หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 2.2 สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ 1. ทราบและเข้าใจในเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและ การจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2. ทราบถึงสาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง 3. สามารถนำกฎหมายไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน กฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานเป็นมาตรการป้องกันอุบัติเหตุ และเสริมสร้างความ ปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่ใช้บังคับ ณ ปัจจุบันมาจากมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งกำหนดให้รัฐมนตรีออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานให้ นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีการตรวจ สุขภาพของลูกจ้างและส่งผลการตรวจ และบทเฉพาะกาลมาตรา 166 ให้บรรดาประกาศหรือ คำสั่งที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ยังคงใช้ได้ ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จนกว่าจะมี กฎกระทรวง ระเบียบและประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทำให้ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานที่ยังไม่มีกฎกระทรวงใหม่ออกมาใช้ บังคับยังคงใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน
ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีขอบข่ายการบังคับใช้กับสถานประกอบ กิจการทุกประเภทที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไป โดยมิให้ใช้บังคับแก่ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และ ราชการส่วนท้องถิ่น นอกจากกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว รัฐมนตรีจะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกับพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่ บางส่วนแก่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้ สำหรับรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ มีกฎหมายเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติแรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 สำหรับเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้มีกำหนด ไว้ในหมวดที่ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างใน รัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 55 และข้อ 56 ที่กำหนดให้นายจ้างบริหารและจัดการด้านความ ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างและส่งผลการตรวจ สุขภาพแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เว้นแต่ คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จะประกาศกำหนดเป็นอย่างอื่นโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
การดำเนินการกรณีนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานได้เข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่านายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 103 และประกาศกระทรวงฯตามบทเฉพาะกาล มาตรา 166 พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจดังนี้ 1. ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน อาคาร สถานที่ หรือจัดการแก้ไขเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ลูกจ้างต้องใช้ในการปฏิบัติงานหรือที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานภายในระยะเวลาที่กำหนด (มาตรา 104) 2. สั่งให้นายจ้างหยุดการใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว (มาตรา 105) นายจ้างสามารถอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 104 หรือมาตรา 105 ต่อคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ (มาตรา 106)
บทลงโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 144 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 146 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา 148 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 150 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 151 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 154 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 155 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รายละเอียดฐานความผิดและอัตราโทษในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน สามารถ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 144 146 148 150 151 154 และ155
บทลงโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ต่อ) กรณีพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าผู้กระทำผิดไม่ควรได้รับโทษจำคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจเปรียบเทียบ ผู้มีอำนาจปรับเปรียบเทียบได้แก่ (1) อธิบดีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร (2) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น เมื่อผู้กระทำผิดได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวัน ให้ถือว่าคดีเลิก กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้กระทำผิดไม่ยอมให้เปรียบเทียบ หรือเมื่อ ยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในกำหนดเวลา ให้ดำเนินคดีต่อไป
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 เจตนารมณ์ของกฎหมาย 1. เพื่อให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ 2. เพื่อส่งเสริมให้มีการดำเนินการด้านความปลอดภัย ในระบบทวิภาคีขึ้น ในสถานประกอบกิจการ ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ 1. การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 2. การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสียหาย การต่อเรือ การให้กำเนิด แปลงและจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น 3. การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง 4. การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ อากาศ 5. สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ 6. โรงแรม 7. ห้างสรรพสินค้า
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 8. สถานพยาบาล 9. สถาบันทางการเงิน 10. สถานตรวจสอบทางกายภาพ 11. สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา 12. สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ 13. สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม 1. ถึง 12 14. กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ใช้บังคับ สปก.ประเภทที่ 1 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป สปก.ประเภทที่ 2-5 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สปก.ประเภทที่ 6-14 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 คณะกรรมการความปลอดภัยฯ หมวด 3 หน่วยงานความปลอดภัยฯของสถานประกอบกิจการ หมวด 4 การแจ้ง การส่งเอกสาร และการเก็บเอกสารหลักฐาน
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 สาระสำคัญของกฎหมาย กำหนดให้นายจ้างดำเนินการดังนี้ 6.1 จัดให้มีข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน จัดอบรมและฝึกปฏิบัติจนลูกจ้างจะทำงานปลอดภัย รวมทั้งผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงในสปก.นั้นด้วย 6.2 ลูกจ้างใหม่ และที่เปลี่ยนงานให้อบรมลูกจ้างมีความรู้ ตามข้อบังคับและคู่มือฯก่อนปฏิบัติงาน 6.3 กรณีสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานที่อื่นอาจเป็นอันตรายต่อลูกจ้าง ให้แจ้งข้อมูลอันตรายและวิธีป้องกันให้ลูกจ้างทราบก่อนทำงาน
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 6.4 ให้นายจ้างในสปก.ตามข้อ 1 – 5 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และตามข้อ 6 – 14 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป แต่งตั้งลูกจ้างระดับหัวหน้างานที่เป็นหรือเคยเป็นจป.หัวหน้างาน 6.5 ให้นายจ้างในสปก.ตามข้อ 2 – 5 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20-49 คน แต่งตั้งลูกจ้าง 1 คนเป็น จป.ระดับเทคนิค และผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด หรือ เป็นหรือเคยเป็นจป.ระดับพื้นฐาน หรือ จบปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยฯหรือเทียบเท่า ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นจป.ระดับเทคนิค ไม่น้อยกว่าวันละ1ช.ม. เว้นแต่ มีจป.เทคนิคชั้นสูงหรือระดับวิชาชีพอยู่แล้ว
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 6.6 ให้นายจ้างในสปก.ตามข้อ 2 – 5 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50-99 คน แต่งตั้งลูกจ้าง 1 คนวุฒิไม่ต่ำกว่า ปวส. ผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์ฯ หรือ วุฒิไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 ,ปวช.หรือเทียบเท่าทำงานเป็น จป.ระดับเทคนิค หรือพื้นฐานมาไม่น้อยกว่า 5 ปีและผ่านการ อบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์ฯ เว้นแต่ มีจป.ระดับวิชาชีพอยู่แล้ว
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 6.7 ให้นายจ้างในสปก.ตามข้อ 1 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และตามข้อ 2 – 5 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป แต่งตั้งลูกจ้างอย่างน้อย 1 คนการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า หรือ การศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและ เป็นจป.เทคนิคขั้นสูง > 5 ปี และผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์ฯ หรือ ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นจป.วิชาชีพ ปี 2540 และ ผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์ฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็น จป.ระดับวิชาชีพ
