งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เอกสารเพื่อการขนส่งทางรถ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เอกสารเพื่อการขนส่งทางรถ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เอกสารเพื่อการขนส่งทางรถ

2 คำถามเปิดประเด็น 1.การขนส่งทางรถยนต์มีความสำคัญอย่างไร 2.การขนส่งทางรถยนต์นั้นช่วยแก้ปัญหาในด้านการจำหน่ายของพ่อค้าคนกลางอย่างไร 3.ใบตราส่งสินค้าเป็นเอกสารที่มีความสำคัญอย่างไร 4.รายละเอียดที่แสดงในPACKING LISTประกอบด้วยอะไรบ้าง 5.รายละเอียดของใบกำกับสินค้ามีอะไรบ้าง

3 Vocabulary List Transportation การขนส่ง Motor Transportation การขนส่งโดยรถยนต์ Truck Transportation การขนส่งโดยรถบรรทุก Certifcate Of Origin ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Certified Other Documents การรับรองเอกสารที่ใช้ประกอบ ทางการค้าหรือติดต่อธุรกิจ Truck Bill ใบตราส่งสินค้าทางรถยนต์ Invoice or commercial invoice บัญชีราคาสินค้า Value Added Network Services ผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ Car Manifest บัญชีสินค้าทางบก

4 การขนส่งทางรถยนต์ (Motor Transportation) หรือรถบรรทุก (Truck Transportation)
การขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุก ถือว่าเป็นหัวใจของการขนส่งทางบก ทั้งนี้ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีการสร้างถนน ขยายถนนเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการขนส่ง ซึ่งการขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุกนั้นสามารถแก้ปัญหาในด้านการจำหน่าย สินค้าของพ่อค้าได้เป็นอันมาก เพราะการขนส่งสินค้าสะดวก รวดเร็ว สามารถส่งสินค้าไปถึงผู้ใช้ได้โดยตรง ส่วนประกอบของการขนส่งทางรถยนต์หรือรถบรรทุก 1.ผู้ประกอบการ อาจเป็นรัฐหรือเอกชนดำเนินงานก็ได้ หรือเป็นการดำเนินงานร่วมกันก็ได้ เช่น รถยนต์รับจ้าง 2.อุปกรณ์ในการขนส่ง ได้แก่ รถยนต์ และรถบรรทุก 3. ถนนหรือเส้นทางเดินรถ

5 การรับบรรทุกของส่งออก (E-Expert)
การรับบรรทุกการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร 1.ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะทำการประมวลผลการรับบรรทุกโดยอัตโนมัติตามเวลาที่กำหนดไว้ 2.ในวันทำการเดียวกันระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะตอบกลับข้อมูลที่ทำการประมวลผลการรับบรรทุกไปให้ผู้ส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก(ตาม XML User) 3.ข้อความ “Goods Loaded” ให้ทราบถึงสถานะการรับบรรทุกส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การขนย้ายของโดยยานพาหนะทางบก จะบันทึกข้อมูลยานพาหนะออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อผู้ควบคุมยานพาหนะยื่นใบกากับการขนย้ายสินค้าโดยให้ใช้เป็นบัญชีสินค้า (แบบ ศ.บ.3) ต่อด่านพรมแดนในการนำยานพาหนะผ่านเขตแดนทางบก

6 การจัดทำใบกำกับการขนย้ายสินค้า

7 ใบกำกับการขนย้ายสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- ส่วนที่ 1 Goods Transition Control ประกอบด้วย 31 Field - ส่วนที่ 2 Goods Transition Detail ประกอบด้วย 8 Field หาก Field ใด กำหนดให้ต้องระบุค่า (Value = M) แต่ผู้บันทึกไม่สามารถหาข้อมูลได้ - สาหรับ Field ที่เป็น Alphabet (แสดงออกเป็นตัวอักษร) ให้ระบุค่าเป็น N/A - สาหรับ Field ที่เป็น Numeric (แสดงออกเป็นตัวเลข) ให้ระบุค่าเป็น 0 (ศูนย์) หาก Field ใด กำหนดให้ไม่ต้องระบุค่า (Value = O) และผู้บันทึกไม่สามารถหาข้อมูลได้ ก็ไม่ต้องบันทึกค่าใด ๆ หาก Field ใด กำหนดให้ต้องระบุค่า เมื่อเข้าเงื่อนไขที่กำหนด (Value = C) แต่ผู้บันทึกไม่สามารถหาข้อมูลได้

8 รายละเอียดเกี่ยวกับการรับรองเอกสาร ฝ่ายรับรองเอกสารเพื่อการส่งออก หอการค้าไทย
1.CERTIFCATE OF ORIGIN หมายถึง ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า อันเป็นเอกสารที่รับรองว่าสินค้าที่ซื้อขายกันเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศใดประเทศหนึ่ง 2.CERTIFIED OTHER DOCUMENTS หมายถึง การรับรองเอกสารอื่นๆ ที่ใช้ประกอบทางการค้าหรือติดต่อธุรกิจ

