SEA Strategic Environmental Assessment E S A การประเมินสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์ กับ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของไทย วันที่ 26 มิถุนายน 2561 โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ กรุงเทพฯ
ประเด็นการนำเสนอ E S A ความสำคัญของ SEA การขับเคลื่อน SEA ของไทย 1 ความสำคัญของ SEA รศ.ดร. สุทิน อยู่สุข E S A ความเป็นมา การพัฒนาที่ยั่งยืน กับ SEA ความแตกต่างระหว่าง SEA กับ EIA ประโยชน์/ ข้อจำกัดของ SEA 2 นส.ลดาวัลย์ คำภา การขับเคลื่อน SEA ของไทย SEA ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพัฒนาระบบและกลไกของ SEA การประยุกต์ใช้ SEA และการขับเคลื่อน SEA ในประเทศไทย (ร่าง) ข้อเสนอการจัดทำ SEA (ร่าง) แนวทาง (Guideline) SEA 3 SEA กับ การบริหารจัดการน้ำ กระบวนการ SEA การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกับ SEA
ส่วนที่ 1 ความสำคัญของ SEA รศ.ดร. สุทิน อยู่สุข ประธาน คณะทำงานพัฒนาการจัดทำ SEA และคณะทำงานจัดทำแนวทาง SEA
1.1 ความเป็นมา “ ปัจจุบัน SEA ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและนำไปใช้ในประเทศต่างๆ ในฐานะเครื่องมือที่นำเอาการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม เข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจ โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจกันว่า SEA เป็นกระบวนการในการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม อันอาจมีสาเหตุมาจากนโยบาย (Policy) แผน (Plan) หรือ แผนงาน (Program) (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า PPP) ที่จะกำหนดหรือจัดทำขึ้น ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว SEA ควรถูกทำความเข้าใจว่า เป็นวิธีการที่ช่วยสนับสนุนการพิจารณาตัดสินใจที่เหมาะสมจากมุมมอง ทางด้านสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของการพัฒนา มีกลุ่มประเทศ และองค์กรต่างๆจำนวนมากยิ่งขึ้นที่ยอมรับและนำ SEA ไปใช้ (เช่น Netherlands, EU, World Bank เป็นต้น) “
1.2 นิยามของ SEA SEA เป็นเครื่องมือสำหรับการพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ ในการวางแผนและการตัดสินใจ และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ในระดับยุทธศาสตร์ (World Bank, 2002) 1 SEA เป็นวิธีการวิเคราะห์และการมีส่วนร่วมที่หลากหลาย ซึ่งมุ่งหมายจะนำไปใช้เพื่อผนวก หรือประยุกต์การพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับการจัดทำ PPP และทำการประเมิน ความเชื่อมโยงระหว่างกัน กับการพิจารณาด้านเศรษฐกิจและสังคม (OECD, 2006) 2 SEA คือการใช้กรอบแนวคิดและกระบวนการในการวิเคราะห์ประเมินศักยภาพและ ข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การพัฒนานโยบายแผนแผนงานและโครงการขนาดใหญ่ ในรายสาขา (Sectoral based) หรือในเชิงพื้นที่ (Area based) ที่ให้ความสำคัญกับ การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยบูรณาการมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีและ เปรียบเทียบทางเลือกในการตัดสินใจ เพื่อให้การตัดสินใจนั้นมีคุณภาพรอบคอบโปร่งใส และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน (สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2552) 3 กระบวนการที่เป็นระบบ เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย แผน หรือแผนงาน โดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยอื่น ๆ โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เกิด การพัฒนาที่ยั่งยืน
1.3 การพัฒนาที่ยั่งยืน กับ SEA แนวคิด การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่อยู่ในระดับ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านเศรษฐกิจ และสังคม ได้ โดยยังอยู่ในขีดความสามารถที่จะรองรับได้ (Carrying capacity) ของสิ่งแวดล้อม (IUCN) หลักการ ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนทั้งหมด และรักษาไว้ซึ่งทางเลือกของการพัฒนาต่างๆ รวมถึงโอกาสสำหรับ ผู้คนในยุคสมัย (Generations) ต่อๆ ไปในอนาคต
1.3 การพัฒนาที่ยั่งยืน กับ SEA (ต่อ) แนวทางสำคัญ 4 ประการ สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ยึดหลักการป้องกันไว้ก่อน (Precautionary principles) ต้องอยู่ในขีดความสามารถของการรองรับได้ (Develop with carrying capacity) ต้องไม่มีการสูญเสียสุทธิ (No-net-loss) ผู้ทำให้เกิดมลพิษต้องเป็น ผู้จ่าย (Polluter pays) การมุ่งไปสู่การการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น จะต้องมีความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นกับ.. คุณภาพของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ-ชีวภาพ (biophysical environment) 01 ความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) ของสังคมอยู่ในระดับสูง และมีความเสมอภาค (equity) 02 03 การบริหารงานที่โปร่งใส (good governance) 04 มีความมั่งคั่ง (prosperity) ทางเศรษฐกิจ
1.4 ความแตกต่างระหว่าง SEA กับ EIA การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ที่มา: สปท. (2560)