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 6.8 ให้นายจ้างในสปก.ตามข้อ 1-5 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และตามข้อ 4-14 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป แต่งตั้งลูกจ้างระดับบริหารทุกคนที่ผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ฯ หรือ เป็นหรือเคยเป็นจป.ระดับบริหาร ปี 2540 ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็น จป.ระดับบริหาร
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 6.9 ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มี คปอ.ของ สปก.และมีองค์ประกอบตามข้อกำหนด ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 50 คน (1) กรรมการให้อยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี (2) ให้ประชุมคปอ.ตามข้อบังคับที่คปอ.กำหนด อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง (3) ให้นายจ้างให้คปอ.ได้รับการอบรมฯภายใน 60 วัน (4) กรณีเกิดอุบัติเหตุที่ลูกจ้างหรือบุคคลภายนอกสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต ให้นายจ้างเรียกประชุมโดยมิชักช้า
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 6.10 ให้นายจ้างในสปก.ตามข้อ 1 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและตามข้อ 2 – 5 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไปจัดให้มีหน่วยงานความปลอดภัยฯภายใน 360 วัน และให้คงหน่วยงานไว้แม้จำนวนลูกจ้างจะลดลง เว้นแต่ ลูกจ้างน้อยกว่า 100 คน 6.11 ให้หน่วยงานความปลอดภัยฯ ขึ้นตรงต่อผู้บริหารระดับสูงสุดในสปก.นั้น 6.12 หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยฯ ต้องเป็นหรือเคยเป็นจป.ระดับวิชาชีพ หรือ เป็นหรือเคยเป็น จป. ซึ่งผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ฯ
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 6.13 ให้นายจ้างแจ้งชื่อจป.ตามหลักเกณฑ์ฯ 6.14 ให้นายจ้างส่งรายงานผลการดำเนินงาน ของจป.ระดับเทคนิคขั้นสูง , จป.ระดับวิชาชีพ ต่ออธิบดี ทุก 3 เดือน ตามปีปฏิทินภายใน 30 วัน ตามแบบที่อธิบดีกำหนด 6.15 กรณีลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญเสีย ให้นายจ้างแจ้งอธิบดีตามหลักเกณฑ์ฯ ภายใน 15 วัน นับแต่นายจ้างทราบเรื่อง
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 6.16 ให้นายจ้างส่งสำเนารายชื่อ คปอ.และหน้าที่รับผิดชอบต่ออธิบดี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้ง 6.17 ให้นายจ้างเก็บสำเนาบันทึกรายงานการดำเนินงาน รายงานการประชุมและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องไว้ ไม่น้อยกว่า 2 ปี พร้อมให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
ตารางที่ 4 แสดงการแต่งตั้งจป.และหน่วยงานความปลอดภัยฯ ประเภท กิจการ จำนวน ลูกจ้าง (คน) จป. หัวหน้างาน จป. เทคนิค จป. เทคนิค ขั้นสูง จป. วิชาชีพ จป. บริหาร หน่วยงาน ความ ปลอดภัย 2 คนขึ้นไป a 2-19 20-49 a 1 ช.ม./วัน 50-99 100-199 200 คนขึ้นไป 20 คนขึ้นไป 1 2-5 6-14 ตารางที่ 4 แสดงการแต่งตั้งจป.และหน่วยงานความปลอดภัยฯ
หัวข้อวิชา 2.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนลูกจ้าง 1 นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างระดับปฎิบัติการที่ไม่ประสงค์สมัครเป็นกรรมการระดับปฏิบัติการ จำนวนไม่น้อยกว่า 3คนและไม่เกิน 5 คน ให้เป็น กกต. 2 ปิดประกาศรายชื่อ กกต.ให้พนักงานทราบภายใน 3 วัน ให้ กกต.กำหนดวัน เวลา สถานที่รับสมัคร จำนวนผู้แทนลูกจ้าง ภายใน 5 วันให้กกต.การเลือกตั้งแจ้งผลการเลือกตั้งให้นายจ้างทราบภายใน 3 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการเลือกตั้ง
ตารางแสดง การแต่งตั้งคปอ.ตามขนาดของกิจการ จำนวนลูกจ้าง (คน) จำนวน กรรมการฯ ประธาน (นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร) ผู้แทนนายจ้างระดับ บังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้าง เลขานุการ 50-99 5 1 2 1 (จป.เทคนิคขั้นสูง หรือจป.วิชาชีพ) 100-499 7 3 500 ขึ้นไป 11 4 (จป.วิชาชีพ) ตารางแสดง การแต่งตั้งคปอ.ตามขนาดของกิจการ
หัวข้อวิชา 2.2 สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 แล้ว ยังมีกฎหมายความปลอดภัยอีกหลายฉบับ ดังนี้ - กฎกระทรวงที่ออกโดยมาตรา 103 และมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ออกเป็นกฎกระทรวง และประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามมาตรา 166 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 - กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ตามมาตราอื่น - กฎหมายของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
หัวข้อวิชา 2.2 สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง กฎกระทรวงที่ออกโดยมาตรา 103 และมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ออกเป็นกฎกระทรวง และประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามมาตรา 166 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้แก่
1.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออน พ.ศ.2547 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติป้องกันมิให้ลูกจ้างได้รับอันตราย ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ สปก.ทุกประเภทที่ผลิตหรือมีไว้ในครอบครอง ได้แก่ รังสีแอลฟา , เบต้า , แกมม่า , เอ็กซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเลคตรอนหรือโปรตรอนที่มีความเร็วสูง
1.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออน พ.ศ.2547 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 การควบคุมและป้องกันอันตราย หมวด 3 เครื่องหมาย ฉลาก และสัญญาณเตือนภัย หมวด 4 การแจ้งเหตุและการรายงาน หมวด 5 การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หมวด 6 เบ็ดเตล็ด
“ระวังอันตรายจากรังสี ห้ามเข้า” 1.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออน พ.ศ.2547 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 1.1 หน้าที่ของนายจ้างในการควบคุมป้องกันอันตราย (1) แจ้งจำนวนและปริมาณความแรงต้นกำเนิดรังสีต่ออธิบดี กรมสวัสดิ์ฯภายใน 7 วันนับแต่วันที่ผลิตหรือมีครอบครอง (2) ทำรั้ว คอกกั้นหรือเส้นแสดงแนวเขต และทำป้ายข้อความ (3) จัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วยลดปริมาณที่ต้นกำเนิดรังสี และกำหนดวิธีการและเวลาการทำงาน “ระวังอันตรายจากรังสี ห้ามเข้า”
1.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออน พ.ศ.2547 (ต่อ) (4) จัดให้ผู้ปฏิบัติงานกับรังสีใช้อุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสีประจำตัว (5) จัดทำข้อมูลปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำทุกเดือน ตามแบบที่อธิบดีกำหนด (6) จัดให้ลูกจ้างอย่างน้อย 1 คนประจำสปก.รับผิดชอบทางด้านเทคนิค ในเรื่องรังสีตลอดระยะเวลาที่มีการทำงานกับรังสี ต้องจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทางด้านวิทยาศาสตร์โดยศึกษาและสอบผ่านวิชาเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างน้อย 3 หน่วยกิจ
1.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออน พ.ศ.2547 (ต่อ) (7) ต้องแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีต่ออธิบดี ตามแบบอธิบดีกำหนดภายใน 7 วัน (8) จัดให้มีที่ล้างมือที่ล้างหน้าและที่อาบน้ำ จัดเก็บชุดทำงาน (9) จัดให้มีแผนกป้องกันและระงับอันตรายจากรังสีในสภาวะปกติ ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุร้ายแรงให้ส่งแผนต่ออธิบดี ภายใน 30วันนับแต่วันที่ผลิตหรือมีไว้ในครอบครอง
1.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออน พ.ศ.2547 (ต่อ) 1.2 หน้าที่นายจ้างในการทำเครื่องหมาย ฉลากและสัณญาณเตือนภัย(1) จัดให้มีเครื่องหมายเตือนภัยไว้ให้เห็นได้จัดเจน (2) จัดทำฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือนภัยติไว้ที่ภาชนะ (3) จัดให้มีป้ายห้านนำภาชนะหรือวัตถุที่เปื้อนรังสีออกนอกบริเวณที่ปฏิบัติงาน (4) จัดให้มีไฟกระพริบสีแดงเตือนภัยบริเวณรังสีสูงให้เห็นชัดเจน (5) จัดให้มีสัญญาณฉุกเฉินกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี เพื่อให้ลูกจ้างออกไปสถานที่ปลอดภัย
1.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออน พ.ศ.2547 (ต่อ) 1.3 หน้าที่นายจ้างในการแจ้งเหตุและรายงาน (1) กรณีต้นกำเนิดรังสี อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร เกี่ยวกับการใช้รังสีชำรุดเสียหาย เป็นเหตุให้ลูกจ้างเจ็บป่วย หรือตาย ให้แจ้งเหตุต่อ อธิบดีทันที (2) กรณีมีการตาย การเจ็บป่วย หรือโรคจากการใช้รังสี ให้รายงานต่ออธิบดีกรมสวัสดิ์ฯภายใน 15 วัน (3) ให้รายงานการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบดำเนินการเทคนิคในเรื่องรังสีต่ออธิบดีทุก 6 เดือนตามปีปฏิทินตามแบบรายงานที่อธิบดีกำหนด
1.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออน พ.ศ.2547 (ต่อ) 1.4 หน้าที่นายจ้างในการคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอื่นๆ (1) จัดให้มีอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลตามมาตรฐาน (2) จัดให้ลูกจ้างที่ทำงานกับรังสีได้รับการอบรมก่อนรับหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่อธิบดีกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานกำหนด (3) จัดทำแนวปฏิบัติ ข้อบังคับ กฏหรือระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรังสี ปิดประกาศโดยเปิดเผย (4) จัดให้ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานกับรังสีได้รับการตรวจสุขภาพ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศที่ทำให้ขาดอากาศหายใจหรือได้รับอันตรายจากสารพิษ ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ สปก.ทุกประเภทที่มีที่อับอากาศโดยที่อับอากาศหมายถึง ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอ เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
