โดย ดร.เตือนใจ ดลประสิทธิ์ การบริหารการศึกษา โดย ดร.เตือนใจ ดลประสิทธิ์
พัฒนาการทางการบริหาร สถาบันสังคม สังคมของมนุษย์เป็นสังคมที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม หมู่เหล่า เป็นชุมชนขนาดต่าง ๆ
วิลเลียม ซิฟฟิน (William S วิลเลียม ซิฟฟิน (William S. Siffin) "หากปราศจากองค์การบริหารแล้ว สังคมก็จะไม่มี หากปราศจากสังคมแล้ว มนุษย์ก็ไม่อาจจะดำรงชีวิตอยู่ได้
การบริหาร มักจะใช้กับการบริหารกิจการสาธารณะ หรือการบริหารราชการ การบริหาร(Administration) และ การจัดการ(Management) การบริหาร มักจะใช้กับการบริหารกิจการสาธารณะ หรือการบริหารราชการ การจัดการ ใช้กับการบริหารธุรกิจเอกชน
การบริหาร - Peter F. Drucker : ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น - Harold koontz : การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการอาศัยคน เงิน วัตถุสิ่งของ เป็นปัจจัยในการปฏิบัติงาน - Herbert A. simon : กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน
การบริหาร หมายถึง การใช้ศาสตร์และศิลป์ของบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมหรืองานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ร่วมกัน โดยอาศัยกระบวนการ และทรัพยากรทางการบริหารเป็นปัจจัยอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การบริหาร: ศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์ Science ศิลป์ Art วิชาชีพ Professional เกิดจากทั้งความเป็นศาสตร์และศิลป์ โดยมีเกณฑ์ที่ระบุความเป็นวิชาชีพคือ 1.มีองค์ความรู้ ระบบการสร้าง พัฒนา ค้นหาความรู้ ความคิดใหม่ๆ 2.มีหลักการเชิงจริธรรม เน้นบริการสังคม 3.มีมาตรฐานทางวิชาชีพ กำหนดโดยสมาคมทางวิชาชีพ อบรมสมาชิก สร้างทัศนคติค่านิยมต่อวิชาชีพ เป็นทักษะและความรู้ที่แต่ละบุคคลได้พัฒนาขึ้นโดยการฝึกฝน หรือทำงานกับผู้ที่ชำนาญมีทักษะบริหารที่ดี (Art is doing) มีองค์ความรู้ที่เกิดจากการสืบค้นหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยการศึกษาวิจัย วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ( Science is knowing what and how to do)
หน้าที่การบริหาร 1.การวางแผน (Planning) หน้าที่การบริหารในการกำหนดจุดหมายและตัดสินใจ เลือกวิธีการที่เหมาะสมที่จะให้บรรลุจุดหมายนั้นๆ เช่นการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)
หน้าที่การบริหาร (ต่อ) 2.การจัดองค์การ (Organizing) เป็นการออกแบบโครงสร้างองค์การเพื่อให้การบริหารงานบรรลุจุดหมาย โดยสร้างกลไกการประสานงานให้เหมาะสม ทันกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัย
หน้าที่การบริหาร (ต่อ) 3.การนำ (Leading) ผู้นำพยายามให้มีอิทธิพลต่อผู้ตามเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุจุดหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยใช้การจูงใจ ภาวะผู้นำ การติดต่อสื่อสาร และบริหารทีมงาน
หน้าที่การบริหาร (ต่อ) 4.การควบคุม (Controlling) เป็นการระบุถึงสิ่งที่จะวัด มาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลตามจุดหมาย เป็นเครื่องมือวัดจุดอ่อน จุดแข็งขององค์การและเสริมสร้างพฤติกรรม พึงประสงค์ของสมาชิกในหน่วยงาน
1. การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์และพิจารณาถึงวิธีการที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ประกอบด้วย การดำเนินการตรวจสอบตัวเอง เพื่อกำหนดสถานภาพในปัจจุบันขององค์การ การสำรวจสภาพแวดล้อม การกำหนดวัตถุประสงค์ การพยากรณ์สถานการณ์ในอนาคต
การวางแผน (ต่อ) การกำหนดแนวทางปฏิบัติงานและความจำเป็นในการใช้ทรัพยากร การประเมินแนวทางปฏิบัติงานที่วางไว้ การทบทวนและปรับแผนเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การติดต่อสื่อสารในกระบวนการของการวางแผนเป็นไปอย่างทั่วถึง
2. การจัดองค์การ (Organizing) การอธิบายถึงสิ่งที่จำเป็นหรือความต้องการของตำแหน่งงาน การรวมตำแหน่งงานต่างๆ เป็นหน่วยงานที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม และสามารถบริหารจัดการได้ การมอบหมายงาน ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ เป็นขั้นตอนในการจัดบุคคลและทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการทำงานนั้น การจัดองค์การประกอบด้วย การระบุและอธิบายงานที่จะถูกนำไปดำเนินการ การกระจายงานออกเป็นหน้าที่ (Duties) การรวมหน้าที่ต่างๆ เข้าเป็นตำแหน่งงาน (Positions)
