือค่าเข้าชมสถานที่ต่าง ๆ 5. ค่าประกันภัย (Insurance Cost) 6. ค่าภาษี (Tax Cost) 7. ค่าการตลาด (Marketing Cost) 8. ค่าเบ็ดเตล็ด (Fragmentary Cost)
การพิจารณาตั้งราคาขาย อาจคิดตามวิธีการได้ 2 แบบ ดังนี้ 1. คิดราคาขายตามวิธีของแมนซินี (Mancini, M.1990) คือการคิดคำนวณค่าใช้จ่ายสมมติคิดจากจำนวน 35 คน (ในกรณีใช้รถโค้ช) ซึ่งเป็นจำนวนลูกค้า เป้าหมายที่เหมาะสม เมื่อคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อคนได้แล้ว ก็นำมาคำนวณราคาขายโดยคิดกำไรอยู่ในช่วง 20 - 30 % 2. คิดราคาขายตามวิธีของ โซโต้ (Souto, M.1993) คือการคิดโดยเมื่อคิดค่าใช้จ่ายต้นทุนต่อคนได้แล้ว ก็ให้คิดหากำไร การคิดกำไรถือว่าเป็นส่วน สำคัญ ถ้าคิดกำไรต่ำเกินไปบริษัทก็จะได้กำไรน้อย ถ้าคิดกำไรสูงไปก็จะไม่มีการตอบสนองจากลูกค้า การคิดกำไรในช่วงที่นิยมควรคิดอย่างน้อยที่สุด 10 % และอย่างมากสุด 40 % (ไม่เป็นที่แน่นอน ตายตัว) แต่ส่วนที่เป็นที่นิยมและเพียงพอสำหรับให้บริษัทพอมีกำไรและในขณะเดียวกันก็ยุติธรรมกับ ลูกค้าด้วยคือ 25 % โดยวิธีคิดของ Souto นี้จะให้ความสำคัญต่อต้นทุน โดยดูจากจำนวนลูกค้า เป็นหลัก ฉะนั้น ถ้าจะคิดวิธีขายตามวิธีนี้ก็ต้องเลือกยานพาหนะให้เหมาะสมกับจำนวนลูกค้าที่มีด้วย
การคิดค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทของการจัดนำเที่ยว ต่อไปนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องมีในการจัดนำเที่ยวแต่ละประเภท ดังนี้ 1. การจัดนำเที่ยวเข้าประเทศ (Inbound Tour) จะมีการคิดราคา ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เฉพาะค่าใช้จ่ายภายในประเทศ 2. การจัดนำเที่ยวไปต่างประเทศ (Outbound Tour) การคิด ราคาค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่หมดไปกับค่าพาหนะเดินทาง ค่าดำเนินการของบริษัท ตัวแทนในต่างประเทศ (Land Arrangement Cost) ค่าดำเนินการ ด้านเอกสารในการไปต่างประเทศ และค่าอื่น ๆ 3. การจัดนำเที่ยวในประเทศ (Domestic Tour) จะมีการคิดราคา ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เฉพาะค่าใช้จ่ายภายในประเทศ
การลดต้นทุนในการจัดนำเที่ยว โดยเทคนิคการลดต้นทุนหรือตัดทอนราคา อาจทำได้ในแต่ละด้านดังนี้ 1. การลดต้นทุนหรือตัดทอนราคาด้านอาหาร 2. การลดต้นทุนหรือตัดทอนราคาด้านที่พัก 3. การลดต้นทุนหรือตัดทอนราคาด้านยานพาหนะ 4. การลดต้นทุนหรือตัดทอนราคาด้านแหล่งเข้าชม 5. การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายกรณีจัดนำเที่ยวระหว่างประเทศ 6. การลดต้นทุนหรือตัดทอนราคาด้านจิปาถะอื่น ๆ