หมวด 2 มาตรการความปลอดภัย หมวด 3 การอนุญาต หมวด 4 การฝึกอบรม 2.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 มาตรการความปลอดภัย หมวด 3 การอนุญาต หมวด 4 การฝึกอบรม
2.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 2.1 หน้าที่ของนายจ้างดำเนินดังนี้ (1) ทำป้ายแจ้งข้อความ “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” บริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศทุกแห่งพร้อมสิ่งปิดกั้น (2) ต้องมีหนังสืออนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ (3) จัดให้มีการตรวจ บันทึกผลการตรวจวัดและประเมินสภาพอากาศ ก่อนให้ลูกจ้างเข้าทำงานและระหว่างทำงาน (4) จัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ (5) แต่งตั้งลูกจ้างที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นผู้ควบคุมงาน
2.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 (ต่อ) (6) จัดให้ลูกจ้างที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ช่วยเหลือพร้อมอุปกรณ์ (7) จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตตามมาตรฐานที่อธิบดีฯประกาศกำหนด (8) ปิด กั้น หรือมีวิธีการป้องกันมิให้พลังงาน สารหรือสิ่งซึ่งเป็นอันตรายจากภายนอกเข้าสู่ที่อับอากาศระหว่างลูกจ้างทำงานอยู่ (9) จัดบริเวณทางเดิน หรือทางเข้าออกสะดวกปลอดภัย (10) ปิดประกาศห้ามลูกจ้างสูบบุหรี่ ณ ทางเข้าออกที่อับอากาศ (11) จัดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการชังานในที่อับอากาศ (12) จัดให้มีเครื่องดับเพลิง (13) ไม่ให้ลูกจ้างทำงานที่ทำให้เกิดความร้อน ประกายไฟ สารไวไฟเว้นแต่จะจัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัย
2.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 (ต่อ) 2.1 การทำงานในที่อับอากาศแต่ละครั้งต้องมีลูกจ้างไม่น้อยกว่า 3 คน (1) ผู้ควบคุมงานที่ผ่านการฝึกอบรมความปลอดภัยในที่อับอากาศ (2) ผู้ช่วยเหลือ 1หรือ 2 คนผ่านการอบรมฯ มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าออกที่อับอากาศ สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกจ้าง ที่ทำงานในที่อับอากาศได้ตลอดเวลา (3) ลูกจ้างที่มีหน้าที่ทำงานในที่อับอากาศ ลูกจ้างคนเดียวจะทำหน้าที่หลายตำแหน่งในคราวเดียวไม่ได้
3.กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ.2547 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อคุ้มครองป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพอนามัย ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกจ้าง กฎกระทรวงนี้ออกตามมาตรา 107 พรบ.2541 ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับนายจ้างที่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป ซึ่งมีสถานที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง เช่น กำมันตภาพรังสี สารเคมีอันตราย จุลชีวันทีท่เป็นพิษ ความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน ความกดดันบรรยากาศ แสง เสียง เป็นต้น
3.กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ.2547 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 3.1.1 จัดให้ลูกจ้างได้รับการตรวจสุขภาพจากแพทย์มีคุณสมบัติดังนี้ (1) แพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือ (2) ผ่านการอบรมอาชีวเวชศาสตร์ หรือ (3) มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
3.กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ.2547 (ต่อ) 3.1.2 จัดให้ลูกจ้างได้รับการตรวจสุขภาพตามกำหนดระยะเวลา (1) ตรวจครั้งแรกภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน (2) ตรวจครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (3) กรณีสภาพงานที่ต้องตรวจสุขภาพตามระยะเวลาอื่น ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจตามระยะเวลานั้น (4) กรณีนายจ้างเปลี่ยนงานลูกจ้าง โดยงานนั้นมีอันตรายแตกต่างไปจากเดิม นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนงาน
3.กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ.2547 (ต่อ) 3.1.3 กรณีลูกจ้างหยุดงาน 3 วันทำงานติดต่อกัน เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย นายจ้างอาจขอความเห็นแพทย์ผู้รักษา หรือแพทย์ประจำสถานประกอบกิจการ หรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างก่อนให้กลับเข้าทำงาน 3.1.4 จัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวลูกจ้าง 3.1.5 จัดเก็บบันทึกผลตรวจสุขภาพไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างแต่ละราย
3.กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ.2547 (ต่อ) 3.1.6 แจ้งผลการตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้าง ดังนี้ (1) ผลตรวจสุขภาพผิดปกติให้แจ้งแก่ลูกจ้างภายใน 3 วัน (2) ผลตรวจสุขภาพปกติให้แจ้งแก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 3.1.7 จัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาทันที่ที่พบว่าผิดปกติ 3.1.8 ให้นายจ้างส่งผลการตรวจเมื่อพบความผิดปกติหรือเจ็บป่วย การให้การรักษาการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงาน ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือเจ็บป่วย
3.กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ.2547 (ต่อ) 3.1.9 ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างมีหลักฐาน ทางการแพทย์ว่าไม่สามารถทำงานในหน้าที่เดิมได้ 3.1.10 ให้นายจ้างมอบสมุดสุขภาพแก่ลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดการจ้าง 3.2 หน้าที่ของแพทย์ผู้ทำหน้าที่ตรวจสุขภาพ 3.2.1 บันทึกผลตรวจสุขภาพบ่งบอกภาวะสุขภาพของลูกจ้างที่มีผลกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน 3.2.2 ลงลายมือชื่อแพทย์ผู้ทำการตรวจหรือให้ความเห็นในวันที่ทำการตรวจ
เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ 4.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ.2548 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับนายจ้างที่มีลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำลึกตั้งแต่ 10 ฟุตแต่ไม่เกิน 300 ฟุต
หมวด 2 การคุ้มครองความปลอดภัยในการดำน้ำ 4.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ.2548 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 งานประดาน้ำ หมวด 2 การคุ้มครองความปลอดภัยในการดำน้ำ หมวด 3 อุปกรณ์สำหรับงานประดาน้ำ
4.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ.2548 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 4.1 ให้นายจ้างแจ้งสถานที่ที่จะปฏิบัติงานประดาน้ำต่ออธิบดีตามแบบที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 7 วัน 4.2 จัดให้ลูกจ้างได้รับการตรวจสุขภาพตามหลักเกณฑ์ 4.3 ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ 4.4 การปฏิบัติงานดำน้ำต้องประกอบด้วยบุคคลต่างๆดังนี้ (1) หัวหน้านักประดาน้ำ (2) พี่เลี้ยงนักประดาน้ำ (3) นักประดาน้ำ (4) นักประดาน้ำพร้อมดำ (5) ผู้ควบคุมระบบการจ่ายอากาศและติดต่อสื่อสาร
4.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ.2548 (ต่อ) 4.5 ต้องควบคุมลูกจ้างปฏิบัติตามมาตรฐานการดำน้ำ 4.6 จัดให้มีพยาบาลเวชศาสตร์ แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำและอุปกรณ์ 4.7 จัดให้มีบริการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และออกซิเจน100% พร้อมหน้ากากช่วยหายใจ 4.8 ลูกจ้างอาจปฏิเสธการดำน้ำในคราวใดก็ได้ 4.9 นายจ้างและหัวหน้านักดำน้ำต้องสั่งให้ลูกจ้างหยุดดำน้ำ กรณี (1) เมื่อพี่เลี้ยงและนักประดาน้ำไม่สามารถติดต่อกันได้ (2) เมื่อนักประดาน้ำต้องใช้อากาศสำรองจากขวดอากาศ (3) เมื่อนายจ้างหรือหัวหน้านักประดาน้ำเห็นว่าไม่ปลอดภัย
4.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ.2548 (ต่อ) 4.10 นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์สำหรับการทำงานประดาน้ำดังนี้ (1) เครื่องประดาน้ำประเภทขวดอากาศ(Scuba)ประกอบด้วยอุปกรณ์อย่างน้อย ดังนี้ (ก) ขวดอากาศ(Tank) (ข) เข็มขัดน้ำหนัก (Weight belt) (ค) เครื่องผ่อนกำลังดันอากาศ (Regulator) (ง) เครื่องวัดความลึก (Depth gauge) (จ) เครื่องวัดอากาศ (Pressure gauge) (ฉ) ชุดดำน้ำ (Diving suit) (ช) ชูชีพ (Life preserver or Buoyancy compensator)
4.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ.2548 (ต่อ) (ซ) เชือกช่วยชีวิต (Life line) (ฌ) ตีนกบ (Fins) (ญ) นาฬิกาดำน้ำ (Submersible wrist watch) (ฎ) มีดดำน้ำ (Dive knife) (ฏ) สายผ่อนอากาศสำรอง (Octopus) (ฐ) หน้ากาก (Mask)
4.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ.2548 (ต่อ) (2) เครื่องประดาน้ำประเภทใช้อากาศจากผิวน้ำ (Surface supply)กอบด้วยอุปกรณ์อย่างน้อย ดังนี้ (ก) ขวดอากาศสำรอง(Emergency gas supply) (ข) เครื่องอัดอากาศ (Compressure) (ค) ชุดดำน้ำ (Diving suit) (ง) ชุดสายรัดตัว (Harness) (จ) ตะกั่วถ่วงหรือน้ำหนักถ่วง (Weight) (ฉ) ตีนกบหรือรองเท้า (Fins of Boots) (ช) ตู้ควบคุมระบบการจ่ายอากาศและติดต่อสื่อสาร (Control console assembly)
4.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ.2548 (ต่อ) (ซ) ถังพักอากาศ (Air bank) (ฌ) มีดดำน้ำ (Dive knife) (ญ) สายอากาศ สายโทรศัพท์ สายวัดความลึกและเชื่อกช่วยชีวิต (Umbilicals) (ฎ) หน้ากากดำน้ำ (Helmet of Mask)
