Management Information System : MIS ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
การจัดการองค์ความรู้ ( KM )
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและ ความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะ.
จัดทำโดย น. ส. ดวงกมล งามอยู่เจริญ เลขที่ 8 น. ส. ณัชชา เชื้อตา เลขที่ 6 เตรียมบริหารธุรกิจปี 1.
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
การใช้งานระบบ MIS ความสำคัญและผลกระทบของระบบสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือซอฟต์แวร์ควบคุมการปฏิบัติการ ของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และ.
วิชา. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน บทที่ 2
ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ Artificial Intelligence and Expert System ระบบความฉลาด (Intelligence System) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ พยายามลอกเลียนภูมิปัญญาของมนุษย์
จัดทำโดย ด. ญ. ดลยา มณีขัติย์ ชั้น ม.1/12 เลขที่ 18 ด. ญ. ณัฐธิดา วันเวียง ชั้น ม.1/12 เลขที่ 19 เสนอ อาจารย์ อรอุมา พงค์ธัญญะดิลก.
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการพัฒนาปศุสัตว์
LOGO การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของปีงบประมาณ 2553 โดย นายธีรชาติ พันธุ์หอม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและ งบประมาณด้านก่อสร้าง คณะทำงานต้นทุนผลผลิตสำนัก ชลประทานที่ 11.
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
การรักษาความปลอดภัยข้อมูลขั้นพื้นฐาน
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน ระดับสถานศึกษา ประจำปี 2559.
การพัฒนาโปรแกรมระบบ รายงาน หน่วยงานเวชสารสนเทศ หน่วยงานเวชสารสนเทศ กลุ่มพัฒนาระบบบริการ สุขภาพโรงพยาบาลสุโขทัย.
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to Information.
การจัดเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลธรรมดา นั้น อาจจำเป็นที่ใช้แต่ละคน จะต้องมีแฟ้มข้อมูลของตนไว้เป็นส่วนตัว จึง อาจเป็นเหตุให้มีการเก็บข้อมูล ชนิดเดียวกันไว้หลาย.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
นำเสนอวิธีปฏิบัติที่ดี ด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
อาจารย์จุฑามาศ พรหมทอง สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
Material requirements planning (MRP) systems
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
stack #2 ผู้สอน อาจารย์ ยืนยง กันทะเนตร
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
บทที่ 1 สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล (Database Architecture)
บทที่ 7 การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ
บทที่ 11 วงจรรายจ่าย.
การจัดหาพัสดุในส่วนของรายจ่ายลงทุนในภาพรวม ประจำเดือนมิถุนายน 2561
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ (Information System)
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
Information System MIS.
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อทบทวนระบบการควบคุมภายใน
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Chapter 3 Executive Information Systems : EIS
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขั้นตอนการออกแบบ ผังงาน (Flow Chart)
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
บทที่ 7 การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
KMA หมวด 6 การจัดการกระบวนการ.
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
SMS News Distribute Service
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
4 เทคโนโลยีสารสนเทศ สังคมเครือข่าย
บทที่ 7 การบริหารงานขนส่ง ( Transportation Management System : TMS )
ชัยพฤกษ์รัตนาธิเบศร์ - วงแหวน
การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ (ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์)
บทที่ 15 การติดตั้งระบบและการทบทวนระบบงาน.
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Management Information System : MIS ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ในปัจจุบันนี้โลกของเราได้เข้าสู่ยุคของคอมพิวเตอร์ ดังจะเห็นได้จากองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำงานทั้งนั้น นอกจากนี้แล้วในด้านอื่นๆ ก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ ด้านการทหาร ก็มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ด้วยกันทั้งสิ้น

บทที่ 1 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(ต่อ) สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่นำมาทำการประมวลผล โดยการป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลเพื่อให้ได้เป็นสารสนเทศออกมา

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System:MIS ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นระบบที่มีการรวบรวมข้อมูลที่เก็บไว้ในแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะมีอยู่ทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้องค์กรได้นำเอามาใช้ในการดำเนินงาน

