501480 การจัดการทางการพยาบาล Management in Nursing กมลรจน์ วงษ์จันทร์หาญ 22 สิงหาคม 2560
ข้อมูลทั่วไปของรายวิชา 2 หน่วยกิต มีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหารทั่วไป การบริหารทางการพยาบาล บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการบริหารจัดการตนเองและงานในหน้าที่ การจัดการคุณภาพเชิงบริการพยาบาลและกลยุทธ์การจัดการ บรรยาย 30 ชั่วโมง
ข้อมูลทั่วไปของรายวิชา สอบกลางภาค = 40% สอบปลายภาค = 35%
ข้อมูลทั่วไปของรายวิชา แบบฝึกหัด = 20% พฤติกรรม = 5%
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหาร : วัตถุประสงค์ อธิบายความเป็นมา ความหมาย และองค์ประกอบของการบริหารได้ อธิบายความความสัมพันธ์ระหว่างระดับของผู้บริหารกับทักษะการบริหารได้
ขอบเขตเนื้อหา :ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหาร 1. ความเป็นมาของการบริหาร 2. ความหมายขององค์การ 3. ลักษณะสำคัญขององค์การ 4. ความหมายของการบริหาร 5. องค์ประกอบการบริหาร 6. กิจกรรมสนับสนุนการบริหาร 7. ระดับของผู้บริหาร 8. ทักษะการบริหาร 9. บทบาทการบริหาร
Q: ทำไมต้องเรียนวิชา การจัดการทางการพยาบาล? A: …………………….
ความสำคัญของการจัดการทางการพยาบาล ปัจจุบันการบริหารการพยาบาลยังคงถูกจัดการศึกษาในปรัชญาขั้นสูง (พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์, 2544) การบริการพยาบาลที่มีคุณภาพต้องการทักษะการจัดการและภาวะผู้นำ พยาบาลมิได้ปฏิบัติเพียงให้การดูแลโดยตรงแก่ผู้รับบริการเท่านั้น แต่ต้องประสาน จัดการทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการให้การดูแล การบริการพยาบาลก้าวหน้าได้ด้วยภาวะผู้นำทางการพยาบาลในคลินิก ภาวะผู้นำทางการพยาบาลต้องมีทั้งความรู้และความสามารถทางการพยาบาลและการบริหารการพยาบาล
ภาวะผู้นำในการพยาบาล การศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาล ภาวะผู้นำในการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล
ความสำคัญของการจัดการทางการพยาบาล การสร้างความก้าวหน้าของวิชาชีพจะต้องมีการสร้างความก้าวหน้าในการบริหารการพยาบาล การบริหารเป็นศาสตร์ที่มีองค์ความรู้ของตนเอง Ex. Case management
ความเป็นมาของการบริหาร ยุคดึกดำบรรพ์ คนรวมตัวกัน ตั้งผู้นำ มีวัตถุประสงค์เดียวกัน พากลุ่มถึงเป้าหมาย
ความเป็นมาของการบริหาร มีการวางแผน มีวิธีการทำงาน คำนึงเรื่องสวัสดิการ
ความหมายขององค์การ Organization การที่คนสองคนขึ้นไปมาอยู่ร่วมกันและทำกิจกรรมเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน
ลักษณะสำคัญขององค์การ องค์การจะต้องมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป องค์การจึงจะมีลักษณะเป็นหน่วยทางสังคมที่บุคคลมารวมตัวกัน องค์การจะต้องมีเป้าหมายที่ต้องการกระทำให้ประสบความสำเร็จ องค์การจะต้องมีกิจกรรมที่จะดำเนินการให้บรรลุผล คนต้องแบ่งหน้าที่ มีการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจไว้ กำหนดอาณาเขตขององค์การซึ่งแบ่งแยกองค์การออกจากส่วนอื่นๆ มีความต่อเนื่องในการดำเนินงาน กิจกรรมขององค์การจะต้องมีความต่อเนื่อง
ลองยกตัวอย่างองค์กรที่รู้จักมา 1 องค์กร เชื่อมโยงองค์กรที่ยกตัวอย่างกับลักษณะสำคัญขององค์กร
ประเภทขององค์การ 1. องค์การที่มุ่งแสวงหาผลกำไร (Profit Organization) เช่น บริษัท 2. องค์การที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร (Non for Profit Organization) เช่น โรงพยาบาล
ความหมายของการบริหาร การบริหาร หรือ administration มาจากคำในภาษาละตินว่า administrare หมายถึง การรับใช้ การจัดการ การอำนวยการ (to serve, to conduct, to direct) นิยมใช้กับการบริหารรัฐกิจ
ความหมายของการบริหาร การจัดการ หรือ management มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า maneger หมายถึง ผู้ดูแลภายในบ้าน ผู้รักษาผลประโยชน์ การกระทำในลักษณะนำทาง นิยมใช้กับการบริหารภาคเอกชน
ความหมายของการบริหาร Barnard, 1938; Simon, 1950; Griffiths, 1959 การบริหารเป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ของการตัดสินใจ และภารกิจนี้มีอยู่ทั่วทั้งองค์การ Sergiovanni, 1987การบริหารเป็นกระบวนการของการทำงานกับ/และโดยผู้อื่น เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของการบริหาร Robbins, 2001 อ้างใน พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์ 2551 การที่บุคคลทำงานอย่างสำเร็จบรรลุเป้าหมาย โดยผ่านผู้อื่นหรือมีผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน ทั้งนี้ผู้บริหารเป็นผู้จัดการด้านทรัพยากร เป็นผู้ตัดสินใจและชี้นำผู้อื่นในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากผู้บริหารทำงานในองค์การที่มีบุคคลอย่างน้อยสองคน หรือมากกว่านี้ ดังนั้นจึงต้องตระหนักถึงปฏิสัมพันธ์และการประสานงานด้านสังคมด้วย
