ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเรื่อง นโยบายและแนวทางของหลักสูตรครูคุณภาพเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ห้องประชุม ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 17 ตุลาคม 2561
เงื่อนไขของหลักสูตรครูคุณภาพเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ 1. เป็นหลักสูตรแบบ Demand Side ที่ตรงตามความ ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต โดยเฉพาะ กระทรวงศึกษาธิการและโรงเรียน 2. เป็นหลักสูตรอิงสมรรถนะ (Competency-based) ที่แต่ละรายวิชา เน้นการสร้างสมรรถนะเพื่อนำไปใช้ จริงในอาชีพ ของบัณฑิตครู 3. เป็นหลักสูตรที่มีการร่วมจัดการเรียนรู้จากการ ปฏิบัติงานจริงกับโรงเรียน แบบ School-integrated Learning (SIL) บนแนวคิด Work-integrated Learning (WIL) 4. เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพเทียบเคียงกับสากล โดย ใช้นวัตกรรมและวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ตาม แนวทางสากล และนโยบายของประเทศ 5. เป็นหลักสูตรที่มีการกำหนดวิธีการประเมินผลที่ มุ่งเน้นคุณภาพ ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ที่เป็นสมรรถนะ ของนักศึกษาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ใน สถานศึกษาและในโรงเรียน
หลักสูตรครูคุณภาพเป็นเลิศ 4 ปี หลักสูตรครูคุณภาพเป็นเลิศ 4 ปี 1. สามารถสร้างบัณฑิตครูโดยใช้หลักสูตร ครูคุณภาพเป็นเลิศ ภายในเวลา 4 ปี ได้ โดยใช้หลักสูตรที่เน้นสมรรถนะและเนื้อหาที่ ใช้ประโยชน์จริงในอาชีพ, วิธีจัดการเรียนรู้ แบบใหม่ที่มีความเข้มข้น สามารถลดเวลา ของหลักสูตร พร้อมกับเพิ่มคุณภาพเป็นเลิศ, การวัดและประเมินผลแบบใหม่ 2. ตรงตามนโยบาย และความต้องการของ ผู้ใช้บัณฑิต (Demand Side) ที่มุ่งเร่งรัดให้ มหาวิทยาลัยสามารถผลิตครูคุณภาพเป็น เลิศเข้าสู่ระบบการศึกษาเร็วขึ้น เพื่อเร่ง พัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนและ กำลังคนของประเทศ โดยการได้ครู คุณภาพสูง มาทดแทนครูที่เกษียณอายุทุกๆปี
หลักสูตรครูคุณภาพเป็นเลิศ 4 ปี 3. ตรงตามความต้องการและความจำเป็น ของผู้เรียน ในการเรียนจบเร็ว มีสมรรถนะ สูงในการทำงาน และเข้าทำงานเร็ว เพราะ ผู้สมัครเรียนและพ่อแม่ ชั่งน้ำหนักทางเลือก โดยพิจารณาคุณภาพการศึกษาควบคู่กับ ความประหยัดและระยะเวลา เช่น ค่าใช้จ่าย ของนักศึกษาที่ต่างกัน 1 ปีและ การเสีย โอกาสของนักศึกษาในตลาดแรงงาน 1 ปี 4. เป็นการปรับตัวในภาวะวิกฤติของ อุดมศึกษาระดับโลกและในประเทศและการ แข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยเพื่อการอยู่รอด เช่น การปิดตัวของมหาวิทยาลัยและคณะ ที่ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการของ ผู้ใช้บัณฑิตและผู้เรียน (Demand Side)
ประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเชิง นโยบาย เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดทำ หลักสูตรครูคุณภาพเป็นเลิศ
1. ระดับภาษาอังกฤษของผู้สำเร็จการศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาครูสาขาวิชา ภาษาอังกฤษ ต้องได้ระดับ C1 ตาม มาตรฐาน CEFR (นโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาด้าน ภาษาอังกฤษในโรงเรียน) ผู้สำเร็จการศึกษาครูในสาขาวิชาอื่นทุก สาขา (ไม่มียกเว้น) ต้องได้ระดับ B2 ตามมาตรฐาน CEFR (เงื่อนไขของโครงการครูคืนถิ่น / การรับครูของ สพฐ.) หมายเหตุ : CEFR ระดับ C1 เทียบเคียงกับ TOEIC = 605-780 CEFR ระดับ B2 เทียบเคียงกับ TOEIC = 405-600
2. General Education ที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับ นักศึกษาครู เนื่องจาก วิชาGE ชุดนี้ เป็นการออกแบบเนื้อหา และวิธีการเป็นพิเศษ เพื่อ หนุนเสริมสมรรถนะ การเป็นครูและเสริมวิชาอื่นในหลักสูตรครู คุณภาพเป็นเลิศ โดยต้องมุ่งเน้นสร้าง soft skills รวมทั้งความรู้ความเข้าใจ ทักษะและตัวอย่าง เฉพาะเจาะจง เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปปรับ ใช้ได้จริง ในการเป็นครู
3. สาขาวิชาที่ยังไม่ได้จัดทำหลักสูตรครู คุณภาพเป็นเลิศ มี 7 สาขาวิชาที่จัดทำร่างหลักสูตร ครูคุณภาพเป็นเลิศ แล้ว เพื่อเปิด สอนในปีการศึกษา 2562 ให้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรครู คุณภาพเป็นเลิศ สำหรับสาขาวิชาที่ เหลือ เพื่อให้สามารถเปิดสอน หลักสูตรครูคุณภาพเป็นเลิศ ทุก สาขาวิชา ในปี 2562
4. การจัดการ 2 ระบบหลักสูตรในอีก 4 ปี ข้างหน้า (หลักสูตรปัจจุบันและหลักสูตรครูคุณภาพเป็น เลิศ) ให้นักศึกษาในหลักสูตรปัจจุบัน เรียนตาม ระบบเดิมจนจบการศึกษา แต่ให้เอื้อ ประโยชน์และเพิ่มพูนคุณภาพหลายด้าน เช่น ให้เรียนวิชาที่เป็นนวัตกรรมสากล รวมทั้ง Boot Camp พร้อมได้รับ certificate สำหรับวิชาดังกล่าว และใช้ระบบการ ประเมินผล สะท้อนผลและพัฒนา เป็นต้น (โดยต้องมหาวิทยาลัยและคณะ ร่วมกัน พิจารณาหาแนวทางในการปฏิบัติด้านการ บริหารจัดการและค่าใช้จ่าย)
5. เกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัคร เป็นนักศึกษา (Input) 1. ผ่านการสอบข้อเขียน (ข้อสอบ 4 วิชาหลัก และข้อสอบวัดแววความเป็นครู และเจตคติต่อ วิชาชีพครู) 2. ผ่านการสอบสัมภาษณ์ (โดยมีผู้อำนวยการ ของโรงเรียนที่ร่วมจัดการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน จริงแบบ SIL ร่วมเป็นกรรมการด้วย) 3. ไม่กำหนดเงื่อนไขด้านเกรดเฉลี่ย จาก ม.6 หรือ เทียบเท่า (เกรดเท่าไรก็ได้) 4. ไม่กำหนดเงื่อนไขด้านระดับ ภาษาอังกฤษ ในการรับเข้าเรียน แต่จะให้ทดสอบระดับภาษาอังกฤษ (CEFR) ตอน สมัคร โดยไม่ใช้ผลในการคัดเลือก เพียงจะใช้ผลเป็นฐาน เปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะระหว่างเรียน จนจบ การศึกษา