1.5 เมื่อใดต้องทำ SEA และกับ PPPs ประเภทใด การที่จะระบุว่า PPP ใดจะต้องจัดทำ SEA หรือไม่นั้น โดยทั่วไปแล้วอยู่ในขั้นตอนScreening ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการ SEA โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานที่เป็นเจ้าของ proposal (PPP) นั้น จะทำหน้าที่ในการประเมินว่าจำเป็นหรือ สมควรจะต้องให้มีการจัดทำ SEA หรือไม่ โดยใช้ เครื่องมือต่างๆ ช่วย เช่น กฎระเบียบ และ checklists SEA บางระบบหรือในบางประเทศกำหนดรายการ (list) ของ PPPs ที่จะต้องได้รับการจัดทำ SEA ไว้ อย่างชัดเจน ในขณะที่บางประเทศหรือบางระบบกำหนดเกณฑ์ เพื่อ ใช้ในการพิจารณาว่า PPP นั้นๆ มีโอกาสอย่างยิ่งที่จะ ทำให้เกิดผลกระทบที่มีนัยยะสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม การพิจารณาเพื่อทำ screening บ่อยครั้งที่ได้มีการ ขอรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีอำนาจ หน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้วย และบ่อยครั้งเช่นกันที่การตัดสินใจในขั้นตอน screening นี้ ทำโดยการรับฟังความคิดเห็นจาก ประชาชนด้วย SEA ถูกนำไปใช้กับ PPPs ดังต่อไปนี้ รายพื้นที่ แผนพัฒนาต่างๆ แผนการใช้ที่ดิน/ผังเมือง ยุทธศาสตร์การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ 1 รายสาขา คมนาคม / พลังงาน / การจัดการของเสีย / การจัดการน้ำ / เกษตรกรรม / เหมือง / อุตสาหกรรม / ป่าไม้ / ประมง / การท่องเที่ยว / โครงการขนาดใหญ่ 2
1.6 ประโยชน์ของ SEA SEA นำไปสู่การปกป้องสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า SEA สนับสนุนการประเมินทางเลือกต่างๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ (whole set of options) เพื่อให้ได้มาซึ่งทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด และช่วยกำหนดการนำ PPP นั้นไปสู่การปฏิบัติ ให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม SEA ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการจัดทำ PPP SEA ช่วยให้การระบุและเปรียบเทียบผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เนื่องมาจาก PPP ที่จะจัดทำขึ้น ดำเนินการไปได้อย่างสะดวกและชัดเจน ทำให้ นักวางแผนสามารถดำเนินการเชิงรุกได้ในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ในระดับ ท้องถิ่นไปถึงระดับโลก เช่น Climate change SEA ทำให้สามารถระบุทางเลือกของการพัฒนาที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ ด้านสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการตัดสินใจให้เป็นไปใน ทิศทางที่เกิดความยั่งยืนที่แท้จริงมากขึ้นได้ SEA ช่วยในการประสานความร่วมมือกันระหว่าง Environmental authorities กับผู้เป็นเจ้าของ PPP โดยระบบการตัดสินใจที่เป็นแบบ “Streamlines” ซึ่งลด ความซับซ้อนของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ในท้ายที่สุด SEA จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจลงไประดับโครงการ
1.6 ประโยชน์ของ SEA (ต่อ) SEA นำไปสู่การปกป้องสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า SEA ช่วยสร้างความโปร่งใสและความไว้วางใจในการจัดทำ PPP จากสาธารณชน SEA เพิ่มความโปร่งใสให้กับกระบวนการตัดสินใจในระดับยุทธศาสตร์ SEA ช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจสามารถนำความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียมา พิจารณาตั้งแต่เริ่มต้นของกระบวนการวางแผน ซึ่งจะลดความเสี่ยงของการ ชะงักงันหรือทางตัน (Deadlock) ที่เกิดขึ้นในระหว่างการตัดสินใจโครงการ ต่าง ๆ การดำเนินการให้ได้มาซึ่ง SEA ที่เหมาะสมเชื่อถือได้ จะช่วยเสริมสร้าง ความน่าเชื่อถือของ PPP และสามารถขับเคลื่อนให้ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้มีส่วนสำคัญๆ ในการนำ PPP ไปปฏิบัติ
1.7 ข้อจำกัดของ SEA SEA เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ กระบวนการและเทคนิคที่ใช้ยังไม่ได้ รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ ยังต้องมีการ เสริมสร้างขีดความสามารถและ การเรียนรู้มากยิ่งขึ้น การจัดทำ SEA มักประสบปัญหา ข้อจำกัดด้านเวลา ข้อมูล ทรัพยากร การจัดทำ SEA จะต้องมีกฎหมาย รองรับ มีหน่วยงานรับผิดชอบ และ ระบบการบริหารจัดการ มีกรอบใน การดำเนินงาน มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ รวมทั้งงบประมาณ ในการดำเนินการที่พอเพียง จึงจะ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ ต้องมุ่งเน้นไปที่ จุดสำคัญๆ ภายใต้บริบทภาพรวม ในขณะที่การศึกษา SEA จะลง รายละเอียด ทำให้ล่าช้าเสร็จสิ้น ไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงระดับ ยุทธศาสตร์และความต้องการใช้งาน เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจของ ผู้กำหนดนโยบาย
ส่วนที่ 2 การขับเคลื่อน SEA ของไทย นส. ลดาวัลย์ คำภา คณะทำงานพัฒนาการจัดทำ SEA และคณะทำงานจัดทำแนวทาง SEA
2.1 SEA ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน 10 (พ.ศ. 2550 - 2554) ยุทธศาสตร์การพัฒนา บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผน 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แผน 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลักดันให้เกิดระบบประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ตั้งแต่ขั้นตอนของการกำหนดนโยบาย แผน และการพัฒนาระดับพื้นที่อย่างสอดคล้อง กับศักยภาพในการรองรับและการบริหารจัดการมลพิษของพื้นที่ การปรับปรุงกระบวน การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ การผลักดัน SEA มาใช้เป็น เครื่องมือนำเสนอทางเลือกใน การตัดสินใจระดับนโยบาย แผน และแผนงาน ที่เหมาะสม กับศักยภาพของลุ่มน้ำ ผลักดันการนำแนวทาง SEA มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
