Siriraj Patient Classification ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช
การจำแนกประเภทผู้ป่วย แบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามต้องการการพยาบาล เป็นตัวชี้วัดปริมาณงานในแต่ละวัน/แต่ละเวร ใช้คาดประมาณอัตรากำลังในหน่วยงาน
การจำแนกประเภทผู้ป่วย Prototype Evaluation ประเมินประเภทผู้ป่วย โดยเทียบเคียงลักษณะของผู้ป่วยตามข้อกำหนด
การกำหนดประเภทผู้ป่วย ประเภทที่ 1 สามารถดูแลตนเองได้ ประเภทที่ 2 ต้องการความช่วยเหลือดูแลเล็กน้อย ประเภทที่ 3 ต้องการความช่วยเหลือดูแลปานกลาง ประเภทที่ 4 ต้องการความช่วยเหลือดูแลมาก ประเภทที่ 5 ต้องการความช่วยเหลือดูแลมากที่สุด
เกณฑ์บ่งชี้ความต้องการการพยาบาล 5หมวด ความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความต้องการการรักษาพยาบาล สภาพที่แสดงออกถึงภาวะการเจ็บป่วย ความต้องการด้านจิตใจ อารมณ์และสังคม ความต้องการการดูแลตนเองตามภาวะสุขภาพและพัฒนาการตามวัย
เกณฑ์บ่งชี้ความต้องการการพยาบาล 12 รายการ เกณฑ์บ่งชี้ความต้องการการพยาบาล 12 รายการ ความสามารถรับประทานอาหาร ชนิดและประเภทอาหาร การทำความสะอาดร่างกาย การขับถ่าย การเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย กิจกรรมการรักษาพยาบาล การได้รับยา อาการและอาการแสดงผิดปกติ การสังเกต ประเมินอาการ ตรวจวัดสัญญาณชีพและการบันทึก การรับรู้ จิตใจ อารมณ์ และสังคม การดูแลตนเองตามภาวะสุขภาพและการพัฒนาตามวัย
ความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหาร ระดับ 1 = ทำได้เอง ระดับ 2 = ช่วยเหลือเล็กน้อย ระดับ 3 = ต้องมีผู้ช่วยป้อนอาหารให้ ระดับ 4 = ต้องป้อนและเฝ้าระวังการสำลักอย่างใกล้ชิด ระดับ 5 = ให้อาหารทางสายยาง / ทางหลอดเลือดดำ
ชนิดและประเภทอาหาร ระดับ 1 =ไม่จำกัด ระดับ 2 =อาหารเหลว อ่อน /งดอาหาร น้ำดื่ม ระดับ 3 =อาหารเฉพาะโรค /ต้องการคำแนะนำ ระดับ 4 =อาหารที่จัดเตรียมพิเศษ /สังเกต บันทึกจำนวน ระดับ 5 =ให้อาหารทางสายยาง /ทางหลอด เลือดดำ
การทำความสะอาดร่างกาย ระดับ 1 = ทำได้เอง ระดับ 2 = พยุงไป เตรียมเครื่องใช้ให้/เช็ดตัวทารกปกติ ระดับ 3 = ช่วยเหลือบางส่วน/เช็ดตัวทารกแรกคลอด หลังผ่าตัด ผู้ป่วยจิตเวช ระดับ 4 = ช่วยเหลือทั้งหมด ผู้ป่วยพลิกตัวได้เอง ระดับ 5 = ต้องช่วยเหลือโดยสมบูรณ์ ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว/ มีอาการทางจิตรุนแรง
การขับถ่าย ระดับ 1 =เดินไปห้องน้ำ ขับถ่ายได้เอง ระดับ 1 =เดินไปห้องน้ำ ขับถ่ายได้เอง ระดับ 2 =พยุงเข้าห้องน้ำ ขับถ่ายได้เอง/ต้องทำความสะอาดให้ ระดับ 3 =ขับถ่ายได้เองบนเตียง ต้องช่วยทำความสะอาดให้ ระดับ 4 =ขับถ่ายได้เองต้องอยู่ช่วยเหลือตลอดเวลา / สวน อุจจาระ,ปัสสาวะEvacuation /มีcolostomy ดูแลตนเองได้ ระดับ 5 =ใส่สายสวนคา ถุงยาง/มี Urostomy ,Colostomy, S-P Cystrostomyได้รับยาระบายและถ่ายตลอดเวลา
การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกาย ระดับ 1 =เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายได้เอง ระดับ 2 =ต้องพยุง ประคับประคองขณะเคลื่อนไหวร่างกายและออก กำลังกาย ระดับ 3 =เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย/จำกัดการเคลื่อนไหวบนเตียง / ต้องควบคุมกระตุ้นให้เคลื่อนไหวร่างกาย ระดับ 4 =เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยมาก/จำกัดกิจกรรมบนเตียง/ ต้อง ควบคุม ช่วยเหลือ ดูแลการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ระดับ 5 =ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เลย/เคลื่อนไหวโดยไม่มีเป้า หมาย/ต้องได้รับความช่วยเหลือออกกำลังกายทั้งหมด
กิจกรรมการรักษาพยาบาล ระดับ 1 =การรักษาพยาบาลอย่างง่าย ปฏิบัติเป็นประจำ ระดับ 2 =การรักษาพยาบาลและตรวจวินิจฉัยที่ต้องสังเกตอาการ เป็นเวลาสั้นๆ ระดับ 3 =การรักษาพยาบาลและตรวจวินิจฉัยที่ต้องสังเกตอาการ เป็นระยะๆ24 ชม. ระดับ 4 =การรักษาพยาบาลและตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว ต้อง ระมัดระวัง สังเกตอาการอย่างน้อย ทุก 2-4 ชม.ต่อ เนื่อง 24 ชม. ระดับ 5 =การรักษาพยาบาลเพื่อแก้ไขภาวะวิกฤตอย่างเร่งด่วน/หัตถ การที่เสี่ยงต่อชีวิต / ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและต่อ เนื่องตลอดเวลา
การได้รับยา ระดับ 1=ได้รับยาสามัญประจำบ้าน ระดับ 2=ได้รับยากิน สูดดม หยอด ป้าย เหน็บ พ่นผู้ป่วยทำได้ เอง ต้องดูแลให้ได้รับยาครบถ้วน ระดับ 3=ได้รับยากินหยอด สูดดม อมใต้ลิ้น วันละไม่เกิน 4 ครั้ง ต้องช่วยเหลือให้ได้รับยา และสังเกตอาการ หลังให้ยา ระดับ 4=ได้รับยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เข้ากล้ามเนื้อ หรือ IV เป็น ครั้งๆ ยาพ่นที่ผู้ป่วยทำเองไม่ได้ ต้องสังเกตหลังให้ยา อย่างใกล้ชิด ระดับ 5=ได้รับยา IV ทุก 1-2 ชม. , IV drip ต้องดูแล ช่วยเหลือขณะให้ยาและหลังให้ยาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
สภาพที่แสดงถึงภาวะการเจ็บป่วย อาการและอาการแสดงผิดปกติ ระดับ 1=ไม่มีอาการแสดงผิดปกติ / ระยะโรคสงบ ระดับ 2=มีอาการแสดงผิดปกติเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดแผล เจ็บครรภ์เตือน ระดับ 3=มีอาการแสดงผิดปกติมาก บ่อยครั้ง ต้องควบคุมด้วยยาและการ รักษาพยาบาล เช่น เหนื่อยหอบต้องให้ออกซิเจน ระดับ 4=มีอาการแสดงผิดปกติรุนแรง บ่อยครั้ง มีแนวโน้มที่จะควบคุมอาการ ได้ เช่น GI bleeding, ปวดแผลมากทุก 4 ชั่วโมง ระดับ 5=มีอาการแสดงผิดปกติรุนแรง ตลอดเวลา / อาการผิดปกติเฉียบ พลัน ต้องแก้ไขโดยรีบด่วนเช่น Respiratory failure, severe chest pain, shock