ลักษณะสำคัญของการบริหาร
การบริหารเป็นศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์ ต้องอาศัยองค์ความรู้ในการปฏิบัติ ศิลป์ ต้องอาศัยความสามารถส่วนบุคคลในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น
การบริหารต้องมีเป้าหมาย แต่ละองค์การจะมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน รายละเอียดการ ดำเนินงานจึงแตกต่างกันตามรูปแบบองค์การแต่ละประเภท แสวงหากำไร รพ.เอกชน รพ.คุณภาพ รพ.รัฐ
การบริหารต้องใช้ทรัพยากร MAN MONEY MATERIAL METHOD
การบริหารเป็นกระบวนการ หน้าที่สำคัญ 4 ประการ การวางแผน การจัดองค์การ การนำ การควบคุม
องค์ประกอบการบริหาร INPUT Man Money Material Method PROCESS Planning Legal & Political Economy Technology INPUT Man Money Material Method PROCESS Planning Organizing Leading Controlling OUTPUT Efficiency Effectiveness Sociocultural Natural Environment
กิจกรรมสนับสนุนกระบวนการจัดการ การตัดสินใจทางการบริหาร (Managerial Decision Making) การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) การบริหารกลุ่ม (Group Management) การจัดการในสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ (Manager and Management)
การตัดสินใจทางการบริหาร (Managerial Decision Making) เพื่อแก้ปัญหา หรือ เพื่อเลือกโอกาสที่ดีที่สุด
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) SWOT สร้าง นำไปปฏิบัติ ควบคุม ประเมินผล
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) HR วางแผน สรรหา คัดเลือก พัฒนา ค่าตอบแทน ประเมินผล ความสัมพันธ์
การบริหารกลุ่ม (Group Management) GOAL Formal Informal
การจัดการในสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ (Manager and Management) ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยต่างชาติ
ระดับของผู้บริหาร ผู้บริหารระดับสูง (Top managers, Top- level administrators) รับผิดชอบด้านองค์การระยะยาว เน้นความอยู่รอดขององค์การ การขยายงานหรือความ เจริญเติบโตขององค์การ ประสิทธิผลองค์การ และปฏิสัมพันธ์ ต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การ กำหนดกลยุทธ์ เสริมสร้างคุณค่าในการปฏิบัติงาน สร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์การในทางที่ดีเพื่อภาพพจน์และการ ปฏิบัติร่วมกัน
ระดับของผู้บริหาร 2. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle managers, Middle- level administrators) กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และวางแผนร่วมกับผู้บริหารระดับสูง ปฏิบัติตามแนวทางกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ผู้สื่อสารระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับผู้บริหารระดับต่ำกว่า นำเป้าหมายหลักลงสู่ระดับปฏิบัติการ เชื่อมเป้าหมายจากหน่วยงานย่อย เข้าด้วยกัน ผู้แปลความให้ผู้บริหารระดับต้นเข้าใจในลำดับความสำคัญที่ผู้บริหารระดับสูง กำหนดไว้ เป็นพี่เลี้ยงให้บุคลากร โดยทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมให้ บุคลากรมีอิสรภาพ เป็นผู้บุกเบิกกิจกรรมใหม่ๆ
3. ผู้บริหารระดับต้น (First-line managers, Operational administrators) ระดับของผู้บริหาร 3. ผู้บริหารระดับต้น (First-line managers, Operational administrators) กำกับดูแล ประสานการทำงานของพนักงานที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหาร เป็นผู้ดำเนินการตามการวางแผนของผู้บริหารระดับกลาง
ทักษะด้านเทคนิคการปฏิบัติงาน (Technical skill) ทักษะการบริหาร ทักษะด้านเทคนิคการปฏิบัติงาน (Technical skill) ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human skill) 3. ทักษะด้านความคิด (Conceptual skill)
Henry Fayol “...........ถ้าหากเราทำงานอยู่ที่ระดับต่ำ เราต้องการทักษะ ทางเทคนิคอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยใช้ความ พยายามทางด้านการบริหารน้อยมาก เมื่อขึ้นไปสู่ ระดับสูงขององค์การ เราจะพบว่า ความสามารถทางด้าน การบริหารมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ ทักษะทางด้านเทคนิค...........”