2.2 การพัฒนาระบบและกลไกของ SEA ภายใต้ กก.วล. ปี 2548 ปี 2552 (9 มิ.ย. 52) ปี 2554 (17 พ.ย. 54) กก.วล. แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ SEA โดยมี สผ. เป็นฝ่ายเลขานุการ เห็นชอบแนวทาง SEA โดย ให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้ ในการกำหนดนโยบายและ แผนโครงการของหน่วยงาน ตามความเหมาะสม ให้ สผ. เผยแพร่แนวทาง SEA เพื่อใช้เป็นคู่มือปฏิบัติ ต่อไป มอบ สศช. นำเสนอ คณะกรรมการฯ รับแนวทาง SEA ไปใช้ประกอบการ พิจารณาโครงการพัฒนา ขนาดใหญ่ โดยพิจารณาให้ ครบ 4 มิติ คือ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และ เทคโนโลยี กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีการ วางแผนการพัฒนาพื้นที่และ แผนการพัฒนาสาขา เช่น แผนการ บริหารจัดการลุ่มน้ำ นำแนวทาง SEA มาใช้ประกอบการวางแผน ให้หน่วยงานของรัฐนำผลการศึกษา เสนอต่อ กก.วล. เพื่อให้ข้อคิดเห็น ประกอบการดำเนินงานต่อไป ให้หน่วยงานของรัฐนำผลการศึกษา และข้อคิดเห็นของ กก.วล. ไปใช้ ประกอบการดำเนินโครงการ รวมทั้งการอนุมัติ/อนุญาตโครงการ หรือกิจการที่อยู่ภายในพื้นที่หรือ สาขาที่มีการทำ SEA ไว้แล้ว ซึ่ง กก.วล. มีมติ มอบ สผ. หารือ ร่วมกับ สศช. ในรายละเอียด เกี่ยวกับการกำหนดประเภทของ แผนการพัฒนาและกรอบเวลาที่ ต้องดำเนินการ SEA ให้ชัดเจน ปี 2550 คณะอนุกรรมการ SEA จัดทำ แนวทาง SEA
2.3 การประยุกต์ใช้ SEA ในประเทศไทย ดำเนินการมาแล้ว – 27 เรื่อง รายสาขา (Sectoral Based) ระดับพื้นที่ (Area Based) โครงการ SEA การพัฒนาอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ (2550) โครงการพัฒนาเหมืองแร่โปแตช (2553) โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กกล้าครบ วงจรอย่างยั่งยืน (2554) การศึกษา SEA เบื้องต้น เพื่อการบริหาร จัดการทรัพยากรธรณี (แร่ตะกั่ว สังกะสี) บริเวณ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี (2556) โครงการ SEA ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใน ระดับพื้นที่ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน จ. เชียงราย (2548) SEA นโยบายการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม (2554) โครงการ SEA ลุ่มน้ำท่าจีน เพื่อการพัฒนา ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน (2554) โครงการ SEA พื้นที่อำเภอเมืองและพื้นที่ ใกล้เคียง จ.ระยอง (2555) SEA ของยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจ พิเศษ: กรณีศึกษา จ.กาญจนบุรี (2558) โครงการศึกษา SEA สำหรับการพัฒนาพื้นที่ ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (2558) SEA แผนการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี (2560) ที่มา: สศช. (2560)
2.4 การขับเคลื่อน SEA โดย สปท. การปฏิรูปด้านระบบ การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย พัฒนาแนวทางการจัดทำ SEA โดยการทบทวนจากเอกสารที่ได้มีการจัดทำไว้ สร้างกลไกและกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการพัฒนา SEA ของ ประเทศไทย ดำเนินการเชิงรุก โดยให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สร้างความตระหนัก และประชาสัมพันธ์การจัดทำ SEA ให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับแผนพัฒนา 7 ประเภท (ระยะแรก) 1) แผนด้านคมนาคม 2) แผนพัฒนาพลังงาน (ไฟฟ้า+ปิโตรเลียม) 3) แผนพัฒนาลุ่มน้ำ 4) แผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5) ผังเมือง (ผังประเทศ +ผังภาค+ ผังจังหวัด) 6) แผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม 7) Mega Projects ตามความเห็นของ กก.วล. จัดทำข้อเสนอสำหรับโครงการ SEA Pilot Project ร่วมกับหน่วยงาน ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดทำ SEA ภายในประเทศและหน่วยงาน ตปท. พัฒนาฐานข้อมูล SEA และเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล EIA + ผลักดันให้เป็นศูนย์ข้อมูล SEA ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดทำ SEA และกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบ ปฏิบัติ แผนพัฒนาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการบังคับใช้ที่ชัดเจน ผลักดันเจ้าของนโยบาย แผน แผนงาน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ จัดทำและพิจารณา SEA ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด 17
2.4 การขับเคลื่อน SEA โดย สปท. (ต่อ) 1 การกำหนดแผน/แผนงาน/โครงการที่ต้องจัดทำ SEA ยังไม่ชัดเจน เป็นรูปธรรม 2 แนวทางการประเมิน SEA ที่ได้จัดทำไว้ ยังไม่ชัดเจน ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ไม่มีกลไกในการผลักดันการดำเนินงานพัฒนาระบบ SEA รวมทั้งไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการพัฒนาระบบ SEA 3 หน่วยงานเจ้าของนโยบาย แผน แผนงาน ที่ต้องจัดทำ SEA ยังไม่มีความพร้อมและไม่ได้เตรียมการตั้งงบประมาณรองรับการดำเนินการจัดทำ SEA รวมทั้ง ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดทำ SEA 4 5 การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการจัดทำ SEA ยังไม่ต่อเนื่อง/ไม่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูล EIA 6 ยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำ SEA อย่างเป็นระบบ
2.5 การขับเคลื่อน SEA โดยคณะอนุกรรมการ SEA หน้าที่ กำหนดประเภทของยุทธศาสตร์/ แผน/แผนงานและพื้นที่ที่ควรทำ SEA เสนอแนะกระบวนการ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการ จัดทำ SEA ให้ชัดเจน ประธาน – รศ.ดร. สุทิน อยู่สุข ฝ่ายเลขานุการ - สศช. + สผ. แต่งตั้งโดย นรม. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 60 คณะทำงาน พัฒนาการจัดทำ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ คณะอนุกรรมการ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (ภายใต้ กพย.) หน้าที่ จัดทำแนวทาง SEA กำหนดแนวทางการเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจ SEA ประธาน – รศ.ดร. สุทิน อยู่สุข ฝ่ายเลขานุการ - สศช. + สผ. คณะทำงาน จัดทำแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์ หน้าที่ – ขับเคลื่อนและนำ SEA มาใช้กับ การวางแผนพัฒนาประเทศ ประธาน - นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ฝ่ายเลขานุการ - สศช. + สผ. (ร่าง) แนวทาง (Guideline) SEA
