พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์ : แนวคิดและการบริหารจัดการของนักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริมงคล นาฏยกุล ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts
Tangible arts = ถิรศิลป์ Irtangible arts = อถิรศิลป์
เราจะมองงานด้านศิลปะ ว่าเป็นการทำวิจัยได้อย่างไร? ศาสตร์แห่งศิลป์เป็น “โอสถทิพย์” ที่ช่วยบำรุงให้มนุษย์มีจิตใจที่อ่อนโยน เข้าใจตนเองและเพื่อนร่วมโลก และสร้างสรรค์ความเจริญทางปัญญา เราจะมองงานด้านศิลปะ ว่าเป็นการทำวิจัยได้อย่างไร?
การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ หรือ creative research เป็นศัพท์ใหม่ที่ใช้เรียกการค้นคว้าและการอธิบายทางวิชาการ ในการประกอบสร้างผลงานศิลปกรรม สาขาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง
กับงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ งานวิจัยด้านศิลปะจะมีขั้นตอนคล้าย ๆ กับงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ คือมีเป้าประสงค์ และต้องการผลลัพธ์ รวมถึงต้องใช้ กระบวนการประกอบสร้างในการอธิบายเหมือนกัน
แบ่งตามลักษณะการวิจัย
แนวคิดการอธิบายงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดย ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ๑. การกำหนดแนวคิด คือ คิดและจินตนาการ จากการได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น แล้วนำมาปรับ มาเปลี่ยน มาปรุงใหม่ในแบบฉบับของเราเอง ๒. การออกแบบร่าง คือ การยกร่าง การเขียนรูปลงในกระดาษ ร่างแบบออกมาจนกว่าจะอธิบายได้ว่าแบบนี้เป็นแบบที่ดีที่สุด
๓. การพัฒนาแบบ คือ การขึ้นหุ่นจำลอง อาจทำโครงด้วยกระดาษหรือด้วยดินแล้วดูว่าร่างแบบจะเหมือนแบบที่สมองคิดไว้หรือไม่ ๔. การประกอบสร้าง คือ การทำเท่าของจริง ด้วยวัสดุใกล้เคียงของจริง เพื่อปรับแต่งรายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งก็จะเห็นปัญหาประกอบสร้างที่เกิดขึ้นจริง ว่าสามารถจะใช้วิชาการอะไรไปแก้ปัญหานั้น ๆ ได้บ้าง เช่น ใช้วัสดุประเภทปูนไม่ได้ ใช้ความร้อนน้อยไป-มากไป ดินยุบตัว หรือในแง่ละครก็ดูว่าตัวละครไม่ได้คุณภาพ ผู้กำกับสื่อไม่ได้ หรือการให้แสง (lighting) ยังไม่ดีหรือไม่ เป็นต้น
๕. การเก็บรายละเอียด ซักซ้อมศิลปะการแสดง หรือขัดตกแต่งเก็บรายละเอียดงานศิลปะเพื่อความสมบูรณ์เรียบร้อย ๖. การนำเสนอผลงาน การจัดแสดงจริง ซึ่งขั้นนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวผู้สร้างแล้ว แต่อยู่ที่การออกแบบ (design) ผลงานว่าจะทำให้คนเข้าใจหรือเสพผลงานนั้น ๆ ได้ตามที่ผู้สร้างต้องการสื่อได้หรือไม่ ต้องเตรียมเอกสารอธิบายความคิดหรือไม่ ต้องติดตั้งแสง-เสียงหรือไม่
๗. การประเมินผล เมื่อมีการนำเสนอผลงานแล้วควรให้เกิดการวิจารณืและประเมินผลงานโดยผู้เชียวชาญเพื่อเป็นการนำมุมมองและข้อเสนอแนะมาเป็นองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาต่อยอดความรู้ทางศิลปกรรมต่อไป
คุณลักษณะของนักวิจัย (แนวทางการค้นคว้าหาความจริงของพระพุทธเจ้า) ๑.คิดอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ๒.คิดจากเหตุไปหาผล ๓.คิดจากผลไปหาเหตุ ๔.คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
๕. คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด ๖ ๕.คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด ๖.คิดเห็นองค์ประกอบที่มาส่งเสริมให้เจริญ ๗.คิดเห็นองค์ประกอบที่มาทำให้เสื่อม ๘.คิดเห็นสิ่งที่มาตัดขาดให้ดับ
๙ คิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ ๑๐. คิดแบบมองเป็นองค์รวม ๑๑ ๙ คิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ ๑๐.คิดแบบมองเป็นองค์รวม ๑๑.คิดแบบอะไรเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้
แนวคิดการบริหารจัดการ ตนเองในการทำวิจัย ๑.บริหารจัดการเรื่องเวลา ๒.บริหารจัดการเรื่องชีวิตส่วนตัว ๓.บริหารจัดการเรื่องสุขภาพ ๔.บริหารจัดการเรื่องการเงิน ๕.บริหารจัดการเรื่องวิธีการค้นหาความรู้
๖. บริหารจัดการเรื่องจิตใจ ๗. บริหารจัดการเรื่องงานที่รับผิดชอบ ๘ ๖. บริหารจัดการเรื่องจิตใจ ๗.บริหารจัดการเรื่องงานที่รับผิดชอบ ๘.บริหารจัดการเรื่อง การแก้ไขปัญหาเฉพาะขณะหาข้อมูลวิจัย ๙.บริหารจัดการเรื่อง แนวทางการวิจัยร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา
“ศิลปะเป็นศาสตร์ที่มีวิทยาการ ถ้ารู้จักถอดวิทยาการออกมาได้เป็นรูปธรรม ด้วยทักษะการค้นหาความจริงอย่างมีขั้นตอน และวิเคราะห์เหตุปัจจัยด้วยปัญญานับเป็นกระบวนการวิจัย”