9 ตัวอย่างเอกสารประกอบและเอกสารที่ใช้รับรอง
1.ใบตราส่งสินค้า หมายถึงเอกสารที่แสดงการขนส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งโดยช่องทางใดช่องทางหนึ่ง -TRUCK BILLหมายถึงใบตราส่งสินค้าทางรถยนต์อันเป็นเอกสารหรือใบรับสินค้าที่บริษัทการขนส่งทางบกออกให้แก่ผู้ส่งสินค้า 2.PACKING LIST หมายถึง บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อสินค้าอันเป็นบัญชีแจ้งรายการบรรจุห่อว่าแต่ละหีบห่อบรรจุอะไรบ้างจำนวนและน้ำหนักเท่าใดโดยจะระบุทั้งน้ำหนักรวม (Gross Weight)คือรวมน้ำหนักของหีบห่อที่บรรจุ 3.INVOICE OR COMMERCIAL INVOICE หมายถึง บัญชีราคาสินค้า อันเป็นเอกสารแสดงรายการของสินค้าและราคาที่ซื้อขายกัน ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆ ที่ผู้ขายในประเทศหนึ่งเป็นผู้จัดทำและส่งให้ผู้ซื้ออีกประเทศหนึ่ง

10 การตัดบัญชีใบกำกับการขนย้าย (E-Expert)

11 การตรวจสอบและตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า ณ สถานีรับบรรทุก
เมื่อขนส่งสินค้ามาถึงสถานีรับบรรทุกให้ผู้ขนย้ายทำการ 1.แสดงหรือแจ้งเลขที่ใบกำกับการขนย้ายสินค้า 2.เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเลขทะเบียนรถยนต์ (ทางบก) 3.ระบบคอมพิวเตอร์จะแจ้งตัดบัญชี

12 การตอบกลับการตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า
1.ในวันทำการเดียวกันที่ทำการตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า (Matching) ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะตอบกลับข้อมูลการตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้าไปให้ผู้ส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกที่ปรากฏเลขที่ใบขนสินค้า(ตาม XML User) ในใบกำกับการขนย้ายสินค้านั้น ทราบถึงการตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้าด้วยข้อความ “Goods Transition Control Already Checked”

13 2.ให้ผู้ส่งของออกตรวจสอบการตอบกลับข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร หากผู้ส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก (ตาม XML User) ไม่ได้รับข้อมูลตอบกลับการตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า ภายในกำหนดเวลาอันควร ให้ตรวจสอบข้อมูลกับผู้รับผิดชอบการบรรจุ หรือ กับบุคคลที่เป็นสื่อกลาง ผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Value Added Network Services : VANS) โดยทางรถยนต์ใช้เวลาประมาณ 3 วัน

14 ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้าทางบก

15 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
1) ผู้นำเข้า/ตัวแทนออกของยื่นบัญชีสินค้าทางบก Car Manifest (แบบ ศ.บ. ๑) ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร ประจำด่านพรมแดน เพื่อดำเนินการตรวจสอบสินค้า และทะเบียนรถยนต์ 2) เจ้าหน้าที่ศุลกากรบันทึกข้อมูลรายละเอียด แบบ ศ.บ. ๑ ลงในระบบคอมพิวเตอร์ (Car Manifest) และดำเนินการควบคุมยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามายังด่านศุลกากร 3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทน จัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ระบบจะตรวจสอบข้อมูลสินค้าและตัดบัญชีกับ Car Manifest 4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนฯ ชำระค่าภาษีอากร (กรณีสินค้าต้องชำระภาษีอากร) ที่หน่วยงานบัญชีและอากรของด่านศุลกากร 5) ชำระค่าภาษีแล้วระบบคอมพิวเตอร์จะกำหนดเงื่อนไขการตรวจปล่อย ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจปล่อย 5.1) กรณียกเว้นการตรวจ (Green Line) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนออกของสามารถรับสินค้าไปจากอารักขาศุลกากร 5.2) กรณีสั่งการเปิดตรวจ (Red Line) เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้ากับข้อมูลใบขนสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าถูกต้องตามสำแดงจะส่งมอบสินค้าให้ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนรับสินค้าไปจากอารักขาศุลกากร

