เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน บทเรียนเพื่อการศึกษาวิชาสุขศึกษา เรื่อง ความเสมอภาคทางเพศ และ เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน โดย ครูอนันต์ นุชเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ จังหวัดนนทบุรี
ความเสมอภาคทางเพศ เพศ (Sex) เป็นการจำแนกมนุษย์มาตั้งแต่เกิดตามสรีระร่างกายว่าเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย เช่น ผู้หญิงมีมดลูก ผู้ชายมีอัณฑะ ความเสมอภาคทางเพศ หมายถึง การที่ชายและหญิงมีสิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งบทบาท ทางเพศของตนเอง ที่มีต่อสังคมได้ อย่างเท่าเทียมซึ่งกันและกันแต่ต้อง อยู่ภายใต้กรอบที่เหมาะสมของสังคม วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามของไทย
ปัญหาความไม่เสมอภาคทางเพศ ความเสมอภาคทางเพศ ปัญหาความไม่เสมอภาคทางเพศ 1. ผู้หญิงมีภาระงานมากกว่าผู้ชาย 2. เนื่องจากผู้หญิงมีภาระงานและ ชั่วโมงการทำงานยาวนานจึงขาดเวลา ส่วนตัวและการพักผ่อนที่เหมาะสม 3. ขาดความก้าวหน้าในการทำงาน 4. ถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน 5. ถูกจำกัดเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน บางประเภท เช่น งานที่ต้องใช้ทักษะ ความชำนาญและวิชาชีพชั้นสูง 6. ถูกจำกัดและกีดกันการทำงานอันเนื่องมาจากภาวะอนามัยเจริญพันธุ์ เช่น ห้ามตั้งครรภ์ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง จำกัดจำนวนวันลาคลอด
ความเสมอภาคทางเพศ ปัญหาความไม่เท่ากันทางเพศระหว่างเพศชายและเพศหญิงในอดีต จึงทำให้มีการระบุสิทธิความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิงไว้ในรัฐ- ธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 ว่า... “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือก ปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือ สุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อ ทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัด ต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้”
ความเสมอภาคทางเพศ จากการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของไทยและกฎหมายของประเทศ ต่างๆ ตลอดจนการรณรงค์เรียกร้องความเสมอภาคทางสังคมในเรื่องของ สิทธิสตรีทั่วโลกนั้น ทำให้ผู้หญิงได้รับสิทธิ ดังนี้ การยินยอมให้วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีโอกาสได้เรียนต่อ การเปิดโอกาสให้สตรีรับการศึกษาในระดับที่สูง การส่งเสริมอนามัยเจริญพันธุ์และสิทธิสตรี การสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ความเสมอภาคทางเพศ การส่งเสริมอนามัยเจริญพันธุ์และสิทธิสตรี การสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมือง การเปิดโอกาสให้สตรีรับการศึกษาในระดับที่สูง การยินยอมให้วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีโอกาสได้เรียนต่อ ทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางสังคม มากขึ้น ประสบความสำเร็จในชีวิต และสามารถใช้ศักยภาพที่มีได้ อย่างเต็มที่ โดยให้ผู้หญิงมีสิทธิกำหนด จำนวนบุตรได้ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ และนำไปประกอบอาชีพได้ใน อนาคต ทำให้เข้าสู่การจ้างงานอย่างเป็น ทางการ สามารถเพิ่มผลิตผลทาง เศรษฐกิจให้มากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่ม รายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว มากขึ้น
ความเท่าเทียมในเรื่องเพศ การใช้คำนำหน้านามผู้หญิง ความเสมอภาคทางเพศ ความเท่าเทียมในเรื่องเพศ อดีตผู้หญิงที่แต่งงาน แล้ว จะต้องใช้นามสกุลสามี แต่ในปัจจุบัน พรบ. ชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 มาตรา 12 มีผลทำให้ผู้หญิงมีสิทธิที่เลือกใช้ นามสกุลของตนหรือสามีก็ได้ การใช้นามสกุล การใช้คำนำหน้านามผู้หญิง พรบ. คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 มีผล บังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 4 มิถุนายน 2551 ให้ผู้หญิงที่จดทะเบียนสมรส หรือหย่า สามารถขอใช้คำนำหน้านามว่า นาง หรือนางสาวก็ได้
ความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศ ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องความเสมอภาคทางเพศ การเรียนรู้เรื่องความเสมอภาคทางเพศ ทำให้เรารู้จักการวางตัวต่อ เพศตรงข้าม ปัญหาทางเพศ และแนวทางการแก้ไขทางเพศ จะทำให้เรา สามารถแสดงออกพฤติกรรมทางเพศและบทบาททางเพศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการดำเนินชีวิตที่มีความสุขได้
การวางตัวให้เหมาะสมทางเพศ การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศเดียวกัน การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศตรงข้าม
การวางตัวอย่างเหมาะสมทางเพศ การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง การคบเพื่อนต่างเพศ - ผู้ชาย ให้เกียรติผู้หญิง ปฏิบัติตนเป็น สุภาพบุรุษ ไม่เป็นนักฉวยโอกาส และ ไม่ทำให้ผู้หญิงเสื่อมเสียชื่อเสียง - ผู้หญิง รู้จักรักนวลสงวนตัว ไม่ควรไป กับเพศชายตามลำพัง การแต่งกาย ควรแต่งให้สุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ ทั้งเพศชายและ เพศหญิง การแสดงกิริยาวาจา ควรแสดงกิริยาวาจา สุภาพ อ่อนโยน เหมาะสมกับกาลเทศะ รู้จักสำรวม - ผู้ชาย ไม่พูดจาว่าร้าย นินทา หรือใช้ คำพูดล่วงเกินผู้หญิง ไม่หยาบคาย ก้าวร้าว - ผู้หญิง ควรแสดงกิริยามารยาทสุภาพ เรียบร้อย เช่น การนั่ง ลุก เดิน เป็นต้น
การวางตัวอย่างเหมาะสมทางเพศ การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศเดียวกัน หมายถึงการที่ชายกับชาย หรือหญิงกับ หญิงประพฤติปฏิบัติต่อกัน เพื่อจะสร้าง สัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันด้วยการพูดจา สุภาพ ไพเราะ หรือแสดงกิริยาท่าทางที่ เป็นมิตรต่อกัน ให้ความช่วยเหลือตาม ความเหมาะสม ชักชวนกันปฏิบัติในสิ่ง ที่ดี มีความเอื้ออาทรต่อกัน
การวางตัวอย่างเหมาะสมทางเพศ การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศตรงข้ามในฐานะเพื่อน การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศตรงข้ามในฐานะคู่รัก
การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศตรงข้ามในฐานะเพื่อน 4. แสดงกิริยาต่างๆ เช่น นั่ง เดิน ยืน อย่างสุภาพ เรียบร้อย มีบุคลิกภาพดี 5. ทำตัวเป็นสุภาพบุรุษ 6. ให้ความสนิทสนมใน ขอบเขต ไม่คลุกคลีมาก เกินไป และไม่ฉวยโอกาส 3. ให้เกียรติผู้หญิง 2. ใช้วาจาสุภาพ 7. ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือเสพสารเสพติด 1. แต่งกายสุภาพ
การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศตรงข้ามในฐานะเพื่อน 6. ไม่ควรให้รับของกำนัลจาก ฝ่ายชายบ่อยๆ โดยไม่มี เหตุผลอันสมควร 5. ไม่แสดงกิริยาสนิทสนมกับ ฝ่ายชายมากเกินไป 7. แสดงกิริยาที่เหมาะสม สุภาพ ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือเสพสารเสพติด 4. รักนวลสงวนตัว ไม่เปิด โอกาสให้ฝ่ายชาย 3. มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จัก ขอบคุณอย่างจริงใจ 8. รู้จักมารยาทสังคม การเดิน การนั่ง การยืน ต้องดูเรียบ ร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 2. ใช้วาจาสุภาพ 1. แต่งกายสุภาพ
การวางตัวอย่างเหมาะสมทางเพศ การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศตรงข้ามในฐานะคู่รัก ลำดับขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพความรัก มี 3 ขั้นตอน คือ - มิตรภาพ - ความรัก - ความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ - เพศหญิง จะมีพัฒนาการตามลำดับ จากมิตรภาพ ความรัก ถึงขั้นสุดท้ายคือ ความสัมพันธ์ทางเพศ - เพศชาย จะมีพัฒนาการข้ามขั้น คือ เริ่มจากมีมิตรภาพก่อน แล้วจึง ข้ามขั้นตอนมาเป็นความสัมพันธ์ทางเพศเลย ไม่ต้องมีความรัก
วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ หมายถึง การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นใน เพศหญิงซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการมี เพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยอาจมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรม ทางเพศที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น หรืออาจ เกิดจากภัยทางเพศ
วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ผลกระทบของการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ผลกระทบต่อวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์โดยตรง ผลกระทบต่อครอบครัวของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ
วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ผลกระทบต่อวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์โดยตรง 1. ปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์ 2. ปัญหาด้านสุขภาพ - ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์ - ปัญหาการทำแท้ง
วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ผลกระทบต่อครอบครัวของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ 1. เกิดปัญหาครอบครัว 2. เป็นภาระของครอบครัว - ปัญหาการทอดทิ้งบุตร - ปัญหาการทำแท้ง - ปัญหารายจ่ายเพิ่มขึ้น 3. ครอบครัวและสมาชิก ในครอบครัวเกิดความ อับอายเพื่อนบ้านและคนในสังคม
วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ 1. ปัญหาการทำแท้งเถื่อน 2. ปัญหาการทอดทิ้งเด็ก ทำให้เกิดเด็กเร่ร่อนมากมาย 3. สูญเสียงบประมาณในการ เลี้ยงดูเด็กกำพร้าที่ถูกทอดทิ้ง 4. เกิดปัญหาอาชญากรรมและ ปัญหายาเสพติดจากเด็กที่ถูก ทอดทิ้งและไม่ได้รับการศึกษา 5. ประเทศชาติขาดทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพในอนาคต
วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ แนวทางการป้องกันและหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ 1. รู้จักหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ 2. รู้จักใช้ทักษะในการปฏิเสธ เพื่อแก้ไขสถานการณ์เสี่ยง ต่อการมีเพศสัมพันธ์ 3. รู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน 4. ระมัดระวังในเรื่องการแต่งกาย 5. ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางตาม ลำพังในเวลาวิกาล หรือในเส้น ทางที่เปลี่ยว
สถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน หมายถึง เวลา สถานที่ โอกาส สภาพแวดล้อมอารมณ์ และตัวบุคคลทั้งชายและหญิง ที่จะนำไปสู่การมีเพศ สัมพันธ์ได้ง่าย ซึ่งสถานการณ์ต่างๆ นั้น มีดังนี้ 1. การสัมผัส การโอบกอด การจูบ 2. การอยู่ในที่ลับตาคน 3. การถูกชักชวนยั่วยุให้ดูสื่อทางเพศ 4. การถูกชักชวนให้ไปดูสิ่งแปลกๆ 5. การไปเที่ยวในสถานบันเทิงเริงรมย์
สถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ปัญหาและผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เสียการเรียน ความอับอาย ความทุกข์ใจ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ การทำแท้ง เด็กเกิดมามีปัญหา สร้างความทุกข์ให้พ่อแม่ เสื่อมเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล
สถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน 1. เรียนรู้ถึงความคิดต่างกันของหญิงชายในเรื่องเพศ 2. รู้จักการวางตัวให้เหมาะสมทางเพศ 3. ผู้หญิงไม่แต่กายล่อแหลม 4. หลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงทางเพศ การถูกเนื้อต้องตัว การพักค้างคืนร่วมกัน โดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล การอยู่ในที่ลับตาคนตามลำพัง การนัดหมายกับเพศตรงข้ามในยามวิกาล การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติด การเที่ยวในยามวิกาล หรือการเดินทาง ในที่เปลี่ยว