การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการใช้กฎหมาย
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องต่อไปนี้ (๑) มาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำ สาธารณะอื่น ๆ ที่อยู่ภายในผืนแผ่นดิน โดยจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำในแต่ละพื้นที่ (๒) มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งรวมทั้งบริเวณพื้นที่ปากแม่น้ำ (๓) มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาล (๔) มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป (๕) มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือนโดยทั่วไป (๖) มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องอื่น ๆ การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามวรรคหนึ่งจะต้องอาศัยหลักวิชาการกฎเกณฑ์และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็น พื้นฐานและจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย
พรบ.สิ่งแวดล้อม 2535 มาตรา ๙๙ ผู้ใดบุกรุกหรือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าไปกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลาย ทำให้สูญหาย หรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์ หรือก่อให้เกิดมลพิษอันมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดตาม มาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผลบังคับทางกฎหมาย อาญา ระบุความผิดและโทษ ปรับ จำคุก แพ่ง ศาลสั่งห้ามจำเลยมิให้กระทำการใด ๆ หรือเรียกค่าสินไหมทดแทน ปกครอง รัฐเข้าไปดำเนินการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
วีดิทัศน์ 7 เปิดปม: แดนขยะพิษ youtu.be/VGnzWghilQQ ขยายตัวเสมือนโรคระบาด ปัญหาเรื้อรังที่กัดกินคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมคนไทยมานานหลาย 10 ปี เราจะอยู่อย่างไร!!! เมื่อเมืองไทยอาจกลายเป็นศูนย์กลาง "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"
หลักเศรษฐศาสตร์สำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในทางเศรษฐศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เนื่องจากกลไกตลาดไม่สามารถทำงานได้ การมีลักษณะเป็นสินค้าสาธารณะ (public goods) การเกิดผลกระทบภายนอกหรือผลกระทบข้างเคียง (externality) การมีลักษณะเป็นทรัพย์สินร่วม (common property)
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน จัดแบ่งตามการเสริมสร้างสภาพของทรัพยากรต้นทุนและการทำงานของกลไกตลาด Exhaustible marketed resource แร่ธาตุ Renewable marketed resource ปลาทะเล Renewable non-marketed resource ทิวทัศน์ Potentially non-renewable resource น้ำใต้ดิน
ใช้แล้วหมดสภาพไป ต้องพิจารณาว่าจะนำทรัพยากรมาใช้ในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร
ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ นำทรัพยากรมาใช้ในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร คำนึงถึงการมีใช้ในอนาคตด้วย
เกิดใหม่ได้ แต่ไม่มีราคาปรากฏ ต้องหามูลค่าเพิ่ม ทั้งทางตรงทางอ้อม การนำมาใช้โดยมีการจัดการไม่ดี จะเพิ่มต้นทุนภายนอกกับสังคม
สิ่งแวดล้อมกับระบบเศรษฐกิจ เป็นสินค้าเพื่อบริโภค เช่น อากาศไว้หายใจ น้ำเพื่อดื่ม เป็นแหล่งจัดหาทรัพยากร เช่น ที่ดิน น้ำ เป็นที่รองรับของเสีย เช่น แหล่งน้ำ ดินไว้ฝังกลบขยะ เป็นที่ตั้งถิ่นฐาน
วีดิทัศน์ 8 ดูให้รู้ โตเกียว ทำนาในตึก การเพาะปลูกพืชในอาคาร หลักเศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยีที่นำมาใช้ ความสะดวก ปลอดภัย youtube.com/watch?v=3rCzEGh0Uxk