16 พิธีการส่งของออกทางบกที่ด่านศุลกากร
พิธีการส่งของออกทางบกที่ด่านศุลกากร           

17 ของที่ส่งออกผ่านเขตแดนทางบกทุกชนิดไม่ว่าเป็นของที่ต้องเสียอากรขาออกหรือของต้องห้ามต้องจำกัด ผู้ส่งของออกจะต้องทำใบขนสินค้าขาออกและมีเอกสารกำกับของที่ส่งออกเช่นเดียวกับการส่งของออกทั่วไป นอกจากนั้นแล้วยังต้องให้ผู้ควบคุมยวดยาน หรือผู้ส่งของโดยยวดยานบรรทุกของที่เดินด้วยกำลังเครื่อง (จะมีของบรรทุกออกไปด้วยหรือไม่ก็ตาม) จัดทำบัญชีสินค้า (แบบ ศ.บ. 3) แสดงรายการของทั้งปวงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรผ่านเขตแดนทางบก (รวมตลอดถึงลำน้ำซึ่งเป็นเส้นเขตแดน) รวม 2 ฉบับ ในกรณีเป็นรถเปล่าก็ให้หมายเหตุว่าไม่มีสินค้าส่งออกยื่นต่อด่านศุลกากรทางบกซึ่งรวมถึงด่านศุลกากรที่อยู่ริมแม่น้ำที่เป็นเส้นเขตแดน (ไม่รวมด่านศุลกากรรถไฟ)พร้อมกับใบขนสินค้าขาออก              เมื่อเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของด่านศุลกากรได้ตรวจสอบจำนวนสินค้าที่จะส่งออกถูกต้องตรงกับใบขนสินค้าขาออกและบัญชีสินค้า (แบบ ศ.บ.3) และได้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรว่าด้วยการส่งของออกครบถ้วนแล้วให้ด่านศุลกากรที่รับผิดชอบเก็บต้นฉบับใบขนสินค้าขาออกและบัญชีสินค้า(แบบ ศ.บ. 3) ไว้ด้วยกัน มอบคู่ฉบับใบขนสินค้าขาออก และสำเนาบัญชีสินค้าให้ผู้ควบคุมยวดยาน หรือผู้ส่งของนำไปยื่นต่อด่านพรมแดนพร้อมด้วยสินค้านั้น

18 การนำยานพาหนะเข้า-ออกชั่วคราว
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.รถยนต์ต่างประเทศ ขาเข้า ผู้นำเข้านำหลักฐานมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อจัดทำใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่นำเข้าหรือส่งออก ชั่วคราว ณ ด่านพรมแดน 1.เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล บันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบยานพาหนะผ่านแดนพร้อมจัดทำใบขนฯ มอบให้ผู้นำเข้าลงลายมือชื่อขอประกันตนเองและรับรองความถูกต้องในใบขนฯ 2.ผู้นำเข้านำรถพร้อมใบขนฯให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ด่านพรมแดนตรวจสอบ 3.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วลงลายมือชื่อในใบขนฯ แยกต้นฉบับใบขนฯ เก็บไว้ มอบสำเนาใบขน ฯ ให้ผู้นำเข้าไว้เป็นเป็นหลักฐานการนำรถเข้ามาในราชอาณาจักร  ขาออก 1.นำรถออกต้องยื่นสำเนาใบขนสินค้าพิเศษ ที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรออกให้ในขณะนำรถเข้า พร้อมนำยานพาหนะมาให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ด่านพรมแดน ตรวจสอบ 2.เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ด่านพรมแดน ตรวจสอบความถูกต้อง หากเห็นว่าถูกต้องจะลงลายมือชื่อในสำเนาใบขน ฯ และให้ผู้ที่นำยานพาหนะออกลงนามในสมุดบัญชีแล้วปล่อยรถออกไปนอกราชอาณาจักร 3.เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลตัดบัญชีรถนำกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ในระบบยานพาหนะผ่านแดน 2.รถยนต์ของไทย ใช้หลักเกณฑ์การปฏิบัติเช่นเดียวกับรถยนต์ต่างประเทศโดยอนุโลม  ค่าใช้จ่าย - ไม่มี แบบฟอร์มที่ใช้ - ไม่มี

19 คำถามท้ายบท 1.ใบกำกับการขนย้ายสินค้ามีกี่ส่วน อะไรบ้าง 2.การตอบกลับการตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้าต้องทำในวันใด 3.จงอธิบายรายละเอียดขั้นตอนปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้าทางบก 4.จงอธิบายขั้นตอนพิธีการส่งของออกทางบกที่ด่านศุลกากร 5. จงอธิบายขั้นตอนการนำยานพาหนะเข้า-ออกชั่วคราวทั้งในประเทศและต่างประเทศ

20 สาขาการจัดการโลจิสติกส์ ปวสพ.2/6
สมาชิกในกลุ่ม 1.นางสาวสุชิรา โกสิงห์ เลขที่ 10 รหัสนักศึกษา 2.นายจักรนรินทร์ แก้วพงพาน เลขที่ 11 รหัสนักศึกษา 3.นางสาวปิยะธิดา สายุต เลขที่ 12 รหัสนักศึกษา 4.นางสาวสุนิษา แดงสีอ่อน เลขที่ 13 รหัสนักศึกษา สาขาการจัดการโลจิสติกส์ ปวสพ.2/6


ดาวน์โหลด ppt เอกสารเพื่อการขนส่งทางรถ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google