5.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อคุ้มครองป้องกันลูกจ้างที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงและเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้าง ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
5.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549 สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 ความร้อน หมวด 2 แสงสว่าง หมวด 3 เสียง หมวด 4 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หมวด 5 การตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพการทำงาน หมวด 6 การตรวจสุขภาพและการรายงานผลการตรวจสุขภาพฃ
5.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549 สาระสำคัญของกฎหมาย 5.1 ให้นายจ้างดำเนินงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้ 5.1.1 ความร้อน ให้นายจ้างควบคุมและรักษาระดับความร้อนภายในสถานประกอบกิจการมิให้เกินมาตรฐาน ดังนี้ (1) งานเบามีระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย 34 WBGT (2) งานปานกลางมีระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย 32 WBGT (3) งานหนักมีระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย 30 WBGT
5.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549 แนวทางแก้ไข กรณีเกินมาตรฐาน ปรับทางด้านวิศวกรรม กรณีปรับปรุงแก้ไขไม่ได้ ต้องปิดประกาศเตือนให้ลูกจ้างทราบ และจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้ลูกจ้างสวมใส่ตลอดเวลาที่ทำงาน
5.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549 5.1.2 แสงสว่าง ให้นายจ้างจัดให้สถานประกอบกิจการที่มีความเข้มของแสงไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดโดยจำแนกลักษณะงานดังนี้ (1) พื้นที่ทั่วไปเช่น ทางเดิน ห้องน้ำ ให้เป็นไปตามตารางที่ 1 (2) พื้นที่กระบวนการผลิต ให้เป็นไปตามตารางที่ 2 (3) สายตามองเฉพาะจุดหรือใช้สายตาอยู่กับที่ให้เป็นไปตามตารางที่ 3 (4) จากข้อ (3)มิได้กำหนดไว้ในตาราง 3 ให้เป็นไปตามตารางที่ 4 (5) บริเวณรอบๆต้องใช้สายตามองเฉพาะจุด ให้เป็นไปตามตารางที่ 5
5.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549 แนวทางแก้ไข ให้นายจ้างจัดให้มีฉาก แผ่นฟิล์มกรองแสง หรือมาตรการอื่นที่เหมาะสม กรณีปรับปรุงแก้ไขไม่ได้ ให้จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้ลูกจ้างสวมใส่ตลอดเวลาที่ทำงาน
5.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549 5.1.3 เสียง (6) ให้นายจ้างควบคุมคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ เฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวันมิให้เกินมาตรฐานที่กำหนด (7) ให้นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดทำงานในบริเวณ ระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกเกิน 140 dB(A) หรือมีเสียงสะสมของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก เกินมาตรฐานที่กำหนด (8) ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 dB(A) ขึ้นไป ให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินตามหลักเกณฑ์วิธีการที่อธิบดีกำหนด
5.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549 (9) บริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กำหนด ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องหมายเตือน ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล แนวทางแก้ไข กรณีสภาวะการทำงานมีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กำหนด ให้นายจ้างปรับปรุงแก้ไขที่ แหล่งกำเนิด หรือทางผ่าน หากปรับปรุงแก้ไขไม่ได้ ให้จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้พนักงานสวมใส่ตลอดเวลาการทำงาน
5.กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549 5.1 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัด และวิเคราะห์ สภาวะการทำงานเกี่ยวกับ ระดับความร้อน แสงสว่าง และ เสียง ตามหลักเกณฑ์และวิธการที่อธิบดีกำหนด และ จัดทำรายงานโดยมีจป.วิชาชีพ เป็นผู้รับรองรายงาน ส่งอธิบดี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทำการตรวจวัด และเก็บไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร พ.ศ. 2519 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อควบคุมป้องกันมิให้ลูกจ้างได้รับอันตราย จากการทำงานกับเครื่องจักร ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับสปก.ทุกประเภท ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร พ.ศ. 2519 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 การใช้เครื่องจักรทั่วไป หมวด 2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ (ยกเลิก) หมวด 3 การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หมวด 4 กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคล
6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร พ.ศ. 2519 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 1.1 กำหนดเรื่องความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร ดังนี้ (1) เครื่องจักรที่มีพลังงานไฟฟ้าต้องมีสายดินทุกเครื่อง (2) การเดินสายไฟฟ้าเข้าเครื่องต้องฝังดินหรือเดินลงจากที่สูง (3) เครื่องปั้มวัตถุต้องมีเครื่องมือป้อน ต้องมีเครื่องป้องกันมือให้พ้นจากแม่ปั้ม (4) เครื่องปั้มวัตถุใช้เท้าเหยียบต้องมีที่พักเท้าและมีที่ครอบป้องกัน (5) เครื่องจักร เครื่องปั้มที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หากใช้มือป้อนต้องให้มีสวิตช์ 2 แห่งห่างกัน
6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร พ.ศ. 2519 (ต่อ) (6) เครื่องจักร ที่มีการถ่ายทอดพลังงาน โดยใช้เพลา สายพาน พูลเล่ ไฟล์วีล ต้องมีตะแกรงเหล็กเหนียวครอบส่วนที่หมุนได้ (7) ใบเลื่อยวงเดือนต้องมีที่ครอบใบเลื่อย (8) เครื่องลับ ฝนหรือแต่งผิวโลหะต้องมีเครื่องปิดบังประกายไฟ (9) การติดตั้ง หรือซ่อมเครื่องจักรกล ต้องติดป้ายประกาศติดตั้งหรือซ่อม และแขวนป้ายห้ามเปิดสวิสช์ไว้ที่สวิสช์ (10) ก่อนนำอุปกรณ์และเครื่องมือกลออกใช้งานต้องตรวจให้ แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีและปลอดภัย 1.2 จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ลูกจ้างสวมใส่ ตามลักษณะงาน ตลอดเวลาตามลักษณะงาน
6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร พ.ศ. 2519 (ต่อ) เครื่องสับ ฝน หรือแต่งผิวโลหะ ต้องมีเครื่องปิดกั้นประกายไฟหรือเศษวัตถุ กำหนดมาตรการการใช้เครื่องมือกล 1.2 การจัดเครื่องมือป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสารเคมี ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ กำหนดการควบคุมสารเคมีที่ฟุ้งกระจายอยู่ในบรรยากาศ การทำงานของลูกจ้างไว้ 121 ชนิด อาจอยู่ในรูปของ ฝุ่น ฟูม แก๊ส ละออง ไอ หรือเส้นใย สปก.ใดที่ให้ลูกจ้างทำงาน ต้องป้องกันการฟุ้งกระจายมิให้เกินมาตรฐานตามตาราง 1-4
หมวด 2 มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 สารเคมี หมวด 2 มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หมวด 3 เบ็ดเตล็ด
7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520 (ต่อ) 2.1 กำหนดค่าความเข้มของสารเคมีที่ยอมรับได้ในบรรยากาศการทำงาน ที่ฟุ้งกระจายออกมาจากกระบวนการผลิต
7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520 (ต่อ) ตารางหมายเลข 1 เป็นค่าสารเคมีที่ยอมให้มีในบรรยากาศการทำงาน เป็นค่าเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน สารเคมีที่ฟุ้งกระจายจะเกินค่านั้นมิได้ ตารางหมายเลข 2 เป็นค่าสารเคมีที่ยอมให้มีในบรรยากาศการทำงาน ไม่ว่าเวลาใดๆ สารเคมีที่ฟุ้งกระจายจะเกินค่าที่กำหนดมิได้ ตารางหมายเลข 3 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีปริมาณความเข้มข้นสารเคมีเกินกว่าที่กำหนดไว้มิได้ ตารางหมายเลข 4 เป็นค่าปริมาณฝุ่นแร่ที่ยอมให้มีในบรรยากาศการทำงาน เป็นค่าเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน ฝุ่นแร่ที่ฟุ้งกระจายจะเกินค่านั้นมิได้
7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520 (ต่อ) 2.2 สารเคมีที่ฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศการทำงานของลูกจ้าง เกินตารางหมายเลข 1-4 นายจ้างจะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศไม่ให้เกินกำหนด กรณีปรับปรุงไม่ได้ นายจ้างจะต้องจัดอุปกรณ์ให้ลูกจ่างสวมใส่ ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานกับสารเคมี
7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520 (ต่อ) 2.3 ภายในสปก.ที่มีการใช้สารเคมีที่กำหนดไว้ในตาราง 1,2,3,4 สภาพการใช้อาจเป็นอันตรายต่อผู้อยู่ใกล้เคียง ให้นายจ้างจัดห้องหรืออาคารสำหรับใช้สารเคมีโดยเฉพาะ
8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ 8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2522 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อควบคุมไฟฟ้าตั้งแต่อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ การเดินสาย ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาด สายดิน สายล่อฟ้า ตลอดจนอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคลที่ใช้เกี่ยวกับไฟฟ้า ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ทุกประเภท
8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ 8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2522 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 ข้อกำหนดทั่วไป หมวด 2 สายไฟฟ้า หมวด 3 การเดินสายและเครื่องประกอบการเดินสาย หมวด 4 ระบบป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาด หมวด 5 การออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า หมวด 6 สายดินและการต่อสายดิน หมวด 7 การติดตั้งสายล่อฟ้า หมวด 8 การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า หมวด 9 เบ็ดเตล็ด