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(ต่อ) ไม่ว่าจะเป็นในด้านการประมวลผลข้อมูล และมีการจัดรูปแบบข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำมาช่วยสนับสนุนการทำงาน และช่วยในการตัดสินใจในด้านต่างๆ ของผู้บริหาร รวมทั้งยังช่วยในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ อีกด้วย

ข้อมูล Data องค์ประกอบที่สำคัญต่อการสร้างระบบสารสนเทศอีกอย่างหนึ่ง คือ ข้อมูล(Data) ซึ่งข้อมูลในที่นี้จะหมายถึง ข้อมูลดิบ ที่ถูกรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่อยู่ภายในหรือภายนอกองค์กรก็ตาม

ข้อมูล (ต่อ) สำหรับข้อมูลดิบเหล่านี้จะนำไปใช้งานเลยไม่ได้ จะต้องนำมาผ่านการประมวลผลก่อน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ ซึ่งข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วนั้นจะเรียกว่า สารสนเทศ นั่นเอง

สารสนเทศ Information สารสนเทศ หมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูลดิบ (Raw Data) ซึ่งสารสนเทศอาจจะประกอบไปด้วย ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข เสียงและภาพ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมาผ่านการประมวลผลแล้ว ก็จะเกิดเป็นสารสนเทศเพื่อนำมาสนับสนุนการบริหารและตัดสินใจของผู้บริหารได้

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระยะที่ 1: การประมวลผลข้อมูลจากศูนย์กลาง คอมพิวเตอร์เครื่องแรกได้ติดตั้งโปรแกรมทางด้านธุรกิจในปี 1954 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาจนถึงปัจจุบันนี้

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระยะที่ 1: การประมวลผลข้อมูลจากศูนย์กลาง (ต่อ) ต่อมาประมาณกลางปี 1960 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลทางด้านเงินเดือน การลงบิล การทำบัญชี และงานของเสมียน เนื่องจากความรับผิดชอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้ถูกควบคุมโดยฝ่ายการเงิน

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระยะที่ 2 : การจัดการเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ต่อมาในช่วงปี 1965 และ 1979 การประมวลผลข้อมูลจากศูนย์กลางได้ถูกขยายโดยมีการจัดหาสารสนเทศต่างๆ มาช่วยในด้านการจัดการ และด้านกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีการจัดหาสารสนเทศต่าง ๆ มาช่วยในด้านการจัดการและด้านกิจกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ระบบสารสนเทศได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยผู้จัดการในหลาย ๆ ด้านและช่วยในเรื่องการตัดสินใจที่ดีขึ้น

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระยะที่ 2 : การจัดการเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล (ต่อ) สำหรับระยะที่ 2 นี้ ได้มีการแยกส่วนของระบบข้อมูลออกและมีการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายเข้ามาช่วยในการทำงาน ต่อมาในกลางปี 1960 ผู้จัดการในฝ่ายต่าง ๆ ได้เริ่มที่จะมองว่าคอมพิวเตอร์สามารถช่วยพวกเขาทำงานได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพขึ้นได้ และคอมพิวเตอร์สามารถช่วยเขาจัดการและวิเคราะห์ความต้องการของข้อมูลจำนวนมากได้อีกด้วย

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระยะที่ 3 : การกระจายงานไปให้ผู้ใช้ ในระยะที่ 3 เป็นขั้นตอนในการกระจายการควบคุมสารสนเทศ ข้อมูลจากส่วนกลางจะถูกส่งไปให้ส่วนต่างๆ ในองค์กรเพื่อให้มีการนำไปใช้ในการทำงาน สำหรับในขั้นนี้ผู้จัดการจะต้องกลายเป็นพนักงาน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการควบคุมสารสนเทศ

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระยะที่ 3 : การกระจายงานไปให้ผู้ใช้ (ต่อ) เพื่อที่จะได้รู้ถึงความต้องการของเขาเองและรู้ว่าระบบสามารถสนองตอบความต้องการของเขาได้หรือไม่ และเขาจะต้องยอมรับถ้าในระบบเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาด้วย ในระยะที่ 3 นี้ผู้จัดการจะต้องนั่งอยู่ตรงหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ถึงแม้ว่าเขาจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระยะที่ 4: การจัดการทางด้านเครือข่าย ในระยะที่ 4 มาจนปัจจุบันนี้ถือเป็นระยะที่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้มีการพัฒนาโดยการนำเอาโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านการสื่อสารมาใช้ เพื่อให้ระบบได้ประสบความสำเร็จ ในระยะที่ 4 นี้เน้นที่การสร้างอุปกรณ์ต่างๆ