Conceptual skills Human skills Technical skills ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับต้น Conceptual skills Human skills Technical skills
บทบาทการบริหาร (Managerial Roles) 1. บทบาทระหว่างบุคคล (Interpersonal Roles) 2. บทบาทเกี่ยวกับข้อมูล (Informational Roles) 3. บทบาทเกี่ยวกับการตัดสินใจ (Decisional Roles)
บทบาทระหว่างบุคคล (Interpersonal Roles) บทบาทการเป็นสัญลักษณ์ (Figurehead Role) เป็นตัวแทน องค์กร หัวหน้าในการปฏิบัติภารกิจประจำวันตามลักษณะทางสังคมและกฎหมาย เช่น อบรมสัมมนา ต้อนรับลูกค้า บทบาทการเป็นผู้นำ (Leadership Role) การจูงใจและชี้นำผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ บทบาทการเป็นผู้ ประสานงาน (Liaison Role) สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับองค์การภายนอก การสร้างเครือข่ายต่าง ๆ สร้างไมตรี ผูกมิตรอันดีกับบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อองค์การ
บทบาทเกี่ยวกับข้อมูล (Informational Roles) บทบาทของการเฝ้าสังเกต (Monitor Role) ติดตามข่าวสาร เป็นศูนย์กลางของข่าวสารทั้งภายในภายนอกองค์กร เพื่อพัฒนาองค์การ บทบาทการเผยแพร่ข้อมูล (Disseminator Role) กระจายเผยแพร่ข่าวสารที่ได้มาทั้งภายใน และภายนอกให้แก่พนักงานในองค์การ บทบาทการเป็นผู้แถลงข่าว (Spokesperson) การให้ข่าวสารข้อมูลแก่ภายนอกองค์การ ประชาสัมพันธ์องค์การในเรื่องเกี่ยวกับ นโยบาย แผนงาน การปฏิบัติงานและผลการดำเนินงานของกิจการไปสู่ภายนอก ตลอดจนการแถลงข่าวสารต่าง ๆ
บทบาทเกี่ยวกับการตัดสินใจ (Decisional Roles) บทบาทการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur Role) การแสวงหาช่องทาง ศึกษาสภาพแวดล้อมและโอกาสในทางธุรกิจ มุ่งมั่นในการทำงาน บทบาทการเป็นผู้รับมือกับความยุ่งยาก ( Disturbance Handler) รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ หรือไม่คาดคิดมาก่อน บทบาทของการเป็นผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource Allocator Role) รับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยากรทุกชนิดขององค์กร (4M) ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจขององค์กร บทบาทของการเป็นนักเจรจาต่อรอง (Negotiator Role) เป็นตัวแทนขององค์กรในการเจรจาต่อรองเรื่องสำคัญ เพื่อประโยชน์ที่องค์กรควรได้รับ
ความสำคัญกับบทบาทต่างๆ 1. บทบาทของการเป็นนักเจรจาต่อรอง 2. บทบาทการเป็นผู้นำ 3. บทบาทการเป็นผู้ประกอบการ 4. บทบาทการเป็นผู้ประสานงาน 5. บทบาทการเป็นผู้รับมือกับความยุ่งยาก 6. บทบาทของการเป็นผู้จัดสรรทรัพยากร 7. บทบาทการเป็นสัญลักษณ์ 8. บทบาทของการเฝ้าสังเกต 9. บทบาทการเผยแพร่ข้อมูล 10. บทบาทการเป็นผู้แถลงข่าว
สรุป การที่จะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้บริหารจำเป็นที่ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการบริหารทั่วไปเป็นพื้นฐานก่อน นอกจากความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารแล้ว ทักษะด้านต่างๆยัง ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานด้วยเช่นกัน ประกอบการที่บุคคลต่างๆทั้ง ภายในและภายนอกองค์การต่างคาดหวังในบทบาทที่ผู้บริหารควรจะมี ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องมีการพัฒนาทักษะทุกด้านอย่าง สม่ำเสมอ โดยสามารถพัฒนาได้จากการสังเกต การฝึกปฏิบัติ การ ค้นคว้าศึกษาหาความรู้ การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (มีงานวิจัย สนับสนุน)
Question