8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ 8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2522 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 3.1 สายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องไม่ชำรุด 3.2 การปฏิบัติงานใกล้สิ่งทที่มีไฟฟ้าต้องรักษาระยะห่าง ตามกำหนด เว้นแต่ (1) ใส่เครื่องป้องกัน (2) มีฉนวนหุ้ม (3) มีเทคนิคการปฏิบัติงาน
8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ 8.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2522 (ต่อ) 3.3 ชนิดของสายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นไปตามมาตรฐาน 3.4 มีเครื่องตัดกระแสไฟติดตั้งไว้ ณ จุดที่มีการเปลี่ยนขนาดสายระหว่างเครื่องวัดไฟฟ้ากับสายภายในอาคาร 3.5 อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้สายเคเบิ้ลอ่อนและสายอ่อน ต้องไม่มีรอยต่อหรือต่อแยก 3.6 มีการติดตั้งเต้าเสียบเพียงพอต่อการใช้งาน
8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ 8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2522 (ต่อ) 3.7 มีการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีแรงดัน 600 โวลต์ขึ้นไปต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 3.8 สวิตช์ทุกตัวบนแผงสวิตช์ต้องเข้าถึงได้ง่าย เพื่อปลดสะดวก และสับแผงสวิตช์มีความแข็งแรงทนแรงปลดและสับได้ 3.9 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีเปลือกเป็นโลหะต้องต่อสายดิน 3.10 มีการป้องกันฟ้าผ่าของปล่องควัน 3.11 มีการจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่มีแรงดันมากกว่า 50 โวลต์ขึ้นไปให้ลูกจ้าง
9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว พ.ศ. 2524 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้การสร้างและการใช้ลิฟท์ขนส่งชั่วคราวในการก่อสร้างมีความปลอดภัยแก่ลูกจ้างและให้นายจ้างและลูกจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏหมาย ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับในการสร้างและการใช้ลิฟท์ขนส่งชั่วคราวในงานก่อสร้าง สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 การสร้างลิฟท์ขนส่งชั่วคราว หมวด 2 การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว พ.ศ. 2524 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 4.1 ลิฟท์ขนส่งชั่วคราวมี 2 ชนิดคือ สร้างใน หอลิฟท์ สร้างนอก หอลิฟท์ 4.2 ลิฟท์ที่สูงเกิน 9 เมตรต้องให้วิศวกรโยธาออกแบบ 4.3 ก่อนการใช้ลิฟท์ ต้องให้วิศวกรผู้ออกแบบหรือควบคุมรับรอง 4.4 ฐานรองรับหอลิฟท์ ตัวลิฟท์ คานสำหรับติดตั้งรอกมั่งคงแข็งแรง 4.5 ถ้าลิฟท์ติดตั้งภายในหอลิฟท์ ตั้องมีลวดตาข่ายหรือ ไม้ตีเว้นช่องไม่น้อยกว่า 3 เซ็นติเมตรแต่ไม่เกิน 10 เซ็นติเมตร ปิดยึดโครงหอลิฟท์ทุกด้าน สูงไม่น้อยกว่า 2 เมตรจากพื้นหอลิฟท์ ยกเว้นทางขนของเข้าออก
9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว พ.ศ. 2524 (ต่อ) 4.6 ถ้าลิฟท์ติดตั้งภายนอกหอลิฟท์ ต้องมีรั้วล้อมรอบหอลิฟท์ 4.7 ทางเดินระหว่างลิฟท์กับสิ่งก่อสร้าง ต้องมีราวกันตก สูงไม่น้อยกว่า 90 cm ไม่เกิน 1.10 m จากพื้นทางเดิน มีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่า 7 cm จากพื้นทางเดิน มีไม้หรืออโลหะขวางกั้นปิดเปิดได้สูงไม่น้อยกว่า 90 cm และไม่เกิน 1.10 m จากพื้นทางเดิน ห่างจากหอลิฟท์ไม่น้อยกว่า 60 cm บนทางเดิน
9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว พ.ศ. 2524 (ต่อ) 4.8 ปล่องลิฟท์ที่ไม่มีผนังกั้น ต้องมีรั้วที่แข็งแรงปิดกั้นทุกด้าน สูงไม่น้อยกว่า 2 m จากพื้นแต่ละชั้น เว้นทางเข้า – ออก และต้องมีไม้หรือโลหะกั้นปิดเปิดได้ สูงไม่น้อยกว่า 90 cm และไม่เกิน 1.10 m จากพื้น 4.9 ให้มีผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้ลิฟท์มาแล้ว ทำหน้าที่บังคับลิฟท์ประจำตลอดเวลา 4.10 มีข้อบังคับติดไว้ที่บริเวณลิฟท์และต้องปฏิบัติเคร่งครัด 4.11 ห้ามใช้ลิฟท์ที่ชำรุดหรือไม่พร้อมใช้งาน
9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว พ.ศ. 2524 (ต่อ) 4.12 ติดป้ายบอกพิกัดการบรรทุกที่ลิฟท์ 4.13 ห้ามลูกจ้างขึ้นไปกับลิฟท์ 4.14 ห้ามใช้ลิฟท์ที่ใช้กระป๋องหรือภาชนะอื่นที่คล้ายกัน เกี่ยวเกาะเคลื่อนย้ายไปกับสายพาน ลวด เชือกแทนตัวลิฟท์ 4.15 นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้ลูกจ้างสวมใส่ตามลักษณะงาน
10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน พ.ศ. 2525 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อควบคุมการก่อสร้างและใช้นั่งร้านให้ปลอดภัยในเรื่องมาตรฐาน วิธีการก่อสร้าง การใช้นั่งร้าน การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในงานก่อสร้าง ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับงานก่อสร้าง
2.งานซ่อมแซมหรือตกแต่งที่ใช้ผู้ปฏิบัติงานคราวละไม่เกิน 2 คน 10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน พ.ศ. 2525 (ต่อ) ไม่ใช้บังคับ 1.การก่อสร้างอาคารที่ใช้ไม้เป็นส่วนใหญ่ 2.งานซ่อมแซมหรือตกแต่งที่ใช้ผู้ปฏิบัติงานคราวละไม่เกิน 2 คน 3.งานติดตั้งประปา ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ผู้ปฏิบัติงานคราว ละไม่เกิน 2 คน
10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน พ.ศ. 2525 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 งานก่อสร้าง หมวด 2 แบบนั่งร้าน หมวด 3 การสร้างนั่งร้าน หมวด 4 การใช้นั่งร้าน หมวด 5 นั่งร้านมาตรฐาน หมวด 6 การคุ้มครองความปลอดภัย หมวด 7 มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หมวด 8 เบ็ดเตล็ด
10.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน พ.ศ. 2525 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 5.1 การทำงานสูงเกิน 2 เมตรขึ้นไปต้องสร้างนั่งร้าน 5.2 กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดแบบนั่งร้านมาตรฐานต้องมีวิศวกรเป็น ผู้ออกแบบและกำหนดรายละเอียด 5.3 ลิฟท์ขนส่งชั่วคราว ห้ามยึดโยงหอลิฟท์กับนั่งร้านและต้องป้องกันการ กระแทกนั่งร้านระหว่างขนส่งวัสดุ 5.4 พื้นนั่งร้านต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 35 เซนติเมตร 5.5 ต้องจัดทำราวกันตกสูงจากพื้นนั่งร้าน 0.90-1.10เมตรโดยรอบนอก นั่งร้าน
10.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน พ.ศ. 2525 (ต่อ) 5.6 ต้องจัดทำบันไดเพื่อใช้ขึ้น - ลง 5.7 ต้องจัดผ้าใบหรือวัสดุอื่นปิดคลุมโดยรอบๆนอกนั่งร้าน 5.8 ต้องมีแผงไม้หรือผ้าใบปิดคลุมส่วนที่กำหนดเป็นช่องทางเดินใต้นั่งร้าน 5.9 กรณีมีการทำงานหลายๆชั้นพร้อมกัน ต้องจัดสิ่งป้องกันอันตรายต่อผู้ที่ ทำงานในชั้นถัดลงไป 5.10 กรณีนั่งร้านลื่นหรือมีพายุฝน ห้ามลูกจ้างทำงานบนนั่งร้าน 5.11 นั่งร้านใกล้สายไฟไม่มีฉนวนหุ้มหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องหุ้มฉนวนหรือ ไม่ให้ใกล้เกินระยะที่กำหนดไว้ 5.12 ต้องจัด P.P.E. ให้พนักงานสวมใส่ตามประเภทของงาน
11. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยเขตก่อสร้าง พ.ศ. 2528 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อป้องกันคนงานก่อสร้างและผู้ไม่เกี่ยวข้องจากการได้รับอันตราย โดยกำหนดให้มีเขตก่อสร้าง และเขตอันตรายขึ้น ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับงานก่อสร้างทั่วไป ยกเว้นก่อสร้างบ้านเพื่อพักอาศัย ของตนเองที่มีความสูงไม่เกิน 7 เมตร
11. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน ก่อสร้างว่าด้วยเขตก่อสร้าง พ.ศ. 2528 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 6.1 ให้จัดทำรั้วหรือคอกกั้นและปิดประกาศแสดงเขตก่อสร้าง 6.2 กำหนดเขตอันตราย โดยการจัดทำรั้ว คอกกั้นหรือ แผงกันของตกหล่น ปิดประกาศ ติดไฟสีแดงเวลากลางคืน 6.3 ห้ามลูกจ้างที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในเขตอันตราย 6.4 ห้ามลูกจ้างเข้าพักอาศัยในอาคารที่กำลังก่อสร้าง 6.5 ห้ามลูกจ้างเข้าไปในอาคารที่กำลังก่อสร้างหรือเขตก่อสร้าง นอกเวลา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายจ้าง
12. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2530 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการติดตั้ง การใช้ปั้นจั่น การซ่อมบำรุง ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับในงานที่มีการใช้ปั้นจั่น
12. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2530 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 ข้อกำหนดทั่วไป หมวด 2 ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หมวด 3 ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หมวด 4 เบ็ดเตล็ด
12. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2530 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 7.1 ปั้นจั่นจำแนกเป็น 2 ชนิด (1) ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ จะมีอุปกรณ์ควบคุมและเครื่อง ต้นกำลังอยู่ในตัวติดตั้งบนหอสูง ขาตั้งหรือบนล้อเลื่อน (2) ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ จะมีอุปกรณ์ควบคุมและเครื่อง ต้นกำลังอยู่ในตัวติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง
12. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2530 (ต่อ) 7.2 นายจ้างที่ใช้ ประกอบ ทดสอบ ซ่อมบำรุง และตรวจสอบปั้นจั่น ต้องปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตปั้นจั่นกำหนดกรณีไม่มีคู่มือการใช้งาน ต้องให้วิศวกรกำหนดขึ้น 7.3 ต้องบอกพิกัดน้ำหนักยกไว้ที่ปั้นจั่น 7.4 ต้องจัดให้มีการใช้สัญญาณการใช้ปั้นจั่นที่เข้าใจในระหว่างผู้เกี่ยวข้อง 7.5 ในกรณีที่มีการใช้สัญญาณมือ ต้องจัดให้มีรูปภาพการใช้สัญญาณมือติดไว้ที่ปั้นจั่นและบริเวณที่ทำงาน 7.6 ต้องมีการตรวจสอบปั้นจั่นทุกๆ 3 เดือน ตามแบบที่กำหนด
12. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2530 (ต่อ) 7.7 ห้ามใช้เชือกลวดเหล็กกล้าที่ชำรุด บกพร่อง ที่เข้าลักษณะห้ามใช้ 7.8 เมื่อมีการใช้ปั้นจั่นใกล้สายไฟฟ้าให้รักษาระยะห่างไม่น้อยกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด 7.9 ฐานปั้นจั่นต้องมีความมั่นคงแข็งแรง โดยมีวิศวกรเป็นผู้รับรอง 7.10 ขณะที่แขนปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่หมุนไป ต้องมีสัญญาณเสียงและแสงเตือน 7.11 ต้องคู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นเป็นภาษาไทย
13. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม พ.ศ. 2532 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้การตอกเสาเข็มในงานก่อสร้างมีความปลอดภัย ให้มีการควบคุมดูแลโดยผู้มีความรู้ความชำนาญตลอดเวลา เพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติถูกต้อง ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับงานตอกเสาเข็มในงานก่อสร้าง
13. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม พ.ศ. 2532 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 ข้อกำหนดทั่วไป หมวด 2 ความปลอดภัยในการตอกเสาเข็ม หมวด 3 โครงสร้างเรื่องตอกเสาเข็ม หมวด 4 เครื่องตอกเสาเข็มระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน หมวด 5 เครื่องตอกเสาเข็มระบบไอน้ำ ลม หรือไฮดรอลิก หมวด 6 เครื่องตอกเสาเข็มระบบดีเซลแฮมเมอร์ หมวด 7 การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
13. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม พ.ศ. 2532 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 8.1 ต้องจัดทำเขตก่อสร้าง 8.2 ต้องปฏิบัติตามรายละเอียดและคุณลักษณะของเครื่องตอกเสาเข็ม ถ้าไม่มี ต้องให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดเป็นหนังสือ 8.3 ผู้ควบคุมต้องตรวจอุปกรณ์ต่างๆก่อนตอกเสาเข็มโดยมีบันทึก วัน เวลา ที่ตรวจ ผลการตรวจ 8.4 ต้องจัดให้มีแสงสว่างตามมาตรฐานที่กำหนดขณะทำงานตอกเสาเข็มใน เวลากลางคืน
13. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม พ.ศ. 2532 (ต่อ) 8.5 ต้องมีเชือกลวดเหล็กกล้าอยู่ในม้วนไม่น้อยกว่า 2 รอบ 8.6 การใช้เชือกลวดและรอก ต้องได้มาตรฐาน 8.7 ต้องมีผู้ควบคุมทำหน้าที่ตรวจความปลอดภัยขณะทำงานภายใต้การควบคุมของวิศวกรต้องมีผู้ให้สัญญาณและผู้ควบคุมเครื่องตอกเสาเข็ม 8.8 พื้นที่ทำงานรองรับเครื่องตอกเสาเข็มต้องมั่นคงแข็งแรง 8.9 การเคลื่อนที่ของเครื่องตอกเสาเข็มต้องมีหมอนรองรับได้ระดับและแข็งแรง 8.10 ต้องจัดให้มีการปิดปากรูเสาเข็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 15 cm เมื่อแล้วเสร็จแต่ละหลุม
13. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม พ.ศ. 2532 (ต่อ) 8.11 ห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มที่ชำรุด หรือขณะมีพายุฝน หรือฟ้าคะนองและถ้าให้ลูกจ้างทำงานบนแคร่ลอยต้องว่ายน้ำเป็น 8.12 เครื่องตอกเสาเข็มระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในระบบไอน้ำ ลม ให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด 8.13 นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ลูกจ้างสวมใส่ตามลักษณะงาน 8.14 ลูกจ้างต้องสวม P.P.E. ที่นายจ้างจัดให้ตลอดเวลาการทำงาน
14. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2534 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานสารเคมี ทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่จะทำให้เกิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ในเรื่อง การกัดกร่อน ระคายเคือง มีพิษ แพ้ ก่อมะเร็ง ระเบิดหรือไวไฟ รวมทั้งเกิดอันตรายจากสารกำมันตรังสี ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ครอบคลุมสปก.ทุกประเภทที่ให้ลูกจ้างทำงานกับสารเคมีอันตราย
14. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2534 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 การทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย หมวด 2 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หมวด 3 เบ็ดเตล็ด
14. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2534 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 9.1 กำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้ (1) กำหนดต้องให้แจ้งและส่งรายงานสารเคมีอันตราย ดังนี้ (ก) แจ้งรายละเอียดสารเคมีอันตรายที่อยู่ในครอบครอง ตามแบบ สอ.1 (ข) ส่งรายงานการประเมินการก่ออันตรายจากสารเคมี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามแบบ สอ.2 (ค) รายงานผลการตรวจวัดสารเคมีอันตรายในบรรยากาศ บริเวณสถานที่ ทำงานและที่เก็บไม่เกิน 6 เดือน / ครั้ง ตามแบบ สอ.3 (ง) รายงานผลการตรวจสุขภาพลูกจ้างปีละ 1 ครั้ง ตามแบบ สอ.4
14.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2534 (ต่อ) (2) กำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติในเรื่องดังนี้ (ก) แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย (ข) การเก็บ ขนส่ง การใช้ ต้องจัดทำฉลากปิดภาชนะ (ค) สถานที่เก็บ วิธีการเก็บต้องปลอดภัย (ง) สถานที่ทำงานต้องสะอาด ระบายอากาศเหมาะสม มีออกซิเจนไม่ น้อยกว่า 18 % และมีระบบป้องกันและกำจัดมิให้สารเคมีใน บรรยากาศมีปริมาณเกินกำหนด (จ) ไม่ให้พนักงานพักอาศัยในสถานที่ทำงานที่เก็บสารเคมีอันตราย (ฉ) ตรวจวัดระดับสารเคมีในบรรยากาศเป็นประจำ
14. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2534 (ต่อ) (ช) ต้องจัดทำรายงานความปลอดภัยและประเมินการก่ออันตรายของ สารเคมี (ซ) จัดที่ล้างมือ ล้างหน้า ห้องอาบน้ำ ที่เก็บเสื้อผ้า (ฌ) อบรมลูกจ้างเข้าใจเรื่องการเก็บ ขนส่ง กระบวนการผลิต อันตรายที่จะเกิด วิธีควบคุมป้องกัน วิธีอพยพ / เคลื่อนย้าย (ญ) ตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานกับสารเคมีประจำปี (ฎ) จัดอุปกรณ์ดับเพลิงให้เหมาะสม (ฏ) จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (ฐ) จัดอุปกรณ์และเวชภัณฑ์การปฐมพยาบาล
14. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2534 (ต่อ) 9.2 กำหนดให้ลูกจ้างต้องปฏิบัติดังนี้ (ก) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งหรือมาตรการต่างๆ (ข) ต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นายจ้างจัดให้
15.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่อันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และการพังทลาย พ.ศ. 2534 เจตนารมณ์ของกฎหมาย 1.เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างตกจากที่สูงในทุกรูปแบบ เช่น การทำงานบนหลังคา ขอบระเบียงด้านนอก ช่องเปิดต่างๆ รวมทั้งการทำงานในลักษณะโดดเดี่ยวต่างๆ 2.เพื่อป้องกันการตกหล่นจากการทำงานหรือขึ้นไปบนทางลาดชัน 3.เพื่อป้องกันการตกหล่นลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุต่างๆเช่น บ่อ กรวย ถัง 4.เพื่อป้องกันการพังทลายของ หิน ดิน ทราย เช่นทำงานในท่อ
15.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่อันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และการพังทลาย พ.ศ. 2534 (ต่อ) ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับ ใช้บังคับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปทุกประเภท สาระสำคัญประกอบด้วย หมวดที่ 1 การป้องกันการตกจากที่สูง หมวดที่ 2 การป้องกันอันตรายจากการพังทลาย วัสดุกระเด็น ตกหล่น หมวดที่ 3 เบ็ดเตล็ด
15.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่อันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และการพังทลาย พ.ศ. 2534 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 10.1 กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ป้องกันมิให้ลูกจ้างตกจากที่สูง กำหนด ทางเลือกไว้หลายประการเช่น ทำราวกันตก นั่งร้าน ตาข่ายนิรภัย เข็ม ขัดนิรภัย ห้ามลูกจ้างทำงานในที่สูงขณะมีพายุ ลมแรง ฝนตก 10.2 กำหนดให้นายจ้างต้องป้องกันมิให้ลูกจ้างทำงานบนทางหรือ พื้นลาด ชันเกิน 15-45 องศาจากแนวราบตกหล่นลงมาโดยจัดให้มีนั่งร้านหรือ เข็มขัดนิรภัยและวิธีการใช้ ฯ 10.3 กำหนดการป้องกันการพังทลาย ทำไหล่เอียงเป็นมุมที่ไม่พังทลาย ทำ ผนัง ค้ำยัน ผ้าใบ แผ่นกั้น หรือที่รองรับเป็นต้น
15.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่อันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และการพังทลาย พ.ศ. 2534 (ต่อ) 10.4 กำหนดการป้องกันการพังทลาย ทำไหล่เอียงเป็นมุมที่ไม่พังทลาย ทำ ผนัง ค้ำยัน ผ้าใบ แผ่นกั้น หรือที่รองรับ เป็นต้น การลำเลียงของจากที่ สูงต้องปิดกั้นกำหนดเขต และใช้ราง ปล่องและวิธีที่ปลอดภัย และมีผู้ ควบคุมจนกว่างานจะเสร็จ 10.5 กำหนดให้จัดหมวกแข็งป้องกันศีรษะสำหรับกรณีที่อาจมีสิ่งของตก จากที่สูง
16. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ พ.ศ. 2534 เจตนารมณ์ของกฎหมาย 1.เพื่อป้องกันลูกจ้างไม่ให้ได้รับอันตรายจากการใช้หม้อน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน การติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง ขาดการตรวจสอบการใช้ควบคุมที่ไม่มีความรู้ความ เข้าใจ 2.เพื่อป้องกันความสูญเสียที่เกิดกับลูกจ้างและสถานประกอบการ ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับ ครอบคลุมสปก.ทุกประเภทที่มีการใช้หม้อน้ำ
16. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ พ.ศ. 2534 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 ข้อกำหนดทั่วไป หมวด 2 การติดตั้งหม้อน้ำและอุปกรณ์ หมวด 3 คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อน้ำ หมวด 4 การควบคุม หมวด 5 การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หมวด 6 เบ็ดเตล็ด
16. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ พ.ศ. 2534 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 11.1 กำหนดให้นายจ้างใช้หม้อน้ำและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน 11.2 การติดตั้งหม้อน้ำต้องถูกหลักวิชาการ ด้านวิศวกรรม 11.3 ปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ใช้กับหม้อน้ำ 11.4 กำหนดให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อน้ำ 11.5 ควบคุมดัดแปลงหม้อน้ำต้องถูกหลักวิชาการด้านวิศวกรรม
16. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ พ.ศ. 2534 (ต่อ) 11.6 กำหนดให้มีการตรวจทดสอบหม้อน้ำประจำปีและหลังซ่อมส่วนสำคัญโดยมี วิศวกรรับรองผลการตรวจ 11.7 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้นายจ้างปรับปรุงหม้อน้ำ ให้อยู่ใน สภาพที่ปลอดภัย 11.8 ให้นายจ้างจัด P.P.E. ให้ลูกจ้างใช้
17. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง พ.ศ. 2534 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากอัคคีภัย ป้องกันความสูญเสียที่เกิดกับลูกจ้างและสถานประกอบการ และป้องกันต้นเหตุของอัคคีภัยที่จะเกิดผลกระทบประชาชน ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับ สปก. ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปทุกประเภท
หมวด 2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารและทางหนีไฟ หมวด 3 การดับเพลิง 17. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง พ.ศ. 2534 (ต่อ) สาระสำคัญประกอบด้วย หมวด 1 ข้อกำหนดทั่วไป หมวด 2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารและทางหนีไฟ หมวด 3 การดับเพลิง หมวด 4 การป้องกันแหล่งก่อเกิดการกระจายตัวของความความร้อน หมวด 5 วัตถุไวไฟและวัตถุระเบิด หมวด 6 การกำจัดของเสียที่ติดไฟได้ง่าย หมวด 7 การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า หมวด 8 ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และการฝึกซ้อมดับเพลิง หมวด 9 เบ็ดเตล็ด
12.1 ให้แยกอาคารที่อาจระเบิดร้ายแรงออกต่างหากเส้นทางหนีที่ปลอดภัย 17.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง พ.ศ. 2534 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 12.1 ให้แยกอาคารที่อาจระเบิดร้ายแรงออกต่างหากเส้นทางหนีที่ปลอดภัย ทางออกแต่ละชั้นไม่น้อยกว่า 2 ทางมีป้ายนำทางออกชัดเจน ประตูหนีไฟ กว้างไม่น้อยกว่า 1.10 เมตรบันไดหนีไฟต้องทนไฟ ป้องกันควัน ประตู ทางออกสุดท้ายต้องปลอดภัย เป็นต้น 12.2 กำหนดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยที่เกี่ยวกับการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การบรรเทาทุกข์และปฏิรูปฟื้นฟูเมื่อเกิดอัคคีภัย 12.3 ให้จัดอุปกรณ์ดับเพลิง ระบบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ จัดน้ำสำรองดับเพลิง ตามปริมาณที่กำหนด จัดเครื่องดับเพลิงแบบมือถือชนิด ขนาด การติดตั้งตาม กฎหมายกำหนด
17. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง พ.ศ. 2534 (ต่อ) 12.4 กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาปริมาณที่เก็บ การใช้ การควบคุมสารเชื้อเพลิงทุกชนิด ที่เก็บภายในอาคารและภายนอกอาคาร 12.5 กำหนดให้มีภาชนะที่เป็นโลหะทนไฟการเผาของเสียที่ติดไฟง่าย และการกำจัดเถ้าถ่าน 12.6 กำหนดให้มีสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 12.7 กำหนดการป้องกันแหล่งกำเนิดความร้อน เช่น อันตรายจากไฟฟ้า การเสียดสี เครื่องยนต์ ปล่องไฟ การนำ การพา การแผ่รังสีความร้อน ไฟฟ้าสถิตย์ ฟ้าผ่า เป็นต้น
17.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง พ.ศ. 2534 (ต่อ) 12.8 กำหนดให้มีการอบรมการดับเพลิงขั้นต้นแก่พนักงาน ให้สามารถดับเพลิงได้ไม่น้อยกว่า 40 % ของแต่ละพื้นที่ และให้มีการฝึกซ้อมการดับเพลิงและหนีไฟ ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง 12.9 กำหนดให้จัดเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้ารองเท้า ถุงมือ หมวก หน้ากากกันความร้อนให้ลูกจ้างดับเพลิงและฝึกซ้อม
กฎกระทรวงฉบับอื่นซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ. ศ กฎกระทรวงฉบับอื่นซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน
1. กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2541) เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในงานที่อาจเป็นอันตรายเกินวันละ 7 ชั่วโมง ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการทุกประเภทที่มีงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง
1. กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2541) สาระสำคัญของกฎหมาย 1. ให้งานทุกประเภทมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง 2. งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างได้แก่ 2.1 งานที่ต้องทำงานใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือในที่อับอากาศ 2.2 งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี 2.3 งานเชื่อมโลหะ 2.4 งานขนส่งวัตถุอันตราย 2.5 งานผลิตสารเคมีอันตราย
1. กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2541) (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 2.6 งานที่ต้องทำด้วยเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตราย 2.7 งานที่ต้องทำเกี่ยวกับความร้อนจัดหรือความเย็นจัดอันอาจเป็นอันตราย ให้นายจ้างกำหนดเวลาการทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกิน 7 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาการทำงานทั้งสิ้นสัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 42 ชั่วโมง
2. กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2541) เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อกำหนดงานที่ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงาน ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการทุกประเภทที่มีงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง
2. กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2541) (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงานดังต่อไปนี้ 1. งานที่เกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือนและเสียงอันอาจเป็นอันตราย ได้แก่ 1.1 งานที่ทำในที่ที่มีอุณหภูมิในสภาวะแวดล้อมในการทำงานสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส 1.2 งานซึ่งทำในห้องเย็นในอุตสาหกรรมการผลิตหรือการถนอมอาหารโดยการทำเยือกแข็ง 1.3 งานที่ใช้เครื่องเจาะกระแทก
2. กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2541) (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 1.4 งานที่มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันเกิน 85 เดซิเบล (เอ) ในการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง 2. งานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟได้แก่ 2.1 งานผลิตหรือขนส่งสารก่อมะเร็ง 2.2 งานที่เกี่ยวข้องกับสารไซยาไนด์ 2.3 งานผลิตหรือขนส่งพลุ ดอกไม้เพลิง หรือวัตถุระเบิด 2.4 งานสำรวจ ขุด เจาะ กลั่น บรรจุ หรือขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกาซ เว้นแต่ งานในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
2. กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2541) (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 3. งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่นต่อไปนี้ 3.1งานที่ทำในห้องปฏิบัติการชันสูตรโรค 3.2 งานดูแลผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ 3.3 งานทำความสะอาดเครื่องใช้และเครื่องนุ่งห่มผู้ป่วยในสถานพยาบาล 3.4 งานเก็บ ขน กำจัดขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในสถานพยาบาล 4. งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่นที่ใช้พลังงานเครื่องยนต์หรือไฟฟ้าไม่ว่าการขับหรือบังคับจะกระทำในลักษณะใด 5. งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีทุกชนิด
3. กฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2541) เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้การคุ้มครองแรงงานในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
3. กฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2541) (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 1. จัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน และกำหนดมาตรการ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 2. จัดให้ลูกจ้างได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 อย่างน้อยปีละหนึ่ง ครั้ง
4. กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างที่ทำงานในงานขนส่งทางบก ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการประเภทขนส่งทางบก
4. กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 1. ให้นายจ้างกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง 2. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่พาหนะทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นหนังสือ กรณีทำงานล่วงเวลา วันหนึ่งต้องไม่เกิน 2 ชั่วโมง เว้นแต่มีความจำเป็นจากเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุหรือปัญหาการจราจร 3. ลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะ นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพักติดต่อกันวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังจากปฏิบัติหน้าที่ขับขี่พาหนะมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง
4. กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย หรืออาจจัดเวลาพักครั้งละไม่น้อยกว่า 20 นาที แต่เมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 4. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ขับยานพาหนะเริ่มทำงานในวันถัดไปก่อนครบกำหนดระยะเวลา 10 ชั่วโมง หลังลูกจ้างสิ้นสุดการทำงานในวันทำงานที่ล่วงมาแล้ว 5. กรณีที่ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานและทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงิน เท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างดังกล่าว
5. กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้การคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับนายจ้างผู้ซึ่งส่งมอบงานให้ลูกจ้างไปผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม หรือแปรรูปสิ่งของในบ้านของลูกจ้างหรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานประกอบกิจการ ของนายจ้างตามที่ได้ตกลงกันโดยใช้วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ในการผลิตของนายจ้าง ทั้งหมดหรือบางส่วน และโดยปกติการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด ในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของนายจ้าง
5. กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ. ศ 5. กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 1. ห้ามมิให้นายจ้างส่งมอบงานดังต่อไปนี้ให้ลูกจ้าง 1.1 งานผลิต ประกอบ บรรจุ แปรรูปวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ เช่น งานทำพลุ งานทำดอกไม้เพลิง 1.2 งานผลิตหรือบรรจุสารเคมีที่เป็นอันตรายหรือวัตถุมีพิษ เช่น สารไซยาไนด์ สารก่อมะเร็งหรืองานที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายหรือวัตถุมีพิษเป็นส่วนประกอบ 2. ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงานและกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
5. กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ. ศ 5. กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 3. ลูกจ้างต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงานและต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานที่นายจ้างจัดหรือกำหนด นอกจากนี้ขอให้ศึกษารายละเอียดของประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารก่อมะเร็งที่ห้ามนายจ้างส่งมอบให้ลูกจ้างในงานที่รับไปทำที่บ้าน ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2547 และประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2547 ด้วย
6. กฎกระทรวง กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. 2547 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน อัตราน้ำหนักที่กำหนด จนเกิดอันตรายต่อสุขภาพ ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการทุกประเภท
6. กฎกระทรวง กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ. ศ 6. กฎกระทรวง กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. 2547 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย ให้นายจ้างให้ลูกจ้างแต่ละคน ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนัก ไม่ เกินอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อลูกจ้าง 1 คน ดังนี้ 1. 20 กิโลกรัม สำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถึง 18 ปี 2. 25 กิโลกรัม สำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กชายอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถึง 18 ปี 3. 25 กิโลกรัม สำหรับลูกจ้างหญิง 4. 55 กิโลกรัม สำหรับลูกจ้างชาย กรณีมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดไว้ให้นายจ้างจัดให้มีและให้ลูกจ้างใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม
7. กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้ลูกจ้างมีสวัสดิการตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ดี และถูกสุขลักษณะ ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ทุกประเภท
7. กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 1. ให้นายจ้างจัดให้มี (1) น้ำสะอาดสำหรับดื่มไม่น้อยกว่าหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างไม่เกินสี่สิบคน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างทุก ๆ สี่สิบคน เศษของสี่สิบคนถ้าเกินยี่สิบคนให้ถือเป็นสี่สิบคน (2) ห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนด และมีการดูและรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน โดยให้แยกห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิง และให้จัดห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ
7. กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 2. ให้นายจ้างจัดให้มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้ (1) สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลในจำนวนที่เพียงพอ อย่างน้อยตามรายการที่กำหนดดังนี้ - กรรไกร - แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด - เข็มกลัด - ถ้วยน้ำ - ที่ป้ายยา - ปรอทวัดไข้ - ปากคีมปลายทู่ - ผ้าพันยืด - ผ้าสามเหลี่ยม - สายยางรัดห้ามเลือด - สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าพันแผล และผ้ายางปลาสเตอร์ปิดแผล - หลอดหยดยา - ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม - ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือโพวิโดน-ไอโอดีน - น้ำยาโพวิโดน-ไอโอดีน ชนอดฟอกแผล - ผงน้ำตาลเกลือแร่ - ยาแก้ผดผื่นที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ - ยาแก้แพ้ - ยาทาแก้ผดผื่นคัน
7. กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย - ยาธาตุน้ำแดง - ยาบรรเทาปวดลดไข้ - ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก - ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร - เหล้าแอมโมเนียหอม - แอลกอฮอล์เช็ดแผล - ขี้ผึ้งป้ายตา - ถ้วยล้างตา - น้ำกรดบอริคล้างตา - ยาหยอดตา (2) สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่สองคนร้อยคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี - เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม (1) - ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็น
7. กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย - พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยหนึ่งคนตลอดเวลาทำงาน - แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสองครั้ง และเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน (3) สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่หนึ่งพันคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี - เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม (1)
7. กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย - ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยสองเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามควาจำเป็น - พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยสองคนตลอดเวลาทำงาน - แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสามครั้งและเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสิบสองชั่วโมงในเวลาทำงาน - ยานพาหนะซึ่งพร้อมที่จะนำลุกจ้างส่งสถานพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลได้โดยพลัน
7. กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 (ต่อ) 7. กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 3. นายจ้างอาจทำความตกลงเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่เปิดบริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงและเป็นสถานพยาบาลที่นายจ้างอาจนำลูกจ้างส่งเข้ารับการรักษาพยาบาลได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แทนการจัดให้มีแพทย์ โดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
8. กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้การคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้ ใช้บังคับกับงานที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การป่าไม้ การทำนาเกลือ สมุทร และการประมงที่มิใช่การประมงทะเล
8. กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม (ต่อ) สาระสำคัญของกฎหมาย 1. ให้นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มโดยมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้าง ใน กรณีที่ลูกจ้างพักอาศัยอยู่กับนายจ้าง นายจ้างต้องจัดหาที่พักอาศัยที่สะอาด ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยให้แก่ลูกจ้าง และจัดสวัสดิการอื่น ๆ ที่เป็น ประโยชน์แก่ลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกำหนด 2. ห้ามมิให้นายจ้างจัดจ้างเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเป็นลูกจ้าง แต่นายจ้างอาจให้ เด็กอายุตั้งแต่สิบสามปีบริบูรณ์ทำงานในช่วงระยะเวลาโรงเรียนปิดภาคเรียน หรือนอกเวลาเรียนได้เฉพาะงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือเป็น งานที่ไม่ขัดต่อการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็ก โดยได้รับอนุญาต จากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็กนั้น
กฎหมายของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนี้ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530