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระยะที่ 4: การจัดการทางด้านเครือข่าย (ต่อ) เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่พนักงานใช้ได้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้จัดการสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ นอกจากนั้นยังสามารถใช้งานทางด้าน Electronic mail (E-mail)

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระยะต่อไป : ระบบผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่จะมีต่อไปข้างหน้านั้นจะเป็นการใช้โปรแกรมในลักษณะที่เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence :AI) เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ ระบบผู้เชี่ยวชาญจะมีการนำเอาโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างได้

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ความจำเป็นของระบบผู้เชี่ยวชาญ มีดังต่อไปนี้ 1.ใช้ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาพิเศษมากกว่าที่จะใช้ความรู้ทั่วไปที่มักจะใช้กับปัญหาอื่นๆ 2.ใช้เหตุผลมากกว่าการคำนวณทางตัวเลข 3.จัดเป็นความสามารถในระดับหนึ่งซึ่งสูงกว่าบุคคลที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ความจำเป็นของระบบผู้เชี่ยวชาญ มีดังต่อไปนี้ (ต่อ) ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะเห็นเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำการตัดสินใจที่ไม่มีโครงสร้าง ซึ่งก่อนนี้เป็นการตัดสินใจโดยผู้จัดการในระดับกลางและระดับสูงได้

การออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Designing the MIS ขั้นตอนในการออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานมีดังต่อไปนี้

การออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 1. วิเคราะห์ระบบตัดสินใจ (Analyze the Decision System) การตัดสินใจของผู้จัดการจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้วย ดังนั้นในขั้นแรกที่จะต้องทำก็คือ ต้องรู้ว่าสารสนเทศที่ต้องการในการตัดสินใจในด้านการจัดการคืออะไร

การออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 2. วิเคราะห์ถึงความต้องการสารสนเทศ(Analyze Information Requirements) ก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงไปนั้น ผู้ตัดสินใจจะต้องทราบถึงสารสนเทศที่จำเป็นจะต้องใช้ในการตัดสินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพก่อน และสารสนเทศต่างๆ ก็จะมีความแตกต่างกันตามแผนกที่มีอยู่ในองค์กร ดังนั้นจะพบว่าระบบสารสนเทศจะมีข้อมูลหลากหลายตามความต้องการ และการใช้งานในแต่ละแผนก

การออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 3. การรวบรวมการตัดสินใจ (Aggregate the Decisions) หลังจากที่ได้กำหนดหน้าที่การทำงานและความต้องการของผู้จัดการไปเรียบร้อยแล้วจะพบว่าผู้จัดการแต่ละคนจำเป็นต้องมีสารสนเทศในการทำงานทั้งสิ้น ดังนั้นในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใช้งานควรสร้างระบบที่มีความซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด และควรจะมีการตัดสินใจที่คล้ายกันภายใต้ผู้จัดการเพียงคนเดียว

การออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 4. การออกแบบวิธีการประมวลผลสารสนเทศ (Design Information Processing) ในขั้นนี้ผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรหรือที่ปรึกษาภายนอกองค์กรจะต้องใช้ในการที่จะพัฒนาระบบการทำงานปกติในด้านการรวบรวมข้อมูล ส่งข้อมูล และการได้รับสารสนเทศ

การออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 4. การออกแบบวิธีการประมวลผลสารสนเทศ (Design Information Processing) (ต่อ) ซึ่งควรมีการวาดแผนผังของรายละเอียดของความต้องการ ในระบบทั้งหมด และควรจะมีที่มาและชนิดของข้อมูล สถานที่ของผู้ใช้และแหล่งที่เก็บข้อมูลนอกจากนั้นระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมที่ใช้ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงด้วยเช่นเดียวกัน