การจัดองค์การ(ต่อ) การทบทวนและปรับโครงสร้างขององค์การ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การติดต่อสื่อสารในกระบวนการของการจัดองค์การเป็นไปอย่างทั่วถึง การกำหนดความจำเป็นของทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาผู้ปฏิบัติงานอย่างมีศักยภาพ การคัดเลือกจากบุคคลที่สรรหามา การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่างๆ การทบทวนและปรับคุณภาพและปริมาณของทรัพยากรมนุษย์ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การติดต่อสื่อสารในกระบวนการของการจัดคนเข้าทำงานเป็นไปอย่างทั่วถึง
3. การนำ (Leading) เป็นขั้นตอนในการกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น และชักนำความพยายามของบุคลากรให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการใช้ความพยายามของผู้บริหารที่จะกระตุ้นให้บุคลากรมีศักยภาพในการทำงานสูง ดังนั้น การนำ (Leading) จะช่วยให้งานบรรลุความสำเร็จ เสริมสร้างขวัญและจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา ประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารและอธิบายวัตถุประสงค์ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทราบ การมอบหมายมาตรฐานของการปฏิบัติงานต่างๆ การให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของการปฏิบัติงาน
การนำ (ต่อ) การให้รางวัลแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาบนพื้นฐานของการปฏิบัติงาน การยกย่องสรรเสริญและการตำหนิติเตียนอย่างยุติธรรมและถูกต้องเหมาะสม การจัดหาสภาพแวดล้อมมากระตุ้นการจูงใจ โดยการติดต่อสื่อสาร เพื่อสำรวจความต้องการและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ทบทวนและปรับวิธีการของภาวะความเป็นผู้นำ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การติดต่อสื่อสารโดยทั่วทุกแห่งในกระบวนการของภาวะความเป็นผู้นำ
4. การควบคุม (Controlling) เป็นการติดตามผลการทำงาน และแก้ไขปรับปรุงในสิ่งที่จำเป็น หรือเป็นขั้นตอนของการวัดผลการทำงาน และดำเนินการแก้ไขเพื่อให้บรรลุผลที่ต้องการ การควบคุมประกอบด้วย การกำหนดมาตรฐาน การเปรียบเทียบและการติดตามผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน
การควบคุม (ต่อ) การแก้ไขความบกพร่องเปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การทบทวนและปรับวิธีการควบคุม เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การติดต่อสื่อสารในกระบวนการของการควบคุมเป็นไปอย่างทั่วถึง
ผู้บริหาร อุทัย หิรัญโต (2531) ผู้บริหาร หมายถึง บุคคลที่มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา ตลอดจนรับผิดชอบต่อผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้า ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบของการบริหารงาน หรือผู้ที่มีความรอบรู้ในงานด้านบริหารจัดการคน งาน เงิน และกฎระเบียบ
ผู้บริหาร (ต่อ) ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ (2550) ผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารองค์กร หรือในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งได้แก่ การบริหารองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผู้บริหารจึงถือว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กรที่สำคัญยิ่ง หากองค์กรมีผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัดและโปร่งใส องค์กรนั้นย่อมประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนัก
ผู้บริหาร (ต่อ) ผู้บริหาร หมายถึงผู้ที่มีหน้าที่ใน 3 ส่วน ดังต่อไปนี้ คือ 1.Direction - ผู้บริหาร คือผู้ที่มีหน้าที่ในการสร้างวิสัยทัศน์ แนวทางเดินที่ชัดเจน และนำเสนอให้ทีมงานอยากที่จะเดินตามไปด้วยกัน 2.Motivation - ผู้บริหาร คือผู้มีหน้าที่ในการสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นการทำงานของทีมงาน 3.Organization - ผู้บริหาร คือผู้มีหน้าที่ในการบริหารจัดการ หรือวางกลยุทธ์ ทั้งด้านงาน และด้านคน พร้อมทั้งควบคุมการเดินทางของทั้งสองส่วนให้ไปด้วยกันสู่ความสำเร็จได้(http://www.thaitrainingzone.cyeom/HrdNewsDetail.asp?id=288