(ร่าง) ข้อเสนอการจัดทำ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์ E S A SEA Strategic Environmental Assessment (ร่าง) ข้อเสนอการจัดทำ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์
(ร่าง) ข้อเสนอการจัดทำ SEA หลักการในการกำหนดประเภท PP แผน/แผนงานและพื้นที่ที่ควรทำ SEA ในระยะแรก การจัดทำ SEA ควรดำเนินการในระดับ PP ก่อน ยังไม่ควรทำในระดับนโยบาย รายสาขา แผนด้านคมนาคม แผนพัฒนาพลังงาน และปิโตรเลียม แผนพัฒนาทรัพยากรแร่ 1 ในระยะแรก ไม่ควรกำหนดประเภทของ PP ที่ควรดำเนินการจัดทำ SEA ไว้มากเกินไป ควรจัดทำ SEA หากการพัฒนาโครงการในรายสาขาและพื้นที่ เกิดปัญหาไม่สามารถดำเนินการได้ มีความขัดแย้งและการไม่ยอมรับของประชาชน แม้ว่าโครงการจะได้จัดทำ EIA/EHIA และได้รับอนุมัติ/อนุญาตแล้ว เชิงพื้นที่ ผังเมือง* แผนบริหารจัดการลุ่มน้ำ/ แผนพัฒนาชายฝั่งทะเล แผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะ/ พื้นที่พิเศษ แผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม หรือการพัฒนาพื้นที่ที่มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน 2 ควรจัดทำ SEA หากการพัฒนาโครงการภายใต้ PPนั้น เกิดผลกระทบในวงกว้าง แผน/แผนงานที่ไม่ต้องจัดทำ SEA ได้แก่ PP ที่จัดทำเพื่อความมั่นคงของประเทศในด้านการทหาร เพื่อ การป้องกันประเทศ (Defense Security) และ แผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามมติ ครม. แผน/แผนงาน รายสาขาหรือ เชิงพื้นที่ หรือโครงการขนาดใหญ่ ตามความเห็นของคณะกรรมการระดับนโยบายของหน่วยงานรัฐ 3
คุณสมบัติของ ผู้ทำการศึกษา SEA หน่วยงานรับผิดชอบจัดทำ/พิจารณา SEA 1 2 3 4 5 ขั้นตอน การจัดทำ SEA คุณสมบัติของ ผู้ทำการศึกษา SEA ฐานข้อมูล หน่วยงานรับผิดชอบจัดทำ/พิจารณา SEA แนวทาง การจัดทำ SEA บูรณาการเข้าไป ในกระบวนการ จัดทำ PP + กรณีทบทวนหรือ ปรับปรุง PP ใช้ที่ปรึกษาที่ได้ขึ้น ทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูล ที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง ที่มี คณะผู้ศึกษาที่ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิหรือ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มี ผลงานหรือ ประสบการณ์ด้าน SEA และสาขาที่เกี่ยวข้องกับ PP นั้นๆ โดยให้ หน่วยงานเจ้าของ PP กำหนดคุณสมบัติของที่ ปรึกษาไว้ใน TOR การจัดทำรายงาน SEA: หน่วยงานเจ้าของ PP การพิจารณาและกำกับ: คณะกรรมการกำกับการ จัดทำรายงาน SEA ตั้งโดยหน่วยงานเจ้าของ PP การตรวจสอบ: คณะกรรมการระดับ นโยบาย/กพย.ครม. การติดตามประเมินผล: คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงาน ตาม PP & SEA ตั้งโดย หน่วยงานเจ้าของ PP คกก.ระดับนโยบาย สาระสำคัญใน รายงาน SEA ได้แก่ ศักยภาพการ รองรับการพัฒนา ของพื้นที่ ทางเลือกเชิง ยุทธศาสตร์ ข้อเสนอแนะ เพื่อประกอบการ ตัดสินใจ ในกระบวนการ จัดทำ SEA ให้มีการ รับฟังความคิดเห็น ของผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชน ที่เกี่ยวข้องด้วย รวบรวมและจัดทำ รายการแหล่งข้อมูล ทุติยภูมิเพื่อการ จัดทำ SEA รวบรวมผล การศึกษา SEA จากแหล่งต่างๆ ทั้งในและ ต่างประเทศ
กลไกการขับเคลื่อน SEA
กลไกการบังคับใช้กฎหมาย เห็นควรออก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. ... ระยะแรก หมวด 1 การขับเคลื่อนและพัฒนาระบบ SEA หมวด 2 การจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หมวด 3 การพิจารณาและกำกับการจัดทำ SEA หมวด 4 การติดตามประเมินผลการจัดทำ SEA ระยะต่อไป พิจารณาความเหมาะสมที่จะกำหนดเป็นกฎหมายเฉพาะ
แนวทางการสร้างความรู้ความเข้าใจ SEA รูปแบบการให้ความรู้ Info Graphic อบรม ประชุม/สัมมนา Info graphic แผ่นพับ ชุดความรู้ การปรึกษาหารือ การทำความร่วมมือ เนื้อหาที่ควรสื่อสาร ประโยชน์ของ SEA กระบวนการ SEA โดยสังเขป หลักเกณฑ์ วิธีการจัดทำ SEA ความเข้าที่ถูกต้องเกี่ยวกับ SEA การมีส่วนร่วมในกระบวนการ SEA ความร่วมมือในการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ และผลิตบุคลากร เพื่อทำงาน SEA ผู้บริหารระดับสูงของประเทศ และหน่วยงานระดับกระทรวง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับ SEA ของหน่วยงานต่างๆ ประชาชน/ภาคเอกชน/สื่อมวลชน สถาบันการศึกษา
(ร่าง) แนวทาง (Guideline) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์ S A SEA Strategic Environmental Assessment (ร่าง) แนวทาง (Guideline) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์
องค์ประกอบของแนวทางฯ
องค์ประกอบของแนวทางฯ ระบบ SEA กระบวนการ SEA การมีส่วนร่วมฯ การตรวจสอบคุณภาพ SEA เครื่องมือ การจัดทำ SEA หลักการและเหตุผล สาระสำคัญของ SEA พัฒนาการของ SEA นิยาม ความแตกต่าง SEA & EIA การจัดทำ SEA และ กระบวนการ PPP ประโยชน์ ข้อจำกัด 3. SEA ในประเทศไทย การพัฒนาระบบ SEA ในประเทศไทย ข้อเสนอระบบ SEA ของประเทศไทย การกลั่นกรอง การกำหนดขอบเขต การศึกษา การพัฒนาและ ประเมินทางเลือก การบรรเทาผลกระทบ การติดตาม และ ตรวจสอบ การมีส่วนร่วมฯ การจัดทำรายงาน ความแตกต่างระหว่าง การมีส่วนร่วมใน กระบวนการ SEA และ EIA การวิเคราะห์ผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียใน กระบวนการ SEA ขั้นตอนการวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมีส่วนร่วมใน กระบวนการ SEA ข้อควรคำนึงอื่นๆ การกำหนด วัตถุประสงค์และ บริบท การทบทวนการ กำหนดขอบเขต การทบทวนรายงาน การทบทวนผล การตรวจสอบและ ประเมินการดำเนินการ SEA เทคนิคเชิงคุณภาพ และการมีส่วนร่วม แผนที่และ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ การคาดการณ์ ผลกระทบ การประเมินผลกระทบ การวางแผนที่ เหมาะสม
SEA กับ การบริหารจัดการน้ำ ส่วนที่ 3 SEA กับ การบริหารจัดการน้ำ
3.1 กระบวนการจัดทำ SEA และการจัดทำ PPP