ความต้องการการสังเกตประเมินอาการ ตรวจวัดสัญญาณชีพ ระดับ 1=สังเกต ประเมินอาการ บันทึกสัญญาณชีพเพื่อประเมินสภาพทั่วไป ระดับ 2 =สังเกต ประเมินอาการบันทึกสัญญาณชีพ อย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน ระดับ 3 =สังเกต ประเมินอาการ บันทึกสัญญาณชีพ อย่างน้อย 3-4 ครั้ง/ วัน ระดับ 4 = สังเกต ประเมินอาการ บันทึกสัญญาณชีพ อย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง ระดับ 5 = สังเกต ประเมินอาการบันทึกสัญญาณชีพทุก1-2ชม. หรือบ่อยกว่า
ภาวะการรับรู้ ระดับ 1=รู้สึกตัวดี รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อม ระดับ 2=รู้สึกตัวดี รู้กาลเวลาสถานที่ แต่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า ระดับ 3=รู้สึกตัว ซึม มึนงง สับสนบางครั้ง / ตอบคำถามกาลเวลา ผิดบ้างถูกบ้าง /ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้ามาก รบกวนชีวิตประจำวัน ระดับ 4=รู้สึกตัว ลืมตาได้เอง ตอบคำถาม ทำตามสั่งไม่ได้ / ตอบ สนองต่อสิ่งเร้าไม่ถูกต้อง / แสดงพฤติกรรมที่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ระดับ 5=ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก / ควบคุมตนเองไม่ได้ มีพฤติกรรมรุนแรง อาจทำร้ายตนเอง ผู้อื่น
ความต้องการด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม ระดับ 1=ยอมรับความเจ็บป่วย ร่วมมือในการรักษา /แสดงอารมณ์สอดคล้องกับสถานการณ์ ระดับ 2=ยอมรับความเจ็บป่วย แสดงความวิตกกังวลเล็กน้อย ระดับ 3=ยอมรับความเจ็บป่วยไม่ได้ แสดงความวิตกกังวลสูง เรียกร้องความสนใจ ต่อรอง/ ผู้ป่วยเด็กเล็ก วัยก่อนเรียน ระดับ 4=ยอมรับความเจ็บป่วยไม่ได้ ต่อต้าน ปฏิเสธ/ท้อแท้ ซึมเศร้าหมดกำลังใจ แยกตัว/อยู่ห้องแยก มีแนวโน้มพฤติกรรมเบี่ยงเบน ระดับ 5=ไม่ยอมรับความเจ็บป่วย / ไม่รู้สติ ไม่รับข้อมูลใดๆ / สิ้นหวัง ไม่สนใจตนเอง-สิ่งแวดล้อม / มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
การดูแลตนเองด้านสุขภาพและพัฒนาการตามวัย ระดับ 1=มีภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพ ไม่จำเป็นต้องปรับกิจวัตรประจำวัน /เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ระดับ 2=มีภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพ ต้องปรับกิจวัตรประจำวันเล็กน้อย /ต้องการการสนับสนุนให้ข้อมูล ระดับ 3=มีภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพที่ต้องใช้เทคนิคในการดูแลตนเอง / ต้องการการสอนอธิบายและฝึกทำ ระดับ 4=มีภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพที่อาศัยเทคโนโลยีซับซ้อนแต่ดูแลตนเองได้ เช่น CAPD, Central Venous Care, Pace maker ระดับ 5=มีภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ไม่สามารถดูแลตนเองได้ พึ่งพาผู้อื่นหมด/ต้องสอนให้บุคคลใกล้ชิดดูแล
คำแนะนำในการจำแนกประเภทผู้ป่วย
ผู้จำแนกประเภทผู้ป่วย รู้จักผู้ป่วยดี รู้,เข้าใจและใช้เครื่องมือเป็น มีความรู้ ความสามารถในการพยาบาลสาขานั้นๆเป็นอย่างดี