การนำเอาระบบ MIS เพื่อการจัดการมาใช้งาน Implementing the MIS มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การนำเอาระบบ MIS เพื่อการจัดการมาใช้งาน 1. ทดสอบระบบก่อนที่จะทำการติดตั้ง ก่อนที่จะทำการติดตั้งระบบสารสนเทศและให้พนักงานได้ใช้ระบบนั้นจริง ควรมีการทดสอบระบบก่อน และถ้าทดสอบเสร็จแล้วปรากฏว่าระบบนั้นไม่สมบูรณ์ ก็ให้นำเอาระบบที่เขียนขึ้นมานี้ไปใช้คู่กับระบบเก่าก่อน โดยการให้ทั้ง 2 ระบบนั้นทำงานไปพร้อมๆ กันในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อจะได้มีการตรวจดูถึงข้อผิดพลาดในระบบใหม่ที่เกิดขึ้น และจะได้สามารถทำการแก้ไขได้

การนำเอาระบบ MIS เพื่อการจัดการมาใช้งาน 2. เตรียมพนักงานที่จะเข้ารับการอบรม เมื่อมีการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาแล้วแต่ไม่มีผู้ใดใช้งานในระบบนั้นเป็น หรือไม่สามารถนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยทำงานภายในองค์กรให้เกิดประโยชน์ได้ ก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างระบบมาสูญเปล่า

การนำเอาระบบ MIS เพื่อการจัดการมาใช้งาน 2. เตรียมพนักงานที่จะเข้ารับการอบรม (ต่อ) ดังนั้นควรจะมีการฝึกอบรมพนักงานให้รู้จักใช้ระบบสารสนเทศด้วย เนื่องจากว่าการฝึกอบรมให้พนักงานได้รู้จักทำงานกับระบบใหม่ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ดีและเป็นสิ่งจำเป็นถ้าเราต้องการให้มีการนำเอาระบบสารสนเทศที่สร้างขึ้นมาใหม่มาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การนำเอาระบบ MIS เพื่อการจัดการมาใช้งาน 3. เตรียมรับมือกับอุปสรรค จากการที่มีการนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาใช้งาน ทำให้พนักงานหลายคนต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร พนักงานบางคนไม่สามารถปรับตัวเองให้มาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ บางคนก็กลัวว่าจะไม่สามารถเรียนรู้การใช้งานในระบบใหม่ได้

การนำเอาระบบ MIS เพื่อการจัดการมาใช้งาน 3. เตรียมรับมือกับอุปสรรค (ต่อ) หลายๆ คนก็ถูกขู่มาว่าระบบงานใหม่จะมาลดอำนาจและสถานะในองค์กรของพวกเขา เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานแต่ละคนและทำให้พนักงานได้รับสวัสดิการน้อยลงไป เนื่องมาจากไม่มีความสำคัญเหมือนเดิม

การนำเอาระบบ MIS เพื่อการจัดการมาใช้งาน 4. ให้พนักงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการออกแบบ และนำเอาระบบไปใช้งาน การที่พนักงานมีความคุ้นเคยกับระบบก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงนั้น จะทำให้พนักงานสามารถนำเอาระบบไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

การนำเอาระบบ MIS เพื่อการจัดการมาใช้งาน 4. ให้พนักงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ (ต่อ) เนื่องจากพนักงานจะทราบว่าระบบที่พวกเขาได้ช่วยกันออกแบบนั้นจะทำงานได้อย่างไร และช่วยพวกเขาทำงานในด้านใดบ้าง นอกจากนั้นระบบที่สร้างขึ้นมายังตรงกับความต้องการของพนักงานอีกด้วย จึงทำให้ระบบที่สร้างขึ้นนั้นสามารถนำมาใช้งานกับองค์กรได้อย่างเต็มที่ และทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรได้