3.1 กระบวนการจัดทำ SEA และการจัดทำ PPP ข้อดี ปฏิบัติได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ทีม PPP ทีม SEA กระบวนการวางแผน PPP ร่างรายงาน PPP กลั่นกรองและ กำหนดขอบเขต SEA จัดทำรายงาน SEA พิจารณารายงาน SEA การมีส่วนร่วมใน PPP ให้ความเห็นชอบ และนำ PPP ไปดำเนินการ ติดตามตรวจสอบ PPP ข้อจำกัด ทางเลือกที่พัฒนาขึ้นโดยทีม SEA ในภายหลัง อาจถูก ปฏิเสธโดยทีม PPP ทำให้กระบวนการวางแผนยืดยาวออกไปจากเดิม เพราะ ต้องรอจน PPP ฉบับร่าง เสร็จก่อน ทีม SEA เกิดความซ้ำซ้อนเกี่ยวกับการกำหนดและเปรียบเทียบ ทางเลือก การเก็บและรวบรวมข้อมูล/สารสนเทศ การรับ ฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน และการประเมินผลภายใน
3.1 กระบวนการจัดทำ SEA และการจัดทำ PPP ข้อดี ลดความล่าช้าได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งลดความซ้ำซ้อนในการ ทำงาน มีโอกาสนำความคิดและมุมมองที่แตกต่างกันมาพิจารณา ตั้งแต่ต้น ทำให้ลดการเกิด “late surprises” และ “conflicts” ของทั้งสองทีม การปรึกษาหารือระหว่างสองทีม ช่วยให้การกำหนด ขอบเขตของงานและประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ควรได้รับการ พิจารณาในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการจัดทำ PPP ได้ เป็นอย่างดี กระบวนการวางแผน PPP ร่างรายงาน PPP การมีส่วนร่วมใน PPP ติดตามตรวจสอบ PPP กลั่นกรองและกำหนดขอบเขต SEA จัดทำรายงาน SEA พิจารณารายงาน SEA รายงาน SEA ฉบับสมบูรณ์ ติดตามตรวจสอบ SEA ให้ความเห็นชอบ และนำ PPP ไปดำเนินการ ทีม PPP ทีม SEA ข้อจำกัด การจัดทำ SEA ในลักษณะนี้จะเป็นไปได้และให้ผลดีก็ต่อเมื่อ SEA experts และ PPP experts เต็มใจที่จะทำงาน ร่วมกัน มีการบริหารงานที่ดี มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส
3.1 กระบวนการจัดทำ SEA และการจัดทำ PPP ข้อดี ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มจะได้รับ ข้อมูลชุดเดียวกัน ในเวลา เดียวกัน สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความสนใจ ความ เชี่ยวชาญ เพื่อกำหนดและวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆ และ ทำให้เกิดความร่วมมือที่ดีในการจัดทำร่าง PPP ลดความล่าช้า และลดค่าใช้จ่าย เกิดบรรยากาศที่เหมาะสม สำหรับการร่วมมือประสานงานกันระหว่างกลุ่มต่างๆ ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะมีทัศนคติและค่านิยมที่แตกต่างกัน กระบวนการวางแผนร่วม PPP และ SEA พัฒนา PPP โดยทีมวางแผน/ ผู้เชี่ยวชาญ SEA/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ให้ความเห็นชอบ และนำ PPP ไปดำเนินการ ติดตามผลจากมุมมอง PPP และ SEA ข้อจำกัด ยากต่อการบริหารจัดการให้ประสบความสำเร็จ และมี ความเสี่ยงในด้านความโปร่งใส และความไม่เชื่อมั่นของ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ SEA เพื่อให้ได้ข้อสรุป ที่กำหนดไว้แล้ว
3.2 กระบวนการ SEA ขั้นตอนทั่วไป ** การมีส่วนร่วม การกลั่นกรอง (Screening) จำเป็นต้องทำ SEA ไม่จำเป็นต้องทำ SEA การกำหนดขอบเขต(Scoping)** การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน การกำหนดตัวชี้วัด การพัฒนาและประเมินทางเลือก(Alternative development and assessment)** การพัฒนาทางเลือก การประเมินทางเลือก การบรรเทาผลกระทบ การติดตามและตรวจสอบ (Mitigation, monitoring and follow-up measures)** ** การมีส่วนร่วม การจัดทำรายงาน SEA ที่มา: สศช. (2560)
3.2 กระบวนการ SEA 1) การกำหนดขอบเขต (Scoping) เพื่อตรวจสอบขอบเขตพื้นที่และประเด็นสำคัญของ PP ที่เกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อม ที่จะนำมาพิจารณาและระดับของความละเอียด รวมถึงระยะเวลาครอบคลุม ในการประเมิน วัตถุประสงค์ ทบทวนรายละเอียดของ PP ที่จะประเมิน ทบทวนเอกสารทุติยภูมิของ PP จำแนกประเด็นหลักด้านการพัฒนที่ยั่งยืน กำหนดตัวชี้วัด* วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย วิเคราะห์และกำหนดผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ศึกษาความเป็นมา และข้อมูลพื้นฐาน ศึกษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อมและ ความเชื่อมโยง ตรวจสอบและ ประเมินทางเลือก ขั้นต้น ประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ กรอบ การบริหารกำกับ ดูแล ความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากการ ดำเนินการตามแผน ประเด็นหรือ ผลกระทบสำคัญ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิด จากการดำเนินการ ตาม PP พิจารณาสถานภาพ ปัจจุบันของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และผลลัพธ์ที่คาดหวัง จากการพัฒนาตาม PP
3.2 กระบวนการ SEA 1) การกำหนดขอบเขต (Scoping)
3.2 กระบวนการ SEA 2) การพัฒนาและประเมินทางเลือก (Alternative Development and Assessment) ทางเลือกที่เหมาะสมควรมีจำนวนไม่มากนัก (โดยทั่วไป 3-4 ทางเลือก) ครอบคลุมความเป็นไปได้จริงของการดำเนินการตามแผนในทางปฏิบัติรวมถึง ทางเลือกที่เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ทางเลือกที่ดำเนินการไปตามเดิมโดยไม่มีแผนหรือแผนงานนั้นๆ ทางเลือกที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นไปไม่ได้จริง จะไม่นำเข้ามาพิจารณาตั้งแต่ต้น จะต้องมีทางเลือกดำเนินการตามเดิมที่มีอยู่ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่มี PP เป็นหนึ่งในทางเลือกเสมอ การพัฒนา ทางเลือก การประเมินทางเลือก การใช้โมเดลหรือการคาดการณ์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมหรือการเปลี่ยนแปลงโดยตรง (trend analysis) การวิเคราะห์โดยใช้ตารางไขว้ (matrices) เทคนิคการรวบรวมข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม หรือการปรึกษาหารือ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ จัดการข้อมูล และนำเสนอ การวิเคราะห์ภาพอนาคต (scenario analysis) การวิเคราะห์แบบหลายเกณฑ์ (multi-criteria analysis) การประเมินความเสี่ยง (risk assessment) การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (cost/benefit analysis) การสำรวจความเห็นจัดลำดับทางเลือกหรือ สำรวจซ้ำๆ (Delphi technique) การคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจสังคม การวิเคราห์และปรียบเทียบทางเลือก