การนำเอาระบบ MIS เพื่อการจัดการมาใช้งาน 5. ตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ เมื่อมีการนำเอาระบบสารสนเทศไปใช้งานแล้ว สิ่งที่จำเป็นที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก คือ ต้องมั่นใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบไม่นำข้อมูลต่างๆ ของระบบไปใช้ในทางที่จะเกิดความเสียหายต่อองค์กรได้ ถ้าสารสนเทศอยู่ที่จุดศูนย์กลางเพียงที่เดียว ก็ไม่สามารถมีใครเข้ามายุ่งเกี่ยวกับข้อมูลที่สำคัญได้

ส่วนประกอบของ MIS สนเทศเพื่อการจัดการแบ่งออกเป็นระบบย่อย 4 ระบบดังต่อไปนี้ 1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS) 2. ระบบการจัดการทำรายงานสำหรับการจัดการ (MIS) 3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) 4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS)

ส่วนประกอบของ MIS ภาพแสดงส่วนประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบประมวลผลรายการ ระบบจัดการทำรายงาน ส่วนประกอบของ MIS ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสำนักงาน ภาพแสดงส่วนประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

บุคลากรของ MIS 1. หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ (Chief Information Officer) มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบริหารงานในระบบสารสนเทศ รวมทั้งการวางแผนและกำหนดนโยบายต่าง ๆ ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน ตลอดจนควบคุมงานที่พนักงานในฝ่ายได้จัดทำ

บุคลากรของ MIS (ต่อ) 2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ ออกแบบระบบงานสนเทศที่จำเป็นจะต้องใช้ในองค์กรหรือหน่วยงาน ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานในการทำงาน รวมทั้งจะต้องติดต่อกับผู้ใช้เพื่อการออกแบบระบบงานเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และเป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้ใช้กับนักเขียนโปรแกรมอีกด้วย

บุคลากรของ MIS (ต่อ) 3. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) มีหน้าที่ในการเขียนชุดคำสั่ง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งชุดคำสั่งที่จะเขียนนั้นจะต้องเขียนอย่างเป็นขั้นตอนอย่างถูกต้อง เพื่อความสะดวกในการแก้ในภายหลัง สำหรับนักเขียนโปรแกรมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

บุคลากรของ MIS (ต่อ) 3.1 นักเขียนโปรแกรมระบบ (System Programmer) มีหน้าที่เขียนโปรแกรมระบบเพื่อมาควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้งานโปรแกรมทีเขียนขึ้นมาได้

บุคลากรของ MIS (ต่อ) 3.2 นักเขียนโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) มีหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน ซึ่งได้รับมอบหมายมาจากนักวิเคราะห์ระบบ

บุคลากรของ MIS (ต่อ) 4. พนักงานปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) มีหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บุคลากรของ MIS (ต่อ) 5. พนักงานจัดเก็บข้อมูล (Librarian) มีหน้าที่ในการจัดเก็บรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในระบบ ตลอดจนข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกในการ ค้นหาและเรียกใช้ในภายหลัง

บุคลากรของ MIS (ต่อ) 6. พนักงานป้อนข้อมูล (Data Entry Operator) มีหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล 7. พนักงานจัดตาราง (Scheduler) มีหน้าที่ในการจัดตารางเวลาปฏิบัติงานในการใช้คอมพิวเตอร์ของระบบ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวก ไม่ขัดข้อง

ภาพแสดงบุคลากรของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ บุคลากรของ MIS (ต่อ) หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม บุคลากรของระบบ สารสนเทศเพื่อการ จัดการ พนักงานปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ พนักงานจัดเก็บข้อมูล พนักงานป้อนข้อมูล พนักงานจัดตารางเวลา ภาพแสดงบุคลากรของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

แบบฝึกหัดท้ายบท 2. จงอธิบายความหมายของคำว่า ข้อมูลและสารสนเทศ 1. จงอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 2. จงอธิบายความหมายของคำว่า ข้อมูลและสารสนเทศ 3. ขั้นตอนในการออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการใช้งานมีขั้นตอนใดบ้าง 4. ขั้นตอนที่ควรทำในระหว่างที่มีการนำเอาระบบสารสนเทศเพื่อการ จัดการมาใช้งาน นั้น มีขั้นตอนอะไรบ้าง 5. ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประกอบไปด้วยกี่ระบบ อะไรบ้าง