3.2 กระบวนการ SEA 3) การบรรเทาผลกระทบ การติดตามและตรวจสอบ แผนรองรับป้องกันผลกระทบโดยรวมของพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงกิจกรรมหรือ องค์ประกอบของ PP การชะลอหรือยกเลิกการดำเนินการตามแผนบางส่วน การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของ PP การสร้างแผนส่งเสริมผลกระทบทางบวกควบคู่ไปด้วย การเสนอแนะเตรียมกฏระเบียบและปรับปรุง การบริหารจัดการ เพื่อรองรับการดำเนินการ ตามแผนให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน SEA ไม่มีรายละเอียดในระดับโครงการ ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร หน่วยงานเจ้าของแผนงาน ต้องสร้าง ข้อกำหนด สำรวจ ศึกษา ออกแบบ ในรายละเอียด กำหนดแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับ แนวทางของ SEA SEA เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ต้องนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินการ และทบทวนปรับปรุงต่อเนื่อง ต้องติดตามตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข จุดบกพร่องและปรับแผน
3.2 กระบวนการ SEA 3) การบรรเทาผลกระทบ การติดตามและตรวจสอบ
3.2 กระบวนการ SEA 3) การบรรเทาผลกระทบ การติดตามและตรวจสอบ
3.2 กระบวนการ SEA 4) การมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง) ผู้กำหนด นโยบาย จัดสรรงบประมาณ / ผู้อนุมัติ หน่วยงานเจ้าของ PP บุคคลหรือกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจาก PP ตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ PP ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทางบวกหรือทางลบ เช่น ประชาชนในพื้นที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง บุคคล /หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องโดยเป็นหน่วยงานผู้ดำเนินการ หรือเกี่ยวข้องโดยเป็นหน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่ เจ้าของ PP แต่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้ง ของ PP เป็นผู้ติดตามเรื่องนั้นมาอย่างต่อเนื่อง (เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาที่ ติดตามทำการศึกษาวิจัยประเด็นที่เกี่ยวข้อง กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น นักการเมืองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ที่ปรึกษา/ ผู้จัดทำ SEA ผู้ได้รับ ผลกระทบ
BACK UP
1.3 ความแตกต่างระหว่าง SEA กับ EIA (ต่อ) (non-Strategic level) ระดับยุทธศาสตร์ (Strategic level) วัตถุประสงค์ (Objective) แผน (Plan) จุดมุ่งหมาย (Goal) แผนงาน (Program) โครงการ (Project) ความประสงค์ (Purpose) นโยบาย (Policy)
1.3 ความแตกต่างระหว่าง SEA กับ EIA (ต่อ) ประเด็น SEA EIA ระดับของ การตัดสินใจ นโยบาย แผน แผนงาน โครงการ ลักษณะ ของงาน ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ แนวคิด การก่อสร้างและการดำเนินงาน จุดเน้นใน การประเมิน ทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ หรือการตัดสินใจ ทำในสิ่งที่เหมาะสม การตัดสินใจในระดับโครงการหรือการทำสิ่งที่ ได้เลือกไว้แล้วนั้น ให้ถูกต้อง มุมมอง สิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อหรือเป็นตัวกำหนดโอกาส หรือข้อจำกัดของการพัฒนาหรือไม่อย่างไร การพัฒนานั้นจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรและเพียงใด ทางเลือก มีพิสัยของทางเลือกที่เป็นไปได้กว้างกว่า เน้นที่ทางเลือก ซึ่งทำให้เกิดสมดุลของพื้นที่ต่างๆ หรือภายในพื้นที่ ด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี มีพิสัยของทางเลือกในขอบเขตที่จำกัด เน้นที่ทางเลือกด้านสถานที่ การออกแบบ การก่อสร้าง และการดำเนินงาน ระดับของ การประเมิน กว้างกว่า เป็นระดับ Macroscopic โดยอาจเป็นระดับภูมิภาค ระประเทศ ระหว่างประเทศ หรือระดับโลก แคบกว่า เป็นระดับ Microscopic ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับท้องถิ่น ขอบเขตของการประเมิน ด้านความยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เตือนล่วงหน้าถึงการเกิดผลกระทบสะสม ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม ประเมินผลกระทบสะสมได้ในขอบเขตที่จำกัด
1.3 ความแตกต่างระหว่าง SEA กับ EIA (ต่อ) ประเด็น SEA EIA Coverage Time ปานกลางถึงยาว สั้นถึงปานกลาง ข้อมูลสารสนเทศ ที่ใช้ ส่วนใหญ่เป็นข้อมูล/สารสนเทศทุติยภูมิ มีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพหรือการบรรยาย ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ ที่ต้องทำการเก็บและรวบรวมขึ้นมาอย่างเฉพาะเจาะจง และส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ เกณฑ์การประเมิน การพัฒนาที่ยั่งยืน กฎหมาย มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ การปฏิบัติที่ดี การมีส่วนร่วมของประชาชน ความเข้มข้นอาจจะต่ำกว่า EIA แต่เป็นเรื่องที่กว้างกว่า เพราะมีผู้เกี่ยวข้องและอาจได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจระดับยุทธศาสตร์เป็นจำนวนมาก มีความเข้มข้นสูง ได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่รับผลกระทบมาก การประเมินผล ภายหลังการนำ SEA ไปสู่การปฏิบัติ เน้นเรื่องการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ด้าน สิ่งแวดล้อม และการรักษาความยั่งยืนของ ทรัพยากรธรรมชาติที่ได้กำหนดไว้ในรายงาน SEA ผลการประเมินจะนำไปสู่การปรับนโยบาย แผน หรือแผนงานใหม่ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น เน้นในเรื่องการดำเนินงานได้ตามกฎหมาย มาตรฐาน ประสิทธิภาพในการควบคุมหรือลด ผลกระทบได้ตามเงื่อนไขของรายงาน EIA ผลการประเมินจะนำไปสู่การปรับมาตรการ ควบคุม/ลดผลกระทบ การติดตามตรวจสอบ การ ชดเชยความเสียหาย (หากเกิดขึ้น)
1.6 ประโยชน์ของ SEA 1 2 ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน เสริมสร้างความสมบูรณ์ให้กับ EIA 1 2 ที่เกิดขึ้นภายใต้ PPP ด้วยการ เพื่อให้การตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเสนอ PPP มา จากการพิจารณาข้อมูลและข้อเท็จจริงอย่าง รอบด้านและบูรณาการ ด้วยการ.. ระบุล่วงหน้าถึงขอบเขตของผลกระทบที่มีศักยภาพที่จะ เกิดขึ้นได้รวมทั้งข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับ การประเมินผลกระทบของโครงการที่จะเกิดขึ้นตามมา อธิบายหลักการและเหตุผลของ PPP เพื่อให้เข้าใจที่มา ของโครงการภายใต้ PPP นั้น ซึ่งจะทำให้มีกรอบ สำหรับการจัดทำ EIA ได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทำให้มีข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานที่สามารถใช้ในการ ออกแบบ projects รวมทั้งการนำ projects นั้นๆ ไปสู่ การปฏิบัติได้ดีขึ้น ถึงแม้ว่า projects นั้น จะไม่ได้อยู่ใน ข้อกำหนดให้ต้องมีการจัดทำ EIA ด้วยก็ตาม ช่วยให้การพิจารณารายงาน EIA ทำได้ง่ายขึ้น ใช้เวลา และความพยายามในการทำความเข้าใจน้อยลง ระบุทางเลือกการพัฒนาหลายๆ ทางเลือกเพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์ของ PPP คาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการ ตามทางเลือกต่างๆ และพิจารณาเลือกทางเลือกที่ ส่งผลกระทบทางลบน้อยที่สุดหรือเหมาะสมที่สุด แจ้งเตือนล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่น ๆ ถึงผลกระทบสะสม (cumulative impacts) ที่มีโอกาสเกิดขึ้น กำหนดมาตรการลดผลกระทบที่เหมาะสมบน หลักการเพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน (precautionary principle) ของการพัฒนาที่ยั่งยืน SEA สามารถช่วยลดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนและนำไปสู่การปฏิบัติ ช่วยลดภาระงานและระยะเวลาในการจัดทำ EIA ของโครงการภายใต้แผนนั้นๆ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานเจ้าของ PPP แล้ว SEA ยังอาจช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องต่างๆ มีความเข้าใจ PPP นั้นมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับความร่วมมือ ลดความขัดแย้ง และ ได้รับการยอมรับมากขึ้น
1. ระบบการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ คุณสมบัติที่สำคัญของ SEA เหมาะกับการตัดสินใจระดับยุทธศาสตร์ ได้แก่ นโยบาย แผน แผนงาน (PPP) กฎหมาย ฯลฯ เป็นกระบวนการก่อนการดำเนินการพัฒนา ก่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับ PPP ให้ข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญ ทั้งในช่วงก่อนและระหว่างกระบวนการตัดสินใจ ให้ความสำคัญกับการผนวกประเด็นด้านความยั่งยืน (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) ในการพิจารณาตัดสินใจ มิใช่การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่เน้นการแสวงหาและเปรียบเทียบทางเลือกการพัฒนาต่างๆ (รวมทั้งทางเลือกที่ไม่มีการดำเนินการ) โดยมีการประเมินผลในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละทางเลือก เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เป็นกระบวนการที่สาธารณชนสามารถมีส่วนร่วม ดำเนินการได้หลากหลายวิธี เช่น การได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร การปรึกษาสาธารณะ การร่วมให้ความเห็นในขั้นตอนการกำหนดขอบเขตการศึกษา หรือการพิจารณาทางเลือกของ PPP 01 05 02 03 06 04
2. กระบวนการ SEA ตัวอย่างตัวชี้วัด สำหรับ PPP ประเภทต่างๆ (กรณีศึกษาต่างประเทศ) ตัวชี้วัด ประเภทของ PPP คมนาคม พลังงาน พัฒนาลุ่มน้ำ พัฒนาพื้นที่พิเศษ ผังเมือง พัฒนานิคม๖อุตสาหกรรม โครงการขนาดใหญ่ มิติเศรษฐกิจ ศักยภาพการจ้างงาน ศักยภาพการลงทุน ระบบเศรษฐกิจ การมีงานทำ มิติสังคม สุขภาพ โครงสร้างประชากร คุณภาพชีวิต สิ่งอำนวยความสะดวก แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม การประกอบอาชีพ มิติสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ความต้องการพลังงาน ทรัพยากรดิน แหล่งแร่ คุณภาพอากาศ ทรัพยากรน้ำ ขยะและของเสียอันตราย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสียงรบกวน ความสั่นสะเทือน พื้นที่สีเขียว การใช้ประโยชน์ที่ดิน ภูมิทัศน์ ภัยพิบัติ
3. การมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในกระบวนการ SEA ขั้นตอน ความมุ่งหมายของการเข้าไปมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกลั่นกรอง - เพื่อให้พันธกิจของหน่วยงานเจ้าของแผนที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความชัดเจน และ ได้รับการยอมรับ - เพื่อระบุผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ SEA การกำหนดขอบเขต การศึกษา - เพื่อให้มั่นใจว่าความคิดเห็นและความกังวลห่วงใยที่สำคัญต่างๆ ของประชาชนจะ ได้รับการพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการกำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด ทางเลือก ผลกระทบที่เกี่ยวข้อง และวิธีการที่ใช้ในการประเมินผลกระทบ การประเมินข้อมูล พื้นฐาน (ขั้นตอนย่อยของการกำหนด ขอบเขตการศึกษา) - เพื่อช่วยระบุแหล่งที่มาของข้อมูลพื้นฐาน - เพื่อช่วยค้นหา รวบรวม ความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ/หรือสารสนเทศเฉพาะเรื่อง การพัฒนาและประเมิน ทางเลือก - เพื่อช่วยระบุทางเลือกที่มีศักยภาพที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาโดยหน่วยงานเจ้าของ แผน/แผนงาน - เพื่อให้ได้ความคิดเห็นต่อทางเลือกการพัฒนาที่หน่วยงานเจ้าของแผนนำเสนอ
3. การมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในกระบวนการ SEA (ต่อ) ขั้นตอน ความมุ่งหมายของการเข้าไปมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การประเมินผลกระทบ (ขั้นตอนย่อยของการพัฒนา และประเมินทางเลือก) - เพื่อให้ได้ข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานและผลการวิเคราะห์ผลกระทบ - เพื่อตรวจสอบว่า ความคิดเห็น ความกังวลห่วงใยต่างๆ ได้รับการพิจารณาอย่าง ครบถ้วน การพิจารณาร่างแผน/ แผนงาน และ SEA - เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารายงาน SEA ได้ตอบโจทย์สำคัญอย่างครบถ้วน ชัดเจน และถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้แผน/แผนงาน และ SEA ได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วน เสีย และสังคม - เพื่อให้มั่นใจว่า การตัดสินใจให้ความเห็นชอบต่อร่างแผน/แผนงาน และ SEA นั้นอยู่ บนพื้นฐานของการมีข้อมูล/สารสนเทศประกอบการพิจารณาที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ การติดตามตรวจสอบ/ ประเมินผล - เพื่อร่วมในการติดตามตรวจสอบว่าผลกระทบของการทำแผนไปสู่การปฏิบัติจะเป็นไป ตามความคาดหมาย เป็นไปตามมาตรฐาน ข้อบังคับที่กำหนดไว้ และหากว่ามี ผลกระทบอื่นใดที่ไม่คาดคิดไว้ก่อนระหว่างการจัดทำ SEA ก็จะได้รับการแก้ไขอย่าง ทันการณ์
4. การตรวจสอบคุณภาพ SEA: ทบทวนกระบวนการ SEA 1 2 3 4 5 6 มีการบูรณาการ (Integrated) นำไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability-led) มีเป้าหมาย (Focused) เชื่อถือได้ (Accountable) มีการมีส่วนร่วม (Participative) การทำซ้ำ (Iterative) ทำให้เกิดความมั่นใจว่ามีการประเมินสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมในทุกระดับของการตัดสินใน เชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของความยั่งยืน คำนึงถีงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางชีว-กายภาพ (Bio-physical) เศรษฐกิจ และสังคม มีความเชื่อมโยงกับนโยบายในรายสาขาและการข้ามเขตแดนของภูมิภาค และในกรณีที่เหมาะสม อาจเชื่อมกับการประเมินสิ่งแวดล้อมและการตัดสินใจระดับโครงการ มีการบูรณาการ (Integrated) เอื้อให้เกิดการสร้างทางเลือกการพัฒนาและข้อเสนอของทางเลือกที่นำไปสู่ความความสมดุลและ ยั่งยืนที่ดีกว่า นำไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability-led) มีสารสนเทศที่เพียงพอ เชื่อถือได้ และใช้งานได้ สำหรับการตัดสินใจและการวางแผนการพัฒนา ให้น้ำหนักกับประเด็นสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการดำเนินขั้นตอนอย่างเหมาะสมกับลักษณะของกระบวนการตัดสินใจ มีประสิทธิภาพทั้งด้านค่าใช้จ่ายและเวลา มีเป้าหมาย (Focused) ที่มา: IAIA (2002)
4. การตรวจสอบคุณภาพ SEA: ทบทวนกระบวนการ SEA 1 2 3 4 5 6 มีการบูรณาการ (Integrated) นำไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability-led) มีเป้าหมาย (Focused) เชื่อถือได้ (Accountable) มีการมีส่วนร่วม (Participative) การทำซ้ำ (Iterative) มีความรับผิดชอบของหน่วยงานหลักในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ มีการดำเนินการอย่างมืออาชีพ เข้มงวด ยุติธรรม เสมอภาค และมีดุลยภาพ ถูกตรวจสอบและตรวจสอบความถูกต้องได้โดยหน่วยงานอิสระ มีการจัดทำเอกสารและนำเสนอเหตุผลในการพิจารณาประเด็นความยั่งยืนในการตัดสินใจ เชื่อถือได้ (Accountable) แจ้งและเปิดโอกาสให้ทั้งภาครัฐและสาธารณะที่มีความสนใจและได้รับผลกระทบเข้าร่วมตลอด กระบวนการตัดสินใจ มีการนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อวิตกกังวลของภาคส่วนต่างๆ เหล่านั้นอย่างชัดเจนในเอกสาร และการตัดสินใจ มีการจัดทำสารสนเทศที่ชัดเจนและง่ายต่อการเข้าใจ และมีช่องทางให้เข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง มีการมีส่วนร่วม (Participative) ทำให้เกิดความมั่นใจว่าผลการจะมีได้ในเวลารวดเร็วเพียงพอต่อการมีอิทธิผลในกระบวนการตัดสินใจ และการวางแผนในอนาคต มีสารสนเทศที่เพียงพอสำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจริงในการดำเนินการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ และเพื่อการพิจารณาหากต้องมีการแก้ไขและการตัดสินใจในอนาคต การทำซ้ำ (Iterative) ที่มา: IAIA (2002)
5. เครื่องมือการจัดทำ SEA ประเภท เครื่องมือ/เทคนิค ขั้นตอน SEA การเก็บรวบรวม ข้อมุลพื้นฐาน การสร้างและการประเมินทางเลือก การระบุผลกระทบ การคาดการณ์ผลกระทบ การประเมิน ผลกระทบ เทคนิค เชิงคุณภาพ, การมีส่วนร่วม รายการตรวจสอบ (Formal and informal checklists) เมตริกซ์ (Matrices) การพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert judgment) การมีส่วนร่วมสาธารณะ (Public participation) การประเมินคุณภาพชีวิต (Quality of Life Assessment) แผนภาพสาเหตุผลกระทบ (Causal effect diagrams) แผนที่และ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ การซ้อนทับแผนที่ (Overlay mapping) การวิเคราะห์การแบ่งสรรการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) การวิเคราะห์โครงข่าย (Network analysis) การสร้างแบบจำลอง (Modeling) การวิเคราะห์สถานการณ์/การวิเคราะห์ความอ่อนไหว การวิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์ของโครงการ (CBA) การวิเคราะห์หลายหลักเกณฑ์ (MCA) การวิเคราะห์วงจรชีวิต (LCA) การวิเคราะห์ความเปราะบาง (Vulnerability analysis) รอยเท้าทางนิเวศ (Ecological footprint) การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment) การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend analysis) : เครื่องมือและเทคนิคนั้นสามารถใช้ได้กับขั้นตอนของ SEA ดังกล่าวได้ : เครื่องมือและเทคนิคนั้นเป็นที่นิยมใช้กับขั้นตอนของ SEA